A Blogger by Beamcool

Tuesday, June 30, 2009

การเจ็บท้องและการคลอด - คนที่อยู่ด้วยในระหว่างคลอด - ใครจะอยู่เป็นเพื่อน คุณแม่คนใหม่

Posted by wittybuzz at 12:12 AM 0 comments

กำลังใจในระหว่างที่คุณแม่เจ็บท้องคลอดถือเป็นสิ่งสำคัญ และคุณอาจ ต้องการแบ่งปันช่วงเวลาหลังคลอดที่พิเศษนี้กับใครบางคนที่คุณเชื่อใจและรัก

สามีของคุณอาจเป็นตัวเลือกที่เด่นชัดที่สุด แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นเขาก็ได้ หากเขามาไม่ได้ หรือหากเขาไม่อยากอยู่ด้วยในระหว่างคลอด คุณก็อาจจะเลือกคนอื่นได้ หรือไม่ก็อาจให้ทั้งสามี และคนอื่นอยู่ด้วยก็ได้

มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าการมีคนอื่นอยู่ด้วยในระหว่างคลอด ไม่ว่าจะเป็นสามีหรือคนอื่น จะเป็นประโยชน์ต่อคุณแม่และสามารถช่วยร่นระยะเวลาในการเจ็บท้องและจะเป็น ประสบการณ์ที่ดีขึ้นสำหรับคุณแม่ คุณอาจขอให้เพื่อนสนิท ญาติ หรือครูสอนในการฝากครรภ์ให้มาอยู่ด้วยในระหว่างเจ็บท้องคลอดก็ได้

คุณจะได้รับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพตลอดการเจ็บท้องคลอดและแน่นอน ว่าการที่คุณแม่รู้สึกสบายใจและเชื่อใจผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญ บางครั้งผู้ที่อยู่ด้วยในระหว่างคลอดจะเป็นผู้ช่วยเหลือที่ดีในการสื่อสาร ว่าคุณต้องการอะไรกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ และเพียงแค่อยู่ที่นั่นกับคุณ

ขอให้คุณแม่คิดอย่างรอบคอบว่าจะให้ใครมาอยู่ด้วยในระหว่างเจ็บท้องคลอด คนที่คุณเลือกให้มาอยู่ด้วยควรเป็นคนที่

* คุณ ไม่รู้สึกเขินอายด้วย ไม่เพียงเพราะว่าเขาจะเห็นในสิ่งที่ปรกติแล้วคุณจะรักษาไว้เป็นเรื่องส่วน ตัว แต่ยังเป็นเพราะเมื่อคุณเจ็บท้องรุนแรงขึ้น คุณอาจพูดสิ่งที่ไม่เสนาะหูหรือก้าวร้าวออกมาได้
* มี ความเข้มแข็งและสงบตลอดช่วงระยะเวลา คุณควรแจ้งกับทางโรงพยาบาลล่วงหน้าว่าคุณวางแผนให้มีคนมาอยู่ด้วยระหว่าง คลอด และขอให้พยาบาลเขียนเป็นบันทึกไว้ วิธีนี้ คุณจะได้แน่ใจว่า ใครก็ตามที่จะมาทำหน้าที่ในขณะที่คุณกำลังเจ็บท้องคลอดทราบถึงความต้องการ ของคุณ

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Monday, June 29, 2009

การเจ็บท้องและการคลอด - ระยะที่หนึ่งของการเจ็บ ท้องคลอด

Posted by wittybuzz at 3:12 AM 0 comments

การเจ็บท้องคลอดมักจะแบ่งเป็นสามระยะ ระยะที่หนึ่งเป็นระยะยาวนานที่สุดสำหรับคุณแม่แทบทุกคน แต่ความ นานของระยะนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละคน ซึ่งอาจใช้เวลาตั้งแต่ 1 ชั่วโมงจนถึง 20 ชั่วโมงก็ถือว่าปกติ

การเจ็บท้องคลอดเริ่มต้นจากการตอบสนองของฮอร์โมนกระตุ้นที่หลั่งออกมาจากทารกในครรภ์ ต่อมหมวกไตของ ทารกในครรภ์มีพัฒนาการที่สมบูรณ์และเริ่มหลั่งฮอร์โมนคอร์ติโซนออกมา ในการตอบสนองต่อฮอร์โมนนั้น ร่างกาย คุณแม่จะสร้างฮอร์โมนที่มีชื่อว่า โพรสตาแกลนดิน ซึ่งฮอร์โมนนี้เองที่ไปกระตุ้นมดลูกให้บีบตัว

ในการบีบตัวแต่ละครั้งนั้น

* มดลูกจะดันทารกลงด้านล่าง
* ปาก มดลูกจะเปิดและบางลง และในช่วงท้ายของระยะที่หนึ่งนั้น ปากมดลูกจะเปิดเต็มที่ ซึ่งกว้างพอที่จะให้ทารกในครรภ์ผ่านไปยังช่องคลอดได้ (ปากช่องคลอด) ปากมดลูกจะขยายตัวกว้าง 10 เซนติเมตรหรือขยายตัวอย่างเต็มที่ การบีบตัวของมดลูกจะมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ ในช่วงเริ่มเจ็บท้องคลอดนั้น มดลูกจะบีบตัวประมาณ 40 วินาทีและบีบตัวทุกๆ 10 นาที ในช่วงท้าย การบีบตัวแต่ละครั้งจะนานกว่าหนึ่งนาที โดยมีช่วงห่างของการบีบตัวแต่ละครั้งไม่ถึงหนึ่งนาที การเจ็บท้องมีแนวโน้มว่าจะเกิดเร็วขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ปรกติแล้ว ปากมดลูกจะใช้เวลาในการขยาย 5 เซนติเมตรแรกนานกว่าและจะขยายตัวเร็วขึ้นใน 5 เซนติเมตรถัดไป สำหรับวิธีว่าทำอย่างไรคุณแม่จึงจะรู้สึกสบายนั้น คุณแม่ส่วนใหญ่จะรับมือกับระยะการเจ็บท้องนี้ได้ดีที่สุดหากคุณแม่อยู่ในท่า ใดก็ตามที่ทำให้รู้สึกสบายมากที่สุด ซึ่งตัวอย่างของท่าทางเหล่านี้คือ
o คุกเข่า
o พิงไปด้านหน้าบนเบาะที่ตั้งบนพื้นหรือพิงตักของสามี
o พิงกำแพง
o ใช้มือและเท้าค้ำตัวเอง และท่าอะไรก็ได้ที่จะช่วยให้รู้สึกสบาย แต่ละท่าทางจะช่วยให้รู้สึกดีขึ้นในแต่ละระยะ ควรมีการตรวจทารกในครรภ์ด้วยในระหว่างนี้ด้วยการตรวจดูอัตราการเต้นของหัวใจ ของทารกอย่างใกล้ชิด

พยาบาลอาจใช้พินาด ซึ่งเป็นหูฟังของหมอ มีลักษณะคล้ายกับแตร โดยพยาบาลจะวางลงบนท้องคุณและฟังเสียงการเต้นของหัวใจของเด็ก

คุณแม่อาจได้รับการติดเครื่องอิเล็กทรอนิกส์เพื่อตรวจดูทารกในครรภ์ซึ่งจะ จับอัตราการเต้นของหัวใจของทารกและแสดงเป็นตัวเลขบนจอ หรืออีกวิธีหนึ่งก็อาจมีการใช้ขั้วสายไฟขนาดเล็กต่อเข้ากับหนังศีรษะของทารก ในครรภ์เพื่อรับ สัญญาณการเต้นของหัวใจ ผลการตรวจจะถูกส่งไปยังเครื่องรับ และมีการพิมพ์ผลการเต้นของหัวใจออกมาเพื่อจะได้ ประเมินอาการเป็นระยะๆ รูปแบบการตรวจติดตามนี้สามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง

ระบบตรวจวัด (Telemetry) จะส่งสัญญาณอัตราการเต้นของหัวใจผ่านคลื่นเสียงไปยังเครื่องรับ จริงๆ แล้วคุณแม่ จะไม่ได้ถูกต่อเข้ากับเครื่องมอนิเตอร์ ดังนั้น คุณแม่จึงสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระตราบเท่าที่ยังอยู่ในระยะของ เครื่องมอนิเตอร์ และการตรวจติดตามวิธีนี้สามารถทำได้อย่างต่อเนื่องเช่นกัน

เครื่องดอพเพลอร์ (Doppler) ใช้อัลตร้าซาวนด์ในการตรวจติดตาม เครื่องส่งและเครื่องรับสัญญาณขนาดเล็กจะถูก วางบนท้องคุณแม่เพื่อตรวจจับอัตราการเต้นของหัวใจของทารกในครรภ์


ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Sunday, June 28, 2009

การเจ็บท้องและการคลอด - สัญญาณแรกของการ เจ็บท้องคลอด

Posted by wittybuzz at 7:23 PM 0 comments

การเจ็บท้องและการ คลอดแต่ละครั้งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และคุณแม่จะได้สัมผัสกับประสบการณ์ต่างๆ มากมาย เราไม่สามารถทำนายได้อย่างแม่นยำว่าจะเจ็บท้องคลอดอย่างไรและเมื่อใด

ขอให้สังเกตสัญญาณต่อไปนี้

ร่องรอยตกขาว

คือการหลุดลอกของเมือกที่ปิดปากมดลูก (Operculum) อาจดูเหมือนเจลลี่สีชมพูเป็นหยดเล็กๆ หรืออาจทยอย ออกมาเป็นชิ้นเล็กๆ โดยอาจมีสีแดงแทนที่จะเป็นสีชมพูก็ได้ เมือกนี้ “หลุดลอก” ออกเนื่องจากปากมดลูกเริ่มจะ ขยายตัวและอ่อนนุ่มขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าคุณแม่จะคลอดในตอนนี้ แต่อาจหมายความว่าการเจ็บท้องคลอดจะ เริ่มขึ้นภายในเวลาสองสามชั่วโมงจนถึงสองสามวัน

ถุงน้ำคร่ำแตก

ถุงน้ำคร่ำคือถุงเยื่อที่เก็บน้ำคร่ำไว้อยู่รอบตัวทารก เมื่อถุงนี้ฉีกขาด น้ำคร่ำจะไหลออกมา ซึ่งอาจจะเกิดเป็นน้ำไหล ออกมาอย่างมากในทันทีทันใด แต่โดยมากแล้ว จะค่อยๆ ไหลออกมาอย่างช้าๆ คุณแม่ควรโทรหาพยาบาลหรือ โรงพยาบาลเพื่อขอคำแนะนำหากรู้ตัวว่าถุงน้ำคร่ำแตก ซึ่งคุณแม่อาจได้รับคำแนะนำให้เข้าไปที่โรงพยาบาล เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้หากถุงน้ำแตกและเด็กใช้เวลานานกว่าจะคลอด นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยง หากศีรษะของทารกยังไม่ลงไปอยู่ที่เชิงกราน เนื่องจากน้ำคร่ำอาจพัดพาสายสะดือลงมาด้วยเช่นกัน นั่นหมายความ ว่าเด็กอาจไปกดทับสายสะดือและทำให้ขาดอากาศหายใจได้ คุณแม่ส่วนใหญ่ที่ถุงน้ำคร่ำแตก จะมีอาการเจ็บท้อง คลอดตามปกติดีทุกอย่างและจะเจ็บท้องคลอดอีกไม่นานหลังจากที่ถุงน้ำคร่ำแตกแล้ว

การบีบตัวของมดลูก

คุณแม่ควรนับจำนวนครั้งและจับเวลาการบีบตัวของมดลูก หากมดลูกบีบตัวถี่มากขึ้นในเวลาหนึ่งหรือสองชั่วโมง และบีบตัวนานกว่า 40 วินาที และมีความรุนแรงมากขึ้น ก็มีแนวโน้มว่ามดลูกบีบตัวในการเจ็บครรภ์คลอด

คำถามที่พบได้บ่อย

ถาม การบีบตัวของมดลูกคืออะไร
ตอบ มดลูกประกอบด้วยเครือข่ายของเส้นใยกล้ามเนื้ออันซับซ้อน เส้นใยนี้จะหดตัวสั้นลงเพื่อดึงให้ปากมดลูกเปิด และเพื่อเพิ่มแรงกดลงด้านล่างจากด้านบนของมดลูก จุดที่มดลูกบีบตัวรุนแรงที่สุดนั้น เส้นใยกล้ามเนื้อจะหดสั้นที่สุด และจากนั้นกล้ามเนื้อก็จะผ่อนคลายและการบีบตัวจะหายไป อย่างไรก็ตาม ในการบีบตัวแต่ละครั้ง กล้ามเนื้อจะหด สั้นลงกว่าเดิมเล็กน้อย ซึ่งจะทำให้ปากมดลูกเปิดกว้างขึ้นเล็กน้อยและเด็กก็จะเคลื่อนตัวต่ำกว่าเดิม

ถาม เวลาที่มดลูกบีบตัวจะเจ็บปวดหรือไม่
ตอบ เจ็บ สำหรับคุณแม่ส่วนใหญ่ คุณแม่จะรู้สึกว่าหน้าท้องเกร็งเป็นระยะๆ หากคุณเคยรู้สึกปวดประจำเดือน (ซึ่ง เกิดจากการบีบตัวของมดลูกเช่นกัน) ความรู้สึกจะคล้ายอย่างนั้น คุณแม่บางคนรู้สึกถึงการเกร็งตัวที่บริเวณหลังหรือที่น่องด้วย
ระยะที่หนึ่ง

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

การเจ็บท้องและการคลอด

Posted by wittybuzz at 7:15 PM 0 comments

ในที่สุดนาทีที่คุณรอคอยก็มาถึง และจะไม่มีอะไรมาหยุดช่วงเวลานี้ได้ ลูกน้อยของคุณจะได้ออกมาดูโลกภายนอกไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง การรู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นบ้างในระหว่างเจ็บท้องรอคลอดและระหว่างคลอดจะสามารถ ช่วยให้คุณแม่ลดความกังวลได้บ้าง

ยาบรรเทาความเจ็บปวดจะมีผลอย่างไรต่อลูกบ้าง ฉันจะรู้ได้อย่างไรว่าฉันอยู่ในช่วงเจ็บท้องคลอด สามีจะช่วยให้ฉันผ่านช่วงเจ็บท้องคลอด และช่วงคลอดลูกของเราได้อย่างไร เรามีคำตอบสำหรับคำถามเหล่านี้และอื่นๆ อีกมากมายในหัวข้อนี้

สัญญาณแรกของการ เจ็บท้องคลอด

สัญญาณที่บ่งบอกว่าอีกไม่นานคุณแม่ก็จะเริ่มเจ็บท้องคลอดแล้ว...

ระยะที่หนึ่ง

ระยะที่หนึ่งจะยาวนานที่สุดสำหรับแทบทุกคน แต่ความนานของระยะนี้จะแตกต่างกันไป...

คนที่อยู่ด้วยในระหว่างคลอด - ใครจะอยู่เป็นเพื่อน คุณแม่คนใหม่

กำลังใจในระหว่างที่คุณแม่เจ็บท้องคลอดถือเป็นสิ่งสำคัญ...

การบรรเทาความเจ็บปวด ในระหว่างที่เจ็บท้องคลอด

ควรทำความคุ้นเคยกับวิธีบรรเทาความเจ็บปวดซึ่งเป็นที่นิยมก่อนที่คุณแม่จะเริ่มเจ็บท้องคลอด...

ระยะที่สองของการเจ็บ ท้องคลอด


คุณแม่จะทราบว่าเข้าสู่ระยะที่สองแล้วคุณรู้สึกว่าต้องออกแรงเบ่งอย่างมาก...

ระยะที่สาม

ระยะที่สามของการเจ็บท้องคลอดคือการขับเอารกออกมา...

การคลอดด้วยการผ่าตัด

ทำไมถึงจำเป็นต้องคลอดด้วยการผ่าตัด และมีวิธีการอย่างไร...

Saturday, June 27, 2009

การเตรียมพร้อมสำหรับลูกน้อย - การกลับไปอยู่บ้าน

Posted by wittybuzz at 11:25 AM 0 comments

สิ่งที่คุณคาดหวัง

การพูดคุยและการ ปรึกษาหารือกับสามีว่าทั้งคู่ คาดหวังอะไรไว้บ้างเมื่อลูกน้อยกลับมาอยู่บ้านจะช่วยบรรเทาความเครียดที่อาจ เกิดขึ้นกับคุณแม่ได้ คุณแม่อาจเห็นว่าคุณสามีอาจมีความคิดเกี่ยวกับบทบาทของเขาแตกต่างไป จากคุณ โดยเขาอาจมองว่าเขาคือคนที่ออกไปทำงานหาเงินและไม่ต้องรับผิดชอบเรื่องอะไร ก็ตามภายในบ้าน แม้ว่า นั่นอาจเป็นความคิดที่ค่อนข้างล้าสมัยก็ตาม ผู้ชายสมัยใหม่ส่วนใหญ่ชอบที่จะได้มีโอกาสช่วยเลี้ยงลูก คุณควรให้เขา ช่วยให้มากเท่าที่เขาเต็มใจที่จะช่วย เพราะจะช่วยเบาแรงคุณและคุณจะได้ไม่ต้องทนทุกข์อยู่คนเดียว

หากคุณ ทั้งสองคนสามารถตั้งความคาดหวังของตัวเองได้ในขณะที่ทั้งสองคนยังมี เหตุผลอยู่ และก่อนที่คุณแม่จะต้องทนทุกข์จากการอดนอน ก็จะช่วยให้ความสัมพันธ์ของคุณพ่อคุณแม่เป็นไปอย่างราบรื่นมากยิ่งขึ้น หรืออาจเขียนสิ่งที่คุณคิดออกมาก็ได้ ขอให้โชคดีนะคะ

การเตรียมตัวให้กับพี่

การ นำน้องคนใหม่เข้าสู่โลกของพี่วัยหัดเดินอาจทำให้เด็กรู้สึกอึดอัดใจเป็น อย่างมาก คุณแม่จะเป็นผู้ที่รู้ดีที่สุด เกี่ยวกับลูกของตัวเองและรู้ว่าเขาต้องการรู้ข้อมูลอะไรบ้าง ขอให้คุณแม่ใช้สัญชาตญาณของตัวเองและบอกเขาในสิ่ง ที่คุณแม่คิดว่าเขาจำเป็นต้องรู้ ต่อไปนี้เป็นแนวทางสำหรับคุณแม่

* คุณแม่ส่วนมากมักจะไม่บอกลูกว่ากำลังจะมีน้องใหม่จนกว่าจะถึงสัปดาห์ที่ 13 ซึ่งโดยปกติแล้วช่วงนี้จะผ่าน “ช่วงเวลาอันตราย” ของการตั้งครรภ์และจะทำให้ระยะเวลาในการรอคอยน้องคนใหม่สั้นลง คุณแม่ควรทราบว่าเด็กยังไม่เข้าใจในเรื่องของเวลามากนักและเขาอาจอยากให้ น้องออกมา หรืออยากให้น้องอยู่ในท้องทันทีที่คุณแม่บอกข่าวให้เขารู้
* พยายามให้เด็กมีส่วนร่วมในการพูดคุยเกี่ยวกับน้องใหม่ให้มากที่สุด สิ่งหนึ่งที่คุณแม่ควรจำไว้ก็คือ ไม่ควรพยายามให้ตัวเลือกกับเขาเช่น “หนูอยากมีน้องชายหรือน้องสาวจ๊ะ” เพราะเขาไม่สามารถเลือกได้อยู่แล้วว่าจะให้น้องเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย หรือ “เราจะตั้งชื่อให้น้องว่าอะไรดี” นอกจากว่าเขาจะมีข้อมูลในการเลือกชื่อจริงๆ
* พยายามจัดสถานการณ์ที่ลูกสามารถมีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้วย เช่น การซื้อเสื้อผ้า การจัดห้องน้องและการจัดตำแหน่งเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
* ให้ลูกวัยเตาะแตะเลือกของขวัญที่เขาจะเอาไปให้น้องชายหรือน้องสาวคนใหม่เวลาที่เขาไปเยี่ยมคุณที่โรงพยาบาล
* เด็กส่วนมากจะมีการตอบสนองที่ดีต่อความจริงใจและพวกเขาจะขอบคุณที่รู้ว่าจะ เกิดอะไรกับเขาในขณะที่คุณแม่ไปพักที่โรงพยาบาล เช่น จะมีพี่เลี้ยงมาอยู่ที่บ้านเพื่อดูแลลูกหรือจะให้ลูกไปอยู่ที่บ้านเพื่อน หรือบ้านญาติ
* แม้คุณจะรู้สึกเหนื่อยมากจากการตั้งครรภ์ แต่ก็ควรพยายามอย่าใช้เหตุผลนี้เป็นข้ออ้างกับลูกว่าแม่ทำอะไรบางอย่างให้ กับลูกไม่ได้เพราะว่าแม่กำลังท้องอยู่ เพราะเขาจะจดจำไว้และอาจทำให้เขาโกรธน้องตั้งแต่ก่อนที่น้องจะเกิดมาเสียอีก
* การซื้อของขวัญให้กับพี่วัยหัดเดินเมื่อเขาไปเยี่ยมคุณที่โรงพยาบาลเป็นครั้งแรกเป็นวิธีที่ดีในการแนะนำน้องให้พี่ได้รู้จัก

การพา น้องใหม่กลับบ้านอาจเป็นเรื่องน่าหวาดหวั่นสำหรับลูกน้อยวัยหัดเดินก็ได้ คุณแม่ควรเตรียมพร้อมรับการ เปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของลูกคนโต เพราะเขากำลังหาจุดยืนของเขาในครอบครัวที่มีสมาชิกเพิ่มขึ้น

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Friday, June 26, 2009

การเตรียมพร้อมสำหรับลูกน้อย - จัดกระเป๋าเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด

Posted by wittybuzz at 3:17 AM 0 comments

สำหรับการเจ็บท้องคลอด

คุณแม่ควรเริ่มเตรียมเก็บข้าวของเมื่อตั้งท้องได้ประมาณ 36 สัปดาห์ ซึ่งจะช่วยให้คุณแม่สบายใจมากขึ้นที่ได้รู้ว่าได้ จัดเตรียมทุกอย่างที่จำเป็นต้องใช้สำหรับการคลอดแล้ว หากคุณแม่นำสิ่งใดออกไปจากกระเป๋าก่อนที่จะไป โรงพยาบาล ก็ควรเขียนโน้ตกำกับไว้ที่กระเป๋าเพื่อเตือนให้คุณแม่หรือสามีทราบว่าขาดของ ชิ้นนั้นไปจากกระเป๋า ควร เช็คกับโรงพยาบาลหรือศูนย์ทำคลอดเพื่อจะได้ทราบว่าทางโรงพยาบาลเตรียมอะไร ไว้ให้บ้างในระหว่างที่รอคลอด คุณแม่อาจนำแผ่นซีดีเพลงโปรดไปด้วยก็ได้หากที่โรงพยาบาลมีระบบเครื่องเสียง เตรียมไว้ให้

ต่อไปนี้เป็นแนวความคิดว่าคุณแม่อาจจำเป็นต้องใช้อะไรบ้าง

* ชุดนอนหรือเสื้อยืดหลวมๆ ใส่สบายที่สามารถใส่ได้ในระหว่างเจ็บท้องและระหว่างคลอด คุณแม่ควรคิดไว้เลยว่าชุดนี้ต้องเปื้อนจากการคลอดได้แน่ๆ
* ขวดน้ำ/ลูกอม/ก้อนน้ำตาลกลูโคส
* ขนมหรือเครื่องดื่มที่คุณชอบ
* แผนการคลอดของฮักกี้ส์®
* ลิปมัน
* ถุงเท้าหนาๆ (คุณแม่อาจรู้สึกเย็นเท้าระหว่างเจ็บท้องคลอด) ซึ่งคุณแม่อาจทิ้งถุงเท้าคู่นี้ไปหลังคลอด
* อุปกรณ์สำหรับนวด น้ำมันหรือครีมต่างๆ
* ถุงประคบร้อน
* กล้องถ่ายภาพหรือกล้องวิดีโอ (ควรขออนุญาตก่อนเริ่มถ่ายภาพวิดีโอ)
* แผ่นซีดีไว้สำหรับเปิดในระหว่างคลอด
* รายชื่อติดต่อสำหรับแจ้งข่าวดีของฮักกี้ส์®
* บัตรโทรศัพท์และเหรียญสำหรับหยอดตู้โทรศัพท์ ลองสอบถามเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลก่อนใช้โทรศัพท์มือถือ
* เครื่องสำอางและแปรงหวีผมเพื่อแต่งหน้าแต่งผมสำหรับการถ่ายภาพหลังคลอด

สำหรับเข้าพักที่โรงพยาบาล

คุณแม่ส่วนใหญ่จะอยู่ในโรงพยาบาลประมาณ 3-4 วันหลังคลอดตามธรรมชาติและประมาณ 5-6 วันหลังการคลอดด้วยการผ่าตัด โรงพยาบาลและศูนย์ทำคลอดบางแห่งอาจอนุญาตให้คุณแม่ออกไปทานอาหารค่ำข้างนอก กับสามีได้ (ปรกติแล้วจะให้ไปแค่ที่ร้านอาหารหรือโรงอาหารในโรงพยาบาล) ก่อนคุณออกจากโรงพยาบาล ดังนั้น คุณแม่อาจ จัดของพิเศษบางอย่างสำหรับช่วงเวลานี้ไปด้วย โรงพยาบาลและศูนย์ทำคลอดบางแห่งอาจจัดข้าวของทุกอย่างที่ จำเป็นสำหรับลูกน้อยให้ในขณะที่พักอยู่ที่โรงพยาบาล คุณแม่ควรตรวจสอบดูว่าทางโรงพยาบาลจำเป็นต้องใช้อะไร หรือไม่ก่อนที่คุณจะไปถึงโรงพยาบาล

* ชุดนอนที่เปิดหน้าอกได้ง่าย (สำหรับการให้นมลูก) 3 ชุด ชุดคลุมหรือเสื้อคลุมยาว รองเท้าแตะ
* ยกทรงสำหรับป้อนนมลูก 3 ตัว
* แผ่นปิดเต้านม
* ชุดข้าวของเครื่องใช้ในห้องน้ำและชุดแต่งหน้า
* กางเกงชั้นในหลายๆ ตัว อาจเป็นกางเกงชั้นในกระดาษแบบใช้แล้วทิ้ง
* ผ้าอนามัยสำหรับคุณแม่ 2-3 ห่อ
* เสื้อผ้าสำหรับใส่ตอนกลางวันและชุดสำหรับใส่ตอนออกจากโรงพยาบาล
* คุณอาจจำเป็นต้องเตรียมชุดสำหรับให้ลูกน้อยใส่ตอนออกจากโรงพยาบาลด้วย โดยที่ชุดควรจะประกอบไปด้วยชุดหมี ถุงเท้า เสื้อผ้าชั้นนอก สเวตเตอร์ (ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ) และผ้าห่มสำหรับเวลาอยู่ในรถ


ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Thursday, June 25, 2009

การเตรียมพร้อมสำหรับลูกน้อย - อุปกรณ์สำหรับลูกน้อย

Posted by wittybuzz at 1:08 AM 0 comments

การตัดสินใจว่าจะซื้อของใหม่ให้ลูกหรือจะยืมจาก คนอื่นดีอาจเป็นเรื่องคิดไม่ตกสำหรับคุณพ่อคุณแม่ มีอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับลูกน้อยให้เลือกซื้อมากมาย และความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญที่ควรพิจารณา ข้อมูลต่อไปนี้ครอบคลุมถึงอุปกรณ์ประเภทต่างๆ ที่อาจจำเป็นต้องใช้เมื่อกลับมาบ้านเป็นครั้งแรก บางทีคุณแม่อาจคิดว่า จำเป็นต้องใช้มากกว่านี้ แต่คุณแม่ส่วนใหญ่มักจะบอกให้รอดูก่อนที่จะลงทุนซื้อของให้ลูกมากมาย

ที่นั่งในรถสำหรับเด็ก

ต้องติดตั้งที่นั่งในรถสำหรับเด็กอย่างถูกต้องก่อนที่คุณแม่จะได้รับอนุญาต ให้ออกจากโรงพยาบาลได้ แม้ว่าจะมีหลายยี่ห้อให้เลือก แต่ที่จริงแล้วที่นั่งในรถมีเพียงแค่สองแบบเท่านั้น แบบแรกคือแบบสลับด้านได้ โดยเริ่มแรกจะเป็นที่นั่งซึ่งหันหน้าไปด้านหลังรถ และจากนั้นจึงเปลี่ยนเป็นหันด้านไปด้านหน้ารถเมื่อลูกน้อยโตขึ้น ที่นั่งชนิดนี้คุณแม่ต้องอุ้มลูกน้อยออกจากที่นั่งและแกะสายรัดออกเมื่อลง จากรถ ที่นั่งประเภทที่สองคือแบบแคปซูล โดยที่นั่งจะติดตั้งอยู่ในกรอบป้องกันรอบนอก ซึ่งจะช่วยให้คุณแม่สามารถอุ้มลูกน้อยออกจากรถได้ในขณะเขายังมีสายรัดคาด อยู่ ซึ่งหมายความว่าจะไม่ต้องรบกวนลูกน้อยหากเขาหลับอยู่

หากจะซื้อที่นั่งในรถหรือแคปซูลมือสอง คุณแม่จำเป็นต้องสอบถามเกี่ยวกับประวัติความปลอดภัยของอุปกรณ์นั้นก่อน ห้ามใช้ที่นั่งที่เคยมีประวัติว่าเกิดอุบัติเหตุมาก่อน ควรตรวจดูว่าสายรัดไม่มีร่องรอยสึกหรอใดๆ และ กรอบป้องกันรอบนอกของแคปซูลไม่มีรอยแตกหรือร่องรอยของความเสียหาย

* หากจะซื้อที่นั่งในรถหรือแคปซูลมือสอง คุณแม่จำเป็นต้องสอบถามเกี่ยวกับประวัติความปลอดภัยของอุปกรณ์นั้นก่อน ห้ามใช้ที่นั่งที่เคยมีประวัติว่าเกิดอุบัติเหตุมาก่อน ควรตรวจดูว่าสายรัดไม่มีร่องรอยสึกหรอใดๆ และ กรอบป้องกันรอบนอกของแคปซูลไม่มีรอยแตกหรือร่องรอยของความเสียหาย
* คุณแม่อาจซื้อที่หนุนศีรษะเพื่อใช้กับที่นั่งในรถก็ได้ ซึ่งจะช่วยไม่ให้ศีรษะของลูกน้อยเคลื่อนไหวมากเกินไปจากการเคลื่อนไหวของรถ
* หรือจะเลือกเช่าที่นั่งเด็กในรถก็ได้ บริการนี้มักรวมการติดตั้งที่นั่งไว้ด้วย เวลาที่คุณแม่ไปเข้าอบรมก่อนคลอดหรือไปหาคุณหมอที่คลินิก ควรถามข้อมูลว่ามีบริษัทใดบ้างที่ให้บริการนี้

รถเข็น

ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อรถเข็นเด็ก คุณแม่ต้องคำนึงถึงจุดเด่นต่างๆ ของรถเข็นที่จำเป็นต้องใช้ก่อน

ลองถามตัวเองด้วยคำถามเหล่านี้

* “ฉันจะเดินแบบไหน” ตัวอย่างเช่น คุณจะใช้รถเข็นเพื่อเดินไปบนถนนเพื่อออกกำลังกายใช่ไหม หากใช่ คุณจำเป็นต้องซื้อรถเข็นที่สามารถรองรับแรงกระแทกได้ดี
* “อยากได้รถเข็นที่ใช้ได้กับลูกน้อยตั้งแต่วัยแรกเกิดไปจนถึงวัยเตาะแตะใช่ ไหม” หากคำตอบคือใช่ คุณแม่ก็ต้องซื้อรถเข็นที่มีที่นั่งที่สามารถปรับให้นอนราบได้สำหรับลูกน้อย วัยแบเบาะ นอกจากนี้ คุณแม่ยังอาจเลือกซื้อเลือกซื้อรถเข็นที่สามารถสลับตำแหน่งด้านจับได้ เพื่อที่ว่าจะได้มองเห็นลูกน้อยวัยแรกเกิด และเมื่อเขาโตขึ้นและอยากจะมองไปรอบๆ มากขึ้น คุณแม่ก็จะได้สลับด้านเพื่อหันหน้าเขาออก
* “ท้ายรถของคุณมีขนาดกว้างเท่าไหร่” คุณแม่ควรวัดขนาดท้ายรถ หรือถ้าจะให้ดีกว่านั้นก็ควรขอรถเข็นจากร้านขายของเด็กใกล้บ้านมาลองใส่ท้าย รถดูว่าใส่ได้หรือไม่
* “ฉันจำเป็นต้องหิ้วรถเข็นขึ้นรถสาธารณะไหม” คุณอาจต้องเช็คดูอย่าให้รถเข็นหนักมากเกินไปและควรพับได้จนมีขนาดกะทัดรัดพอสมควร
* “จะพับและเก็บรถเข็นได้ง่ายเพียงไร” ควรลองพับรถเข็นทุกคันที่คุณกำลังเลือกอยู่ในร้าน ควรลองพับโดยใช้มือข้างเดียวด้วย ซึ่งในบางครั้งคุณแม่ก็ต้องลงเอยด้วยการพับรถเข็นด้วยมือข้างเดียว
* “คุณและสามีสูงเท่าไหร่” เนื่องจากการก้มเข็นรถเข็นเป็นเวลานานๆ อาจทำให้เกิดอาการปวดหลังได้
* “ตะกร้าใต้รถเข็นมีขนาดใหญ่เท่าไร” “ฉันจะเอารถเข็นคันนี้ไปช้อปปิ้งประเภทไหนหรือฉันจะเก็บอะไรไว้ใต้รถเข็นบ้าง”
* “รถ เข็นนี้จะใช้สำหรับเด็กสองคนได้ไหม” “รถเข็นคันนี้จะสามารถนำมาใส่ที่นั่งสำหรับเด็กวัยหัดเดินหรืออุปกรณ์สเกต บอร์ดสำหรับลูกวัยเตาะแตะได้ไหม”

เรื่องความปลอดภัย

* รถเข็นมีสายรัดแบบไหน สายรัดที่ดีที่สุดคือแบบ 5 จุด ซึ่งหมายความว่ามีสายรัดระหว่างขาหนึ่งเส้น สายรัดตักสองเส้น และสายรัดไหล่อีกสองเส้น สายรัดแบบนี้ช่วยทำให้มั่นใจได้ว่าเด็กจะไม่เลื่อนไหลตกจากรถเข็น หรือไม่สามารถปีนออกจากสายรัดตักได้ ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับสายรัดในรถ ควรคาดสายรัดให้กับเด็กจนติดเป็นนิสัยแม้ว่าเขาจะยังเล็กก็ตาม การคาดสายรัดจะช่วยป้องกันไม่ให้เด็กตกจากรถเข็นหากรถเกิดพลิกและจะช่วย สร้างนิสัยในการคาดสายรัดให้กับเด็กและหวังว่าเขาจะต่อต้านการคาดสายรัดน้อย ลงเมื่อเขาโตขึ้น
* รถเข็นมีกลไกความปลอดภัยที่ช่วยป้องกันรถเข็นไม่ให้ยุบตัวลงในขณะที่ลูกอยู่บนรถเข็นหรือไม่
* ที่ล็อคล้อใช้งานง่ายหรือไม่ และเมื่อรถเข็นถูกเข็นในขณะที่ล้อถูกล็อคอยู่ ตัวล็อคยังคงทำงานแน่นหนาหรือไม่
* รถเข็นมีสมดุลดีหรือไม่ มีโอกาสที่จะพลิกคว่ำหรือเปล่า

โต๊ะหรือเสื่อสำหรับเปลี่ยนผ้าอ้อม

โต๊ะสำหรับเปลี่ยนผ้าอ้อมเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นหากคุณแม่มีที่เปลี่ยนผ้าอ้อม ที่ปลอดภัยและสบายสำหรับลูกน้อยแล้ว ที่เปลี่ยนผ้าอ้อมไม่ควรจะเป็นที่ๆ มีลมโกรกและควรเป็นที่ซึ่งมีอุปกรณ์สำหรับเปลี่ยนผ้าอ้อมครบครันอยู่ใกล้มือ ในเวลาที่เปลี่ยนผ้าอ้อมให้กับลูก คุณแม่หลายท่านเลือกที่จะใช้เสื่อเปลี่ยนผ้าอ้อมแบบบุนวมและมีพลาสติกคลุมทับ เนื่องจากสามารถเคลื่อนย้ายไปได้ทั่วบ้านได้ตามต้องการ ไม่ว่าคุณแม่จะเลือกที่ใดก็ตามเป็นที่สำหรับเปลี่ยน ผ้าอ้อมให้ลูก คุณแม่ควรตรวจดูให้แน่ใจว่าไม่มีสิ่งที่อาจเป็นอันตรายต่อลูกน้อยในบริเวณนั้น

* ตรวจพื้นผิวบริเวณที่คุณใช้เปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกว่ามีความมั่นคงและปลอดภัย
* เสื่อสำหรับเปลี่ยนผ้าอ้อมควรมีขอบยกสูงขึ้นประมาณ 10 เซนติเมตรเพื่อป้องกันเด็กไม่ให้กลิ้งออกจากเสื่อ
* ตรวจดูให้แน่ใจว่าไม่มีของแหลมคมอยู่ในระยะที่ลูกเอื้อมถึง
* อย่าวางเสื่อไว้ใกล้กับปลั๊กไฟ และลูกน้อยไม่สามารถเอื้อมถึงอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ง่าย
* ดูให้แน่ใจว่าลูกน้อยจะไม่พันกับเชือกผ้าม่านหรือเชือกของมูลี่
* ห้าม ปล่อยให้ลูกน้อยอยู่ตามลำพังบนโต๊ะเปลี่ยนผ้าอ้อมหรือบนที่ยกสูงจากพื้นแม้ เพียงแป๊บเดียวก็ตาม เพราะลูกน้อยอาจตกจากที่สูงและส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บอย่างร้ายแรงได้ และห้ามปล่อยให้ลูกวัยหัดเดินอยู่กับลูกวัยแบเบาะตามลำพังในขณะที่อยู่บนที่ สูงเนื่องจากเขาอาจดึงหรือผลักน้องตกจากที่สูงโดยไม่ตั้งใจ

อ่างอาบน้ำสำหรับเด็ก

คุณแม่สามารถอาบน้ำให้ลูกน้อยที่ใดก็ได้ ไม่ว่าจะใช้อ่างอาบน้ำสำหรับเด็ก อ่างอาบน้ำธรรมดา อ่างล้างมือ หรือแม้แต่จะใช้ฝักบัวก็ได้ อ่างอาบน้ำสำหรับเด็กเป็นทางเลือกที่ดี แต่ก็มีขนาดค่อนข้างใหญ่ที่จะเก็บหลังจากที่ลูกโตเกินกว่าจะใช้มันแล้ว ซึ่งปรกติแล้วจะอยู่ที่ 12 สัปดาห์ หากคุณแม่ซื้ออ่างอาบน้ำให้ลูก ก็ควรดูให้แน่ใจว่าสามารถระบายน้ำออกจากอ่างได้ง่าย และมีความยาวพอสมควรและหากเป็นไปได้ก็สามารถติดตั้งเก้าอี้กันลื่นได้ด้วย เก้าอี้กันลื่นนี้สามารถนำไปใช้ในอาบน้ำขนาดใหญ่ได้เมื่อเขาโตขึ้น ห้ามปล่อยให้ลูกน้อยอยู่ใกล้น้ำตามลำพังเด็ดขาด


เตียงเด็ก

ระหว่างที่นอนและด้านข้างทั้งสี่ด้านของเตียงนั้น ไม่ควรมีช่องว่างขนาดเกินกว่า 2 นิ้วมือของผู้หญิง หากคุณแม่ขอยืมหรือซื้อเตียงมือสองมาใช้ ต่อไปนี้เป็นรายการที่ต้องตรวจสอบเพื่อความปลอดภัยที่คุณแม่ควรจะทราบเอาไว้ ข้อมูลต่อไปนี้เป็นแนวทางสำหรับการซื้อเตียงเด็ก

* ฐานของที่นอนควรมีระยะห่างจากขอบบนของเตียงอย่างน้อย 600 มิลลิเมตร
* ช่องว่างระหว่างซี่ลูกกรงควรมีความห่างระหว่าง 50-85 มิลลิเมตร
* ด้านข้างของเตียงและที่นอนควรมีระยะห่างกันไม่เกิน 25 มิลลิเมตร
* ควรระวังอย่าให้มีรูหรือช่องว่างที่แขน ขา ศีรษะหรือนิ้วมือของลูกน้อยเข้าไปติดได้
* พยายามเลือกเตียงที่มีขาตั้งไม่เกินสองขาและมีล้อเลื่อน
* ควรเลือกเตียงที่มีฐานเตียงติดอยู่กับที่โดยที่มีฐานเตียงอยู่ในระดับต่ำที่ สุด หากสามารถปรับระดับฐานเตียงได้ ให้ปรับฐานเตียงให้อยู่ระดับต่ำสุดทันทีที่ลูกน้อยนั่งได้

เก้าอี้โยกหรือเปลโยกที่เคลื่อนย้ายได้

เก้าอี้โยกจะมีประโยชน์มากเมื่อลูกยังเล็กๆ และสามารถปรับตามอายุเด็กได้ เก้าอี้โยกบางชนิดสามารถปรับความสูง ของที่พิงหลังได้ และถ้าเก้าอี้โยกที่คุณแม่เลือกมีลักษณะพิเศษเช่นนี้ คุณแม่ก็จะสามารถใช้เป็นเก้าอี้สำหรับป้อน อาหารตัวแรกให้ลูกได้ คุณแม่ควรตรวจดูความปลอดภัยดังต่อไปนี้

* ดูให้แน่ว่าฐานกว้างและมั่นคงเพื่อป้องกันการพลิกคว่ำ
* ตรวจดูว่าเก้าอี้โยก/เปลโยกมีสายรัดเพื่อความปลอดภัย “ห้าจุด”
* เก้าอี้โยกได้รับการออกแบบมาเพื่อให้ใช้บนพื้นเท่านั้น
* ตรวจบริเวณโดยรอบอย่าให้มีสิ่งที่อาจเป็นอันตราย


อุปกรณ์ป้อนอาหารลูกน้อย

หากเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อุปกรณ์ป้อนนมที่คุณแม่จำเป็นต้องใช้ จะมีน้อยมาก

* เก้าอี้สบายที่มีที่หนุนหลัง 1 ตัว
* แผ่นปิดเต้านมและบราสำหรับป้อนนมที่ใส่กระชับอย่างน้อย 3 ตัว
* เบาะสำหรับวางแขนและวางลูกน้อย เบาะรูปตัว “วี” จะดีที่สุด

หากคุณแม่เลือกที่จะเลี้ยงลูกด้วยอาหารทดแทนนมหรือนมผง คุณแม่จะต้องเตรียมสิ่งของต่อไปนี้ให้พร้อมเมื่อ กลับมาบ้าน

* อุปกรณ์ฆ่าเชื้อสำหรับทำความสะอาดขวดนม อาจเป็นเครื่องฆ่าเชื้อแบบไฟฟ้าหรือเป็นเตาไมโครเวฟก็ได้ หรือเพียงต้มขวดในของเหลวที่ใช้ฆ่าเชื้อ
* ควรมีขวดนมและจุกนมที่เหมาะกับลูกน้อยประมาณ 6 ชุด
* นมผงสูตรที่เหมาะสำหรับลูกน้อยและช้อนตวงนม
* อย่าลืมเตรียมเครื่องทำความสะอาดขวดและจุกนมไว้ด้วยเพื่อทำความสะอาดขวดและจุกนมได้สะอาดหมดจด

เครื่องช่วยเฝ้าติดตามเด็ก

ต่อไปนี้คือฟังก์ชั่นที่มีประโยชน์ของเครื่องมอนิเตอร์ที่คุณแม่ควรมองหาเมื่อเลือกซื้อมอนิเตอร์สักเครื่อง เครื่อง มอนิเตอร์นี้มีไว้สำหรับฟังเสียงลูกน้อยในขณะที่คุณอยู่อีกห้องหนึ่ง และไม่ควรใช้เครื่องนี้เมื่อคุณจะต้องอยู่ไกลจาก ลูกน้อยมากๆ

* ควรตรวจระยะห่างในการใช้งานระหว่างเครื่องลูกและเครื่องแม่
* เครื่องแม่ควรทำงานได้โดยใช้พลังงานจากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่ไฟบ้าน
* หากเครื่องแม่สามารถชาร์จไฟได้จะเป็นการดีที่สุด
* เครื่องแม่ควรมีไฟแสดงผลและมีฟังก์ชั่นเสียงด้วย
* เครื่องมอนิเตอร์บางรุ่นในปัจจุบันอาจมีเซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวและการหายใจเป็นฟังก์ชั่นพิเศษด้วย
* สำหรับเครื่องมอนิเตอร์บางรุ่น เครื่องลูกจะสามารถเรืองแสงได้ด้วย

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Wednesday, June 24, 2009

การเตรียมพร้อมสำหรับลูกน้อย - การซื้อของสำหรับเด็ก

Posted by wittybuzz at 10:22 AM 0 comments

การซื้อของสำหรับลูกน้อยอาจเป็นเวลาที่น่า ตื่นเต้นสำหรับคุณพ่อคุณแม่ ต่อไปนี้คือแนวทางว่าต้องใช้อะไรบ้างใน สัปดาห์แรกๆ หลังจากที่กลับจากโรงพยาบาล พยายามอย่าซื้อเสื้อผ้ามากเกินไปเวลาที่ออกไปซื้อของให้ลูก เนื่องจาก ลูกน้อยจะโตอย่างรวดเร็วมากและเขาอาจจะใส่เสื้อผ้าชุดสวยๆ ที่คุณซื้อมาให้เขาไม่ได้ ดูเหมือนว่าเสื้อผ้าจะเป็นสิ่งที่คนให้เป็นของขวัญกันมาก โดยปรกติแล้ว ลูกน้อยจะสวม “ชุดหมี” ผ้าฝ้ายแสนสบายมากที่สุด

เสื้อผ้าสำหรับลูกน้อย

* ชุดแบบเสื้อกับกางเกงติดกันหรือชุดหมี 6 ชุด (ชุดเหล่านี้มีกระดุมระหว่างขาเด็กซึ่งจะช่วยไม่ให้ชุดเลื่อนขึ้นไปตามหลังเขา)
* ชุดยืด 6 ชุด (ออล-อิน-วัน)
* สเว็ทเตอร์ 2 ตัว (ความหนาขึ้นอยู่กับฤดูกาล)
* หมวก 1-2 ใบ
* ถุงเท้าหรือรองเท้าไหมพรมสำหรับเด็ก 6 คู่
* ผ้ากันเปื้อน 5 ผืน
* ผ้าฝ้ายคลุมตัว 4 ผืน

การอาบน้ำ

* ครีมซอร์โบลีน
* สบู่เหลวสำหรับเด็ก
* เบบี้โลชั่น
* ผ้าขนหนูผืนเล็กหรือฟองน้ำนุ่มๆ 4 ชิ้น
* ผ้าเช็ดตัว 2 ผืน (ควรเก็บไว้ใช้กับลูกน้อยโดยเฉพาะ)
* กรรไกรตัดเล็บสำหรับเด็ก 1 อัน
* ปรอทวัดอุณหภูมิน้ำ

เครื่องนอน

* ชุดปูเตียง 3 ชุด (ไม่มีหมอน)
* แผ่นรองที่นอน 2 ผืน
* ผ้าห่ม 2 ผืน
* ที่นอนที่สะอาดและขนาดพอดีกับเตียง 1 หลัง
* แนวทาง SIDS แนะนำว่าไม่ควรใช้ผ้านวม ผ้าห่มหนาๆ ของเล่นนิ่มๆ หมอนหรือแผ่นกันชนเตียง ดูแผนผัง วิธีจัดเตียงลูกน้อย

การเปลี่ยนเสื้อผ้าให้กับลูกน้อย

* ผ้าอ้อม 1 กล่องจัมโบ้
* ถังขยะสำหรับทิ้งผ้าอ้อมหรือชุดกำจัดผ้าอ้อม
* ถุงผ้าอ้อม
* เสื่อเปลี่ยนผ้าอ้อม
* สำลีบริสุทธิ์
* ครีมซอร์โบลีนหรือโลชั่นสำหรับใช้ทาบริเวณที่ใส่ผ้าอ้อมอื่นๆ

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Tuesday, June 23, 2009

การเตรียมพร้อมสำหรับลูกน้อย - การสร้างสายสัมพันธ์กับลูกน้อยก่อนคลอด

Posted by wittybuzz at 1:10 AM 0 comments

การเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์คือประสบการณ์ที่พิเศษสุด เมื่อเริ่มเข้าสู่การตั้งครรภ์ในเดือนที่ สอง ลูกตัวน้อยๆ จะมีตา จมูก และหูที่เรามองเห็นได้อย่างชัดเจนทางอัลตร้าซาวนด์ เมื่อถึงเดือนที่ห้า การได้ยินของ ลูกจะพัฒนาอย่างเต็มที่ ความสามารถใหม่ในการจดจำเสียงของคุณแม่และเสียงที่คุ้นเคยต่างๆ ในสภาพแวดล้อม รอบตัวเขาก็จะพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน

การกระตุ้นลูกน้อยในครรภ์โดยใช้เสียงดนตรีที่เปิดให้เขาฟังเป็นประจำอาจช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกมั่นใจและผ่อนคลาย หลังจากที่คลอดออกมา นอกจากนี้ คุณแม่และลูกน้อยจะค้นพบวิธีอันแสนพิเศษอย่างรวดเร็วในการสาน ความสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนพัฒนาการทางอารมณ์และสติปัญญาระหว่างกัน

การเริ่มต้นการกระตุ้นลูกน้อยในครรภ์ด้วยเสียงดนตรี

การกระตุ้นลูกน้อยในครรภ์นั้นคือการใช้สิ่งเร้า เช่น เสียง (เสียงของคุณแม่หรือเสียงดนตรี) การเคลื่อนไหว แรงกด การสั่นสะเทือนและแสงในการสื่อสารกับลูกน้อยก่อนคลอด ลูกน้อยที่อยู่ในครรภ์มารดาจะเรียนรู้ที่จะจดจำและ ตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย จิตใจ และประสาทสัมผัส การกระตุ้นลูกน้อย นั้นจะช่วยให้ลูกน้อยสื่อสารกับคุณแม่และคุณพ่อคุณผ่านการเคลื่อนไหวของเขาขณะที่อยู่ในครรภ์ ซึ่งจะช่วยสร้าง ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าเฉพาะบางอย่าง (เช่น เสียงของคุณ) และที่สำคัญที่สุดคือจะเป็นการช่วยพัฒนาความ ทรงจำของลูกน้อย

การเลือกเสียงดนตรีที่เหมาะสำหรับลูกน้อย

ลูกน้อยในครรภ์จะขยับตัวตามจังหวะเพลงคลาสสิคของบีโธเฟ่นหรือไม่ หรือคุณแม่รู้สึกว่าเขาเตะอย่างแรงทุกครั้งที่ ได้ยินเพลงของมาดอนน่าจากวิทยุในรถ ด้วยเสียงดนตรีที่ผสมผสานกันอย่างเหมาะสมและการเปิดเพลงซ้ำๆ ลูกน้อย อาจชอบฟังเพลงหลายๆ ประเภทผสมกันก็ได้

ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชส่วนใหญ่เห็นพ้องกันว่าเสียงดนตรีแทบทุกประเภท เหมาะสำหรับทั้งคุณแม่และลูกน้อย “ความหลากหลายของเพลงหลายๆ ประเภทมีความสำคัญและอาจเป็นประโยชน์ต่อทักษะด้านการเขียน การอ่าน และทักษะด้านภาษาของลูกน้อยในอนาคต” กล่าวโดย ดร. ฟิลลิป เอ เดฟินา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัย แพทย์แห่งนิวยอร์ก แผนกจิตเวชและประสาทวิทยาพฤติกรรม และหัวหน้านักจิตวิทยาประสาท และผู้อำนวยการการ รักษาทางประสาทที่ห้องปฏิบัติการวิจัยทางสมองแห่งมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก

การวิจัย

งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์แต่ละฉบับเมื่อเร็วๆ นี้เกี่ยวกับผลของการกระตุ้นทารกในครรภ์ด้วยเสียงดนตรีมีความ แตกต่างกันมาก นักวิจัยเด็กหลายท่านเชื่อว่าไม่มีหลักฐานที่มีน้ำหนักที่สนับสนุนทฤษฎีที่ว่าการกระตุ้นทารกในครรภ์ ด้วยเสียงดนตรีจะช่วยให้เด็กมีสติปัญญาดีขึ้นในอนาคต ผู้เชี่ยวชาญท่านอื่นๆ กลับกล่าวตรงกันข้าม โดยแย้งว่ามี การศึกษาโดยตรงที่แสดงให้เห็นว่าเมื่อทารกคลอดมา ทารกจะมีความสามารถแต่กำเนิดในการจดจำเสียงมารดา และสามารถตอบสนองต่อเสียงดนตรีที่เขาคุ้นเคยที่ครอบครัวเปิดให้เขาฟังตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์

นักวิจัยจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องโดยการใช้อัลตร้าซาวนด์ตรวจดูทารกในครรภ์ผ่าน ทางมอนิเตอร์และโทรทัศน์ไฟเบอร์ออพติค ซึ่งจะช่วยให้เห็นภาพอันน่าตื่นตาตื่นใจของชีวิตน้อยๆ ที่กำลังพัฒนาการอยู่ในครรภ์ การศึกษาโดยนักวิจัย ด้านเด็กเล็กระดับแนวหน้าสองคนชื่อ ธอมัส อาร์ เวอร์นี่และเรเน แวนเดอคาร์ ได้ให้รายละเอียดว่าเด็กทารกที่ได้รับ การกระตุ้นขณะอยู่ในครรภ์ จะมีพัฒนาการในระดับสูงในด้านการมองเห็น การได้ยิน การใช้ภาษาและการ เคลื่อนไหว ธอมัสและเรเนกล่าวต่อไปว่าเด็กในกลุ่มนี้จะหลับได้ดีขึ้นและตื่นตัวต่อสภาพ แวดล้อมและสิ่งรอบตัวมาก ขึ้น และมีความสุขมากกว่าเด็กที่ไม่ได้รับการกระตุ้นใดๆ ในระหว่างที่อยู่ในครรภ์

ทางสายกลางดีที่สุด

ดังเช่นหลายๆ สิ่งในชีวิต ดร. ฟิลลิป เชื่อว่าการกระตุ้นทารกในครรภ์ด้วยเสียงดนตรีนั้นควรทำอย่างพอดีๆ “เวลาที่ เหมาะที่สุดสำหรับการกระตุ้นลูกน้อยคือเวลาที่คุณแม่กำลังจะพักสักงีบหรือนอนพักผ่อนตอนกลางวัน” เธอกล่าว แม้ว่าการกระตุ้นลูกน้อยมากเกินไปจะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายของลูกน้อยก็ตาม แต่ก็อาจทำให้เด็กรู้สึกรับไม่ไหว กับความสนใจที่มีมากเกินไปและเด็กอาจหยุดตอบสนองต่อความพยายามของคุณแม่ก็ได้

คุณควรลองฟังอารมณ์ของตัวเอง หากคุณเบื่อที่จะฟังโอเปร่าเพลงเดิมๆ ซ้ำไปซ้ำมา ลูกน้อยก็อาจรู้สึกเช่นเดียวกัน ช่วงเวลานี้ควรเป็นเวลาพิเศษแห่งความสุขและเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคุณแม่ คุณพ่อกับลูกน้อย คุณพ่อ คุณแม่ควรจำไว้ว่า การกระตุ้นด้วยเสียงเพลงนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าว่าจะใช้เวลามากน้อยเพียงใด แต่ขึ้นอยู่กับคุณภาพ ของประสบการณ์อันสุดพิเศษที่พ่อแม่ลูกมีร่วมกันต่างหาก

ที่มา : เจนนิเฟอร์ เลซี่ย์

การเตรียมพร้อมสำหรับลูกน้อย

Posted by wittybuzz at 1:00 AM 0 comments

ที่ผ่านมาทุกคนต่างมุ่งความสนใจที่คุณแม่และการ ตั้งครรภ์ของคุณแม่ และตอนนี้ก็ถึงเวลาแล้วที่จะเริ่มให้ความสนใจไปที่การมาของลูกน้อย คุณแม่ควรหาคำแนะนำดีๆ ในการจัดห้องของลูกและการตระเตรียมซื้อเสื้อผ้าสำหรับลูกน้อยไว้ล่วงหน้า คุณแม่จำเป็นต้องใช้อะไรบ้างในระหว่างรอคลอดและระหว่างนอนพักฟื้นอยู่ที่โรง พยาบาลนะหรือ เราจะบอกรายการสิ่งของที่จำเป็นต้องใช้ทั้งหมดแก่คุณเอง

จากครอบครัวสองคนก็กลายเป็นสาม (หรือสี่) คน เรามีข้อคิดเกี่ยวกับการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของสาย สัมพันธ์ในครอบครัว

การสร้างสายสัมพันธ์กับ ลูกน้อยก่อนคลอด

ใน การสร้างสายสัมพันธ์กับลูกน้อยในครรภ์นั้น คุณแม่สามารถใช้เสียง (เสียงคุณแม่และเสียงดนตรี) การเคลื่อนไหว แรงกด การสั่นสะเทือนและแสงในการสื่อสารกับลูกน้อยในครรภ์ได้...

การซื้อของสำหรับเด็ก

จำเป็นต้องใช้ของสำคัญอะไรบ้างในสัปดาห์แรกที่กลับถึงบ้าน...

อุปกรณ์สำหรับลูกน้อย

เคล็ดลับเกี่ยวกับความปลอดภัยของอุปกรณ์ที่ควรตรวจดูเมื่อซื้ออุปกรณ์สำหรับลูกน้อย...

จัดกระเป๋าเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด

เคล็ดลับเกี่ยวกับสิ่งที่คุณแม่อาจจำเป็นต้องใช้ในระหว่างที่เจ็บท้องรอคลอดและระหว่างที่พักในโรงพยาบาล...

การกลับไปอยู่บ้าน

กลยุทธ์เพื่อช่วยให้ลูกน้อยวัยหัดเดินเข้ากับน้องใหม่ได้ ข้อคิดสำหรับคุณแม่และคุณสามี...

Monday, June 22, 2009

การฝากครรภ์ - การเริ่มเจ็บครรภ์ด้วยตนเอง

Posted by wittybuzz at 4:07 AM 0 comments

มีคำแนะนำหลายวิธีที่จะช่วยให้คุณแม่เริ่มเจ็บ ครรภ์ได้ เราขอแนะนำให้คุณแม่ปรึกษากับแพทย์หรือพยาบาลผดุงครรภ์ก่อนที่จะลองวิธีใดๆ ต่อไปนี้

* ออกไปเดินเร็วๆ แต่พยายามไม่ให้เหนื่อยเกินไปและดื่มน้ำให้มากๆ
* กระตุ้นบริเวณหัวนม ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นให้มีการหลั่งฮอร์โมนอ๊อกซี่โตซิน ซึ่งมีหน้าที่ทำให้มดลูกบีบตัว
* มีเพศสัมพันธ์หรือช่วยตัวเองก็ช่วยให้มีการหลั่งของฮอร์โมนอ๊อกซี่โตซินได้เช่นกัน
* น้ำ อสุจิของสามีมีฮอร์โมนโพรสตาแกลนดิน ซึ่งจะกระตุ้นการเจ็บครรภ์ ตราบใดที่คุณแม่ยังรู้สึกสบายๆ และไม่รู้สึกเจ็บ ก็สามารถสนุกด้วยกันได้
* ทานแกงร้อนๆ
* เล่นโยคะท่าต่างๆ
* การฝังเข็มหรือการกดจุดอาจช่วยกระตุ้นกระบวนการเจ็บครรภ์ได้ แต่ควรทำโดยมืออาชีพเท่านั้น
* ห้าม ทำสิ่งนี้ด้วยตนเอง แพทย์หรือพยาบาลผดุงครรภ์อาจจะ “กวาดเยื่อเมือกออก” ในระหว่างการตรวจภายใน ซึ่งจะเป็นการเยื่อเมือกออกจากปากมดลูกและสามารถกระตุ้นการเจ็บครรภ์ได้
* มี การกล่าวกันว่าการใช้สมุนไพรบางชนิดและการใช้ศาสตร์ Homeopathy สามารถช่วยให้คุณแม่เริ่มเจ็บครรภ์ได้ คุณแม่ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนทานสารใดก็ตามที่มีฤทธิ์เป็นยา

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Sunday, June 21, 2009

การฝากครรภ์ - การช่วยเหลือในระหว่างคลอด

Posted by wittybuzz at 8:14 AM 0 comments

ในระหว่างการคลอดนั้น อาจมีบางครั้งที่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อช่วยทำคลอด ต่อไปนี้คือเหตุผลบางประการว่าทำไมจึงอาจมีความจำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือ ในระหว่างคลอด

* หากเด็กเครียด ซึ่งจะแสดงออกโดยที่อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง หรือหากทารกถ่ายขี้เทา (Meconium) (ซึ่งเป็นมูลที่ออกจากทวารหนักของเด็ก) ซึ่งจะทำให้น้ำคร่ำมีสี หรืออาจแสดงในตัวอย่างเลือดที่นำมาจากหนังศีรษะของเด็ก
* หากทางออกลำบากเนื่องจากเด็กอยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสม หรือเนื่องจากเชิงกรานของแม่ไม่สามารถเปิดได้กว้างเพียงพอ
* หากการบีบตัวของมดลูกอ่อนลง หรือหากคุณแม่อ่อนเพลีย
* หากเด็กคลอดก่อนกำหนด ซึ่งหมายความว่ากะโหลกศีรษะที่ยังอ่อนอยู่ของเขาต้องได้รับการปกป้องมากขึ้น

การกระตุ้นคลอด

การกระตุ้นให้คลอดจะใช้บ่อยที่สุดเมื่อเด็กมีอายุเกินกำหนดคลอด หรือเมื่อแพทย์เห็นว่ามีความเสี่ยงต่อสุขภาพของคุณแม่หรือของลูก โดยประสิทธิภาพของรกจะเริ่มลดลงเมื่อตั้งครรภ์ได้ประมาณ 41 สัปดาห์ และอาจมีผลต่อสุขภาพของลูก เพราะรกจะป้อนออกซิเจนและอาหารให้กับเด็กไม่เพียงพอ

การให้ฮอร์โมนอ๊อกซี่โตซินผ่านทางน้ำเกลืออาจช่วยให้คุณแม่เริ่มเจ็บท้อง คลอดหากการเจ็บครรภ์ไม่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ การใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ชนิดนี้จะไปทดแทนฮอร์โมนของคุณแม่เอง ซึ่งร่างกายจะสร้างฮอร์โมนชนิดนี้ขึ้นหากการเจ็บครรภ์เกิดขึ้นเอง คุณแม่อาจได้รับฮอร์โมนผ่านสายน้ำเกลือตลอดระยะที่เจ็บท้องและระหว่างคลอด ในกรณีเช่นนี้ คุณแม่ควรสอบถามทีมแพทย์ว่าคุณยังคงสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระในระหว่าง ที่เจ็บท้องและในระหว่างคลอดหรือไม่

หากการเจ็บครรภ์เกิดขึ้นช้าหรือมดลูกหยุดบีบตัว แพทย์หรือพยาบาลอาจแนะนำให้ใช้ฮอร์โมนอ๊อกซี่โตซินผ่านทางสายน้ำเกลือเพื่อ ช่วยเร่งการเจ็บครรภ์หรือช่วยให้รู้สึกเจ็บครรภ์ขึ้นมาอีก การใช้ฮอร์โมนจะทำให้มดลูกบีบตัวอย่างแรงและถี่ขึ้น

การใช้เจลโพรสตาแกลนดินเป็นวิธีแรกที่นิยมใช้ทั่วไปในการกระตุ้นคลอด เจลนี้จะถูกสอดเข้าไปในช่องคลอดเพื่อกระตุ้นให้ปากมดลูกอ่อนตัวและเริ่มขยาย ตัวออก ทางโรงพยาบาลอาจขอให้คุณแม่มาที่โรงพยาบาลในตอนเย็นและเจ้าหน้าที่แพทย์จะ สอดเจลให้ และปกติแล้วจะให้คุณแม่กลับบ้านได้ และหวังว่าจะช่วยให้คุณแม่เริ่มเจ็บครรภ์ได้

ถุงน้ำคร่ำแตก

แพทย์หรือพยาบาลมักจะเป็นคนเจาะถุงน้ำคร่ำในระหว่างการเจ็บครรภ์หากมดลูกบีบ ตัวช้าและการคลอดไม่คืบหน้าเท่าที่ควร ขั้นตอนนี้จะไม่สร้างความเจ็บปวดแต่อย่างใด โดยจะใช้อุปกรณ์คล้ายกับเข็มถักโครเช่ท์สอดเข้าไปในช่องคลอดเพื่อทำให้เยื่อ ที่หุ้มอยู่รอบตัวเด็กฉีกขาด คุณจะรู้สึกว่ามีน้ำอุ่นไหลค่อยๆ ไหลหรือไหลอย่างรวดเร็วออกทางช่องคลอด หลังถุงน้ำคร่ำแตกแล้ว มดลูกมักจะบีบตัวอย่างรุนแรง

คีมและเครื่องดูดสุญญากาศ

เครื่องมือเหล่านี้จะถูกนำมาใช้หากเด็กหยุดเคลื่อนตัวไปตามช่องคลอด canal.

เครื่องดูดสุญญากาศเป็นฝายางที่ใช้ดูดติดเข้ากับศีรษะของเด็ก จากนั้นจึงดึงเด็กออกจากช่องคลอดด้วยแรงสุญญากาศ แพทย์หรือพยาบาลผดุงครรภ์จะดึงในขณะเดียวกับที่คุณแม่เบ่งในระหว่างที่มดลูก กำลังบีบตัว หลังการใช้ดูดสุญญากาศ ศีรษะของเด็กจะมีรอยรูปร่างผิดปกติไป แต่จะกลับสู่ปรกติภายในเวลาไม่กี่วัน

ส่วนคีมคีบจะนำมาใช้หากปากมดลูกขยายตัวเต็มที่ถึง 10 เซนติเมตรและศีรษะของเด็กอยู่ใกล้ปากช่องคลอด การใช้คีมในการช่วยคลอดมักจะต้องมีการตัดผิวหนังระหว่างช่องคลอดและทวารหนัก ร่วมด้วยเพื่อให้มีช่องว่างเพิ่มมากขึ้นพอที่แพทย์หรือพยาบาลผดุงครรภ์จะ สามารถใช้คีมได้ แพทย์จะใช้คีมหนีบที่ศีรษะด้านข้างด้านใดด้านหนึ่งของเด็ก และดึงในขณะที่คุณแม่เบ่งในระหว่างที่มดลูกบีบตัว หลังการใช้คีมช่วยคลอด เด็กมักจะมีรอยช้ำบนใบหน้าให้เห็น

ผู้ฝึกสอนการคลอดจะให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือเหล่านี้และ อาจแสดงให้ดูว่าเครื่องมือเหล่านี้มีหน้าตาอย่างไรและมีวิธีใช้อย่างไร

วิธีการช่วยคลอดที่มีการรุกล้ำร่างกายมากที่สุดในระหว่างเจ็บท้องและระหว่าง คลอดคือการผ่าตัดทำคลอด หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการผ่าตัดคลอด สามารถเข้าไปดูได้ที่หน้า การผ่าตัดคลอด ในหัวข้อการเจ็บท้องคลอดและการคลอด

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Saturday, June 20, 2009

การฝากครรภ์ - การตรวจพิเศษต่างๆ

Posted by wittybuzz at 2:53 AM 0 comments

ต่อไปนี้คือการตรวจพิเศษเพื่อใช้ตรวจหาความผิดปรกติต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งการตรวจพิเศษเหล่านี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของคุณแม่

การตรวจน้ำคร่ำ

ในการตรวจน้ำคร่ำนั้น สูตินรีแพทย์จะเก็บตัวอย่างน้ำคร่ำรอบๆ ตัวเด็กออกมาเพียงเล็กน้อย (ประมาณ 20 ซีซี)

แพทย์จะสอดเข็มเล่มบางๆ ผ่านทางหน้าท้องของคุณแม่ไปสู่มดลูก จากนั้นสูตินรีแพทย์จะใช้อัลตร้าซาวด์เพื่อนำทางเข็มในระหว่างดำเนินขั้นตอน เพื่อที่เข็มจะได้ไม่ทำอันตรายต่อทารกในครรภ์

ขั้นตอนการตรวจนี้จะกระทำในผู้ป่วยนอกและจะใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที

แม้ว่าเข็มจะทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บบ้างเมื่อเจาะผ่านเข้าไปยังมดลูก แต่คุณแม่จะเจ็บไม่นานและไม่ควรจะเจ็บเกินกว่าการฉีดยาเข้าสู่ส่วนอื่นๆ ของร่างกาย

หลังจากที่นำตัวอย่างน้ำคร่ำออกมาแล้ว เมื่อถอนเข็มออก คุณแม่ไม่น่าจะรู้สึกเจ็บอีกต่อไป ตัวอย่างน้ำคร่ำที่ได้จะถูกส่งไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อการตรวจพิเศษ

ทำไมการตรวจน้ำคร่ำจึงเป็นสิ่งจำเป็น

การตรวจน้ำคร่ำส่วนใหญ่จะเป็นการตรวจหาความผิดปรกติทางโครโมโซม

โครโมโซมจะมียีนที่ส่งผ่านลักษณะต่างๆ จากบิดามารดาไปสู่บุตร หากมีจำนวนโครโมโซมมากหรือน้อยเกินไป หรือมีความบกพร่องในโครโมโซม เด็กก็อาจมีความผิดปรกติตั้งแต่กำเนิด

ดาวน์ซินโดรมคือความผิดปรกติทางพันธุกรรมที่พบได้บ่อยที่สุด ความผิดปรกตินี้จะทำให้เกิดภาวะปัญญาอ่อน และปัญหาทางสุขภาพอื่นๆ เช่นความผิดปรกติของหัวใจ ความผิดปรกติของโครโมโซมที่พบได้น้อยกว่าประเภทอื่นๆ อาจนำไปสู่ความพิการอย่างรุนแรงหรือเสียชีวิตได้

เมื่อไรจึงควรตรวจน้ำคร่ำ

ปรกติแล้ว คุณแม่จะได้รับการตรวจน้ำคร่ำเมื่อตั้งครรภ์ได้ในระหว่างสัปดาห์ที่ 16 แต่ไม่เกินสัปดาห์ที่ 20

เราจะได้รับผลการตรวจน้ำคร่ำเมื่อไร

ปรกติแล้ว ผลการตรวจในห้องปฏิบัติการจะใช้เวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์

การตรวจน้ำคร่ำสามารถบอกความผิดปรกติทางพันธุกรรมทั้งหมดได้หรือไม่

ไม่ การตรวจน้ำคร่ำสามารถตรวจจับความผิดปรกติทางโครโมโซมที่เป็นที่รู้จักกันดี แทบทั้งหมดได้ อย่างไรก็ตาม การตรวจน้ำคร่ำไม่สามารถตรวจจับความผิดปรกติแต่กำเนิดที่ไม่ได้เกิดจากความ ผิดปรกติทางโครโมโซมได้

ใครควรเข้ารับการตรวจน้ำคร่ำ

หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป เนื่องจากว่าลูกของคุณแม่กลุ่มนี้จะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภาวะความผิดปรกติ ทางพันธุกรรมได้มากกว่า เช่น โรคดาวน์ซินโดรม

คุณแม่ซึ่งเคยมีลูกเป็นดาวน์ซินโดรมหรือมีความผิดปรกติทางพันธุกรรมอื่นๆ

คุณแม่ซึ่งทราบว่าตนเองหรือสามีมีการเรียงตัวของโครโมโซมผิดปกติ

สำหรับคุณแม่แต่ละท่าน อาจมีเหตุผลอื่นเฉพาะแตกต่างกันออกไป ดังนั้น คุณแม่และสูตินรีแพทย์ควรตัดสินใจร่วมกันเพื่อดูว่ามีความจำเป็นต้องตรวจน้ำ คร่ำหรือไม่

การตรวจน้ำคร่ำมีความปลอดภัยหรือไม่

การตรวจน้ำคร่ำมีความปลอดภัยและมีความเสี่ยงน้อยหากปฏิบัติโดยแพทย์ผู้ เชี่ยวชาญ ความเสี่ยงในการแท้งบุตรหลังการทดสอบอยู่ที่ 0.3 -0.5%

ข้อมูลที่เป็นประโยชน์

กิจกรรม คุณแม่น่าจะสามารถกลับไปทำกิจกรรมต่างๆ ตามปรกติได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหลังการตรวจ และสามารถอาบน้ำได้ตามปรกติ
อาหาร ไม่จำเป็นต้องงดอาหารที่เกี่ยวกับการตรวจนี้
ยา ไม่จำเป็นต้องใช้ยาหลังการตรวจนี้

ควรกลับไปโรงพยาบาลหรือติดต่อสูตินรีแพทย์หากว่ามีอาการดังต่อไปนี้

* มีไข้ตัวร้อน
* คลื่นไส้และอาเจียน
* เจ็บปวดที่ไหล่
* เจ็บปวดอย่างผิดปรกติที่บริเวณท้องช่วงล่าง
* มีเลือดไหลออกจากช่องคลอด
* มีของเหลวหลั่งออกจากช่องคลอด

การตรวจชิ้นเนื้อรก

ในการตรวจชิ้นเนื้อรกนั้น สูตินรีแพทย์จะเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อรกออกมาในปริมาณเล็กน้อย

แพทย์จะสอดเข็มสำหรับตัดชิ้นเนื้อผ่านทางหน้าท้องของคุณแม่ไปยังรก จากนั้นสูตินรีแพทย์จะใช้อัลตร้าซาวด์นำทางเข็มในระหว่างขั้นตอนเพื่อที่ เข็มจะได้ไม่ทำอันตรายต่อทารกในครรภ์ ในขั้นตอนการตรวจนี้ จะมีการให้ยาชาเฉพาะที่ด้วย

ขั้นตอนการตรวจนี้จะกระทำในผู้ป่วยนอกและจะใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที แม้ว่าเข็มจะทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บบ้างเมื่อเจาะผ่านเข้าไปยังมดลูก แต่คุณแม่จะเจ็บไม่นานและไม่ควรจะเจ็บเกินกว่าการฉีดยาเข้าสู่ส่วนอื่นๆ ของร่างกาย

หลังจากที่นำตัวอย่างชิ้นเนื้อรกออกมาแล้ว เมื่อถอนเข็มออก คุณแม่ไม่น่าจะรู้สึกเจ็บอีกต่อไป ตัวอย่างชิ้นเนื้อที่ได้จะถูกส่งไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อการตรวจพิเศษ

ทำไมจึงจำเป็นต้องตรวจชิ้นเนื้อรก

การตรวจชิ้นเนื้อรกจะเป็นการตรวจหาความผิดปรกติทางโครโมโซมและโรคทางพันธุกรรมต่างๆ เช่น ธาลัสซีเมีย

โครโมโซมจะมียีนที่ส่งผ่านลักษณะต่างๆ จากบิดามารดาไปสู่บุตร หากมีจำนวนโครโมโซมมากหรือน้อยเกินไป หรือมีความบกพร่องในโครโมโซม เด็กก็อาจมีความผิดปรกติตั้งแต่กำเนิด

ดาวน์ซินโดรมคือความผิดปรกติทางพันธุกรรมที่พบได้บ่อยที่สุด ความผิดปรกตินี้จะทำให้เกิดภาวะปัญญาอ่อน และปัญหาทางสุขภาพอื่นๆ เช่นความผิดปรกติของหัวใจ ความผิดปรกติของโครโมโซมที่พบได้น้อยกว่าประเภทอื่นๆ อาจนำไปสู่ความพิการอย่างรุนแรงหรือเสียชีวิตได้

ธาลัสซีเมียคือโรคเลือดที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งจะถ่ายทอดทางยีน หากพ่อแม่ทั้งสองคนมียีนธาสัลซีเมีย โอกาสที่เด็กจะเกิดมาเป็นโรคธาลัสซีเมียมี 25%

ควรตรวจชิ้นเนื้อรกเมื่อใด

ปรกติแล้ว คุณแม่จะได้รับการตรวจชิ้นเนื้อรกเมื่อตั้งครรภ์ในระหว่างสัปดาห์ที่ 16 แต่ไม่เกินสัปดาห์ที่ 20

เราจะได้รับผลการตรวจชิ้นเนื้อรกเมื่อไร

ปรกติแล้ว ผลการตรวจในห้องปฏิบัติการจะใช้เวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์

การตรวจชิ้นเนื้อรกสามารถบอกความผิดปรกติทางพันธุกรรมทั้งหมดได้หรือไม่

ไม่ การตรวจชิ้นเนื้อรกสามารถตรวจจับความผิดปรกติทางโครโมโซมที่เป็นที่รู้จัก กันดีแทบทั้งหมดได้ นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ตรวจโรคทางพันธุกรรมบางชนิดได้อีกด้วย

ใครควรได้รับการตรวจชิ้นเนื้อรก

* หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป เนื่องจากว่าลูกของคุณแม่กลุ่มนี้จะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภาวะความผิดปรกติ ทางพันธุกรรมได้มากกว่า เช่น โรคดาวน์ซินโดรม
* คุณแม่ซึ่งเคยมีลูกเป็นดาวน์ซินโดรมหรือมีความผิดปรกติทางพันธุกรรมอื่นๆ
* คุณแม่ซึ่งทราบว่าตนเองหรือสามีมีการเรียงตัวของโครโมโซมผิดปกติ
* หากทั้งพ่อและแม่เป็นพานะนำโรคธาลัสซีเมีย
* สำหรับ คุณแม่แต่ละท่าน อาจมีเหตุผลอื่นเฉพาะแตกต่างกันออกไป ดังนั้น คุณแม่และสูตินรีแพทย์ควรตัดสินใจร่วมกันเพื่อดูว่ามีความจำเป็นต้องตรวจ ชิ้นเนื้อรกหรือไม่

การตรวจการตรวจชิ้นเนื้อรกมีความปลอดภัยหรือไม่

การตรวจชิ้นเนื้อรกมีความปลอดภัยและมีความเสี่ยงน้อยหากปฏิบัติโดยแพทย์ผู้ เชี่ยวชาญ ความเสี่ยงในการแท้งบุตรหลังการทดสอบอยู่ที่ 1%

ข้อมูลที่เป็นประโยชน์

กิจกรรม คุณแม่น่าจะสามารถกลับไปทำกิจกรรมต่างๆ ตามปรกติได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหลังการตรวจ และสามารถอาบน้ำได้ตามปรกติ
อาหาร ไม่จำเป็นต้องงดอาหารที่เกี่ยวกับการตรวจนี้
ยา ไม่จำเป็นต้องใช้ยาหลังการตรวจนี้

ยา ไม่จำเป็นต้องใช้ยาหลังการตรวจนี้

* มีไข้ตัวร้อน
* คลื่นไส้และอาเจียน
* เจ็บปวดที่ไหล่
* เจ็บปวดอย่างผิดปรกติที่บริเวณท้องช่วงล่าง
* มีเลือดไหลออกจากช่องคลอด
* มีของเหลวหลั่งออกจากช่องคลอด

การตรวจตัวอย่างเลือดทารกในครรภ์

ในการตรวจครั้งนี้ สูตินรีแพทย์จะเก็บตัวอย่างเลือดจากสายสะดือของทารกในครรภ์

แพทย์จะสอดเข็มเล่มบางๆ ผ่านทางหน้าท้องของคุณแม่ไปยังรก จากนั้นสูตินรีแพทย์จะใช้อัลตร้าซาวด์นำทางเข็มในระหว่างขั้นตอนเพื่อที่ เข็มจะได้ไม่ทำอันตรายต่อทารกในครรภ์

ขั้นตอนการตรวจนี้จะกระทำในผู้ป่วยนอกและจะใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที

แม้ว่าเข็มจะทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บบ้างเมื่อเจาะผ่านเข้าไปยังมดลูก แต่คุณแม่จะเจ็บไม่นานและไม่ควรจะเจ็บเกินกว่าการฉีดยาเข้าสู่ส่วนอื่นๆ ของร่างกาย

หลังจากที่นำตัวอย่างเลือดของทารกในครรภ์ออกมาแล้ว เมื่อถอนเข็มออก คุณแม่ไม่น่าจะรู้สึกเจ็บอีกต่อไป ตัวอย่างเลือดที่ได้จะถูกส่งไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อการตรวจพิเศษ

ทำไมจึงจำเป็นต้องตรวจตัวอย่างเลือดทารกในครรภ์

การตรวจตัวอย่างเลือดทารกในครรภ์ส่วนใหญ่จะเป็นการตรวจหาความผิดปรกติทางโครโมโซม โรคทางพันธุกรรมและการติดเชื้อไวรัส

โครโมโซมจะมียีนที่ส่งผ่านลักษณะต่างๆ จากบิดามารดาไปสู่บุตร หากมีจำนวนโครโมโซมมากหรือน้อยเกินไป หรือมีความบกพร่องในโครโมโซม เด็กก็อาจมีความผิดปรกติตั้งแต่กำเนิด

ดาวน์ ซินโดรมคือความผิดปรกติทางพันธุกรรมที่พบได้บ่อยที่สุด ความผิดปรกตินี้จะทำให้เกิดภาวะปัญญาอ่อน และปัญหาทางสุขภาพอื่นๆ เช่นความผิดปรกติของหัวใจ ความผิดปรกติของโครโมโซมที่พบได้น้อยกว่าประเภทอื่นๆ อาจนำไปสู่ความพิการอย่างรุนแรงหรือเสียชีวิตได้

ควรตรวจตัวอย่างเลือดทารกในครรภ์เมื่อใด

ปรกติแล้ว คุณแม่จะได้รับการตรวจตัวอย่างเลือดทารกในครรภ์เมื่อตั้งครรภ์ในระหว่างสัปดาห์ที่ 20 ถึง 23

เราจะได้รับผลการตรวจตัวอย่างเลือดทารกในครรภ์เมื่อไร

ปรกติแล้ว ผลการตรวจในห้องปฏิบัติการจะใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์

การตรวจตัวอย่างเลือดทารกในครรภ์สามารถบอกความผิดปรกติทางพันธุกรรมทั้งหมดได้หรือไม่

ไม่ การตรวจตัวอย่างเลือดทารกในครรภ์สามารถตรวจจับความผิดปรกติทางโครโมโซมที่ เป็นที่รู้จักกันดีแทบทั้งหมดได้ นอกจากนี้ ยังสามารถตรวจโรคทางพันธุกรรมบางชนิดและการติดเชื้อไวรัสได้

ใครควรได้รับการตรวจตัวอย่างเลือดทารกในครรภ์

* คนไข้ซึ่งตรวจพบว่าทารกมีความผิดปรกติในระหว่างการตรวจด้วยอัลตร้าซาวนด์
* คนไข้ซึ่งมีอายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์และมีความเสี่ยงสูงที่จะมีความผิดปรกติทางโครโมโซม
* หากทั้งพ่อและแม่เป็นพานะนำโรคธาลัสซีเมีย
* สำหรับ คุณแม่แต่ละท่าน อาจมีเหตุผลอื่นเฉพาะแตกต่างกันออกไป ดังนั้น คุณแม่และสูตินรีแพทย์ควรตัดสินใจร่วมกันเพื่อดูว่ามีความจำเป็นต้องตรวจ ชิ้นเนื้อรกหรือไม่

การตรวจตัวอย่างเลือดทารกในครรภ์มีความปลอดภัยหรือไม่

การตรวจตัวอย่างเลือดทารกมีความปลอดภัยและมีความเสี่ยงน้อยหากปฏิบัติโดย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ความเสี่ยงในการแท้งบุตรหลังการทดสอบอยู่ที่ 2 - 5%

ข้อมูลที่เป็นประโยชน์

กิจกรรม คุณแม่น่าจะสามารถกลับไปทำกิจกรรมต่างๆ ตามปรกติได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหลังการตรวจ และสามารถอาบน้ำได้ตามปรกติ
อาหาร ไม่จำเป็นต้องงดอาหารที่เกี่ยวกับการตรวจนี้
ยา ไม่จำเป็นต้องใช้ยาหลังการตรวจนี้

ควรกลับไปโรงพยาบาลหรือติดต่อสูตินรีแพทย์หากว่ามีอาการดังต่อไปนี้

* มีไข้ตัวร้อน
* คลื่นไส้และอาเจียน
* เจ็บปวดที่ไหล่
* เจ็บปวดอย่างผิดปรกติที่บริเวณท้องช่วงล่าง
* มีเลือดไหลออกจากช่องคลอด
* มีของเหลวหลั่งออกจากช่องคลอด

การตรวจคัดกรองซีรั่มของมารดา

การตรวจคัดกรองซีรั่มของมารดาคือการตรวจเลือดตามความสมัครใจที่อายุครรภ์ ระหว่าง 15-20 สัปดาห์ เพื่อช่วยในการประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะดาวน์ซินโดรม ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรมเกิดจากความผิดปรกติของโครโมโซม

ตรวจเพื่ออะไร

การตรวจคัดกรองซีรั่มของมารดานี้ใช้เพื่อค้นหาการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยง ที่จะเกิดภาวะดาวน์ซินโดรมซึ่งมีความชัดเจนมากพอที่จะควรจะตรวจน้ำคร่ำต่อไป

มีขั้นตอนการตรวจอย่างไร

คุณแม่จะได้รับการตรวจคัดกรองซีรั่มนี้เมื่ออายุครรภ์ระหว่าง 15 -20 สัปดาห์ ซึ่งจะวัดปริมาณ AFP (Alpha-Fetoprotein) และฮอร์โมน hCG (Human Chorionic Gonadotrophin) สารเหล่านี้จะสร้างขึ้นโดยทารกในครรภ์และรก และสามารถตรวจจับได้ในเลือดของมารดา

การวัดปริมาณสาร AFP และฮอร์โมน hCG ใช้เพื่อคำนวณความเสี่ยงที่ทารกในครรภ์จะมีภาวะดาวน์ซินโดรม โดยพิจารณาร่วมกับอายุของคุณแม่ การตรวจด้วยวิธีนี้จะทำให้คุณแม่ทราบถึงความเสี่ยงในการมีลูกเป็นโรคดาวน์ซิ นโดรม การประเมินความเสี่ยงด้วยตัวเลขนี้จะจำแนกความเสี่ยงออกมาเป็น “ความเสี่ยงสูง” หรือ “ความเสี่ยงต่ำ” โดยตัดความเสี่ยงเป็น 1 ใน 250 เพื่อเป็นการช่วยคุณแม่ตัดสินใจว่าควรตรวจน้ำคร่ำต่อไปหรือไม่

ทำไมถึงต้องวัดระดับสารเหล่านี้

เราทราบว่าคุณแม่ที่มีสาร AFP ในเลือดต่ำอาจมีความเสี่ยงที่ลูกจะเป็นโรคดาวน์ซินโดรมสูงกว่าค่าเฉลี่ย โดยเป็นที่ปรากฏว่าทารกในครรภ์ที่เป็นดาวน์ซินโดรมมีแนวโน้มว่าจะสร้างสาร AFP น้อยกว่าเด็กปรกติ ดังนั้น จึงมีการถ่ายทอดสารดังกล่าวไปยังคุณแม่ในระดับน้อยกว่าปกติ

ระดับฮอร์โมน hCG มีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นเมื่อเด็กในครรภ์มีภาวะดาวน์ซินโดรม

เหตุผลของความแตกต่างเหล่านี้ยังไม่เป็นที่ทราบกัน อย่างไรก็ตาม ความล่าช้าทางพัฒนาการของเด็กที่เป็นดาวน์ซินโดรมอาจเป็นสาเหตุเนื่องจากสาร สองชนิดนี้มีความเกี่ยวข้องกับพัฒนาการของทารกในครรภ์

การวัดปริมาณสารเหล่านี้จะช่วยแพทย์สามารถประเมินความเสี่ยงของคุณแม่ที่จะลูกเป็นดาวน์ซินโดรมได้อย่างแม่นยำมากขึ้น

ผลการตรวจเลือดนี้หมายความว่าอย่างไร

ในการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูงที่เด็กจะเป็นดาวน์ซินโดรม จะมีปริมาณสาร AFP ต่ำกว่าปรกติและฮอร์โมน hCG สูงกว่าปรกติ

“ความเสี่ยงสูง” ไม่ได้หมายความว่าเด็กจะมีอาการดาวน์ซินโดรมเสมอไป เพียงแต่หมายความว่าเด็กมีความเสี่ยงสูงขึ้น ซึ่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะต้องทำการตรวจน้ำคร่ำ (ซึ่งเป็นการทดสอบเพื่อวิเคราะห์หาภาวะดาวน์ซินโดรม) เพื่อยืนยันว่าเด็กในครรภ์เป็นดาวน์ซินโดรมหรือไม่

ในทำนองเดียวกัน “ความเสี่ยงต่ำ” ก็ไม่ได้เป็นการรับประกันว่าลูกน้อยในครรภ์จะมีสุขภาพแข็งแรง แต่หากผลการตรวจเลือดปรากฏว่ามี “ความเสี่ยงต่ำ” นั่นหมายความมีโอกาสที่เด็กจะเป็นดาวน์ซินโดรมต่ำกว่า ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องมีการดำเนินการใดๆ ต่อไปอีก

ตัวอย่าง

หากความเสี่ยงของคุณคือ 1 ใน 250 นั่นหมายความว่าจากการตั้งครรภ์ 250 ครั้ง จะมี 1 ครั้งที่เด็กจะเป็นดาวน์ซินโดรม และอีก 249ครั้ง เด็กจะเป็นปรกติ

หากความเสี่ยงของคุณมีค่ามากกว่า 1 ใน 250 ที่เด็กจะเป็นดาวน์ซินโดรม (ตัวอย่างเช่น 1 ใน 50) สูตินรีแพทย์จะเสนอให้มีการตรวจน้ำคร่ำเพื่อยืนยันว่าเด็กในครรภ์เป็นดาวน์ ซินโดรมหรือไม่

ทำไมจึงต้องตรวจคัดกรองซีรั่มเมื่ออายุครรภ์ได้ 15-20 สัปดาห์

ประสบการณ์ได้แสดงให้เห็นว่าการตรวจเลือดจะได้ผลดีที่สุดหากตรวจเมื่ออายุ ครรภ์ระหว่าง 15-20 สัปดาห์ การตรวจเลือดในระหว่างช่วงเวลานี้จะทำให้มีเวลาสำหรับการแก้ไข หากจำเป็น ก่อนที่อายุครรภ์จะมากไปมากกว่านี้ นอกจากนี้แล้ว ยังมีหลักฐานแสดงว่าการคำนวณความเสี่ยงจะแม่นยำมากขึ้นหากมีการทำอัล ตร้าซาวด์เพื่อยืนยันอายุครรภ์และแยกการตั้งครรภ์แฝดออก

การตรวจคัดกรองนี้สามารถใช้ตรวจหาความผิดปรกติอื่นๆ ได้หรือไม่

ได้ การตรวจนี้ยังสามารถใช้ตรวจหาความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดปรกติอื่นๆ ได้อีกด้วย โดยเฉพาะภาวะกระดูกสันหลังปิดไม่สนิทซึ่งเป็นความผิดปรกติของกระดูกสันหลัง โดยดูได้จากการมีปริมาณสาร AFP สูง เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ก็มักจะมีการตรวจด้วยอัลตร้าซาวนด์โดยละเอียดเพื่อตรวจสอบในขั้นต่อไป

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อมีการตรวจพบความผิดปรกติหลังการตรวจน้ำคร่ำหรือการตรวจด้วยอัลตร้าซาวด์
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะให้ข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับความผิดปรกติที่ตรวจพบและ ผลกระทบที่อาจเกิดกับเด็ก คุณแม่อาจตัดสินใจนำเด็กออกหากความผิดปรกตินั้นเป็นความผิดปรกติร้ายแรง

หากผลการตรวจปรากฏว่า “มีความเสี่ยงต่ำ” จะเป็นการรับประกันว่าทารกในครรภ์จะแข็งแรงหรือไม่

ไม่ การตรวจคัดกรองไม่สามารถรับประกันได้ว่าเด็กจะมีสุขภาพแข็งแรงเสมอไป การตรวจนี้จะเป็นเพียงการตรวจหาภาวะดาวน์ซินโดรมและโรคกระดูกสันหลังแยกเท่า นั้น หากผลการตรวจออกมาเป็น “มีความเสี่ยงต่ำ” นั่นเพียงหมายความว่าโอกาสที่จะเกิดภาวะเหล่านี้จะมีน้อยลง

โดยรวมแล้ว ทารกในครรภ์ที่ดาวน์ซินโดรม 6-7 คนจาก 10 คน จะถูกตรวจพบโดยการตรวจคัดกรองซีรั่มของมารดา อย่างไรก็ตาม ยังมีบางส่วนที่ตรวจไม่พบและคลอดออกมาทั้งๆ ที่คุณแม่มีผลการตรวจว่ามี “ความเสี่ยงต่ำ”

อัตราการตรวจพบในกลุ่มคุณแม่ที่มี “ความเสี่ยงสูง” โดยใช้วิธีตัดความเสี่ยงที่ 1 ใน 250 นั้น จะมีค่าแตกต่างกันตามอายุของคุณแม่ดังระบุไว้ด้านล่างนี้
อัตราการตรวจพบตามอายุของคุณแม่

* ต่ำกว่า 20 ปี 46 %
* ระหว่าง 20 - 24 ปี 47 %
* ระหว่าง 25 - 29 ปี 50 %
* ระหว่าง 30 - 34 ปี 60 %
* ระหว่าง 35 - 39 ปี 77 %
* มากกว่า 40 ปี 91 %

ฉันจะต้องเข้ารับการตรวจหรือไม่

การตรวจนี้ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของคุณแม่ ในการตัดสินว่าจะเข้ารับการตรวจหรือไม่ คุณแม่และสามีควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าจะทำอย่างไร หากผลการทดสอบปรากฏออกมาว่าเด็กมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นดาวน์ซินโดรมหรือมี ความผิดปรกติอื่นๆ

ควรจะทำอย่างไรดีหากต้องการเข้ารับการตรวจคัดกรองซีรั่มของมารดา

ควรแจ้งให้แพทย์ทราบว่าต้องการเข้ารับการตรวจนี้ จากนั้นคุณแม่จะได้รับการนัดหมายให้มารับการตรวจเลือดเมื่อตั้งครรภ์ได้ ระหว่าง 15-20 สัปดาห์ โดยขึ้นอยู่กับผลการตรวจอัลตร้าซาวด์

เพื่อความอุ่นใจ

เด็กส่วนใหญ่ที่เกิดมาจะมีสุขภาพแข็งแรงดี เมื่อได้อ่านข้อมูลนี้แล้ว อาจทำให้คุณแม่เริ่มมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับลูกในท้อง ขอให้คุณแม่จำไว้ว่าเด็กส่วนใหญ่ที่เกิดมาจะมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงดี สำหรับคุณแม่ส่วนใหญ่แล้ว การตรวจนี้เป็นเพียงการย้ำให้คุณแม่อุ่นใจยิ่งขึ้นว่าทุกอย่างเป็นปรกติดี

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Friday, June 19, 2009

การฝากครรภ์ - การตรวจโดยทั่วไป

Posted by wittybuzz at 7:19 AM 0 comments

ตลอดระยะเวลาตั้งครรภ์ คุณแม่จะได้รับการนัดเพื่อตรวจครรภ์ตามปรกติเป็นประจำเพื่อตรวจดูว่าคุณแม่ และลูกน้อยมีสุขภาพที่แข็งแรงเป็นปรกติดีหรือไม่ และเพื่อวินิจฉัยปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ก่อนที่ปัญหาเหล่านั้นจะทวีความรุนแรงขึ้น

คุณอาจมีนัดพบหมอประมาณแปดถึงสิบสองครั้ง ซึ่งอาจจะนัดพบที่คลินิกแพทย์ คลินิกผดุงครรภ์หรือที่บ้าน หากคุณแม่จะคลอดที่โรงพยาบาลใด ก็จะได้รับการนัดหมายให้ไปตรวจครรภ์ที่คลินิกของโรงพยาบาลนั้น

การนัดฝากครรภ์

การนัดฝากครรภ์คือการนัดสำคัญครั้งแรก ซึ่งปรกติแล้วจะนัดฝากครรภ์เมื่ออายุครรภ์ได้แปดถึงสิบสองสัปดาห์ คุณแม่จะได้รับการสอบถามเกี่ยวกับสุขภาพ และสถานที่คลอด (เพื่อจะได้จองสถานที่ไว้ให้) ซึ่งคุณแม่สามารถเปลี่ยนใจได้ในภายหลัง การนัดฝากท้องนี้เป็นโอกาสดีที่คุณแม่จะได้ถามคำถามด้วยเช่นกัน บางครั้งอาจจะนัดที่บ้านของคุณเองก็ได้ โดยพยาบาลผดุงครรภ์จะมาหาคุณ (พยาบาลผดุงครรภ์ที่ไม่ได้ทำงานในโรงพยาบาล)

เวลาในการทดสอบ

การทดสอบและการตรวจวินิจฉัยต่างๆ ในการตรวจครรภ์จะประกอบด้วยรายการต่อไปนี้

* การตรวจเลือด ซึ่ง จะระบุหมู่เลือดและระบุว่าคุณมี Rh บวกหรือลบ (หากคุณแม่มี Rh ลบ ในขณะที่ลูกมี Rh บวก แสดงว่าคุณแม่หรือลูกต้องได้รับการรักษา) และตรวจหาอาการป่วยที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคุณแม่หรือลูกน้อยในครรภ์ ได้ การตรวจเลือดสามารถทำได้โดยง่ายและเร็ว โดยจะมีการเก็บตัวอย่างเลือดในปริมาณไม่เกินหนึ่งช้อนโดยใช้เข็มฉีดยา คุณแม่อาจเข้ารับการตรวจเลือดในภายหลังเพื่อตรวจว่าไม่มีอาการโลหิตจาง และเพื่อตรวจดูว่ามีสารชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่าAFP ซึ่งจะแสดงว่าเด็กในครรภ์มีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการกระดูกสันหลังโป่ง

* ความดันโลหิต จะ มีการตรวจความดันโลหิตในแทบทุกครั้งของการนัดตรวจครรภ์ โดยจะมีแถบรัดที่ต้นแขน จากนั้นแถบรัดนี้จะพองขึ้นโดยปั๊มลมขนาดเล็ก แถบรัดจะต่อเข้ากับเครื่องวัดเพื่ออ่านค่าความดันโลหิต พยาบาลจะใช้หูฟังเพื่อฟังเสียงความเปลี่ยนแปลงของชีพจรในขณะที่ปล่อยลมออก จากแถบรัด การตรวจความดันนี้จะตรวจเช็คเพื่อไม่ให้ความดันโลหิตของคุณแม่สูงจนเกินควร ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ได้ (รกจะทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพหากความดันโลหิตสูงเกินไป) ความดันโลหิตสูงยังเป็นสัญญาณหนึ่งของอาการครรภ์เป็นพิษ ซึ่งเป็นอาการผิดปกติในระหว่างตั้งครรภ์และจะส่งผลร้ายแรงต่อทั้งคุณแม่และ ลูกในครรภ์ได้ ซึ่งจำเป็นต้องมีการตรวจติดตามอย่างใกล้ชิด

* การตรวจปัสสาวะ ในการตรวจครรภ์นั้นจะมีการตรวจปัสสาวะเพื่อหาโปรตีนและน้ำตาล โดยจะขอให้คุณแม่นำตัวอย่างปัสสาวะมาในการนัดครั้งนั้นด้วย หรือจะนำใส่ขวดมาก็ได้ น้ำตาลในปัสสาวะอาจหมายความว่าคุณแม่อาจเป็นเบาหวานในระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นโรคเบาหวานประเภทหนึ่งซึ่งเกิดในระหว่างตั้งครรภ์ และโปรตีนอาจหมายถึงว่ามีภาวะครรภ์เป็นพิษเกิดขึ้น

* หัตถการ ซึ่งหมายถึงการคลำท้องคุณแม่เพื่อดูว่าเด็กตัวใหญ่แค่ไหน และอยู่ในท่าไหน การตรวจอื่นๆ อาจ มีการตรวจเพื่อหาอาการอื่นๆ บางที่อาจให้คุณแม่ทดสอบด้วยน้ำยาบ้วนปากเพื่อดูว่าคุณแม่เป็นพาหะนำโรคซิ สติกไฟโบรซิสหรือไม่ หรือคุณแม่อาจได้รับการตรวจเลือดเพื่อหาความเสี่ยงที่ลูกจะเป็นดาวน์ซินโดรม โดยปกติแล้ว คุณแม่ที่มีอายุมากขึ้นอาจมีการตรวจน้ำคร่ำด้วยเหตุผลเดียวกันนี้ ในการตรวจนี้จะมีการเก็บตัวอย่างน้ำคร่ำที่อยู่รอบตัวเด็ก การชั่งน้ำหนักตัวคุณ แม่ส่วนใหญ่จะได้รับการชั่งน้ำหนักตัวเมื่อเริ่มตั้งครรภ์ แต่ในปัจจุบันนี้ คุณแม่ไม่จำเป็นต้องชั่งน้ำหนักตัวทุกครั้งที่มีนัดตรวจครรภ์ เนื่องจากว่าในปัจจุบันเราทราบว่าข้อมูลเกี่ยวกับน้ำหนักตัวนี้บอกอะไรไม่ มากนักเกี่ยวกับการเจริญเติบโตและสุขภาพของทารกในครรภ์ และการชั่งน้ำหนักอาจทำให้คุณแม่บางคนรู้สึกกระวนกระวายใจได้

* อัลตร้าซาวด์ การตรวจแบบนี้จะใช้คลื่นเสียงความถี่สูงซึ่งจะสะท้อนกลับเมื่อกระทบกับวัตถุ แข็งๆ เช่น ร่างกายเด็กในครรภ์ เพื่อแสดงภาพของสิ่งที่อยู่ภายในมดลูกบนหน้าจอ คุณแม่อาจได้รับการตรวจอัลตร้าซาวด์เมื่อตั้งครรภ์ได้ 14-16 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม แต่ละโรงพยาบาลก็มีนโยบายต่างกันออกไป ในขั้นตอนการตรวจนี้ คุณแม่จะไม่รู้สึกเจ็บปวดเลย และจะใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที โดยคุณแม่จะต้องนอนหงายและเปิดท้องไว้ ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นแพทย์รังสีวิทยา แต่ในบางครั้งก็อาจจะเป็นพยาบาลผดุงครรภ์หรือแพทย์ก็ได้ จะทาเจลลงบนหน้าท้องคุณแม่และจะใช้อุปกรณ์ขนาดมือถือกวาดไปทั่วหน้าท้อง ซึ่งจะทำสัญญาณไปสู่หน้าจอเกิดเป็นภาพขึ้น หากคุณแม่ได้รับการตรวจอัลตร้าซาวด์ในระยะต้นของการตั้งครรภ์ แพทย์จะให้คุณแม่ดื่มน้ำมากๆ เพื่อกระเพาะปัสสาวะจะได้ดันให้มดลูกสูงขึ้นเล็กน้อย เพื่อช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญสามารถมองเห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ภาพที่ปรากฏขึ้นจะแสดงให้เห็นสิ่งต่อไปนี้

o ขนาดของเด็กในครรภ์
o ลักษณะท่าทางของเด็กภายในมดลูก
o จำนวนเด็กในครรภ์
o อวัยวะและกระดูกของเด็ก นอกจากนั้น ยังสามารถเห็น
o เพศของเด็ก หากเด็กอยู่ในท่าที่สามารถสแกนเห็นอวัยวะเพศได้อย่างชัดเจน
o ความผิดปรกติบางประเภท
o ตำแหน่งที่แน่นอนของเด็กและรก (เพื่อช่วยให้สามารถเจาะเข็มเข้าไปดูดน้ำคร่ำมาตรวจได้)
o ตำแหน่งของรก ในระยะปลายของการตั้งครรภ์นั้น หากตำแหน่งของรกอยู่ต่ำ อาจทำให้มีการตกเลือดอย่างรุนแรงได้

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

การฝากครรภ์

Posted by wittybuzz at 7:00 AM 0 comments

คุณแม่ควรตัดสินใจเริ่มฝากครรภ์ตั้งแต่ที่พบว่า ตัวเองกำลังตั้งครรภ์ ในระหว่างตั้งครรภ์นั้น คุณแม่อาจมีการตรวจหลายอย่าง ซึ่งเราให้ข้อมูลในภาพรวมนี้ก็เพื่อช่วยให้คุณแม่ตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้คุณแม่ตัดสินใจได้อย่างเหมาะสมในเรื่องการดูแล สุขภาพ การคลอด และสิ่งที่คุณแม่ควรคาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นในระหว่างการตรวจร่างกายและใน ระหว่างคลอด แผนการคลอดอันสมบูรณ์แบบ จะช่วยคุณแม่ในการ เตรียมตัวสำหรับการคลอดได้

การตรวจโดยทั่วไป

คุณแม่ควรทำความคุ้นเคยกับคำศัพท์เกี่ยวกับการตั้งครรภ์บางคำและทำความเข้าใจกับบันทึก...

การตรวจพิเศษต่างๆ

มีการตรวจพิเศษมากมายซึ่งบอกถึงข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการของลูกน้อย...

การช่วยเหลือในระหว่างคลอด

จะเกิดอะไรขึ้นหากการเจ็บครรภ์คลอดของฉันไม่เป็นไปตามปกติ แล้วจะต้องใช้คีมช่วยใน...

การเริ่มเจ็บครรภ์ด้วยตนเอง


ต่อไปนี้คือเคล็ดลับที่จะช่วยกระตุ้นให้คุณแม่เริ่มเจ็บครรภ์คลอด...

Thursday, June 18, 2009

ครรภ์ของคุณแม่ - คำถามเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ที่พบบ่อย

Posted by wittybuzz at 4:48 AM 0 comments

ฉันท้องแล้ว!

มีประสบการณ์เพียงไม่กี่อย่างในชีวิตที่น่าตื่นเต้นเท่ากับการรู้ว่าตัวเอง ตั้งครรภ์ คุณแม่จะรู้สึกทึ่งมากที่รู้ว่ามีอีกชีวิตหนึ่งกำลังเติบโตอยู่ในตัวเรา จากวินาทีที่คุณแม่เริ่มรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในร่างกาย หรือว่าตั้งแต่วินาทีที่รู้ตัวแน่แล้วว่าตัวเองกำลังท้อง คุณแม่อาจเริ่มรู้สึกหวงแหนและตั้งตารอคอยลูกน้อย นอกจากนี้ คุณแม่ยังอาจเริ่มคิดเรื่องที่จะฝากครรภ์อีกด้วย

คำถามที่พบบ่อย

การฝากครรภ์คืออะไร

การฝากครรภ์ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสุขภาพและตรวจหาสิ่งใดก็ตามที่อาจส่ง ผลกระทบต่อลูกน้อยที่กำลังเจริญเติบโตอยู่ในครรภ์ ในการไปตรวจครรภ์แต่ละครั้ง คุณแม่จะได้มีโอกาสปรึกษาคำถามหรือข้อกังวลต่างๆ ในการฝากครรภ์จะมีการตรวจปัสสาวะ ความดันโลหิตและน้ำหนักตัวคุณแม่ นอกจากนี้ แพทย์จะตรวจท้องเพื่อดูตำแหน่งและขนาดของลูกน้อยในครรภ์ด้วย ในสัปดาห์หลังๆ ของการตั้งครรภ์ จะสามารถตรวจจับการเต้นของหัวใจของลูกน้อยได้โดยใช้เครื่องมือขนาดจิ๋วซึ่ง เรียกว่าดอพโทน

ในการประเมิน จะมีการตรวจเลือดดังต่อไปนี้

* การนับเซลล์เม็ดเลือดตรวจหาภาวะโลหิตจาง (หากมีเซลล์เม็ดเลือดต่ำจะทำให้รู้สึกเหนื่อยง่ายและจะทำให้รับมือกับการ เสียเลือดได้ยากในระหว่างหรือหลังคลอด) และธาลัสซีเมีย (ซึ่งเป็นความผิดปรกติของเลือดทางพันธุกรรมซึ่งพบได้ทั่วไปในสิงคโปร์)
* ตรวจหาตับอักเสบและซิฟิลิส
* ตรวจหาภูมิต้านทานเชื้อรูเบลล่า (แล้วแต่ความต้องการ) เพื่อจัดทำประวัติการติดเชื้อนี้
* ตรวจหาเชื้อเอชไอวี เพราะหากคุณแม่ติดเชื้อนี้ จะมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเด็กในครรภ์

ฉันควรไปตรวจครรภ์เพื่อดูว่าลูกน้อยมีสิ่งผิดปรกติหรือไม่

คุณแม่จะได้รับการตรวจคัดกรองดังต่อไปนี้

* ตรวจเลือด (การตรวจคัดกรองซีรั่ม) เมื่อตั้งครรภ์ได้ 15-18 สัปดาห์ซึ่งจะวิเคราะห์สสาร 2 ชนิดในเลือด จากนั้นจะสามารถประเมินความเสี่ยงที่ลูกน้อยจะมีโครโมโซมผิดปรกติได้ หากประเมินว่ามีความเสี่ยงสูง แพทย์จะแนะนำให้ตรวจวินิจฉัย เช่น การตรวจน้ำคร่ำ การตรวจคัดกรองซีรั่มจะไม่แม่นยำเท่าการตรวจน้ำคร่ำ
* การตรวจอัลตร้าซาวด์อย่างละเอียด (การสแกนหาความผิดปกติ) เมื่อตั้งครรภ์ได้ 20 สัปดาห์เพื่อตรวจหาความผิดปกติทางร่างกายที่ร้ายแรง อย่างไรก็ตาม ความแม่นยำของการตรวจสแกนนี้มีขีดจำกัด หากคุณแม่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป สูตินรีแพทย์จะปรึกษาเรื่องการตรวจน้ำคร่ำกับคุณแม่เพื่อตรวจหาอาการดาวน์ซิ นโดรม

ฉันจำเป็นต้องทานอาหารเป็นพิเศษเผื่อลูกด้วยหรือไม่

เป็นความเชื่อที่พบได้บ่อยว่าคุณแม่ควรทานเผื่อลูกด้วย อันที่จริงแล้ว คุณแม่ส่วนใหญ่ไม่ต้องการพลังงานเพิ่มในช่วง 6 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ และจะต้องการพลังงานเพิ่มอีกเพียงวันละ 200 แคลอรี่ในช่วงสามเดือนสุดท้าย

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากว่าระดับน้ำตาลในเลือดจะผันผวนมากขึ้น ซึ่งเกิดจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของร่างกาย ดังนั้น สิ่งสำคัญคือคุณแม่ควรรับประทานเป็นเวลา รวมถึงการทานอาหารว่างระหว่างมื้อด้วย คุณแม่ส่วนใหญ่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 9-13 กิโลกรัมในระหว่างตั้งครรภ์ แม้ว่าแต่ละคนจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากน้อยแตกต่างกันไป คุณแม่ไม่ควรอดอาหารในช่วงนี้ เพราะอาจไปจำกัดสารอาหารที่สำคัญของลูกน้อยได้

อาหารที่ดีต่อสุขภาพ

วิธีที่ดีที่สุดก็คือ คุณแม่ควรทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพให้หลากหลายตลอดระยะเวลาที่ตั้งครรภ์ ควรทานอาหารที่มีสารอาหารหลักที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูก ได้แก่ อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง (ผักใบเขียว เนื้อแดง และถั่ว แม้ว่าแพทย์อาจจะให้วิตามินเสริมธาตุเหล็กมาทานด้วยก็ตาม) แคลเซียม (ผลิตภัณฑ์จากนม ปลาที่ทานได้ทั้งกระดูก เช่น ปลาซาร์ดีนและขนมปัง) และโฟเลท (เช่น ถั่วสีเขียว ส้ม ผักโขม กะหล่ำปลีหรือบร็อคโคลี่)

ควรพยายามทานอาหารกลุ่มต่อไปนี้ทุกวัน

* ผลไม้และผักสด 4 - 6 หน่วยบริโภค/วัน
* ขนมปัง ข้าว ซีเรียล มันฝรั่ง อย่างน้อย 1 หน่วยบริโภคต่อมื้อ วันละ 4 หน่วยบริโภค
* เนื้อสัตว์ไร้มัน เนื้อสัตว์ปีก ปลา ไข่ และถั่ว 2-3 หน่วยบริโภค/วัน
* ผลิตภัณฑ์จากนม : 2 - 3 หน่วยบริโภค/วัน

พยายามหลีกเลี่ยงอาหารดังต่อไปนี้

* ไข่ดิบ ซึ่งมีเชื้อแบคทีเรียซาลโมเนลล่า
* มายองเนสและไอศกรีมที่ทำเอง
* บลูชีส
* ตับหรือเนื้อบด
* เนื้อสัตว์และสัตว์มีเปลือกดิบหรือสุกๆดิบๆ
* ชีสชนิดนุ่มและนมที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อ

ทำไมโฟเลทจึงมีความสำคัญ

โฟเลทคือวิตามินบีที่มีความสำคัญต่อพัฒนาการทางระบบประสาทของลูกน้อยใน ครรภ์ มีการค้นพบว่าโฟเลทช่วยลดโอกาสที่เด็กจะมีท่อระบบประสาทผิดปรกติ (ความผิดปรกติที่จะกระทบต่อระบบประสาท) โฟเลทถูกทำลายได้ง่ายในระหว่างการปรุงอาหารและต้องทานอาหารเป็นปริมาณมาก เพื่อให้ได้โฟเลทในปริมาณที่เพียงพอ วิธีที่ง่ายที่สุดคือการทานโฟเลทเสริม (เม็ดละ 5 มิลลิกรัมวันละเม็ด) ในช่วงตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์แรก โฟเลทมีความสำคัญเป็นพิเศษหากคุณแม่มีอาการลมบ้าหมู ธาลัสซีเมีย หรือมีสมาชิกในครอบครัวที่มีประวัติว่ามีความผิดปรกติของท่อระบบประสาท

ทำไมฉันถึงรู้สึกตัวบวม

นั่นเป็นเพราะว่าร่างกายของคุณแม่เริ่มเก็บสะสมของเหลวไว้ อาการบวมน้ำหรือการเก็บสะสมน้ำไว้ในร่างกายเป็นอาการที่พบได้ทั่วไปซึ่งจะ รุนแรงยิ่งขึ้นหากคุณแม่ต้องยืนเป็นเวลานานๆ ข้อควรจำก็คือการจำกัดการดื่มของเหลวไม่ใช่กุญแจสำคัญในการป้องกันอาการบวม น้ำ คุณแม่ควรดื่มน้ำวันละ 2 ลิตร การดื่มน้ำให้เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญเพื่อเพิ่มปริมาณเลือดให้มากขึ้นซึ่งจะ เป็นตัวนำออกซิเจนและสารอาหารไปให้ลูกน้อย นอกจากนี้ คุณแม่ควรลดการดื่มชา กาแฟ และโคล่าด้วย เนื่องจากคาเฟอีนที่อยู่ในเครื่องดื่มเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อวิตามินใน อาหาร โดยเฉพาะวิตามินซี
ฉันจะสูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์ต่อไปได้หรือไม่
การสูบบุหรี่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลกระทบในทางลบทั้งต่อทั้งตัวคุณแม่และลูก น้อย โดยจะเพิ่มความเสี่ยงในการแท้งบุตรและการตั้งครรภ์นอกมดลูก เลือดออกในรก น้ำหนักตัวแรกคลอดต่ำและการคลอดก่อนกำหนด นอกจากนี้ ยังมีผลในระยะยาวซึ่งทำให้พัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กลดลง และมีความเสี่ยงที่เด็กจะไหลตายสูงขึ้น ดังนั้น คุณแม่จึงควรพยายามเลิกหรือลดการสูบบุหรี่ เพราะเป็นวิธีป้องกันปัจจัยเสี่ยงที่ง่ายที่สุด

ส่วนของแอลกอฮอล์นั้น การบริโภคแอลกอฮอล์สัปดาห์ละ 15 หน่วยขึ้นไป (1 หน่วย = ไวน์ 1 แก้วเล็ก) มีส่วนเกี่ยวข้องกับการที่เด็กมีน้ำหนักตัวแรกคลอดต่ำ ในขณะที่การดื่มแอลกอฮอล์สัปดาห์ละ 20 หน่วยขึ้นไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับความความบกพร่องทางสติปัญญาในเด็กและความผิด ปรกติของทารกในครรภ์ ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าการดื่มแอลกอฮอล์ต่ำกว่าสัปดาห์ละ 15 หน่วยจะมีผลกระทบในทางลบต่อการเจริญเติบโตหรือระดับไอคิวของเด็ก ดังนั้น จึงเป็นที่แนะนำว่าคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ควรระมัดระวังการดื่มแอลกอฮอล์ และจำกัดการดื่มอย่าให้เกิน 1 แก้วมาตรฐานต่อวัน

ฉันควรจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือไม่

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีประโยชน์เป็นอย่างยิ่ง ไม่เพียงต่อสุขภาพและพัฒนาการของลูกน้อยเท่านั้น แต่ยังช่วยสานความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูกอีกด้วย น้ำนมแม่มีสารอาหารที่จำเป็นทุกชนิดและมีภูมิคุ้มกันสำหรับปกป้องลูกน้อยใน ช่วงเดือนแรกซึ่งเป็นเวลาที่ลูกน้อยยังไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นเองได้

นอกจากนี้ มีหลักฐานแสดงว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยลดโอกาสที่จะเกิดโรคภูมิแพ้ โรคผิวหนัง หรือโรคหอบหืด โดยเฉพาะในครอบครัวที่มีประวัติเป็นโรคเหล่านี้

ฉันควรทำอย่างไรเกี่ยวกับการทานยา

ควรปรึกษาอายุรแพทย์หรือสูตินรีแพทย์ก่อนรับประทานยาใดๆ โดยเฉพาะในช่วงตั้งครรภ์สองสามเดือนแรก ซึ่งเป็น เวลาที่ลูกน้อยกำลังสร้างอวัยวะต่างๆ เพราะยาบางชนิดเป็นที่ทราบกันว่ามีผลกระทบต่อพัฒนาการของทารกใน ครรภ์ ดังนั้น หากคุณแม่ต้องทานยาเป็นเวลานานๆ เวลาที่เหมาะที่สุดในการทบทวนการทานยาก็คือเมื่อคุณแม่ วางแผนว่าจะพยายามมีบุตร การทานยาบางชนิดซึ่งเป็นผลดีต่อคุณแม่ แต่อาจความมีความเสี่ยงต่อลูกน้อยในครรภ์ ได้

ฉันจะออกกำลังกายต่อไปได้หรือไม่

หากคุณแม่เข้าชั้นเรียนบริหารร่างกายหรือเล่นกีฬาอยู่แล้ว คุณแม่ควรบอกผู้ฝึกสอนว่าตัวเองกำลังตั้งครรภ์อยู่ หาก คุณแม่ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำอยู่แล้ว คุณแม่อาจเริ่มเล่นกีฬาเบาๆ แต่ไม่ควรหักโหมเกินกว่าขีดจำกัดในขณะ ยังไม่ตั้งครรภ์ การออกกำลังกายไม่เพียงแต่จะช่วยให้คุณแม่กระฉับกระเฉงและเป็นประโยชน์ทางด้านจิตใจเท่านั้น แต่ยังช่วยลดอาการปวดหลังได้อีกด้วย การออกกำลังกายเพียงครั้งละ 20 นาที สัปดาห์ละสามครั้งก็เพียงพอแล้ว สำหรับคุณแม่

การว่ายน้ำและการเดินเป็นการออกกำลังกายสองอย่างที่ดีที่สุด อย่าลืมอบอุ่นร่างกายสักครู่ก่อนเริ่มออกกำลังกาย และคลายกล้ามเนื้อหลังจากออกกำลังกายเสร็จแล้วโดยการยืดเส้นเป็นเวลาอย่างน้อย 10 นาที การออกกำลังกาย เท้าจะช่วยให้การหมุนเวียนโลหิตและอาการบวมที่ข้อเท้าดีขึ้น ในขณะที่การขยับเชิงกรานจะช่วยให้กล้ามเนื้อ แข็งแรงขึ้นและบรรเทาอาการปวดหลังได้ การบริหารอุ้งเชิงกรานยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการกลั้นปัสสาวะ ไม่อยู่ (ปัสสาวะเล็ด) หลังคลอดได้อีกด้วย ในระหว่างตั้งครรภ์นั้น ควรเข้าห้องเซาว์น่าและสปาแต่พอดีเท่านั้น

การมีเพศสัมพันธ์ปลอดภัยหรือไม่

ไม่มีเหตุผลว่าทำไมคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ถึงมีเพศสัมพันธ์ที่มีความสุขไม่ได้ ที่จริงแล้ว ฮอร์โมนที่หลั่งออกมาในระหว่าง ตั้งครรภ์อาจทำให้คุณแม่มีความรู้สึกทางเพศมากขึ้นด้วยซ้ำ เมื่อครรภ์ใหญ่ขึ้น คุณแม่อาจต้องปรับเปลี่ยนท่าเพื่อหา ท่าที่สบายๆ หากมีเลือดออกเมื่อตั้งครรภ์ระยะแรกๆ เจ็บท้องคลอดก่อนกำหนด หรือมีภาวะรกเกาะต่ำ ควรปรึกษา แพทย์ ซึ่งแพทย์อาจจะแนะนำให้เว้นการมีเพศสัมพันธ์ไปสักระยะหนึ่ง

จะมีอันตรายเกิดขึ้นในที่ทำงานหรือไม่

แม่ว่าคุณแม่ส่วนใหญ่ยังคงทำงานได้อย่างปลอดภัยในขณะตั้งครรภ์ แต่มีงานบางประเภทที่อาจต้องใช้ความ ระมัดระวังมากขึ้น ตัวอย่างงานที่ถือว่าเป็นอันตรายได้แก่

* งานที่ต้องเกี่ยวข้องกับสารเคมี เช่น ยาฆ่าแมลง และสารเคมีบางชนิด
* งานที่ต้องสัมผัสกับรังสี
* งานที่ต้องสัมผัสกับสารละลายไฮโดรคาร์บอน เช่น น้ำยาซักแห้ง ตะกั่ว หรือปรอท

ฉันจะเดินทางในขณะตั้งครรภ์ได้หรือไม่

การเดินทางโดยเครื่องบินพาณิชย์ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงเป็นพิเศษต่อการตั้งครรภ์ โดยปกติแล้ว คุณแม่จะได้รับ อนุญาตให้เดินทางภายในประเทศได้จนถึงอายุครรภ์ 36 สัปดาห์ แต่อาจต้องงดการเดินทางไปต่างประเทศหลังจาก ตั้งครรภ์ได้ 32 สัปดาห์

คุณแม่ควรพกพาเอกสารที่ระบุวันครบกำหนดคลอดไปด้วย ในแง่ของความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดในขาในระหว่าง ตั้งครรภ์แล้ว คุณแม่ควรเดินทางทางอากาศให้น้อยที่สุด ขอแนะนำให้ลุกขึ้นเดินทุกๆ ครึ่งชั่วโมงในระหว่างการบินที่ ราบเรียบ พร้อมทั้งงอและยืดข้อเท้าด้วย

ควรดื่มน้ำมากๆ เนื่องจากในห้องโดยสารมีความชื้นต่ำ จึงส่งผลให้เกิดภาวะขาดน้ำได้ ภาวะบางอย่าง เช่น ภาวะโลหิตจางรุนแรง (มีเซลล์เม็ดเลือดแดงน้อย) หรือภาวะรกเกาะต่ำ คุณแม่ที่มีอาการเหล่านี้ห้ามขึ้นเครื่องบิน ซึ่งอาจเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้นได้ เช่น เลือดออกทางช่องคลอดหรืออาจเจ็บท้องคลอดได้ คุณแม่ควรให้แพทย์ประเมินอาการก่อนการเดินทางทางเครื่องบิน

ในระหว่างตั้งครรภ์นั้น จะมีอาการเตือนอย่างไรบ้างหากเกิดสิ่งผิดปกติ

ความดันสูงในระหว่างตั้งครรภ์

* เป็นอาการแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์ที่พบได้บ่อยที่สุด โดยพบได้หนึ่งใน 10 ของการตั้งครรภ์ และหนึ่งใน 5 หากเป็นการตั้งครรภ์แรก ในบางกรณี อาการอาจลุกลามและมีผลอย่างรุนแรงต่อทั้งคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์

มีอาการเตือนอย่างไรบ้าง

* อาการหลักๆ คือ ปวดศีรษะ รู้สึกมึนงง คลื่นไส้และอาเจียน สายตาพร่ามัวหรือเห็นภาพซ้อน รู้สึกไม่สบาย เนื้อไม่สบายตัวและมีอาการปวดท้องส่วนบน โชคไม่ดีที่อาการความดันโลหิตสูงในระหว่างตั้งครรภ์นั้นอาจทวีความรุนแรง ยิ่งขึ้นโดยไม่มีสัญญาณบ่งบอกชัดเจน ดังนั้น การไปพบแพทย์ที่คลินิกเป็นประจำจึงเป็นสิ่งสำคัญ

อาการเจ็บท้องคลอดก่อนกำหนด

* เด็กที่คลอดก่อนกำหนดมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการแทรกซ้อนต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะปัญหาด้านการ หายใจ คุณแม่ที่เจ็บท้องคลอดก่อนกำหนดอาจได้รับประโยชน์จากการฉีดสเตียรอยด์ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ปอดของเด็กพัฒนาสมบูรณ์ยิ่งขึ้น หากหลีกเลี่ยงการคลอดไม่ได้ อาจต้องมีการใช้ยาอื่นๆ เพื่อช่วยลดความรุนแรงในการบีบตัวของมดลูกและเพื่อรักษาสาเหตุที่ทำให้คุณ แม่เจ็บท้องคลอดก่อนกำหนด เช่น อาจมีการติดเชื้อร่วมด้วย

อาการเจ็บท้องคลอดเป็นอย่างไรบ้าง

* อาการเจ็บท้องคลอดจะเริ่มด้วยการบีบตัวของมดลูกเป็นระยะๆ และรู้สึกเจ็บท้อง หรือหน้าท้องหดเกร็ง มี “ร่องรอยเลือด” (เมือกที่มีเลือดปน) หรือ “ถุงน้ำคร่ำแตก” (เยื่อหุ้มรอบตัวเด็กในครรภ์ฉีกขาด) อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นเมื่อถึงกำหนดคลอด ซึ่งก็คือหลังตั้งครรภ์ได้ 37 สัปดาห์ การเจ็บท้องก่อนกำหนดหมายถึงเมื่อเกิดอาการเหล่านี้ตั้งครรภ์ครบ 37 สัปดาห์

เลือดออกทางช่องคลอด

ในระยะแรกของการตั้งครรภ์

* จุดเลือดสีจางๆ หรือเลือดออกทางช่องคลอดในช่วงแรกๆ ของการตั้งครรภ์นั้น อาจแสดงถึงความเป็นไปได้ของการแท้งบุตรหรือการตั้งครรภ์นอกมดลูก อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของการมีเลือดออกคือเกิดจากตัวอ่อนฝังตัวลงในมดลูก เมื่อตั้งครรภ์ได้ 4-5

ในระยะหลังของการตั้งครรภ์

* การมีเลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อยโดยมีเมือกเปื้อนเลือดในเดือนก่อน ที่จะครบกำหนดคลอดอาจเป็น “สัญญาณ” บ่งบอกว่าคุณแม่อาจเจ็บท้องคลอดภายในไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์ เลือดออกสีแดงสดซึ่งเป็นๆ หายๆ อาจเกิดจากภาวะรกเกาะต่ำ หรือจากการแยกตัวเล็กน้อยของรก

ลูกน้อยเคลื่อนไหวน้อยลง

ควรทำอย่างไร

* เด็กจะตื่นตัวมากที่สุดตอนที่คุณแม่พักผ่อน เนื่องจากเวลาพักผ่อนเป็นช่วงที่คุณแม่จะรู้สึกได้ถึงการเคลื่อนไหวของเขา มากขึ้น ดังนั้น คุณแม่จะสังเกตเห็นการเคลื่อนไหวของลูกได้บ่อยในตอนเย็นหรือในเวลาเข้านอน เด็กควรเตะอย่างน้อยสัก 10 ครั้ง ในช่วงเวลา 12 ชั่วโมง เด็กที่เคลื่อนไหวมากทำให้คุณแม่สบายใจได้ว่าเขามีสุขภาพแข็งแรงและคุณแม่ ไม่ต้องเป็นกังวลกับการที่เขาเคลื่อนไหวมากเกินไป

ทำไมการที่ลูกเคลื่อนไหวน้อยลงถึงสำคัญ

* คุณแม่ควรกังวลและหาความช่วยเหลือหากลูกน้อยเคลื่อนไหวลดลงอย่างต่อ เนื่อง ภาวะเด็กเสียชีวิตในครรภ์ก่อนคลอดบางครั้งจะเริ่มมีอาการโดยลูกน้อยมีการ เคลื่อนไหวลดลง

ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนที่จะเจ็บท้องคลอด

จะมีอาการอย่างไรบ้าง

* ปรกติแล้วถุงน้ำจะแตก (โดยธรรมชาติหรือโดยสูตินรีแพทย์) เมื่อคุณแม่เริ่มเจ็บท้องคลอด หากถุงน้ำคร่ำแตกก่อนที่จะเจ็บท้องคลอด ลูกน้อยในครรภ์ก็จะมีความเสี่ยงมากขึ้น อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้คือ การติดเชื้อหรือสายสะดือไหลออกมาทางปากมดลูก

จะมีอาการอย่างไรบ้าง

* หากคุณแม่รู้สึกว่ามีน้ำใสๆ ไหลเป็นจำนวนมากออกมาจากช่องคลอดหรือไหลอย่างต่อเนื่อง ควรไปปรึกษาสูตินรีแพทย์

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Wednesday, June 17, 2009

ครรภ์ของคุณแม่ - ข้อเท็จจริงและความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการตั้งครรภ์

Posted by wittybuzz at 5:39 AM 0 comments

ครอบครัวและเพื่อนๆ เคยบอกคุณเรื่องข้อห้ามต่างๆ ในระหว่างตั้งครรภ์หรือไม่ แล้วเรื่องเล่าเหล่านี้มีความจริงอยู่มากน้อยเท่าใด

ต่อไปนี้คือความเชื่อที่พบได้บ่อยว่าคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ควรหรือไม่ควรทำอะไรบ้าง

ความเชื่อ กินปูอาจทำให้เด็กที่เกิดมาซนเป็นลิง


ความจริง ไม่มีหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่บ่งบอกว่าการทานปูจะทำให้เด็กซน อย่างไรก็ตาม ขอแนะนำให้คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ทานอาหารที่มีสมดุลและเป็นประโยชน์ต่อ ร่างกายซึ่งประกอบไปด้วยอาหารจากธรรมชาติหลายๆ ชนิดโดยปราศจากส่วนผสมของสารเคมีหรือสารถนอมอาหาร

ความเชื่อ การทาสีในระหว่างตั้งครรภ์อาจทำให้เด็กมีปาน

ข้อเท็จจริง ปานมักเกิดจากเซลล์สีในผิวหนังของเด็ก นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากการสะสมเส้นเลือดในบริเวณใดบริเวณหนึ่งที่ผิดปกติไป ปานนี้อาจหายไปได้เองเมื่อเด็กโตขึ้น แต่บางคนก็ไม่หาย

ความเชื่อ การตัดผ้าบนเตียงอาจส่งผลให้ลูกปากแหว่งเพดานโหว่

ข้อเท็จจริง ปากแหว่งเพดานโหว่เป็นลักษณะความบกพร่องแต่กำเนิด ภาวะนี้มีแนวโน้มที่จะสืบทอดทางกรรมพันธุ์และความเสี่ยงจะเพิ่มตามจำนวน สมาชิกในครอบครัวที่มีลักษณะดังกล่าว อย่างไรก็ตาม อาการปากแหว่งเพดานโหว่อาจเกิดขึ้นกับเด็กที่ครอบครัวไม่มีประวัติเป็นภาวะ ปากแหว่งเพดานโหว่ก็ได้

มีความเชื่อว่ายาบางชนิดก่อให้เกิดความผิดปรกตินี้แต่ผลยังไม่เป็นที่สรุปอย่างแน่ชัด

ความเชื่อ การรับประทานกล้วยแฝดอาจทำให้ได้ลูกแฝดสยาม


ข้อเท็จจริง แฝดสยามจะมีส่วนหนึ่งของร่างกายติดกัน ซึ่งปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นแล้วแต่โชค และจะเกิดในระหว่างการพัฒนาของตัวอ่อนตัวเดียว

Iในพัฒนาการของฝาแฝดส่วนใหญ่ ตัวอ่อนควรจะแยกออกจากภายในสองสัปดาห์หลังการปฏิสนธิ สำหรับแฝดสยามนั้น การแยกตัวจะเกิดขึ้นหลังจากนั้น และตัวอ่อนจะแยกจากกันอย่างไม่สมบูรณ์

ภาวะนี้มีความรุนแรง เนื่องจากอัตราการเสียชีวิตของเด็กที่เกิดมามีลักษณะเช่นนี้มีสูง โชคดีที่การเกิดแฝดสยามสามารถตรวจจับได้ด้วยการตรวจอัลตร้าซาวด์ในระหว่าง ตั้งครรภ์ เมื่อตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกๆ คุณพ่อคุณแม่อาจต้องตัดสินใจว่าจะให้ตั้งครรภ์ต่อไปหรือไม่

ทางเลือกในการรักษานั้นแตกต่างกันไปในแต่ละกรณี ขึ้นอยู่กับว่าอวัยวะส่วนใดของเด็กที่ติดกัน และมีการผิดรูปร่วมด้วยหรือไม่ ในกรณีส่วนใหญ่แล้ว จะต้องผ่าตัดแยกเด็กให้ออกจากกัน

ความเชื่อ คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการบริโภค “อาหารเย็น” เช่น เฉาก๊วย สับปะรด กล้วยดิบ เพราะอาจทำให้แท้งได้

ข้อ เท็จจริง ไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าอาหารบางชนิดมีส่วนเกี่ยวข้องกับการแท้งบุตร การแท้งบุตรมักเกิดในช่วงตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก ประมาณครึ่งหนึ่งของการแท้งบุตรเกิดขึ้นเนื่องจากตัวอ่อนมีรูปร่างผิดปรกติ ส่วนสาเหตุอื่นๆ ไดแก่ การติดเชื้อ และภาวะป่วยต่างๆ เช่น เบาหวานเป็นต้น

ขอแนะนำให้คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ทานอาหารที่มีประโยชน์และได้สมดุล ทานอาหารให้ครบทั้ง 4 หมู่ (ข้าวและผลิตภัณฑ์จากข้าว ผลไม้ ผัก และเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์) การทานสารอาหารเสริมบางชนิดในระหว่างตั้งครรภ์ เช่น กรดโฟลิค วิตามินซี แคลเซียม และธาตุเหล็ก ก็มีความสำคัญเช่นกันเพื่อตอบสนองความต้องการของร่างกายคุณแม่และลูกน้อย

ความเชื่อ การเย็บผ้าและการปะรูผ้าในระหว่างตั้งครรภ์อาจทำให้ลูกที่เกิดมาไม่มีช่องทวารหนัก


ข้อเท็จจริง เด็กที่ไม่มีช่องทวารหนักเป็นลักษณะความผิดปรกติแต่กำเนิด ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดเมื่อแรกและไม่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม และอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับความผิดปรกติอื่นๆ เช่น ความผิดปรกติของระบบถ่ายปัสสาวะหรือทางโครโมโซม

มีโอกาส 1 ใน 5000 ที่เด็กจะเกิดภาวะเช่นนี้ การผ่าตัดสามารถช่วยรักษาภาวะความผิดปรกตินี้ได้

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท
 

Mama And Baby Care Copyright © 2009 Baby Shop is Designed by Ipietoon Sponsored by Emocutez