A Blogger by Beamcool

Sunday, July 26, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ศักยภาพสูงสุดของลูกน้อยด้าน ภาษา ( การพูดช้า )

Posted by wittybuzz at 10:39 AM
“หนู...นม!” ลูกชายคนโตของฉันพูดตอนช่วงประมาณ 3 ขวบและแน่นอนความหมายก็คือ “หนูอยากกินนม” ฉันไม่อยากจะเชื่อเลยว่าลูกชายอายุ 10 ขวบของฉันที่ตอนนี้พูดได้อย่างชัดถ้อยชัดคำนั้น ครั้งหนึ่งเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเด็กพูดช้า แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ตอนนั้นฉันรู้สึกทรมานใจมากเวลาที่เห็นว่าความสามารถในการออกเสียงของลูกล้า หลังกว่าเพื่อนของเขามาก เมื่อเขาอายุได้ 2 ขวบ เด็กรุ่นราวคราวเดียวกับเขาสามารถพูดประโยคที่มี 2 คำได้ ในขณะแต่ฉันกลับกำลังนั่งเขียนคำ 4 หรือ 5 คำที่ดูเหมือนว่าเขาจะเข้าใจและออกเสียงได้อย่างหมดหวัง

การพูดช้าหรือใช้ภาษาได้ช้าไม่ใช่เรื่องปกติ ซึ่งจะมีตั้งแต่เด็กที่ออกเสียงหนึ่งแทนที่อีกเสียงหนึ่ง (ยกตัวอย่างเช่น ออกเสียง ท แทนเสียง ค) ไปจนถึงเด็กที่ไม่สามารถใช้หรือเข้าใจภาษาได้เลย วิธีการที่ใช้บำบัดอาการพูดช้านี้ ขึ้นอยู่กับทั้งปัญหาเฉพาะทางและสาเหตุที่ซ่อนเร้นอยู่

สาเหตุทั่วไป

หากเราไม่ได้ยินว่าคำๆ หนึ่งออกเสียงอย่างไร เราก็จะไม่สามารถออกเสียงนั้นได้อย่างถูกต้อง ด้วยเหตุนี้ จึงไม่ประหลาดใจเลยว่าปัญหาทางการได้ยินนั้นเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาในการ สื่อสาร การสูญเสียการได้ยินมีอยู่ 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่

การนำเสียงเสีย เป็นผลจากอาการใดๆ ก็ตามที่ก่อให้เกิดการขัดขวางการถ่ายทอดเสียงผ่านทางหูชั้นนอกและหูชั้นกลาง การติดเชื้อแบคทีเรีย ขี้หูอุดตันอยู่ในท่อหู หรือเยื่อแก้วหูเสียหาย โดยปกติแล้ว แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านหู จมูกและคอจะสามารถบำบัดปัญหาการนำเสียงเสียนี้ได้
การสูญเสียการได้ยินชนิดประสาทนำเสียงบกพร่องจะเกิดขึ้นเมื่อหูชั้นในหรือ เส้นประสาทที่เกี่ยวข้องกับการฟังได้รับความเสียหาย การสูญเสียทางการได้ยินประเภทนี้สามารถวินิจฉัยได้ในไม่ช้าหลังจากที่เด็ก คลอด และได้มีโปรแกรมตรวจคัดกรองจัดให้บริการที่ Ontario, New Brunswick, PEI, BC และ Yukon ตามเว็บไซต์ของ Hearing Foundation of Canada เมื่อเด็กได้รับการวินิจฉัยและบำบัดรักษาอาการสูญเสียการได้ยินในช่วงอายุ ก่อน 6 เดือนแล้ว ระดับความสามารถทางภาษาของพวกเขาจะสูงขึ้น โดยไม่มีหลักฐานแสดงว่าเด็กมีพัฒนาการล่าช้าในเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยหลัง จากวัย 6 เดือน

แต่ความล่าช้าในการใช้ภาษาไม่ได้เป็นผลมาจากความผิดปกติทางการได้ยินเสมอไป ในเด็กบางคน ระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ ที่มีหน้าที่ด้านการสื่อสาร ในบางครั้งต้องใช้เวลานานกว่าปกติจึงจะพัฒนาอย่างเต็มที่ ลูกชายของฉันเป็นเด็กคนหนึ่งที่มี “ปัญหาพัฒนาการล่าช้า”

ประเภทปัญหาทางการสื่อสาร โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งเป็นสองประเภท

ความล่าช้าทางด้านการแสดงออกทางภาษาจะเกิดขึ้นเมื่อเด็กสื่อสารด้วยคำพูด ลำบาก เด็กอายุ 2 ขวบที่พูดได้แค่ 1 หรือ 2 คำ หรือเด็กที่พูดได้มาก แต่ทำความเข้าใจลำบาก ทั้งสองตัวอย่างนี้เป็นความล่าช้าทางด้านการแสดงออกทางภาษา

กาเบรียลจาก Ontario Canada เคยได้รับการวินิจฉัยว่ามีความล่าช้าทางด้านการแสดงออกทางภาษาเมื่อเขาอายุ ได้ 18 เดือน เลสลี่ ฮอดจ์ซึ่งเป็นคุณแม่ของเขาได้สังเกตเห็นถึงความผิดปกตินี้โดยเปรียบเทียบกับ เด็กรุ่นราวคราวเดียวกับเขา และดูเหมือนว่ากาเบรียลจะพูดอะไรไม่ได้เลยสักคำ และด้วยความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านการพูดซึ่งให้กาเบรียลปฏิบัติร่วม กับครอบครัวของเขาเพื่อเรียนรู้การออกเสียงพยัญชนะและ “เพื่อจดจำว่าเสียงเหล่านั้นอยู่ในจุดใดของคำพูด” เลสลี่กล่าวว่า ในขณะนี้กาเบรียลอายุ 9 ขวบแล้วและเขาก็ทำได้ดีทีเดียว “ตอนนี้เขาอ่านหนังสือได้แล้ว” เลสลี่กล่าว “ถึงเขาจะอ่านหนังสือได้ต่ำกว่าระดับป. 4 แต่เขาก็อ่านได้”

ความล่าช้าในการรับรู้ภาษาส่งผลกระทบต่อความสามารถของเด็กในการเข้าใจความ หมายของข้อความที่พูดออกไปหรือในการปฏิบัติตามคำสั่ง “เด็กที่อายุ 2 ขวบแล้วแต่ยังไม่สามารถแยกแยะส่วนต่างๆ ของร่างกายได้” เป็นตัวอย่างของความล่าช้าทางภาษาในประเภทนี้ บาซิลิกี้ พาสสาเรตติ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาในแฮมมิตัน อธิบาย

เดวิด แมคโดนัลด์ *เด็กก่อนวัยเรียนในเมืองแฮมมิงตัน ไม่เข้าใจคำถามอย่างเช่น “คนในภาพกำลังทำอะไรอยู่” หรือ “ลูกบอลอยู่ที่ไหน” และไม่สามารถตอบสนองต่อคำถามเหล่านี้ได้อย่างถูกต้อง หลังจากการบำบัดอยู่หลายสัปดาห์ ซึ่งเขาได้เข้าร่วมกิจกรรมที่ต้องใช้ปฏิสัมพันธ์ผ่านทางการเล่น เช่น เกมบันไดงู ในแบบพิเศษที่ผู้เล่นจะได้ฝึกถามและตอบคำถามในแบบธรรมชาติโดยใช้คำศัพท์จาก เกมนั้น ซึ่งเดวิดเรียนรู้การตอบคำถามที่ว่า “อะไร” และ “ที่ไหน” ได้อย่างถูกต้อง และตอนนี้เขากำลังทำความเข้าใจกับคำว่า “ใคร” “ทำไม” และ “อย่างไร”

จะทำอย่างไรดี

จะทำเช่นไรหากคุณแม่คิดว่าลูกของตัวเองมีปัญหาพูดช้าหรือใช้ภาษาได้ช้า คุณแม่สามารถไปติดต่อกับทางโรงเรียนสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนที่ให้บริการทาง ด้านการพูดและภาษาได้ นอกจากนั้น คุณแม่ยังสามารถเข้าพบกับแพทย์ประจำครอบครัวเพื่อรับการประเมินและส่งตัวต่อ ไปรับบริการภายในชุมชนที่อยู่ใกล้บ้านที่สุด

ซานดร้า เซเจล กุมารแพทย์ได้ให้กำลังใจแก่คุณพ่อคุณแม่ที่กังวลในเรื่องของทักษะการสื่อสาร ของลูกเพื่อจัดการปัญหาตั้งแต่เนิ่นๆ “เพราะการค้นพบปัญหาตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้รักษาได้ง่ายหากเด็กมีปัญหาเพียงแค่พัฒนาทักษะทางการพูดและการใช้ ภาษาช้าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่หากปล่อยไว้ปัญหาก็จะลุกลาม หรืออาจมีปัญหาเกิดขึ้นมากไปกว่านั้น” ซานดร้ารู้สึกได้ว่าหากเด็กมีพัฒนาการทางภาษาล่าช้าไปสักเล็กน้อย แต่มีพัฒนาการด้านอื่นที่สำคัญๆ นั่นก็นับเป็นเรื่องดี การวินิจฉัยตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้ทราบว่าเด็กมีพัฒนาด้านอื่นล่าช้าหรือไม่ เช่น ทักษะทางสังคมและการพัฒนาการเคลื่อนไหว “มีเด็กจำนวนมากมายที่ปัญหาลุกลามยิ่งขึ้นเมื่อเขาโตขึ้น” ซานดร้ากล่าว

การพาลูกเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ช่วยครอบครัวของฉันได้มากทีเดียว เขาเริ่มตั้งแต่กลิ้งลูกบอลอย่างช้าๆ ในตอนแรก และก็เริ่มกลิ้งแรงมากขึ้น และในตอนนี้ดูเหมือนว่าเขาจะไม่หยุดอยู่นิ่งๆ เลย ในทุกวันนี้ฉันเฝ้าคอยอย่างกระตือรือร้นเพื่อจะได้พูดคุยกับลูกชายของฉันใน ช่วงเย็น ฉันชอบนั่งที่ขอบเตียงนอนของเขาในตอนกลางคืนและฟังลูกเล่าให้ฟังเรื่องเคล็ด ลับการเล่นสเกตบอร์ดใหม่ๆ ที่เขาได้เรียนรู้มาและฟังเขาเล่าว่าอะไรทำให้เขามีความสุขบ้าง และนั่นเป็นการพัฒนาที่คุ้มค่าที่จะพูดถึง

ก้าวต่อไปสำหรับการพูด

ลูกของคุณมีพัฒนาการในการสื่อสารที่สมวัยหรือไม่ Early Words ซึ่งเป็นบริการทางด้านการพูดและภาษาสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนในเมืองแฮมมิลตัน ได้เสนอแนวทางการพัฒนาทางภาษาไว้ดังนี้

วัย 1 ปี

* พูดคำแรกได้
* ทำตามคำสั่งอย่างง่ายๆ ได้
* แสดงท่าทางและ/หรือเปล่งเสียงเพื่อแสดงถึงสิ่งที่เขาต้องการได้

วัย 1 ปีครึ่ง

* พูดได้ประมาณ 50 คำ
* ใช้การเชื่อมต่อเสียงที่เป็นเสียงคล้ายกับประโยคในภาษาต่างประเทศได้
* เริ่มเข้าใจหมวดหมู่ต่าง ๆ เช่น อาหาร ของเล่น สัตว์ และเสื้อผ้า

วัย 2 ปี

* พูดได้ 200 ถึง 250 คำ
* พูดประโยคแบบ 2 คำได้
* ทำตามคำสั่ง 2 ขั้นตอนได้
* ใช้คำปฏิเสธได้ เช่น “ไม่” โดยผสมเข้ากับคำอื่นๆ ได้

วัย 3 ปี

* รู้คำศัพท์เยอะขึ้นกว่าเดิมมาก
* ใช้รูปพหูพจน์ได้
* ทำตามคำสั่งที่ยาวกว่าสองถึงสามขั้นตอนได้

อายุ 3 ปีครึ่ง

* พูดเป็นประโยค 4 – 5 คำได้
* ถามคำถามโดยใช้คำว่า “อะไร” “ที่ไหน” “ใคร” และ “ทำไม” ได้
* สามารถนับจำนวนสิ่งของได้สูงสุด 3 สิ่งและแยกแยะสีพื้นฐานได้

วัย 4 ปี

* พูดเป็นประโยคที่สมบูรณ์โดยมี 5 คำขึ้นไป
* ใช้รูปประโยคอดีตกาลที่ลงท้ายด้วย “ed” ได้
* สนใจและสามารถฟังเรื่องยาวๆ ได้


เคล็ดลับในการพูด

คุณแม่จะลดความวิตกกังวลไปได้โดยการเล่นสนุกกับภาษา คุณแม่ควรทดลองใช้เคล็ดลับต่างๆ เหล่านี้ที่ได้มาจาก University of Michigan Healthy System เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ภาษาของลูก

1. เริ่มคุยกับลูกตั้งแต่แรกเกิด และตอบสนองเขาเวลาที่เขาทำเสียงกระซิบกระซาบหรือเวลาที่เขาอ้อแอ้
2. เล่นเกมง่ายๆ กับเขา เช่น เกมจ๊ะเอ๋และเต้นไปตามจังหวะเพลง
3. ฟังเขาพูดและมองเขาเวลาที่เขาพูดกับคุณ
4. อธิบายให้เขาฟังว่าเขากำลังทำอะไรอยู่ รู้สึกอย่างไรและกำลังได้ยินอะไรตลอดทั้งวัน
5. กระตุ้นให้เขาเล่านิทานและเล่าข้อมูลอะไรก็ตามให้คุณฟัง
6. อย่าพยายามบังคับให้เขาพูด
7. อ่านหนังสือดังๆ ถามคำถามกับเขา (“ลูกคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไปจ๊ะ)
8. ร้องเพลงให้เขาฟังและหาเสียงดนตรีให้เขาฟัง
9. ขยายความในสิ่งที่ลูกพูด ยกตัวอย่างเช่น หากเขาพูดว่า “หมา!” คุณแม่ก็อาจพูดต่อว่า “ใช่จ๊ะ หมาตัวใหญ่กำลังวิ่ง”
10. ดูภาพถ่ายของครอบครัวกับเขาและพูดถึงแต่ละคนในภาพ
11. ตอบลูกทุกครั้งที่เขาพูดเพื่อเป็นรางวัลที่เขาพูด
12. อย่าตำหนิถ้าเขาใช้ไวยากรณ์ผิด คุณแม่แค่ทำตัวเป็นต้นแบบใช้ไวยากรณ์ให้ถูกต้องก็พอ
13. เล่นกับลูกสองต่อสอง และพูดคุยเกี่ยวกับของเล่นและเกมที่กำลังเล่นกันอยู่


ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

0 comments:

Post a Comment

 

Mama And Baby Care Copyright © 2009 Baby Shop is Designed by Ipietoon Sponsored by Emocutez