A Blogger by Beamcool

Tuesday, July 28, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ศักยภาพสูงสุดของลูกน้อยด้าน ภาษา ( การได้ยินของลูกน้อย )

Posted by wittybuzz at 2:47 PM
ข้อมูลดังต่อไปนี้ จัดเตรียมขึ้นเพื่อช่วยติดตามความสามารถทางการได้ยินของลูกน้อย รายการตรวจสอบดังต่อไปนี้จะระบุพฤติกรรมซึ่งเหมาะสมตามวัยเพื่อทำการตรวจหา ว่าเด็กสูญเสียการได้ยินหรือไม่

นอกจากนั้น ยังมีรายการที่คุณแม่สามารถทำได้เพื่อช่วยให้ลูกน้อยเรียนรู้ที่จะพูดและใช้ทักษะในการฟังอีกด้วย

หากลูกน้อยของคุณไม่สามารถตอบสนองตามที่ระบุไว้ในรายการตรวจสอบได้ แสดงว่าอาจมีปัญหาที่ต้องได้รับการประเมินผลต่อไป คุณแม่ควรไปปรึกษากับแพทย์ซึ่งจะทำการส่งตัวไปยังแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหู ตา คอ จมูกและผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยินเสียงเพื่อทำการตรวจต่อไป

รายการตรวจสอบด้านการพูดและการได้ยิน

วัย 3 – 6 เดือน
ลูกน้อยควรจะตื่นตัวหรือเงียบสงบเมื่อได้ยินเสียงของคุณ โดยปกติแล้ว เขาจะกรอกตาและหันศีรษะไปยังทิศทางที่มาของเสียง

วัย 7 – 10 เดือน
ลูกน้อยควรจะสามารถหันศีรษะและไหล่ของเขาไปหาเสียงที่เขาคุ้นเคยได้ แม้ว่าเขาจะไม่เห็นว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นก็ตาม โดยที่ไม่จำเป็นต้องเป็นเสียงดังเท่านั้นเขาถึงจะตอบสนอง

วัย 11 – 15 เดือน
เขาควรแสดงว่าเขาเข้าใจคำบางคำโดยแสดงออกอย่างเหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น เขาควรสามารถชี้หรือมองไปที่วัตถุที่คุ้นเคยได้เมื่อคุณพ่อคุณแม่ขอให้เขาทำ เขาอาจพูดรัวๆ เพื่อตอบสนองต่อเสียงและอาจร้องไห้เมื่อมีฟ้าร้องเสียงดังหรืออาจขมวดคิ้ว เมื่อถูกดุ

วัย 18 เดือน
เด็กบางคนจะเริ่มบอกชื่อส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ เขาควรจะสามารถชี้ไปที่ตาหรือจมูกได้อย่างถูกต้องเมื่อขอให้เขาทำ

เขาควรพูดได้สองถึงสามคำ เช่น ‘บ๊าย-บาย’ คำที่เขาพูดอาจไม่สมบูรณ์หรือออกเสียงไม่ถูกต้องนัก แต่มีความหมายอย่างชัดเจน

วัย 2 ขวบ
เขาควรจะทำตามคำสั่งอย่างง่ายๆ ได้สองถึงสามคำสั่งโดยคุณแม่ไม่ต้องบอกใบ้ด้วยสายตา เขาควรพูดคำที่ได้ยินจากในบ้านทุกวัน เด็กในช่วงวัยนี้จะชอบให้ผู้ใหญ่อ่านหนังสือให้ฟังและโชว์ภาพง่ายๆ ในหนังสือให้ดู และจะสามารถชี้ภาพได้อย่างถูกต้องเมื่อขอให้เขาชี้

วัย 2 ขวบครึ่ง
เขาควรจะสามารถท่องจำหรือร้องเพลงเสียงสัมผัสหรือเพลงสั้นๆ ได้ และชอบฟังเทปหรือดูการ์ตูน หากลูกน้อยมีการได้ยินที่ดี เพลงเหล่านี้จะทำให้พวกเขามีความสุขได้ และโดยปกติแล้วเขามักจะตอบสนองต่อเสียงโดยวิ่งไปดูหรือเล่าให้คนอื่นฟังว่า เขาได้ยินอะไรบ้าง

วัย 3 ขวบ
เขาควรเข้าใจและใช้คำกริยาง่ายๆ บางคำได้ (เช่น ‘ไป’) คำบุพบท (เช่น ‘ใน’ หรือ ‘บน’) คำคุณศัพท์ (เช่น ‘ใหญ่/เล็ก’) และคำสรรพนาม (เช่น ‘ฉัน/คุณ’) เขาควรจะสามารถหาแหล่งที่มาของเสียงได้และสามารถใช้ประโยคที่สมบูรณ์ได้ใน บางครั้ง

วัย 4 ขวบ
เขาควรจะสามารถเล่าประสบการณ์หรือเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมา นี้ได้ เขาควรจะสามารถทำตามคำสั่งง่ายๆ 2 คำสั่งได้อย่างต่อเนื่องกัน (เช่น ‘หยิบลูกบอลให้แม่หน่อยซิจ๊ะ’)

วัย 5 ขวบ
คำพูดของเขาควรเป็นที่เข้าใจได้ ถึงแม้ว่าเขาอาจจะออกเสียงผิดบ้างเป็นบางครั้ง แต่เด็กส่วนใหญ่ในช่วงวัยนี้จะสามารถเข้าร่วมการสนทนาได้หากคำศัพท์นั้นอยู่ ภายในขอบเขตประสบการณ์ของพวกเขา

เคล็ดลับเพื่อส่งเสริมให้ลูกน้อยพูดและฟังได้ดียิ่งขึ้น

วัย 4 เดือน

* เลียนแบบเสียงอะไรก็ตามที่เขาเปล่งออกมา
* พูดกับเขาโดยใช้เสียงที่อ่อนหวาน
* เรียกเขาในขณะที่คุณกำลังทำงานอยู่รอบๆ บ้าน (ยกตัวอย่างเช่น “ไงจ๊ะจอห์นนี่ ลูกน้อยของแม่อยู่ที่ไหนจ๊ะ”)


วัย 7 เดือน

* เลียนเสียงอ้อแอ้ของเขาต่อไปและพูดกับเขาให้มากๆ
* กอดลูกให้อยู่ใกล้ๆ และร้องเพลงให้เขาฟังหรือพูดซ้ำไปซ้ำมา
* คุยเกี่ยวกับของเล่นหรือเล่นเกมกับเขา เช่น “เล่นจ๊ะเอ๋”


วัย 9 เดือน

* ทำเสียงง่ายๆ เพื่อดูว่าเขาจะเลียนเสียงตามหรือไม่ (ยกตัวอย่างเช่น “กา-กา”)
* ตอบสนองเขาเมื่อเขาเรียกคุณ
* ร้องเพลงกับเขา


วัย 12 เดือน

* แสดง ส่วนต่างๆ ของร่างกายให้เขาดู (ยกตัวอย่างเช่น “นี่คือจมูก” และวางมือของลูกไปที่จมูก) เอาหนังสือภาพแบบง่ายๆ ให้เขาดูและเล่าให้เขาฟังเกี่ยวกับรูปภาพต่างๆ
* เล่น “คุณพ่ออยู่ที่ไหนน้า” และชี้ไปที่คุณพ่อ
* อธิบายถึงเสียงต่างๆ (เช่น “หมาร้องว่ายังไงนะ” – จากนั้นจึงทำเสียงเห่า ‘โฮ่ง-โฮ่ง’)


วัย 24 เดือน
อ่านหนังสือง่ายๆ ให้เขาฟังและถามคำถามต่างๆ เช่น “วัวอยู่ที่ไหนน้า” และชี้ไปที่รูปภาพ

* ขอให้เขาส่งหรือนำสิ่งของต่างๆ ออกไป (ยกตัวอย่างเช่น “เอารถบรรทุกไปให้คุณพ่อซิ”)
* คุยกับเขาในทุกๆ สิ่งที่เขาเล่นหรือที่มองเห็น


สัญญาณบ่งบอกอื่นๆ ที่ต้องเฝ้าสังเกต (วัยเกิน 5 ขวบ)

* พูดช้าหรือความสามารถในการพูดถดถอย
* เขาขอให้คุณพ่อคุณพูดซ้ำอยู่เรื่อยๆ
* เขาตอบสนองไม่เหมาะสมกับคำถาม
* เขาไม่ได้ยินเสียงรอบข้าง
* เขาชอบเร่งเสียงโทรทัศน์
* เขาไม่ชอบเสียงดังๆ
* ชอบมองหน้าคุณพ่อคุณแม่เพื่อให้บอกใบ้ให้เขา
* เขามักจะลืมคำสั่งและคล้ายกับว่าชอบฝันกลางวัน
* ชอบตะโกนหรือกระซิบกระซาบ (เพราะเขาไม่สามารถตรวจวัดระดับเสียงของตัวเองได้)
* สมาธิสั้น
* ดูเหมือนว่าจะช้ากว่าเด็กคนอื่น ๆ
* มีปัญหาในการทรงตัว (ดูเหมือนซุ่มซ่าม)
* ชอบบ่นว่าได้ยินเสียงในหู

ปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจสอบการได้ยินเสียงต่อไป
เสียงที่พูดยาก

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

0 comments:

Post a Comment

 

Mama And Baby Care Copyright © 2009 Baby Shop is Designed by Ipietoon Sponsored by Emocutez