A Blogger by Beamcool

Friday, July 31, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ศักยภาพสูงสุดของลูกน้อยด้าน ทักษะการเคลื่อนไหว ( การใช้นิ้วคีบและการดึง )

Posted by wittybuzz at 9:26 PM
ทักษะการเคลื่อนไหวของลูกน้อยกำลังพัฒนา!
คุณแม่จะต้องประหลาดใจไปกับพัฒนาการทางการเคลื่อนไหวที่สำคัญแต่ละอย่างของ ลูก ในตอนนี้ เขาน่าจะพลิกตัวหรือนั่งได้แล้ว หรือเขาอาจถึงขนาดกระดืบไปด้วยก้น คลานหรือตั้งไข่ได้แล้ว เพราะเขากระตือรือร้นที่จะออกไปสู่โลกอันน่าตื่นตาตื่นใจที่อยู่ใกล้แค่ เอื้อม เพื่อเริ่มยืนได้อย่างมั่นคงและเข้าสู่โลกที่อยู่ไกลเกินกว่าที่จะเอื้อมถึง

ลุยเลย เจ้าตัวน้อย
ระหว่างอายุ 10 ถึง 12 เดือน เด็กจะมีพัฒนาการทักษะการเคลื่อนไหวที่น่าตื่นเต้นไม่แพ้พัฒนาการด้านอื่นๆ แต่คุณพ่อคุณแม่มักจะมองข้ามไป ซึ่งก็คือพัฒนาการที่เกี่ยวกับมือของเขานั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น คุณแม่กำลังออกไปเดินเล่นกับลูกน้อยด้วยรถเข็นเด็กและทันใดนั้นลูกก็ชี้ไป ที่สุนัขและร้องเสียงแหลมขึ้น หรือเมื่อเขานั่งอยู่บนเก้าอี้สูงๆ และตั้งใจหยิบถ้วยน้ำ แต่เขาทำมันตกลงบนพื้น พัฒนาการเหล่านี้มีบทบาทแตกต่างจากการเดิน แต่ก็มีความสำคัญต่อพัฒนาการโดยรวมของเด็กเช่นกัน ซึ่งเป็นการแสดงว่าลูกน้อยแสนฉลาดในวัยนี้กำลังพยายามเรียนรู้โลกใบใหญ่โดย ใช้วิธีการใหม่ๆ ของเขาเอง นั่นคือด้วยนิ้วมือเล็กๆ ของเขา

สมองของเด็กในส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหวนั้น จะพัฒนาตามลำดับไล่จากศีรษะไปถึงนิ้วเท้า โดยที่สมองส่วนที่ควบคุมกล้ามเนื้อศีรษะและลำคอจะพัฒนาก่อนสมองส่วนที่ควบ คุมกล้ามเนื้อส่วนลำตัว แขน และมือ สมองส่วนที่ควบคุมขาจะพัฒนาเป็นส่วนสุดท้าย ทำไมจึงเป็นเช่นนี้? ตอบอย่างง่ายๆ ก็คือบางทีอาจเป็นเพราะเด็กจำเป็นต้องเรียนรู้การดูดนมและการกินอาหารก่อน การเดิน เมื่อเจ้าตัวน้อยลืมตาดูโลก เขาจะเอามือและแขนแนบชิดลำตัวซึ่งท่านี้เรียกว่า “Flexion” เมื่อเวลาผ่านไปหลายเดือน เขาจะสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวมือและแขนของเขาได้มากขึ้น เมื่ออายุได้ 6 เดือน เขาจะสามารถหยิบจับของเล่นได้ แต่หยิบโดยใช้ทั้งมือ เพื่อทำความเข้าใจว่าเด็กมีขีดจำกัดเพียงใดนั้น ให้สังเกตดูเด็กวัย 6 เดือนเวลาที่เขาถือจุกนมยาง เขาจะควบคุมมือของตัวเองได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เขาอาจเหวี่ยงแขนไปรอบๆ แล้วตีโดนหัวตัวเองโดยบังเอิญ และอาจทำจุกนมหล่นโดยไม่ได้ตั้งใจ แล้วเขาก็จะกระวนกระวายมองไปรอบๆ ตัวว่าจุกนมหายไปไหน หรือบางทีเขาอาจอยากปล่อยจุกนมทิ้ง แต่เขากางนิ้วออกไม่ได้ ก็เลยตีจุกนมกับพื้นด้วยความหงุดหงิด

การใช้นิ้วคีบและการคว้า
ผ่านไปเพียงไม่กี่เดือน เจ้าตัวน้อยกำลังฝึกหัดพัฒนาการที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ระหว่างอายุ 10 ถึง 12 เดือน เขาจะพัฒนา ‘การหยิบด้วยนิ้ว” ซึ่งเป็นความสามารถในการใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ร่วมกันเพื่อหยิบจับและ เคลื่อนย้ายสิ่งของ หรือหยิบถั่วหรือโบกมือบ๊ายบายได้ การชี้หรือใช้นิ้วจิ้มของเล่นเป็นสัญญาณเบื้องต้นที่แสดงว่าเขาสามารถ เคลื่อนไหวนิ้วชี้แยกออกจากนิ้วอื่นๆ ได้ “ในที่สุด ทักษะการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดเล็กของลูกน้อยจะช่วยให้เขาสามารถเล่น คอมพิวเตอร์หรือเป่าฟลุ๊ตได้ แต่ช่วงเวลาของพัฒนาการนี้เป็นเรื่องน่าตื่นตาตื่นใจมากทีเดียว” นพ. แบรี่ โซโลมอน ผู้ช่วยศาสตราจารย์กุมารแพทย์และแพทยศาสตร์สำหรับวัยรุ่นที่ Johns Hopkins Children's Center กล่าวยืนยันว่า “ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่น่าตื่นเต้นสำหรับเด็ก เพราะทักษะการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดเล็กจะช่วยให้พวกเขาสามารถวิเคราะห์ และเรียนรู้โลกใบนี้ด้วยวิธีใหม่ๆ” เขาอธิบาย

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อลูกน้อยสามารถใช้นิ้วหยิบจับสิ่งของได้โดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ และจากนั้นก็ปล่อยทิ้งอย่างตั้งใจเพื่อไปหยิบของชิ้นอื่นที่ดูน่าสนใจ มากกว่า นั่นจะเท่ากับว่าเขากำลังทำการทดลองอยู่ เขาอาจโยนจานหรือถ้วยทิ้งจากเก้าอี้เด็กครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่อค้นหาสาเหตุ และผล เวลาที่จานตกกระทบพื้น จะมีเสียงแบบเดียวกันทุกครั้งไหมน๊า จะเป็นยังไงน๊าถ้าเอาของเหนียวๆ นี้มาป้ายถาดและเสื้อผ้า ถ้าหมาได้ยินเสียงจานตก แล้วมันจะเข้ามาในครัวไหมน๊า อยากรู้จังว่าแม่จะหัวเราะหรือจะพูดว่า “อย่านะ” เขาจะได้เห็นโลกในมุมมองใหม่ ประตูของชั้นวางของที่เมื่อก่อนเคยปิดอยู่ ในตอนนี้เขาเปิดเองได้แล้ว ของเล่นที่เมื่อก่อนหน้านี้เขาทำได้แค่เพียงเขย่าหรือตี ในตอนนี้เขาสามารถหมุน จิ้ม และโยนได้แล้ว นอกจากนั้น เด็กวัยหัดเดินยังชอบของเล่นที่มีรูซึ่งเขาสามารถใส่สิ่งของลอดผ่านเข้าไป ได้ ของอะไรก็ตามที่มีฝาหรือประตูสำหรับเปิดปิด หรือของเล่นที่หมุนได้

ถือไว้ซิจ๊ะ!
เด็กวัย 12 เดือนที่สามารถใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือร่วมกันได้ เขาจะสามารถเอาบล็อกตัวต่อสองชิ้นมาวางซ้อนกันเป็นหอคอยได้ (แล้วก็พังมันลง) และใส่ของที่มีขนาดเล็กลงไปในของที่มีขนาดใหญ่กว่า แล้วหยิบออกมาใหม่ได้ ดร. โซโลมอนกล่าว นอกจากนั้น การเติมและการเท (โดยเฉพาะการเท) จะกลายเป็นกิจกรรมใหม่ที่เขาชื่นชอบ กิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ยังเป็นสิ่งกระตุ้นการรับรู้ได้อย่างรวดเร็ว เพราะเขาจะได้เรียนรู้ถึงแนวความคิด เช่น ใหญ่และเล็ก เต็มและว่างเปล่าได้

ตอนที่เขาอารมณ์ดี เขาอาจถึงขนาด “ช่วย” คุณแม่แต่งตัวหรือถอดเสื้อผ้าเขา โดยที่เขาจะยกแขนขึ้นและกำมือได้อย่างตั้งอกตั้งใจ เขาจะตบมือเมื่อมีความสุขและจะโบกมือบ๊ายบายได้ด้วย เพราะเขารับรู้ว่าจะต้องแสดงท่านี้ควบคู่กับการบอกลา

“ช่วงนี้เป็นวัยของการเลียนแบบ” กล่าวโดย ไซบิล ฮาร์ท PhD รองคณบดีแผนกการค้นคว้าวิจัยคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเท็กซัสเทค “เด็กจะอยากทำทุกอย่างเหมือนคุณพ่อคุณแม่”

ความหงุดหงิด
นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการวัดระดับปริมาณฮอร์โมน Cortisol ในน้ำลายของทารกเพื่อแสดงให้เห็นว่าทารกอายุ 4 เดือนสามารถรู้สึกหงุดหงิดได้ และบางทีคุณแม่อาจเห็นสัญญาณบ่งบอกว่าเขากำลังหงุดหงิดเมื่อเขาโตขึ้น ต่อไปนี้คือความคิดในมุมมองของเด็ก

* “ไม่ได้อย่างใจหนูเลย! เมื่อเขามีทักษะการเคลื่อนไหวที่ดีขึ้น เขาก็จะเริ่มมีปฏิกิริยาต่อต้าน เช่น พอเขาปีนขึ้นไปบนโต๊ะกาแฟ แต่คุณแม่ก็รีบคว้าเขาไปไว้ในเปลเด็ก หรือเขาอาจคว้าของที่มีแสงระยิบระยับน่าสนใจ (สร้อยคอของคุณแม่) แต่แล้วคุณแม่กลับดึงไปจากมือของเขา
* “ทำไมคุณแม่ไม่เข้าใจหนู” ลูกน้อยอาจรู้สึกหงุดหงิดใจ เพราะคุณแม่ไม่เข้าใจว่าเขากำลังพูดอะไร เขาอาจจะชี้ไปที่ตู้เย็น แล้วพูดว่า “บาบา บาบา” ซึ่งอาจหมายถึงลูกบอลหรืออะไรก็ได้ แต่ไม่ได้หมายถึงของที่อยู่ในตู้เย็น พอคุณแม่เดาผิดบ่อยๆ ก็อาจทำให้ลูกโมโหได้
* “หนูอยากได้เดี๋ยวนี้!” เมื่อลูกอายุใกล้ครบหนึ่งขวบ เราจะคาดหวังว่าเขาจะสามารถรอคอยในระยะเวลาสั้นๆ ได้ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกน้อยวัยแรกเกิดหิว คุณแม่จะต้องป้อนอาหารให้เขาโดยทันที เมื่อเขาอายุ 6 เดือน “คุณแม่อาจบอกให้ลูกรอสักแป๊บนึง” ฮาร์ทกล่าว “และเมื่อเขาอายุได้ 10 เดือน คุณแม่อาจจะจับเขานั่งบนเก้าอี้เด็กและคาดหวังว่าเขาจะเล่นกับของเล่นสองสาม ชิ้นในขณะที่คุณแม่กำลังอุ่นอาหารกลางวัน” แบบนี้ไม่ได้หมายความคุณพ่อคุณแม่ไม่มีความรับผิดชอบ แต่เด็กจำเป็นต้องรู้สึกหงุดหงิดบ้างนิดๆ หน่อยๆ เป็นบางครั้งบางคราวเพื่อให้เขารู้จักความอดทน แต่บทเรียนนี้ก็ไม่ง่ายนัก!

เมื่อลูกน้อยอายุครบหนึ่งขวบและมีทักษะทางการสื่อสารดีขึ้น ความหงุดหงิดบางอย่างของลูกควรลดน้อยลง “เมื่อเขากำลังร้องไห้อยู่ในเตียง และคุณแม่ตะโกนบอกเขาว่าคุณกำลังไปหาเขา เขาอาจหยุดร้องไห้ได้ เพราะเขารับรู้ว่าคุณกำลังมา” ฮาร์ทกล่าว

การลุกยืน
เด็กส่วนใหญ่จะสามารถดึงตัวเองลุกขึ้นยืนได้ในระหว่างอายุ 10 ถึง 12 เดือน และแน่นอนว่าเด็กบางคนสามารถทำได้ก่อนหน้านั้นและอาจถึงขนาดเดินได้ก่อนที่ อายุจะครบหนึ่งขวบ แต่เด็กบางคนก็อาจล้าหลังเพียงเล็กน้อย เมื่อไรก็ตามที่เด็กดึงตัวเองลุกขึ้นยืนได้เมื่อไร นั่นจะถือเป็นพัฒนาที่สำคัญสำหรับเด็ก ไม่เพียงแต่เฉพาะในด้านทางกายภาพเท่านั้น แต่ยังรวมถึงทางด้านอารมณ์อีกด้วย ฮาร์ทกล่าวว่า “เมื่อเด็กยืนได้ เขาจะอยู่ในตำแหน่งที่สามารถประสานสายตาและแสดงปฏิสัมพันธ์ทางสังคมได้ดี กว่า” อันที่จริงแล้ว การยืนจะเปลี่ยนวิธีที่ลูกน้อยแสดงปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมของเขา เพราะว่า “เขาจะมีโอกาสได้ออกสำรวจโลกมากขึ้นและส่งเสริมความเชื่อมั่นของเขา” ลิส เอเลียต PhD ผู้แต่งเรื่อง What's Going On in There? How the Brain and Mind Develop in the First Five Years of Life (Bantam, 2543) เวลาที่ลูกน้อยอยู่ในตำแหน่งแนวตั้ง จะทำให้เขาได้เห็นในมุมมองใหม่ ทำให้เขาเอื้อมมือไปหยิบของได้ถนัดขึ้น และรู้สึกว่าตัวเองเท่าเทียมกับคนอื่นๆ ที่ยืนได้

เมื่อลูกน้อยสามารถยืนได้แล้ว เขาจะแทบไม่ยอมนั่งเลย คุณแม่อาจจับเขานั่งบนเก้าอี้เด็กเวลาที่เขาหมุนตัวและพยายามลุกขึ้นยืน การยืนกลายเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดไปแล้วสำหรับเขาในตอนนี้ เพราะเขากำลังฝึกฝนการทรงตัวเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับก้าวแรก

พัฒนาการที่สำคัญในแต่ละช่วงวัย
วัย 10 เดือน

* กลิ้งลูกบอลได้
* ทานอาหารโดยใช้มือหยิบจับได้เอง
* ชี้ไปที่สิ่งของได้

วัย 11 เดือน

* เริ่มหยิบจับด้วยการใช้นิ้วคีบได้
* สามารถวางซ้อนบล็อกตัวต่อและพลิกหน้าหนังสือสำหรับเด็กเล็กที่มีขนาดหนาๆ ได้
* ดึงตัวเพื่อลุกขึ้นยืนได้

วัย 12 เดือน

* เกาะเฟอร์นิเจอร์เดินอย่างช้า ๆ หรือเดินก้าวแรกได้ด้วยตัวเอง
* ทานอาหารด้วยช้อนเองได้

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

0 comments:

Post a Comment

 

Mama And Baby Care Copyright © 2009 Baby Shop is Designed by Ipietoon Sponsored by Emocutez