A Blogger by Beamcool

Thursday, September 10, 2009

การเลี้ยงดูลูก - สุขภาพ ( อาการเจ็บป่วยทั่วไป - เคล็ดลับจากคุณพ่อคุณแม่ )

Posted by wittybuzz at 11:27 AM 0 comments

คุณพ่อคุณแม่ท่านอื่นๆ สามารถเป็นแหล่งข้อมูลที่ยอดเยี่ยมได้ในเรื่องการดูแลลูกน้อยวัยแบเบาะและ วัยหัดเดินในยามที่เขาไม่สบาย ต่อไปนี้คือแนวความคิดเล็กๆ น้อยๆ ของบรรดาคุณพ่อคุณแม่

* ใช้หลอดฉีดยาในการป้อนยาให้กับเด็กๆ
* เวลาใช้ยาหยอดตา ให้เด็กหลับตาในขณะที่หยอดยาไว้ที่หัวตา จากนั้นยาจะไหลเข้าสู่ดวงตาเองเมื่อเขาลืมตา
* เมื่อจะทดสอบว่าเขามีไข้หรือไม่โดยไม่มีเธอร์มอมิเตอร์ ให้ใช้ริมฝีปากสัมผัสกับหน้าผากของลูกน้อย
* หน้าท้องเป็นบริเวณที่เหมาะสำหรับสัมผัสเพื่อทดสอบว่าเขามีไข้หรือไม่
* ห้ามให้แอสไพรินแก่เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี
* ห้ามให้น้ำมะนาวหรือน้ำผลไม้แก่เด็กที่มีอาการเกี่ยวกับทางเดินอาหาร ควรให้น้ำเกลือแร่ น้ำสะอาดหรือให้นมแม่มากๆ

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Wednesday, September 9, 2009

การเลี้ยงดูลูก - สุขภาพ ( อาการเจ็บป่วยทั่วไป - เมื่อไรจึงควรจะไปพบแพทย์ )

Posted by wittybuzz at 7:12 AM 0 comments

ลูกน้อยบอกคุณไม่ได้เมื่อเขาป่วย และนั่นคือสิ่งที่น่ากังวลมาก

คุณต้องเป็นคนตัดสินใจว่าลูกมีอาการไม่สบายหรือไม่ หรือมีอาการรุนแรงเพียงไร บางครั้งคุณพ่อแม่ก็วิตกกังวลจนเกินไปทั้งๆ ที่ไม่มีอะไรที่จะต้องเป็นกังวลมากนัก แต่คนเป็นพ่อเป็นแม่ก็มักจะเป็นเช่นนี้! คุณจะรู้สึกมั่นใจมากขึ้นเมื่อลูกน้อยโตขึ้น อย่างน้อยเด็กวัยหัดเดินก็สามารถบอกหรือแสดงให้คุณเห็นว่าเขาเจ็บตรงไหน

ทารกและเด็กเล็กส่วนใหญ่จะมีวันเวลาที่พวกเขาไม่สบายเป็นครั้งคราว เมื่อพวกเขาร้องไห้หรืองอแง มีอาการอยู่ไม่เป็นสุขและกระวนกระวาย ที่จริงแล้ว การที่เด็กๆ ร้องไห้ก็เป็นความสบายใจอย่างหนึ่ง คือว่าเด็กๆ ที่ป่วยหนักจะมีอาการง่วงและอ่อนเพลีย อาการเจ็บป่วยไม่สบายขั้นรุนแรงที่เป็นอันตรายต่อชีวิตนั้น พบได้น้อยมากในทารกและเด็กเล็กๆ

คุณควรพาลูกไปพบแพทย์ (หรือคุยทางโทรศัพท์) หากลูกมีอาการดังนี้

* มีอาการอ่อนเพลีย หมดแรง หรือหลับเป็นเวลานานๆ
* อาเจียนต่อเนื่องเป็นเวลานานกว่าหนึ่งชั่วโมง
* มีอาการท้องเสียที่ไม่หายภายในเวลา 24 ชั่วโมง
* มีผื่นขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ
* ไม่ปัสสาวะ
* ถ่ายอุจจาระซึ่งมีสีหรือเนื้อผิดปกติไปจากเดิม (อุจาจาระสีเขียวเป็นบางครั้งไม่ได้แปลว่าเด็กป่วย และที่จริงแล้ว นมผสมบางชนิดก็อาจทำให้อุจจาระมีสีออกเขียวได้)
* รู้สึกว่าเป็นไข้และตัวร้อนจนไม่สบาย
* มีรอยช้ำและเลือดออกจากหู ปาก จมูก ทวารหนัก หรือในอุจจาระหรือปัสสาวะซึ่งหาสาเหตุไม่ได้

ควรขอความช่วยเหลือจากแพทย์ทันทีหากลูกน้อยของคุณมีอาการดังนี้

* มีอาการชักซึ่งไม่ได้เป็นแค่การกระตุกธรรมดา ลองตรวจดูว่าตาของเด็กกลอกไปมาหรือไม่มี และเด็กไม่มีการตอบสนองเมื่อคุณพูดกับเขาหรือมองเขา
* พบว่าเขาหายใจลำบาก
* หมดสติ
* มีจ้ำสีน้ำเงินขึ้นที่ริมฝีปากหรือใบหน้า
* มีอาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
* ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดหรืออุจจาระมีลักษณะคล้ายเยลลี่สีแดงสด
* ดูเหมือนเขากำลังเจ็บปวดอย่างเห็นได้ชัด

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Tuesday, September 8, 2009

การเลี้ยงดูลูก - สุขภาพ ( อาการเจ็บป่วยทั่วไป - การรักษาไข้หวัดธรรมดาและไข้หวัดใหญ่ )

Posted by wittybuzz at 2:17 PM 0 comments

สิ่งที่แย่ที่สุด-ของไข้หวัดธรรมดาและไข้หวัด ใหญ่ก็คือการที่มันสามารถแพร่กระจายในครอบครัวได้อย่างรวดเร็วมาก ผู้คนส่วนใหญ่คิดไม่ถึงว่ามือของเราเป็นต้นเหตุหลักๆ ของการแพร่กระจายไวรัสไข้หวัดธรรมดาและไข้หวัดใหญ่ โดยเฉพาะใน 2-4 วันแรกที่ผู้ได้รับเชื้อมีอาการไอ จาม และมีน้ำมูกไหล

กุญแจสำคัญในการหยุดวัฏจักรของไข้หวัดธรรมดาและไข้หวัดใหญ่ก็คือ ฆ่าเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคเหล่านี้ก่อนที่มันจะแพร่กระจายไปสู่สมาชิกใน ครอบครัวคนอื่นๆ

แล้วจะทำอย่างไรล่ะ
ต่อไปนี้คือเคล็ดลับง่ายๆ จากคุณหมอ เพ็นนี อาดัมส์
  1. สอนให้เด็กๆ ไอ จาม หรือสั่งน้ำมูกลงในกระดาษทิชชู่เสมอ
  2. ทิ้งกระดาษทิชชู่ลงในถังขยะหลังใช้แล้วเพียงครั้งเดียว
  3. หากหากระดาษทิชชู่ไม่ได้ ควรสอนให้เด็กๆ ไอหรือจามโดยใช้มือป้องปาก
  4. อย่าลืมล้างมือด้วยน้ำสะอาดและสบู่หลังจากไอหรือจาม
  5. อย่าใช้ถ้วย แก้ว ขวดน้ำ หลอด หรืออุปกรณ์รับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
  6. อย่าลืมล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารและเอามือออกห่างจากตา จมูก และปากตลอดเวลา
  7. อย่าลืมให้ทุกคนในครอบครัวควรออกกำลังกายเป็นประจำและทานผักและผลไม้สดมากๆ เพื่อช่วยให้มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์
ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Monday, September 7, 2009

การเลี้ยงดูลูก - สุขภาพ ( อาการเจ็บป่วยทั่วไป - ไอ เป็นหวัดและอื่นๆ )

Posted by wittybuzz at 7:43 AM 0 comments

ตารางข้อมูลอ้างอิงอันเป็นประโยชน์เมื่อพบอาการ ไม่สบายทั่วไปในเด็กจะช่วยคุณให้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้องเหมาะสมที่สุดเมื่อ ลูกน้อยไม่สบาย

หลอดลมอักเสบ

* มักเกิดกับทารกในช่วง 12 เดือนแรก
* เป็นการติดเชื้อไวรัสในทางเดินหายใจ
* ทางเดินหายใจอักเสบและเต็มไปด้วยน้ำมูกและมีผลกระทบต่อการทำงานของปอด
* แพร่กระจายทางการไอ จาม และการสัมผัสโดยตรง (เช่น ทางกระดาษทิชชู่)

อาการ

* น้ำมูกไหล จามและมีไข้
* เริ่มไอในเวลาเพียงไม่กี่วัน
* หายใจออกมีเสียงดัง
* หายใจลำบาก หายใจติดขัด และเวลาหายใจ หน้าอกจะยกตัวขึ้นสูงกว่าปกติ

การรักษา

* ไปพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ
* ขอความช่วยเหลือจากแพทย์โดยด่วนหากพบว่าลูกน้อยหายใจลำบาก

อีสุกอีใส (เชื้อไวรัส Varicella-zoster)

* ติดต่อทางการสัมผัสได้เร็วมาก
* แพร่กระจายผ่านการสัมผัสโดยตรงกับผู้ที่มีเชื้อหรือสัมผัสกับแผลหรือกับฝอยน้ำลายจากการไอหรือจาม
* ระยะเวลาการติดต่อคือ 2 วันก่อนที่จะมีผื่นขึ้นจนถึงเมื่อตุ่มน้ำแห้งจนตกสะเก็ด
* ระยะฟักตัวคือ 10 - 21 วันหลังได้รับเชื้อ
* ควรหลีกเลี่ยงอย่าสัมผัสกับสตรีมีครรภ์

อาการ

* มีไข้ เจ็บคอและปวดศีรษะ
* มีผื่นคันขึ้นทั่วร่างกาย
* มีผื่นหรือตุ่มน้ำเล็กๆขึ้นโดยผิวบริเวณนั้นจะมีสีชมพูแดง
* ตุ่มน้ำจะค่อยๆ แตกและตกสะเก็ด (ประมาณ 5 วันหลังเกิดตุ่มน้ำ)
* อาจมีตุ่มน้ำเกิดขึ้นในปากได้

การรักษา

* ให้ทานพาราเซตามอลหรือไอบูโพรเฟน
* อาบน้ำเย็น
* ประคบด้วยผ้าเย็น
* ทาครีม (ขอคำแนะนำจากเภสัชกร) หากพบว่ามีอาการแทรกซ้อน ให้ปรึกษาแพทย์

ไข้หวัดธรรมดา


* มีการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนต้น
* มีอาการไอและจาม
* ติดต่อโดยการสัมผัสโดยตรง
* ติดต่อได้จนกว่าอาการจะหาย

เกิดอาการทั้งหมดหรืออาการใดอาการหนึ่งดังต่อไปนี้ :


* คัดจมูกหรือน้ำมูกไหล
* จาม
* เจ็บคอ
* ไอ
* ปวดศีรษะ
* มีไข้ตัวร้อน

การรักษา

* ให้ดื่มน้ำมากๆ
* ให้ทานพาราเซตามอลหรือไอบูโพรเฟน
* ให้ใช้ยาพ่นหรือยาหยอด จมูก ปรึกษาเภสัชกรเพื่อขอคำแนะนำ

ไปพบแพทย์หากพบว่า :

* มีไข้สูงอย่างต่อเนื่อง
* มีอาการหายใจลำบาก
* ปวดศีรษะอย่างมาก
* คอแข็งขยับลำบาก
* เซื่องซึม

ตาแดง

* มีเนื้อเยื่อตาเกิดการอักเสบ
* ติดต่อได้เร็วมากและอาจแพร่กระจายได้ทางการสัมผัสมือหรือการสบตาหรือการสัมผัสเสื้อผ้าของผู้มีเชื้อนี้
* ระยะฟักตัวคือ 2-3 วันไปจนถึงหนึ่งสัปดาห์

อาการ

* มีของเหลวสีขาวหรือสีเหลืองออกจากตา
* เปลือกตาอาจติดกันหลังนอนหลับ
* อาจคันและระคายตา
* อาจเกิดจ้ำเลือดที่ตา

การรักษา

* ขอคำแนะนำจากแพทย์ อาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะหยอดตา
* ใช้ผ้าที่ฆ่าเชื้อแล้วหรือผ้าฝ้ายสะอาดๆ ชุบน้ำเกลือเช็ดจากหางตาเข้าหาจมูก
* ล้างมือหลังเช็ดทำความสะอาดตาทุกครั้ง
* หลีกเลี่ยงการใช้ผ้าเช็ดตัวหรือเสื้อผ้าร่วมกับผู้อื่นในขณะที่ยังมีของเหลวหลั่งออกจากตา

ท้องผูก


* ทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่มักไม่มีอาการท้องผูก ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะถ่ายอุจจาระ 7-10 วันต่อครั้ง
* อาการท้องผูกมักเกิดขึ้นในทารกที่เลี้ยงด้วยนมขวด
* เด็กโตอาจเกิดอาการท้องผูกได้หลังทานอาหารแปลกใหม่ เนื่องจากร่างกายต้องปรับตัว

อาการ

* ถ่ายไม่บ่อยและ
* ถ่ายอุจจาระลำบากและ
* อุจจาระเป็นก้อนแข็งหรือเป็นเม็ดและ
* รู้สึกเจ็บเวลาถ่ายอุจจาระและมีเลือดออกเป็นครั้งคราว

การรักษา

* ให้ทานน้ำมากๆ
* อาบน้ำอุ่น
* ยกขาขึ้นและขยับขึ้นลงเบาๆ
* ทานอาหารที่มีเส้นใยสูงให้มากขึ้น (สำหรับเด็กโต)
* ออกกำลังกายเป็นประจำ
* ใช้เวลานั่งส้วมสบายๆ โดยไม่ต้องรู้สึกกดดันและไม่ต้องจำกัดเวลา
* นวดบริเวณท้อง
* หากเกิดอาการท้องผูกเป็นประจำ ให้ไปปรึกษาแพทย์

อาการไอ

* มักเป็นส่วนหนึ่งหรือตามมาด้วยอาการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนต้น
* ติดต่อง่ายจนกว่าอาการจะหาย.

อาการ

* อาจมีอาการไอแห้งหรือไอมีเสมหะ
* มี อาการคล้ายไข้หวัด
* คอยสังเกตสัญญาณของอาการ-โรคไอกรน อาการทางเดินหายใจอุดตัน หลอดลมอักเสบ หรือปวดบวม

การรักษา

* ให้ดื่มน้ำมากๆ
* หากมีการติดเชื้อแบคทีเรีย อาจจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ
* ควรไปปรึกษาแพทย์หากอาการไม่ทุเลา หรือหากคุณมีความกังวล

หนังศีรษะแห้ง

* เกิดจากการหลั่งน้ำมันบนหนังศีรษะผิดปกติ

อาการ

* เกิดเปลือกแข็งสีเหลืองบนหนังศีรษะ
* อาจมีกลิ่นเหม็น

การรักษา

* ทำให้เปลือกแข็งๆ นิ่มลงโดยใช้มอยซ์เจอร์ไรเซอร์หรือน้ำมัน
* ทิ้งไว้ข้ามคืนแล้วล้างออก อาจจำเป็นต้องแกะเปลือกแข็งๆ นั้นออกจากหนังศีรษะโดยถูเบาๆ หรือใช้หวีที่มีฟันละเอียด

ทางเดินหายใจอุดตัน

* เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งทำให้เกิดการติดเชื้ออย่างฉับพลันบริเวณทางเดินหายใจส่วนบน
* พบบ่อยในเด็กเล็กและทารก
* ทางเดินหายใจเริ่มบวมและตีบ
* แพร่กระจายผ่านการไอและจาม
* มีอาการรุนแรงมากที่สุดในวันที่ 2 หรือ 3

อาการ

* เมื่อเริ่มแรกจะมีอาการเช่นเดียวกับไข้หวัดโดยทั่วไป
* มีอาการไอแบบเสียงเห่า (เสียงคล้ายแมวน้ำ)
* เสียงแหบ
* หายใจเสียงดัง
* อาการทรุดในเวลากลางคืน

ต่อไปนี้คือสัญญาณของอาการรุนแรง

* หายใจลำบาก
* มีไข้สูงและมีน้ำลายไหล

การรักษา

* การรักษาเบื้องต้นคือควรให้ทารกอยู่ในห้องที่มีไอน้ำมาก โดยเปิดก๊อกน้ำร้อนในห้องน้ำหรือใน ห้องซักผ้า ควรระวังอย่าให้ถูกน้ำร้อนลวก
* ควรไปพบแพทย์หากสงสัยว่ามีอาการทางเดินหายใจอุดตัน
* หากมีอาการร้ายแรงเฉียบพลัน ควรเรียกรถพยาบาล
* ควรนอนใกล้ๆ ลูกน้อยเสมอ

อาการขาดน้ำ

* อาการนี้อาจเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วในทารกโดยเป็นผลจากการอาเจียน ท้องเสียอย่างต่อเนื่อง มีอาการลมแดดหรือเพลียแดด

อาการ

* อ่อนเพลียไม่มีแรงและเฉื่อยชา
* ตาและกระหม่อมยุบโบ๋
* ปัสสาวะน้อยลง
* เมื่อลองหยิกผิวหนังดู ผิวหนังจะไม่คืนตัว
* ปากแห้งและกระหายน้ำมาก

การรักษา

* ขอความช่วยเหลือจากแพทย์โดยด่วน
* พยามรักษาระดับหรือเพิ่มน้ำในร่างกายเพื่อป้องกันอาการขาดน้ำ
* ให้น้ำเกลือแร่

อาการท้องเสีย

* เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียซึ่งสามารถแพร่กระจายได้โดยการสัมผัสมือ

อาการ

* เป็นตะคริวและปวดท้อง
* ถ่ายเหลวและรุนแรง
* ถ่ายเป็นน้ำบ่อย
* อุจจาระอาจไม่มีสี
* อาจทำให้เกิดการขาดน้ำได้

การรักษา

* ขอรับคำแนะนำจากแพทย์
* ควรดูแลล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ
* ควรป้อนนมแม่ให้ลูกน้อยอย่างต่อเนื่องและรักษาระดับของเหลวของร่างกาย
* ให้น้ำเกลือแร่กับเด็กโต

อาการหูอักเสบ

* มักมีการติดเชื้อไวรัส และอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วยเป็นบางครั้ง
* มักตามด้วยอาการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนต้น
* มักตามด้วยอาการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนต้น

อาการ

* ปวดหู
* มีไข้
* หงุดหงิดง่าย
* เบื่ออาหาร

การรักษา

* ควรไปพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ
* ยาปฏิชีวนะใช้ได้สำหรับการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น
* รักษาตามอาการ
* พาราเซตามอลหรือไอบูโพรเฟนอาจช่วยบรรเทาอาการได้
* ประคบร้อนที่หู

อาการชักจากไข้สูง

* อาการนี้เกิดขึ้นกับทารกจำนวนน้อย โดยอาจเกิดขึ้นเนื่องจากอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นอย่างฉับพลัน

อาการ

* หมดสติหรือไม่รู้สึกตัว
* ตัวเริ่มแข็งหรืออ่อนปวกเปียก
* ร่างกายเริ่มชักหรือกระตุก
* เด็กอาจมีอาการมึนงงหรือง่วงหลังหมดอาการชัก

การรักษา

สิ่งที่ควรปฏิบัติในทันที :

* เคลื่อนย้ายสิ่งที่อาจทำให้เด็กบาดเจ็บออกให้ห่าง
* อยู่กับเด็ก
* วางเด็กในท่าที่ให้การช่วยเหลือได้
* ขอความช่วยเหลือจากแพทย์

โทรตามรถฉุกเฉิน หากพบว่า :

* ลูกน้อยมีอาการหายใจลำบาก
* เด็กยังคงหมดสติอยู่หลังจากหมดอาการชัก
* หากชักนานเกินกว่า 5 นาที
* หากลูกกลับมามีอาการชักอีกครั้งหลังจากชักครั้งแรกไปแล้ว

มีไข้ตัวร้อน

* อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย
* ลูกน้อยอาจมีไข้เนื่องได้รับความร้อนมากเกินไป
* ควรปฏิบัติตามโปรแกรมสร้างภูมิคุ้มกันเป็นระยะๆ

อาการ

* เมื่ออุณหภูมิร่างกายขึ้นสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส จะถือว่าลูกของคุณมีไข้
* หากอุณหภูมิร่างกายขึ้นสูงกว่า 39 องศาเซลเซียสถือว่ามีไข้สูง
* เมื่อสัมผัสเด็ก อาจรู้สึกได้ว่าตัวร้อน
* เด็กอาจหนาวสั่นหรือตัวร้อนมาก
* อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วหรือมีไข้สูงเป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดอาการชักจากไข้สูงได้

การรักษา

* รักษาตามอาการโดยให้พาราเซตามอลหรือไอบูโพรเฟนเพื่อให้ลูกน้อยรูสึกสบายขึ้น
* ถอดเสื้อผ้าที่ไม่จำเป็นออก
* เช็ดตัวให้ลูกน้อยด้วยฟองน้ำหรือผ้าอุ่นๆ (อุณหภูมิของน้ำควรอยู่ที่ 37องศาเซลเซียส
* ให้ดื่มน้ำมากๆ

ขอคำปรึกษาจากแพทย์หากพบว่า :

* ลูกน้อยของคุณมีไข้
* เด็กมีไข้สูง หรือ
* มีอาการหายใจลำบาก หรือ
* อ่อนเพลียไม่มีแรงและไม่ตอบสนองหรือ
* มีผดผื่น
* คุณมีความกังวล

ไข้หวัดใหญ่

* ไอและจาม
* เกิดจากการสัมผัสโดยตรงกับผู้มีเชื้อ
* ติดต่อได้ง่ายจนกว่าอาการจะหาย

อาการ

* มีไข้สูง
* หนาวสั่นและมีเหงื่อออก
* ปวดศีรษะ
* รู้สึกอ่อนเพลียและเหนื่อย
* ปวดข้อ
* เบื่ออาหาร
* ไอแบบมีเสมหะ

การรักษา

* ให้ดื่มน้ำมากๆ
* ให้พาราเซตามอลหรือไอบูโพรเฟน
* ให้ยาพ่นหรือยาหยอดจมูก

ปรึกษาเภสัชกรเพื่อขอคำแนะนำ
ควรไปพบแพทย์เมื่อ :


* มีไข้สูงอย่างต่อเนื่อง
* หายใจลำบาก
* ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
* คอแข็ง
* เซื่องซึม
* คุณมีความกังวลใดๆ ก็ตาม

ทางเดินอาหารอักเสบ

* อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย
* อาจมีอาการรุนแรงในเด็กเล็กเนื่องจากการขาดน้ำ

อาการ

* อาเจียนและท้องเสีย
* ปวดท้องหรือเป็นตะคริว
* มีไข้ตัวร้อน
* อาจเกิดอาการขาดน้ำได้
* อาจถ่ายเป็นเลือด

การรักษา

* ป้อนนมแม่ให้ลูกน้อยอย่างต่อเนื่องและให้ดื่มน้ำหรือให้น้ำเกลือแร่เพิ่ม
* ให้ดื่มน้ำหรือน้ำเกลือแร่แทนนมผสมจนกว่าจะหยุดอาเจียน

ควรไปพบแพทย์หากพบว่า :

* มีอาการต่อเนื่องนานกว่า 24 ชั่วโมง
* สงสัยว่ามีลูกน้อยมีอาการขาดน้ำ
* คุณมีความกังวลใดๆ ก็ตาม ควรดูแลล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ

แผลพุพอง

* เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังชนิดหนึ่ง
* ติดต่อได้เร็วมากผ่านทางการสัมผัสโดยตรงจนกว่าแผลจะแห้งสนิท (ประมาณ 3-5 วัน)
* แบคทีเรียมักผ่านเข้าผิวหนังทางรอยบาด รอยแมลงกัด หรือแผลอื่นๆ

อาการ

* เริ่มจากการเป็นตุ่มน้ำใสๆ เล็กๆ
* ตุ่มน้ำนี้จะแตกและเกิดเป็นผิวแข็ง

การรักษา

* ปรึกษาแพทย์
* แพทย์มักจะจ่ายยาขี้ผึ้งปฏิชีวนะและยาอื่นให้ใช้รักษาอาการ
* ปิดแผลที่มีน้ำไหลเยิ้มด้วยผ้าปิดแผลแบบไม่เหนียว
* ควรดูแลล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ
* ซักผ้าปูที่นอนและเสื้อผ้าทุกวัน

ไข้หวัดใหญ่

* เป็นการติดเชื้อไวรัสซึ่งแพร่กระจายผ่านการไอและจามจากผู้ที่ติดเชื้อ
* อาการจะเกิดขึ้น 1-3 วันหลังได้รับเชื้อ

อาการ

* มีไข้ตัวร้อน
* ไอ (ไอแห้งหรือมีเสมหะ)
* ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ
* รู้สึกอ่อนแรงและเซื่องซึม
* ปวดศีรษะ
* เบื่ออาหาร
* อาการอาจคงอยู่เป็นเวลา 7-10 วัน
* อาจเกิดการขาดน้ำได้อย่างรวดเร็ว

การรักษา

* รักษาอาการด้วยพาราเซตามอลหรือไอบูโพรเฟนเพื่อช่วยให้เด็กรู้สึกสบายขึ้น
* ให้ดื่มน้ำมากๆ
* เฝ้าสังเกตอาการติดเชื้อแทรกซ้อน ไข้กลับ เจ็บหู และปอดบวม
* ควรดูแลล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ
* ควรไปพบแพทย์หากอาการของเด็กไม่ทุเลาหรือคุณมีข้อกังวลใดๆ ก็ตาม.

เยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังอักเสบ

* ติดต่อได้ง่ายมาก
* เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียอย่างเฉียบพลัน
* เป็นอันตรายถึงชีวิต
* เกิดอาการอักเสบของไขสันหลังและสมอง
* ตามด้วยอาการเลือดเป็นพิษ
* แพร่กระจายทางการไอ จาม จุมพิต การดื่มน้ำและทานอาหารร่วมกัน

อาการ

อาการต่อไปนี้อาจไม่เกิดขึ้นทั้งหมด :

* ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
* มีไข้ (ซึ่งอาจไม่ตอบสนองต่อพาราเซตามอล)
* ร้องไห้ด้วยเสียงแหลมสูง
* เหนื่อยล้า ง่วง เซื่องซึม
* คอแข็งหรือปวดคอ
* แพ้แสง
* กระหม่อมโป่งบวม
* ชัก

อาการที่รุนแรงกว่า :

* อาเจียน
* มือเท้าเย็น
* หนาวสั่น
* ปวดกล้ามเนื้อ ข้อต่อ หน้าอก หรือท้องอย่างรุนแรง
* หายใจเร็ว
* ท้องเสีย
* ในระยะหนักขึ้น จะมีผื่นเหมือนถูกหนามตำหรือมีรอยม่วงช้ำ

การรักษา

* ขอความช่วยเหลือจากแพทย์โดยด่วน
* หากสงสัยว่าลูกมีอาการเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังอักเสบ ให้ดำเนินการรักษาโดยเร็ว
* มีวัคซีนป้องกันซึ่งมีอยู่แล้วตามตารางการสร้างภูมิคุ้มกันปกติ

วิธีการป้องกัน :

* หลีกเลี่ยงการใช้ถ้วย อุปกรณ์สำหรับทานอาหาร และแปรงสีฟันร่วมกัน
* ควรให้ทารกและเด็กวัยหัดเดินหลีกเลี่ยงการเล่นของเล่นที่มีน้ำลายติดร่วมกับเด็กคนอื่น
* อย่าใช้จุกนมร่วมกันหรือให้คนที่เอาจุกนมเข้าปากเป็นคนนำไปทำความสะอาด

หูดข้าวสุก

* เป็นการติดเชื้อไวรัส
* ติดต่อได้ง่ายมากทางการสัมผัสกับน้ำที่ใช้ร่วมกัน (เช่น น้ำอาบหรือน้ำในสระ)

อาการ

* มีตุ่มเล็กๆ นูนๆ ที่ดูคล้ายหูดเล็กๆ โดยปกติแล้ว ตุ่มเหล่านี้จะคงอยู่ประมาณ 3-6 เดือน

การรักษา

* ไม่จำเป็นต้องรักษา เพราะอาการจะหายไปเอง
* ปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำยืนยัน

ผื่นจากไวรัสชนิดไม่เฉพาะเจาะจง


* เกิดจากการติดเชื้อไวรัส

อาการ

* มักปรากฏเป็นผื่นแดงทั่วร่างกาย
* ปรกติแล้วอาการจะคงอยู่เพียงไม่กี่วัน
* อาจมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ เกิดขึ้นได้

การรักษา

* ควรปรึกษาแพทย์

เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อนิวโมคอกคัส


* เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียผ่านทางการไอ จาม หรือสัมผัสน้ำลาย
* การให้วัคซีนสามารถช่วยป้องกันความเสี่ยงจากการติดเชื้อนี้ได้ ดูแผนภูมิการสร้างภูมิคุ้มกันของเรา

อาการ

ลูกน้อยของคุณอาจมีอาการใดอาการหนึ่งหรือทั้งหมดต่อไปนี้ :

* มีไข้ตัวร้อน
* เด็กจะร้องไห้เสียงแหลมสูง
* แพ้แสงสว่าง
* อาเจียน
* ปวดศีรษะ
* คอแข็ง
* กระหม่อมของทารกโป่งบวม
* ปวดข้อและ/หรือกล้ามเนื้อ
* หงุดหงิดง่าย
* ง่วง/มึนงง
* หมดสติ

การรักษา

* ขอความช่วยเหลือจากแพทย์โดยด่วน

ผื่นดอกกุหลาบ

* เป็นการติดเชื้อไวรัส

อาการ

* มีไข้สูงประมาณ 3 วัน
* เบื่ออาหาร
* ต่อมน้ำเหลืองในคอบวม
* ตามด้วยผื่น (จุดสีชมพู//แดง) ทั่วร่างกาย

การรักษา

* ติดต่อแพทย์เพื่อขอคำยืนยันประเภทของผื่น
* รักษาตามอาการโดยให้พาราเซตามอลหรือไอบูโพรเฟนและใช้ฟองน้ำเย็นประคบ
* ให้ดื่มน้ำมากๆ

หัดเยอรมัน

* เป็นการติดเชื้อไวรัส
* หากสตรีมีครรภ์ได้รับเชื้อหัดเยอรมันนี้อาจมีผลที่เป็นร้ายแรงต่อทารกในครรภ์ได้
* ติดต่อได้ง่ายมากโดยผ่านทางการไอ จามหรือการสัมผัสโดยตรง
* ระยะแพร่เชื้อคือ 7 วันก่อนเกิดผื่นจนถึง 7วันหลังเกิดผื่น
* ระยะฟักตัว15-20 วัน

อาการ

* มีไข้ต่ำ
* มีผื่นไม่รุนแรงที่ลำตัว คอและใบหน้า
* ปวดข้อ
* ต่อมต่างๆ ในร่างกายบวม
* ปวดศีรษะ ไอ รู้สึกหนาว

การรักษา

มีวัคซีนตามตารางการสร้างภูมิคุ้มกันตามปกติเพื่อป้องกันโรค

* ให้พาราเซตามอล/ไอบูโพรเฟ็นเพื่อช่วยบรรเทาอาการไม่สบาย
* ให้ดื่มน้ำมากๆ

พยาธิเส้นด้าย

* มีปรสิตอยู่ในร่างกาย
* เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าพยาธิเข็ม
* พยาธิในร่างกายนี้เกิดจากการทานไข่พยาธิเข้าไป
* ไข่พยาธิมีชีวิตอยู่ภายนอกร่างกายได้ถึง 14 วัน โดยปรกติแล้วจะอยู่ในดินหรือฝุ่น

อาการ

* คันก้น
* เบื่ออาหารหรือทานจุบจิบ
* อาจมองเห็นพยาธิได้ในอุจจาระหรือที่ทวารหนักในเวลากลางคืน

การรักษา

* ขอคำแนะนำจากแพทย์
* ควรดูแลล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ

เชื้อราในช่องปาก

* เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อรา
* เกิดจากยีสต์ Candida Albicans เจริญเติบโตผิดปกติ
* สามารถแพร่กระจายได้โดยการสัมผัสโดยตรง

อาการ

* มีแผลภายในช่องปาก
* มีของเหลวขับออกจากปากซึ่งดูคล้ายกับชีส
* ผื่นเขตร้อน: มักเกิดในบริเวณที่ใส่ผ้าอ้อมและรอยพับของผิวหนังที่อยู่ใกล้ๆ
* มีผื่นบวมแดงอย่างชัดเจน
* มีผื่นบวมแดงอย่างชัดเจน

การรักษา

ควรปรึกษาแพทย์ เชื้อราในช่องปาก :

* แพทย์อาจสั่งยาspvfหรือเจลฆ่าเชื้อราให้
* หัวนมอาจติดเชื้อได้เช่นกัน ดังนั้นจึงควรรักษาหัวนมด้วย
* อาจต้องทิ้งจุกขวดนมหรืออาจต้องฆ่าเชื้ออย่างหมดจด

ผื่นเขตร้อน :


* แพทย์อาจสั่งยาทาฆ่าเชื้อราให้ จึงควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
* ควรหยุดใส่ผ้าอ้อมให้เด็กเป็นครั้งคราว
* ใช้ผ้าอ้อมที่ซึมซับปัสสาวะออกจากผิวหนังของเด็กได้

ทางเดินปัสสาวะอักเสบ

* เป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย
* เกิดขึ้นกับเด็กเพศหญิงบ่อยกว่า
* หากไม่รักษา อาจก่อความเสียหายให้กับไตได้
* ควรเช็ดจากหน้าไปหลังเสมอเมื่อเปลี่ยนผ้าอ้อมเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

อาการ

* มีไข้สูงโดยหาสาเหตุไม่ได้
* มีปัสสาวะมาก
* เจ็บหรือแสบเวลาปัสสาวะ
* มีกลิ่นเหม็น
* ในเด็กโตอาจเกิดการปัสสาวะราดทั้งตอนกลางวันและกลางคืน
* จะสามารถยืนยันการติดเชื้อได้ด้วยการตรวจปัสสาวะเท่านั้น

การรักษา

* ขอคำแนะนำจากแพทย์.
* ต้องเก็บตัวอย่างปัสสาวะ
* อาจจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ
* ให้ดื่มน้ำมากๆ
* อาจจำเป็นต้องตรวจติดตาม

การอาเจียน

* มักจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส
* ข้อกังวลหลักสำหรับการอาเจียนในทารกและเด็กเล็กคือการขาดน้ำ

อาการ

* เกิดตะคริวที่ท้องตามด้วยการอาเจียนหลายครั้งติดต่อกัน
* มักจะตามด้วยอาการท้องเสีย

อาการรุนแรงยิ่งขึ้นซึ่งต้องพาไปพบแพทย์โดยด่วนมีดังนี้ :

* อาเจียนหลังเกิดการบาดเจ็บที่ศีรษะ
* อาเจียนมีสีเหลืองหรือเขียวอ่อน
* อาเจียนเป็นเลือด
* มีอาการปวดท้องตลอดเวลา
* มีไข้สูง
* มีอาการขาดน้ำอย่างเห็นได้ชัด

การรักษา

* ป้อนนมแม่ให้ลูกน้อยอย่างต่อเนื่องและให้ดื่มน้ำหรือให้น้ำเกลือแร่เพิ่ม
* ให้ดื่มน้ำหรือน้ำเกลือแร่แทนนมผสมจนกว่าจะหยุดอาเจียน

ขอพาไปพบแพทย์หากพบว่า :

* มีอาการต่อเนื่องนานกว่า 24 ชั่วโมง
* ลูกน้อยไม่อาเจียนของเหลวในร่างกายออกหมด
* สงสัยว่าลูกน้อยมีการขาดน้ำ
* คุณมีความกังวลใดๆ ก็ตาม
* ควรล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ

ไอกรน

* เป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย
* ติดต่อกับเด็กที่ไม่มีภูมิคุ้มกันได้ง่ายมาก
* แพร่กระจายทางการไอ จาม และสัมผัสโดยตรง
* ระยะเวลาแพร่เชื้อคือจากเมื่อเกิดอาการจนถึงเมื่อหมดอาการ (อาจนานถึง 3 เดือน)
* ระยะฟักตัว 5-15 วันหลังจากที่สัมผัสกับผู้ที่มีเชื้อนี้

อาการ

* อาการเริ่มแรกอาจคล้ายกับไข้หวัดธรรมดา
* อาการไออย่างรุนแรงไม่หยุดจะเกิดขึ้นเป็นเวลานานหนึ่งนาทีหรือกว่านั้น
* จะมีเสียง”วี้” เมื่อเด็กพยายามหายใจ
* หายใจลำบาก
* ใบหน้าอาจกลายเป็นสีแดงหรือม่วง
* เด็กอาจอาเจียนหลังจากไอ
* อาจไม่มีอาการอื่นใดระหว่างการไอแต่ละครั้ง

การรักษา

* ควรปรึกษาแพทย์
* ขอแนะนำให้ป้องกันโดยฉีดวัคซีนตามตารางสร้างภูมิคุ้มกันปกติ

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Sunday, September 6, 2009

การเลี้ยงดูลูก - สุขภาพ ( อาการเจ็บป่วยทั่วไป )

Posted by wittybuzz at 7:15 PM 0 comments

เมื่อลูกน้อยในวัยทารกหรือวัยหัดเดินไม่สบาย มันอาจเป็นช่วงเวลาที่น่าทุกข์ใจสำหรับคนเป็นพ่อเป็นแม่ และคุณพ่อคุณแม่อาจรู้สึกว่าตัวเองช่วยอะไรลูกไม่ได้เลย รายชื่ออาการเจ็บป่วยทั่วไปที่พบได้ในเด็กทารกและเด็กวัยหัดเดินนี้ เป็นคู่มืออ้างอิงอันเป็นประโยชน์สำหรับคุณพ่อคุณแม่เมื่อยามที่ลูกน้อยป่วย ซึ่งจะช่วยให้คุณทราบอาการและข้อแนะนำที่ควรปฏิบัติสำหรับอาการเจ็บป่วย เล็กๆ น้อยๆ ในเด็กที่พบได้บ่อย

คำถามที่เราต่างหนักใจก็คือว่า เมื่อไรคือเวลาที่ควรพาลูกไปพบแพทย์ เราจึงได้เสนอแนวทางเพื่อช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ตัดสินใจได้อย่างมั่นใจขึ้น

หมายเหตุ ข้อมูลดังต่อไปนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแทนที่คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์

* ยาแก้ไอและยาแก้หวัดที่พบได้ตามร้านขายยาอาจเป็นอันตรายต่อลูกน้อย ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาเหล่านี้
* เมื่อได้รับคำแนะนำให้ใช้ยาพาราเซตามอลหรือไอบูโพรเฟน ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาและ/หรือควรปฏิบัติตามคำแนะนำที่อยู่บนขวด ไม่แนะนำให้ใช้ไอบูโพรเฟนกับเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี และไม่ควรให้แอสไพรินแก่เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Saturday, September 5, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ความสำคัญของการเล่น ( ของเล่นที่ดีที่สุดสามอย่างเพื่อ พัฒนาการทางสติปัญญา )

Posted by wittybuzz at 11:18 AM 0 comments
มาเล่นกันเถอะ!

หากคุณเดินเข้าไปในบ้านของฉัน ไม่ว่าจะเป็นวันไหนก็ตาม แล้วคุณจะได้เห็นภาพที่น่าประหลาดใจมากจนฉันคิดว่าน่าจะเป็นงานเลี้ยงฉลอง ที่ครึกครื้นที่สุดแล้วล่ะ นั่นก็คือลูกๆ อายุ 1 ขวบ 2 ขวบและ 5 ขวบของฉันทั้งสามคนกำลังง่วนเล่นบล็อกตัวต่ออย่างมีความสุข โดยส่วนมากแล้ว พวกเขาไม่เล่นก่อสร้างด้วยกัน (เชื่อไหม บางครั้งพวกเขาไม่ยอมอยู่ห้องเดียวกันด้วยซ้ำ) แต่ตอนนั้นต่างคนต่างตั้งอกตั้งใจสร้างของเล่นของเขาเองอย่างสนุกสุดๆ

และถ้าไม่ได้ให้พวกเขาเล่นบล็อกตัวต่อ ก็อาจให้พวกเขาเล่นลูกบอลก็ได้ นั่นคือ ให้เขาเล่นอย่างใดอย่างหนึ่ง สำหรับฉันแล้ว ก็ไม่เป็นไร ตราบเท่าที่พวกเขาไม่เล่นบอลในบ้าน แต่ของเล่นพวกนี้จะทำให้พวกเขาเป็นที่รักใคร่ชอบพอของคนอื่นได้ยังไง และลูกฉันควรฝึกเล่นแผ่นภาพมากกว่าที่จะเล่นของเล่นง่ายๆ เพื่อความสนุกพวกนี้ต่อไปหรือไม่

บล็อกตัวต่อ


บล็อกตัวต่อมีประโยชน์สำหรับเด็กไม่แพ้วิตามินรวม เวลาที่เด็กเล่นบล็อกตัวต่อ ไม่ใช่แค่การฝึกทักษะการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ เท่านั้น หากแต่พวกเขากำลังเรียนรู้ทุกอย่างตั้งแต่แนวคิดพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ไปจน ถึงการแก้ปัญหาด้วย งานวิจัยชิ้นหนึ่งแสดงให้เห็นถึงขนาดว่าเด็กก่อนวัยเรียนที่เล่นบล็อกตัวต่อ จนชำนาญจะมีผลการเรียนคณิตศาสตร์สูงกว่าและทำคะแนนได้ดีกว่าเด็กที่ไม่ได้ เล่นบล็อกตัวต่อเมื่อพวกเขาเข้าเรียนโรงเรียนปฐม อย่างเช่นที่ ชารอน แม็คโดนัลด์ ผู้ฝึกสอนครูเด็กก่อนวัยเรียนและผู้แต่งหนังสือ Block Play (สำนักพิมพ์ กริฟอน เฮาส์) ได้อธิบายไว้ว่า “เมื่อเด็กเล่นบล็อกตัวต่อ เขาจะพัฒนาความเข้าใจเรื่องเศษส่วน รูปทรง และการนับไปในตัว” แน่นอนแน่นอนว่าเขาคงไม่รู้เรื่องเศษหนึ่งส่วนสองหรือเศษหนึ่งส่วนสี่ ตั้งแต่อายุได้ 2 ขวบ ความสามารถทางคณิตศาสตร์จะพัฒนาไปทีละขั้นตามวัยของเด็ก

สามขั้นของการเล่นบล็อกตัวต่อ

ในระยะแรกของการเล่นบล็อกตัวต่อ ชารอนเรียกระยะนี้ว่า “ระยะถือไปถือมา” ลูกน้อยวัย 2 ขวบจะต่อตัวต่อได้น้อยมากหรือไม่ได้ต่อเลย แต่เขาสามารถนำตัวต่อมากองรวมกัน ผลักและโยนเล่นได้ และต่อไปเขาจะเรียนรู้เกี่ยวกับน้ำหนัก ความมั่นคง และความสมดุล แน่นอนว่าบทเรียนที่เด็กวัยหัดเดินชอบมากที่สุด ก็คือการเรียนรู้เรื่องแรงโน้มถ่วงที่จะทำให้เกิดเสียงดังที่สุดและวุ่นวาย ที่สุด เด็กวัยหัดเดินจะเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วจากอารมณ์เกรี้ยวกราดของพี่ๆ ว่า เวลาที่โยนอะไรขึ้นไป มันต้องตกลงมา และเวลาที่เขาพังบล็อกตัวต่อให้ล้มลง ผลที่ได้ก็น่าตื่นเต้นสำหรับเขาเป็นที่สุด “เด็กๆ ชอบเล่นก่อสร้างให้เป็นระเบียบ แต่เด็กเล็กๆ ชอบสร้างความวุ่นวายมากกว่า” ชารอนกล่าว “แค่วางบล็อกตัวต่อชิ้นนึงบนอีกชิ้นหนึ่งแค่นั้น พวกเขาก็ได้เรียนรู้แล้วว่าว่าของที่วางอย่างไม่มั่นคงจะร่วงลงมา แต่ถ้าวางอย่างมั่นคง ก็จะไม่ร่วง ”

เมื่อลูกอายุได้ 3 ขวบ เขาจะเข้าสู่ระยะการเล่นบล็อกตัวต่ออีกขั้นที่เรียกว่า “ระยะตั้งเป็นกองและเรียงเป็นแถว” คราวนี้เขาจะสามารถเรียงบล็อกตัวต่อเป็นกองๆ หรือจัดวางในแนวนอนได้ เขาจะเล่นก่อสร้างโดยยังไม่มีจุดประสงค์เฉพาะ แต่เขาจะเริ่มวางเรียงบล็อกตัวต่อเป็นแพทเทิร์น แพทเทิร์นแรกๆ มักจะเป็นการวางบล็อกตัวต่อเรียงต่อกันทีละชิ้นๆ บนพื้น จนกระทั่งเขาเริ่มดัดแปลงรูปร่าง เช่น วางเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสตามหลังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และวางเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสอีกอันหนึ่งตามหลังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอัน ถัดไปและวางต่อไปเรื่อยๆ “คณิตศาสตร์คือการศึกษารูปแบบ” ชารอนกล่าว “และการกระตุ้นให้เขาวางบล็อกเป็นแพทเทิร์นจะช่วยวางพื้นฐานทักษะทาง คณิตศาสตร์ให้เขา” ซึ่งจะเป็นการนำทฤษฎีเศษส่วนเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเล่น เมื่อเขาวางบล็อกตัวต่อสองอันไว้ข้างๆ กัน เธอก็จะเห็นว่าพอเอามารวมกันแล้ว มันจะกลายเป็นบล็อกตัวใหญ่ขึ้นแต่มีรูปร่างและขนาดเท่าเดิม

ในระยะถัดไปเรียกว่า “ระยะก่อร่างสร้างตัว” ลูกน้อยก่อนวัยเรียนของคุณจะเริ่มก่อสร้างแบบง่ายๆ ของเขาเอง เขาอาจวางบล็อกตัวต่อสองชิ้นไว้คู่กัน จากนั้นวางบล็อกชิ้นที่สามซ้อนทับสองชิ้นแรก นอกจากนี้ เมื่อเวลาที่เขาเรียนรู้เรื่องความสมดุล เขาจะเริ่มทดลองเรื่องความสมมาตรไปในตัว การเชื่อมนำไปสู่ “การปิดล้อม” เราจะไม่สามารถก่อสร้างได้ หากไม่จัดระบบและปิดล้อมพื้นที่ ”เราจะเติมช่องว่างนั้นยังไงดีนะ” คำถามนี้ค่อนข้างซับซ้อนที่ลูกน้อยของคุณต้องคิดหาทางออกว่าต้องใช้บล็อกอัน เล็กและอันใหญ่กี่ชิ้นถึงจะปิดช่องว่างนั้นได้สำเร็จ ซึ่งจะส่งผลให้ลูกน้อยไม่ได้รู้จักวางแผนล่วงหน้าเท่านั้น แต่เขายังรู้จักการแก้ปัญหาด้วย

ได้เวลาเล่นลูกบอลแล้วจ๊ะ!!


บล็อกตัวต่อไม่ได้เป็นแหล่งการเรียนรู้เพียงอย่างเดียวในห้องของเจ้าตัวน้อย แม้แต่เด็กทารกก็ยังสามารถมองตามลูกบอลเวลาที่กลิ้งไปบนพื้นได้มอรีน ไมออกโค ผู้อำนวยการโปรแกรมสำหรับเด็กเล็ก SUNY Canton รัฐนิวยอร์กกล่าวว่า เวลาที่เขามองตามลูกบอล “เขาจะต้องมองตามทิศทางของลูกบอลและคาดคะเนตำแหน่งของลูกบอลขณะที่ลูกบอล กลิ้งเข้าหาเขา” การมองตามเช่นนี้ช่วยให้การเคลื่อนไหวดวงตาของลูกทำงานประสานกับการเคลื่อน ไหวร่างกาย นอกจากนี้เวลาที่เขาคาดคะเนว่าเมื่อไหร่จะได้เห็นลูกบอลอีก จะเป็นการตอกย้ำความคิดของเขาว่าเมื่อมีอะไรหายไปจากระยะสายตา มันไม่จำเป็นต้องหายไปเลย

เมื่อลูกโตขึ้นและสามารถคลานตามลูกบอลได้ เขาก็จะเริ่มเรียนรู้เรื่องขนาดพื้นที่ ลูกบอลอยู่ห่างออกไปแค่ไหน แล้วตัวเราอยู่ไกลจากลูกบอลเท่าไหร่ขณะที่เด็กวัยหัดเดินโตขึ้นจนถึงก่อนวัย เรียน การรับรู้ขนาดของพื้นที่จะนำไปสู่การคิดเชิงตรรกะ เมื่อเขากำลังเรียนรู้การขว้างและการไล่จับ เขาจะต้องเริ่มคิดว่าต้องขว้างแรงแค่หนและจะขว้างไปทิศทางไหน กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เขาจะต้องกะประมาณตัวแปรต่างๆ เพื่อที่ว่าพวกเขาจะได้ขว้างและไล่จับได้

ลูกน้อยก่อนวัยเรียนมักจะนำการเล่นลูกบอลไปเชื่อมโยงกับการสำรวจทางวิทยา ศาสตร์ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเขากลิ้งลูกบอลไปตามทาง เขาจะตระหนักว่าลูกบอลแต่ละขนาดกลิ้งด้วยความเร็วต่างกัน เอมิลี่ วอสเปอร์ ผู้อำนวยการศูนย์เด็ก วิทยาลัยชุมชน ซันนี อัลสเตอร์ เคาน์ตี้ เมืองสโตนนริดจ์ รัฐนิวยอร์ก บรรยายกระบวนการนี้ว่าเป็น “การคิดในระดับซึ่งเกิดจากเครื่องมือพื้นฐาน” หรือเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นวิชาฟิสิกส์สำหรับเด็กอายุ 4 ขวบ

จะวางถ้วยซ้อนกันเป็นตั้งได้ยังไงนะ


เมื่อลูกๆ ของฉันเล่นวางซ้อนถ้วยให้เป็นตั้ง ฉันชอบคิดว่า ก็ดีเหมือนกันนะ ฉันจะได้ไม่ต้องซ้อนถ้วยเก็บเอง แต่จริงๆ แล้วพวกเขากำลังเก็บสะสมทักษะทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ระหว่างอายุ 1 ถึง 2 ขวบ เขาจะสามารถวางถ้วยซ้อนกันได้ ปกติแล้ว เขามักจะวางถ้วยซ้อนกันอย่างไม่เป็นระเบียบ แต่เขาก็จะเริ่มเข้าใจความสัมพันธ์ของขนาด อย่ากดดันเขาให้วางอย่าง “ถูกต้อง” เมื่อเขาโตขึ้น เขาจะรู้เองว่า ถ้าเราวางถ้วยใบเล็กซ้อนถ้วยใบใหญ่ ก็จะวางถ้วยใบกลางซ้อนลงไปไม่ได้ เขาก็จะเริ่มเข้าใจ–การวางสิ่งของตามลำดับที่เหมาะสม หรือพูดให้เก๋ๆ ก็คือว่าเขาจะเริ่มเข้าใจการจัดลำดับ

เด็กๆ อาจใช้ใช้ถ้วยตักน้ำแล้วเททิ้ง แล้วก็ตักใหม่อยู่อย่างนี้เป็นชั่วโมงๆ ในอ่างอาบน้ำหรือในกระบะทราย เมื่อเขาเริ่มสังเกตเห็นความแตกต่างระหว่างเวลาที่ถ้วยเต็มและว่างเปล่า เขาก็จะเริ่มเข้าใจในเรื่องปริมาณ ขาจะเห็นได้ว่าเขาสามารถใช้ถ้วยใบเล็กตักทรายใส่ถ้วยใบใหญ่ได้ แต่ถ้าเททรายจากถ้วยใบใหญ่ที่สุดใส่ถ้วยใบที่เล็กที่สุด ทรายก็จะล้น

เติมน้ำหน่อยซิ!

การเล่นน้ำเป็นการสาดกระเซ็นความรู้วิทยาศาสตร์ ดังที่ ดร. จอห์น เซอริโอ ศาสตราจารย์คณะจิตวิทยา มหาวิทยาลัยอัลฟิลด์ เมืองอัลฟิลด์ รัฐนิวยอร์กชี้ให้เห็นว่า เด็กๆ สามารถเรียนรู้เรื่องยากๆ ได้บนพื้นฐานที่ง่ายที่สุด ถ้าเราเทน้ำจากภาชนะใบหนึ่งลงในภาชนะอีกรูปทรงนึง เราก็จะยังคงได้ปริมาณน้ำเท่าเดิม ถ้าเด็กไม่ได้เล่นเองกับมือ เด็กส่วนใหญ่ก็จะบอกว่าภาชนะที่สูงกว่าจะจุน้ำได้มากกว่า

ตอนนี้คุณแม่ก็มีครบแล้ว ทั้งบล็อกตัวต่อ ลูกบอล และถ้วยน้ำซึ่งเป็นวีระบุรุษผู้ไม่เปิดเผยตัวในโลกของเล่น แล้วความลับของของเล่นเหล่านี้คืออะไร ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่าของเล่นบางอย่างที่มีจุดประสงค์เพียงอย่างเดียว อย่างเช่น ตัวต่อปริศนา จะกระตุ้นให้เด็กค้นหาคำตอบเดียวที่ถูกต้อง ขณะที่ของเล่นที่มีจุดประสงค์หลากหลาย จะทำให้เด็กคิดได้หลายทาง ช่วยให้พวกเขาเข้าใจว่าปัญหาบางอย่างมีวิธีแก้หลายทาง นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเขาถึงเล่นของเล่นพวกนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ถึงเขาจะไม่ถึงขนาดขาดของเล่นพวกนี้ไม่ได้ แต่เขาก็จะไม่ลืมของเล่นพวกนี้ในวันพรุ่งนี้เช่นกัน

เพื่อนในกล่องของเล่น

อย่างที่พ่อแม่ทุกคนรู้ดีว่า กล่องของเล่นจะสมบูรณ์ไปไม่ได้หากไม่มีตุ๊กตาสัตว์ขนปุย ตุ๊กตาคน และตุ๊กตาต่อสู้ แม้ว่าบางทีคุณแม่อาจคิดว่าที่บ้านมีของเล่นพวกนี้รกไปหมด แต่ของเล่นเหล่านี้ก็มีความสำคัญไม่น้อย เนื่องจากของเล่นพวกนี้มีบทบาทสำคัญในพัฒนาการด้านจินตนาการของเด็ก

“เมื่อลูกทำอาหารให้เพื่อนขนปุยของเขาหรืออาบน้ำให้ เขากำลังฝึกบทบาทหน้าที่ของผู้ใหญ่ ซึ่งจะช่วยให้เขาเข้าใจโลกใบนี้” เอมี่ ฟลินน์ ผู้อำนวยการ Bank Street Family Center ในนิวยอร์กซิตี้กล่าว เด็กก่อนวัยเรียนอาจเล่นเป็นจริงเป็นจังยิ่งกว่านั้นถึงขนาดให้บรรดาตุ๊กตา ของเขามีลักษณะนิสัยเหมือนคน เพราะพวกเขาอาจทะเลาะและขัดแย้งกัน คุณแม่อาจเดินเข้าไปในห้องของลูกวัย 3 ขวบขณะที่เขากำลังต่อว่าตุ๊กตาขนปุยของเขาอยู่ว่า “เลิกทะเลาะกันสักทีได้ไหม!” (คุณแม่คงหวั่นใจไม่น้อย แล้วคงสงสัยว่าตัวเองพูดน้ำเสียงแบบนี้กับลูกหรือเปล่า!) ต่อมา คุณแม่อาจเห็นเหตุการณ์แบบนี้ซ้ำ แต่คุณแม่คงจะหาทางออกที่เหมาะกับเจ้าตัวน้อยมากขึ้น -- ยกตัวอย่างเช่น ให้ตุ๊กตาทุกตัวของเขากินคุกกี้ก่อนมื้อเย็น

เอมี่กล่าวว่า ประโยชน์ที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของการเล่นบทบาทสมมุติ นั่นคือ “เขาจะได้สำรวจความรู้สึกของเขาเองในขณะที่ควบคุมความรู้สึกของตัวเองได้ใน ที่ที่ปลอดภัย” กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ตุ๊กตาและหมีในชีวิตของเราจะช่วยให้เด็กควบคุมอารมณ์ของเขาเองได้ดีขึ้น

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Friday, September 4, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ความสำคัญของการเล่น ( ความสำคัญของการเล่น กลางแจ้ง )

Posted by wittybuzz at 2:06 AM 0 comments
ทั้งประสบการณ์การเล่นในร่มและการเล่นกลางแจ้ง ล้วนมีความสำคัญต่อพัฒนาการของเด็ก แม้ว่าผลการวิจัยเมื่อไม่นานมานี้แสดงให้เห็นว่า มีเด็กที่ออกไปเล่นกลางแจ้งน้อยลง แต่การเล่นกลางแจ้งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อพัฒนาการทางร่างกายของเด็ก กลางแจ้งเป็นที่ที่เหมาะอย่างยิ่งให้เด็กๆ เล่นอะไรที่เลอะเทอะ ไม่ว่าจะเป็นเล่นทราย น้ำ ระบายสี ทำงานศิลปะและงานฝีมืออื่นๆ สนามเด็กเล่นกลางแจ้งมีสิ่งของตามธรรมชาติหลากหลายกว่าที่จะช่วยกระตุ้น ประสาทสัมผัสของเขา เด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียนจะสนุกกับการเล่นกับดิน ใบไม้ ก้อนอิฐ ก้อนหิน เปลือกไม้ น้ำ ต้นไม้และดอกไม้

สระน้ำตื้นๆ สำหรับเด็กเป็นที่เหมาะมากสำหรับการเล่นน้ำ ลูกน้อยวัยหัดเดินจะสนุกกับการสาดน้ำและเตะน้ำ รวมทั้งควรหาถ้วยและภาชนะหลากหลายรูปทรงและหลายๆ ขนาดไว้ให้เขาตักและเทน้ำเล่นด้วย นอกจากนี้ เครื่องทำฟองลูกโป่งยังเหมาะอย่างยิ่งสำหรับกระตุ้นพัฒนาการการรับรู้ขนาด เนื่องจากลูกจะตื่นเต้นพยายามไล่จับลูกโป่งที่ลอยอยู่ในอากาศ

ขณะที่เด็กย่างเข้าสู่อายุก่อนวัยเรียน (ช่วง 2-5 ขวบ) พวกเขาจะเล่นอะไรที่กระฉับกระเฉงยิ่งขึ้น พวกเขากำลังเรียนรู้ที่จะเล่นของเล่นที่มีล้อและสนุกสนานกับการปีนป่าย เครื่องเล่นขนาดใหญ่ในสนามเด็กเล่น นอกจากนี้ ลูกยังสนุกกับการเล่นลูกบอล ชุดโบว์ลิ่ง การไต่เชือก และเกมที่ใช้ไม้ตีอีกด้วย การเล่นกลางแจ้งทำให้เด็กมีโอกาสได้เล่นอย่างกระฉับกระเฉงมากกว่า ซึ่งสำคัญต่อการพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวที่จำเป็น ยกตัวอย่างเช่น การวิ่ง การทรงตัว การไล่ การขว้างและการจับ การเล่นอย่างกระฉับกระเฉงกลางแจ้งมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายอย่าง ได้แก่ ช่วยสร้างเสริมความแข็งแรงของลูก ลดโอกาสการเกิดโรคอ้วน และช่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดีอื่นๆ

นอกจากนี้ การเล่นกลางแจ้งยังทำให้เด็กมีโอกาสได้สำรวจสิ่งแวดล้อมที่สัมพันธ์กับตัว เขา ให้โอกาสเขาได้สร้างพื้นที่การเล่นของเขาเอง และให้โอกาสเขาได้มีประสบการณ์การเล่นอย่างมีจินตนาการกับทั้งของจริงๆ (เช่น บ้านหลังเล็กๆ เต็นท์ ราวตากผ้า รถบรรทุก) และของประกอบฉากอื่นๆ (เช่น ลัง ท่อนซุง ก้อนหิน) การเล่นกลางแจ้งเหมาะอย่างยิ่งเวลาที่เด็กๆ เล่นอะไรก็ตามที่เสียงดังๆ รวมถึงเล่นอะไรที่โลดโผนด้วย ขอให้คุณพ่อคุณแม่ใช้โอกาสนี้สอนลูกเรื่องเสียงที่ใช้ “ในบ้าน” และ “นอกบ้าน” และระดับความดังของเสียงที่ใช้ในแต่ละที่ด้วย

การเล่นกลางแจ้งที่ต้องอาศัยความคล่องแคล่วสามารถกระตุ้นพัฒนาการของเด็กได้ เป็นอย่างดี และสร้างโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้การควบคุมตนเอง ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าเด็กที่เป็นที่รักใคร่ชอบพอของคนอื่น จะเล่นกับเพื่อนอายุรุ่นราวคราวเดียวกันในลักษณะที่ต้องใช้แรงมากๆ อีกด้านหนึ่ง เด็กที่ไม่ค่อยเป็นที่ชอบพอของเพื่อนในกลุ่ม มักจะมีปัญหาเวลาที่ต้องเล่นอะไรที่ต้องใช้แรงมากๆ และมักได้รับการกระตุ้นเกินไป ทำให้ “ควบคุมตัวเองไม่ได้” เมื่อคุณพ่อคุณแม่เล่นอย่างกระฉับกระเฉงกับลูกไม่เพียงช่วยส่งเสริมการมี สุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและมีพัฒนาการทางร่างกายที่ดีเท่านั้น แต่ยังเป็นการให้โอกาสเขาได้พัฒนาทักษะที่สำคัญที่จะช่วยเขาในการมีปฏิ สัมพันธ์ทางสังคมกับเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกันอีกด้วย

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Thursday, September 3, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ความสำคัญของการเล่น ( การเล่นตามเพศ )

Posted by wittybuzz at 10:30 AM 0 comments
* เด็กผู้ชายกับผู้หญิงเล่นแตกต่างกันไหม
* เรื่องเพศแบ่งแยกการเล่นของลูกเราหรือเปล่า
* มีของเล่นเฉพาะสำหรับ “เด็กผู้ชาย” และ “เด็กผู้หญิง” หรือเปล่า

นักวิจัยเรื่องเพศแนะนำว่าอันที่จริงแล้ว เด็กผู้ชายกับเด็กผู้หญิงมีการเล่นที่ค่อนข้างแตกต่างกันและแสดงออกอย่าง ชัดเจนว่าชอบของเล่นต่างชนิดกันตั้งแต่อายุยังน้อย เด็กผู้ชายถูกมองว่ามีความกระตือรือร้น ในการเล่นมากกว่า ขณะที่การเล่นของเด็กผู้หญิงจะเรียบร้อยกว่าและเน้นไปที่การมีปฏิสัมพันธ์ ด้วยคำพูดมากกว่า นอกจากนี้ การเล่นของเด็กผู้ชายจะเป็นลักษณะที่มีการแข่งขันและก้าวร้าวมากกว่า ขณะที่การเล่นของเด็กผู้หญิงนั้นถูกมองว่าเป็นเรื่องของการสร้างสรรค์และ เอาใจใส่ถะนุถนอม เด็กผู้ชายจะชอบกิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง และสนุกกับการเล่นกับพาหนะเด็กเล่นขนาดใหญ่ ชุดก่อสร้างและอุปกรณ์สำหรับปีนป่าย ส่วนเด็กผู้หญิงจะชอบเล่นตัวต่อ ชอบศิลปะหรือเล่นตุ๊กตามากกว่า

เด็กๆ ชอบเล่นกับเพื่อนเพศเดียวกัน ซึ่งโดยปกติแล้ว เขาจะเริ่มแสดงออกว่าชอบเล่นกับเพื่อนเพศเดียวกันเมื่ออายุครบสองขวบ และแสดงออกชัดเจนยิ่งขึ้นในช่วงก่อนวัยเรียนและปีแรกๆ ที่เข้าโรงเรียน ซึ่งทำให้เกิดคำถามขึ้นว่า...เราในฐานะเป็นพ่อเป็นแม่ได้ให้ลูกได้ทำกิจกรรม และเล่นของเล่นที่ส่งเสริมความแตกต่างในการเล่นและการมีปฏิสัมพันธ์หรือไม่

เด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชายได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างกันตั้งแต่แรกเกิด เราตกแต่งห้องของพวกเขาต่างกัน แต่งตัวให้พวกเขาต่างกัน เล่นกับเขาในลักษณะที่ต่างกัน (โดยทั่วไปแล้ว เรามักจะเล่นกับเด็กผู้ชายอย่างโลดโผนมากกว่า) และซื้อของเล่นให้เด็กผู้หญิงกับเด็กผู้ชายต่างกัน ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าทั้งผู้ที่เป็นพ่อแม่และผู้ที่ไม่ใช่พ่อแม่มีแนว โน้มว่าจะซื้อของเล่นให้เด็กๆ ตามเพศของเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กผู้ชาย เด็กผู้หญิงมีตุ๊กตา มีบ้านตุ๊กตามากกว่า มีของเล่นที่มีเสียงดนตรีและของใช้ภายในบ้านขนาดจำลองมากกว่า (เช่น เตารีด ไมโครเวฟ กาต้มน้ำ ) ขณะที่เด็กผู้ชายจะมีตุ๊กตาแนวต่อสู้ เรามักจะซื้ออุปกรณ์กีฬา ของเล่นรูปสัตว์ อู่รถจำลอง ป้อมปราการหรือของเล่นเกี่ยวกับการเรียนรู้มิติรูปทรงให้เด็กผู้ชายมากกว่า (เช่น กล่องหยอดบล็อกรูปทรงต่างๆ ตัวต่อพัซเซิล)

ส่วนของเล่นและกิจกรรมที่เกี่ยวกับศิลปะและงานฝีมือถือว่าเป็นของกลางๆ ที่เราซื้อให้ทั้งเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชาย

แล้วของเล่นและการเล่นที่แตกต่างกันเหล่านี้ส่งผลกระทบอย่างไรต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูกน้อยล่ะ

เด็กเรียนรู้โลกของพวกเขาเองและทักษะทางสังคม ทางสติปัญญา ภาษาและทักษะการเคลื่อนไหวผ่านทางการเล่น การเล่นก่อสร้าง (เช่น การก่อตัวบล็อก) เป็นต้น เป็นการเล่นที่สำคัญเพื่อพัฒนาการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับขนาดและจำนวน การเล่นเข้าสังคมและการเล่นอย่างมีจินตนาการอาจช่วยให้เขามีนิสัยอ่อนโยนและ ตระหนักถึงผู้อื่นมากขึ้น ในฐานะของคนเป็นพ่อเป็นแม่ สิ่งสำคัญคือเราควรให้ลูกได้สัมผัสกับประสบการณ์ในการเล่นที่หลากหลาย ให้ลูกได้เล่นตามแบบฉบับของ “เด็กผู้ชาย” และ “เด็กผู้หญิง” ขณะเดียวกันก็คำนึงว่าเขาสนใจและชอบอะไร เมื่อฉันเขียนบทความนี้จบ ฉันมองไปที่ลูกชายของฉันกำลังยืนถือเตารีดเด็กเล่นอยู่ เขากำลังรีดชุดนักเรียนของพี่สาวอยู่ และก็ใส่รองเท้าส้นสูงของแม่ด้วย

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Wednesday, September 2, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ความสำคัญของการเล่น ( การเล่นอย่างมีจินตนาการ )

Posted by wittybuzz at 6:01 PM 0 comments
การเล่นอย่างมีจินตนาการหรือการเล่นบทบาทสมมุติ จะช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัส สร้างโอกาสในการออกสำรวจและการคิดอย่างสร้างสรรค์ และช่วยให้ลูกพัฒนาทักษะสำคัญต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการเติบโตทางสติปัญญาและทางอารมณ์ตลอดจนทางสังคม เด็กจะแสดงสัญญาณแรกของการเล่นบทบาทสมมุติตอนอายุประมาณ 12 ถึง 18 เดือน เจ้าตัวน้อยวัย 18 เดือนอาจพยายามป้อนอาหารให้กับตุ๊กตาด้วยช้อน หรือหยิบตัวต่อขึ้นมาแนบที่หูเป็นโทรศัพท์ ตามธรรมชาติแล้ว เด็กจะเล่นบทบาทสมมุติในระยะแรกๆ ตามลำพัง เมื่อเขาอายุได้ 2 ขวบ เขาอาจสนุกสนานกับการเข้ากลุ่มกับเพื่อนๆ หากคุณแม่เฝ้าสังเกตการเล่นของเขาอย่างใกล้ชิด คุณแม่จะรู้ว่าแต่ละคนกำลังตกอยู่ในมนต์สะกดของจินตนาการของตัวเอง

กว่าเด็กจะเล่นบทบาทสมมุติได้อย่างจริงๆ จังๆ ก็เมื่อเวลาที่เขาอายุครบสามหรือสี่ขวบ แม้ว่าเด็กจะยังคงชอบเล่นบทบาทสมมุติต่อไปกับของเล่นเล็กๆ (เช่น บ้านตุ๊กตา ปั้มน้ำมันของเล่น ปราสาท และรถบรรทุกคันเล็ก) พร้อมทั้งมีของประกอบฉากอื่นๆ

เด็กอายุ 3-6 ปีถือเป็น “ปีทอง” ของการเล่นบทบาทสมมุติหรือการเล่นอย่างมีจินตนาการสำหรับเด็ก เพราะไม่มีช่วงเวลาใดในชีวิตของเด็กที่จะจดจ่ออยู่ในโลกของจินตนาการเท่าวัย นี้ คุณแม่อาจตระเตรียมของประกอบฉากและของเล่นต่างๆ ไว้ให้เขาใช้ประกอบการเล่นก็ได้ ในเบื้องต้นเด็กๆ ต้องการเพียงแค่อุปกรณ์ประกอบฉากเสมือนจริง อย่างเช่น เตารีด ตุ๊กตาตัวเล็กๆ เครื่องครัว ชุดเครื่องมือแพทย์ และเครื่องมือทำสวนเพื่อให้พวกเขาเริ่มเล่นและเล่นต่อไปเรื่อยๆ แต่เมื่อเขาโตขึ้นมาหน่อยและเล่นแบบนี้จนคุ้นเคยแล้ว อุปกรณ์ประกอบฉากที่ไม่เหมือนจริงก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน (เช่น ลังกระดาษ แท่งไม้และกล่อง) นอกจากนี้ ยังควรเตรียมของที่สามารถดัดแปลงไปใช้ได้หลายๆ อย่าง เช่น ตัวต่อสีต่างๆ เนื่องจากของเล่นเหล่านี้จะช่วยขยายจินตนาการของเด็กโดยไม่มีขีดจำกัด

เด็กก่อนวัยเรียนที่โตขึ้นหน่อยจะชอบเล่นบทบาทสมมุติและชอบแต่งตัวมาก วันหนึ่งลูกสาวฉันพูดขึ้นมาฉันว่า “บีเซียนผู้ยิ่งใหญ่ (เขาพูดอย่างนี้)” – นักมายากลชื่อก้องโลก! วันถัดมาเขาก็กลายเป็นสิงโต – ราชาประจำบ้าน (อย่างน้อยก็วันหนึ่งล่ะ)!! บทบาทสมมุติส่วนใหญ่จะเป็นการเลียนแบบผู้ใหญ่แบบง่ายๆ ซึ่งจะช่วยให้เด็กเข้าใจได้ดีขึ้นว่าโลกของการเป็นผู้ใหญ่นั้นเป็นเช่นไร หากวันหนึ่งคุณแม่ได้รับการเชื้อเชิญร่วมเล่นบทบาทสมมติกับเขา (ซึ่งบางครั้งเขาก็จะชวนผู้ใหญ่เล่นด้วย) ให้ทำตามคำแนะนำของลูกน้อยเพราะนี่เป็นโลกของเขา และพวกเขาจะเพลิดเพลินกับโอกาสที่พวกเขาจะได้เป็นผู้ควบคุม! เมื่อผู้ใหญ่แทรกแซงการเล่นของเด็กจนเกินไป เด็กจะสูญเสียประโยชน์หลายอย่างที่จะได้จากการเล่นไป

ว่ากันในเชิงของพัฒนาการแล้ว การเล่นบทบาทสมมุติช่วยส่งเสริมความมั่นใจในตนเอง ความเข้าใจตัวเอง และการควบคุมตนเอง การเล่นนี้จะช่วยกระตุ้นให้เด็กๆ คิดอย่างสร้างสรรค์และพัฒนาความจำ ภาษา และทักษะการรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น การเล่นอย่างมีจินตนาการเป็นรูปแบบการเล่นที่มีประโยชน์ในการเข้าสังคมของ เด็กมากที่สุดมีผลมากที่สุดต่อการพัฒนาทักษะที่จำเป็นเพื่อให้เด็กเข้ากับ เพื่อนอายุรุ่นราวคราวเดียวกันได้ดี เมื่อลูกของคุณเล่นอย่างสร้างสรรค์กับเพื่อนๆ เขาจะเรียนรู้การร่วมมือและการประนีประนอม (เช่น “ฉันอยากเป็นเจ้าหญิง” “ไม่ เธอต้องเล่นเป็นราชินี คราวก่อนเธอเล่นเป็นเจ้าหญิงแล้วนี่นา!”) เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม และเข้าใจความสัมพันธ์ทางสังคม

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Tuesday, September 1, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ความสำคัญของการเล่น ( การเล่นกับลูกวัยเตาะแตะ )

Posted by wittybuzz at 1:59 AM 0 comments
บทความนี้พูดถึงการเล่นและพัฒนาการของเด็กอายุ 3- 5 ขวบ โดยจะแนะนำการเล่นบางอย่างที่เหมาะสมเพื่อช่วยพัฒนาการของเด็ก

การเล่นของเด็กอายุ 3- 4 ขวบ


เด็กก่อนวัยเรียนอายุ 3 ขวบเป็นเด็กที่ต้องการเพื่อน ดังนั้น สิ่งสำคัญก็คือพวกเขาต้องได้เข้ากลุ่มทำกิจกรรมต่างๆ

เด็กวัยนี้ เขาวิ่งได้ ปีนป่ายไปหมดทุกอย่าง เดินขึ้นลงบันไดได้ทีละขาโดยไม่ต้องจับราวบันไดและปั่นรถสามล้อได้

ในวัยนี้ทักษะการใช้มือจะพัฒนาขึ้นอย่างมาก เด็กสามารถก่อบล็อกได้ 12-14 บล็อก เลียนแบบรูปแบบบล็อกได้ 3-4 แบบ และต่อจิ๊กซอว์ 4-6 ชิ้นได้ นอกจากนี้ เขายังเริ่มพยายามระบายสีให้อยู่ภายในกรอบแทนที่จะระบายแบบสุ่มๆ เขาสามารถลากเส้นตามจุดให้เป็นรูปได้ เช่น รูปสุนัข คุณพ่อคุณแม่สามารถให้เขาฝึกทักษะการใช้กรรไกรได้ เพราะเขาเริ่มตัดกระดาษให้เป็นริ้วๆ ได้และค่อยๆ พัฒนาไปตัดเส้นตรงและเส้นโค้ง

กิจกรรมที่ผสมผสานระหว่างการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัด ใหญ่จะเหมาะมากสำหรับเด็ก การเล่นในสวนหรือสนามเด็กเล่นกับเด็กข้างๆ บ้าน เตะบอลกัน วิ่งไล่จับกันจะช่วยให้เด็กได้ทดสอบและพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ มัดใหญ่

การให้เขานั่งลากเส้นตามจุด ระบายสีและลองต่อจิ๊กซอว์ใหม่โดยมีผู้ใหญ่คอยสอนเขาช่วงเริ่มต้นจะช่วยสอน ให้เขารู้จักนั่งอยู่กับที่ได้ ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการใช้มือและความสามารถในการแก้ปัญหาของเขายังช่วยสร้างโอกาสเพื่อ เพิ่มพูนพัฒนาการสำหรับเขาอีกด้วย

การเล่นของเด็กอายุตั้งแต่ 4 - 5 ขวบ

เขาจะเริ่มมีบทบาทในกลุ่มเพื่อนเล่น นอกจากนี้ เขายังเริ่มเข้าใจและปฏิบัติตามกฎด้วย เกมส์ต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น จับคู่ไพ่ ซ่อนแอบ บันไดงู และเกมเล่นบทบาทสมมุติก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง ที่เขาชื่นชอบ

ให้โอกาสลูกได้มีโอกาสเล่นกับเด็กคนอื่นๆ บ่อยๆ ลูกน้อยของคุณจะเรียนรู้การเป็นสัตว์สังคมด้วยตัวเขาเอง เขาสามารถอ่านภาษาท่าทาง อ่านสัญญาณบ่งบอกอารมณ์ต่างๆ ตัดสินใจว่าจะปฏิบัติตัวอย่างไรในสถานการณ์ที่เขาเผชิญอยู่ รวมทั้งสัญญาณต่างๆ ที่เขากำลังเรียนรู้ด้วย

เด็กอายุ 3-5 ขวบเป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นและน่าสนุก บทบาทสำคัญของคุณพ่อคุณแม่ก็คืออยู่กับลูก ให้โอกาสลูกมากๆ และจากนั้นก็ปล่อยให้ที่เหลือเป็นไปตามธรรมชาติ ถ้าลูกชอบเครื่องบิน ก็ให้นั่งพับจรวดและตกแต่งให้สวยงามพร้อมกับเขา ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถทำร่วมกันได้ในครอบครัว และจะเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ทำให้พ่อแม่ลูกผูกพันกันไปนานแสนนาน

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Monday, August 31, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ความสำคัญของการเล่น ( การเล่นเมื่อลูกน้อยโตขึ้น )

Posted by wittybuzz at 7:42 AM 0 comments
การเล่นเป็นวิธีที่เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ โลกรอบๆ ตัวเขา บทความนี้นำเสนอเกี่ยวกับการเล่นและพัฒนาการตั้งแต่วัยแรกเกิดจนถึงอายุ 2 ขวบ บทความนี้จะแสดงให้เห็นว่าเด็กแต่ละช่วงอายุเล่นอย่างไร และอธิบายถึงการเลือกอุปกรณ์การเล่นที่เหมาะสมให้กับลูกด้วย

วัยแรกเกิดถึง 6 เดือน

ในช่วงเดือนแรกๆ ประสาทสัมผัสของเด็กจะยังพัฒนาไม่เต็มที่ เขาจะสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ได้ในระยะ 8-14 นิ้ว เขาชอบฟังเสียงที่นุ่มนวลและเสียงดนตรี เสียงกระซิบและเสียงคุณแม่ร้องเพลง

เมื่ออายุประมาณ 3-6 เดือน ลูกน้อยจะสามารถดูดนิ้วมือและคว้าของเล่นที่วางบนมือของเขาได้ นอกจากนี้ เขายังเริ่มเอื้อมหยิบของเล่นและส่งของเล่นไปมาระหว่างมือทั้งสองข้าง\

ให้หาของเล่นชิ้นใหญ่ๆ สีสันสดใส ส่งเสียงได้และมีเสียงเพลงหรือถ้าเคลื่อนไหวได้ด้วยก็ยิ่งดี อย่างเช่น โมบาย นอกจากนี้ ของเล่นในช่วงนี้ต้องมีความปลอดภัยเมื่อเด็กเอาเข้าปากด้วย

อายุ 6-12 เดือน

เมื่ออายุ 9 เดือน เด็กจะรู้ตัวว่าของชิ้นนั้นอยู่ใกล้ แม้ว่าเขาจะไม่เห็นก็ตาม คุณแม่อาจซ่อนของเล่นชิ้นโปรดของเขาไว้ใต้ผ้าห่ม และเขาก็จะเปิดผ้าขึ้น เย้ นั่นไงเจอแล้ว!

นอกจากนี้ ลูกน้อยยังเริ่มเคลื่อนไหวได้มากขึ้น ทั้งคลาน ตั้งไข่ และค่อยๆ ขยับตัวไปช้าๆ นอกจากนี้ เขายังใช้มือทั้งสองข้างหยิบจับอะไรก็ตามที่เขาเจอบนพื้นใส่ปากได้คล่องขึ้น

ลูกบอลเป็นของเล่นชิ้นโปรดของเด็กวัยนี้ เขาสามารถคลานตามลูกบอล ขว้างและมองลูกบอลตกกระดอนพื้นได้

เมื่ออายุได้ประมาณ 9 เดือน เขายังชอบเล่นกล่องหยอดบล็อกรูปทรงต่างๆ ซึ่งเป็นการทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาของเขา แล้วยังมีโทรศัพท์เด็กเล่นซึ่งเขาสามารถเล่นเลียนแบบการโทรศัพท์ได้ นอกจากนี้ เขายังสามารถเริ่มที่จะวางของซ้อนกันเป็นกองๆ ได้อย่างคร่าวๆ เมื่ออายุใกล้จะ 12 เดือน

เมื่อเขาเริ่มหัดเดิน เขาจะชอบผลักของเล่นที่เขาเกาะอยู่ และก้าวไปข้างหน้าประมาณสองสามก้าว

อายุ 12-24 เดือน


เขาจะเริ่มสำรวจทุกซอกทุกมุมในบ้าน มือทั้งสองข้างจะทำงานประสานกันมากขึ้น เขาสามารถวาดภาพได้อย่างหวัดๆ และเริ่มเสาะหาของเล่น เขาจะเริ่มมีความคิดในการเล่นมากขึ้น จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราทำชามใบนี้หล่นนะ?

ความอยากรู้อยากเห็นในตัวจะผลักดันให้เขาลองทำนู่นทำนี่ซ้ำๆ เพื่อสร้างความชำนาญในสิ่งที่เขาเล่น เมื่อเขาอายุ 24 เดือน เขาจะทดสอบข้อจำกัดของตัวเองและเริ่มที่จะยืนกรานความเป็นตัวของตัวเอง เขาจะเป็นจอมอาละวาดตัวฉกาจ เพราะเขาเริ่มอยากให้คุณรู้ว่าเขาคิดอะไรอยู่!

ในวัยนี้ การเล่นของเด็กจะมีความกระฉับกระเฉงมากขึ้น นอกจากนี้ เขายังเป็นนักเลียนแบบชีวิตประจำวันของพ่อแม่อีกด้วย เขาชอบเกมทุกอย่างที่ต้องใช้แรง

เตรียมของเล่นที่ต้องใช้แรงผลักและดึงให้เขาเล่น หาบล็อกตัวต่อขนาดใหญ่ให้เขาเล่น เนื่องจากมือทั้งสองข้างของเขาทำงานประสานกันมากขึ้นและเริ่มวางของซ้อนกัน เป็นกองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น หาดินสอสีหลายๆ แท่งกับกระดาษให้เขาเริ่มวาดเขียน

หาที่ปลอดภัยไว้ให้เขาปีนป่าย เล่นซ่อนแอบ สไลด์ และฝึกทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่กำลังพัฒนาของเขา

ปริศนาตัวต่อจะสร้างความสนใจให้กับเด็กอายุนี้ เพราะเขาสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้มากขึ้น และเรียนรู้จากการลองผิดลองถูก การทำเสียงด้วยเครื่องมือเล็กๆ เป็นประสบการณ์น่าตื่นเต้นสำหรับเขา เนื่องจากเขาจะได้เรียนรู้จังหวะและท่วงทำนอง

บทบาทของพ่อแม่

คุณพ่อคุณแม่เป็นเพื่อนเล่นที่ดีที่สุดของลูกน้อย เด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์มักเป็นผลมาจากการที่ผู้ใหญ่เข้าไปมีส่วนเกี่ยว ข้องกับการเล่นของเด็ก คุณพ่อคุณแม่ต้องมีส่วนร่วมและเล่นกับลูกตามระดับวัยของเขา เวลาเล่นด้วยกันทุกวันเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการสานความสัมพันธ์ระหว่างพ่อ แม่ลูก

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Sunday, August 30, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ความสำคัญของการเล่น ( ของเล่นสำหรับลูกน้อย วัยแรกเกิดที่มีสีสันตัดกัน )

Posted by wittybuzz at 3:24 AM 0 comments
เมื่อตอนที่ท้องลูกคนแรก ตอนนั้นฉันอยากทำทุกอย่างให้ถูกต้อง นอกจากจะใส่ใจอาหารทุกอย่างที่ทานเข้าไปและคร่ำเคร่งทำการบ้านจากชั้นเรียน สำหรับคลอดแล้ว ฉันยังเป็นกังวลเกี่ยวกับการตกแต่งห้องสำหรับลูกน้อยอีกด้วย ฉันรู้มาว่าเด็กแรกเกิดดูเหมือนจะชอบลวดลายสีขาวดำมากกว่า แต่ผ้าปูเตียงลายกราฟิกสีขาวดำที่มี สีแดงแซมอยู่นิดหน่อย ใช่ว่าจะหาได้ง่ายๆ!

ท้ายที่สุดเราก็ลงเอยที่ผู้ปูเตียงลายรูปสัตว์ที่สีส่วนใหญ่เป็นสีพาสเทล และก็เลือกของเล่นและของตกแต่งที่เป็นแต่สีขาวดำ อย่างไรก็ตาม ฉันก็ต้องแปลกใจที่ลูกของเราสังเกตเห็นของที่มีสีขาว-ดำได้ดีมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปาร์คเกอร์ชอบดูโปสเตอร์ลายตาหมากรุกสีขาว-ดำที่เราติดเอาไว้เหนือโต๊ะ เปลี่ยนผ้าอ้อมของเขาอย่างเพลิดเพลินใจ

ทำไมของที่สีสันตัดกันจึงดึงดูดใจเด็กเล็กๆ สามารถหาตำตอบได้ในส่วนของสายตาและสมองของเด็กวัยแรกเกิด

ลูกน้อยมองเห็นอะไรบ้าง

เมื่อแรกเกิด ลูกน้อยจะสามารถมองเห็นได้ในระยะประมาณ 10 นิ้ว นอกเหนือจากระยะนั้นแล้วภาพที่ลูกน้อยมองเห็นจะไม่ชัด และก็มองไม่เห็นสีสันเช่นกัน การมองเห็นจะพัฒนาขึ้นเมื่อลูกน้อยโตขึ้นและเซลล์ประสาทตาเจริญเติบโตเต็ม ที่แล้ว เมื่ออายุประมาณ 2 เดือน เขาอาจมองเห็นสีแดง ส้ม เขียวและสีเหลือง เมื่ออายุได้ 4 เดือน เขาจะสามารถแยกแยะสีทั้งหมดในแท่งสเปคตรัมได้ และการมองเห็นของเขาจะพัฒนาเกือบเทียบเท่ากับผู้ใหญ่

เด็กวัยแรกเกิดชอบมองดูอะไรก็ตามที่พวกเขามองเห็น ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่พวกเขาดูจะชอบของที่มีสีสันตัดกันหรือสีขาวดำมากกว่า นอกจากนี้ ดูเหมือนว่าเด็กๆ ยังชอบลวดลายบางอย่างเป็นพิเศษด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งใบหน้า

“โดยสัญชาตญาณแล้ว เด็กๆ ดูเหมือนจะชอบจ้องมองใบหน้ามากเป็นพิเศษ โดยเขาจะชอบมองอะไรก็ตามที่เป็นรูปไข่ที่มีจุดสองจุดเป็นดวงตาและเส้นหนึ่ง เส้นเป็นปาก” ดร.ไลส์ เอเลียต ผู้แต่งหนังสือ What's Going on in There? และ the Brain and Mind Develop in the First Five Years of Life (แบนตัม, 2543) และผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาควิชาเซลล์ชีววิทยาและกายวิภาคศาสตร์ วิทยาลัยแพทย์ชิคาโก กล่าวว่า “นอกจากนี้ เด็กๆ ยังชอบลวดลายหนาๆ อย่างเช่น กระดานหมากรุกหรือใจกลางเป้าของกระดานปาลูกดอกอีกด้วย”

ของเล่นสีขาวดำกระตุ้นความสนใจของเด็กได้มากกว่าจริงหรือ

อะไรก็ตามที่ลูกน้อยชอบจ้องดูจะกระตุ้นพัฒนาการการมองเห็นของเขา และเขาจะชอบมองลวดลายสีขาวดำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วง 2 เดือนแรก ดังนั้น ถ้าคุณแม่หาโปสเตอร์ลายขาวดำสวยๆ หรือของเล่นเด็กที่มีสีสันตัดกันและมีเสียงกรุ๊งกริ๊งมาให้เขาเล่น ก็จะดีมาก

แต่ลูกน้อยจะมีพัฒนาการหรือไม่ถ้าหากคุณแม่ไม่เตรียมของเล่นสีขาวดำให้กับ เขาเล่นเยอะๆนั้น ดร.เอเลียต กล่าวว่า “อาจจะไม่มีผล เพราะสีขาวดำไม่ได้มีความมหัศจรรย์อะไรเลย” ดร. เอเลียตชี้แจงว่าข้าวของที่มีสีสันตัดกัน ไม่ว่าจะเป็นของเล่น ใบหน้า หรือแม้แต่เงาที่เกิดจากเสาเตียงนอน ก็จะดึงดูดความสนใจจากลูกน้อย “โดยพื้นฐานแล้ว ถ้าเด็กไม่มีของเล่นที่สีตัดกันแล้ว เขาก็จะหาของที่มีสีตัดกันตามธรรมชาติ” ดร.เอเลียต กล่าวเสริม

“เด็กๆ ไม่ได้เสียโอกาสแต่อย่างใดถึงจะไม่มีของเล่นที่มีสีขาว-ดำ” เพ็นนี วอร์เนอร์ ผู้สอนพัฒนาการเด็ก วิทยาลัย ไดอาโบล วัลลี่ย์ คอลเลจ ในซาน เรมอน เมืองคาลิฟ ผู้แต่งหนังสือเกี่ยวกับพ่อแม่และเด็กในการดูแลและการพัฒนาเด็กมากกว่า 30 เล่ม รวมทั้งหนังสือชื่อ Smart Start for Your Baby (สำนักพิมพ์ Meadowbrook Press, 2544) กล่าวเห็นด้วย “ของเล่นที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อยก็คือใบหน้าของพ่อแม่” เพ็นนีกล่าว “ใบหน้าเคลื่อนไหวได้ จึงทำให้เกิดสีสันตัดกัน และลูกน้อยจะเริ่มกระบวนการรับรู้จากจุดนี้นี่เอง”

และอย่าลืมสีสันสดใส! จากทั้งหมดที่กล่าวมา ปฏิกิริยาตอบสนองต่อสีสันพัฒนาอย่างรวดเร็วมาก เพ็นนีกล่าวว่า “ยิ่งสอนให้ลูกน้อยรู้จักสีสันมากขึ้นอย่างต่อเนื่องเท่าไร เขาก็จะยิ่งสามารถแยกแยะความแตกต่าง [ของสี] ได้เร็วขึ้นเท่านั้น” เมื่ออายุได้ประมาณ 4 เดือน ลูกน้อยจะมองเห็นและสนุกกับสีสันทั้ง 7 สีของสายรุ้งได้

การใช้สีขาว-ดำ

ลูกชายฝาแฝดของของคาเรน สปริง มีของเล่นสีขาว-ดำชิ้นโปรดชิ้นหนึ่ง คาเรน คุณแม่ลูกสองจากเมืองเด็ปฟอร์ด รัฐนิวเจอร์ซี่ กล่าวถึงชุดไพ่พลาสติกบนพวงกุญแจสุดโปรดของลูกชายของเธอ “ของเล่นชิ้นนั้นมีลวดลายสีขาวและสีดำ และลูกชายทั้งสองคนของฉันชอบถือพวงกุญแจนั่นมาก พวกเขาเขย่าเล่นแล้วจ้องดูลวดลายบนนั้น” เธอกล่าว

คุณแม่สามารถหาอะไรก็ได้ตามธรรมชาติที่มีตัดกันเพื่อกระตุ้นให้ลูกน้อยเล่น เพ็นนีแนะนำว่าให้ใช้ของเล่นขนาดเล็ก เช่น ของเล่นที่มีเสียงกรุ๊งกริ๊ง เพื่อช่วยพัฒนาความสามารถในการมองเห็น “ใช้ของเล่นขนาดเท่าฝ่ามือ เพื่อที่ว่าจะได้ไม่เกินวิสัยในการมองเห็นของลูกน้อย...ถือให้ห่างจากเขา ประมาณ 10 นิ้ว และเคลื่อนไหวไปมา” เพ็นนีกล่าว “การทำเช่นนี้จะช่วยส่งเสริมให้ลูกน้อยเริ่มมองตามและมองไปรอบๆ”

นอกจากนี้ โมบายเป็นของเล่นที่ดีมากสำหรับเด็กที่ยังเล็กมาก เพ็นนีแนะว่า ควรใช้โมบายที่มีขนาดใหญ่พอที่เขาจะมองเห็นได้และอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง

และขอย้ำว่า ไม่มีของเล่นชิ้นใดที่จะแทนที่ความรักเต็มเปี่ยมจากผู้ดูแลได้ “ของเล่นที่ดีที่สุดก็คือคนจริงๆ ที่มองเข้าไปในดวงตา [ของลูกน้อย] ได้อย่างลึกซึ้งและพูดคุยหรือกระซิบ หรือร้องเพลงให้เขาฟัง ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นทั้งทางภาพ ทางเสียง ทางภาษาและทางสังคมไปพร้อมๆ กัน” ดร.เอเลียต กล่าว

เคล็ดลับการเลือกของเล่นชิ้นแรก

การเลือกของเล่น:

* ควรอ่านฉลากก่อนซื้อ! มองหาฉลากความปลอดภัยบนผลิตภัณฑ์นั้นและใส่ใจกับคำเตือนบนฉลาก
* ของเล่นสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบควรมีขนาดใหญ่พอที่เด็กไม่สามารถกลืนลงคอได้ซึ่งอาจเป็นอันตรายและต้อง ไม่มีชิ้นส่วนเล็กๆ ที่สามารถถอดออกได้ เมื่อมีข้อสงสัย ให้ทำการทดสอบโดยใช้วิธีที่ง่ายๆ ดังนี้ ของเล่นมีขนาดที่จะสอดผ่านแกนกระดาษทิชชู่ได้หรือไม่ ถ้าสอดผ่านได้ แสดงว่าของเล่นนั้นมีขนาดเล็กเกินไป
* ใส่ใจเป็นพิเศษกับของเล่นที่มีสายหรือเชือก เนื่องจากของเล่นดังกล่าวอาจพันรอบคอเด็กได้

การทำความสะอาด:

* ต้องทำความสะอาดของเล่นเมื่อของเล่นสกปรกอย่างเห็นได้ชัด อย่างเช่นเมื่อลูกน้อยกำลังฟื้นตัวจากอาการป่วยและถ้ามีเด็กคนอื่นๆ เล่นของเล่นชิ้นนั้น
* ควรทำความสะอาดของเล่นตามที่ระบุไว้ในฉลากของเล่นทุกครั้ง อย่างไรก็ดี ของเล่นที่เป็นผ้าสามารถนำไปซักได้ด้วยน้ำร้อน ของเล่นพลาสติกชิ้นเล็กๆ ที่ไม่มีแบตเตอรี่ โดยส่วนมากแล้วสามารถนำไปล้างในเครื่องล้างจานได้ ถ้าเป็นของเล่นที่มีแบตเตอรี่ ควรเช็ดด้านนอกให้สะอาดด้วยน้ำสบู่ จากนั้นจึงตากให้แห้ง
* หลังจากที่ทำความสะอาดของเล่นพลาสติกจนสะอาดหมดจดแล้ว ให้ฆ่าเชื้อโดยผสมน้ำยาทำความสะอาดภายในบ้าน ¼ ถ้วยกับน้ำหนึ่งแกลลอน จุ่มของเล่นที่ไม่มีแบตเตอรี่ลงในน้ำยานี้ จากนั้นจึงตากให้แห้ง ส่วนของเล่นที่มีแบตเตอรี่ ให้ใช้น้ำยานี้เช็ดทำความสะอาด จากนั้นจึงตากให้แห้ง

การบำรุงรักษา:

* หมั่นตรวจดูความเสียหายบนของเล่นเสมอ ควรทิ้งของเล่นที่ชำรุดไปเสีย
* เด็กโตขึ้น แต่ของเล่นไม่ได้โตตามไปด้วย คุณแม่ควรตระหนักถึงข้อจำกัดด้านอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับของจำพวกโมบายแขวนเตียงนอนเด็ก ซึ่งควรแกะออกทันทีที่ลูกน้อยสามารถตั้งท่าคลานได้

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Saturday, August 29, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ความสำคัญของการเล่น ( สามวิธีง่ายๆ ในการ สานสัมพันธ์กับลูกน้อย วัยแรกเกิด )

Posted by wittybuzz at 3:24 AM 0 comments
“ฉันว่าฉันนี่โง่ซะจริง” คุณแม่ของหนูน้อยวัยหกสัปดาห์รายหนึ่งกล่าว “ฉันรู้ว่าเขาไม่เข้าใจที่ฉันพูดหรอก แต่ถึงยังไงฉันก็อดพูดกับเขาไม่ได้” เป็นความจริงที่ว่าทารกที่เด็กมากๆ จะไม่เข้าใจคำพูด แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นเรื่องโง่แต่อย่างใดที่คุณแม่พูดกับพวกเขา แม้ว่าเขาจะไม่รู้ว่าคุณแม่กำลังพูดอะไร แต่ลูกน้อยก็จะสนอกสนใจน้ำเสียงของคุณแม่ ต่อไปนี้เป็น 3 วิธีง่ายๆ ที่คุณแม่สามารถเริ่มสร้างพื้นฐานทักษะการสื่อสารที่ดีให้กับเขาได้

1. มาหัดพูดกันเถอะ!


การพูดคุยกับลูกน้อยวัยแรกเกิดเป็นการสอนสิ่งสำคัญมากในการสื่อสารทางสังคม ให้แก่เขา สิ่งที่สำคัญกว่าคำพูดจริงๆ ก็คือสารที่ส่งออกไปได้แก่คำว่า แม่รักหนูนะ หนูคือคนสำคัญของแม่

การวิจัยแสดงให้เห็นว่าเด็กวัยแรกเกิดไวต่อเสียงแหลมสูงมากกว่า บางทีอาจเป็นเพราะว่าลูกน้อยได้ยินเสียงแม่หลายเดือนแล้วขณะที่เจริญเติบโต อยู่ในครรภ์ ไม่ว่ากรณีใด การคุยกับลูกน้อยจะช่วยให้ลูกน้อยเรียนรู้เพื่อเชื่อมโยงระหว่างเสียงกับใบ หน้าของแม่ นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างพื้นฐานสำหรับพัฒนาการทางภาษาในภายหลังอีกด้วย

เพราะอย่างนี้แล้ว คุณแม่ก็ควรคุยกับเจ้าตัวน้อย เล่าให้เขาฟังเกี่ยวกับสภาพอากาศ หนังสือที่กำลังอ่านอยู่ วันนี้ทานอะไรเป็นอาหารเที่ยง ชื่อของเล่นหรืออะไรก็ได้ คุณแม่จะเป็นผู้วางพื้นฐานทักษะการสื่อสารที่ดีให้แก่เขา และไม่ถือว่าเป็นการเร็วเกินไปเลย!

2. ฟังและตอบสนอง

เมื่อลูกน้อยอายุได้หนึ่งหรือสองเดือน พวกเขามักจะเริ่มสร้างเสียงของพวกเขาเอง เสียงเหล่านี้ไม่ใช่เสียงกระซิบกระซาบและเสียงอ้อแอ้เหมือนอย่างที่เด็กโต หน่อยทำ แต่พวกเขาก็จะไม่ได้เอาแต่ร้องไห้เช่นกัน ลูกน้อยอาจพูด “อ่า” หรือ “เอ่” หรืออาจเพียงแค่ทำเสียงด้วยลิ้น แม้ว่าเสียงเหล่านี้จะเป็นแค่เสียงง่ายๆ แต่มันก็เป็นขั้นแรกในการพัฒนาไปสู่ภาษาพูดเช่นกัน ผู้ใหญ่สามารถตอบสนองได้โดยเลียนเสียงสั้นๆ เหล่านี้ ในบางครั้งเจ้าตัวน้อยอาจทำเสียงนั้นซ้ำ และคุณแม่อาจกำลัง “พูดคุย” กับเขาโดยไม่รู้ตัวก็ได้! สิ่งนี้เป็นเกมที่น่าดึงดูดใจสำหรับลูกน้อย คนหนึ่งที่จะสนับสนุนการสื่อสารกับคุณ

เมื่อเด็กๆ เหนื่อยเกินไป หิวเกินไป หรือพักผ่อนน้อยจนเล่นไม่ไหวแล้ว พวกเขาจะ “บอก” ด้วยการร้องไห้ หรือปฏิเสธที่คุณแม่พยายามที่จะเล่นกับพวกเขา ขอให้คุณแม่สังเกตสัญญาณเหล่านี้ และอีกไม่นานคุณแม่ก็จะรู้ถึงลักษณะส่วนตัวของลูกน้อย

3. พูดกับเขาตอนไหนก็ได้


หากคุณแม่คิดว่าต้องสงวนการเล่นและการพูดคุยเอาไว้สำหรับ “ช่วงเวลาพิเศษ” คุณแม่อาจพลาดโอกาสสำคัญในการสื่อสารกับลูกน้อยไปก็ได้ เวลาดีที่สุดที่จะพูดคุยกับลูกน้อยคือ ตอนที่เขาตื่นนอนและกำลังตื่นตัว และปกติแล้วก็คือเวลาที่อาบน้ำ เปลี่ยนผ้าอ้อมหรือแต่งตัวให้เขา ช่วงเวลาเหล่านี้ไม่ได้เป็นเพียงงานที่คุณแม่ต้องจัดการให้เรียบร้อย แต่มันคือช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดที่จะสื่อสารกับลูกน้อย

ขณะที่ลูกน้อยนอนมองดูคุณอยู่ คุณอาจคุยกับเขาอย่างนิ่มนวล จั๊กจี้ที่ท้องของลูกน้อยเบาๆ หรือยื่นหน้าเข้าหาเขาและส่งเสียงกระซิบกับเขา พ่อแม่บางคนก็นำของเล่นที่มีสีสันสดใสมาวางไว้ใกล้ๆ เพื่อให้ลูกน้อยดูขณะที่เปลี่ยนผ้าอ้อมหรือแต่งตัวให้เขา

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Friday, August 28, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ความสำคัญของการเล่น ( การเล่นกับลูกน้อย วัยแรกเกิด )

Posted by wittybuzz at 12:20 AM 0 comments
คุณแม่จะรู้สึกทึ่งในช่วงสองสามสัปดาห์แรกที่ คุณแม่พาลูกน้อยวัยแรกเกิดกลับมาอยู่บ้าน ขณะที่เฝ้าดูเขา ดูเหมือนว่าเจ้าตัวน้อยจะไม่ได้ทำอะไรมากมายนอกจากกินแล้วก็นอน แต่อย่าเข้าใจผิด ความจริงแล้ว มีอะไรเกิดขึ้นมากกว่าที่คุณแม่คิดเสียอีก!

เด็กแรกเกิดเห็น ได้ยินและรู้สึกอะไรบ้าง


ดูเหมือนว่าเจ้าตัวน้อยจะตัวโตขึ้นแม้ในขณะที่คุณแม่เฝ้าดูเขาอยู่ ไม่เพียงแต่น้ำหนักตัวแรกเกิดจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในระยะเวลาประมาณห้า เดือนเท่านั้น แต่ความสามารถในการตอบสนองกับสิ่งรอบๆ ตัวก็พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน โดยแท้จริงแล้ว เด็กที่กำลังเจริญเติบโตดูเหมือนว่าจะพยายามเข้าหาคุณพ่อคุณแม่และคนทั้งโลก ด้วยประสาทสัมผัสทั้งหมดที่พวกเขามีอยู่

1. การมองเห็น

เมื่อเข้าเดือนที่สี่ ลูกน้อยสามารถเพ่งสายตาไปยังข้าวของต่างๆ ทั่วห้องได้เป็นอย่างดี แม้ว่าเด็กส่วนใหญ่จะชอบมองของที่อยู่ไกลออกไปประมาณหนึ่งหลาก็ตาม ใบหน้าที่มีการเปลี่ยนแปลงการแสดงออกทางสีหน้าไปเรื่อยๆ ก็ยังคงเป็นที่น่าสนใจที่สุดสำหรับเด็กๆ แต่ในระยะนี้พวกเขาจะเริ่มมองตามของอย่างตั้งใจ และเนื่องจากตามธรรมชาติแล้ว เด็กๆ จะชอบสีสันที่สดใส บางทีคุณแม่อาจเพิ่มสายรุ้งสีสันสดใสในห้องของลูกน้อยที่ส่วนใหญ่แล้วมักจะ เป็นสีอ่อนๆ ก็ได้

2. ลองฟังนี่ดูซิจ๊ะ!

ช่วงเวลานี้การฟังเริ่มมีความสำคัญสำหรับลูกน้อยมากยิ่งขึ้น เขาชอบฟังน้ำเสียงของคุณแม่เวลาที่คุณแม่พูด ร้องเพลงหรือฮัมเพลง (เมื่ออายุได้สี่เดือน ลูกน้อยจะรู้ว่าเสียงที่เขาได้ยิน เป็นเสียงของคุณพ่อคุณแม่ หรือเสียงของคนอื่น) คุณแม่จะสังเกตได้ว่าลูกน้อยอาจหยุดดูดนมเพื่อฟังเสียงใหม่ที่เขาได้ยิน และบางทีก็อาจหันหน้ามาหาเมื่อเขาได้ยินเสียงฝีเท้าของคุณแม่ใกล้เข้ามา เด็กวัยสี่เดือนจะชอบฟังเสียงลมพัดกระดิ่งดังกรุ๊งกริ๊งหรือแม้แต่เสียงติ๊ก ต๊อกของนาฬิกาและชอบฟังเสียงกล่องดนตรีที่ติดอยู่ด้านข้างเตียงด้วย crib.

3. การไขว่คว้าและสัมผัส

ในระยะนี้ทุกวันลูกน้อยจะจดจ่ออยู่กับการเชื่อมโยงเสียงและภาพที่เขาได้ยิน ได้เห็นเข้าด้วยกันโดยใช้ประสาทสัมผัสของเขา ตอนแรก เด็กๆ จะไม่รู้ว่ามือทั้งสองข้างเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายเขา เด็กทารกจะมองดูมือทั้งสองข้างของพวกเขาผ่านหน้าไปและหัวเราะเวลาที่เอามือ ข้างหนึ่งจับมืออีกข้าง จากนั้นเด็กๆ จะเริ่มเคาะของเล่นที่อยู่ในเตียง และ และถ้ามือข้างหนึ่งบังเอิญสัมผัสกับอีกข้างหนึ่ง เขาอาจหยุดด้วยความประหลาดใจ ในวัยสี่เดือน การกำมืออันเนื่องมาจากปฏิกิริยารีเฟล็กซ์จะหายไป และเขาจะกำมือ แบมือและเอานิ้วพันกันได้ จากนั้นเมื่ออายุได้ห้าเดือน เด็กจะสามารถเอื้อมมือไปคว้าของ ส่งของจากมือข้างหนึ่งไปยังมืออีกข้างได้ และท้ายที่สุดก็เอามือใส่ปากเพื่อสำรวจดูต่อไป

นับเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นสำหรับลูกน้อยที่ได้รู้ว่าเขาสามารถทำอะไรกับ ข้าวของก็ได้ เมื่อเขาให้ความสนใจกับสิ่งต่างๆ รอบตัว ก็เท่ากับว่าเขากำลังก้าวไปข้างหน้าอีกขั้น

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Thursday, August 27, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ความสำคัญของการเล่น ( การเล่นและพัฒนาการ )

Posted by wittybuzz at 10:21 AM 0 comments
“ถ้ากีดกันพวกเขาไม่ให้เล่น เด็กก็เป็นเหมือนนักโทษ เท่ากับเป็นการปิดกั้นเขาจากสิ่งที่จะทำให้เขาเข้าใจถึงชีวิตจริงๆ และความหมายของชีวิต การเล่นไม่ได้เป็นเพียงแค่การเรียนรู้ทักษะในชีวิตประจำวันเท่านั้น แรงจูงใจที่จะให้เขามีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และพยายามทำจนสำเร็จใน ระหว่างที่เขาเล่นนั้น จะช่วยให้เด็กเจริญเติบโตขึ้นทั้งทางร่างกายและจิตใจ…การเล่นเป็นอีกวิธี หนึ่งที่เด็กจะได้พัฒนาความสามารถในการจัดการกับความตึงเครียดในชีวิตที่พวก เขาเผชิญ นอกจากนี้ การเล่นยังเป็นเสมือนวาล์วความปลอดภัยทำให้เขารับมือกับความกลัวและความตื่น ตระหนกที่เข้ามามีอิทธิพลเหนือเขาได้อีกด้วย” องค์กรเพื่อการศึกษาในเด็กวัยเยาว์ของโลก (World Organisation for Early Childhood Education: OMEP)

โดยธรรมชาติแล้ว เด็กมีความกระตือรือร้นที่จะเล่น แม้แต่เด็กที่ยากจนที่สุดและเด็กที่มีชีวิตอัตคัดที่สุดก็ล้วนแล้วแต่มีความ สุขเป็นที่สุดเมื่อได้เล่น การเล่นเป็นส่วนจำเป็นอย่างหนึ่งสำหรับการเติบโต โดยจะช่วยให้เด็กเรียนรู้และเข้าใจโลก ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าเด็กๆ ที่ได้เล่นสนุกเป็นเด็กที่มีความสุขกว่าเด็กที่ไม่ได้เล่น

เด็กแต่ละคนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เด็กทุกคนมีบุคลิกของเขาเอง ยกตัวอย่างเช่น เด็กทุกคนจะแสดงออกและเล่นในแบบของตัวเอง และค้นหาความสามารถของตัวเขาเอง

เด็กๆ ต้องการการสนับสนุนจากผู้ใหญ่และต้องการสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยในการพัฒนา ทักษะและความคิดสร้างสรรค์ของพวกเขาจนถึงขีดสุด พ่อแม่หรือผู้ให้การดูแลจะเป็นคนแรกๆ ที่เด็กจะต้องเกี่ยวข้องด้วย ด้วยเหตุนี้ คุณพ่อคุณแม่จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้เวลาอยู่กับลูกน้อยเพื่อสร้าง ความสัมพันธ์อันใกล้ชิดและให้การกระตุ้นที่จำเป็นสำหรับพัฒนาการของเขา คุณพ่อคุณแม่จะได้รู้จักลูกของตัวเองมากขึ้นผ่านทางการเล่น การเล่นเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะไม่จำเป็นต้องสื่อสารกันด้วยคำพูด เมื่อเด็กโตขึ้น บุคคลอื่น เช่น เพื่อนๆ ครอบครัว และคุณครูก็จะมีบทบาทสำคัญด้วยเช่นกัน

ประโยชน์ของการเล่น

การเล่นจะช่วยให้ลูกน้อยเรียนรู้ตัวเองและสิ่งแวดล้อมผ่านทางการซึมซับและ การฝึกใช้ทักษะ เมื่อเขาสร้างโลกของพวกเขาเอง เด็กๆ จะสามารถทดลองสถานการณ์ใหม่ๆ ได้อย่างอิสระและทำความเข้าใจได้เป็นอย่างดี

ยกตัวอย่างเช่น การเล่นกับรถ เครื่องบินและเรือจะช่วยให้ลูกน้อยมีโอกาสได้เรียนรู้การคมนาคมทุกรูปแบบ เช่นเดียวกับเมื่อเขาออกไปเล่นข้างนอก เขาจะคุ้นเคยกับกฎจราจร อุบัติเหตุ การใช้ความเร็วและเขาอาจจะประหลาดใจกับสิ่งที่ลอยอยู่เหนือผิวน้ำหรือเขาอาจ จะจินตนาการว่าตัวเขาสามารถบินได้อย่างนก

นอกจากนี้ การเล่นยังช่วยให้เด็กๆ เข้าใจโลกตามระดับของการรับรู้ตามวัยของพวกเขา ลูกน้อยอาจแสดงออกให้เห็นถึงประสบการณ์บางอย่างที่เขาพบเจอมา ดังนั้น จึงทำให้สถานการณ์ต่างๆ เหล่านี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของความรู้สึกนึกคิดในจิตใจของเขา

นอกจากนี้ เด็กยังสร้างความมั่นใจในตัวเองผ่านทางการเล่นอีกด้วย พวกเขาเรียนรู้ที่จะฝึกการควบคุมและพัฒนาความสัมพันธ์กับคนอื่น เด็กๆ จะได้ฝึกฝนบทบาทและพฤติกรรมทางสังคมในระหว่างที่เขาเล่น “พ่อแม่ลูก” “โรงพยาบาล” หรือ “โรงเรียน” นอกจากนี้ การเล่นยังช่วยให้เด็กได้แสดงออกความรู้สึกของตน เช่น ความวิตกกังวลและความกลัว สิ่งเหล่านี้ช่วยให้เด็กสามารถปรับตัวเข้ากับความรู้สึกต่างๆ เหล่านี้และผ่อนคลายความตึงเครียดได้ การเล่น “หมอกับพยาบาล” เป็นตัวอย่างที่ดี

ประเภทของการเล่น

ลูกน้อยจะมีพัฒนาการทางอารมณ์ สังคม สติปัญญา และร่างกายผ่านระยะต่างๆ ตามวัยของเขา ดังนั้น ข้อกำหนดในการเล่นจึงแตกต่างกันไปตามอายุและระดับพัฒนาการของเด็ก การเล่นจะช่วยพัฒนาให้ลูกน้อยก้าวหน้าตามช่วงวัยของเขา

เมื่อเด็กก้าวเข้าสู่ระยะต่างๆ เหล่านี้ เขาจะมีส่วนร่วมในการเล่นหลากหลายรูปแบบ

* การเล่นสำรวจเป็นการเล่นในระยะแรกเริ่มของลูกน้อยวัยแบเบาะหรือวัยหัดเดิน ลูกน้อยจะเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวเขาผ่านประสาทสัมผัสต่างๆ สิ่งสำคัญอย่างยิ่งก็คือ ลูกน้อยควรได้รับการกระตุ้นที่ถูกต้อง โดยที่คุณพ่อคุณแม่ควรเตรียมของเล่นที่เหมาะสมให้เขา เช่น โมบายเพื่อให้เขาจ้อง ของเล่นที่มีเสียงเพลงเพื่อให้เขาฟัง และของเล่นเอาไว้ให้เขากำ สัมผัส หรือดูด
* ลูกน้อยอาจจ้องดู ดูด สัมผัสและดมกลิ่นของเล่นเหล่านี้ ในกรณีเช่นนี้ เด็กจะกำลังพัฒนาประสาทสัมผัสต่างๆ ของเขา เมื่อเขาโตขึ้น เขาจะเรียนรู้การควบคุมการเคลื่อนไหวดวงตา โดยในช่วงแรกๆ เขาจะเคลื่อนไหวดวงตาตามสิ่งกระตุ้น และในเวลาต่อมา เขาจะเคลื่อนไหวดวงตาด้วยความตั้งใจของเขาเอง ลูกน้อยที่วัยกำลังโตจะไขว่คว้าหาของเล่นและเอื้อมไปจับข้าวของต่างๆ เด็กวัยหัดเดินจะเพลิดเพลินกับการเล่นกับของที่เคลื่อนไหวได้ อย่างเช่น ลูกบอลหรือรถ นอกจากนี้ เขายังชื่นชอบการเล่นเกมส์ที่มีการโต้ตอบ อย่างของเล่นจำพวกป๊อบ-อัพ รถหัดเดินที่มีของเล่นอยู่รายล้อมและมีเสียงดนตรี
* การเล่นแบบพัฒนาความคิดสร้างสรรค์แสดงให้เห็นถึงสัญญาณแรกว่าเขาเริ่มรู้จัก วางแผนและใช้วัตถุและของเล่นต่างๆ อย่างมีสมาธิ เวลาที่เขาสร้างหอคอยสูงจากบล็อกตัวต่อ เขาจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับขนาดและรูปทรง ความสนุกอย่างแรกของเขาก็คือ พังหอคอยลง แล้วค่อยสร้างใหม่อีกครั้ง
* การเล่นที่ต้องใช้พละกำลัง เมื่อลูกน้อยเริ่มหัดคลานและหัดเดิน เขาจะมีการเคลื่อนไหวมากขึ้น เขาจะออกสำรวจพื้นที่ที่เขาอยู่ด้วยการเคลื่อนที่และสัมผัสกับทุกสิ่ง ทุกอย่างรอบตัว ในวัยนี้ คุณแม่แทบจะจับตาดูเจ้านักสำรวจตัวน้อยไม่ทันเลยทีเดียว นอกจากนั้น ในช่วงนี้ยังเป็นช่วงที่ลูกน้อยวัยหัดเดินทำให้คุณแม่รู้สึกท้อและทำให้คิด ว่า เจ้าลูกคนนี้ซนจริงๆ เลย

สิ่งเจ้าตัวน้อยของคุณกำลังทำอยู่ในวัยนี้ก็คือการเรียนรู้และการสำรวจโลก ของเขาซึ่งใหญ่ขึ้น ทุกวันและทำให้เขาได้พบเจออะไรใหม่ๆ มากมาย นอกจากนี้ เด็กยังเรียนรู้ว่าเขาโตขึ้น และคิดว่าเขาสามารถทำทุกอย่างได้อีกด้วย การตั้งข้อจำกัดเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเขา เพื่อที่ว่าเขาจะได้เรียนรู้ข้อจำกัด ในขณะเดียวกันก็เพื่อความปลอดภัยในโลกใบใหญ่ของเขา ซึ่งบางครั้งก็อาจใหญ่เกินไปสำหรับเจ้าตัวน้อย เด็กวัยหัดเดินชอบที่จะใช้ทักษะการเคลื่อนไหวของตัวเอง แถมยังกระตือรือร้นมากด้วย การพาเขาไปสนามเด็กเล่น จะเป็นการเปิดโอกาสให้เขาได้เคลื่อนไหวและสนุกสนานอย่างเต็มที่

* การเล่นเลียนแบบ คงน่ารักไม่น้อยที่ได้เห็นลูกน้อยเริ่มเลียนแบบท่าทางของผู้ดูแลและเรียนรู้ บทบาทหน้าที่ต่างๆ ในชีวิต ลูกน้อยจะติดตามคุณไปทุกที่และอยากทำอะไรก็ตามที่คุณกำลังทำอยู่ คุณแม่อาจจะเตรียมเหยือกและถ้วยสักสองสามใบไว้ในลิ้นชักหรือในตู้กับข้าวไว้ ให้ลูกน้อย เพื่อที่เขาจะได้ร่วมทำอาหารและล้างจานไปพร้อมๆ กับคุณแม่
* การเล่นสมมุติ เมื่อเด็กๆ มีพัฒนาการในการจินตนาการและสามารถแยกแยะโลกแห่งความจริงออกจากโลกใน จินตนาการได้แล้ว เขาก็จะเริ่มเล่นสมมุติ เก้าอี้จะกลายเป็นรถ เก้าอี้หลายตัวต่อกันเข้ากลายเป็นรถไฟและลูกน้อยก็จะสมมุติว่าตัวเขาเป็น พนักงานขับรถไฟกำลังเป่านกหวีดเมื่อ “รถไฟ” ออกจากสถานี ในการเล่นสมมุติ เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ต่างๆ และทำความเข้าใจกับสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวเขา เขามีอิสระที่จะสร้างสรรค์สถานการณ์ใหม่ๆ และเรียนรู้ที่จะทำความเข้าใจกับสิ่งเหล่านั้นในการเล่นอย่างอิสระ
* การเล่นเข้าสังคม เมื่อเด็กๆ เข้าเรียนในโรงเรียนปฐม เพื่อนจะเข้ามามีส่วนสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในการมีปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน สิ่งสำคัญสำหรับเด็กๆ ก็คือเขาต้องเข้าร่วมกลุ่มสังคมของเขา อยู่กับเพื่อนวัยเดียวกันและมีบทบาทในกลุ่มๆ นี้ เด็กๆ จะเรียนรู้ฐานะของตัวเองในสภาพแวดล้อมของเขาได้จากการลองผิดลองถูก การเข้าร่วมชมรมหรือกลุ่มกิจกรรมอื่นๆ จะช่วยพัฒนาทักษะของพวกเขายิ่งขึ้นไปอีกและสร้างเสริมการมีปฏิสัมพันธ์กับ เพื่อนต่างกลุ่มที่อายุรุ่นราวคราวเดียวกันในบรรยากาศที่หลากหลายด้วย ดังนั้น เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับเอกลักษณ์ของแต่ละคนและการยอมรับทางสังคมด้วย
* การเล่นที่ใช้ทักษะ ระหว่างเรียนในโรงเรียนปฐม ลูกน้อยจะพัฒนาทักษะอันสมบูรณ์ผ่านทางกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องใช้ทักษะเฉพาะทาง เช่น งานฝีมือ เกมส์และกีฬาที่ต้องใช้ความคิด

ลูกน้อยจะพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว สติปัญญาและความคิดสร้างสรรค์ยิ่งขึ้นไปอีก ทักษะเฉพาะทางเหล่านี้จะช่วยให้เขากำหนดบุคลิกภาพของตนเอง ทั้งส่วนที่เป็นจุดเด่นและจุดด้อย

สรุป

การเล่นของเด็กเป็นเรื่องสำคัญ ผู้ใหญ่ควรให้คำแนะนำแก่เด็กๆ กระตุ้นพวกเขาด้วยให้เวลากับเขา หาสถานที่ให้และอยู่เป็นเพื่อนเขา สิ่งสำคัญก็คือ ควรทำตามความสนใจของเด็กและแนะนำการเล่นรูปแบบใหม่ๆ ให้แก่เขาเพื่อให้เขาเติบโตโดยสอดคล้องพัฒนาการตามวัยของเขา

การเล่นเป็นเรื่องสนุกและช่วยให้เด็กค้นพบแนวทางของตัวเองในโลกกว้างใบนี้ การเล่นเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขที่คุณแม่จะได้แบ่งปันกับลูกน้อย

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Wednesday, August 26, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ความสำคัญของการเล่น ( การเล่นคืองานของหนู )

Posted by wittybuzz at 9:06 AM 0 comments
เวลาหลายชั่วโมงที่ทารกหรือเด็กๆ ใช้ไปกับการเล่นนั้นมิได้หมายความว่าเป็นการเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์หรือ เป็นเพียงแค่ธรรมชาติของเขาที่ต้องเล่น การเล่นอาจเป็นเรื่องสนุก แต่ก็เป็นเรื่องจริงจังในวัยเด็ก ระหว่างเวลาที่เด็กเล่นอยู่นี้ เด็กจะเสริมสร้างความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง

เด็กที่ลืมตามาดูโลกใบนี้เปรียบได้กับฟองน้ำพิเศษก้อนหนึ่ง– ซึ่งมีคุณลักษณะพิเศษในการซึมซับ สำรวจและค้นหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวเขา

การเล่นเป็นหลักสูตรอย่างหนึ่งของการสำรวจและการค้นพบซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ สำคัญที่สุดในการเล่นของเด็ก เขาจะหยุดเล่นก็เฉพาะตอนนอนหลับ ด้วยเหตุนี้ การเล่นจึงเป็นงานของหนู

เช่นเดียวกันกับผู้ใหญ่ในวัยทำงานที่ต้องเรียนรู้วิธีแก้ปัญหาในที่ทำงาน เพื่อให้งานนั้นเสร็จลุล่วง เด็กเองก็เรียนรู้สิ่งเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้จากการเล่นซึ่งเสริมสร้างทักษะต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับเขาในการเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ

การเล่นมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางร่างกาย จิตใจ สังคม จิตวิทยา อารมณ์และภาษาของเด็ก

พัฒนาการทางร่างกาย

เมื่อเด็กเริ่มคลาน หัดตั้งไข่ เดินและวิ่ง นั่นแสดงว่าเขากำลังเคลื่อนไหวร่างกาย การเคลื่อนไหวเช่นนี้จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการให้ร่างกายทำงานประสานกันอย่าง ซับซ้อนยิ่งขึ้น เช่น สามารถใช้ทั้งสองมือน้อยๆ พร้อมกันได้ สามารถวิ่งได้ เป็นต้น ดังนั้น เด็กจึงจำเป็นต้องเคลื่อนไหวแขนและขาทั้งสองข้างให้ประสานกัน

จากช่วง 3 เดือนแรกที่เจ้าตัวน้อยลืมตาดูโลก เขาจะสามารถเริ่มเคลื่อนไหวจากหัวไหล่จนถึงข้อศอกได้ อย่างไรก็ตามในระยะเริ่มต้นนี้ การเคลื่อนไหวเหล่านั้นจะมีแค่การแกว่งมือและการตีที่ไม่ถูกต้องเท่านั้น เมื่อเขาเริ่มเล่นของเล่นชิ้นเล็กๆ และของเล่นที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น เขาก็จะเริ่มมีพัฒนาการในการใช้มือทั้งสองข้าง

นอกจากนี้ การเล่นยังพัฒนากล้ามเนื้อและความแข็งแรงของแขนขาทั้งส่วนบนและส่วนล่างอีกด้วย

พัฒนาการทางจิตใจ

ในการเล่นอย่างมีจินตนาการนั้น เด็กอาจสมมุติตัวเองเป็นพยาบาล หมอ หรือนักดับเพลิง นอกจากนี้ เขายังอาจสมมุติตัวเองว่าตัวเองกำลังทำอาหาร กำลังเย็บผ้าหรือจัดงานเลี้ยงน้ำชากับเพื่อนๆ ก็ได้ การเล่นอย่างมีจินตนาการเช่นนั้นจะช่วยกระตุ้นกระบวนการคิดของเด็ก ซึ่งผลที่ได้ก็คือ การเล่นแบบนี้จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับตัวเขาสำหรับสถานการณ์การเรียน รู้ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นเมื่อเขาโตขึ้น

พัฒนาการทางสังคม


ขณะที่เด็กๆ เล่นกัน พวกเขาจะพัฒนาความคิดเกี่ยวกับโลกรอบๆ ตัวเขาไปพร้อมๆ กัน พวกเขาจะเรียนรู้ว่ามีกฎเกณฑ์บางอย่างที่ต้องยึดถือ กฎเกณฑ์เหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับการเข้าสังคม เช่น การเข้าคิวเพื่อเล่นกระดานเลื่อน การคบหาเพื่อนใหม่ การให้และการรับ การแบ่งปันหรือแม้แต่เพียงการผูกมิตรกับเด็กคนอื่น

แม้ว่าในเบื้องต้น ดูเหมือนว่าเด็กจะยังเห็นแก่ตัวและคิดถึงตัวเขาเองเป็นใหญ่ แต่อีกไม่นานเขาก็จะเรียนรู้ที่จะพัฒนาตามคำแนะนำจากผู้ใหญ่โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งจากพ่อแม่

พัฒนาการทางจิตวิทยา


เด็กจะมีความมั่นใจและเคารพในตัวเองเมื่อเขาเล่นแล้ว เขาสนุกสนานและประสบความสำเร็จในสิ่งที่เขาทำ ความมั่นใจนี้จะกระตุ้นให้เขามุ่งหน้าสำรวจต่อไปและผลักดันให้เด็กได้พบกับ ประสบการณ์ในกิจกรรมที่ท้าทายยิ่งขึ้น พัฒนาการด้านความมั่นใจจะช่วยให้เขาพบกับความท้าทายต่างๆ เมื่อเขาโตขึ้น การเผชิญกับความท้าทายเหล่านี้จะช่วยพัฒนาทักษะต่างๆ ของเขายิ่งขึ้นไปอีก

พัฒนาการทางอารมณ์


การคลุกคลีกับพ่อแม่เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการทางอารมณ์ในระยะแรกของเด็ก ไม่มีอะไรที่จะมาแทนที่พัฒนาการในระยะนี้ได้ คุณพ่อคุณแม่ควรมีส่วนร่วมในระหว่างที่ลูกเล่นให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไป ได้ การทำเช่นนี้จะช่วยให้เด็กรู้สึกปลอดภัยในสภาพแวดล้อมใหม่ๆ เมื่อเขารู้สึกปลอดภัย เขาก็จะอยากออกไปสำรวจโลกกว้างด้วยความอุ่นใจว่ามีคนที่ไว้ใจได้ที่คอยช่วย เหลือเขาเสมอเมื่อยามเกิดเรื่องร้ายๆ ขึ้น

พัฒนาการด้านภาษา


ภาษาคือสื่ออย่างหนึ่งที่เราถ่ายทอดความหมายออกมาจากความคิดและความรู้สึก ของเรา พัฒนาการด้านภาษาเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่วันแรกที่เราเกิดมา ความพยายามเบื้องต้นที่เด็กสื่อสารออกมาจะอยู่ในรูปง่ายๆ และทำซ้ำๆ เมื่อเด็กโตขึ้น ความจำเป็นในการใช้ภาษาก็มากตามไปด้วย เด็กๆ ต้องใช้คำพูดและท่าทางในการแสดงออกถึงความคิดและเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาเมื่อ พวกเขาพบเจออะไรใหม่ๆ และแตกต่างไปจากเดิม ภาษาเป็นส่วนหนึ่งของการเล่นที่มีเอกลักษณ์และมีความพิเศษในตัว และภาษายังเป็นสิ่งที่แยกมนุษย์ซึ่งมีความนึกคิดออกจากสัตว์ต่างๆ เมื่อเปรียบเทียบกัน

ความจำเป็นเบื้องต้นสำหรับพัฒนาการด้านภาษานั้นสามารถสร้างเสริมได้ผ่านการ เล่น คุณพ่อคุณมีโอกาสมากมายที่จะกระตุ้นพัฒนาการดังต่อไปนี้ผ่านทางการเล่น

* การสบตา
* ทักษะการฟัง
* การให้ความสนใจ
* การเรียนรู้ที่จะต่อแถวเข้าคิว
* ทักษะการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม

การติดป้ายบนสิ่งของจะช่วยได้มากเมื่อคุณพ่อคุณแม่แนะนำศัพท์ใหม่ๆ ให้กับเขา เพราะจะเป็นการเพิ่มจำนวนคำศัพท์ให้กับเขา นอกจากนี้ เด็กจะจดจำความหมายของคำศัพท์ได้ดียิ่งขึ้นหากให้เขาจับต้องของชิ้นนั้น

การเรียนรู้แนวความคิดอื่นๆ

การเล่นยังช่วยให้เด็กเรียนรู้และเข้าใจแนวคิดพื้นฐานอื่นๆ เช่น ตัวเลข สี และตำแหน่ง (ซ้าย/ขวา และ เข้า/ออก)

การพัฒนาแนวความคิดดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญสำหรับพัฒนาการของเด็ก เนื่องจากจะช่วยสอนสิ่งต่อไปนี้

* ปฏิสัมพันธ์ระหว่างวัตถุว่าของชิ้นหนึ่งเกี่ยวข้องกับของอีกชิ้นหนึ่งอย่าง ไร ยกตัวอย่างเช่น หม้อกับเตาไฟ ช้อนกับส้อม และลูกบอลกับไม้ตี
* ปฏิสัมพันธ์กับวัตถุต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น น้ำที่กำลังเดือดร้อน น้ำแข็งเย็น ผ้านิ่ม สิ่งเหล่านี้ช่วยให้เด็กรู้ได้ด้วยตัวเองว่าเขาควรคิดและกระทำเช่นไร เป็นต้นว่า ถ้าเด็กไม่ชอบความรู้สึกร้อน เขาอาจไม่อยากถือกาต้มน้ำ เป็นต้น ซึ่งพัฒนาการด้านนี้ทำให้เขารู้มากขึ้นว่าเขาสามารถทำอะไรได้บ้างและจะเป็น การสอนเขาว่าเขาสามารถทำแบบนั้นซ้ำอีกได้

การเข้าใจถึงเหตุและผล เช่น “ถ้าหนูจับน้ำเดือดๆ หนูจะโดนลวก” ซึ่งหลักเหตุผลนี้จะเป็นพื้นฐานของการแก้ปัญหา เมื่อเขาได้แก้ปัญหา ได้สัมผัสประสบการณ์ต่างๆและได้เรียนรู้ธรรมชาติของสิ่งต่างๆ แล้ว เด็กก็จะเรียนรู้ที่จะปฏิบัติตามกฎความปลอดภัย

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Tuesday, August 25, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ศักยภาพสูงสุดของลูกน้อยด้าน พัฒนาการทางสังคม และทางอารมณ์ ( การแข่งขันระหว่างพี่น้อง )

Posted by wittybuzz at 8:10 AM 0 comments
การแข่งขันระหว่างพี่น้องเป็นเรื่องของการเอา ชนะ ช่องว่างระหว่างวัยและเพศจะมีต่อความรุนแรงของการแข่งขันระหว่างพี่น้อง โดยทั่วไปแล้ว ผู้เชี่ยวชาญยอมรับว่าการอิจฉาและการแข่งขันจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในพี่ น้องที่มีอายุห่างกันหนึ่งถึงสามปี ความรุนแรงนั้นจะเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นพี่น้องเพศเดียวกัน

การแข่งขันระหว่างพี่น้องยังเกี่ยวข้องกับการให้ได้มาซึ่งอำนาจ ตามคำกล่าวของดร. อัลเบิร์ต แอดเลอร์ นักจิตวิทยาผู้มีชื่อเสียงและเป็นผู้ปฏิบัติตามกฎของ Sigmund Freud ที่ว่า “การโต้เถียงกันของเด็กนั้น แท้ที่จริงแล้วเกิดจากการแสวงหาอำนาจของจิตใต้สำนึก” ในขณะที่คุณพ่อคุณแม่ให้ความรักและเลี้ยงดูน้องตัวน้อยๆ เขาจะพัฒนาความคิดในแง่บวกและจะเรียนรู้อย่างช้าๆ ในเรื่องการแข่งขันกับพี่น้องของเขาซึ่งมา “แย่งชิง” ความรักและการเอาใจใส่จากพ่อแม่ไป

การเตรียมลูกน้อยให้พร้อมต้อนรับน้องที่จะเกิดใหม่

สำหรับเด็กวัยหัดเดินหรือเด็กก่อนวัยเรียนที่ยังเล็กๆ อยู่ คุณแม่ควรบอกลูกว่าคุณแม่กำลังตั้งครรภ์เฉพาะในช่วงสองถึงสามเดือนสุดท้าย เมื่อท้องของคุณแม่เริ่มโตขึ้นและลูกสังเกตเห็นว่าคุณแม่เหนื่อยง่ายกว่า ปกติ

ย้ำกับลูกคนโตว่า เมื่อมีน้องใหม่ สถานะของเขาก็จะไม่เปลี่ยนแปลงและคุณจะยังคงรักเขามากเช่นเดิมตลอดไป

บอกให้ลูกรู้ความจริงที่ว่าเด็กเล็กๆ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เลย จำเป็นต้องได้รับการดูแลและอาจจะร้องไห้เยอะมาก พี่ไม่ควรคาดหวังว่าน้องจะเล่นกับเขาได้จนกว่าจะสองสามปีให้หลัง

เตรียมความพร้อมให้กับลูกเวลาที่คุณแม่ต้องไปโรงพยาบาลเพื่อคลอดน้อง ซึ่งเขาต้องแยกจากคุณแม่ชั่วคราว

ให้พี่มีส่วนร่วมโดยให้เขามีหน้าที่โทรไปคุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยายว่าน้องคลอดแล้ว แต่อย่าให้ความสำคัญกับน้องใหม่จนออกหน้าออกตา เพราะจะทำให้พี่สูญเสียความเชื่อมั่นในสถานะของเขาในครอบครัว

สำหรับพี่ที่อยู่ในวัยเข้าเรียน คุณแม่อาจพบว่าเขามีความกระตือรือร้นที่จะมีส่วนร่วมในขั้นตอนการดูแลน้อง การพาน้องใหม่เข้าบ้านยังทำให้เขามีโอกาสได้แสดงบทบาทเป็นพี่ที่โตแล้วอีก ด้วย

ควรเตรียมพร้อมรับความไม่พอใจของพี่คนโต เด็กที่ยังเล็กๆ อาจมีแสดงความอิจฉาอย่างเปิดเผยและอย่างโจ่งแจ้ง หากคุณแม่พบว่าลูกไม่พอใจและอิจฉาน้อง คุณแม่ต้องปล่อยให้ลูกคนโตระบายความหวาดกลัวและความรู้สึกของเขาให้ฟัง แต่จะต้องย้ำกฎอย่างหนึ่งให้เขาฟังว่า ห้ามใช้ความรุนแรงภายในบ้านไม่ว่าเวลาใดก็ตาม

ไม่ควรปล่อยให้เด็กวัยหัดเดินที่ยังเล็กๆ หรือเด็กก่อนวัยเรียนอยู่ตามลำพังกับน้องจนกว่าเขาจะสานความสัมพันธ์กับน้อง แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

การแข่งขันระหว่างพี่น้องเป็นเรื่องปกติที่สุด การทะเลาะกันระหว่างพี่น้องเป็นความสัมพันธ์ในครอบครัวขั้นพื้นฐานที่สุด ในฐานะที่เป็นคุณพ่อคุณแม่ จึงไม่จำเป็นต้องห้ามการแข่งขันระหว่างพี่น้อง แต่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำให้เป็นการแข่งขันที่สร้างสรรค์ได้หากมีการจัดการ ที่ดี

การจัดการเรื่องการแข่งขันระหว่างพี่น้องในเด็กโต

เคล็ดลับที่เป็นประโยชน์สำหรับคุณพ่อคุณแม่

* คุณแม่ไม่ต้องอารมณ์เสียหรือเหนื่อยหน่ายถ้าลูกๆ มักทะเลาะกันอยู่ตลอดเวลา การแข่งขันกันระหว่างพี่น้องคือกระบวนการทางธรรมชาติของการเจริญเติบโตและ เป็นเรื่องดีสำหรับลูกที่จะทะเลาะกัน แล้วก็คืนดีกัน แล้วก็ทะเลาะกันใหม่
* คุณพ่อคุณแม่ควรเข้าแทรกแซงเฉพาะเวลาที่ลูกใช้กำลังกันในระหว่างที่ทะเลาะ กันเท่านั้น คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรกระตือรือร้นที่จะเข้าไปมีส่วนร่วม พวกเขาเรียนรู้การมีความมั่นใจและการพึ่งพาตัวเองถ้าเขาได้ต่อสู้ด้วยตัวเอง และสะสางปัญหาเอง นอกจากนั้น คุณพ่อคุณแม่ก็จะไม่ได้อยู่กับเขาไปชั่วชีวิต
* อย่าพยายามเป็นผู้พิพากษาหรือผู้ตัดสิน การเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้ก่อให้เกิดผลดีแต่อย่างใด คุณพ่อคุณแม่จะถูกกล่าวหาว่าลำเอียงเสมอ หากคุณต้องตัดสินใจ ให้รับฟังทั้งสองฝ่ายก่อน และต้องยุติธรรมและมั่นคง คำตัดสินควรกระชับได้ใจความ
* จะต้องบังคับใช้กฎ “ห้ามใช้ความรุนแรง” อย่างเข้มงวดและอย่างรวดเร็ว ซึ่งเด็กๆ ทุกคนภายในบ้านจะต้องปฏิบัติตามตลอดเวลา
* การแบ่งประเภทไม่ว่าจะเป็นในแง่บวกหรือลบจะเป็นการเพิ่มแรงกดดันที่เกินความ จำเป็นสำหรับเด็กๆ เช่นเดียวกับการที่อย่าผลักดันความฝันที่คุณพ่อคุณแม่ทำไม่สำเร็จให้กับลูก เด็กๆ ควรได้รับการกระตุ้นให้พัฒนาตามพรสวรรค์และศักยภาพของเขาเอง
* อย่าเปรียบเทียบลูกกับเด็กคนอื่น ในบางครั้งคุณพ่อคุณแม่หลงลืมและเปรียบเทียบระหว่างลูกของตัวเองกับเด็กคน อื่น ยกตัวอย่างเช่น เพื่อนร่วมชั้น เพื่อนบ้าน และลูกพี่ลูกน้อง การเปรียบเทียบนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเปรียบเทียบในแง่ลบจะทำให้การแข่งขันระหว่างพี่น้อง ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น
* คาดการณ์จุดที่จะก่อให้เกิดปัญหาและตรวจหา “สัญญาณบ่งบอกอันตราย” ตั้งแต่เนิ่นๆ
* แยกลูกออกจากกันเมื่อเขาใช้กำลังกัน ในบางครั้งคุณแม่อาจจำเป็นต้องปกป้องพี่มากกว่าน้อง และมีบ่อยครั้งที่พี่มักถูกคาดหวังว่าต้องยอมแพ้ให้น้อง โดยไม่คำนึงว่าพี่คนโตก็มีความต้องการของเขาเองเหมือนกัน
* พยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของลูกและใช้วิธีให้รางวัล พฤติกรรมที่ดีควรได้รับการส่งเสริมและชื่นชม แต่เมื่อลูกแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม คุณแม่ก็ไม่ควรลังเลใจที่จะยึดรางวัลนั้นคืน
* ควรหาพื้นที่ส่วนตัวให้ลูกแต่ละคนซึ่งเป็นที่ที่เขาจะได้อยู่ตามลำพังและ เป็นที่เก็บของเล่น หนังสือ เป็นต้น และควรให้ลูกคนอื่นๆ เคารพพื้นที่ส่วนตัวของพี่น้องแต่ละคนด้วย

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Monday, August 24, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ศักยภาพสูงสุดของลูกน้อยด้าน พัฒนาการทางสังคม และทางอารมณ์ ( เด็กวัยหัดเดินกับระเบียบวินัยและแนวทาง )

Posted by wittybuzz at 10:58 AM 0 comments
การฝึกระเบียบวินัยไม่จำเป็นต้องความหมายแฝงใน แง่ลบ ไม่ควรเป็นคำพูดที่เกี่ยวข้องกับการลงโทษ การฝึกระเบียบวินัยสำหรับเด็กวัยแบเบาะและเด็กวัยหัดเดินเป็นเรื่องของการ ตั้งแนวทางการใช้ชีวิตให้กับเขาอย่างชัดเจนและเป็นไปในเชิงบวกและเขาว่า พฤติกรรมใดยอมรับได้และพฤติกรรมใดยอมรับไม่ได้ การฝึกระเบียบวินัยให้กับเด็กวัยหัดเดินโดยใช้การลงโทษ ถือว่าไม่ใช่วิธีที่ดี แต่การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเป็นกลยุทธ์ที่ดีกว่ามากและจะช่วยพัฒนาความ เชื่อมั่นในตัวเองของเด็กวัยหัดเดินด้วย

ต่อไปนี้เป็นกุญแจสำคัญที่คุณแม่ควรจำ

* คุณพ่อคุณแม่ควรปรึกษากันก่อนว่าจะใช้วิธีใด สิ่งสำคัญก็คือคุณพ่อคุณแม่ควรใช้รูปแบบเดียวกัน
* ลูกของคุณจำเป็นต้องเรียนรู้ว่าขอบเขตของเขามีอะไรบ้าง ควรให้โอกาสเขาได้ค้นหาด้วยตัวเองและอย่าคาดหวังมากจนเกินไปสำหรับเด็กในวัย เขา
* อธิบายว่าคุณแม่คาดหวังอะไรจากเขาและเตรียมพร้อมเพื่อเตือนความจำของเขา ยกตัวอย่างเช่น เมื่อคุณแม่พาลูกไปหากลุ่มเพื่อนเล่นของลูกในแต่ละอาทิตย์ ให้เตือนลูกวัยหัดเดินว่า “เราจะไม่ผลักหรือตีเพื่อนๆ ในกลุ่มนะจ๊ะ”
* ควรเตรียมพร้อมสำหรับการประนีประนอมในช่วงเวลาที่เหมาะสมเพื่อแสดงให้เห็นว่าคุณเคารพความคิดเห็นของเขา
* คุณแม่ไม่จำเป็นต้องทะเลาะกับลูกในทุกเรื่อง ซึ่งหมายความว่าควรเลือกเฉพาะเรื่องที่สำคัญจริงๆ ในชีวิต และคุณแม่ควรยืนกรานในเรื่องที่สำคัญนั้น
* เมื่อคุณพูดว่าคุณจะทำอะไรก็ตามซึ่งเป็นระเบียบวินัย คุณก็ต้องทำตามที่พูด ยกตัวอย่างเช่น หากลูกวัยหัดเดินทำตัวไม่เหมาะสมที่สวนสาธารณะและคุณได้บอกกับเขาว่าคุณจะพา เขากลับบ้านถ้าหากเขาทำแบบนั้นอีกครั้ง คุณก็ต้องเตรียมพร้อมที่จะออกจากสวนสาธารณะตามที่พูดไว้
* ควรใช้กฎข้อบังคับอย่างสม่ำเสมอ เด็กวัยหัดเดินจำเป็นต้องรู้จุดยืนของเขาเองเพื่อทำความเข้าใจกับสถานการณ์
* คุณแม่สามารถสอนให้ลูกวัยหัดเดินเรียนรู้เรื่องผลที่จะตามมาจากการกระทำของ เขาได้ตั้งแต่ที่เขายังเล็กๆ ยกตัวอย่างเช่น หากเขาเทบล็อกตัวต่อลงบนพื้น เขาก็ต้องช่วยเก็บให้เรียบร้อย
* สิ่งสำคัญที่สุด การสนับสนุนพฤติกรรม ‘ที่เหมาะสม’ ในเชิงบวกเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ที่ดีกว่าการใช้คำพูดในแง่ลบ ดังนั้น ขอให้คุณแม่ชมเชยเขาเยอะๆ แล้วคุณแม่จะได้เห็นผลอันน่าเหลือเชื่อ

หากคุณแม่รู้สึกว่ากำลังมีปัญหากับการกำหนดขอบเขตที่ชัดเจนให้กับลูกวัยหัด เดิน คุณแม่ควรไปปรึกษากับพยาบาลใกล้บ้านเพื่อขอรับความช่วยเหลือและการแนะนำ

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Sunday, August 23, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ศักยภาพสูงสุดของลูกน้อยด้าน พัฒนาการทางสังคม และทางอารมณ์ ( เด็กวัยหัดเดินกับการงอแง )

Posted by wittybuzz at 6:25 AM 0 comments
สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการงอแงของเด็ก

ไม่มีเด็กคนไหนที่หรอกที่จะอารมณ์แปรปรวนจากที่อยู่นิ่งๆ ไปอาละวาดในทันทีทันใด ถ้าคุณมีลูกอยู่ในวัยหัดเดินละก็ คุณก็จะรู้ดีว่าเจ้าหนูวัยสองขวบตัวร้ายงอแงเก่งแค่ไหน การงอแงเป็นผลมาจากการที่เด็กวัยหัดเดินมีความสามารถจำกัดในการรับมือกับ ความหงุดหงิด ข่าวดีก็คือมีขั้นตอนที่คุณแม่สามารถนำไปใช้เพื่อป้องกันการระเบิดอารมณ์ของ เด็กและมีวิธีที่สามารถรับมือกับการงอแงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1. อะไรคือสาเหตุของการงอแง

การงอแงไม่ได้เกิดขึ้นเพราะว่าเด็กวัยหัดเดินจงใจหรือเจตนาไม่เชื่อฟัง หรือเป็นเพราะลูกดื้อรั้นมากๆ เด็กวัยหัดเดินงอแง เพราะว่าเขายังไม่รู้จักที่จะยอมรับความหงุดหงิด เมื่อเขาอยากทำอะไรบางอย่าง แต่ทำไม่ได้ เขาจะรู้สึกท่วมท้นไปด้วยความรู้สึกหมดหนทางและความไม่พึงพอใจ การงอแงเป็นการปลดปล่อยความรู้สึกเหล่านั้นออกมาและ ถือเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นได้กับเด็กวัยหัดเดินทั่วไป โดยส่วนใหญ่แล้วเด็กวัย 2 ขวบมักจะร้องไห้งอแงอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ซึ่งอาจกินเวลาตั้งแต่ 15 ถึง 30 นาที

2. การป้องกันการงอแง

มีขั้นตอนบางอย่างที่คุณแม่สามารถนำไปใช้เพื่อลดการงอแงได้ และต่อไปนี้เป็นคือเทคนิคบางอย่างที่อาจช่วยยับยั้งการงอแงครั้งต่อไปของลูก ได้

* จำกัดการเล่นของเล่นและกิจกรรมต่างๆ ซึ่งน่าดึงดูดใจสำหรับลูกวัยหัดเดินของคุณ แต่มันยากเกินไปสำหรับช่วงวัยของเขา
* สังเกตอาการอ่อนล้าและควรให้ลูกพักผ่อนอย่างเพียงพอ
* คอยสังเกตสัญญาณบ่งบอกที่ว่าลูกได้รับการกระตุ้นมากเกินไปและเมื่อเวลาที่ เขาได้รับการกระตุ้นมากเกินไป ควรเปลี่ยนให้ลูกไปทำกิจกรรมที่นิ่งเงียบมากกว่า
* พยายามพูดคำว่า “ไม่” และ “อย่า” ให้น้อยที่สุด แทนที่จะพูดคำว่า “ไม่” คุณแม่ควรใช้วิธีเบี่ยงเบนความสนใจและให้ตัวเลือกอื่นกับเขา ยกตัวอย่างเช่น สอนให้เขาดมกลิ่นดอกไม้แทนที่จะเด็ดมัน

3. การเผชิญหน้ากับการงอแง

การงอแงจะสิ้นสุดลงเร็วขึ้นหากคุณแม่แค่ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ ในขณะที่เขากำลังงอแง ลูกวัยหัดเดินของคุณจำเป็นต้องอาศัยการควบคุมอารมณ์อันสงบของคุณแม่เพื่อให้ เขารู้สึกปลอดภัย ดังนั้น จึงควรพยายามระลึกไว้อยู่เสมอว่าการงอแงของเด็กนั้น มีจุดประสงค์ การงอแงของเด็กเป็นการปลดปล่อยความขุ่นเคืองใจที่เกิดจากอารมณ์หงุดหงิด ไม่ใช่ว่าเขามีเจตนาร้าย

ในบางครั้งก็ต้องปล่อยให้เด็กวัยหัดเดินได้อยู่เพียงลำพังเพื่อสงบสติอารมณ์ แต่จะต้องไม่อยู่นอกสายตา และเป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆ ในบางครั้ง เพียงแค่โอบกอดลูกน้อยที่กำลังอารมณ์เสียอย่างนุ่มนวลและแสดงถึงความรัก ก็ช่วยให้เขาสงบลงได้ หากเขาเกิดงอแงในที่สาธารณะ ทางที่ดีก็คือควรพาลูกวัยหัดเดินไปยังบริเวณที่เงียบๆ และค่อนข้างเป็นส่วนตัวจนกว่าเขาจะอารมณ์เย็นลง

4. ใจเย็นเข้าไว้คุณแม่


หนึ่งในความท้าทายที่ถือได้ว่าเป็นงานที่ยากที่สุดก็คือ การพยายามทำตัวให้สงบนิ่งทั้งๆ ที่ต้องเผชิญหน้ากับเจ้าตัวเล็กที่กำลังโกรธหัวฟัดหัวเหวี่ยง อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณแม่โกรธตอบกลับไป ก็จะมีแต่ทำให้ลูกยิ่งงอแงนักขึ้น

เมื่อลูกวัยหัดเดินหยุดงอแงแล้ว ควรสร้างความมั่นใจและชมเชยเขาที่เขาสามารถควบคุมอารมณ์ได้ พยายามลืมภาพตอนที่อารมณ์เสียทิ้งไปและหาคำพูดที่สร้างกำลังใจมาพูดให้เขา ฟัง ยิ่งคุณแม่มั่นคงและคิดในเชิงบวกมากเท่าไหร่ในระหว่างและหลังจากที่ลูกงอแง เขาก็ยิ่งควบคุมการระเบิดอารมณ์ได้ง่ายยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Saturday, August 22, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ศักยภาพสูงสุดของลูกน้อยด้าน พัฒนาการทางสังคม และทางอารมณ์ ( เด็กวัยหัดเดินกับทักษะทางสังคม )

Posted by wittybuzz at 5:18 AM 0 comments
ทำความเข้าใจว่าเด็กวัยหัดเดินไม่ได้มีทักษะทางสังคมที่สมบูรณ์แบบมากนัก

เด็กวัยหัดเดินเป็นที่ดึงดูดใจของเด็กที่มีอายุและและขนาดตัวไล่เลี่ยกัน การเล่นกับเด็กคนอื่นเป็นประจำจะช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ซึ่งแสดงถึงความรัก ใคร่ซึ่งจะอยู่ติดตัวเขาไปนานแสนนาน

แน่นอนว่าเด็กวัยหัดเดินเป็นวัยที่เพิ่งเริ่มเรียนรู้ทักษะทางสังคม เด็กอายุ 18 เดือนคงไม่เข้าใจทัศนคติของคนอื่นได้ดีนัก และจะใช้เวลาหลายปีกว่าที่พวกเขาจะสามารถแบ่งของเล่นร่วมกับคนอื่นได้ รู้จักยุติข้อขัดแย้งและเคารพความต้องการและสิทธิของผู้อื่น ดังนั้น เมื่อเด็กวัยหัดเดินหลายๆ คนอยู่ด้วยกัน คุณพ่อคุณแม่คาดหวังได้ว่าพฤติกรรมทางสังคมของเด็กวัยหัดเดินจะปรากฏให้เห็น

1. การเริ่มต้นของเด็กวัยหัดเดิน
เด็กวัยหัดเดินมักจะแค่ยืนดูเด็กคนอื่นๆ เล่น วิธีที่ดีที่สุดก็คืออย่ากดดันให้เขาออกไปเล่น การเฝ้ามองเป็นวิธีการเรียนรู้ซึ่งกันและกันของเด็ก
2. การเล่นที่เหมือนกัน
เด็กวัยหัดเดินที่ยังเล็กๆ มักจะเล่นอะไรที่คล้ายๆ กันอยู่ใกล้ๆ กัน ถึงแม้ว่าเขาจะดูเหมือนว่าเล่นอยู่คนเดียว แต่เขาก็อาจรับรู้ได้ดีว่ามีคนอื่นอยู่ด้วย บ่อยครั้งที่เขามักลอกเลียนแบบกัน และบางทีเขาอาจมีความรู้สึกถึงความเป็นเพื่อนซึ่งจะเป็นพื้นฐานของการเล่น ร่วมกันในภายหลัง
3. ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
เมื่อเด็กคนหนึ่งเจ็บ เด็กคนอื่นๆ อาจร้องไห้ด้วยความสงสาร เพื่อนคนหนึ่งจะเรียกเพื่อนทั้งกลุ่มมามุงดูเพื่อนที่หัวเขาถลอกและทุกคน ต่างร้องไห้ไปด้วยกัน และคุณพ่อท่านหนึ่งบอกกับเราว่าประโยคแรกที่ลูกสาวของเขาพูดได้คือ “โจอี้ร้องไห้” ซึ่งเธอพูดเมื่อเพื่อนเล่นวัยหัดเดินของเธอตื่นจากนอนกลางวัน
4. การจิ้ม การผลัก และการตี
เด็กวัยหัดเดินมักไม่เข้าใจว่าการกระทำของเขาอาจทำให้คนอื่นเจ็บได้ พวกเขามีแนวโน้มที่จะทำเหมือนกับว่าเด็กวัยหัดเดินคนอื่นๆ เป็นสิ่งของ เมื่อเขาจิ้มหรือตีเพื่อน ผู้ใหญ่ต้องบอกเขาอย่างนุ่มนวลให้หยุดทำพฤติกรรมก้าวร้าวนั้นทันที และจากนั้นจึงเปลี่ยนให้เด็กเล่นอะไรที่เป็นมิตรกันมากขึ้น
5. การแย่งของเล่น
เด็กวัยหัดเดินยังไม่รู้จักการแบ่งปันอย่างแท้จริง เมื่อเขาเห็นของเล่นวางอยู่บนชั้น เด็กวัยหัดเดินจะปีนขึ้นไปหยิบมันลงมา เมื่อเขาเห็นของเล่นอยู่ในมือของเด็กคนอื่น เขาก็จะทำแบบเดียวกัน เด็กในวัยนี้ยังไม่รู้จักการเห็นแก่ตัวหรือละโมบ เขาก็เป็นแค่เด็กวัยหัดเดินตัวเล็กๆ คนหนึ่ง เด็กวัยหัดเดินควรได้รับการสอนว่าอย่าแย่งของเล่นที่คนอื่นกำลังเล่นอยู่ คุณแม่อาจนำของเล่นที่ลูกแย่งมาไปคืนให้เจ้าของ และบอกกับลูกว่า “เมื่อซาร่าเล่นรถบรรทุกเสร็จแล้ว ลูกค่อยเล่นต่อนะจ๊ะ” เมื่อเด็กคนแรกเล่นเสร็จแล้ว คุณแม่ก็อย่าลืมให้โอกาสเด็กคนที่สองได้เล่นต่อด้วย เมื่อเด็กวัยหัดเดินมีเพื่อนๆ มาเยี่ยม คุณแม่อาจต้องแจกของเล่นแบบเดียวกันให้ทุกคน เพราะการแบ่งปันถือเป็นเรื่องยากมากสำหรับเด็กวัยนี้


เหนือสิ่งอื่นใดคือควรมีความอดทนต่อเพื่อนวัยหัดเดินและสังเกตถึงการแสดง ความรักใคร และความขัดแย้งในการเล่นของพวกเขา หากคุณเฝ้ามองสิ่งที่เกิดขึ้นในเชิงบวก สิ่งที่เกิดขึ้นในเชิงลบจะดูเหมือนว่ามีความสำคัญที่น้อยกว่า อาจต้องใช้เวลาหลายปีเพื่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม แต่คุณสามารถมอบการเริ่มต้นที่ดีให้กับลูกวัยหัดเดินของคุณได้ในตอนนี้

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Friday, August 21, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ศักยภาพสูงสุดของลูกน้อยด้าน พัฒนาการทางสังคม และทางอารมณ์ ( การจัดการเมื่อเจ้าตัวน้อยโกรธ )

Posted by wittybuzz at 5:14 AM 1 comments
ลูกของคุณมักมีอารมณ์แปรปรวนราวกับพายุหรือ เปล่า หรือว่าอารมณ์ของเขาเปลี่ยนแปลงง่ายราวกับสายลมไหม คุณกลัวหรือไม่ที่เขาโกรธหรือหงุดหงิดกับเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เกินกว่าระดับที่เหมาะสมหรือระดับปกติ

คุณพ่อคุณแม่อุ่นใจได้ ความโกรธเป็นอารมณ์ปกติที่เด็กเล็กทุกคนต้องเคยรู้สึก แม้ว่าความโกรธจะทำให้คนที่ตกเป็นเป้าหมายเกิดความเครียดได้อย่างมาก เช่น คุณพ่อคุณแม่และพี่น้อง แต่อันที่จริงแล้ว การโกรธมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาของมนุษย์ ตามคำกล่าวของดร. เวอร์จิเนีย ชิลเลอร์ PhD นักจิตวิทยาคลินิกที่ได้รับการอนุญาตอย่างถูกต้องและผู้เขียนหนังสือเรื่อง Rewards for Kids! Ready-to-Use Charts & Activities for Positive Parenting

“อารมณ์โกรธสามารถผลักดันให้เรามีความมั่นใจมากขึ้นและพยายามให้ความต้องการ ของตนเองได้รับการตอบสนอง และเมื่อเวลาผ่านไป อารมณ์โกรธจะแปรเปลี่ยนไปเป็นการทะเลาะเบาะแว้งในเรื่องที่สำคัญต่อครอบครัว เพื่อน และชุมชน ในระยะยาว ถ้าหากเราไม่มีการทะเลาะเบาะแว้งเล็กๆ น้อยๆ เราก็อาจจะไม่สามารถยกระดับความรับผิดชอบและอิทธิพลของเราให้สูงขึ้นได้” ดร. เวอร์จิเนียกล่าว

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ในการที่จะเปลี่ยนให้อารมณ์โกรธกลายเป็นแรงผลักดันในเชิงบวกนั้น เด็กจะต้องเรียนรู้ที่จะแสดงอารมณ์โกรธในรูปแบบที่เหมาะสม คุณพ่อคุณแม่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการเข้าสังคมนี้ “คุณพ่อคุณแม่เป็นได้ทั้งต้นแบบที่ดีและสามารถสอนลูกถึงการแสดงอารมณ์โกรธ อย่างเหมาะสม และสามารถขัดจังหวะเวลาเด็กแสดงอารมณ์โกรธอย่างเป็นฟืนเป็นไฟ โดยใช้วิธีอย่างสร้างสรรค์ได้” ดร. เวอร์จิเนียอธิบาย

ช่วงเวลาที่สามารถสั่งสอนเขาได้

คุณพ่อคุณแม่มักมีโอกาสขัดจังหวะเวลาที่ลูกแสดงอารมณ์โกรธ ดร. เวอร์จิเนียกล่าวว่าหากลูกทะเลาะกับพี่น้องหรือเพื่อนเรื่องของเล่น และผลักหรือตีคนอื่นเพื่อให้ได้ของเล่นนั้นมา คุณพ่อคุณแม่สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในเชิงลบนี้ให้เป็นประสบการณ์เรียน รู้ในเชิงบวกได้ โดยสอนลูกถึงวิธีการที่ดีกว่าเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ เช่น การผลัดกันเล่นและรู้จักแบ่งปัน คุณพ่อคุณแม่สามารถแนะนำแนวทางให้ลูกจัดการกับอารมณ์โกรธในวิธีที่สร้าง สรรค์ได้ คุณพ่อคุณแม่อาจแสดงบทบาทเป็นเพื่อนเล่นของเขาและฝึกหัดลูกด้วยการร้องแบ่ง ของเล่นจากเขา

หากลูกๆ เกิดทะเลาะกัน คุณพ่อคุณแม่สามารถเข้าไปเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ได้ก่อนที่เรื่องจะลุกลามใหญ่ โต “อธิบายให้ลูกฟังว่าทำไมเขาถึงไม่ควรจิ้มนิ้วตาน้อง ในขณะเดียวกันก็ค่อยๆ ดึงตัวน้องออกมา พยายามอย่าโกรธลูก เพื่อว่าทั้งคุณแม่และลูกจะได้สามารถแยกแยะระหว่างอารมณ์และการกระทำได้ และควรแนะนำวิธีอื่นๆ สำหรับจัดการกับสถานการณ์ที่ทำให้ลูกโกรธ” กล่าวโดยเดบาร่า กิลเบิร์ต โรเซนเบิร์ก นักสังคมสงเคราะห์ในคลินิกที่ได้รับใบอนุญาตอย่างถูกต้อง นักจิตบำบัด และผู้เขียนเรื่อง The New Mom's Companion: Care for Yourself While You Care for Your Newborn

ถึงแม้ว่าจุดมุ่งหมายสูงสุดคือการยับยั้งการแสดงพฤติกรรมที่รับไม่ได้ เช่น ความรุนแรงและความเกรี้ยวกราด แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ควรระลึกอยู่เสมอว่า ไม่ควรห้ามไม่ให้ลูกรู้สึกโกรธเลย นอกจากนั้น การที่ลูกแสดงอารมณ์โกรธออกมายังช่วยให้คุณพ่อคุณแม่รับรู้ถึงอารมณ์ในด้าน ลบของลูก และคุณพ่อคุณแม่จะได้พูดให้ลูกฟังว่าอารมณ์ที่ลูกกำลังรู้สึกอยู่นั้นคือ อะไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเขายังพูดไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น คุณพ่อคุณแม่อาจพูดว่า “ลูกโกรธมากเลยที่โจอี้เอาของเล่นไปจากหนู” จากนั้นจึงตามด้วยการให้คำแนะนำว่าเขาสามารถทำอะไรได้ในตอนนี้ เช่น “ไปหาของเล่นอื่นมาเล่นกันดีกว่านะจ๊ะ”

“คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่ที่มีลูกวัยหัดเดินรู้อยู่แล้วว่าถ้าพูดว่า 'ลองเล่าให้แม่ฟังซิจ๊ะ' กับเด็กที่กำลังโกรธอยู่ จะเป็นการกระตุ้นให้เขาระบายความรู้สึกออกมาเป็นคำพูดแทนที่จะหันไปใช้กำลัง ” เดบาร่ากล่าว

นอกจากนั้น คุณพ่อคุณแม่ยังอาจคิดแผนสร้างแรงจูงใจ โดยให้รางวัลเล็กๆ น้อยๆ กับลูกเวลาที่เขาผลัดกันเล่นหรือแบ่งกันเล่นแทนที่จะชกต่อยหรือแย่งชิงกัน ดร. เวอร์จิเนียกล่าวเพิ่ม ในระยะยาว วิธีนี้จะช่วยสร้างแรงจูงใจให้เด็กพยายามผลัดกันเล่นของเล่นมากขึ้น

หากคุณพ่อคุณแม่รู้สึกว่าลูกระเบิดอารมณ์โกรธออกมาจนเกินการควบคุม โกรธอย่างต่อเนื่อง อย่างรุนแรง และ/หรืออาจเป็นอันตรายได้ คุณพ่อคุณแม่ควรหาความช่วยเหลือจากผู้อื่นจะดีที่สุด เดบาร่ากล่าว “คุณพ่อคุณแม่อาจรู้สึกอุ่นใจเมื่อรู้ว่าลูกของตัวเองปกติสมบูรณ์ดี แต่คุณพ่อคุณแม่ยังอาจค้นพบด้วยว่าการให้ความสนับสนุนและการชี้นำแก่ลูกก็ เป็นสิ่งสำคัญสำหรับครอบครัวเช่นเดียวกัน“

การค้นหาวิธีแก้ปัญหา


คริสติน ดามิโก ครูฝึกสอนส่วนตัวและผู้เขียนเรื่อง The Pregnant Woman's Companion กล่าวว่าคุณพ่อคุณแม่สามารถให้ความช่วยเหลืออย่างสร้างสรรค์แก่เด็กเพื่อ จัดการกับความโกรธได้โดยอย่าทำให้เขาอับอายหรืออย่าบอกเขาว่าความโกรธเป็น เรื่องที่ผิด เด็กจำเป็นต้องเรียนรู้ถึงวิธีการจดจำว่าอะไรคือสิ่งที่ทำให้เขาโกรธและจาก นั้นจึงตอบสนองในเชิงสร้างสรรค์

คริสตินกล่าวว่า ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะพยายามอธิบายเหตุผลให้ลูกฟังในขณะที่เขากำลังโกรธ เป็นฟืนเป็นไฟ “ควรปล่อยให้เขาอารมณ์เย็นลงก่อน และปล่อยให้เขาทำอะไรก็ได้ตามใจเขาในเวลาที่เขากำลังโกรธ คุณแม่อาจพาเขาเข้าห้องเพื่อสงบสติอารมณ์ หรือคุณแม่อาจนั่งกับเขาในขณะที่เขาระบายความโกรธออกมา” เธออธิบาย เมื่อลูกอารมณ์เย็นลงแล้ว คริสตินแนะนำให้คุณแม่คุยกับลูกว่าอะไรที่ทำให้เขาโกรธ ช่วยให้เขามองสถานการณ์อย่างรอบด้าน พยายามคิดหาทางเลือกใหม่ๆ ด้วยกัน ซึ่งทางเลือกนี้ต้องสนองความต้องการของทุกคนที่เกี่ยวข้องในสถานการณ์นั้น เธอกล่าวว่าคุณพ่อคุณแม่ยังสามารถพูดคุยกับลูกถึงวิธีการแสดงอารมณ์โกรธที่ เหมาะสมได้ด้วย บอกกับเขาว่าสิ่งที่เขาทำนั้น เป็นพฤติกรรมที่ไม่น่ารักเลยและการทำพฤติกรรมอย่างนั้นเป็นการไม่ให้เกียรติ ตัวเองและผู้อื่น

การอ่านหนังสือที่มีตัวละครที่ต้องจัดการกับอารมณ์โกรธ ก็สามารถช่วยให้เด็กเข้าใจว่าเขาไม่ได้รู้สึกแบบนี้คนเดียว ได้ หนังสือเรื่อง When I Wished I Was Alone ซึ่งเขียนและวาดภาพประกอบโดยเดฟ คัตเลอร์ ก็เป็นตัวอย่างที่ดี หนังสือเล่มนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับเด็กผู้ชายคนหนึ่งที่โกรธมาก และเนื้อเรื่องจะพูดถึงว่าความโกรธเป็นยังไงและจะระงับอารมณ์โกรธได้ยังไง คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้หนังสือเล่มนี้เป็นจุดเริ่มต้นในการพูดถึงอารมณ์โกรธ กับลูกน้อยก็ได้

การควบคุมของคุณพ่อคุณแม่


คุณพ่อคุณแม่มักเป็นต้นแบบในเรื่องวิธีจัดการกับความโกรธให้เด็กเห็นอยู่ เสมอ ถึงแม้ว่าคุณพ่อคุณแม่ส่วนมากจะไม่รู้ตัวก็ตาม “หากคุณพ่อคุณแม่ตะโกนใส่กัน ด่าว่ากัน ตะโกนใส่ลูกๆ และระเบิดอารมณ์เกรี้ยวกราดหรือขว้างปาของใส่กัน ลูกๆ ก็จะเรียนรู้ว่าการระเบิดอารมณ์โกรธเป็นฟืนเป็นไฟเป็นวิธีที่ยอมรับได้ในการ จัดการกับอารมณ์โกรธเดบาร่ากล่าว

เธอแนะนำว่าคุณพ่อคุณแม่สามารถเรียนรู้เพื่อจัดการกับอารมณ์โกรธของตัวเอง ได้ และในบางโอกาสควรปล่อยให้เด็กๆ ได้เห็นวิธีการแสดงอารมณ์โกรธอย่างเหมาะสม (ถึงอย่างไรก็ตาม ไม่ควรปล่อยให้เด็กเห็นคุณพ่อคุณแม่ทะเลาะกันบ่อยนัก) หากลูกเห็นคุณพ่อคุณแม่แสดงอารมณ์โกรธโดยไม่ต้องด่าทอกันหรือใช้ความรุนแรง เขาก็เรียนรู้ที่จะทำแบบเดียวกันนี้

“คุณพ่อคุณแม่มีบทบาทสำคัญ” คริสตินกล่าว “คุณพ่อคุณแม่สามารถสอนให้ลูกรู้ว่าการแสดงความโกรธหรือความหงุดหงิดแบบไหน ใช้ได้และแบบไหนใช้ไม่ได้ คุณพ่อคุณแม่สามารถสอนเรื่องนี้ให้ลูกได้ด้วยการพูดให้เขาฟัง รวมถึงวิธีการที่คุณพ่อคุณแม่แสดงออกเวลาที่โกรธด้วย” เธอยังกล่าวต่อไปอีกว่า “เราเป็นต้นแบบให้เด็กเห็นว่าการโกรธเป็นอย่างไรและจะตอบสนองต่อความโกรธ อย่างไร ลูกของเรามักลอกเลียนแบบการแสดงออกเขาเราไปใช้ในพฤติกรรมการแสดงความโกรธของ เขาเอง”

“เราแทบจะไม่เห็นเด็กที่มีอารมณ์โกรธถึงขนาดที่ควบคุมไม่ได้ในครอบครัวที่ จัดการกับความโกรธในวิธีที่สร้างสรรค์และไม่ทำร้ายจิตใจกัน” เดบาร่ากล่าวสรุปว่า “คุณพ่อคุณแม่สามารถแสดงให้ลูกได้เห็นว่า ถึงแม้ว่าเราจะรักใครบางคน แต่เราก็อาจไม่เห็นด้วยกับเขาหรือโกรธเขาในแบบที่น่ารักๆ ก็ได้ ซึ่งจะเป็นบทเรียนที่ประมาณค่ามิได้สำหรับเด็ก”

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท
 

Mama And Baby Care Copyright © 2009 Baby Shop is Designed by Ipietoon Sponsored by Emocutez