A Blogger by Beamcool

Friday, July 31, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ศักยภาพสูงสุดของลูกน้อยด้าน ทักษะการเคลื่อนไหว ( การใช้นิ้วคีบและการดึง )

Posted by wittybuzz at 9:26 PM 0 comments
ทักษะการเคลื่อนไหวของลูกน้อยกำลังพัฒนา!
คุณแม่จะต้องประหลาดใจไปกับพัฒนาการทางการเคลื่อนไหวที่สำคัญแต่ละอย่างของ ลูก ในตอนนี้ เขาน่าจะพลิกตัวหรือนั่งได้แล้ว หรือเขาอาจถึงขนาดกระดืบไปด้วยก้น คลานหรือตั้งไข่ได้แล้ว เพราะเขากระตือรือร้นที่จะออกไปสู่โลกอันน่าตื่นตาตื่นใจที่อยู่ใกล้แค่ เอื้อม เพื่อเริ่มยืนได้อย่างมั่นคงและเข้าสู่โลกที่อยู่ไกลเกินกว่าที่จะเอื้อมถึง

ลุยเลย เจ้าตัวน้อย
ระหว่างอายุ 10 ถึง 12 เดือน เด็กจะมีพัฒนาการทักษะการเคลื่อนไหวที่น่าตื่นเต้นไม่แพ้พัฒนาการด้านอื่นๆ แต่คุณพ่อคุณแม่มักจะมองข้ามไป ซึ่งก็คือพัฒนาการที่เกี่ยวกับมือของเขานั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น คุณแม่กำลังออกไปเดินเล่นกับลูกน้อยด้วยรถเข็นเด็กและทันใดนั้นลูกก็ชี้ไป ที่สุนัขและร้องเสียงแหลมขึ้น หรือเมื่อเขานั่งอยู่บนเก้าอี้สูงๆ และตั้งใจหยิบถ้วยน้ำ แต่เขาทำมันตกลงบนพื้น พัฒนาการเหล่านี้มีบทบาทแตกต่างจากการเดิน แต่ก็มีความสำคัญต่อพัฒนาการโดยรวมของเด็กเช่นกัน ซึ่งเป็นการแสดงว่าลูกน้อยแสนฉลาดในวัยนี้กำลังพยายามเรียนรู้โลกใบใหญ่โดย ใช้วิธีการใหม่ๆ ของเขาเอง นั่นคือด้วยนิ้วมือเล็กๆ ของเขา

สมองของเด็กในส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหวนั้น จะพัฒนาตามลำดับไล่จากศีรษะไปถึงนิ้วเท้า โดยที่สมองส่วนที่ควบคุมกล้ามเนื้อศีรษะและลำคอจะพัฒนาก่อนสมองส่วนที่ควบ คุมกล้ามเนื้อส่วนลำตัว แขน และมือ สมองส่วนที่ควบคุมขาจะพัฒนาเป็นส่วนสุดท้าย ทำไมจึงเป็นเช่นนี้? ตอบอย่างง่ายๆ ก็คือบางทีอาจเป็นเพราะเด็กจำเป็นต้องเรียนรู้การดูดนมและการกินอาหารก่อน การเดิน เมื่อเจ้าตัวน้อยลืมตาดูโลก เขาจะเอามือและแขนแนบชิดลำตัวซึ่งท่านี้เรียกว่า “Flexion” เมื่อเวลาผ่านไปหลายเดือน เขาจะสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวมือและแขนของเขาได้มากขึ้น เมื่ออายุได้ 6 เดือน เขาจะสามารถหยิบจับของเล่นได้ แต่หยิบโดยใช้ทั้งมือ เพื่อทำความเข้าใจว่าเด็กมีขีดจำกัดเพียงใดนั้น ให้สังเกตดูเด็กวัย 6 เดือนเวลาที่เขาถือจุกนมยาง เขาจะควบคุมมือของตัวเองได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เขาอาจเหวี่ยงแขนไปรอบๆ แล้วตีโดนหัวตัวเองโดยบังเอิญ และอาจทำจุกนมหล่นโดยไม่ได้ตั้งใจ แล้วเขาก็จะกระวนกระวายมองไปรอบๆ ตัวว่าจุกนมหายไปไหน หรือบางทีเขาอาจอยากปล่อยจุกนมทิ้ง แต่เขากางนิ้วออกไม่ได้ ก็เลยตีจุกนมกับพื้นด้วยความหงุดหงิด

การใช้นิ้วคีบและการคว้า
ผ่านไปเพียงไม่กี่เดือน เจ้าตัวน้อยกำลังฝึกหัดพัฒนาการที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ระหว่างอายุ 10 ถึง 12 เดือน เขาจะพัฒนา ‘การหยิบด้วยนิ้ว” ซึ่งเป็นความสามารถในการใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ร่วมกันเพื่อหยิบจับและ เคลื่อนย้ายสิ่งของ หรือหยิบถั่วหรือโบกมือบ๊ายบายได้ การชี้หรือใช้นิ้วจิ้มของเล่นเป็นสัญญาณเบื้องต้นที่แสดงว่าเขาสามารถ เคลื่อนไหวนิ้วชี้แยกออกจากนิ้วอื่นๆ ได้ “ในที่สุด ทักษะการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดเล็กของลูกน้อยจะช่วยให้เขาสามารถเล่น คอมพิวเตอร์หรือเป่าฟลุ๊ตได้ แต่ช่วงเวลาของพัฒนาการนี้เป็นเรื่องน่าตื่นตาตื่นใจมากทีเดียว” นพ. แบรี่ โซโลมอน ผู้ช่วยศาสตราจารย์กุมารแพทย์และแพทยศาสตร์สำหรับวัยรุ่นที่ Johns Hopkins Children's Center กล่าวยืนยันว่า “ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่น่าตื่นเต้นสำหรับเด็ก เพราะทักษะการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดเล็กจะช่วยให้พวกเขาสามารถวิเคราะห์ และเรียนรู้โลกใบนี้ด้วยวิธีใหม่ๆ” เขาอธิบาย

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อลูกน้อยสามารถใช้นิ้วหยิบจับสิ่งของได้โดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ และจากนั้นก็ปล่อยทิ้งอย่างตั้งใจเพื่อไปหยิบของชิ้นอื่นที่ดูน่าสนใจ มากกว่า นั่นจะเท่ากับว่าเขากำลังทำการทดลองอยู่ เขาอาจโยนจานหรือถ้วยทิ้งจากเก้าอี้เด็กครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่อค้นหาสาเหตุ และผล เวลาที่จานตกกระทบพื้น จะมีเสียงแบบเดียวกันทุกครั้งไหมน๊า จะเป็นยังไงน๊าถ้าเอาของเหนียวๆ นี้มาป้ายถาดและเสื้อผ้า ถ้าหมาได้ยินเสียงจานตก แล้วมันจะเข้ามาในครัวไหมน๊า อยากรู้จังว่าแม่จะหัวเราะหรือจะพูดว่า “อย่านะ” เขาจะได้เห็นโลกในมุมมองใหม่ ประตูของชั้นวางของที่เมื่อก่อนเคยปิดอยู่ ในตอนนี้เขาเปิดเองได้แล้ว ของเล่นที่เมื่อก่อนหน้านี้เขาทำได้แค่เพียงเขย่าหรือตี ในตอนนี้เขาสามารถหมุน จิ้ม และโยนได้แล้ว นอกจากนั้น เด็กวัยหัดเดินยังชอบของเล่นที่มีรูซึ่งเขาสามารถใส่สิ่งของลอดผ่านเข้าไป ได้ ของอะไรก็ตามที่มีฝาหรือประตูสำหรับเปิดปิด หรือของเล่นที่หมุนได้

ถือไว้ซิจ๊ะ!
เด็กวัย 12 เดือนที่สามารถใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือร่วมกันได้ เขาจะสามารถเอาบล็อกตัวต่อสองชิ้นมาวางซ้อนกันเป็นหอคอยได้ (แล้วก็พังมันลง) และใส่ของที่มีขนาดเล็กลงไปในของที่มีขนาดใหญ่กว่า แล้วหยิบออกมาใหม่ได้ ดร. โซโลมอนกล่าว นอกจากนั้น การเติมและการเท (โดยเฉพาะการเท) จะกลายเป็นกิจกรรมใหม่ที่เขาชื่นชอบ กิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ยังเป็นสิ่งกระตุ้นการรับรู้ได้อย่างรวดเร็ว เพราะเขาจะได้เรียนรู้ถึงแนวความคิด เช่น ใหญ่และเล็ก เต็มและว่างเปล่าได้

ตอนที่เขาอารมณ์ดี เขาอาจถึงขนาด “ช่วย” คุณแม่แต่งตัวหรือถอดเสื้อผ้าเขา โดยที่เขาจะยกแขนขึ้นและกำมือได้อย่างตั้งอกตั้งใจ เขาจะตบมือเมื่อมีความสุขและจะโบกมือบ๊ายบายได้ด้วย เพราะเขารับรู้ว่าจะต้องแสดงท่านี้ควบคู่กับการบอกลา

“ช่วงนี้เป็นวัยของการเลียนแบบ” กล่าวโดย ไซบิล ฮาร์ท PhD รองคณบดีแผนกการค้นคว้าวิจัยคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเท็กซัสเทค “เด็กจะอยากทำทุกอย่างเหมือนคุณพ่อคุณแม่”

ความหงุดหงิด
นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการวัดระดับปริมาณฮอร์โมน Cortisol ในน้ำลายของทารกเพื่อแสดงให้เห็นว่าทารกอายุ 4 เดือนสามารถรู้สึกหงุดหงิดได้ และบางทีคุณแม่อาจเห็นสัญญาณบ่งบอกว่าเขากำลังหงุดหงิดเมื่อเขาโตขึ้น ต่อไปนี้คือความคิดในมุมมองของเด็ก

* “ไม่ได้อย่างใจหนูเลย! เมื่อเขามีทักษะการเคลื่อนไหวที่ดีขึ้น เขาก็จะเริ่มมีปฏิกิริยาต่อต้าน เช่น พอเขาปีนขึ้นไปบนโต๊ะกาแฟ แต่คุณแม่ก็รีบคว้าเขาไปไว้ในเปลเด็ก หรือเขาอาจคว้าของที่มีแสงระยิบระยับน่าสนใจ (สร้อยคอของคุณแม่) แต่แล้วคุณแม่กลับดึงไปจากมือของเขา
* “ทำไมคุณแม่ไม่เข้าใจหนู” ลูกน้อยอาจรู้สึกหงุดหงิดใจ เพราะคุณแม่ไม่เข้าใจว่าเขากำลังพูดอะไร เขาอาจจะชี้ไปที่ตู้เย็น แล้วพูดว่า “บาบา บาบา” ซึ่งอาจหมายถึงลูกบอลหรืออะไรก็ได้ แต่ไม่ได้หมายถึงของที่อยู่ในตู้เย็น พอคุณแม่เดาผิดบ่อยๆ ก็อาจทำให้ลูกโมโหได้
* “หนูอยากได้เดี๋ยวนี้!” เมื่อลูกอายุใกล้ครบหนึ่งขวบ เราจะคาดหวังว่าเขาจะสามารถรอคอยในระยะเวลาสั้นๆ ได้ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกน้อยวัยแรกเกิดหิว คุณแม่จะต้องป้อนอาหารให้เขาโดยทันที เมื่อเขาอายุ 6 เดือน “คุณแม่อาจบอกให้ลูกรอสักแป๊บนึง” ฮาร์ทกล่าว “และเมื่อเขาอายุได้ 10 เดือน คุณแม่อาจจะจับเขานั่งบนเก้าอี้เด็กและคาดหวังว่าเขาจะเล่นกับของเล่นสองสาม ชิ้นในขณะที่คุณแม่กำลังอุ่นอาหารกลางวัน” แบบนี้ไม่ได้หมายความคุณพ่อคุณแม่ไม่มีความรับผิดชอบ แต่เด็กจำเป็นต้องรู้สึกหงุดหงิดบ้างนิดๆ หน่อยๆ เป็นบางครั้งบางคราวเพื่อให้เขารู้จักความอดทน แต่บทเรียนนี้ก็ไม่ง่ายนัก!

เมื่อลูกน้อยอายุครบหนึ่งขวบและมีทักษะทางการสื่อสารดีขึ้น ความหงุดหงิดบางอย่างของลูกควรลดน้อยลง “เมื่อเขากำลังร้องไห้อยู่ในเตียง และคุณแม่ตะโกนบอกเขาว่าคุณกำลังไปหาเขา เขาอาจหยุดร้องไห้ได้ เพราะเขารับรู้ว่าคุณกำลังมา” ฮาร์ทกล่าว

การลุกยืน
เด็กส่วนใหญ่จะสามารถดึงตัวเองลุกขึ้นยืนได้ในระหว่างอายุ 10 ถึง 12 เดือน และแน่นอนว่าเด็กบางคนสามารถทำได้ก่อนหน้านั้นและอาจถึงขนาดเดินได้ก่อนที่ อายุจะครบหนึ่งขวบ แต่เด็กบางคนก็อาจล้าหลังเพียงเล็กน้อย เมื่อไรก็ตามที่เด็กดึงตัวเองลุกขึ้นยืนได้เมื่อไร นั่นจะถือเป็นพัฒนาที่สำคัญสำหรับเด็ก ไม่เพียงแต่เฉพาะในด้านทางกายภาพเท่านั้น แต่ยังรวมถึงทางด้านอารมณ์อีกด้วย ฮาร์ทกล่าวว่า “เมื่อเด็กยืนได้ เขาจะอยู่ในตำแหน่งที่สามารถประสานสายตาและแสดงปฏิสัมพันธ์ทางสังคมได้ดี กว่า” อันที่จริงแล้ว การยืนจะเปลี่ยนวิธีที่ลูกน้อยแสดงปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมของเขา เพราะว่า “เขาจะมีโอกาสได้ออกสำรวจโลกมากขึ้นและส่งเสริมความเชื่อมั่นของเขา” ลิส เอเลียต PhD ผู้แต่งเรื่อง What's Going On in There? How the Brain and Mind Develop in the First Five Years of Life (Bantam, 2543) เวลาที่ลูกน้อยอยู่ในตำแหน่งแนวตั้ง จะทำให้เขาได้เห็นในมุมมองใหม่ ทำให้เขาเอื้อมมือไปหยิบของได้ถนัดขึ้น และรู้สึกว่าตัวเองเท่าเทียมกับคนอื่นๆ ที่ยืนได้

เมื่อลูกน้อยสามารถยืนได้แล้ว เขาจะแทบไม่ยอมนั่งเลย คุณแม่อาจจับเขานั่งบนเก้าอี้เด็กเวลาที่เขาหมุนตัวและพยายามลุกขึ้นยืน การยืนกลายเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดไปแล้วสำหรับเขาในตอนนี้ เพราะเขากำลังฝึกฝนการทรงตัวเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับก้าวแรก

พัฒนาการที่สำคัญในแต่ละช่วงวัย
วัย 10 เดือน

* กลิ้งลูกบอลได้
* ทานอาหารโดยใช้มือหยิบจับได้เอง
* ชี้ไปที่สิ่งของได้

วัย 11 เดือน

* เริ่มหยิบจับด้วยการใช้นิ้วคีบได้
* สามารถวางซ้อนบล็อกตัวต่อและพลิกหน้าหนังสือสำหรับเด็กเล็กที่มีขนาดหนาๆ ได้
* ดึงตัวเพื่อลุกขึ้นยืนได้

วัย 12 เดือน

* เกาะเฟอร์นิเจอร์เดินอย่างช้า ๆ หรือเดินก้าวแรกได้ด้วยตัวเอง
* ทานอาหารด้วยช้อนเองได้

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Thursday, July 30, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ศักยภาพสูงสุดของลูกน้อยด้าน ทักษะการเคลื่อนไหว ( เรียนรู้การคลาน )

Posted by wittybuzz at 11:23 PM 0 comments
มีพัฒนาการอย่างหนึ่งซึ่งควบคู่ไปกับพัฒนาการ ที่สำคัญอย่างอื่นในการเจริญเติบโตของทารก นั่นก็คือการคลาน ซึ่งจะทำให้หนูน้อยเคลื่อนที่ไปไหนมาไหนได้เองเป็นครั้งแรก เมื่อตอนที่เจ้าตัวน้อยยังเคลื่อนที่ไปไหนมาไหนเองไม่ได้ เขาทำได้แค่นั่งและสำรวจไปรอบๆ เท่าที่เขาเอื้อมถึง แต่พอเขาคลานได้ ทันใดนั้นเขาก็ได้สัมผัสกับโลกใบใหม่ ซึ่งก็คือโลกแห่งการเคลื่อนไหว

วัตถุประสงค์ของการคลาน

การคลานเป็นจุดเริ่มต้นของการเดิน และยังเป็นวิธีการพื้นฐานที่สำคัญสำหรับทารกในการเริ่มสำรวจสภาพแวดล้อมรอบตัวเขา

“การคลานช่วยส่งเสริมการเดินได้ เพราะจะทำให้เด็กได้ใช้กล้ามเนื้อแขน ลำตัว กระดูดเชิงกราน เอว และขาส่วนล่าง” กล่าวโดยดร. อารี บราวน์ กุมารแพทย์และเป็นคุณแม่ลูกสองและเป็นหนึ่งในผู้เขียนหนังสือ Baby 411 (Windsor Peak, 2006) "Practice builds tone, strength and coordination"

แล้วจะเริ่มเมื่อไหร่และอย่างไรดี

เด็กส่วนมากจะเริ่มคลานได้ตอนอายุระหว่าง 6 ถึง 9 เดือน ในช่วงเวลานี้เอง เขาจะนั่งเองได้โดยไม่ต้องมีคนพยุง และกลุ่มกล้ามเนื้อที่สำคัญของเขาจะมีความแข็งแรงเพียงพอที่จะพยุงร่างกาย ของเขาเองได้

“พอนั่งได้ ลูกน้อยจะเริ่มหมุนตัว โยกตัว และคลานโดยใช้มือและเข่า” ลอรี ลีคอร์เนอร์ ผู้แต่งหนังสือเรื่อง A Parent's Guide to Developmental Delays: Recognizing and Coping with Missed Milestones in Speech, Movement, Learning and Other Areas (Perigee, 2006) กล่าว “ความแข็งแรงที่จำเป็นสำหรับการคลานนั้น สะสมมาตั้งแต่วันแรกๆ ที่เขาลืมตาดูโลกเวลาที่จับเขานอนคว่ำหน้าและเขาเริ่มเสริมสร้างความแข็ง ของกล้ามเนื้อคออย่างช้าๆ แล้วจึงไล่ไปที่กล้ามเนื้อแขนและไหล่เวลาที่เขาผลักตัวขึ้นเพื่อให้มองได้ดี ยิ่งขึ้น”

การเปลี่ยนจากการนั่งไปเป็นการคลานอาจเกิดขึ้นทีละเล็กละน้อยในช่วงระยะเวลา หลายเดือน ในบางขั้นตอนจะเป็นการเรียนรู้เพื่อการทรงตัวแขนขาทั้ง 4 การโยกตัวไปมาด้วยมือและเข่า และในที่สุดเขาก็เข้าใจว่าการดันเข่าจะช่วยให้เขาสามารถเคลื่อนที่ไปด้าน หน้าได้ตามที่ต้องการเพื่อเริ่มคลาน

ไม่ใช่ว่าเด็กทุกคนจะคลานในลักษณะเดียวกัน เด็กบางคนคลานไปด้านหน้าตามปกติ แต่เด็กบางคนมีวิธีคลานของเขาเอง แชนนอน โรเซ็นเบิร์ก คุณแม่ของฝาแฝดในเมืองเวสลีย์ ฮิลล์ รัฐนิวยอร์กกล่าวว่าลูกของเธอคนหนึ่งเริ่มหัดคลานช้าไปสักหน่อย “[แต่] เมื่อเขาเริ่มคลาน...เขากลับคลานถอยหลังไปใต้เก้าอี้” เธอกล่าว “อันที่จริงแล้ว ลูกทั้งสองคนคลานถอยหลังเป็นอันดับแรก”

การคลานถอยหลังบางทีอาจเป็นผลจากกล้ามเนื้อไม่สม่ำเสมอกัน (แขนมีความแข็งแรงมากกว่าขาเล็กน้อย) แต่ในไม่ช้ามันจะเข้าที่เข้าทางเองเมื่อเด็กเริ่มพัฒนาทักษะทางการเคลื่อน ไหวกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ในไม่ช้าเขาจะเปลี่ยนจากคลานถอยหลังเป็นคลานเดินหน้าด้วยตัวเองโดยที่คุณพ่อ คุณแม่ไม่ต้องทำอะไรเลย ถ้าหากเขาสามารถเคลื่อนที่ได้ไม่ว่าจะเลือกเดินหน้าหรือถอยหลังก่อนก็ตาม นั่นแสดงว่าเขาปกติสมบูรณ์ดี

คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยเหลือได้หรือไม่

ไม่ใช่เรื่องเลวร้ายอะไรที่จะให้แรงจูงใจบางอย่างกับลูกน้อยเพื่อกระตุ้นให้ เขาคลาน ถ้าหากคุณแม่ปล่อยให้เขาสบายจนเกินไป (เช่น หยิบของเล่นที่เขาอยากได้ให้เขาทุกครั้ง ฯลฯ) ก็จะเป็นการกระตุ้นเขาให้นั่งอยู่กับที่ แต่คุณแม่ควรหาวิธีเพื่อส่งเสริมให้พวกเขากลายเป็นคนคล่องแคล่วจะดีกว่า คุณพ่อคุณแม่ควรวางของเล่นที่เหมาะสมกับวัยของลูกให้อยู่ไกลจากรัศมีการ เอื้อมของเขาสักเล็กน้อยเมื่อเขาอยู่ในท่านั่ง ลอรีกล่าว “นอกจากนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจให้ลูกเล่นเกมเครื่องบินก็ได้ โดยให้เขาบินในอากาศและจากนั้นจึงร่อนลงสู่พื้นโดยใช้มือของเขาค้ำยันไว้ (พยุงน้ำหนักบางส่วนของร่างกายเขา)” เธอกล่าว “หรือคุณพ่อคุณแม่อาจเล่นเกมหรือร้องเพลงเพื่อหลอกล่อให้ลูกน้อยมาหาคุณพ่อ คุณแม่โดยใช้วิธีเคลื่อนไหวแบบไหนก็ได้”

อย่างไรก็ตาม ไม่ต้องเป็นกังวลมากนักเรื่องที่จะผลักดันให้ลูกน้อยขยับเขยื้อนร่างกายตาม ตารางเวลาของคุณแม่ คอร์นีย์ รามิเรซ ในเมืองซานเจอร์ คาลิฟ เคยกังวลเล็กน้อยเมื่อลูกสาวของเธอไม่ยอมคลานสักที ถึงแม้ว่าลูกสาวของเธอยังอยู่ในช่วงวัยปกติสำหรับการคลานก็ตาม แต่เขาก็อยู่ในช่วงปลายๆ แล้ว ซึ่งเป็นเหตุให้คอร์นีย์วิตกกังวล อย่างไรก็ตาม คอร์นีย์ได้เรียนรู้ว่า เด็กจะไม่มีปัญหาเรื่อง “พัฒนาการช้า” หรอกนอกเสียจากว่าคุณหมอจะเป็นคนระบุว่าเด็กมีปัญหาด้านพัฒนาการเฉพาะทาง บางอย่าง

“คำแนะนำที่ดีที่สุดของฉันสำหรับคุณแม่มือใหม่ก็คือ ควรตระหนักว่าเด็กทุกคนแตกต่างกัน” คอร์นีย์กล่าว คอร์นีย์ตัดสินใจว่าการผ่อนคลายเป็นวิธีที่ดีที่สุด แทนที่จะกระวนกระวายใจกับตัวเธอเองและลูกของเธอ “ฉันกระตุ้นให้เขาเคลื่อนไหวร่างกายมากขึ้น แต่ฉันไม่ได้พยายามฝึกให้เธอคลาน ฉันพบว่าเมื่อเขาพร้อมที่จะคลานเมื่อไร เขาก็จะคลานได้เอง” สัญชาติญาณของคอร์นีย์ถูกต้อง “เขาข้ามขั้นตอนการกระดืบไป และวันหนึ่งเขาก็เริ่มคลานเลย”

เมื่อไรที่ควรเป็นกังวล

ที่จริงแล้ว การคลานไม่ได้ถือว่าเป็นพัฒนาการที่สำคัญของเด็กเลยด้วยซ้ำ เด็กบางคนอาจข้ามขั้นตอนการคลานไปแล้วเดินได้เลยก็มี คารอล วู้ดในเมืองวินเนตก้า คาลิฟ พบว่ากรณีเช่นนี้ก็เกิดกับโมนิก้า ลูกคนที่สองของเธอเช่นกัน “เขาไม่เคยคลานเลย” เธอกล่าว “เขาเริ่มจากนอนคว่ำ แล้วก็เดินได้เลย” คารอลค่อนข้างวิตกกังวล เธอจึงเลือกที่จะไปปรึกษากับแพทย์ “[คุณหมอของฉัน] กล่าวว่า ‘หากเขาไม่อยากคลาน เขาก็ไม่ต้องคลานก็ได้”

ผู้เชี่ยวชาญทั้งสองคนของเรายอมรับว่าการคลานไม่ได้เป็นพัฒนาการที่สำคัญ ตราบใดที่เด็กยังมีการเคลื่อนไหวด้วยวิธีอื่นๆ “มีเด็กบ้างคนที่ข้ามขั้นตอนการคลานไปเลยก็มี” ลีคอร์เนอร์กล่าว “แต่คุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มวิตกกังวลหากลูกอายุ 10 เดือนแล้วแค่เขาไม่ขยับเขยื้อนไปไหนเลย”

การสำรวจสภาพแวดล้อมรอบตัวเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับเด็ก ไม่ว่าจะโดยเกาะเฟอร์นิเจอร์เดิน กลิ้งตัว ค่อยๆ กระดืบไป ลีคอร์เนอร์แนะนำให้สังเกตสัญญาณเตือนภัยดังต่อไปนี้ซึ่งอาจบ่งบอกถึงความจำ เป็นที่ต้องไปปรึกษากับกุมารแพทย์

* เด็กไม่สำรวจสภาพแวดล้อมรอบตัวเขาด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งเมื่อเขาอายุ 10 เดือนขึ้นไป
* แสดงว่าชอบร่างกายข้างใดข้างหนึ่งอย่างชัดเจน
* ไม่สามารถประสานการทำงานของร่างกายทั้งสองข้างให้สอดคล้องกันได้
* “การที่เด็กข้ามขั้นตอนการคลานไปนั้น ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการอื่นแต่อย่างใด และไม่เกี่ยวข้องกับว่าเด็กจะเรียนเลขเก่งหรือไม่เก่งด้วย (นั่นเป็นความเชื่อแบบโบราณ)” ดร. บราวน์กล่าว


รักษาความปลอดภัยของเจ้าตัวน้อยวัยหัดคลาน


เตรียมตัวให้พร้อม! เมื่อลูกน้อยเริ่มเคลื่อนที่ได้แล้ว ไม่มีสิ่งใดที่จะหยุดเขาได้ และต่อไปนี้คือคำแนะนำเพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับเจ้าตัวน้อยที่เพิ่งคลาน ได้ใหม่ๆ

* ก้มตัวลงบนพื้นและมองข้าวของรอบตัวจากมุมมองของเด็ก
* เก็บสิ่งของเล็กๆ ออกไป (เช่น เหรียญที่ตกอยู่ใต้เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น)
* เคลื่อนย้ายของอะไรก็ตามที่เขาอาจสามารถดึงได้ เช่น สายโทรศัพท์ สายไฟฟ้า หรือผ้าม่าน
* หาผ้านุ่มๆ มาปูบริเวณที่ไม่ได้ปูพรมเพื่อป้องกันมือและเข่าของลูกน้อย
* ป้องกันความปลอดภัยทั่วทั้งบ้าน (ชั้นวางของ ช่องลมที่ผนัง ห้องน้ำ)
* ติดประตูที่บันไดชั้นบนสุดและล่างสุด
* เมื่อเจ้าตัวน้อยเริ่มคลานได้ เขาอาจจะไปอยู่ในที่ที่คุณแม่ไม่อยากให้เขาไปก็ได้ ควรระมัดระวังและป้องกันความปลอดภัยในทุกๆ สิ่ง และอย่าปล่อยลูกน้อยทิ้งไว้โดยไม่มีคนดูแล

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Wednesday, July 29, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ศักยภาพสูงสุดของลูกน้อยด้าน ทักษะการเคลื่อนไหว ( ส่งเสริมทักษะการเคลื่อนไหวของลูกน้อย )

Posted by wittybuzz at 10:07 PM 0 comments
แต่ละพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวที่สำคัญๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงขวบปีแรกของลูกน้อยอาจดูเหมือนว่าไม่สัมพันธ์กันเลย แต่ในความเป็นจริงแล้ว พัฒนาการเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างเป็นลำดับ โดยปกติแล้ว พัฒนาการจะเริ่มจากศีรษะไปจรดเท้า โดยที่เด็กจะพัฒนาทักษะการใช้ศีรษะและแขนก่อนทักษะการใช้ขาและเท้า นอกจากนี้ ความสามารถในการควบคุมการเคลื่อนไหวจะเริ่มต้นจากศูนย์กลางของร่างกาย ซึ่งหมายความว่าลูกน้อยของคุณจะสามารถควบคุมลำตัวได้ก่อนที่เขาจะสามารถควบ คุมนิ้วมือและนิ้วเท้าได้

ต่อไปนี้คือส่วนหนึ่งของพัฒนาการที่สำคัญที่สุดตั้งแต่ศีรษะไปจนถึงนิ้วเท้า และคำแนะนำเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของลูกน้อย

การควบคุมศีรษะ

สิ่งแรกๆ อย่างหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ได้รับการสอนนั่นคือให้พยุงศีรษะของลูก น้อย ทั้งนี้เพราะเขายังไม่สามารถพยุงศีรษะด้วยตัวเองได้จนกว่าเขาจะอายุได้ ประมาณ 3 เดือน

เมื่อกล้ามเนื้อคอของเขาแข็งแรงขึ้น เขาจะสามารถ “ดันตัวขึ้นได้เล็กน้อย” โดยยกทั้งศีรษะและหน้าอกขึ้นจากพื้นได้

เมื่อลูกน้อยอายุได้ประมาณ 7 เดือน เขาจะสามารถควบคุมศีรษะของเขาได้อย่างเต็มที่และจะสามารถตั้งคอเองได้อย่าง มั่นคงเป็นเวลานานในขณะที่นั่งอยู่บนตักของคุณแม่หรือเมื่ออุ้มเขาให้ลำตัว ตั้งตรง
คุณแม่ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้เพื่อช่วยให้ลูกน้อยพัฒนาการควบคุมศีรษะได้ดีขึ้น

1. วางลูกนอนคว่ำบนพื้น ทำเช่นนี้วันละหลายๆ เพื่อให้เขาได้ฝึกฝน
2. หลอกล่อให้เขายกศีรษะของเขาขึ้นเอง วางกระจกที่ตกไม่แตกหรือรูปภาพใหญ่ๆ ไว้หน้าเขา หรือคุกเข่าแล้วยื่นหน้าไปใกล้ๆ เขา

การเอื้อมมือและการคว้า

ทารกส่วนมากจะเริ่มโบกมือหรือตีสิ่งของได้เมื่ออายุได้ 3 เดือน ซึ่งการเคลื่อนไหวมือนี้จะพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว

เมื่ออายุได้ 5 หรือ 6 เดือน ลูกน้อยควรจะสามารถเอื้อมมือไปในทิศทางเดียวกับที่ตามองได้ ซึ่งหมายความว่าเขาสามารถมองเห็นสิ่งของและเอื้อมมือไปคว้าได้

เมื่ออายุได้ 8 หรือ 9 เดือน แม้ว่าลูกน้อยกำลังเรียนรู้ที่จะจับสิ่งของด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้อยู่ แต่เขาก็สามารถหยิบสิ่งของชิ้นเล็กๆ ได้อย่างน่าประหลาดใจ ยกตัวอย่างเช่น อาหารชิ้นเล็กๆ หรืออาจจะเป็นขี้ฝุ่นเล็กๆ และสิ่งสกปรกบนพื้นก็ได้ คุณแม่จำเป็นต้องจับตาดูเขาให้ดี เพราะเขาจะพยายามลิ้มลองอะไรก็ตามที่เขาหยิบขึ้นมาได้

ทดลองปฏิบัติตามข้อแนะนำสี่ข้อดังต่อไปนี้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านการประสานมือ-สายตาของลูกน้อย

1. แขวน ของเล่นไว้บนเตียงของเขา ซึ่งจะช่วยให้ลูกพยายามตีสิ่งของที่อยู่เหนือศีรษะเขา (เพื่อความปลอดภัย ให้ถอดของเล่นนี้ออกทันทีเมื่อเขาสามารถนั่งได้)
2. ในขณะที่ ลูกน้อยกำลังนอนหงายอยู่บนพื้น ให้แขวนของที่ดูสะดุดตาไว้เหนือตัวเขา และแกว่งให้อยู่เหนือศีรษะเขา 3 ถึง 8 นิ้ว เพื่อกระตุ้นให้เขาเอื้อมมือไปตี
3. เพื่อช่วยให้ลูกน้อยวัย 4 เดือนได้ฝึกหัดหยิบจับสิ่งของ ให้นำของเล่นที่เขย่าแล้วมีเสียงหรือสิ่งของอื่นๆ ที่ปลอดภัยให้เขาถือ อะไรก็ตามที่เขาเขย่าแล้วมีเสียง หรือของที่มีเนื้อนุ่มๆ ไว้ให้เขากัดเล่น อาจช่วยกระตุ้นให้ลูกถือของนั้นไว้
4. วางของเล่นหลายๆ อย่างไว้ในบริเวณที่เขาเอื้อมถึง ปล่อยให้เขาคว้านู่นคว้านี่ในขณะที่เขานอนคว่ำหน้าบนพื้น

การพลิกตัว

แม้ว่าความสามารถในการควบคุมการเคลื่อนไหวศีรษะของลูกจะทำได้ยากและพัฒนา อย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่การพลิกตัวกลับเป็นพัฒนาการที่สำคัญอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด ซึ่งเป็นพัฒนาการอย่างหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่เฝ้ารอคอยอย่างตื่นเต้น

เมื่ออายุได้ 4 หรือ 5 เดือน ลูกน้อยจะสามารถพลิกตัวได้เพียงทิศทางเดียว (คือพลิกหงายหรือพลิกคว่ำ) บางทีลูกอาจจะไม่สามารถพลิกตัวไปอีกทิศทางหนึ่งได้จนกระทั่งอายุ 6 หรือ 7 เดือน

คุณแม่สามารถกระตุ้นให้ลูกพลิกตัวได้โดย

1. หาพื้นที่กว้างๆ ให้เขาและให้โอกาสเขาได้ฝึกหัด ซึ่งพื้นเหมาะที่สุด
2. ชมเชยเขา พูดคุยกับลูกและกระตุ้นให้เขาฝึกพลิกตัว
3. ถือ ของเล่นที่เขาสนใจไว้ข้างๆ ตัวเขา เช่น ของเล่นที่ส่งเสียงได้เมื่อเขย่าหรือกระจกสำหรับเด็ก ซึ่งจะช่วยดึงดูดความสนใจของลูกและหลอกล่อให้เขาพลิกตัวเพื่อหันไปดู

การลุกขึ้นนั่ง

เมื่อเด็กสามารถพลิกตัวได้แล้ว การลุกขึ้นนั่งจึงมิใช่เรื่องยาก เด็กจะเห็นโลกในมุมมองใหม่เมื่อเขาเรียนรู้การลุกขึ้นนั่งแล้ว ดังนั้น การลุกขึ้นนั่งจึงเป็นเรื่องที่น่าตื่นตาตื่นใจสำหรับเขาพอๆ กับที่คุณพ่อคุณแม่ตื่นเต้น!

เมื่ออายุได้ประมาณ 4 เดือน ลูกน้อยจะสามารถนั่งได้เมื่อพยุงตัวเขา

เมื่ออายุ 6 เดือน เขาจะสามารถนั่งบนเก้าอี้สูงได้บ้าง และก่อนอายุครบ 1 ขวบ เขาจะสามารถนั่งได้เองโดยไม่ต้องมีคนคอยช่วย

เพื่อช่วยให้ลูกน้อยได้ฝึกหัดทักษะการนั่ง คุณแม่ควรปฏิบัติดังนี้

1. วางเขาไว้บนตักคุณ หันหน้าออกในขณะที่คุณแม่นั่งขัดสมาธิอยู่บนพื้น ท้องและขาของคุณแม่จะช่วยพยุงหลังของลูก
2. พยุงตัวลูกน้อยไว้บนหมอนที่ได้มาตรฐานหรือหมอนรูปตัวยู ให้เขาสัมผัสกับประสบการณ์การนั่งไปโดยที่มีคุณแม่คอยควบคุมดูแล

การคลานและการเดิน

ระหว่างอายุ 8 และ 13 เดือน ลูกน้อยจะสามารถเคลื่อนไหวได้ในบางรูปแบบ คุณพ่อคุณแม่มักเห็นว่าการคลานได้และการเดินได้เป็นพัฒนาการทางกายภาพที่ สำคัญที่สุด แม้ว่าการคลานได้หรือเดินได้จะเป็นเรื่องที่น่าตื่นตาตื่นใจเป็นอย่างมาก แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรลืมว่าเด็กแต่ละคนมีการพัฒนาในแบบของเขาเองและแต่ละ คนจะพัฒนาเร็วช้าต่างกันออกไป หากคุณแม่กังวลใจเรื่องพัฒนาการของลูกน้อยในด้านการเคลื่อนไหว ควรไปปรึกษาเรื่องนี้กับกุมารแพทย์ แต่เด็กส่วนใหญ่จะมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวเป็นไปตามรูปแบบ

* ในขั้นแรก เขาจะสามารถลุกขึ้นได้ด้วยมือและเข่าของเขาเอง
* ต่อจากนั้นเขาจะโยกตัวไปมาเพื่อพยายามเคลื่อนไปข้างหน้า
* เขาจะพัฒนาวิธีการเคลื่อนตัวไปรอบๆ ด้วยวิธีต่างๆ เช่น การโยกตัว การหมุนตัว การกลิ้ง และการกระดืบ

หลังจากนั้นประมาณ 1 เดือน คุณแม่จะพบว่าเขาเริ่มพัฒนาไปสู่การคลานอย่างแท้จริง

เด็กหลายคนเรียนรู้การคลานถอยหลังก่อน แต่อีกไม่นาน เขาก็จะเรียนรู้การคลานไปในทิศทางที่ถูกต้อง

แต่ไม่ใช่ว่าเด็กทุกคนจะคลานแบบเดียวกันนี้ อันที่จริงแล้ว เด็กบางคนไม่ยอมคลานเลยด้วยซ้ำ แต่เรียกร้องที่จะเดินโดยมีผู้ใหญ่คอยจับมือเขาไว้แทน เด็กบางคนอาจใช้วิธีไถไปด้วยก้น กระดืบไปด้วยท้อง หรือ “เดินแบบหมี” นั่นคือคลานโดยที่เหยียดแขนและขาออก
ไม่ว่าลูกน้อยของคุณจะเลือกสไตล์การเคลื่อนไหวแบบไหนก็ตาม ก็จะทำให้เขามีอิสระอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนและเป็นโอกาสที่เขาจะได้ออกสำรวจ โลกกว้าง

คุณแม่ควรพยายามกระตุ้นให้ลูกน้อยเรียนรู้ทักษะการเคลื่อนไหวด้วยเกมง่ายๆ เหล่านี้

1. เล่น คลาน “ไล่จับ” ซึ่งเด็กที่กำลังเรียนรู้การเคลื่อนไหวจะสนุกกับเกมนี้มาก ให้คุณแม่คลานตามหลังลูก แล้วบอกเขาว่า “แม่จะจับหนูแล้วนะ!” แล้วก็คลานห่างออกไป เพื่อกระตุ้นให้เขาคลานตามไป คุณแม่อาจไปซ่อนตัวอยู่หลังเฟอร์นิเจอร์และปล่อยให้เขาหาคุณให้เจอ
2. หาของมาวางกีดขวางเป็นอุปสรรค คุณแม่ควรหาข้าวของมาวางให้เต็มห้อง เพื่อให้เขาได้ฝึกหัดการคลานข้าม คลานลอดหรือคลานอ้อมสิ่งกีดขวาง

เคล็ดลับเพื่อความปลอดภัย

เมื่อเจ้าตัวน้อยเริ่มคลานไปไหนมาไหนได้เองแล้ว สิ่งสำคัญก็คือ คุณแม่ต้องหาที่ที่ปลอดภัยให้เขาเล่น คุณแม่ควรป้องกันเพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยทั่วทั้งบ้านและในสนาม ซึ่งจะเป็นการป้องกันลูกน้อยจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ รวมถึงเป็นการป้องกันข้าวของมีค่าภายในบ้านด้วย

ลูกน้อยจะเริ่มต้นปีนป่ายบันไดและเฟอร์นิเจอร์ในช่วงอายุเท่านี้ แต่โชคไม่ดีที่เด็กส่วนใหญ่มักจะเรียนรู้การปีนขึ้นบันไดได้ก่อนที่จะรู้ วิธีการปีนลงบันได คุณแม่อาจลองสอนลูกน้อยถึงวิธีการคลานลงบันไดอย่างปลอดภัย (คือใช้เท้าลงก่อน แล้วค่อยตามด้วยท้อง) แต่ยังคงต้องดูแลเขาอย่างใกล้ชิด วางประตูอันหนึ่งไว้บันไดขั้นบนสุด และวางอีกอันหนึ่งไว้บนขั้นที่ 3 หรือ 4 นับจากด้านล่าง (เพื่อว่าเขาจะได้ฝึกปีนป่ายบันไดสองสามขั้นจากด้านล่างสุดได้อย่างปลอดภัย) หากช่องระหว่างราวบันไดกว้างกว่า 3 นิ้ว คุณแม่ควรติดตั้ง Plexiglas หรือตาข่ายเพื่อความปลอดภัยเพื่อว่าลูกน้อยจะได้ไม่พลัดตกลงมา

ความสุขใจมากที่สุดอย่างหนึ่งของคนเป็นพ่อเป็นแม่คือ การได้เฝ้าดูลูกด้วยความประหลาดใจ ด้วยความหงุดหงิดใจและด้วยความสุขในขณะที่เขาก้าวข้ามผ่านพัฒนาการในขั้น ต่างๆ โดยในแต่ละขั้นนั้นเป็นความพิเศษและเป็นสิ่งน่ามหัศจรรย์ใจ ขอให้คุณพ่อคุณแม่เพลิดเพลินและทะนุถนอมช่วงเวลาแห่งการค้นพบนี้ไปพร้อมกับ ลูกน้อย!

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Tuesday, July 28, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ศักยภาพสูงสุดของลูกน้อยด้าน ภาษา ( การได้ยินของลูกน้อย )

Posted by wittybuzz at 2:47 PM 0 comments
ข้อมูลดังต่อไปนี้ จัดเตรียมขึ้นเพื่อช่วยติดตามความสามารถทางการได้ยินของลูกน้อย รายการตรวจสอบดังต่อไปนี้จะระบุพฤติกรรมซึ่งเหมาะสมตามวัยเพื่อทำการตรวจหา ว่าเด็กสูญเสียการได้ยินหรือไม่

นอกจากนั้น ยังมีรายการที่คุณแม่สามารถทำได้เพื่อช่วยให้ลูกน้อยเรียนรู้ที่จะพูดและใช้ทักษะในการฟังอีกด้วย

หากลูกน้อยของคุณไม่สามารถตอบสนองตามที่ระบุไว้ในรายการตรวจสอบได้ แสดงว่าอาจมีปัญหาที่ต้องได้รับการประเมินผลต่อไป คุณแม่ควรไปปรึกษากับแพทย์ซึ่งจะทำการส่งตัวไปยังแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหู ตา คอ จมูกและผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยินเสียงเพื่อทำการตรวจต่อไป

รายการตรวจสอบด้านการพูดและการได้ยิน

วัย 3 – 6 เดือน
ลูกน้อยควรจะตื่นตัวหรือเงียบสงบเมื่อได้ยินเสียงของคุณ โดยปกติแล้ว เขาจะกรอกตาและหันศีรษะไปยังทิศทางที่มาของเสียง

วัย 7 – 10 เดือน
ลูกน้อยควรจะสามารถหันศีรษะและไหล่ของเขาไปหาเสียงที่เขาคุ้นเคยได้ แม้ว่าเขาจะไม่เห็นว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นก็ตาม โดยที่ไม่จำเป็นต้องเป็นเสียงดังเท่านั้นเขาถึงจะตอบสนอง

วัย 11 – 15 เดือน
เขาควรแสดงว่าเขาเข้าใจคำบางคำโดยแสดงออกอย่างเหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น เขาควรสามารถชี้หรือมองไปที่วัตถุที่คุ้นเคยได้เมื่อคุณพ่อคุณแม่ขอให้เขาทำ เขาอาจพูดรัวๆ เพื่อตอบสนองต่อเสียงและอาจร้องไห้เมื่อมีฟ้าร้องเสียงดังหรืออาจขมวดคิ้ว เมื่อถูกดุ

วัย 18 เดือน
เด็กบางคนจะเริ่มบอกชื่อส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ เขาควรจะสามารถชี้ไปที่ตาหรือจมูกได้อย่างถูกต้องเมื่อขอให้เขาทำ

เขาควรพูดได้สองถึงสามคำ เช่น ‘บ๊าย-บาย’ คำที่เขาพูดอาจไม่สมบูรณ์หรือออกเสียงไม่ถูกต้องนัก แต่มีความหมายอย่างชัดเจน

วัย 2 ขวบ
เขาควรจะทำตามคำสั่งอย่างง่ายๆ ได้สองถึงสามคำสั่งโดยคุณแม่ไม่ต้องบอกใบ้ด้วยสายตา เขาควรพูดคำที่ได้ยินจากในบ้านทุกวัน เด็กในช่วงวัยนี้จะชอบให้ผู้ใหญ่อ่านหนังสือให้ฟังและโชว์ภาพง่ายๆ ในหนังสือให้ดู และจะสามารถชี้ภาพได้อย่างถูกต้องเมื่อขอให้เขาชี้

วัย 2 ขวบครึ่ง
เขาควรจะสามารถท่องจำหรือร้องเพลงเสียงสัมผัสหรือเพลงสั้นๆ ได้ และชอบฟังเทปหรือดูการ์ตูน หากลูกน้อยมีการได้ยินที่ดี เพลงเหล่านี้จะทำให้พวกเขามีความสุขได้ และโดยปกติแล้วเขามักจะตอบสนองต่อเสียงโดยวิ่งไปดูหรือเล่าให้คนอื่นฟังว่า เขาได้ยินอะไรบ้าง

วัย 3 ขวบ
เขาควรเข้าใจและใช้คำกริยาง่ายๆ บางคำได้ (เช่น ‘ไป’) คำบุพบท (เช่น ‘ใน’ หรือ ‘บน’) คำคุณศัพท์ (เช่น ‘ใหญ่/เล็ก’) และคำสรรพนาม (เช่น ‘ฉัน/คุณ’) เขาควรจะสามารถหาแหล่งที่มาของเสียงได้และสามารถใช้ประโยคที่สมบูรณ์ได้ใน บางครั้ง

วัย 4 ขวบ
เขาควรจะสามารถเล่าประสบการณ์หรือเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมา นี้ได้ เขาควรจะสามารถทำตามคำสั่งง่ายๆ 2 คำสั่งได้อย่างต่อเนื่องกัน (เช่น ‘หยิบลูกบอลให้แม่หน่อยซิจ๊ะ’)

วัย 5 ขวบ
คำพูดของเขาควรเป็นที่เข้าใจได้ ถึงแม้ว่าเขาอาจจะออกเสียงผิดบ้างเป็นบางครั้ง แต่เด็กส่วนใหญ่ในช่วงวัยนี้จะสามารถเข้าร่วมการสนทนาได้หากคำศัพท์นั้นอยู่ ภายในขอบเขตประสบการณ์ของพวกเขา

เคล็ดลับเพื่อส่งเสริมให้ลูกน้อยพูดและฟังได้ดียิ่งขึ้น

วัย 4 เดือน

* เลียนแบบเสียงอะไรก็ตามที่เขาเปล่งออกมา
* พูดกับเขาโดยใช้เสียงที่อ่อนหวาน
* เรียกเขาในขณะที่คุณกำลังทำงานอยู่รอบๆ บ้าน (ยกตัวอย่างเช่น “ไงจ๊ะจอห์นนี่ ลูกน้อยของแม่อยู่ที่ไหนจ๊ะ”)


วัย 7 เดือน

* เลียนเสียงอ้อแอ้ของเขาต่อไปและพูดกับเขาให้มากๆ
* กอดลูกให้อยู่ใกล้ๆ และร้องเพลงให้เขาฟังหรือพูดซ้ำไปซ้ำมา
* คุยเกี่ยวกับของเล่นหรือเล่นเกมกับเขา เช่น “เล่นจ๊ะเอ๋”


วัย 9 เดือน

* ทำเสียงง่ายๆ เพื่อดูว่าเขาจะเลียนเสียงตามหรือไม่ (ยกตัวอย่างเช่น “กา-กา”)
* ตอบสนองเขาเมื่อเขาเรียกคุณ
* ร้องเพลงกับเขา


วัย 12 เดือน

* แสดง ส่วนต่างๆ ของร่างกายให้เขาดู (ยกตัวอย่างเช่น “นี่คือจมูก” และวางมือของลูกไปที่จมูก) เอาหนังสือภาพแบบง่ายๆ ให้เขาดูและเล่าให้เขาฟังเกี่ยวกับรูปภาพต่างๆ
* เล่น “คุณพ่ออยู่ที่ไหนน้า” และชี้ไปที่คุณพ่อ
* อธิบายถึงเสียงต่างๆ (เช่น “หมาร้องว่ายังไงนะ” – จากนั้นจึงทำเสียงเห่า ‘โฮ่ง-โฮ่ง’)


วัย 24 เดือน
อ่านหนังสือง่ายๆ ให้เขาฟังและถามคำถามต่างๆ เช่น “วัวอยู่ที่ไหนน้า” และชี้ไปที่รูปภาพ

* ขอให้เขาส่งหรือนำสิ่งของต่างๆ ออกไป (ยกตัวอย่างเช่น “เอารถบรรทุกไปให้คุณพ่อซิ”)
* คุยกับเขาในทุกๆ สิ่งที่เขาเล่นหรือที่มองเห็น


สัญญาณบ่งบอกอื่นๆ ที่ต้องเฝ้าสังเกต (วัยเกิน 5 ขวบ)

* พูดช้าหรือความสามารถในการพูดถดถอย
* เขาขอให้คุณพ่อคุณพูดซ้ำอยู่เรื่อยๆ
* เขาตอบสนองไม่เหมาะสมกับคำถาม
* เขาไม่ได้ยินเสียงรอบข้าง
* เขาชอบเร่งเสียงโทรทัศน์
* เขาไม่ชอบเสียงดังๆ
* ชอบมองหน้าคุณพ่อคุณแม่เพื่อให้บอกใบ้ให้เขา
* เขามักจะลืมคำสั่งและคล้ายกับว่าชอบฝันกลางวัน
* ชอบตะโกนหรือกระซิบกระซาบ (เพราะเขาไม่สามารถตรวจวัดระดับเสียงของตัวเองได้)
* สมาธิสั้น
* ดูเหมือนว่าจะช้ากว่าเด็กคนอื่น ๆ
* มีปัญหาในการทรงตัว (ดูเหมือนซุ่มซ่าม)
* ชอบบ่นว่าได้ยินเสียงในหู

ปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจสอบการได้ยินเสียงต่อไป
เสียงที่พูดยาก

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Monday, July 27, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ศักยภาพสูงสุดของลูกน้อยด้าน ภาษา ( เสียงที่พูดยาก )

Posted by wittybuzz at 3:55 PM 0 comments
หนูน้อยเซรี สตินสันวัย 3 ขวบพูดว่า “หนูอยากได้ “ถ้วยสีเอือง” ‘“ถ้วยสีเหลืองจ๊ะ” ซูซาน คุณแม่ของหนูน้อยอธิบายให้เธอเข้าใจ

หนูน้อยเซรีมองคุณแม่อย่างใกล้ๆ ตอนที่คุณแม่พูดคำนั้นซ้ำขึ้นอีกครั้ง “แต่มันก็เหมือนกัน” หนูน้อยยืนยัน “ปากคุณแม่ก็เหมือนเดิม!”

ซูซานหัวเราะ และคิดว่าลูกสาวของเธอพูดถูก ความแตกต่างระหว่างเสียง อ กับเสียง ล มีแค่การเคลื่อนไหวของลิ้นที่แตกต่างกันเท่านั้นเอง ซึ่งเซรีไม่อาจเห็นการเคลื่อนไหวของลิ้นได้ จึงไม่ประหลาดใจเลยที่หนูน้อยเซรีเห็นว่าเสียงนี้ออกเสียงยาก

“มีบางเสียงที่เด็กวัยก่อนเรียนมักจะมีปัญหาในการออกเสียง” เจเน็ต แคมเบลล์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการพูด-ภาษาโดยใช้โปรแกรม FirstWords ในเมืองออตตาวาอธิบายว่า “การพัฒนาเสียงจะเกิดขึ้นตามลำดับ และเด็กมักจะออกเสียงที่พูดได้ยากไปอันดับท้ายๆ”

แล้วที่ท้าทายความสามารถของเด็กมากที่สุดมีเสียงอะไรบ้างล่ะ เจเน็ตกล่าวว่าก็มีเสียง ช จ ล ร และ ธ “เป็นเรื่องปกติที่เด็กเข้าเรียน ป.1 แล้วแต่ยังพูดเสียง ร และ ธ ไม่ได้” เธอกล่าว “และหากลูกอายุประมาณ 5 หรือ 6 ขวบของคุณมีปัญหาแค่นี้ละก็ คุณพ่อคุณแม่ก็สบายใจได้”

เมื่อเด็กอายุได้ 3 ขวบถึง 3 ขวบครึ่ง เจเน็ตคิดว่าคำพูดส่วนใหญ่ของเด็กควรจะเป็นที่เข้าใจของคนส่วนใหญ่ (คุณพ่อคุณแม่มีแนวโน้มที่จะเข้าใจคำพูดของลูกก่อนวัยเรียนของตัวเองได้ แม้ว่าจะไม่มีใครเข้าใจก็ตาม ดังนั้น การทดสอบแบบนี้จึงไม่ยุติธรรม) เด็กหลายคนมีวิธีพูดคำบางคำในแบบของเขาเอง เช่น “ฮังเบอร์เกอร์” แทนแฮมเบอร์เกอร์ แต่นอกเหนือจากนั้น คำพูดส่วนใหญ่ของพวกเขาควรชัดถ้อยชัดคำ

เด็กบางคนที่กำลังเรียนรู้อักษรบางตัวอยู่นั้น เขาอาจจะออกเสียงเหมือนกับว่ามีสำเนียงของเขาเอง “หากคุณแม่เริ่มสงสัยว่าลูกออกเสียงเหมือนคนในเมืองบอสตัน นั่นอาจเป็นเพราะว่าเขายังไม่รู้จักตัวอักษร R” เจเน็ตอธิบาย “ดังนั้น เขาก็เลยจะออกเสียง ‘carport’ เป็น ‘cahpoht’”

หากลูกก่อนวัยเรียนของคุณยังไม่สามารถพูดได้อย่างชัดเจน หรือมีปัญหาในการออกเสียงหลายเสียง เจเน็ตแนะนำว่าควรไปหาผู้เชี่ยวชาญด้านการพูดและภาษาเพื่อทำการประเมินผล และนาตาลี แมคนาฟตันก็ได้ไปพบผู้เชี่ยวชาญเช่นกันเมื่อลูกชายวัย 3 ขวบครึ่งของเธอที่มีปัญหาในการออกเสียง เธอเข้าใจเขา แต่คนอื่นไม่เข้าใจเขาพูดเลย

“เดวี่อาจพูดประมาณว่า ‘puh me on a wing’ ซึ่งหมายถึง ‘push me on the swing’” นาตาลีอธิบาย “ในตอนแรก ฉันยังคิดไม่ออกว่าคำพูดของเขามีอะไรบางอย่างผิดปกติ คำพูดของเขาฟังดูแปลกมาก และจากนั้นฉันจึงเข้าใจว่าเขาออกเสียงที่เป็นเสียงเบาๆ ไม่ได้ ฉันคิดไปว่าบางทีเขาอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยินก็ได้”

เธอคิดถูก เมื่อเธอพาเดวี่ไปพบแพทย์ประจำครอบครัวของเธอ จึงทราบว่าเดวี่ มีของเหลวคั่งอยู่ด้านหลังเยื่อแก้วหูซึ่งหลงเหลืออยู่หลังจากรักษาอาการติด เชื้อที่หูหายแล้ว สำหรับเดวี่แล้ว มันเหมือนกับว่าเขากำลังฟังเสียงจากใต้น้ำ และแม้ว่าจะสอดท่อเข้าไปในหูเพื่อขจัดของเหลวส่วนเกินที่ว่านั้นออก แต่การพูดของเดวี่ก็ไม่ได้พัฒนาขึ้นจนกระทั่งเขาได้เริ่มไปรับการบำบัดจาก ผู้เชี่ยวชาญด้านการพูด-ภาษา

ตามหลักการของเจเน็ต สัญญาณบ่งบอกอื่นๆ ที่คุณพ่อคุณแม่ควรจับตามองคือ เขาออกเสียงตัวสะกดไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น หลังจากย่างเข้าอายุ 3 ขวบ ลูกของคุณไม่น่าพูดคำว่า “เป็ด” เป็น “เป๊ะ” เด็กบางคนอาจออกเสียงควบกล้ำไม่ได้ เช่น พูดคำว่า “ความ” เป็น “คาม” –และหากอายุเกิน 3 ขวบครึ่งแล้วแต่ยังมีปัญหาแบบนี้อยู่ คุณพ่อคุณแม่ควรกังวลแล้วล่ะ

หากลูกออกเสียงบางคำผิดหรือไม่สามารถออกเสียงคำบางคำได้ คุณแม่ควรทำเช่นไร เจเน็ตขอแนะนำว่าคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรพยายามแก้ไขคำที่ลูกพูดผิด “หากเขาพูดว่า ‘หนูเห็นแอว’ และคุณแม่ตอบกลับไปว่า ‘ไม่ใช่แอวจ๊ะ แมว ลองพูดซิจ๊ะ’ ทำเช่นนั้นจะเป็นการสร้างความสับสนให้กับลูกและทำให้ลูกหมดกำลังใจที่จะพูด” เจเน็ตแนะนำให้ตอบสนองในเชิงบวกเมื่อลูกพยายามที่จะสื่อสาร และในเวลาเดียวกัน คุณแม่ก็ควรเป็นต้นแบบโดยพูดให้ถูกต้องด้วย คุณแม่ควรตอบเขากลับไปว่า “ใช่จ๊ะ แม่เห็นแมวเหมือนกัน แมวตัวใหญ่ด้วยใช่ไหมจ๊ะ?

นอกจากนั้น ยังอาจเป็นปัญหาได้ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่เห็นว่าวิธีการออกเสียงของลูกน่ารัก มากและนำการออกเสียงแบบนั้นมาใช้จนติดปาก “คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องพูดคำที่ถูกต้องให้ลูกฟัง เพื่อเป็นตัวอย่างให้เขาทำตามได้” เจเน็ตเตือนคุณพ่อคุณแม่

ถึงแม้ว่าการค้นพบปัญหาการพูดตั้งแต่เนิ่นๆ จะเป็นสิ่งสำคัญ แต่เจเน็ตยังชี้แจงอีกว่าขอบเขตของปัญหามี “กว้างมาก” เด็กวัย 2 ขวบคนหนึ่งอาจพูดประโยคที่สมบูรณ์ได้อย่างชัดเจนมาก ในขณะที่พี่ชายวัย 5 ขวบอาจยังคงเรียกตัวเองว่า “ว็อบบี้” แทนที่จะเป็น “ร็อบบี้” หากคุณแม่กังวลใจ ควรไปปรึกษากับแพทย์หรือกุมารแพทย์เรื่องการส่งตัวไปรับการรักษากับแพทย์ผู้ เชี่ยวชาญด้านการพูด

การออกเสียงในช่วงวัยต่างๆ
ลูกน้อยควรออกเสียงดังต่อไปนี้ได้

* เมื่ออายุ 3 ขวบ เสียงสระทั้งหมด รวมถึงเสียง พ บ ม น ว ด ท ค ก และ ฮ
* เมื่ออายุ 3 ขวบครึ่ง เสียง ฟ และ ส
* เสียงที่มีปัญหามากที่สุดได้แก่เสียง ช จ ล ร และ ธ

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Sunday, July 26, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ศักยภาพสูงสุดของลูกน้อยด้าน ภาษา ( การพูดช้า )

Posted by wittybuzz at 10:39 AM 0 comments
“หนู...นม!” ลูกชายคนโตของฉันพูดตอนช่วงประมาณ 3 ขวบและแน่นอนความหมายก็คือ “หนูอยากกินนม” ฉันไม่อยากจะเชื่อเลยว่าลูกชายอายุ 10 ขวบของฉันที่ตอนนี้พูดได้อย่างชัดถ้อยชัดคำนั้น ครั้งหนึ่งเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเด็กพูดช้า แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ตอนนั้นฉันรู้สึกทรมานใจมากเวลาที่เห็นว่าความสามารถในการออกเสียงของลูกล้า หลังกว่าเพื่อนของเขามาก เมื่อเขาอายุได้ 2 ขวบ เด็กรุ่นราวคราวเดียวกับเขาสามารถพูดประโยคที่มี 2 คำได้ ในขณะแต่ฉันกลับกำลังนั่งเขียนคำ 4 หรือ 5 คำที่ดูเหมือนว่าเขาจะเข้าใจและออกเสียงได้อย่างหมดหวัง

การพูดช้าหรือใช้ภาษาได้ช้าไม่ใช่เรื่องปกติ ซึ่งจะมีตั้งแต่เด็กที่ออกเสียงหนึ่งแทนที่อีกเสียงหนึ่ง (ยกตัวอย่างเช่น ออกเสียง ท แทนเสียง ค) ไปจนถึงเด็กที่ไม่สามารถใช้หรือเข้าใจภาษาได้เลย วิธีการที่ใช้บำบัดอาการพูดช้านี้ ขึ้นอยู่กับทั้งปัญหาเฉพาะทางและสาเหตุที่ซ่อนเร้นอยู่

สาเหตุทั่วไป

หากเราไม่ได้ยินว่าคำๆ หนึ่งออกเสียงอย่างไร เราก็จะไม่สามารถออกเสียงนั้นได้อย่างถูกต้อง ด้วยเหตุนี้ จึงไม่ประหลาดใจเลยว่าปัญหาทางการได้ยินนั้นเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาในการ สื่อสาร การสูญเสียการได้ยินมีอยู่ 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่

การนำเสียงเสีย เป็นผลจากอาการใดๆ ก็ตามที่ก่อให้เกิดการขัดขวางการถ่ายทอดเสียงผ่านทางหูชั้นนอกและหูชั้นกลาง การติดเชื้อแบคทีเรีย ขี้หูอุดตันอยู่ในท่อหู หรือเยื่อแก้วหูเสียหาย โดยปกติแล้ว แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านหู จมูกและคอจะสามารถบำบัดปัญหาการนำเสียงเสียนี้ได้
การสูญเสียการได้ยินชนิดประสาทนำเสียงบกพร่องจะเกิดขึ้นเมื่อหูชั้นในหรือ เส้นประสาทที่เกี่ยวข้องกับการฟังได้รับความเสียหาย การสูญเสียทางการได้ยินประเภทนี้สามารถวินิจฉัยได้ในไม่ช้าหลังจากที่เด็ก คลอด และได้มีโปรแกรมตรวจคัดกรองจัดให้บริการที่ Ontario, New Brunswick, PEI, BC และ Yukon ตามเว็บไซต์ของ Hearing Foundation of Canada เมื่อเด็กได้รับการวินิจฉัยและบำบัดรักษาอาการสูญเสียการได้ยินในช่วงอายุ ก่อน 6 เดือนแล้ว ระดับความสามารถทางภาษาของพวกเขาจะสูงขึ้น โดยไม่มีหลักฐานแสดงว่าเด็กมีพัฒนาการล่าช้าในเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยหลัง จากวัย 6 เดือน

แต่ความล่าช้าในการใช้ภาษาไม่ได้เป็นผลมาจากความผิดปกติทางการได้ยินเสมอไป ในเด็กบางคน ระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ ที่มีหน้าที่ด้านการสื่อสาร ในบางครั้งต้องใช้เวลานานกว่าปกติจึงจะพัฒนาอย่างเต็มที่ ลูกชายของฉันเป็นเด็กคนหนึ่งที่มี “ปัญหาพัฒนาการล่าช้า”

ประเภทปัญหาทางการสื่อสาร โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งเป็นสองประเภท

ความล่าช้าทางด้านการแสดงออกทางภาษาจะเกิดขึ้นเมื่อเด็กสื่อสารด้วยคำพูด ลำบาก เด็กอายุ 2 ขวบที่พูดได้แค่ 1 หรือ 2 คำ หรือเด็กที่พูดได้มาก แต่ทำความเข้าใจลำบาก ทั้งสองตัวอย่างนี้เป็นความล่าช้าทางด้านการแสดงออกทางภาษา

กาเบรียลจาก Ontario Canada เคยได้รับการวินิจฉัยว่ามีความล่าช้าทางด้านการแสดงออกทางภาษาเมื่อเขาอายุ ได้ 18 เดือน เลสลี่ ฮอดจ์ซึ่งเป็นคุณแม่ของเขาได้สังเกตเห็นถึงความผิดปกตินี้โดยเปรียบเทียบกับ เด็กรุ่นราวคราวเดียวกับเขา และดูเหมือนว่ากาเบรียลจะพูดอะไรไม่ได้เลยสักคำ และด้วยความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านการพูดซึ่งให้กาเบรียลปฏิบัติร่วม กับครอบครัวของเขาเพื่อเรียนรู้การออกเสียงพยัญชนะและ “เพื่อจดจำว่าเสียงเหล่านั้นอยู่ในจุดใดของคำพูด” เลสลี่กล่าวว่า ในขณะนี้กาเบรียลอายุ 9 ขวบแล้วและเขาก็ทำได้ดีทีเดียว “ตอนนี้เขาอ่านหนังสือได้แล้ว” เลสลี่กล่าว “ถึงเขาจะอ่านหนังสือได้ต่ำกว่าระดับป. 4 แต่เขาก็อ่านได้”

ความล่าช้าในการรับรู้ภาษาส่งผลกระทบต่อความสามารถของเด็กในการเข้าใจความ หมายของข้อความที่พูดออกไปหรือในการปฏิบัติตามคำสั่ง “เด็กที่อายุ 2 ขวบแล้วแต่ยังไม่สามารถแยกแยะส่วนต่างๆ ของร่างกายได้” เป็นตัวอย่างของความล่าช้าทางภาษาในประเภทนี้ บาซิลิกี้ พาสสาเรตติ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาในแฮมมิตัน อธิบาย

เดวิด แมคโดนัลด์ *เด็กก่อนวัยเรียนในเมืองแฮมมิงตัน ไม่เข้าใจคำถามอย่างเช่น “คนในภาพกำลังทำอะไรอยู่” หรือ “ลูกบอลอยู่ที่ไหน” และไม่สามารถตอบสนองต่อคำถามเหล่านี้ได้อย่างถูกต้อง หลังจากการบำบัดอยู่หลายสัปดาห์ ซึ่งเขาได้เข้าร่วมกิจกรรมที่ต้องใช้ปฏิสัมพันธ์ผ่านทางการเล่น เช่น เกมบันไดงู ในแบบพิเศษที่ผู้เล่นจะได้ฝึกถามและตอบคำถามในแบบธรรมชาติโดยใช้คำศัพท์จาก เกมนั้น ซึ่งเดวิดเรียนรู้การตอบคำถามที่ว่า “อะไร” และ “ที่ไหน” ได้อย่างถูกต้อง และตอนนี้เขากำลังทำความเข้าใจกับคำว่า “ใคร” “ทำไม” และ “อย่างไร”

จะทำอย่างไรดี

จะทำเช่นไรหากคุณแม่คิดว่าลูกของตัวเองมีปัญหาพูดช้าหรือใช้ภาษาได้ช้า คุณแม่สามารถไปติดต่อกับทางโรงเรียนสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนที่ให้บริการทาง ด้านการพูดและภาษาได้ นอกจากนั้น คุณแม่ยังสามารถเข้าพบกับแพทย์ประจำครอบครัวเพื่อรับการประเมินและส่งตัวต่อ ไปรับบริการภายในชุมชนที่อยู่ใกล้บ้านที่สุด

ซานดร้า เซเจล กุมารแพทย์ได้ให้กำลังใจแก่คุณพ่อคุณแม่ที่กังวลในเรื่องของทักษะการสื่อสาร ของลูกเพื่อจัดการปัญหาตั้งแต่เนิ่นๆ “เพราะการค้นพบปัญหาตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้รักษาได้ง่ายหากเด็กมีปัญหาเพียงแค่พัฒนาทักษะทางการพูดและการใช้ ภาษาช้าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่หากปล่อยไว้ปัญหาก็จะลุกลาม หรืออาจมีปัญหาเกิดขึ้นมากไปกว่านั้น” ซานดร้ารู้สึกได้ว่าหากเด็กมีพัฒนาการทางภาษาล่าช้าไปสักเล็กน้อย แต่มีพัฒนาการด้านอื่นที่สำคัญๆ นั่นก็นับเป็นเรื่องดี การวินิจฉัยตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้ทราบว่าเด็กมีพัฒนาด้านอื่นล่าช้าหรือไม่ เช่น ทักษะทางสังคมและการพัฒนาการเคลื่อนไหว “มีเด็กจำนวนมากมายที่ปัญหาลุกลามยิ่งขึ้นเมื่อเขาโตขึ้น” ซานดร้ากล่าว

การพาลูกเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ช่วยครอบครัวของฉันได้มากทีเดียว เขาเริ่มตั้งแต่กลิ้งลูกบอลอย่างช้าๆ ในตอนแรก และก็เริ่มกลิ้งแรงมากขึ้น และในตอนนี้ดูเหมือนว่าเขาจะไม่หยุดอยู่นิ่งๆ เลย ในทุกวันนี้ฉันเฝ้าคอยอย่างกระตือรือร้นเพื่อจะได้พูดคุยกับลูกชายของฉันใน ช่วงเย็น ฉันชอบนั่งที่ขอบเตียงนอนของเขาในตอนกลางคืนและฟังลูกเล่าให้ฟังเรื่องเคล็ด ลับการเล่นสเกตบอร์ดใหม่ๆ ที่เขาได้เรียนรู้มาและฟังเขาเล่าว่าอะไรทำให้เขามีความสุขบ้าง และนั่นเป็นการพัฒนาที่คุ้มค่าที่จะพูดถึง

ก้าวต่อไปสำหรับการพูด

ลูกของคุณมีพัฒนาการในการสื่อสารที่สมวัยหรือไม่ Early Words ซึ่งเป็นบริการทางด้านการพูดและภาษาสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนในเมืองแฮมมิลตัน ได้เสนอแนวทางการพัฒนาทางภาษาไว้ดังนี้

วัย 1 ปี

* พูดคำแรกได้
* ทำตามคำสั่งอย่างง่ายๆ ได้
* แสดงท่าทางและ/หรือเปล่งเสียงเพื่อแสดงถึงสิ่งที่เขาต้องการได้

วัย 1 ปีครึ่ง

* พูดได้ประมาณ 50 คำ
* ใช้การเชื่อมต่อเสียงที่เป็นเสียงคล้ายกับประโยคในภาษาต่างประเทศได้
* เริ่มเข้าใจหมวดหมู่ต่าง ๆ เช่น อาหาร ของเล่น สัตว์ และเสื้อผ้า

วัย 2 ปี

* พูดได้ 200 ถึง 250 คำ
* พูดประโยคแบบ 2 คำได้
* ทำตามคำสั่ง 2 ขั้นตอนได้
* ใช้คำปฏิเสธได้ เช่น “ไม่” โดยผสมเข้ากับคำอื่นๆ ได้

วัย 3 ปี

* รู้คำศัพท์เยอะขึ้นกว่าเดิมมาก
* ใช้รูปพหูพจน์ได้
* ทำตามคำสั่งที่ยาวกว่าสองถึงสามขั้นตอนได้

อายุ 3 ปีครึ่ง

* พูดเป็นประโยค 4 – 5 คำได้
* ถามคำถามโดยใช้คำว่า “อะไร” “ที่ไหน” “ใคร” และ “ทำไม” ได้
* สามารถนับจำนวนสิ่งของได้สูงสุด 3 สิ่งและแยกแยะสีพื้นฐานได้

วัย 4 ปี

* พูดเป็นประโยคที่สมบูรณ์โดยมี 5 คำขึ้นไป
* ใช้รูปประโยคอดีตกาลที่ลงท้ายด้วย “ed” ได้
* สนใจและสามารถฟังเรื่องยาวๆ ได้


เคล็ดลับในการพูด

คุณแม่จะลดความวิตกกังวลไปได้โดยการเล่นสนุกกับภาษา คุณแม่ควรทดลองใช้เคล็ดลับต่างๆ เหล่านี้ที่ได้มาจาก University of Michigan Healthy System เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ภาษาของลูก

1. เริ่มคุยกับลูกตั้งแต่แรกเกิด และตอบสนองเขาเวลาที่เขาทำเสียงกระซิบกระซาบหรือเวลาที่เขาอ้อแอ้
2. เล่นเกมง่ายๆ กับเขา เช่น เกมจ๊ะเอ๋และเต้นไปตามจังหวะเพลง
3. ฟังเขาพูดและมองเขาเวลาที่เขาพูดกับคุณ
4. อธิบายให้เขาฟังว่าเขากำลังทำอะไรอยู่ รู้สึกอย่างไรและกำลังได้ยินอะไรตลอดทั้งวัน
5. กระตุ้นให้เขาเล่านิทานและเล่าข้อมูลอะไรก็ตามให้คุณฟัง
6. อย่าพยายามบังคับให้เขาพูด
7. อ่านหนังสือดังๆ ถามคำถามกับเขา (“ลูกคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไปจ๊ะ)
8. ร้องเพลงให้เขาฟังและหาเสียงดนตรีให้เขาฟัง
9. ขยายความในสิ่งที่ลูกพูด ยกตัวอย่างเช่น หากเขาพูดว่า “หมา!” คุณแม่ก็อาจพูดต่อว่า “ใช่จ๊ะ หมาตัวใหญ่กำลังวิ่ง”
10. ดูภาพถ่ายของครอบครัวกับเขาและพูดถึงแต่ละคนในภาพ
11. ตอบลูกทุกครั้งที่เขาพูดเพื่อเป็นรางวัลที่เขาพูด
12. อย่าตำหนิถ้าเขาใช้ไวยากรณ์ผิด คุณแม่แค่ทำตัวเป็นต้นแบบใช้ไวยากรณ์ให้ถูกต้องก็พอ
13. เล่นกับลูกสองต่อสอง และพูดคุยเกี่ยวกับของเล่นและเกมที่กำลังเล่นกันอยู่


ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Saturday, July 25, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ศักยภาพสูงสุดของลูกน้อยด้าน ภาษา ( เด็กวัยหัดเดิน พัฒนาการทางการพูด )

Posted by wittybuzz at 7:48 PM 0 comments
วิธีการที่ช่วยให้เจ้าตัวน้อยจ้อไม่หยุด
1. พยายามพูดให้สั้นๆ และง่ายๆ เข้าไว้
การพูดให้สั้นๆ และง่ายๆ จะทำให้เจ้าตัวน้อยเข้าใจได้ง่ายกว่าและทำให้เขาลอกเลียนแบบได้
2. การเป็นต้นแบบ
การเป็นต้นแบบทางภาษาจะช่วยให้ลูกน้อยได้มีโอกาสฟังภาษาและจากนั้นจึงฝึกพูด ตาม ใช้ประโยคอย่างง่ายๆ โดยให้สั้นที่สุด หากประโยคนั้นยากมากจนเกินไป เขาจะไม่ยอมพูดเลียนแบบและจะไม่ใช้ประโยคนั้น

3. การขยายและเพิ่มคำ
คุณแม่ควรเพิ่มเติมคำในประโยคที่ลูกพูดออกมา ซึ่งจะช่วยให้ลูกได้เรียนรู้คำใหม่ๆ และรับรู้ถึงวิธีการรวมคำเข้าด้วยกัน รวมถึงควรชื่นชมสิ่งที่เขาพูดออกมา เขาอาจไม่พูดประโยคยาวๆ ซ้ำ แต่เขาอาจพยายามพูดใหม่ทีหลัง

4. ให้ทางเลือกกับเขา
เวลาที่ถามคำถามกับลูก ควรให้ทางเลือกในการตอบกับเขาด้วย การทำเช่นนี้ก็เพื่อเพิ่มโอกาสแห่งความสำเร็จให้แก่ลูก และคุณแม่จะได้เป็นต้นแบบทางภาษาให้กับเขาในเวลาเดียวกัน

5. ข้อควรจำ

* เด็กแต่ละคนมีการพัฒนาทักษะการพูดในระดับที่แตกต่างกันออกไป
* ชื่นชมเขาทุกครั้งที่เขาพยายามพูด ถึงเขาจะพูดผิดพูดถูกก็ไม่เป็นไร เพราะนั่นเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ หากชื่นชมเขา เขาก็จะพยายามอีกครั้ง
* ควรพูดซ้ำๆ เด็กจำเป็นต้องได้ยินคำพูดและวลีซ้ำแล้วซ้ำเล่าหลายๆ ครั้งกว่าที่เขาจะพูดคำนั้นได้
* พูดกับเขา อ่านหนังสือให้เขาฟัง เล่นกับเขา! รับฟังเขาและตอบสนองเขา

6. ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านการพูดหากคุณแม่มีความกังวลใดๆ เกี่ยวกับการสื่อสารของลูก

* ไปติดต่อกับศูนย์สุขภาพชุมชน (โดยส่วนมากแล้วจะมีผู้เชี่ยวชาญด้านการพูดของเด็กประจำอยู่หรือส่งตัวไปรับการรักษาต่อไป)
* ค้นหาข้อมูลจากสมุดหน้าเหลืองภายใต้หัวข้อ “ผู้เชี่ยวชาญด้านการพูด-กุมารแพทย์”

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Friday, July 24, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ศักยภาพสูงสุดของลูกน้อยด้าน ภาษา ( คำพูดแรกของลูกน้อย )

Posted by wittybuzz at 2:06 PM 0 comments
ถึงจะเป็นเรื่องไม่น่าเชื่อ แต่ลูกน้อยของคุณกำลังเตรียมพร้อมที่จะพูด! เริ่มตั้งแต่วินาทีที่ลูกน้อยลืมตาดูโลก เขาก็เริ่มสื่อสารความต้องการพื้นฐานของเขาให้คุณแม่รู้ เมื่อแรกเกิด การร้องไห้ครั้งแรกของลูกน้อยหมายความว่า “เฮ้ หนูหนาว!” คุณแม่จึงตอบสนองความต้องการของลูกและมอบความอบอุ่นให้แก่เขา และนั่นคือรูปแบบแรกในการติดต่อสื่อสารของเด็ก เนื่องจากเขาเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง เขาจะเริ่มออกเสียง เข้าใจความหมาย และพูดได้ และในที่สุดเขาก็จะมีส่วนร่วมในบทสนทนาที่ซับซ้อนได้ และทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นเร็วกว่าที่คุณแม่คิดไว้เสียอีก!

แรกเกิดไปจนถึงวัย 3 เดือน

ในช่วงสองถึงสามสัปดาห์แรกของชีวิตลูกน้อย ทั้งคุณแม่และคุณลูกจะเริ่มทำความรู้จักกัน เมื่อลูกน้อยร้องไห้ เขาจะเปลี่ยนระดับเสียงและสื่อสารในสิ่งที่เขาต้องการ คุณแม่จะได้เรียนรู้เพื่อจดจำว่าลูกน้อยกำลังหิว ไม่สบายตัว เปียกชื้น เหนื่อยล้า หรือกำลังมีความสุขโดยแปลความหมายจากเสียงร้องไห้แบบต่างๆ ของลูก

ลูกน้อยวัยแรกเกิดจะได้ยินเสียง และเขาจะสะดุ้งหรือตื่นเพราะเสียงดัง ในวันที่ 3 เขาอาจสามารถจดจำเสียงของคุณแม่ได้ และอาจหยุดร้องไห้เมื่อเขาได้ยินเสียงคุณแม่ ในวันที่ 9 เขาอาจเริ่มมองหาที่มาของเสียงได้ เขาอาจหันศีรษะไปทางเสียงของคุณแม่ และเขาจะหยุดทำอะไรก็ตามที่เขากำลังทำอยู่เมื่อได้ยินเสียงที่ไม่คุ้นเคย

ตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงประมาณ 3 เดือน ลูกน้อยอาจเริ่มออกเสียงคล้ายๆ กับเสียงสระซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่าเป็น “เสียงกระซิบกระซาบ” และเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับ “การเล่นเสียง” ในที่สุดการเล่นเสียงจะกลายเป็นการใช้เสียงพูด การศึกษาได้แสดงให้เห็นว่าเด็กเกิดมาพร้อมกับความสามารถในการเรียนรู้และใช้ ภาษาได้ทุกภาษา และแน่นอนว่าเด็กจะเข้าใจและใช้ภาษาที่เขาได้ยินมากที่สุด

เมื่อผ่านไป 3 เดือน ลูกน้อยของคุณอาจเริ่มยิ้มได้ หลังจากที่เขาเริ่มยิ้มได้ คุณแม่จะสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์กับเขาได้มากขึ้น โดยใช้คำพูดและการแสดงออกทางสีหน้าเพื่อกระตุ้นให้เขายิ้มอีก เขาอาจตอบสนองปฏิสัมพันธ์ของคุณแม่ด้วยการยิ้มและทำเสียงต่างๆ คุณแม่ควรปฏิบัติตามสัญชาตญาณและเลียนเสียงที่เขาทำซ้ำเพื่อเริ่มต้นกระบวน การสร้างต้นแบบทางภาษา

“ขณะที่ลูกเริ่มทำเสียงกระซิบกระซาบ ให้เลียนแบบเขา” คำแนะนำของชารอนแฟรงค์ M.A., CCC-SLP นักจิตวิทยาด้านภาษา-การพูดในภาคธุรกิจเอกชนและเป็นคุณแม่ของน้องโจอี้วัย 4 ขวบ “การเลียนเสียงเขานี้ จะทำให้เขารู้ว่าคุณกำลังรับฟังเขาอยู่ และนอกจากนั้นยังเป็นการกระตุ้นให้ลูกทำเสียงต่างๆ อีกด้วย”

นอกจากนั้นในช่วงอายุนี้ เด็กจะสามารถใช้เสียงสูงต่ำได้อย่างหลากหลาย และลูกน้อยของคุณจะเรียนรู้ถึงการแปลความหมายของการเปลี่ยนเสียงสูงต่ำและ น้ำเสียงของคุณ เขาจะสามารถจดจำความแตกต่างระหว่างคำพูดของคุณได้ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อคุณถามคำถามเขาหรือพูดกับเขาธรรมดาๆ

คุณแม่ควรทำเช่นไรเพื่อส่งเสริมทักษะทางการพูด? “ในขั้นนี้ เด็กจะรับรู้การสัมผัสของคุณพ่อคุณแม่ การแสดงออกทางสีหน้าและการเปล่งเสียงได้มากกว่าคำพูดของคุณพ่อคุณแม่” แฟรงค์กล่าว “ให้มุ่งความสนใจไปที่การแสดงสีหน้าเกินจริงและเปลี่ยนระดับเสียงให้สูงๆ ต่ำๆ เมื่อคุยกับลูก”

วัย 4 ถึง 6 เดือน

ในช่วงเวลาประมาณ 4 เดือน ลูกน้อยจะเริ่มตอบสนองกับคำว่า “ไม่” ในตอนนี้เขาจะสามารถมองไปรอบๆ เพื่อหาแหล่งที่มาของเสียงใหม่ๆ และจะตั้งใจฟังเพลงได้ ในระหว่างวัย 4 ถึง 6 เดือน เขาจะเริ่มอ้อแอ้ เด็กจะเริ่มอ้อแอ้ได้เมื่อเขาออกเสียงพยัญชนะและเสียงสระได้มากขึ้น ซึ่งได้แก่เสียง “พ” “บ” และ “ม” ลูกน้อยสามารถพูดอ้อแอ้ได้เมื่อเขาอยู่คนเดียวหรือเมื่อกำลังเล่นกับคุณแม่

“ควรเลียนเสียงอ้อแอ้หรือคำพูดอะไรก็ตามที่ลูกน้อยกำลังพูด” แฟรงค์กล่าว “เวลาที่ลูกชี้ไปที่อะไรก็ตาม ให้คุณแม่เรียกชื่อของสิ่งนั้น คุณแม่ควรเริ่มชี้ไปที่อะไรก็ตามพร้อมกับเขา และก็เรียกชื่อของสิ่งนั้น (‘เตียง หมา คุณพ่อ) รวมถึงพยายามพูดวลีที่มีคำ 1 ถึง 3 คำ (ยกตัวอย่างเช่น ‘แม่ไปบ๊ายบาย’ ‘กินนมอีก’)

เจนนิเฟอร์ โครนิน ครูโรงเรียนอนุบาลและคุณแม่ของน้องลิลลี่วัย 6 เดือน และแอนดรูว์วัย 2 ขวบ ได้ฝึกฝนการเป็นต้นแบบทางภาษา “ทุกครั้งที่ลิลลี่พูดอ้อแอ้กับฉัน ฉันจะพูดตอบกลับเขาไป” เธอกล่าว “ฉันพูดกับเขาด้วยน้ำเสียงสูงๆ เพราะว่าเขาชอบเสียงแบบนี้” ฉันคิดว่าลูกกำลังพูดกับฉัน และมันก็ช่างน่ารักน่าชังจริงๆ!”

โครนินกล่าวเพิ่มเติมว่าเธอชอบมองลูกชายกับลูกสาวคุยกัน “แอนดรูว์ชอบเลียนแบบเสียงอ้อแอ้ของลิลลี่ เธอกล่าว “ฉันคิดว่าดีมากเลยเวลาที่พวกเขาคุยกัน พวกเขากำลังเรียนรู้ถึงวิธีการสนทนาและการตอบรับซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นทักษะที่จะมีความสำคัญสำหรับพวกเขาไปทั้งชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพวกเขามีปฏิสัมพันธ์กับเด็กคนอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น ที่สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียนสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน โรงเรียนอนุบาล และอื่นๆ!”

สิ่งที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันก็คือการพัฒนาด้านการแสดงท่าทาง ทั้งนี้เพราะเป็นการนำไปสู่พัฒนาการทางภาษาที่ดี เด็กจะเริ่มสื่อสารความต้องการของเขาด้วยการแสดงท่าทาง (เอื้อมมือ ชี้ เป็นต้น) เมื่ออายุได้ประมาณ 6 เดือน การวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าเด็กสามารถเรียนรู้ภาษาท่าทางเพื่อสื่อสารกับคุณ พ่อคุณแม่ได้ก่อนที่เขาจะพูดได้ด้วยซ้ำ!

“คุณพ่อคุณแม่ควรช่วยให้ลูกเริ่มเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของเหตุและผล (ด้วยการเขย่าของเล่นที่มีเสียงกรุ๊งกริ๊ง) และพัฒนาความสามารถในการจดจำวัตถุ (ด้วยการเล่นจ๊ะเอ๋)” แฟรงค์ได้แนะนำว่า “ทักษะด้านความคิดแรกเริ่มเหล่านี้เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาคำพูดและภาษา”

วัย 7 ถึง 12 เดือน

ในระหว่างช่วงวัย 7 ถึง 12 เดือน ลูกน้อยจะเริ่มเพลิดเพลินไปกับการเล่นจ๊ะเอ๋และเกมเต้นไปตามเสียงเพลง) ลูกจะเริ่มจำชื่อของเขาเองและคำพูดทั่วๆ ไปได้ (ยกตัวอย่างเช่น “แก้ว” “ผ้าอ้อม”) เขาจะเริ่มเข้าใจคำสั่งและเริ่มต้นตอบสนองเวลาที่ขอให้เขาทำอะไรได้ เช่น “เอาอีกไหม?” นอกจากนั้น การพูดอ้อแอ้ของเขาจะพัฒนาจนสามารถออกเสียงสั้นและยาวได้ เช่น "อะอะ กากากากา " การอ้อแอ้เหล่านี้จะพัฒนาขึ้นไปจนกลายเป็นคำพูด ถึงแม้ว่าคำพูดของเขาอาจไม่ชัดเจนนักก็ตาม แต่หากเขาใช้เสียงแบบเดิมๆ เพื่อเรียกสิ่งของหรือบอกความต้องการของเขาแล้วละก็ เสียงนั้นก็จะถือว่าเป็น “คำพูดจริงๆ” ได้ ยกตัวอย่างเช่น หากลูกน้อยของคุณมักพูดคำว่า “อิก” เพื่อหมายความว่าเขาอยากได้ “อีก” ให้ถือว่าคำนี้เป็นคำพูดที่แท้จริงของเขา

เมื่ออายุได้ 12 เดือน เด็กส่วนใหญ่จะเปลี่ยนจากภาษาอ้อแอ้ของพวกเขาไปเป็นคำพูด 1 หรือ 2 คำ เช่น “ดาด๊า บ๊ายบาย” หรือแม้แต่ “มาม๊า!” ไม่น่าเชื่อเลยว่าว่าในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เพียง 12 เดือน เด็กจะเริ่มพัฒนาความสามารถในการติดต่อสื่อสารกับโลกได้แล้ว นับตั้งแต่ครั้งแรกที่คุณพ่อคุณแม่ตกใจที่ลูกพูดคำแรกได้ นับจากนั้นทักษะทางคำพูดและภาษาของเขาจะพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว จึงไม่ประหลาดใจเลยว่าการศึกษาการพัฒนาสมองได้แสดงว่าสมองเจริญเติบโตอย่าง รวดเร็วตั้งแต่ช่วงวัยแรกเกิดไปจนถึง 3 ขวบ

คุณพ่อคุณแม่ควรสนับสนุนให้ลูกน้อยพูดเก่งๆ โดยคุยกับเขาบ่อยๆ “ใช้สภาพแวดล้อมรอบตัวให้เป็นประโยชน์สูงสุดเพื่อส่งเสริมการพูดของลูกน้อย โดยพาเขาไปเดินเล่นและชี้ไปที่อะไรก็ตามที่คุณเห็น (‘หมา บ้าน รถยนต์ นกกำลังบิน คนส่งไปรษณีย์) แฟรงค์กล่าว “และควรทำแบบเดียวกันนี้กับข้าวของภายในบ้าน ที่ร้านขายของชำ ที่สวนสาธารณะ เป็นต้น”

ในระหว่างช่วงเวลานี้ ลูกน้อยของคุณจะพร้อมและเต็มใจที่จะเรียนรู้ภาษา และคุณพ่อคุณแม่เป็นแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุดของเขาเพื่อกระตุ้นทักษะเหล่านี้ โดยจัดเตรียมสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ทางภาษาให้กับเขา ซึ่งจะเป็นการปลูกฝังทักษะต่างๆ ที่จะอยู่กับเขาไปตลอดชีวิต!

สัญญาณเตือนภัย


กระบวนการพัฒนาที่สำคัญของชีวิตได้ถูกนำมาใช้เป็นแนวทางเพื่อจะได้ทราบว่า โดยปกติแล้ว เด็กในแต่ละวัยจะมีพัฒนาการใดบ้าง ถึงอย่างไรก็ตาม เด็กแต่ละคนก็มีความแตกต่างกัน และอาจเป็นไปตามตารางพัฒนาการก่อนหรือหลังที่กำหนดก็ได้ ถึงอย่างไรก็ตาม สำหรับเด็กในกลุ่มวัยนี้ คุณแม่ควรวิตกกังวลหาก

ลูกน้อยของคุณไม่ตกใจหรือตอบสนองต่อเสียง

* เมื่ออายุ 3 เดือน ลูกน้อยของคุณไม่หันไปทางแหล่งที่มาของเสียงหรือหันไปตามเสียงของคุณ
* เมื่ออายุ 8 เดือน ลูกน้อยของคุณไม่พูดอ้อแอ้ ไม่เลียนแบบเสียงพูดหรือใช้เสียงเพื่อเรียกร้องความสนใจ
* เมื่อ 8 ถึง 12 เดือน ลูกน้อยของคุณไม่ตอบสนองเวลาที่มีคนพูดกับเขาหรือไม่แสดงความสนใจที่จะพยายามสื่อสารตอบ


หากคุณแม่มีความกังวลเกี่ยวกับการได้ยินเสียงหรือการพูด/การใช้ภาษาของลูก น้อย ควรไปปรึกษากับกุมารแพทย์ การค้นหาปัญหาการได้ยินเสียง การพูด หรือภาษาตั้งแต่เนิ่นๆ เป็นสิ่งจำเป็น การค้นหาปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตั้งแต่เนิ่นๆ ไม่ได้แค่ช่วยแก้ไขพัฒนาการทางคำพูดและภาษาเท่านั้น แต่ยังป้องกันปัญหาเรื่องของพฤติกรรม ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และในด้านการศึกษาในอนาคตได้อีกด้วย

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Thursday, July 23, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ศักยภาพสูงสุดของลูกน้อยด้าน ภาษา ( ขั้นตอนสู่ความสำเร็จด้วยภาษาท่าทางของลูกน้อย )

Posted by wittybuzz at 1:12 PM 0 comments
1. ไปอย่างง่ายๆ และเริ่มต้นอย่างช้า ๆ

เมื่อคุณแม่สอนภาษาท่าทางให้กับลูกน้อย ควรสอนทีละท่าอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยขอแนะนำให้เริ่มต้นด้วยคำพูดประมาณ 5 คำและเมื่อลูกน้อยเริ่มต้นตอบสนองคำพูดเหล่านั้นแล้ว คุณแม่ก็สามารถสอนภาษาท่าทางอย่างอื่นให้เขาอีกได้ การเรียนรู้ภาษาท่าทางของเด็กอาจเป็นไปอย่างช้า ๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุของลูกน้อยเมื่อเวลาที่คุณแม่เริ่มสอน เด็กวัย 6 เดือนที่ได้รับการสอนเรื่องการใช้ภาษาท่าทางอาจเริ่มแสดงภาษาท่าทางตอบกลับ คุณแม่ได้ในประมาณ 1 เดือนถึง 6 เดือนหลังจากนั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเด็กแต่ละคน

2. อดทนเข้าไว้

คุณพ่อคุณแม่ทุกท่านสามารถสอนภาษาท่าทางให้แก่ลูกน้อยได้ ความล้มเหลวส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นกับคุณพ่อคุณแม่บางท่านคือการขาดความอดทน การใช้ภาษาท่าทางไม่อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงเวลาข้ามคืน แต่การเรียนรู้ภาษาท่าทางนี้จะเป็นไปอย่างช้าๆ โดยขึ้นอยู่กับเด็กแต่ละคน คุณพ่อคุณแม่อย่าเพิ่งหมดกำลังใจ ลูกน้อยกำลังเรียนรู้จากคุณพ่อคุณแม่และเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม เขาจะแสดงให้เห็นว่าเขาเข้าใจความหมายโดยผ่านทางการแสดงท่าทาง กระบวนการเรียนรู้นี้จะสอนให้ลูกน้อยรู้จักถึงการมีปฏิสัมพันธ์ที่ไม่สามารถ ประเมินค่าได้ ขอเพียงอย่าเพิ่งยอมแพ้และขอให้อดทน แล้วคุณพ่อคุณแม่ก็จะได้ชื่นชมผลตอบแทนจากความพยายามที่สอนภาษาท่าทางให้ลูก

3. สอนเขาอย่างสม่ำเสมอ


เมื่อคุณแม่ตัดสินใจได้แล้วว่าจะเริ่มใช้คำพูด 5 คำกับลูก ขอให้คุณแม่พูดคำนั่นกับเขาอย่างสม่ำเสมอ ยกตัวอย่างเช่น หากคุณแม่ใช้ภาษาท่าทางแสดงถึงคำว่า ‘นม’ กับลูกน้อยและสอนให้เขารู้จักภาษาท่าทางนี้ในเวลาที่กำลังป้อนนมเขา คุณแม่ก็อย่าลืมใช้คำนั้นอย่างต่อเนื่องในทุกๆ ครั้งที่ป้อนนมเขา หากคุณแม่ใช้ภาษาท่าทางนี้เพียงแค่บางครั้งบางคราว ก็อาจเป็นไปได้ที่ลูกน้อยจะเข้าใจว่าภาษาท่าทางนี้หมายถึง ‘นม’ ได้น้อยกว่า เขาอาจคิดว่ามันเป็นแค่เกมส์ง่ายๆ ที่คุณกำลังเล่นกับเขา กุญแจสำคัญในส่วนนี้คือ การรวมภาษาท่าทางเข้ากับชีวิตประจำวันของคุณเอง ในแต่ละครั้งที่คุณแม่พูดคำว่า ‘นม’ ให้คุณแม่แสดงภาษาท่าทางที่สื่อถึงคำว่านมออกมาอัตโนมัติและกล่าวคำพูดนั้น ออกมาดังๆ ซึ่งการทำแบบนี้ซ้ำๆ ถือเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จ

4. ระดับการแสดงภาษาท่าทางของลูกน้อย

เมื่อคุณแม่แสดงปฏิสัมพันธ์กับลูกน้อย สิ่งสำคัญคือ คุณแม่จะต้องแสดงภาษาท่าทางในระดับที่เขาเห็น คุณแม่ควรแสดงสีหน้าและท่าทางภายในขอบเขตที่เขามองเห็น ทั้งนี้เพื่อสร้างความมั่นใจว่าลูกน้อยมองเห็นวิธีการที่ถูกต้องในการแสดง ท่าทางคำพูด หากคุณแม่แสดงภาษาท่าทางให้ลูกน้อยดูจากมุมด้านข้าง เขาอาจจะเห็นภาษาท่าทางของคุณแม่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงกับท่าทางที่คุณแม่ กำลังพยายามทำอยู่ก็ได้

5. ใช้ภาษาท่าทางโดยมีบริบทช่วย

เมื่อคุณแม่สอนภาษาท่าทางให้กับลูกน้อย สิ่งสำคัญก็คือ คุณแม่ต้องเชื่อมโยงคำพูดนั้นเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันหรือความรู้สึกในช่วง เวลานั้น ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะพยายามสอนให้ลูกน้อยรู้จักภาษาท่าทางบางอย่างที่ สัมพันธ์กับสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต ยกตัวอย่างเช่น หากคุณแม่ออกไปเดินเล่นกับลูกน้อยและมองเห็นสุนัขในระหว่างทาง ไม่มีประโยชน์อะไรที่คุณแม่จะแสดงท่าทางคำว่า “หมา” ในวันรุ่งขึ้น แล้วพูดกับลูกว่า “จำหมาที่เราเห็นเมื่อวานในสวนสาธารณะได้ไหมจ๊ะ” Australian Baby Hands ได้แนะนำว่าควรหาสถานการณ์ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อใช้ภาษาท่าทางที่คุณแม่กำลังพยายามสอนเขาอยู่ ยกตัวอย่างเช่น ใช้ภาษาท่าทางแทนคำว่า ‘หมา’ ในขณะที่คุณแม่กำลังเล่าเรื่องสุนัขให้เขาฟัง เวลาที่เห็นสุนัขในทีวี หรือแสดงท่าทางแทนคำว่า “หมา” พร้อมทั้งชี้ไปยังสุนัขที่เลี้ยงอยู่ในบ้าน เป็นต้น

6. ใช้ภาษาท่าทางควบคู่กับคำพูดเสมอ


แต่ละครั้งที่คุณแม่ใช้ภาษาท่าทางกับเขา อย่าลืมใช้ภาษาพูดควบคู่กันด้วย เพราะจะช่วยสามารถส่งเสริมให้ลูกน้อยสามารถเชื่อมโยงระหว่างภาษาท่าทางและ ภาษาพูดเข้าด้วยกันได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

7. ใช้ภาษาท่าทางเพื่อเป็นแรงจูงใจ


สิ่งสำคัญเวลาที่คุณแม่เลือกภาษาท่าทางที่จะพูดกับลูกน้อยก็คือ ควรผสมผสานระหว่างภาษาท่าทาง ‘ในทางปฏิบัติ’ และภาษาท่าทาง ‘เพื่อเป็นแรงจูงใจ’ เข้าด้วยกัน

ภาษาท่าทาง ‘ในทางปฏิบัติ’ คือท่าทางที่จะทำให้ชีวิตคุณแม่และลูกน้อยง่ายยิ่งขึ้นเมื่อมีการใช้ภาษาท่า ทางภายในบ้าน ภาษาท่าทางเหล่านี้เป็นคำที่ใช้ทั่วๆ ไปและรวมถึงคำพูดต่างๆ เช่น กิน ดื่ม เปลี่ยนผ้าอ้อม เจ็บ นอน เป็นต้น

สิ่งสำคัญก็คือ จะต้องสร้างความสมดุลระหว่างคำพูดเหล่านี้กับคำพูดที่เป็นแรงจูงใจหรือน่า สนใจสำหรับลูกน้อย คำพูด ‘เพื่อเป็นแรงจูงใจ’ อาจรวมถึงคำพูดต่าง ๆ เช่น ตุ๊กตาหมี บอล เล่น ฯลฯ ซึ่งอาจจะเป็นอะไรก็ได้ที่เจ้าตัวเล็กสนอกสนใจก็ได้

8. การสอนสมาชิกของครอบครัวและพี่เลี้ยงเด็ก

ถือเป็นเรื่องสำคัญที่คุณแม่จะต้องสอนภาษาท่าทางที่คุณแม่กำลังใช้กับลูก น้อยให้กับคนที่ต้องติดต่อสื่อสารกับลูกน้อยของคุณอยู่เป็นประจำ ในส่วนนี้จะช่วยสร้างความมั่นใจถึงความสม่ำเสมอได้ ยิ่งลูกน้อยเห็นภาษาท่าทางมากเท่าไหร่ เขาก็จะเริ่มส่งภาษาท่าทางกลับได้เร็วขึ้นเท่านั้น สถานรับเลี้ยงเด็กจะเริ่มสอนการส่งสัญญาท่าทางให้กับเด็กอย่างช้า ๆ ดังนั้นคุณแม่จึงควรอัพเดทกับพี่เลี้ยงเด็กอย่างต่อเนื่องว่าคุณแม่ได้สอน ภาษาท่าทางอะไรให้เขาไปแล้วบ้าง

9. ใช้การแสดงสีหน้าที่เหมาะสมกับภาษาท่าทาง

การแสดงสีหน้าประกอบจะมีความสำคัญเป็นพิเศษเวลาที่สอนถึงการแสดงความรู้สึก ให้กับลูกน้อย ภาษาท่าทางเป็นภาษาที่เห็นได้ชัดมาก และคนหูหนวกก็ใช้สีหน้าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการแสดงภาษาท่าทาง ในขณะที่คุณแม่กำลังแสดงความรู้สึกให้ลูกน้อยดู ให้คุณแม่แสดงความรู้สึกผ่านทางใบหน้าอย่างชัดเจน ความรู้สึกว่ากำลังมีความสุขสามารถแสดงออกได้ด้วยรอยยิ้มกว้างๆ ในเวลาเดียวกันนั้นก็ให้แสดงภาษาท่าทางและใช้ภาษาพูดไปพร้อมๆ กัน ความรู้สึกว่ากำลังกลัวจะแสดงออกด้วยการขมวดคิ้วหรือมองอย่างหวั่นเกรง บางคำพูดไม่จำเป็นต้องแสดงสีหน้าอย่างชัดเจน การแสดงออกท่าสีหน้าอย่างมีชีวิตชีวานั้น อาจเป็นเรื่องแปลกสักเล็กน้อยสำหรับคนที่เพิ่งเริ่มหัดใช้ภาษาท่าทางในช่วง แรกๆ วิธีการฝึกคือ ให้ยืนอยู่หน้ากระจกและดูว่าตัวเองเข้าใจความหมายของสีหน้าที่ตัวเองกำลัง พยายามแสดงอยู่ไหม ตัวเองกำลังพยายามแสดงภาษาท่าทางสื่อถึงคำว่าอะไรอยู่ ขอให้จำไว้ว่าการแสดงออกทางสีหน้าแบบโอเวอร์ยังดีกว่าการแสดงออกแบบไม่เต็ม ที่

10. ส่งเสริมความพยายามของลูกน้อย

เมื่อลูกน้อยของคุณเริ่มแสดงภาษาท่าทาง เขาอาจไม่ได้แสดงภาษาท่าทางนั้นได้อย่างถูกต้อง 100% ถึงอย่างไรก็ตาม คุณแม่ก็ควรชมเชยเขาและแสดงภาษาท่าทางที่ถูกต้องให้เขาดูซ้ำ เวลาที่ลูกแสดงว่าว่าเขาต้องการอะไร ให้นำสิ่งนั้นให้เขาถึงแม้ภาษาท่าทางที่เขาใช้นั้นจะผิดๆ ถูกๆ ก็ตาม เด็กๆ จะเริ่มตระหนักว่าใช้ภาษาท่าทางแล้วได้ผล!

11. สนุกไปด้วยกัน!

ภาษาท่าทางคือภาษาแห่งการมองเห็นที่สวยงาม และไม่ใช่เรื่องที่เราจะต้องเคร่งเครียด หากคุณแม่รู้สึกเครียดเวลาที่แสดงภาษาท่าทางกับลูก เขาก็จะรับรู้ถึงความเครียดนั้นได้ ภาษาท่าทางจึงควรเป็นเรื่องที่สนุกสนานสำหรับคุณแม่กับและลูกน้อย คุณแม่ไม่ควรรู้สึกว่าการแสดงภาษาท่าทางเป็นงานน่าเบื่อหน่าย แต่ควรทำให้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ขอให้ผ่อนคลาย สนุกสนาน และเพลิดเพลินไปกับประโยชน์ที่จะได้รับจากภาษาอันน่ามหัศจรรย์นี้ทั้งสำหรับ คุณแม่และคุณลูก

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Wednesday, July 22, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ศักยภาพสูงสุดของลูกน้อยด้าน ภาษา ( ภาษาท่าทางของลูกน้อย – การค้นคว้าและประโยชน์ )

Posted by wittybuzz at 10:25 PM 0 comments
ภาษาท่าทางของลูกน้อยคือการฝึกฝนใช้ภาษาท่าทาง หรือการแสดงท่าทางอย่างง่ายๆ เพื่อเป็นการช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ ครอบครัว และพี่เลี้ยงเด็กสื่อสารกับเด็กวัยก่อนพูดได้อย่างรู้เรื่อง คุณแม่อาจไม่รู้ตัวว่าตัวเองก็ใช้ภาษาท่าทางพื้นฐานบางอย่างอยู่แล้ว ขอเชิญอ่านเพื่อรับทราบถึงประโยชน์ต่างๆ ที่จะได้จากภาษาท่าทางของลูกน้อยและวิธีการเริ่มต้นส่งภาษาท่าทาง

จากการศึกษาในด้านนี้พบว่า ประโยชน์ที่จะได้รับจากการสอนให้ลูกน้อยใช้ภาษาท่าทางนั้น มีอยู่มหาศาล โดยภาษาท่าทางของลูกน้อยจะมีประโยชน์ดังนี้

* ช่วยให้ลูกน้อยสามารถสื่อสารกับบุคคลที่อยู่รอบข้างได้ก่อนที่เขาจะพูดได้ ซึ่งหมายถึงการที่ลูกน้อยของคุณอาจสามารถสื่อสารได้ว่าพวกเขาอยากได้อะไร และอยากได้เมื่อไหร่ นอกจากนั้น ภาษาท่าทางยังอาจช่วยให้ลูกเริ่มพูดในเรื่องที่เขาสนใจ อีกทั้งยังถือเป็นตัวเชื่อมต่อช่องว่างของเด็กที่ยังพูดไม่ได้กับผู้ใหญ่อีก ด้วย

* ช่วยลดความหงุดหงิดทั้งของคุณพ่อคุณแม่และของลูกน้อยได้ ภาษาท่าทางอาจช่วยให้ลูกน้อยบอกได้ว่าเขาต้องการอะไร เกิดอะไรขึ้น หรือเจ็บตรงไหน เพราะอะไร ดังนั้น ลูกน้อยอาจหงุดหงิด มีอารมณ์ฉุนเฉียว และร้องไห้น้อยลง หากลูกน้อยสามารถสื่อสารความต้องการพื้นฐานของเขาให้คุณแม่รู้ได้ ก็จะหมายความว่าคุณแม่จะไม่ต้องพยายามแปลความหมายเสียงร้องไห้ของเขาว่าต้อง การอะไร ภาษาท่าทางช่วยลดช่วงเวลาอันน่าหงุดหงิดใจของคุณพ่อคุณแม่ที่ลูกเอาแต่ ร้องไห้ได้

* ช่วยสร้างเสริมสัมพันธ์ภาพระหว่างคุณพ่อคุณแม่กับลูกน้อยได้ เมื่อคุณแม่เริ่มใช้ภาษาท่าทางกับลูกน้อยภายในบ้าน จะเป็นการกระชับความสัมพันธ์กับลูกน้อย ธรรมชาติของการสื่อสารด้วยท่าทางกับลูกน้อยจะทำให้คุณแม่กับลูกน้อยโต้ตอบ กันสลับไปสลับมา ซึ่งถือเป็นทักษะที่ค่าเป็นอย่างยิ่ง การแสดงท่าทางยังรวมไปถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับลูกน้อยในแต่ละวันซึ่งในที่สุด แล้วจะทำให้ลูกสามารถพูดคุยโต้ตอบกับคุณแม่ได้

* ช่วยปลูกฝังความรู้สึกนึกคิดในจิตใจเด็กและทำให้คุณพ่อคุณแม่รู้ตัวตนที่แท้ จริงของเขา ภาษาท่าทางของลูกน้อยจะช่วยให้ลูกเริ่มพูดกับคุณแม่ในสิ่งที่เขาสนใจ ซึ่งจะช่วยให้คุณแม่เข้าใจว่าเขากำลังคิดอะไรอยู่ เขาสนใจอะไร และโลกเป็นเช่นไรจากทัศนคติของเขา ซึ่งทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นก่อนที่ลูกน้อยจะพูดได้!

* ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาและช่วยให้ความจำดีขึ้น เด็กๆ จะตื่นตาตื่นใจกับภาษาท่าทางและเขามักแสดงความสนใจกับสิ่งที่คุณแม่สอนเขา มากขึ้นหากใช้ภาษาท่าทางร่วมด้วย นอกจากนั้น ยังแสดงให้เห็นด้วยว่าเมื่อเด็กๆ เรียนรู้คำพูดคำหนึ่งที่มีการแสดงท่าทางประกอบ เขาจะสามารถจดจำความหมายของคำๆ นั้นได้มากยิ่งขึ้น

* ช่วยเร่งกระบวนการพูดได้ การศึกษาได้แสดงให้เห็นว่าเด็กที่ใช้ภาษาท่าทางนั้นอาจจะพูดได้เร็วกว่าเด็กที่ไม่มีการแสดงออกท่าทาง

* ช่วยสร้างเสริมความเชื่อมั่น การเคารพในตัวเอง และการแสดงความรู้สึกนึกคิดของลูกน้อยได้ เนื่องจากลูกน้อยสามารถสื่อสารถึงความต้องการ ความปรารถนา และความสนใจของพวกเขาผ่านการแสดงออกทางท่าทางได้ จึงอาจทำให้ลูกน้อยมีความมั่นใจยิ่งขึ้น

* ภาษาท่าทางของลูกน้อยสามารถกระตุ้นพัฒนาการทางสมองและสร้างเสริมขีดความสามารถด้านไอคิวของลูกน้อยได้
การสอนภาษาท่าทางให้ลูกจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางสมองของลูกน้อยได้ จากการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่าเด็กที่ใช้ภาษาท่าทางจะทำคะแนนในการทดสอบไอคิว ในอนาคตได้ดี (ระดับไอคิวสูงกว่า 12 ขึ้นไป) กว่าเด็กที่เรียนรู้การพูดด้วยรูปแบบเดิมๆ

การแสดงท่าทางสามารถกระตุ้นพัฒนาการทางสมองได้ เนื่องจากเมื่อเวลาที่เราเรียนรู้ภาษาท่าทาง เราจะต้องใช้ทั้งสมองซีกซ้ายและซีกขวา เมื่อเปรียบเทียบกับการเรียนรู้ภาษาพูดซึ่งจะใช้เฉพาะเพียงสมองซีกซ้ายเท่า นั้น การใช้สมองทั้งสองซีกนี้จะส่งผลให้การสร้างสมองมีช่องว่างระหว่างเซลล์ ประสาทมากกว่า

* เด็กๆ ที่ใช้ภาษาท่าทางอย่างต่อเนื่องมักจะสามารถพูดทั้ง 2 ภาษาได้เก่ง

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Tuesday, July 21, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ศักยภาพสูงสุดของลูกน้อยด้าน ภาษา ( สัญญาณบ่งบอกว่าลูกน้อยจะพูดได้ในไม่ช้า )

Posted by wittybuzz at 5:38 AM 0 comments
แม้ว่าคุณพ่อคุณแม่จะตื่นเต้นมากที่ได้ยินลูก น้อยพูดคำแรก แต่นักจิตวิทยากล่าวว่าไม่ได้มีเพียงคำพูดเท่านั้นที่เป็นเครื่องบ่งชี้ถึง พัฒนาการด้านภาษา

ต่อไปนี้คือสัญญาณ 4 อย่างที่บ่งบอกได้ว่าลูกน้อยจะพูดได้ในไม่ช้า

1. คำพูดแรกที่รู้จักกันดี

เมื่อลูกน้อยมีอายุได้ประมาณ 10 เดือน จู่ๆ เขาอาจออกเสียงที่ฟังดูเป็นคำพูดได้เป็นครั้งแรก โดยปกติแล้ว คำแรกๆ ที่เขาพูดได้มักเป็น “ปา-ป๊า” และ “มา-ม๊า” ที่จริงแล้ว คำที่เขาออกเสียงจะเป็นคำย่อเสียส่วนใหญ่ “Ba” คือคำย่อของ Bottle (ขวด) “cuh” เป็นคำย่อของ cup (ถ้วย) “mo” เป็นคำย่อของ more (เอาอีก) และ “soo” เป็นคำย่อของ shoe (รองเท้า) ในช่วงอายุเท่านี้ เสียงง่ายๆ ที่ลูกน้อยจะพูดได้ก็มีเท่านี้ และเป็นคำง่ายๆ ที่คุณพ่อคุณแม่จะสามารถแปลความหมายได้

2. ความสามารถในการเข้าใจว่าคุณพูดอะไร

หนึ่งในสัญญาณสำคัญมากที่บ่งบอกว่าลูกน้อยกำลังเรียนรู้ที่จะพูด คือการที่เขาเข้าใจในสิ่งที่คุณแม่พูดได้มากยิ่งขึ้น ตอนนี้เขาอาจเข้าใจคำพวกนี้แล้ว เช่น แม่ พ่อ ลูก รองเท้า บอล น้ำผลไม้ และคุกกี้ หรืออาจจะเข้าใจได้ในไม่ช้า ในตอนนี้ลูกน้อยยังอาจสามารถรู้จักชื่อและสมาชิกคนในครอบครัวหรือสัตว์ เลี้ยงได้

3. การโบกมือบ๊ายบาย

ในขั้นแรก ลูกน้อยอาจทำตามคำสั่งง่ายๆ ได้ เช่น “บ๊ายบายซิ” “เอาตุ๊กตาหมีมาให้แม่ทีซิจ้ะ” “หยุดนะ” หรือ “จูบแม่ซิจ๊ะ” ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าลูกน้อยไม่ได้เรียนรู้เฉพาะคำและความหมายโดดๆ เท่านั้น แต่เขายังเข้าใจแนวความคิดโดยรวมของคำพูดคำนั้นด้วย ทั้งนี้ถือเป็นพัฒนาการทางภาษาที่สำคัญ และเป็นสัญญาณบ่งบอกที่ดีว่าลูกน้อยจะพูดได้ก่อนที่คุณพ่อคุณแม่จะรู้ตัว เสียอีก

4. การอ้อแอ้

นอกจากนั้น ลูกน้อยอาจเริ่มพูดในแบบที่นักจิตวิทยาเรียกว่าการพูด “ภาษาเฉพาะกลุ่ม” หรือ “ภาษาสมมุติ” ลูกน้อยของคุณจะพูดอ้อแอ้เหมือนกับว่ากำลังพูดเป็นประโยค ซึ่งเขาลอกเลียนรูปแบบการพูดมาจากผู้ใหญ่ การแสดงออกทางสีหน้าและน้ำเสียง การอ้อแอ้เหมือนกับเขากำลังพูดเป็นประโยคนี้เป็นสัญญาณบ่งบอกอีกอย่างหนึ่ง ที่คุณพ่อคุณแม่มั่นใจได้ว่าลูกน้อยกำลังเตรียมพร้อมที่จะพูด ขอให้คุณพ่อคุณแม่พูดกับเขาต่อไปเรื่อยๆ

ให้คุณพ่อคุณแม่พูดคุยบทสนทนาทั่วไปกับลูกน้อยไปเรื่อยๆ ให้เรียกชื่อสิ่งของที่เขาคุ้นเคยซ้ำๆ และอธิบายว่าคุณกำลังทำอะไรอยู่...ช่วงเวลาอันยิ่งใหญ่ในชีวิตทั้งของคุณพ่อ คุณแม่และของลูกน้อยกำลังจะเกิดขึ้น นั่นคือ เจ้าตัวน้อยพูดคำแรกได้!

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Monday, July 20, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ศักยภาพสูงสุดของลูกน้อยด้าน ภาษา ( คุณแม่มีส่วนช่วยให้ลูกน้อยพูดได้ )

Posted by wittybuzz at 5:10 PM 0 comments
การเรียนรู้เพื่อที่จะพูดเป็นเรื่องน่าตื่นเต้น โดยการเรียนรู้นี้จะเริ่มต้นทันทีหลังจากเขาลืมตาดูโลก ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องสนุกสนานสำหรับลูกน้อย ครอบครัว และมิตรสหาย แต่บางครั้งมันก็ไม่ง่ายเสมอไป กระบวนการหัดพูดนี้จะเริ่มตั้งแต่ความสนใจ การรับฟัง การคิดอ่าน ความเข้าใจ ความจำเป็น และความอยากพูดของเด็ก นอกจากนั้น ยังรวมไปถึงการผลัดกันพูด และความสามารถในการทำงานสอดคล้องกันของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการพูด

เด็กแต่ละคนจะเริ่มหัดพูดในช่วงวัยที่แตกต่างกันไป เด็กบางคนสามารถออกเสียงเป็นคำที่เข้าใจได้เป็นครั้งแรกก่อนอายุถึง 1 ขวบ ในขณะที่เด็กคนอื่น ๆ กว่าจะพูดได้ก็ต้อง 2 ขวบขึ้นไป อย่างไรก็ตาม โดยปกติแล้วเด็กๆ ส่วนใหญ่จะเริ่มพูดได้ตอนอายุ 18 เดือน

เด็กจำเป็นต้องได้รับการกระตุ้นให้พูดในวิธีแบบเดียวกับที่เรากระตุ้นให้เขา เดิน และขอให้คุณพ่อคุณแม่ตระหนักว่าเด็กสามารถเข้าใจสิ่งที่เราพูดกับเขาเร็ว กว่าที่เขาจะพูดได้เอง

12 เคล็ดลับในการพูด


ต่อไปนี้คือวิธีการบางอย่างที่คุณแม่สามารถช่วยลูกน้อยให้หัดพูดได้ โดยจะต้องมีความอดทน วิธีการช่วยลูกหัดพูดนี้จะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปและดูคล้ายว่าจะเห็นผลช้า คำที่ลูกพูดอาจฟังไม่ชัดเจนและเขาอาจพูดตะกุกตะกักหรือลังเลที่จะพูดได้

* ให้คุยกับลูกเวลาที่กำลังเล่นด้วยกัน
* สนุกสนานไปกับเพลงกล่อมเด็กและเพลงต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพลงที่มีท่าทางประกอบ
* ส่งเสริมลูกให้ได้ฟังเสียงที่หลากหลาย (ยกตัวอย่างเช่น เสียงสัตว์ เสียงเครื่องบิน เสียงกริ่งประตู)
* เรียกความสนใจจากลูกเวลาที่พูดคุยกับเขา กระตุ้นให้ลูกมองมาที่คุณหรือที่สิ่งของซึ่งคุณกำลังพูดถึง
* ส่งเสริมให้ลูกสื่อสารด้วยวิธีอื่น ๆ ไม่ใช่เพียงแค่ผ่านทางคำพูดเท่านั้น แต่ควรใช้ภาษาท่าทางและรูปภาพ เป็นต้น
* ให้ลูกได้มีโอกาสเลือก (ยกตัวอย่างเช่น ลูกอยากกินส้มหรือกล้วยจ๊ะ?)
* เล่าสิ่งที่กำลังทำอยู่ให้เขาฟัง (ยกตัวอย่างเช่น เมื่อกำลังเปลี่ยนเสื้อผ้าให้ลูก เวลาดูโทรทัศน์ เวลาจัดของที่เพิ่งไปซื้อมา)
* รับฟังอย่างตั้งใจและให้เวลาลูกพูดให้จบประโยคที่เขากำลังพูดอยู่ โดยให้สลับกันพูด
* ให้โอกาสลูกได้พูด ให้กำลังใจเขาโดยบอกกับเขาว่า “พูดเก่งมากจ๊ะ” หรือ “ฟังรู้เรื่องด้วย เก่งจังเลย”
* ช่วยให้ลูกเรียนรู้คำให้มากขึ้นโดยพูดเสริมคำที่เขาพูด ยกตัวอย่างเช่น
o ลูก: “บอล”
o คุณพ่อคุณแม่: “ใช่ลูก โยนมาซิจ๊ะ เก่งมาก! ดูซิ ลูกบอลนี้ลูกใหญ่เนอะ”
* หากลูกพูดคำบางคำที่ไม่ถูกต้อง คุณแม่ควรพูดคำนั้นซ้ำอีกครั้งให้ถูกต้อง แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ควรบังคับให้ลูกพูดคำซ้ำๆ ยกตัวอย่างเช่น
o ลูก: “ปะ…”
o คุณพ่อคุณแม่: “ใช่จ๊ะ ปลา”
* หาเวลาพิเศษอยู่กับลูกในแต่ละวันเพื่อเล่นของเล่นและอ่านหนังสือภาพด้วยกัน


ข้อควรจำ...

* อย่าคาดหวังมากและเร็วจนเกินไป
* อย่าเป็นกังวลหากลูกพูดได้ไม่มากเท่ากับลูกของเพื่อน การพูดต้องใช้เวลา - อย่างเร่งเร้าเขาจนเกินไป

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Sunday, July 19, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ศักยภาพสูงสุดของลูกน้อยด้าน ภาษา ( ไม่มีคำว่าเร็วเกินไปที่จะพูด )

Posted by wittybuzz at 2:32 AM 0 comments
ฉันยังจำได้ว่าตัวเองกระวนกระวายและตื่นเต้นแค่ ไหนเมื่อกลายเป็นคุณแม่ลูกแฝดมือใหม่ ในช่วงแรกๆ ทุกนาทีหมดไปกับงานเลี้ยงลูกๆ ถ้าไม่ได้ให้นมลูกหรือเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกอยู่ ดิฉันก็จะง่วนอยู่กับการซักผ้า เตรียมขวดนมหรือไม่ก็สอนให้ลูกๆ พูด!

ทุกวันนี้การสอนลูกพูดอาจจะไม่ได้เป็นสิ่งสำคัญมากนัก แต่ดิฉันอยากบอกว่าคุณอาจกำลังสอนลูกพูดโดยไม่รู้ตัว ทุกคำที่คุณเอ่ยกับลูกน้อยล้วนมีค่า ซึ่งเขาจะได้ยิน และสมองที่กำลังพัฒนาของเขาจะนำคำนั้นๆ ไปประมวลผล

ในช่วงระยะเวลาสามปีแรก พัฒนาการทางภาษาจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว แก้วตาดวงใจตัวน้อยๆ ของคุณจะใช้เวลานานพอสมควรในการซึมซับและทำความเข้าใจกับภาษาที่จะกลายเป็น พื้นฐานในการเรียนรู้ไปตลอดชีวิตก่อนที่จะพูดคำแรกได้ ด้วยเหตุนี้เอง จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่คุณจะต้องเป็นแม่แบบทางภาษาที่ดีที่สุดเท่า ที่จะทำได้ให้แก่ลูกน้อยที่อยู่ในวัยกำลังพัฒนา ในกรณีเช่นนี้ ยิ่งมากเท่าไหร่ก็ ยิ่งดีท่านั้น!

ลูกน้อยฟังอยู่ตลอดเวลา

ลูกน้อยมักจะฟังคำพูดรอบตัวตลอดเวลา ในช่วงชีวิตสามสี่เดือนแรก เขาจะตอบสนองได้ดีที่สุดกับประโยคสั้นๆ เสียงสูงๆ และประโยคที่ "ร้องเป็นเพลง” คริสต้า ยอกคึม ที่ปรึกษาด้านการศึกษาและแม่ของน้องคาร์ลินอายุ 10 สัปดาห์กล่าวว่า “ฉันรู้ว่าเรื่องที่ฉันพูดไม่ค่อยสำคัญเท่าไหร่หรอก แต่วิธีที่พูดถึงจะสำคัญ ถึงแม้ว่าฉันจะอ่านนิตยสารให้เขาฟัง แต่ถ้าอ่านโดยใช้เสียงแบบเด็กๆ ละก็ เขาก็จะมีการตอบสนอง”

การมองลูกน้อยในขณะที่คุณพูดกับเขาเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อที่เขาจะได้สบตาและมองปากของคุณ คุณคริสต้ากล่าวว่าเธอรู้สึกผิดอยู่บ่อยครั้งเมื่อลูกของเธอตื่นขึ้นมาในขณะ ที่นั่งอยู่เบาะหลังภายในรถ “ฉันชอบมองดูลูก มองหน้าและสบตากัน” เธอกล่าว การแสดงออกทางสีหน้า การเคลื่อนไหวปากและเสียงที่คุณพูด ทั้งหมดนี้จะช่วยกระตุ้นสมองของเด็กและช่วยให้ลูกน้อยของคุณเรียนรู้วิธีการ สร้างคำ คุณคริสต้ากล่าวว่า “เวลาที่แกมองฉัน แล้วฉันทำตาโต แกก็จะทำตาโตเหมือนกัน เวลาที่ฉันคุยกับลูก เขาจะมองปากและลิ้นฉัน แล้วเขาก็จะอ้าปากตาม”

ในที่สุด ลูกน้อยของคุณจะพยายามเลียนเสียงเหล่านี้โดยเคลื่อนไหวปากและลิ้นไปในลักษณะ ต่างๆ ซึ่งเรียกว่าการอ้อแอ้ จากการอ้อแอ้นี้จะพัฒนาไปสู่การสร้างคำ! ตัวอย่างเช่น วันหนึ่งคุณอาจจะเดินผ่านลูกในขณะที่เขากำลังเม้มปากเข้าด้วยกันและเปล่ง เสียงขึ้นจมูกออกมาอย่างตลกๆ ว่า “มา” เขาอาจจะชอบเสียงแบบนี้ เขาก็เลยพูดซ้ำแล้วซ้ำอีก “มา ม๊า” แล้วคุณก็ตื่นเต้นดีใจเพราะว่าลูกเรียกชื่อคุณและคุณก็ตอบกลับเขาไปว่า “ใช่แล้วจ๊ะ มาม๊าเป็นแม่ของหนู” แล้วคุณก็อุ้มเขาขึ้นมา ยิ้มและหอมแก้มเขา แล้วพูดว่า “มาม๊าอยู่นี่นะจ๊ะ” ลูกน้อยของคุณชอบได้รับการเอาใจใส่ และในที่สุดเขาก็ตระหนักว่าเวลาที่พูดเสียงตลกๆ ว่า “มาม๊า” คุณก็จะอุ้มและพูดกับเขา ไม่ใช่เป็นเพราะว่าลูกน้อยของคุณเรียนรู้โดยธรรมชาติว่าเสียงตลกๆ “มาม๊า” หมายถึงตัวคุณ ที่จริงแล้ว คุณจับเสียงอ้อแอ้ที่เขาพูดได้เป็นคำและก็ตอบสนองต่อคำที่เขาพูด จากนั้นคุณก็พูดคำนั้นซ้ำไปซ้ำมาจนกระทั่งลูกของคุณเรียนรู้ว่าหากพูดว่า “มาม๊า” คุณก็จะมาหา

พูดไม่หยุด

ซาร่า ซัมเนอร์ อาจารย์ด้านการศึกษาพิเศษและคุณแม่น้องมาเดอลินอายุ 25 เดือนกล่าวว่า “ฉันคิดว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ การที่ฉันพูดกับเขาโดยใช้ภาษาที่เป็นธรรมชาติ” เจ้าตัวน้อยของคุณอาจจะไม่พูดตอนอายุ 6 เดือน แต่เขาฟังรู้เรื่อง ความเข้าใจเป็นสิ่งที่เกิดก่อนการพูด ดังนั้นจึงควรกระตุ้นพัฒนาการทางภาษาของเด็กผ่านทางประสบการณ์ คุณซาร่ากล่าวว่า “ฉันมักจะอธิบายสิ่งที่ฉันกำลังทำอยู่ อธิบายว่าเขากำลังเล่นอยู่กับอะไรและว่าเราจะไปไหนให้เขาฟังอยู่เสมอ” การพูดคุยกับลูกน้อยของคุณในขณะที่คุณกำลังทำกิจวัตรประจำวันอยู่ ในระหว่างที่คุณไปซื้อของหรือในขณะที่คุณกำลังผ่อนคลายกับหนังสือดีๆ สักเล่มหนึ่ง จะเป็นวิธีที่ดีมากที่จะทำให้ลูกน้อยของคุณได้รับรู้ถึงโครงสร้างทางภาษาที่ มีความหลากหลายและรู้ถึงคำศัพท์มากมาย

เด็กหลายคนจะพูดคำแรกได้ก่อนอายุครบหนึ่งขวบ แต่ก็อาจไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป เด็กอาจจะพูดคำแรกได้ก่อนหรือหลังอายุ 12 เดือน แต่โดยปกติแล้วเรามักจะได้ยินเด็กพูดคำแรกตอนช่วงอายุประมาณนั้น หนึ่งในสิ่งที่สร้างความหงุดหงิดใจให้กับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่มากที่สุดก็คือ การทำความเข้าใจว่าลูกน้อยของตนเองต้องการอะไร อะไรๆ จะง่ายขึ้นมากทีเดียวเมื่อลูกน้อยของคุณบอกได้ว่าอยากดื่ม “น้ำผลไม้” แทนที่จะเอาแต่ร้องไห้ ในขณะที่คุณกำลังค้นข้าวของในตู้เย็นออกมาจนหมดจนกระทั่งเจอน้ำผลไม้ “ฉันพยายามอย่างมากที่จะช่วยให้แมดดี้สื่อสารได้รู้เรื่อง” คุณซาร่ากล่าว “ฉันเห็นว่าเขาอารมณ์ไม่ค่อยฉุนเฉียว...เพราะว่าเขาสามารถสื่อสารได้ว่าเขา ต้องการอะไรตั้งแต่อายุน้อยๆ”

โดยทั่วไปลูกน้อยจะเริ่มใช้ท่าทางได้เมื่ออายุประมาณ 6 ถึง 9 เดือน และมักจะใช้ท่าทางก่อนที่จะใช้ภาษาพูดได้อย่างจริงๆ จังๆ ปัจจุบันคุณพ่อคุณแม่หลายท่านเริ่มนิยมใช้ภาษาท่าทางกับลูกน้อยเพื่อลดปัญหา ในการสื่อสาร คุณคริสต้าประสบความสำเร็จอย่างมากในการสอนภาษาท่าทางให้กับเด็กเล็กๆ ก่อนที่พวกเขาจะพูดได้ “ฉันเห็นว่าวิธีนี้ได้ผลกับหลานสาวและหลานชายของฉันเอง” คุณคริสต้ากล่าว “พวกเขาเรียนรู้วิธีการส่งสัญญาณท่าทางว่า “เสร็จแล้ว” “เอาอีก” “ขึ้น” และ “ลง” และวิธีนี้ก็ช่วยได้มากเลยค่ะ”

คุณคริสต้ามีความรู้สึกว่าการใช้สัญญาณหรือท่าทางตามธรรมชาติเป็นกุญแจสำคัญ นำไปสู่ความสำเร็จในการสื่อสาร “ฉันจะกระตุ้นให้ลูกสาวของฉันส่งสัญญาณและแสดงท่าทาง” คุณคริสต้ากล่าว “ถ้าเขาเข้าใจ ก็เยี่ยมไปเลย! แต่ถ้าเขาไม่เข้าใจ ฉันก็ไม่ยัดเยียดให้เขา”

การวิจัยบ่งบอกว่า รูปแบบการสื่อสารเบื้องต้นนี้จะช่วยลดความหงุดหงิดใจโดยรวมระหว่างคุณพ่อคุณ แม่กับลูกน้อย คุณซาร่ากล่าวว่า “เราแสดงภาษาท่าทางกับแมดดี้เมื่อตอนแกอายุได้ 8 เดือน แต่แกเริ่มใช้คำพูดได้เร็วมากหลังจากที่ค่อยๆ ลดการใช้ภาษาท่าทางลง”

เพลงประกอบท่าทางเช่น “แมงมุมลายตัวนั้น” หรือ “กำมือขึ้นแล้วหมุนๆ” ไม่แค่เพียงกระตุ้นสมองของลูกน้อยเท่านั้น แต่ยังสอนคำคล้องจอง คำศัพท์ ภาษาและท่าทางให้กับลูกอีกด้วย นอกจากนี้ การร้องเพลงยังช่วยกระตุ้นสมองส่วนที่สร้างความรู้สึกสงบและช่วยปลอบประโลม เด็กที่กำลังร้องไห้ได้ด้วย

ไม่ว่าคุณจะกำลังร้องเพลง กำลังอ่านหนังสือหรือเพียงแค่พูดคุยกัน การเรียนรู้เกิดขึ้นตลอดเวลา! การมีปฏิสัมพันธ์ที่เปี่ยมไปด้วยความรักเช่นนี้ จะช่วยให้การพัฒนาภาษาของลูกน้อยเป็นไปด้วยดี ดังนั้นคุณควรจะเล่าเรื่องราวในแต่ละวันให้ลูกน้อยฟัง ผิวปากในระหว่างที่ทำงานหรืออ่านตำราทำกับข้าวให้เจ้าตัวน้อยฟัง เพราะภาษาเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ไปตลอดชีวิตของลูกน้อย

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Saturday, July 18, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ช่วงเวลาสำคัญของลูกน้อย ( เดือนที่ 18 – 2 ขวบครึ่ง )

Posted by wittybuzz at 2:05 AM 0 comments
“ความท้าทาย” เป็นคำที่ผุดขึ้นในความคิดของพ่อแม่หลายๆ คนเวลาที่อธิบายถึงลูกน้อยวัย 2 ขวบ ที่เรียกว่า “หนูน้อยสองขวบตัวร้าย”นี้ ไม่ใช่ว่าไม่มีเหตุผล แต่เวลานี้เป็นช่วงแห่งการเรียนรู้อย่างเข้มข้นและมีความเป็นตัวของตัวเอง สูง ดังที่คุณพ่อคุณแม่ได้เห็นแล้วว่าลูกน้อยที่ค่อนข้างจะช่วยอะไรตัวเองไม่ได้ เลย ได้เติบโตขึ้นเป็นเด็กที่มีบุคลิกและความคิดเป็นของตัวเอง ขอให้สงบสติอารมณ์ ให้ความรักแก่เขา และสนุกไปกับเขา!

ต่อไปเขาจะทำอะไรอีก


เมื่อลูกน้อยอายุครบสองขวบครึ่ง เขาจะสามารถ

* ปีนป่ายอุปกรณ์สำหรับเด็กได้อย่างง่ายดาย
* เดินขึ้นลงบันไดได้อย่างมั่นใจ โดยจับราวบันไดและต้องเดินขึ้นทีละขั้น
* กระโดดสองเท้าจากความสูงน้อยๆ และยืนบนปลายเท้าได้หากแสดงให้เขาดู
* โยนลูกบอลได้อย่างแข็งๆ
* เตะลูกบอลขนาดใหญ่ได้อย่างเบาๆ และทรงตัวไม่ค่อยอยู่


พูดกันง่ายๆ

* เมื่อลูกน้อยอายุครบสองขวบ เขาจะสามารถทำตามคำสั่งง่ายๆ ได้
* พูดได้อย่างน้อย 20 คำ และประสมคำสองคำหรือมากกว่านั้นเข้าด้วยกันได้
* จำภาพสิ่งของง่ายๆ ได้

* เมื่อลูกน้อยอายุครบสองขวบครึ่ง เขาจะสามารถประสมคำสามคำเข้าด้วยกันได้
* ร่วมร้องเพลงและเข้าใจเรื่องเล่าหรือบทสนทนาสั้นๆ ได้


เมื่อมีผู้ใหญ่อยู่ด้วย เด็กวัยสองขวบจะพูดมากกว่าเมื่อถูกทิ้งให้เล่นกับเด็กวัยหัดเดินคนอื่นๆ แต่เมื่ออายุได้ 4 ขวบ การที่มีผู้ใหญ่อยู่ด้วยจะไปบดบังจินตนาการในการเล่นและการใช้ภาษาอย่าง สร้างสรรค์ของเขา

คำถามและคำตอบ

ถาม ลูกวัยสองขวบของฉันดูเหมือนจะถามคำถามฉันตลอดทั้งวันเลย! ฉันควรจะจัดการกับเรื่องนี้อย่างไรดี
ตอบ บางครั้งอาจจะดูเหมือนกับว่าลูกน้อยวัยหัดเดินของคุณกำลังพยายามทดสอบความอด ทนของคุณอยู่ แต่ที่จริงแล้ว เขากำลังฝึกศิลปะในการสนทนาต่างหาก

* ควรตอบง่ายๆ และสั้นๆ แทนที่จะตอบยาวๆ และซับซ้อน
* ควรยกตัวอย่างจากของจริง หากเขาถามว่า “แตกได้แปลว่าอะไร” ก็นำของที่แตกได้มาให้เขาดู และเล่าย้อนหลังไปเมื่อครั้งที่มีของแตก
* ควรจะตอบอย่างจริงใจ หากไม่ทราบคำตอบ ก็ควรตอบตามนั้น ขอแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่หาคำตอบร่วมกับลูก


คุณทราบหรือไม่ว่า

เด็กอายุประมาณ 20 เดือน เด็กวัยหัดเดินจะเริ่มเรียนรู้ทักษะน่ารักๆ อย่างหนึ่ง ซึ่งก็คือการแกล้ง เขาอาจเอากระเป๋าถือหรือกุญแจรถไปซ่อนเวลาที่คุณกำลังจะออกจากบ้าน แล้วเขาก็จะแอบอมยิ้ม เด็กวัยหัดเดินที่มีพี่ชายหรือพี่สาวอาจเรียนรู้วิธีการแกล้งได้เร็วขึ้น

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Friday, July 17, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ช่วงเวลาสำคัญของลูกน้อย ( เดือนที่ 15 - 18 )

Posted by wittybuzz at 2:54 AM 0 comments
หนึ่งในวิธีการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็กวัยหัด เดินก็คือ การเลียนแบบคุณพ่อคุณแม่ แถมเป็นการแสดงถึงความชื่นชอบของลูกน้อยที่น่ารักที่สุดในขวบวัยนี้ ข้าวของภายในบ้านและกิจวัตรประจำวันต่างๆ ทำให้เขาสนใจ เขาชอบเลียนแบบกิจกรรมง่ายๆ เช่น ป้อนอาหารให้ตุ๊กตาหมี กวาดพื้น เช็ดโต๊ะ นี่คือการแสดงบทบาทขั้นแรกสุด

เดินไปเรื่อยๆ

ลูกน้อยของคุณกลายเป็นเด็กวัยหัดเดินไปซะแล้ว! ต่อไปนี้คือสิ่งน่าทึ่งที่เขาทำได้เมื่ออายุ 18 เดือน

* เดินได้ดีโดยเท้าแยกจากกันเพียงเล็กน้อย เริ่มเดินและหยุดเดินได้อย่างปลอดภัย เขาไม่จำเป็นต้องกางแขนออกเพื่อช่วยทรงตัวอีกต่อไป
* วิ่งอย่างระมัดระวัง ด้วยเหตุที่ว่าเขาหลบสิ่งกีดขวางได้ยาก ดังนั้นจึงต้องดูเขาให้ดี
* เดินขึ้นบันไดได้ด้วยโดยมีคุณแม่คอยช่วย และบางครั้งก็เดินลงบันไดได้ด้วย เขาอาจชอบคลานถอยหลังหรือกระดืบด้วยก้นมากกว่าเวลาที่ลงบันได
* อุ้มตุ๊กตาหมีตัวใหญ่ในขณะที่เดินได้
* ปีนขึ้นเก้าอี้ของผู้ใหญ่ จากนั้นจึงกลับตัวแล้วนั่งลง


เล่นอย่างมีจุดมุ่งหมาย

ทักษะใหม่ๆ ของเขาจะเป็นประโยชน์สำหรับการเล่น เขาสามารถสร้างหอคอยสองสามชั้นได้ หากได้คุณช่วยเขาและแสดงให้คุณดูว่าทำยังไง เขาชอบดูหนังสือภาพง่ายๆ และอาจชี้ไปที่ภาพสิ่งของที่เขาคุ้นเคยและพลิกหน้าหนังสือหลายๆ หน้าในคราวเดียว เขาอาจพยายามวาดภาพเป็นครั้งแรกด้วย เขาจะจับดินสอด้วยมือทั้งมือ หรือทั้งสองมือ หรือจับดินสออยู่ระหว่างหัวแม่มือและนิ้วมืออย่างเงอะๆ งะๆ แล้วลากเส้นยุ่งๆ กลับไปกลับมาและจิ้มเป็นจุดๆ

คำถามและคำตอบ

ถาม ลูกชายฉันติดผ้าห่มผืนเก่าๆ ที่เขาใช้ตั้งแต่เขาอายุ 9 เดือน เขายืนกรานว่าจะเอามันไปด้วยทุกหนแห่งจนมันเปื่อยไปหมดแล้ว! ฉันควรกังวลเรื่องนี้หรือไม่
ตอบ เด็กวัยเริ่มเดินหลายคนจะเห็นว่าโลกเป็นสิ่งท้าทายที่ค่อนข้างน่ากลัว และได้สร้างสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจขึ้นที่จะไม่เปลี่ยนแปลงหรือสถานที่ที่ไม่มี สิ่งที่ไม่คาดคิดจะเกิดขึ้นกับเขา คุณแม่ไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องที่ลูกติดข้าวของบางอย่าง การทำให้เป็นเรื่องใหญ่มีแต่จะทำให้สถานการณ์แย่ลง และในแทบจะทุกกรณีแล้วเด็กจะโตขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องใช้มันอีกต่อไป

ถาม ลูกชายฉันดูราวกับจะเข้าใจสิ่งที่ฉันพูดกับเขาได้ค่อนข้างมากจนน่าแปลกใจ แต่เขากลับไม่พูดสักเท่าไหร่ ฉันควรจะคาดหวังว่าเด็กในวัยนี้ควรพูดได้มากน้อยเพียงใด
ตอบ เมื่อเด็กอายุ 18 เดือน เราคาดหวังว่าลูกน้อยจะพูดคำที่จำได้ประมาณ 6 - 20 คำ แต่เขาเข้าใจคำต่างๆ ได้มากกว่านั้นเยอะ ลองคุยกับเขาแบบตัวต่อตัว แล้วคุณแม่จะพบว่าเขาฟังและตอบสนอง เขาจะส่งของเล่นให้หากขอจากเขา และเขาจะทำตามคำสั่งง่ายๆ ได้ เช่น “ไปเอารองเท้ามาซิ”

คุณทราบหรือไม่ว่า


หากเด็กวัยหัดเดินพูดได้หนึ่งคำ เขาจะเข้าใจคำอื่นๆ อีกเป็นห้าเท่า เด็กๆจะเข้าใจคำได้มากกว่าที่เขาพูดจนกระทั่งเขาโตเป็นผู้ใหญ่

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Thursday, July 16, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ช่วงเวลาสำคัญของลูกน้อย ( เดือนที่ 12 - 15 )

Posted by wittybuzz at 12:32 AM 0 comments
ในช่วงวัยนี้ ลูกน้อยจะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายมากที่สุดระยะหนึ่งเขาจะมุ่งมั่นสำรวจ สิ่งรอบๆ ตัวทุกตารางนิ้ว และด้วยทักษะใหม่ๆ ที่เขาเพิ่งจะเรียนรู้มานั้น ไม่มีอะไรรอดจากมือหนูน้อยจอมซนไปได้ เด็กวัยนี้อาจเดินคนเดียวได้ และเมื่ออายุได้ 15 เดือน เขาอาจถึงขนาดคลานขึ้นลงบันไดได้

ความสามารถในการใช้มือที่ซับซ้อนจะช่วยให้เขาสามารถหยิบของชิ้นเล็กๆ ขนาดเท่าเส้นด้ายได้ด้วยมือข้างใดข้างหนึ่ง และแน่นอนว่าเขาจะต้องหยิบใส่ปาก อย่าทำให้เขาเสียกำลังใจ ในการเรียนรู้นั้น เขาต้องสำรวจสิ่งต่างๆ แต่ต้องให้แน่ใจว่าเขาได้รับการสอดส่องดูแลตลอดเวลา และควรจัดให้สภาพแวดล้อมรอบตัวหนูน้อยมีความปลอดภัยมากที่สุดเท่าที่จะเป็น ไปได้

คำแรกของหนู


ลูกน้อยจะสามารถพูดคำแรกได้ประมาณวัยนี้ ซึ่งก็น่าจะเป็นชื่อสิ่งของหรือชื่อคน เช่น หมา ถ้วย หรือดาด้า คุณพ่อคุณแม่ไม่สามารถบังคับให้เด็กพูดได้จนกว่าเขาจะพร้อม แต่แน่นอนว่าคุณพ่อคุณแม่สามารถกระตุ้นให้เขาพูดได้ โดยพูดกับเขาถึงสิ่งที่เขากำลังมองดูอยู่หรือกำลังทำอยู่ เน้นคำหลักๆ ในขณะที่คุณคุยกับเขา เช่น “นี่เท้านะ เอาถุงเท้ามาใส่กันเถอะ”

เมื่อเขาอายุได้ 15 เดือน เขาจะสามารถพูดได้ประมาณ 2-6 คำในบริบทที่ถูกต้อง แต่เขาจะเข้าใจได้ประมาณ 50 คำและเข้าใจคำสั่งง่ายๆ เช่น “ตบมือหน่อย”

ภูมิใจที่หนูเดินได้!

โดยเฉลี่ยแล้ว เด็กจะเดินได้เมื่ออายุระหว่าง 12 - 18 เดือน แต่เด็กอาจเดินได้ตั้งแต่ช่วงอายุ 10 - 27 เดือน นักเดินคนใหม่นี้จะเดินขาถ่างเป๋ไปเป๋มาและยกแขนสูงเพื่อปรับการทรงตัว

ในช่วง 6 เดือนต่อไป เขาจะเรียนรู้วิธีการหยุดและบังคับทิศทางว่าจะไปด้านข้าง ถอยหลัง และเลี้ยวเข้ามุม การเดินของเขาจะมั่นคงขึ้นและมีความคล้ายกับของผู้ใหญ่ โดยเดินขาใกล้ชิดกันและเดินก้าวสั้นลง

คำถามและคำตอบ


ถาม เพื่อนฉันสามคนมีลูกที่กำลังเดินได้แล้ว แต่ลูกของฉันยังเดินไม่ได้เลย ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
ตอบ เด็กแต่ละคนมีรูปแบบพัฒนาการตามธรรมชาติเป็นของตัวเอง ยีนของเขามีส่วนทำให้เป็นเช่นนี้ แต่ลักษณะนิสัยที่ต่างกันก็มีผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวเช่นกัน เด็กบางคนมีแรงมากกว่าเด็กคนอื่นๆ เด็กๆ ยังมีวิธีคิดต่างกันอีกด้วย บางคนคิดอย่างรอบคอบและใช้เวลาในการคิด ในขณะที่เด็กคนอื่นๆ อาจใช้อารมณ์มากกว่า ไม่มีหลักฐานใดที่แสดงให้เห็นว่าเด็กที่เดินได้เร็วจะเติบโตเป็นเด็กที่ฉลาด กว่า

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Wednesday, July 15, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ช่วงเวลาสำคัญของลูกน้อย ( เดือนที่ 9 - 12 )

Posted by wittybuzz at 3:10 AM 0 comments
เด็กวัย 9 เดือนกำลังน่ารักมาก ในช่วงนี้ลูกน้อยจะมีพัฒนาการมากพอที่จะโต้ตอบกับคุณได้อย่างจริงจังและเขา จะแสดงออกอย่างค่อนข้างชัดเจนว่าใครบ้างคือคนพิเศษของเขา คุณควรมีความสุขกับช่วงเวลาที่ค่อนข้างสงบนี้ก่อนที่เจ้าตัวน้อยจะเริ่มซน อย่างจริงจัง เขาจะเริ่มทดสอบขีดจำกัดของตัวเอง แล้วดูว่าเขาจะไปได้ไกลขนาดไหน

เริ่มเตาะแตะ


* เมื่อถึงวัย 10 - 11 เดือน ลูกน้อยจะสามารถนั่งเองได้อย่างมั่นใจโดยไม่ต้องมีอะไรมาช่วย เขาสามารถเปลี่ยนจากท่านั่งเป็นท่านอนและบิดตัวเพื่อหยิบของได้
* เมื่อวัย 12 เดือน เขาอาจเริ่มเดินก้าวแรกโดยเกาะเฟอร์นิเจอร์แล้วดึงตัวเองขึ้นและ “เดินเล่น” ไปรอบๆ ในที่สุดเขาจะยืนหลังตรง จับที่ยึดด้วยมือข้างเดียว และตั้งท่าที่จะเดินด้วยตัวเอง


หนูก็มีสังคมเหมือนกัน


แม้ลูกน้อยจะพยายามออกห่างจากคนแปลกหน้า แต่ในหลายๆ ด้านเขาก็อาจเริ่มเข้าสังคมได้มากขึ้น เขารู้จักและตอบสนองต่อชื่อของตัวเอง เขาพูดอ้อแอ้โดยใช้สระและพยัญชนะต่างๆ ด้วยน้ำเสียงที่ฟังดูเหมือนกับว่ากำลังพูดอย่างจริงจัง และเขาถึงขนาดเข้าใจคำสั่งง่ายๆ เช่น เวลาขอตุ๊กตาหมีหรือของเล่นจากเขา แล้วเขาอาจยื่นให้ก็ได้

กลเม็ดเคล็ดลับ


* เด็กวัย 9 เดือนจะสามารถถือถ้วยได้ด้วยสองมือและอาจพยายามคว้าช้อนป้อนอาหาร
* เขารู้จักที่จะปล่อยของโดยการกางมือออก และจงใจปล่อยให้ของหล่นเมื่ออายุได้ 10 เดือน
* เก็บของชิ้นเล็กๆ เท่าลูกเกดด้วยนิ้วโป้งและเริ่มชี้ได้เมื่ออายุได้ 10 เดือนครึ่ง – 11 เดือน
* เมื่อครบขวบปีแรก เขาจะสามารถใส่ของสามชิ้นหรือมากกว่าลงในภาชนะได้
* เขาช่วยในการแต่งตัวได้โดยยกแขนขึ้นเมื่อคุณแม่ยกแขนเสื้อขึ้นมาและยกขาขึ้นเมื่อสวมรองเท้าให้เขา


คำถามและคำตอบ

ถาม เด็กๆ จะเข้าใจความหมายของคำว่า ”ไม่” เมื่ออายุเท่าใด
ตอบ เมื่ออายุ 10 เดือน คำว่า ”ไม่” สำหรับเด็กๆ หมายถึงการหยุดแค่ไม่กี่วินาทีแล้วก็ทำต่อ เมื่อเขาอายุได้หนึ่งขวบ คำว่า ”ไม่” หมายถึงการห้ามจริงๆ ปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้นได้โดยปรกติคือ การร้องไห้หรือแสดงอารมณ์ไม่พอใจ

ถาม บางวันลูกฉันดูเหมือนจะเกาะขาฉันตลอดเวลา เขาควรจะเกาะติดอย่างนี้หรือไม่
ตอบ คุณแม่อย่าเพิ่งสิ้นหวัง! มีงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าเด็กจะรู้สึกวิตกกังวลว่าจะต้องแยกจากแม่เมื่ออายุ ระหว่าง 7 - 12 เดือน และจะรู้สึกวิตกกังวลมากที่สุดเมื่ออายุได้ 15 ถึง 18 เดือน จากนั้นความกังวลจะค่อยๆ ลดลง มันไม่ต่างกันว่าลูกน้อยจะได้รับการดูแลโดยพี่เลี้ยงเด็กในสถานรับเลี้ยง เด็กหรือคุณเป็นคนเลี้ยงเอง ความกังวลว่าจะต้องแยกจากแม่จะปรากฏขึ้นและเริ่มจะหายไปในเวลาประมาณเดียว กัน

คุณทราบหรือไม่ว่า


เด็กผู้หญิงมักจะมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว ซึ่งก็คือการพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวเร็วกว่าเด็กผู้ชาย เพราะว่าระบบประสาทของเด็กผู้หญิงพัฒนาได้ก่อน เด็กผู้หญิงมักจะนั่ง คลานและเดินได้ก่อนเด็กผู้ชาย แม้ว่าจะทำได้ก่อนถึงสองเดือนก็ไม่ใช่เรื่องแปลก

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Tuesday, July 14, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ช่วงเวลาสำคัญของลูกน้อย ( เดือนที่ 6 - 9 )

Posted by wittybuzz at 6:46 AM 0 comments
ในวัย 6 - 9 เดือน ลูกน้อยจะมีบุคลิกที่เด่นชัดมากอยู่สองอย่าง อย่างแรกคือเขาจะเป็นนักสำรวจและมีทักษะเกือบครบทุกอย่างที่จำเป็นในการ สำรวจสิ่งรอบตัว อีกอย่างหนึ่งคือ เขาจะขี้อายและติดคนที่เขารู้จัก คนที่เขารัก และมักจะหลบคนแปลกหน้า

เนื่องจากลูกน้อยมีความทรงจำดีขึ้น เขาจึงเริ่มรู้จักกับความแตกต่างระหว่างสิ่งต่างๆ ที่เป็นที่คุ้นเคยและปลอดภัย และสิ่งๆใหม่ที่ยังไม่ได้ทดลอง คุณจะสังเกตได้ว่าความจำของเขาพัฒนาขึ้นมากโดยสังเกตได้จากปฏิกิริยาตอบสนอง กับของเล่นที่เขาทำหล่น ก่อนหน้านี้เขาจะลืมเรื่องนี้และก็ปล่อยให้ผ่านไป แต่หนูน้อยวัย 9 เดือน เขาจะมองตรงไปยังทิศทางที่ของเล่นกลิ้งไป

หนูน้อยไม่อยู่นิ่ง...

* เมื่อถึงวัย 6 เดือน เขาจะเอามือและเท้าเข้าปาก เขาเริ่มเรียนรู้ว่าเขาสามารถควบคุมร่างกายของตนเองได้
* เมื่อถึงวัย 7 เดือน ลูกน้อยอาจนั่งได้ด้วยตนเองโดยใช้แขนทั้งสองข้างช่วยในการทรงตัว
* เมื่อถึงวัย 8 - 9 เดือน เขาจะสามารถนั่งเล่นของเล่นได้ แต่อาจเสียการทรงตัวได้เมื่อเขาหันตัว
* เมื่อถึงวัย 7 - 9 เดือน เขาอาจเริ่มคลานได้คล่องขึ้น ตอนแรกดูเหมือนว่าจะใช้แขนเป็นหลัก เพราะว่าแขนยังคงแข็งแรงกว่าขา ดังนั้น เขาจึงอาจคลานถอยหลังหรือคลานเป็นวงกลม นอกจากนี้ เขายังอาจจะกระดืบโดยใช้ก้นด้วย

… และชอบเขย่าของ

* เมื่อถึงวัย 7 - 9 เดือน ลูกน้อยจะสามารถคว้าสิ่งของได้เก่งด้วยหัวแม่มือและนิ้วชี้ในที่สุด
* เมื่อถึงวัย 8 เดือน เขาอาจแสดงให้เห็นว่าถนัดมือซ้ายหรือมือขวามากกว่ากัน
* เมื่อถึงวัย 9 เดือน เขาอาจถือถ้วยด้วยมือทั้งสองข้างและอาจพยายามที่คว้าช้อนป้อนอาหารด้วย

คำถามและคำตอบ

ถาม ลูกน้อยฝันหรือไม่
ตอบ ฝัน เด็กก็มีอาการตากระตุก (Rapid Eye Movement) เวลานอนเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อเวลาที่เรากำลังฝันเท่านั้น เมื่ออายุได้ 6 เดือน ครึ่งหนึ่งของการนอนของลูกน้อยจะเป็นการนอนแบบมีอาการตากระตุก โดยที่ผู้ใหญ่มีการนอนแบบมีอาการตากระตุกเพียง 20 เปอร์เซ็นต์

ถาม ลูกน้อยจะจำชื่อของเขาเองได้หรือไม่
ตอบ ลูกน้อยของคุณจะจำชื่อตัวเองได้เมื่ออายุประมาณ 8 - 9 เดือน และเขาอาจพูดชื่อของตัวเองได้เป็นคำแรกๆ

คุณทราบหรือไม่ว่า

ผลการทดสอบสติปัญญาของลูกน้อยในระหว่างอายุ 3 - 12เดือน อาจมีความสัมพันธ์เพียงเล็กน้อยกับผลการทดสอบสติปัญญาตอนอายุ 5 ปี ศูนย์ดูแลสุขภาพเด็กทารกจะตรวจสอบลูกน้อยเป็นประจำในช่วงขวบปีแรก แต่แทบไม่ได้บอกถึงสติปัญญาของลูกน้อยเลย เนื่องจากส่วนใหญ่แล้ว การทดสอบเหล่านี้จะจำกัดในเรื่องทักษะทั่วไปและการตอบสนองขั้นพื้นฐาน

ช่างน่ามหัศจรรย์เสียจริง!


นักจิตวิทยาได้ค้นพบวิธีที่จะวัดการเปลี่ยนแปลงช่วงสั้นๆ ในการแสดงออกของลูกน้อย พวกเขาค้นพบว่าลูกน้อยจะเริ่มแสดงอารมณ์บางอย่างตามแต่ช่วงอายุของเขา

* อารมณ์กลัวและโกรธเมื่ออายุระหว่าง 5 - 7 เดือน
* รู้สึกว่าทำผิดและอายเมื่ออายุระหว่าง 6 - 8 เดือน

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Monday, July 13, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ช่วงเวลาสำคัญของลูกน้อย ( เดือนที่ 3 - 6 )

Posted by wittybuzz at 7:38 AM 0 comments
ระหว่างเดือนที่ 3 - 6 นั้นลูกน้อยจะเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น ในกลุ่มผู้ปกครองและเด็กๆ คุณจะสังเกตเห็นว่าเด็กน้อยแต่ละคนมีพัฒนาการในอัตราความเร็วต่างกัน ลูกน้อยของคุณอาจมีพัฒนาการเร็วกว่าในบางเรื่องและช้ากว่าในเรื่องอื่นๆ เขาไม่ได้ฉลาดมากกว่าหรือน้อยกว่าเด็กอื่นๆ ลูกน้อยในวัยนี้จะเริ่มแสดงความเป็นตัวของตัวเองให้เห็น

หนูคลานได้แล้ว

* เมื่อลูกถึงวัย 3 - 4 เดือน ให้วางลูกน้อยคว่ำหน้าบนผ้าห่ม แล้วเขาอาจพยายามขยับตัวไปด้านหน้าโดยการใช้เท้าถีบหรือใช้แขนดึง ทารกหลายคนสามารถพลิกจากท่านอนคว่ำไปเป็นท่านอนหงายได้ บางคนถึงขนาดพลิกจากท่านอนหงายไปเป็นท่านอนคว่ำได้อีกด้วย
* เมื่อลูกถึงวัย 5 เดือน ลูกน้อยอาจดันตัวเองขึ้นสู่ท่ายืนได้โดยมีคุณคอยช่วย
* เมื่อลูกถึงวัย 6 เดือน ลูกน้อยอาจนั่งเองได้โดยไม่ต้องคอยช่วย


โอกาสในการไขว่คว้า

* เมื่อลูกถึงวัย 4 เดือน เขาจะเอื้อมแขนและคว้าของได้ ความสามารถในการคว้าของลูกน้อยจะมีจำกัดเนื่องจากนิ้วและหัวแม่มือยังทำงาน ไม่เป็นอิสระแยกจากกัน
* เมื่อลูกถึงวัย 5 เดือน ลูกน้อยจะคว้าของเล่นได้ด้วยมือข้างเดียว จากนั้นก็จะส่งให้อีกมือหนึ่ง เขาจะสามารถใช้นิ้วและหัวแม่มือได้เป็นอิสระจากกันและสามารถหมุนข้อมือเพื่อ มองดูวัตถุที่เขาคว้ามาได้ด้วย
* เมื่อลูกถึงวัย 6 เดือน เขาจะค้นพบวิธีหยิบจับสิ่งของขนาดเล็กจากพื้นด้วยนิ้วและหัวแม่มือ โดยใช้ทักษะในการกะระยะซึ่งเป็นความสามารถใหม่ ในวัยนี้ลูกน้อยจะสามารถถือของเล่นในมือแต่ละข้างพร้อมกันได้


ดีใจจัง หนูพูดได้แล้ว

ลูกน้อยวัย 4 เดือนของคุณจะค้นพบว่าเขาสามารถทำเสียงต่างๆ ออกจากปากได้ และเขามีความสุขที่ได้หัดทดลองออกเสียง เขาจะหัดทำเสียงที่เขาชอบเป็นพิเศษ เช่น ร้องเสียงแหลมๆ ไปจนถึงเสียงเป่าน้ำลายเล่น โดยจะทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า

ลูกน้อยจะทดลองกับการเปลี่ยนความดังด้วย เขาจะใช้เวลาไม่น้อยกว่าจะออกเสียงพยัญชนะได้อย่างสมบูรณ์ เขาชอบที่จะออกเสียงซ้ำๆ เช่น เขาจะชอบออกเสียงว่า “ดาด้า” หรือ “มาม่า” มากกว่า “ดา” หรือ “มา” วิธีที่คุณตอบสนองต่อเสียงอ้อแอ้ของเขาจะช่วยให้เขาพูดภาษาได้ดีขึ้น หากคุณได้ยินเขาพูดว่า “มาม่า” แล้วคุณก็เดินมาหาเขา ด้วยรอยยิ้มแห่งความรัก เขาก็จะพูดซ้ำอีกและค่อยๆ เชื่อมความหมายว่าคำๆ นี้หมายถึงคุณ

คุณทราบหรือไม่ว่า

* เมื่อลูกน้อยอายุได้ 4 เดือน เขาจะยิ้มมากกว่าที่เขายิ้มในเวลาอื่นในช่วงอายุ 18 เดือนแรก
* ด้วยวัยเพียง 4 เดือน ลูกน้อยจะรู้ว่าลูกบอลที่โยนขึ้นในอากาศจะตกลงมาอีกครั้ง และเขาจะมีความเข้าใจว่าลูกบอลจะกระเด้งบนพื้นแทนที่จะทะลุผ่านพื้นไป


สิ่งที่ควรปฏิบัติ

* ควรให้ลูกน้อยลองถือถ้วยดู เด็กบางคนชอบทำเช่นนี้ในช่วงอายุประมาณ 5 เดือน
* มือข้างเดียว มือสองข้าง ควรเอาของเล่นให้ลูกน้อยโดยที่ครั้งแรกให้กับมือข้างเดียวและจากนั้นให้กับ มืออีกข้าง ในไม่ช้าเขาจะเรียนรู้ที่จะส่งของเล่นไปมาระหว่างมือได้ด้วยตัวเอง

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Sunday, July 12, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ช่วงเวลาสำคัญของลูกน้อย ( สัปดาห์ที่ 8 - 12 )

Posted by wittybuzz at 11:32 AM 0 comments
ระยะนี้เป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้น เพราะลูกน้อยอายุย่างเข้าเดือนที่สามแล้ว ช่วงนี้ลูกน้อยจะใช้เวลากับการตื่นมากกว่าเดิมและเขาพร้อมที่จะสำรวจสิ่ง ต่างๆ รอบตัวอย่างกระฉับกระเฉงยิ่งขึ้น

การตีครั้งแรก

วางราวของเล่นขวางเตียงเขา แล้วไม่นานเขาจะค้นพบวิธีตีสิ่งของสีสันสนใสที่แขวนอยู่บนราว ลูกน้อยจะตีที่ราวของเล่น แล้วหยุด มองดู และเริ่มตีใหม่แรงขึ้นกว่าเดิม ลักษณะที่ลูกน้อยตีของเล่นจะเป็นเช่นนี้ มีทฤษฎีอยู่ว่า เด็กตีที่ราวของเล่นครั้งแรกโดยบังเอิญ แต่เมื่อตีแล้วของเล่นขยับ เขาก็จะตีซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพื่อให้ของเล่นขยับอีก

หนูมีอะไรจะพูด

ลูกน้อยจะเริ่มชอบเสียงของตัวเอง ในช่วงอายุประมาณสามเดือน คุณจะสามารถแยกแยะเสียงสระออกจากเสียงพยัญชนะได้ เสียงที่เขาออกซ้ำๆ กันจะมี เสียง “อ” “น” “ม” “พ” และ “บ” คุณจะตีความเสียงที่เขาเปล่งออกมาได้ดีขึ้นมาก

ลูกจะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เขาคุ้นเคย เช่น ในช่วงเวลาอาบน้ำหรือป้อนอาหาร ด้วยส่งเสียงเบาๆ อย่างมีความสุข

ลูกน้อยจะเริ่มฟังเสียงได้เก่งขึ้นด้วย เขาจะหันหน้าไปทางเสียงคุณแม่ ให้ลองเขย่าของเล่นที่ส่งเสียงรัวแต่ไม่ให้เขาเห็น แล้วเขาจะหยุดชะงัก แล้วหันหน้าไปทางที่มีเสียงออกมา

ความทรงจำเกิดขึ้นมาจากสิ่งนี้

ลูกน้อยจะเริ่มทำนายเหตุการณ์ในอนาคตได้ ในระยะแรกหลังคลอด เขาจะร้องไห้ด้วยความหิวจนกว่าจะใส่เต้านมของคุณแม่หรือใส่ขวดนมเข้าไปในปาก ของเขา แต่ตอนนี้เขาจะมีปฏิกิริยาตอบสนองทันทีที่เห็นขวดนมหรือเต้านม นอกจากนี้ เขายังเริ่มจดจำวัตถุที่ไม่ได้อยู่ในระยะสายตาได้ด้วย

ลองดึงของเล่นจากเขาไป แล้วตาเขาก็จะมองตามของเล่น จากนั้นเขาจะจ้องไปยังจุดที่เขาเห็นของเล่นเป็นครั้งสุดท้าย เขาจำของเล่นได้ แต่เขายังไม่รู้ว่าการมองของเล่นจะไม่ทำให้ของเล่นนั้นกลับมาได้

กราฟเส้นโค้งแห่งการเรียนรู้

นอกจากนี้ ยังมีสิ่งอื่นๆ อีกที่ลูกน้อยวุ่นกับการเรียนรู้

* วิธีการใช้มือ เขาจะแบมือแทบจะตลอดเวลา และเขาจะใช้มืออย่างกระฉับกระเฉงเพื่อสำรวจโลกของเจ้าตัวน้อย
* วิธีการเอื้อมแขนออกและคว้าวัตถุ
* วิธีการถ่ายน้ำหนักเวลาที่เขานอนคว่ำ โดยสามารถเหยียดแขนข้างหนึ่งออกได้

สิ่งที่ควรปฏิบัติ

* นั่งหน้ากระจกเงาบานใหญ่และพูดพึมพำใส่กัน
* เลียนแบบเสียงที่ลูกน้อยเปล่งออกมา ฟังดูว่าเขาจะทำเสียงซ้ำหรือไม่ จากนั้นเลียนเสียงนั้นอีกครั้ง
* ใส่ลูกบอลที่มีสีสันสดใสในอ่างอาบน้ำของลูกน้อย แล้วเขาจะพยายามเอื้อมจับลูกบอลที่ลอยขึ้นลงบนผิวน้ำ

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Saturday, July 11, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ช่วงเวลาสำคัญของลูกน้อย ( สัปดาห์ที่ 4 - 8 )

Posted by wittybuzz at 5:23 AM 0 comments
ในระยะนี้คุณพ่อคุณแม่จะเริ่มคุ้นเคยกับการทำ กิจวัตรประจำวันกับลูกน้อย ซึ่งคุณพ่อคุณแม่จะมีเวลาและกำลังในการดูลูกน้อยเรียนรู้ทักษะต่างๆ และสังเกตว่าเขาช่างเป็นเด็กน้อยที่มหัศจรรย์จริงๆ

มีอะไรก็ดูดหมด!

ในช่วงแรกนั้น ลูกน้อยจะต้องอาศัยปฏิกิริยาตอบสนองเพื่อช่วยนำทางเขาไปสู่เต้านมของคุณแม่ ตอนนี้เขาเริ่มจะรู้ว่าตัวเองกำลังทำอะไร ลองวางเขาลงบริเวณหน้าอก แล้วไม่นานเขาจะจงใจคว้าเต้านมเข้าปากและเริ่มดูดนมทันที

ในระหว่างการป้อนนมแต่ละครั้ง ลูกน้อยจะเริ่มดูดแทบทุกสิ่งที่ใส่เข้าปาก โดยอาจเริ่มดูดนิ้วหัวแม่มือ ในตอนแรกเกิดนั้น เขาจะดูดหัวแม่มือหากบังเอิญเอานิ้วเข้าไปไว้ในปาก และเขาจะร้องหากนิ้วมือหลุดออกจากปาก ภายในเวลา 2 เดือน เขาจะสามารถควบคุมทั้งมือและปากให้ทำตามที่เขาต้องการได้

การควบคุมศีรษะ

การควบคุมศีรษะของลูกน้อยกำลังดีขึ้นเช่นกัน ในระยะนี้ เด็กส่วนใหญ่จะเริ่มยกศีรษะขึ้นได้ในขณะนอนคว่ำ

มือเป็นอันดับแรก

ลูกน้อยจะค้นพบว่าการมองดูมือสนุกกว่าเมื่อเขาขยับมือไปมา ภายในเวลาประมาณ 8 สัปดาห์ ลูกอาจกางและหุบนิ้วมือได้ และมองดูมือของตัวเองอย่างตั้งใจราวกับว่ารู้ว่ามือที่เขากำลังมองอยู่นั้น เป็นมือของเขาเอง

คุณทราบหรือไม่ว่า

ในระยะนี้ ลูกน้อยสามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างการดูดเพื่อบริหารกล้ามเนื้อและผ่อน คลาย กับการดูดเพื่อตอบสนองต่อความหิวได้แล้ว เมื่อเขาไม่ได้รู้สึกหิว เขาจะดูดตุ๊กตาอย่างมีความสุข เมื่อเขารู้สึกหิวนม เขาจะบ้วนตุ๊กตาทิ้งและร้องไห้

ยิ้มหน่อยนะ!

* คุณอาจเห็นลูกน้อยยิ้มแป๊บนึงหลังจากคลอดได้เพียง 3 วัน แต่นั่นเป็นเพียงแค่ปฏิกิริยาตอบสนอง
* ลูกน้อยจะเริ่มยิ้มเป็นปรกติเมื่อมีอายุประมาณ 4 - 6 สัปดาห์ คุณจะสังเกตเห็นความแตกต่างได้ เพราะเขาจะยิ้มนานขึ้นและแสดงออกทางสายตาด้วย รอยยิ้มเองก็ต่างไปด้วยเช่นกัน โดยที่กล้ามเนื้อแก้ม ตาและปากจะสัมพันธ์กัน
* เสียงผู้หญิงเป็นเสียงที่ทำให้เด็กยิ้มได้มากที่สุด
* ลูกน้อยจะยิ้มให้คนพิเศษที่เขารักเมื่อเขาอายุได้ 5 - 6 เดือน
* การที่คุณยิ้มกว้างให้ลูกน้อยดูเป็นเวลานานๆ ไม่ได้ช่วยลูกน้อยยิ้มได้เร็วขึ้น เด็กตาบอดจะเริ่มยิ้มในช่วงระยะเวลาเดียวกับเด็กสายตาปกติ
* เมื่อลูกน้อยของคุณยิ้มแล้วคุณตอบสนองในทางบวก เขาจะรู้สึกว่าได้รับรางวัลและจะทำแบบนี้ซ้ำอีก


สิ่งที่ควรปฏิบัติ

* เป่าฟองของเหลวใส่ลูกน้อย เขาจะชอบมองมันลอยผ่านไปอย่างช้าๆ
* วางของเล่นที่ส่งเสียงได้ง่ายเวลาบีบไว้ในมือของลูกน้อย เสียงที่เกิดขึ้นอย่างไม่ตั้งใจจะช่วยให้ลูกน้อยรู้ตัวว่ามือของเขากำลังทำ อะไรอยู่

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Friday, July 10, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ช่วงเวลาสำคัญของลูกน้อย ( สัปดาห์ที่ 2 - 4 )

Posted by wittybuzz at 1:20 AM 0 comments
ในช่วงเดือนแรกนี้ ลูกน้อยจะวุ่นอยู่กับการควบคุมร่างกายของเขาเอง การเคลื่อนไหวแบบตะกุกตะกักและแบบเกร็งๆ จะเริ่มลดลงและเริ่มที่จะขยับแขนขาได้อย่างนุ่มนวลยิ่งขึ้นและมีจุดประสงค์ มากขึ้น

* ลูกจะสามารถควบคุมศีรษะได้มากขึ้น และเมื่ออายุได้ประมาณหนึ่งเดือน คุณพ่อคุณแม่จะพบว่าลูกน้อยสามารถขยับศีรษะจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งได้ เวลานอนบนเตียง
* เวลาพูดกับเขาอย่างช้าๆ และมีจังหวะคงที่ เขาจะขยับแขนขาอย่างช้าๆ และคงที่ ลองพูดให้เร็วขึ้น แล้วคุณจะเห็นว่าเขาเตะขาเร็วขึ้นเช่นกัน
* เมื่อให้ลูกฟังเสียงแปลกใหม่ เขาจะหยุดการเคลื่อนไหวและดูเหมือนจะหยุดฟัง หลังจากที่เขาได้ยินเสียงเดิมนี้สองสามครั้ง เขาก็จะหยุดตอบสนองต่อเสียงนั้น ทีนี้ลองใช้เสียงใหม่และดูการตอบสนองของเขาอีกครั้ง

มองดูโลกที่เคลื่อนผ่านไป


ลูกน้อยวัยหนึ่งเดือนสามารถมองตามวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหวได้ เขาชอบมองดูสิ่งต่อไปนี้

* ใบหน้า โดยเฉพาะใบหน้าของคุณพ่อคุณแม่หรือใบหน้าที่ดูคล้ายกับของคุณพ่อคุณแม่
* ลวดลายต่างๆ ลูกน้อยอาจชอบกระดาษติดผนังที่มีลวดลายหรือผ้าปูที่นอนที่มีลายมากกว่าแบบที่มีแต่สีพื้นเรียบๆ
* สีสดๆ โดยเฉพาะสีดำและขาว

คุณจะเห็นว่าลูกน้อยชอบอะไรได้โดยสังเกตจากการที่เขามองวัตถุชิ้นหนึ่งเป็นเวลานานก่อนที่เขาจะเลิกสนใจในวัตถุชิ้นนั้น

คุณพ่อก็มีส่วนร่วมได้ด้วย


ลูกน้อยของคุณจะได้รับการกระตุ้นจากคุณพ่อซึ่งต่างไปจากที่ได้รับจากคุณแม่ มากทีเดียว คุณพ่อซึ่งช่วยในการดูแลลูกน้อยเป็นกิจวัตรประจำวันจะเรียนรู้ที่จะตอบสนอง ต่อความต้องการของลูกน้อยได้อย่างรวดเร็ว เมื่ออายุได้สองสัปดาห์ ลูกน้อยจะแสดงให้เห็นว่าเขาชอบเสียงของคุณพ่อมากกว่าเสียงผู้ชายคนอื่น

คุณทราบหรือไม่ว่า


ลูกน้อยไม่ได้มองดูแค่รูปร่างใบหน้าคุณเท่านั้น แต่เขาสนใจในรายละเอียดต่างๆ บนใบหน้าคุณมากกว่า เขาจะตอบสนองต่อภาพของใบหน้าอย่างสนอกสนใจมากกว่าภาพวัตถุอื่นๆ แต่เขาจะหมดความสนใจหากรายละเอียดบนใบหน้ายุ่งเหยิง เมื่อแรกคลอด ลูกน้อยจะชอบมองที่ส่วนบนของใบหน้า โดยเฉพาะบริเวณแนวเส้นผม เมื่ออายุได้ 4 สัปดาห์ เขาก็จะไปสนใจที่ดวงตามากกว่า

สิ่งที่ควรปฏิบัติ


* พูดกับลูกน้อยจากบริเวณต่างๆ ในห้อง ในขณะที่เขามองหาคุณ เขาก็จะเริ่มเชื่อมต่อภาพที่เห็นกับเสียงที่ได้ยินเข้าด้วยกัน
* วางลูกน้อยคว่ำหน้าไว้บนพื้น แล้วนอนลงข้างเขา เอาของเล่นที่มีสีสันสดใสให้เขามองแล้วเรียกชื่อเขา การทำเช่นนี้จะเป็นการกระตุ้นให้ลูกยกศีรษะขึ้น ซึ่งจะเป็นการบริหารกล้ามเนื้อคอ หลังและแขน
* เลือกของเล่นที่มีสีสดใสและกระตุ้นให้เขามองตามของเล่นโดยเคลื่อนของเล่น อย่างช้าๆ จากซ้ายไปขวา ให้ห่างจากหน้าเขาประมาณ 15 เซนติเมตร

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Thursday, July 9, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ช่วงเวลาสำคัญของลูกน้อย ( สัปดาห์ที่ 1 )

Posted by wittybuzz at 4:11 AM 0 comments
ลูกน้อยลืมตาดูโลกใบนี้พร้อมด้วยทักษะต่างๆ ตามธรรมชาติอันน่ามหัศจรรย์ ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้อยู่รอดได้หลังคลอด

* เมื่อลูบไล้ที่แก้มเบาๆ ลูกน้อยจะหันศีรษะมาหา พร้อมที่จะดื่มนมจากอกคุณแม่
* เมื่อใส่หัวนมเข้าไปในปากของลูกน้อย เขาก็จะเริ่มดูดและกลืน
* หากมีวัตถุเคลื่อนเข้าใกล้ใบหน้า ลูกน้อยก็จะกระพริบตา
* เมื่ออุ้มลูกไว้ในอ้อมแขนโดยให้ฝ่าเท้าแตะกับพื้นแข็งๆ ลูกน้อยจะทำท่าเหมือนการก้าวเดิน
* เมื่อลูกน้อยได้ยินเสียงดัง เขาก็จะเหวี่ยงแขนและกางนิ้วออก ในขณะที่โก่งหลังขึ้น
* เมื่อลูบที่ฝ่าเท้าของลูกน้อย เขาจะกางนิ้วเท้าออกและจากนั้นก็จะงอเข้า

ปฏิกิริยาตอบสนองเหล่านี้จะหายไปก่อนที่ลูกน้อยจะมีอายุครบหนึ่งขวบ โดยส่วนใหญ่จะหายไปก่อนนั้นมาก

เห็นด้วยตาถึงจะเชื่อ

แทบจะทันทีที่ลูกน้อยลืมตาดูโลก ลูกน้อยจะชอบเสียงของมารดามากกว่าเสียงของคนอื่น ซึ่งเป็นการบอกให้เรารู้ว่าลูกน้อยได้ยินเสียงของคุณแม่ขณะที่ยังอยู่ใน ครรภ์

ลูกน้อยจะตั้งใจฟังมากขึ้นเวลาที่คุณพูดกับเขาโดยตรง นั่นคงเป็นเพราะว่าคุณพูดด้วยเสียงสูงๆ และมีการสบตากันโดยสัญชาติญาณ

ลองฟังทางนี้

สายตาของลูกน้อยทำให้เขาได้เห็นสิ่งสำคัญในชีวิต นั่นก็คือคุณ ทุกอย่างที่อยู่ไกลออกไป เขาจะมองเห็นเป็นภาพมัวๆ แต่หากใบหน้าของคุณอยู่ในระยะแค่ 20-30 เซนติเมตร จะเป็นระยะโฟกัสที่ดีที่สุด งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าเมื่อลูกน้อยฟื้นตัวจากการคลอดแล้ว เขาจะจ้องมองใบหน้าของคุณได้เป็นชั่วโมงๆ เลยทีเดียว

ลองสังเกตลูกน้อยดูซิ

* ในเวลาที่ลูกน้อยพักผ่อน เขาจะกำมือโดยงอนิ้วหัวแม่มือเข้า
* นิ้วมือเขาจะกางออกเมื่อเขาขยับแขนไปมา
* หากคุณวางนิ้วลงบนฝ่ามือของลูกน้อย เขาก็จะกำแน่นมากทีเดียว
* หากนิ้วหัวแม่มือของลูกน้อยเหี่ยวย่นตอนคลอดออกมา แสดงว่าเขาดูดนิ้วหัวแม่มือตอนอยู่ในครรภ์

คุณทราบหรือไม่ว่า


* ลูกน้อยที่เพิ่งคลอดมี “ปฏิกิริยาตอบสนองในการกำมือ” อย่างน่าเหลือเชื่อ โดยที่เขาจะกำนิ้วชี้ของคุณแน่นมากถึงขนาดที่ถ้าคุณยกมือขึ้น เด็กก็จะลอยตามขึ้นมาเลยทีเดียว แต่ก็ไม่เป็นการดีที่จะทดสอบเรื่องนี้ เพราะว่าปฏิกิริยาตอบสนองนี้จะหายไปอย่างรวดเร็วมาก บางครั้งก็หายไปได้ในเวลาเพียงไม่กี่วันเท่านั้น

สิ่งที่ควรปฏิบัติ


* หลังจากที่อาบน้ำให้ลูกน้อยแล้ว คุณควรจูบท้อง นิ้วเท้าและนิ้วมือของเขาเบาๆ การกระตุ้นอย่างอ่อนโยนนี้จะช่วยให้ลูกน้อยพัฒนาการรับรู้ส่วนต่างๆ ของร่างกายได้
* เมื่อลูกน้อยตื่นนอน ให้วางเขาในท่าทางต่างๆ โดยเอาหลัง ท้องและด้านข้างลง วิธีนี้จะทำให้เขาได้มีโอกาสมองโลกจากมุมแปลกใหม่และได้ออกกำลังกายกล้าม เนื้อส่วนต่างๆ ไปในตัว


ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Wednesday, July 8, 2009

ลูกน้อยแรกเกิด - การปรับตัวเพื่อต้อนรับ ลูกน้อย

Posted by wittybuzz at 2:11 PM 0 comments

การอยู่กับลูกในช่วงสองสามสัปดาห์แรกอาจเป็นเหมือนกับลมที่พัดพาประสบการณ์และความรู้สึกใหม่ๆ มาสู่คุณแม่ ในขณะที่คุณแม่เรียนรู้ที่จะจัดการกับความต้องการใหม่ๆ ของลูก ต่อไปนี้คือเคล็ดลับว่าจะเตรียมตัวอย่างไรและจะ รับมือกับลูกน้อยในช่วงนี้อย่างไร

การดูแลลูกน้อย

ในฐานะที่เป็นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ เป็นธรรมดาที่จะต้องกังวลหรือประหม่าที่จะต้องแบกรับความรับผิดชอบใน ลักษณะนี้ คุณกับสามีอาจไปเข้าเรียนหลักสูตรสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่มาเรียบร้อยแล้ว ซึ่งพยาบาลจะสอน วิธีการอาบน้ำ ป้อนอาหาร และดูแลลูกน้อยว่าต้องทำอย่างไร

คุณแม่ควรรับหน้าที่รับผิดชอบดูแลลูกทันทีที่มีเรี่ยวแรง การทำเช่นนี้จะช่วยให้สร้างสายสัมพันธ์ระหว่างคุณแม่กับลูก น้อย นอกจากนี้ การสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างกันยังช่วยให้คุณแม่ได้มีโอกาสเรียนรู้อารมณ์และความต้องการของเจ้าตัวน้อยอีกด้วย

เป็นเรื่องที่ดีที่จะหาใครสักคนมาช่วยทำงานบ้านขณะที่คุณกับสามีจดจ่ออยู่อยู่กับการดูแลเจ้าตัวน้อย ควรกระตุ้นให้ สามีมีส่วนร่วมในการดูแลลูกน้อย เพราะจะเป็นการช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างคุณพ่อกับคุณลูก

การควบคุมอารมณ์ตัวเอง

คุณแม่หลายคนอาจรู้สึกได้ถึงความใกล้ชิดกับลูกน้อยทันทีหลังคลอด ขณะที่อีกหลายๆ คนอาจต้อง อาศัยระยะเวลาในการสร้างความรู้สึกเช่นนี้

ไม่ต้องรู้สึกผิดหากคุณแม่ต้องใช้เวลาสักระยะในการสร้างสายสัมพันธ์กับลูกน้อย หรือถ้าคุณแม่มีความรู้สึกเสียดาย ว่าวันว่างของตัวเองสิ้นสุดลงแล้ว อารมณ์ดังกล่าวนี้เป็นเรื่องปกติ ดังนั้น คุณแม่จึงไม่ควรคิดมากกับความรู้สึกเหล่านี้ ขอให้มีสมาธิดูแลชีวิตน้อยๆ ที่คุณแม่กำลังเลี้ยงดูอยู่จะดีกว่า

อย่างไรก็ตาม ขอแนะนำให้คุณแม่แลกเปลี่ยนความรู้สึกกับคุณสามี คนใกล้ชิด และเพื่อนที่คุณคิดว่ารู้สึกแบบ เดียวกันนี้

คุณจะรู้สึกอุ่นใจว่าสิ่งที่คุณกำลังรู้สึกอยู่นั้นเป็นเรื่องที่คุณแม่มือใหม่ทั่วไปต้องเผชิญ

คุณแม่บางคนเผชิญกับอารมณ์ปรวนแปรระหว่างช่วงนี้ หรือที่รู้จักกันทั่วไปอาการซึมเศร้าหลังคลอด คุณแม่กลุ่มนี้จะร้องไห้ฟูมฟายโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร หรือรู้สึกหดหู่สองถึงสามวัน

ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ความรู้สึกผิดหวังหลังคลอดและความเหนื่อยล้าจากการคลอดที่ยาวนาน และยากลำบาก อาจเป็นปัจจัยหลักๆ ที่ก่อให้เกิดอาการซึมเศร้านี้

ข่าวดีก็คือ อาการซึมเศร้าหลังคลอดนี้จะหายไป แต่ถ้ายังไม่หาย และคุณแม่รู้สึกว่าไม่สามารถรับมือกับลูกและสนอง ความต้องการของครอบครัวได้ ให้ไปปรึกษาแพทย์ประจำตัว ซึ่งคุณหมอจะจ่ายยาให้หรือส่งตัวไปปรึกษากับ จิตแพทย์

ครอบครัวสุขสันต์

การมาของเจ้าตัวน้อยจะนำความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเข้ามาในชีวิต ความสัมพันธ์ของครอบครัวก็จะ เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย

ไม่ว่าชีวิตของคุณแม่จะดูยุ่งเหยิงสักเพียงใดก็ตามในช่วงนี้ แต่ก็ขอให้แบ่งเวลาให้กับสามีคุณบ้าง บ่อยครั้งที่คุณพ่อ จะตกอยู่ในความสับสนอันเนื่องมาจากความรู้สึกที่ขัดแย้งกัน

คุณพ่ออาจรู้สึกภาคภูมิใจและอยากที่จะปกป้องลูกน้อยเป็นพิเศษ แต่อีกด้านหนึ่ง คุณพ่ออาจรู้สึกเสียใจว่าวันว่าง ของเขาสิ้นสุดลงแล้ว นอกจากนี้เขายังอาจประหม่ากับการดูแลลูกน้อยอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม คุณพ่อจะมีความมั่นใจมากขึ้นและกังวลน้อยลงหากคุณแม่ให้คุณพ่อเข้ามามีส่วนช่วยในการดูแลลูก น้อย เมื่อคุณทั้งสองคนเรียนรู้เกี่ยวกับเจ้าตัวเล็กมากขึ้นแล้ว ทั้งสองคนก็จะสามารถกำหนดกิจวัตรใหม่ที่ลงตัวได้

แม่ของคุณและแม่สามีก็เป็นแหล่งข้อมูลที่ดีเช่นกันในการของคำแนะนำและความช่วยเหลือ จาก ประสบการณ์ในการดูแลลูก ท่านจึงมีข้อมูลมากมายซึ่งคุณสามารถขอความช่วยเหลือได้

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท
 

Mama And Baby Care Copyright © 2009 Baby Shop is Designed by Ipietoon Sponsored by Emocutez