A Blogger by Beamcool

Wednesday, July 29, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ศักยภาพสูงสุดของลูกน้อยด้าน ทักษะการเคลื่อนไหว ( ส่งเสริมทักษะการเคลื่อนไหวของลูกน้อย )

Posted by wittybuzz at 10:07 PM
แต่ละพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวที่สำคัญๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงขวบปีแรกของลูกน้อยอาจดูเหมือนว่าไม่สัมพันธ์กันเลย แต่ในความเป็นจริงแล้ว พัฒนาการเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างเป็นลำดับ โดยปกติแล้ว พัฒนาการจะเริ่มจากศีรษะไปจรดเท้า โดยที่เด็กจะพัฒนาทักษะการใช้ศีรษะและแขนก่อนทักษะการใช้ขาและเท้า นอกจากนี้ ความสามารถในการควบคุมการเคลื่อนไหวจะเริ่มต้นจากศูนย์กลางของร่างกาย ซึ่งหมายความว่าลูกน้อยของคุณจะสามารถควบคุมลำตัวได้ก่อนที่เขาจะสามารถควบ คุมนิ้วมือและนิ้วเท้าได้

ต่อไปนี้คือส่วนหนึ่งของพัฒนาการที่สำคัญที่สุดตั้งแต่ศีรษะไปจนถึงนิ้วเท้า และคำแนะนำเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของลูกน้อย

การควบคุมศีรษะ

สิ่งแรกๆ อย่างหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ได้รับการสอนนั่นคือให้พยุงศีรษะของลูก น้อย ทั้งนี้เพราะเขายังไม่สามารถพยุงศีรษะด้วยตัวเองได้จนกว่าเขาจะอายุได้ ประมาณ 3 เดือน

เมื่อกล้ามเนื้อคอของเขาแข็งแรงขึ้น เขาจะสามารถ “ดันตัวขึ้นได้เล็กน้อย” โดยยกทั้งศีรษะและหน้าอกขึ้นจากพื้นได้

เมื่อลูกน้อยอายุได้ประมาณ 7 เดือน เขาจะสามารถควบคุมศีรษะของเขาได้อย่างเต็มที่และจะสามารถตั้งคอเองได้อย่าง มั่นคงเป็นเวลานานในขณะที่นั่งอยู่บนตักของคุณแม่หรือเมื่ออุ้มเขาให้ลำตัว ตั้งตรง
คุณแม่ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้เพื่อช่วยให้ลูกน้อยพัฒนาการควบคุมศีรษะได้ดีขึ้น

1. วางลูกนอนคว่ำบนพื้น ทำเช่นนี้วันละหลายๆ เพื่อให้เขาได้ฝึกฝน
2. หลอกล่อให้เขายกศีรษะของเขาขึ้นเอง วางกระจกที่ตกไม่แตกหรือรูปภาพใหญ่ๆ ไว้หน้าเขา หรือคุกเข่าแล้วยื่นหน้าไปใกล้ๆ เขา

การเอื้อมมือและการคว้า

ทารกส่วนมากจะเริ่มโบกมือหรือตีสิ่งของได้เมื่ออายุได้ 3 เดือน ซึ่งการเคลื่อนไหวมือนี้จะพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว

เมื่ออายุได้ 5 หรือ 6 เดือน ลูกน้อยควรจะสามารถเอื้อมมือไปในทิศทางเดียวกับที่ตามองได้ ซึ่งหมายความว่าเขาสามารถมองเห็นสิ่งของและเอื้อมมือไปคว้าได้

เมื่ออายุได้ 8 หรือ 9 เดือน แม้ว่าลูกน้อยกำลังเรียนรู้ที่จะจับสิ่งของด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้อยู่ แต่เขาก็สามารถหยิบสิ่งของชิ้นเล็กๆ ได้อย่างน่าประหลาดใจ ยกตัวอย่างเช่น อาหารชิ้นเล็กๆ หรืออาจจะเป็นขี้ฝุ่นเล็กๆ และสิ่งสกปรกบนพื้นก็ได้ คุณแม่จำเป็นต้องจับตาดูเขาให้ดี เพราะเขาจะพยายามลิ้มลองอะไรก็ตามที่เขาหยิบขึ้นมาได้

ทดลองปฏิบัติตามข้อแนะนำสี่ข้อดังต่อไปนี้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านการประสานมือ-สายตาของลูกน้อย

1. แขวน ของเล่นไว้บนเตียงของเขา ซึ่งจะช่วยให้ลูกพยายามตีสิ่งของที่อยู่เหนือศีรษะเขา (เพื่อความปลอดภัย ให้ถอดของเล่นนี้ออกทันทีเมื่อเขาสามารถนั่งได้)
2. ในขณะที่ ลูกน้อยกำลังนอนหงายอยู่บนพื้น ให้แขวนของที่ดูสะดุดตาไว้เหนือตัวเขา และแกว่งให้อยู่เหนือศีรษะเขา 3 ถึง 8 นิ้ว เพื่อกระตุ้นให้เขาเอื้อมมือไปตี
3. เพื่อช่วยให้ลูกน้อยวัย 4 เดือนได้ฝึกหัดหยิบจับสิ่งของ ให้นำของเล่นที่เขย่าแล้วมีเสียงหรือสิ่งของอื่นๆ ที่ปลอดภัยให้เขาถือ อะไรก็ตามที่เขาเขย่าแล้วมีเสียง หรือของที่มีเนื้อนุ่มๆ ไว้ให้เขากัดเล่น อาจช่วยกระตุ้นให้ลูกถือของนั้นไว้
4. วางของเล่นหลายๆ อย่างไว้ในบริเวณที่เขาเอื้อมถึง ปล่อยให้เขาคว้านู่นคว้านี่ในขณะที่เขานอนคว่ำหน้าบนพื้น

การพลิกตัว

แม้ว่าความสามารถในการควบคุมการเคลื่อนไหวศีรษะของลูกจะทำได้ยากและพัฒนา อย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่การพลิกตัวกลับเป็นพัฒนาการที่สำคัญอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด ซึ่งเป็นพัฒนาการอย่างหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่เฝ้ารอคอยอย่างตื่นเต้น

เมื่ออายุได้ 4 หรือ 5 เดือน ลูกน้อยจะสามารถพลิกตัวได้เพียงทิศทางเดียว (คือพลิกหงายหรือพลิกคว่ำ) บางทีลูกอาจจะไม่สามารถพลิกตัวไปอีกทิศทางหนึ่งได้จนกระทั่งอายุ 6 หรือ 7 เดือน

คุณแม่สามารถกระตุ้นให้ลูกพลิกตัวได้โดย

1. หาพื้นที่กว้างๆ ให้เขาและให้โอกาสเขาได้ฝึกหัด ซึ่งพื้นเหมาะที่สุด
2. ชมเชยเขา พูดคุยกับลูกและกระตุ้นให้เขาฝึกพลิกตัว
3. ถือ ของเล่นที่เขาสนใจไว้ข้างๆ ตัวเขา เช่น ของเล่นที่ส่งเสียงได้เมื่อเขย่าหรือกระจกสำหรับเด็ก ซึ่งจะช่วยดึงดูดความสนใจของลูกและหลอกล่อให้เขาพลิกตัวเพื่อหันไปดู

การลุกขึ้นนั่ง

เมื่อเด็กสามารถพลิกตัวได้แล้ว การลุกขึ้นนั่งจึงมิใช่เรื่องยาก เด็กจะเห็นโลกในมุมมองใหม่เมื่อเขาเรียนรู้การลุกขึ้นนั่งแล้ว ดังนั้น การลุกขึ้นนั่งจึงเป็นเรื่องที่น่าตื่นตาตื่นใจสำหรับเขาพอๆ กับที่คุณพ่อคุณแม่ตื่นเต้น!

เมื่ออายุได้ประมาณ 4 เดือน ลูกน้อยจะสามารถนั่งได้เมื่อพยุงตัวเขา

เมื่ออายุ 6 เดือน เขาจะสามารถนั่งบนเก้าอี้สูงได้บ้าง และก่อนอายุครบ 1 ขวบ เขาจะสามารถนั่งได้เองโดยไม่ต้องมีคนคอยช่วย

เพื่อช่วยให้ลูกน้อยได้ฝึกหัดทักษะการนั่ง คุณแม่ควรปฏิบัติดังนี้

1. วางเขาไว้บนตักคุณ หันหน้าออกในขณะที่คุณแม่นั่งขัดสมาธิอยู่บนพื้น ท้องและขาของคุณแม่จะช่วยพยุงหลังของลูก
2. พยุงตัวลูกน้อยไว้บนหมอนที่ได้มาตรฐานหรือหมอนรูปตัวยู ให้เขาสัมผัสกับประสบการณ์การนั่งไปโดยที่มีคุณแม่คอยควบคุมดูแล

การคลานและการเดิน

ระหว่างอายุ 8 และ 13 เดือน ลูกน้อยจะสามารถเคลื่อนไหวได้ในบางรูปแบบ คุณพ่อคุณแม่มักเห็นว่าการคลานได้และการเดินได้เป็นพัฒนาการทางกายภาพที่ สำคัญที่สุด แม้ว่าการคลานได้หรือเดินได้จะเป็นเรื่องที่น่าตื่นตาตื่นใจเป็นอย่างมาก แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรลืมว่าเด็กแต่ละคนมีการพัฒนาในแบบของเขาเองและแต่ละ คนจะพัฒนาเร็วช้าต่างกันออกไป หากคุณแม่กังวลใจเรื่องพัฒนาการของลูกน้อยในด้านการเคลื่อนไหว ควรไปปรึกษาเรื่องนี้กับกุมารแพทย์ แต่เด็กส่วนใหญ่จะมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวเป็นไปตามรูปแบบ

* ในขั้นแรก เขาจะสามารถลุกขึ้นได้ด้วยมือและเข่าของเขาเอง
* ต่อจากนั้นเขาจะโยกตัวไปมาเพื่อพยายามเคลื่อนไปข้างหน้า
* เขาจะพัฒนาวิธีการเคลื่อนตัวไปรอบๆ ด้วยวิธีต่างๆ เช่น การโยกตัว การหมุนตัว การกลิ้ง และการกระดืบ

หลังจากนั้นประมาณ 1 เดือน คุณแม่จะพบว่าเขาเริ่มพัฒนาไปสู่การคลานอย่างแท้จริง

เด็กหลายคนเรียนรู้การคลานถอยหลังก่อน แต่อีกไม่นาน เขาก็จะเรียนรู้การคลานไปในทิศทางที่ถูกต้อง

แต่ไม่ใช่ว่าเด็กทุกคนจะคลานแบบเดียวกันนี้ อันที่จริงแล้ว เด็กบางคนไม่ยอมคลานเลยด้วยซ้ำ แต่เรียกร้องที่จะเดินโดยมีผู้ใหญ่คอยจับมือเขาไว้แทน เด็กบางคนอาจใช้วิธีไถไปด้วยก้น กระดืบไปด้วยท้อง หรือ “เดินแบบหมี” นั่นคือคลานโดยที่เหยียดแขนและขาออก
ไม่ว่าลูกน้อยของคุณจะเลือกสไตล์การเคลื่อนไหวแบบไหนก็ตาม ก็จะทำให้เขามีอิสระอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนและเป็นโอกาสที่เขาจะได้ออกสำรวจ โลกกว้าง

คุณแม่ควรพยายามกระตุ้นให้ลูกน้อยเรียนรู้ทักษะการเคลื่อนไหวด้วยเกมง่ายๆ เหล่านี้

1. เล่น คลาน “ไล่จับ” ซึ่งเด็กที่กำลังเรียนรู้การเคลื่อนไหวจะสนุกกับเกมนี้มาก ให้คุณแม่คลานตามหลังลูก แล้วบอกเขาว่า “แม่จะจับหนูแล้วนะ!” แล้วก็คลานห่างออกไป เพื่อกระตุ้นให้เขาคลานตามไป คุณแม่อาจไปซ่อนตัวอยู่หลังเฟอร์นิเจอร์และปล่อยให้เขาหาคุณให้เจอ
2. หาของมาวางกีดขวางเป็นอุปสรรค คุณแม่ควรหาข้าวของมาวางให้เต็มห้อง เพื่อให้เขาได้ฝึกหัดการคลานข้าม คลานลอดหรือคลานอ้อมสิ่งกีดขวาง

เคล็ดลับเพื่อความปลอดภัย

เมื่อเจ้าตัวน้อยเริ่มคลานไปไหนมาไหนได้เองแล้ว สิ่งสำคัญก็คือ คุณแม่ต้องหาที่ที่ปลอดภัยให้เขาเล่น คุณแม่ควรป้องกันเพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยทั่วทั้งบ้านและในสนาม ซึ่งจะเป็นการป้องกันลูกน้อยจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ รวมถึงเป็นการป้องกันข้าวของมีค่าภายในบ้านด้วย

ลูกน้อยจะเริ่มต้นปีนป่ายบันไดและเฟอร์นิเจอร์ในช่วงอายุเท่านี้ แต่โชคไม่ดีที่เด็กส่วนใหญ่มักจะเรียนรู้การปีนขึ้นบันไดได้ก่อนที่จะรู้ วิธีการปีนลงบันได คุณแม่อาจลองสอนลูกน้อยถึงวิธีการคลานลงบันไดอย่างปลอดภัย (คือใช้เท้าลงก่อน แล้วค่อยตามด้วยท้อง) แต่ยังคงต้องดูแลเขาอย่างใกล้ชิด วางประตูอันหนึ่งไว้บันไดขั้นบนสุด และวางอีกอันหนึ่งไว้บนขั้นที่ 3 หรือ 4 นับจากด้านล่าง (เพื่อว่าเขาจะได้ฝึกปีนป่ายบันไดสองสามขั้นจากด้านล่างสุดได้อย่างปลอดภัย) หากช่องระหว่างราวบันไดกว้างกว่า 3 นิ้ว คุณแม่ควรติดตั้ง Plexiglas หรือตาข่ายเพื่อความปลอดภัยเพื่อว่าลูกน้อยจะได้ไม่พลัดตกลงมา

ความสุขใจมากที่สุดอย่างหนึ่งของคนเป็นพ่อเป็นแม่คือ การได้เฝ้าดูลูกด้วยความประหลาดใจ ด้วยความหงุดหงิดใจและด้วยความสุขในขณะที่เขาก้าวข้ามผ่านพัฒนาการในขั้น ต่างๆ โดยในแต่ละขั้นนั้นเป็นความพิเศษและเป็นสิ่งน่ามหัศจรรย์ใจ ขอให้คุณพ่อคุณแม่เพลิดเพลินและทะนุถนอมช่วงเวลาแห่งการค้นพบนี้ไปพร้อมกับ ลูกน้อย!

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

0 comments:

Post a Comment

 

Mama And Baby Care Copyright © 2009 Baby Shop is Designed by Ipietoon Sponsored by Emocutez