A Blogger by Beamcool

Monday, July 27, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ศักยภาพสูงสุดของลูกน้อยด้าน ภาษา ( เสียงที่พูดยาก )

Posted by wittybuzz at 3:55 PM
หนูน้อยเซรี สตินสันวัย 3 ขวบพูดว่า “หนูอยากได้ “ถ้วยสีเอือง” ‘“ถ้วยสีเหลืองจ๊ะ” ซูซาน คุณแม่ของหนูน้อยอธิบายให้เธอเข้าใจ

หนูน้อยเซรีมองคุณแม่อย่างใกล้ๆ ตอนที่คุณแม่พูดคำนั้นซ้ำขึ้นอีกครั้ง “แต่มันก็เหมือนกัน” หนูน้อยยืนยัน “ปากคุณแม่ก็เหมือนเดิม!”

ซูซานหัวเราะ และคิดว่าลูกสาวของเธอพูดถูก ความแตกต่างระหว่างเสียง อ กับเสียง ล มีแค่การเคลื่อนไหวของลิ้นที่แตกต่างกันเท่านั้นเอง ซึ่งเซรีไม่อาจเห็นการเคลื่อนไหวของลิ้นได้ จึงไม่ประหลาดใจเลยที่หนูน้อยเซรีเห็นว่าเสียงนี้ออกเสียงยาก

“มีบางเสียงที่เด็กวัยก่อนเรียนมักจะมีปัญหาในการออกเสียง” เจเน็ต แคมเบลล์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการพูด-ภาษาโดยใช้โปรแกรม FirstWords ในเมืองออตตาวาอธิบายว่า “การพัฒนาเสียงจะเกิดขึ้นตามลำดับ และเด็กมักจะออกเสียงที่พูดได้ยากไปอันดับท้ายๆ”

แล้วที่ท้าทายความสามารถของเด็กมากที่สุดมีเสียงอะไรบ้างล่ะ เจเน็ตกล่าวว่าก็มีเสียง ช จ ล ร และ ธ “เป็นเรื่องปกติที่เด็กเข้าเรียน ป.1 แล้วแต่ยังพูดเสียง ร และ ธ ไม่ได้” เธอกล่าว “และหากลูกอายุประมาณ 5 หรือ 6 ขวบของคุณมีปัญหาแค่นี้ละก็ คุณพ่อคุณแม่ก็สบายใจได้”

เมื่อเด็กอายุได้ 3 ขวบถึง 3 ขวบครึ่ง เจเน็ตคิดว่าคำพูดส่วนใหญ่ของเด็กควรจะเป็นที่เข้าใจของคนส่วนใหญ่ (คุณพ่อคุณแม่มีแนวโน้มที่จะเข้าใจคำพูดของลูกก่อนวัยเรียนของตัวเองได้ แม้ว่าจะไม่มีใครเข้าใจก็ตาม ดังนั้น การทดสอบแบบนี้จึงไม่ยุติธรรม) เด็กหลายคนมีวิธีพูดคำบางคำในแบบของเขาเอง เช่น “ฮังเบอร์เกอร์” แทนแฮมเบอร์เกอร์ แต่นอกเหนือจากนั้น คำพูดส่วนใหญ่ของพวกเขาควรชัดถ้อยชัดคำ

เด็กบางคนที่กำลังเรียนรู้อักษรบางตัวอยู่นั้น เขาอาจจะออกเสียงเหมือนกับว่ามีสำเนียงของเขาเอง “หากคุณแม่เริ่มสงสัยว่าลูกออกเสียงเหมือนคนในเมืองบอสตัน นั่นอาจเป็นเพราะว่าเขายังไม่รู้จักตัวอักษร R” เจเน็ตอธิบาย “ดังนั้น เขาก็เลยจะออกเสียง ‘carport’ เป็น ‘cahpoht’”

หากลูกก่อนวัยเรียนของคุณยังไม่สามารถพูดได้อย่างชัดเจน หรือมีปัญหาในการออกเสียงหลายเสียง เจเน็ตแนะนำว่าควรไปหาผู้เชี่ยวชาญด้านการพูดและภาษาเพื่อทำการประเมินผล และนาตาลี แมคนาฟตันก็ได้ไปพบผู้เชี่ยวชาญเช่นกันเมื่อลูกชายวัย 3 ขวบครึ่งของเธอที่มีปัญหาในการออกเสียง เธอเข้าใจเขา แต่คนอื่นไม่เข้าใจเขาพูดเลย

“เดวี่อาจพูดประมาณว่า ‘puh me on a wing’ ซึ่งหมายถึง ‘push me on the swing’” นาตาลีอธิบาย “ในตอนแรก ฉันยังคิดไม่ออกว่าคำพูดของเขามีอะไรบางอย่างผิดปกติ คำพูดของเขาฟังดูแปลกมาก และจากนั้นฉันจึงเข้าใจว่าเขาออกเสียงที่เป็นเสียงเบาๆ ไม่ได้ ฉันคิดไปว่าบางทีเขาอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยินก็ได้”

เธอคิดถูก เมื่อเธอพาเดวี่ไปพบแพทย์ประจำครอบครัวของเธอ จึงทราบว่าเดวี่ มีของเหลวคั่งอยู่ด้านหลังเยื่อแก้วหูซึ่งหลงเหลืออยู่หลังจากรักษาอาการติด เชื้อที่หูหายแล้ว สำหรับเดวี่แล้ว มันเหมือนกับว่าเขากำลังฟังเสียงจากใต้น้ำ และแม้ว่าจะสอดท่อเข้าไปในหูเพื่อขจัดของเหลวส่วนเกินที่ว่านั้นออก แต่การพูดของเดวี่ก็ไม่ได้พัฒนาขึ้นจนกระทั่งเขาได้เริ่มไปรับการบำบัดจาก ผู้เชี่ยวชาญด้านการพูด-ภาษา

ตามหลักการของเจเน็ต สัญญาณบ่งบอกอื่นๆ ที่คุณพ่อคุณแม่ควรจับตามองคือ เขาออกเสียงตัวสะกดไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น หลังจากย่างเข้าอายุ 3 ขวบ ลูกของคุณไม่น่าพูดคำว่า “เป็ด” เป็น “เป๊ะ” เด็กบางคนอาจออกเสียงควบกล้ำไม่ได้ เช่น พูดคำว่า “ความ” เป็น “คาม” –และหากอายุเกิน 3 ขวบครึ่งแล้วแต่ยังมีปัญหาแบบนี้อยู่ คุณพ่อคุณแม่ควรกังวลแล้วล่ะ

หากลูกออกเสียงบางคำผิดหรือไม่สามารถออกเสียงคำบางคำได้ คุณแม่ควรทำเช่นไร เจเน็ตขอแนะนำว่าคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรพยายามแก้ไขคำที่ลูกพูดผิด “หากเขาพูดว่า ‘หนูเห็นแอว’ และคุณแม่ตอบกลับไปว่า ‘ไม่ใช่แอวจ๊ะ แมว ลองพูดซิจ๊ะ’ ทำเช่นนั้นจะเป็นการสร้างความสับสนให้กับลูกและทำให้ลูกหมดกำลังใจที่จะพูด” เจเน็ตแนะนำให้ตอบสนองในเชิงบวกเมื่อลูกพยายามที่จะสื่อสาร และในเวลาเดียวกัน คุณแม่ก็ควรเป็นต้นแบบโดยพูดให้ถูกต้องด้วย คุณแม่ควรตอบเขากลับไปว่า “ใช่จ๊ะ แม่เห็นแมวเหมือนกัน แมวตัวใหญ่ด้วยใช่ไหมจ๊ะ?

นอกจากนั้น ยังอาจเป็นปัญหาได้ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่เห็นว่าวิธีการออกเสียงของลูกน่ารัก มากและนำการออกเสียงแบบนั้นมาใช้จนติดปาก “คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องพูดคำที่ถูกต้องให้ลูกฟัง เพื่อเป็นตัวอย่างให้เขาทำตามได้” เจเน็ตเตือนคุณพ่อคุณแม่

ถึงแม้ว่าการค้นพบปัญหาการพูดตั้งแต่เนิ่นๆ จะเป็นสิ่งสำคัญ แต่เจเน็ตยังชี้แจงอีกว่าขอบเขตของปัญหามี “กว้างมาก” เด็กวัย 2 ขวบคนหนึ่งอาจพูดประโยคที่สมบูรณ์ได้อย่างชัดเจนมาก ในขณะที่พี่ชายวัย 5 ขวบอาจยังคงเรียกตัวเองว่า “ว็อบบี้” แทนที่จะเป็น “ร็อบบี้” หากคุณแม่กังวลใจ ควรไปปรึกษากับแพทย์หรือกุมารแพทย์เรื่องการส่งตัวไปรับการรักษากับแพทย์ผู้ เชี่ยวชาญด้านการพูด

การออกเสียงในช่วงวัยต่างๆ
ลูกน้อยควรออกเสียงดังต่อไปนี้ได้

* เมื่ออายุ 3 ขวบ เสียงสระทั้งหมด รวมถึงเสียง พ บ ม น ว ด ท ค ก และ ฮ
* เมื่ออายุ 3 ขวบครึ่ง เสียง ฟ และ ส
* เสียงที่มีปัญหามากที่สุดได้แก่เสียง ช จ ล ร และ ธ

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

0 comments:

Post a Comment

 

Mama And Baby Care Copyright © 2009 Baby Shop is Designed by Ipietoon Sponsored by Emocutez