A Blogger by Beamcool

Thursday, July 2, 2009

การเจ็บท้องและการคลอด - ระยะที่สองของการเจ็บ ท้องคลอด

Posted by wittybuzz at 5:11 AM

ระยะที่สองของการเจ็บท้องคลอดจะเริ่มขึ้นเมื่อปากมดลูกขยายตัวอย่าง เต็มที่แล้ว และจบลงด้วยการคลอดเสร็จสิ้น ระยะนี้อาจใช้เวลาไม่กี่นาที จนถึงสองสามชั่วโมง

คุณแม่จะทราบว่าเข้าสู่ระยะที่สองแล้วเมื่อมีความรู้สึกว่าต้องออกแรงเบ่ง อย่างมาก หากคุณแม่ถูกบล็อกหลัง ก็อาจไม่รู้สึกอยากเบ่งมากนัก หรืออาจไม่รู้สึกเลย ความรู้สึกเช่นนี้เรียกว่า “การเบ่ง” พยาบาลจะช่วยบอกคุณแม่ว่าควรทำอย่างไรหากคุณแม่ไม่รู้สึกอยากเบ่ง

ในการเบ่งนั้น คุณแม่อาจรู้สึกว่าจำเป็นต้องกลั้นลมหายใจ แต่อย่ากลั้นนานจนเกินไป ควรฟังและทำตาม ที่พยาบาล แนะนำ ซึ่งพยาบาลอาจบอกให้คุณหยุดเบ่ง เนื่องจากปากมดลูกบางส่วนยังปิดอยู่ เมื่อปากมดลูกขยายแล้ว คุณแม่ก็ พร้อมที่จะเบ่งได้ หรือไม่พยาบาลอาจเห็นว่าจุดเพอริเนียม ซึ่งเป็นผิวหนังที่อยู่ระหว่างช่องคลอดและทวารหนักมีการ ยืดตัวอย่างมากและเพื่อป้องกันไม่ให้ผิวหนังบริเวณนี้ฉีกขาด พยาบาลอาจบอกให้คุณแม่ “หายใจเบ่งลูกออกมา” โดยหายใจออกเบาๆ

คุณแม่บางคนอาจไม่รู้สึกว่าอยากเบ่ง แม้ว่าจะไม่ได้รับการบล็อกหลังก็ตาม ซึ่งบางทีเด็กอาจไหลออกมาเองเลย ซึ่ง กรณีดังกล่าวจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อคุณแม่เคยผ่านการคลอดบุตรมาหลายครั้งแล้วเท่านั้น

ภาพลูกแวบแรก

เมื่อเริ่มเห็นศีรษะของเด็กอย่างชัดเจนที่ปากช่องคลอด จะเรียกว่า “คราวนิ่ง (Crowning)” หากคุณแม่หรือคนที่อยู่ในห้องคลอดด้วยสามารถถือกระจกเงาส่องได้ คุณแม่ก็จะได้เห็นช่วงเวลานี้ เมื่อมดลูกบีบตัวอีกครั้งหรือสองครั้ง ศีรษะของเด็กจะออกมาก่อน จากนั้นส่วนตัวที่เหลือก็จะตามออกมา

พยาบาลจะยกศีรษะของเด็กขึ้นอย่างนุ่มนวลแล้ววางเขาลงบนแขนหรือหน้าท้องของ คุณแม่ เพื่อที่คุณจะมองเห็นเขาได้อย่างชัดเจน และจะได้ทักทายเขา

ควรอยู่ในท่าใดจึงจะดีที่สุด

ในระหว่างที่มดลูกบีบตัวนั้น คุณแม่จะอยู่ในท่าใดก็ได้ที่รู้สึกว่าสบายที่สุด และเป็นท่าที่เด็กสามารถคลอดออกมาได้อย่างปลอดภัย

* ท่ายืนย่อเข่าโดยมีสิ่งช่วยพยุงตัวจะช่วยให้เชิงกรานเปิดกว้าง และแรงโน้มถ่วงของโลกจะช่วยให้เด็กคลอดออกมาได้ง่ายขึ้น คุณแม่ต้องมีคนคอยพยุงร่างกายส่วนบนเอาไว้เพื่อช่วยให้รักษาความสมดุลของ ร่างกายไว้ได้ หากสามีของคุณมีความแข็งแรงพอ ก็ให้เขาพยุงตัวคุณจากด้านหลังที่ใต้แขน เข่าของคุณแม่ไม่ควรอยู่สูงกว่าสะโพก (มิฉะนั้นจะทำให้ข้อพับรับน้ำหนักมากเกินไปได้)
* ใช้ม้านั่งหรือเก้าอี้รับน้ำหนักตัวไว้ในท่ากึ่งย่อ โดยที่อาจจะต้องมีคนคอยพยุงตัวช่วยด้วย
* ท่าคุกเข่าโดยใช้มือและเข่าทั้งสองค้ำพื้น จะช่วยให้คุณแม่ได้พักโดยเอนไปข้างหน้าในระหว่างมดลูกบีบตัว
* ท่า นอนราบไม่ช่วยในการคลอดเท่าใดนัก เนื่องจากอุ้งเชิงกรานจะถูกกดทับ และเด็กจะต้องเคลื่อนตัวไปในทิศทาง “ตรงข้าม” กับแรงโน้มถ่วงของโลก การนั่งบนเตียงโดยมีหมอนหลายๆ ใบหรือมีสามีคอยหนุนหลังจะดีกว่าเล็กน้อย
* ท่านอนตะแคงโดยยกขาขึ้นข้างหนึ่ง ท่านี้จะช่วยให้คุณแม่ได้พักผ่อนหากคุณแม่รู้สึกเหนื่อยและนั่งหรือยืนตัวตรงไม่ได้

ในวินาทีคลอด ศีรษะของเด็กมักจะออกมาโดยหันหน้าไปทางด้านหลังของคุณแม่ พยาบาลจะตรวจสายสะดือ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ไปพันกับรอบคอของเด็ก จากนั้นไหล่ของเด็กจะหันไปด้านข้างเพื่อที่ว่าร่างกายจะได้ออกมาทาง ด้านข้าง และเมื่อศีรษะของเขาออกมาแล้ว คุณแม่ก็ควรหันข้างด้วยเช่นกัน

คำถามที่พบบ่อย

ถาม ทำไมเด็กบางคนจึงต้องช่วยให้คลอดโดยการใช้คีมดึงตัวเด็กออกมาหรือต้องใช้เครื่องดูดสุญญากาศ
ตอบ คีมที่ใช้ในการผ่าตัดคือเครื่องมือช่วยดึงศีรษะของเด็กในการคลอด ส่วนเครื่องดูดสุญญากาศใช้ปั๊มเพื่อช่วยให้ เด็กเดินทางข้ามผ่านระยะสองสามนิ้วสุดท้ายไปด้วยดี เด็กบางคนอาจจำเป็นต้องพึ่งอุปกรณ์อย่างใดอย่างหนึ่งใน สองชนิดเพื่อช่วยให้คลอดได้โดยเร็ว ตัวอย่างเช่น

* หาก เด็กเครียด ซึ่งจะแสดงออกโดยที่อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง หรือหากทารกถ่ายขี้เทา (Meconium) (ซึ่งเป็นมูลที่ออกจากทวารหนักของเด็ก) ซึ่งจะทำให้น้ำคร่ำมีสี หรืออาจแสดงในตัวอย่างเลือดที่นำมาจากหนังศีรษะของเด็ก
* หากทางออกลำบากเนื่องจากเด็กอยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสม หรือเนื่องจากเชิงกรานของแม่ไม่สามารถเปิดได้กว้างเพียงพอ
* หากการบีบตัวของมดลูกอ่อนลง หรือหากคุณแม่อ่อนเพลีย

หากเด็กคลอดก่อนกำหนด ซึ่งหมายความว่ากะโหลกศีรษะที่ยังอ่อนอยู่ของเขาต้องได้รับการปกป้องมากขึ้น

ถาม จะต้องมีการเย็บหลังคลอดหรือไม่
ตอบ บางครั้ง จุดเพอริเนียม (ผิวหนังที่อยู่ระหว่างช่องคลอดและทวารหนัก) อาจฉีกขาดในขณะที่ยืดออกเพื่อรองรับ ศีรษะของเด็ก หรือพยาบาลอาจขอตัดผิวหนังส่วนนี้ เนื่องจากพยาบาลรู้สึกว่าจะมีการฉีกขาดอย่างรุนแรงหรือต้องนำ เด็กออกอย่างรวดเร็ว ผิวหนังบริเวณนี้จะถูกตัดหากแพทย์ต้องใช้คีมเพื่อช่วยดึงเด็กออกมา การตัดนี้เรียกว่าการตัด เพื่อขยายปากช่องคลอด การฉีกขาดที่มีขนาดใหญ่และ การตัดเพื่อขยายปากช่องคลอดนั้นต้องมีการเย็บในภายหลัง โดยที่แพทย์จะให้ยาชาเฉพาะที่ในขณะที่เย็บแผล ไหมเย็บจะละลายได้เอง ดังนั้นจึงไม่ต้องมาพบแพทย์เพื่อตัดไหม

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

0 comments:

Post a Comment

 

Mama And Baby Care Copyright © 2009 Baby Shop is Designed by Ipietoon Sponsored by Emocutez