A Blogger by Beamcool

Friday, July 24, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ศักยภาพสูงสุดของลูกน้อยด้าน ภาษา ( คำพูดแรกของลูกน้อย )

Posted by wittybuzz at 2:06 PM
ถึงจะเป็นเรื่องไม่น่าเชื่อ แต่ลูกน้อยของคุณกำลังเตรียมพร้อมที่จะพูด! เริ่มตั้งแต่วินาทีที่ลูกน้อยลืมตาดูโลก เขาก็เริ่มสื่อสารความต้องการพื้นฐานของเขาให้คุณแม่รู้ เมื่อแรกเกิด การร้องไห้ครั้งแรกของลูกน้อยหมายความว่า “เฮ้ หนูหนาว!” คุณแม่จึงตอบสนองความต้องการของลูกและมอบความอบอุ่นให้แก่เขา และนั่นคือรูปแบบแรกในการติดต่อสื่อสารของเด็ก เนื่องจากเขาเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง เขาจะเริ่มออกเสียง เข้าใจความหมาย และพูดได้ และในที่สุดเขาก็จะมีส่วนร่วมในบทสนทนาที่ซับซ้อนได้ และทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นเร็วกว่าที่คุณแม่คิดไว้เสียอีก!

แรกเกิดไปจนถึงวัย 3 เดือน

ในช่วงสองถึงสามสัปดาห์แรกของชีวิตลูกน้อย ทั้งคุณแม่และคุณลูกจะเริ่มทำความรู้จักกัน เมื่อลูกน้อยร้องไห้ เขาจะเปลี่ยนระดับเสียงและสื่อสารในสิ่งที่เขาต้องการ คุณแม่จะได้เรียนรู้เพื่อจดจำว่าลูกน้อยกำลังหิว ไม่สบายตัว เปียกชื้น เหนื่อยล้า หรือกำลังมีความสุขโดยแปลความหมายจากเสียงร้องไห้แบบต่างๆ ของลูก

ลูกน้อยวัยแรกเกิดจะได้ยินเสียง และเขาจะสะดุ้งหรือตื่นเพราะเสียงดัง ในวันที่ 3 เขาอาจสามารถจดจำเสียงของคุณแม่ได้ และอาจหยุดร้องไห้เมื่อเขาได้ยินเสียงคุณแม่ ในวันที่ 9 เขาอาจเริ่มมองหาที่มาของเสียงได้ เขาอาจหันศีรษะไปทางเสียงของคุณแม่ และเขาจะหยุดทำอะไรก็ตามที่เขากำลังทำอยู่เมื่อได้ยินเสียงที่ไม่คุ้นเคย

ตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงประมาณ 3 เดือน ลูกน้อยอาจเริ่มออกเสียงคล้ายๆ กับเสียงสระซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่าเป็น “เสียงกระซิบกระซาบ” และเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับ “การเล่นเสียง” ในที่สุดการเล่นเสียงจะกลายเป็นการใช้เสียงพูด การศึกษาได้แสดงให้เห็นว่าเด็กเกิดมาพร้อมกับความสามารถในการเรียนรู้และใช้ ภาษาได้ทุกภาษา และแน่นอนว่าเด็กจะเข้าใจและใช้ภาษาที่เขาได้ยินมากที่สุด

เมื่อผ่านไป 3 เดือน ลูกน้อยของคุณอาจเริ่มยิ้มได้ หลังจากที่เขาเริ่มยิ้มได้ คุณแม่จะสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์กับเขาได้มากขึ้น โดยใช้คำพูดและการแสดงออกทางสีหน้าเพื่อกระตุ้นให้เขายิ้มอีก เขาอาจตอบสนองปฏิสัมพันธ์ของคุณแม่ด้วยการยิ้มและทำเสียงต่างๆ คุณแม่ควรปฏิบัติตามสัญชาตญาณและเลียนเสียงที่เขาทำซ้ำเพื่อเริ่มต้นกระบวน การสร้างต้นแบบทางภาษา

“ขณะที่ลูกเริ่มทำเสียงกระซิบกระซาบ ให้เลียนแบบเขา” คำแนะนำของชารอนแฟรงค์ M.A., CCC-SLP นักจิตวิทยาด้านภาษา-การพูดในภาคธุรกิจเอกชนและเป็นคุณแม่ของน้องโจอี้วัย 4 ขวบ “การเลียนเสียงเขานี้ จะทำให้เขารู้ว่าคุณกำลังรับฟังเขาอยู่ และนอกจากนั้นยังเป็นการกระตุ้นให้ลูกทำเสียงต่างๆ อีกด้วย”

นอกจากนั้นในช่วงอายุนี้ เด็กจะสามารถใช้เสียงสูงต่ำได้อย่างหลากหลาย และลูกน้อยของคุณจะเรียนรู้ถึงการแปลความหมายของการเปลี่ยนเสียงสูงต่ำและ น้ำเสียงของคุณ เขาจะสามารถจดจำความแตกต่างระหว่างคำพูดของคุณได้ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อคุณถามคำถามเขาหรือพูดกับเขาธรรมดาๆ

คุณแม่ควรทำเช่นไรเพื่อส่งเสริมทักษะทางการพูด? “ในขั้นนี้ เด็กจะรับรู้การสัมผัสของคุณพ่อคุณแม่ การแสดงออกทางสีหน้าและการเปล่งเสียงได้มากกว่าคำพูดของคุณพ่อคุณแม่” แฟรงค์กล่าว “ให้มุ่งความสนใจไปที่การแสดงสีหน้าเกินจริงและเปลี่ยนระดับเสียงให้สูงๆ ต่ำๆ เมื่อคุยกับลูก”

วัย 4 ถึง 6 เดือน

ในช่วงเวลาประมาณ 4 เดือน ลูกน้อยจะเริ่มตอบสนองกับคำว่า “ไม่” ในตอนนี้เขาจะสามารถมองไปรอบๆ เพื่อหาแหล่งที่มาของเสียงใหม่ๆ และจะตั้งใจฟังเพลงได้ ในระหว่างวัย 4 ถึง 6 เดือน เขาจะเริ่มอ้อแอ้ เด็กจะเริ่มอ้อแอ้ได้เมื่อเขาออกเสียงพยัญชนะและเสียงสระได้มากขึ้น ซึ่งได้แก่เสียง “พ” “บ” และ “ม” ลูกน้อยสามารถพูดอ้อแอ้ได้เมื่อเขาอยู่คนเดียวหรือเมื่อกำลังเล่นกับคุณแม่

“ควรเลียนเสียงอ้อแอ้หรือคำพูดอะไรก็ตามที่ลูกน้อยกำลังพูด” แฟรงค์กล่าว “เวลาที่ลูกชี้ไปที่อะไรก็ตาม ให้คุณแม่เรียกชื่อของสิ่งนั้น คุณแม่ควรเริ่มชี้ไปที่อะไรก็ตามพร้อมกับเขา และก็เรียกชื่อของสิ่งนั้น (‘เตียง หมา คุณพ่อ) รวมถึงพยายามพูดวลีที่มีคำ 1 ถึง 3 คำ (ยกตัวอย่างเช่น ‘แม่ไปบ๊ายบาย’ ‘กินนมอีก’)

เจนนิเฟอร์ โครนิน ครูโรงเรียนอนุบาลและคุณแม่ของน้องลิลลี่วัย 6 เดือน และแอนดรูว์วัย 2 ขวบ ได้ฝึกฝนการเป็นต้นแบบทางภาษา “ทุกครั้งที่ลิลลี่พูดอ้อแอ้กับฉัน ฉันจะพูดตอบกลับเขาไป” เธอกล่าว “ฉันพูดกับเขาด้วยน้ำเสียงสูงๆ เพราะว่าเขาชอบเสียงแบบนี้” ฉันคิดว่าลูกกำลังพูดกับฉัน และมันก็ช่างน่ารักน่าชังจริงๆ!”

โครนินกล่าวเพิ่มเติมว่าเธอชอบมองลูกชายกับลูกสาวคุยกัน “แอนดรูว์ชอบเลียนแบบเสียงอ้อแอ้ของลิลลี่ เธอกล่าว “ฉันคิดว่าดีมากเลยเวลาที่พวกเขาคุยกัน พวกเขากำลังเรียนรู้ถึงวิธีการสนทนาและการตอบรับซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นทักษะที่จะมีความสำคัญสำหรับพวกเขาไปทั้งชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพวกเขามีปฏิสัมพันธ์กับเด็กคนอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น ที่สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียนสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน โรงเรียนอนุบาล และอื่นๆ!”

สิ่งที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันก็คือการพัฒนาด้านการแสดงท่าทาง ทั้งนี้เพราะเป็นการนำไปสู่พัฒนาการทางภาษาที่ดี เด็กจะเริ่มสื่อสารความต้องการของเขาด้วยการแสดงท่าทาง (เอื้อมมือ ชี้ เป็นต้น) เมื่ออายุได้ประมาณ 6 เดือน การวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าเด็กสามารถเรียนรู้ภาษาท่าทางเพื่อสื่อสารกับคุณ พ่อคุณแม่ได้ก่อนที่เขาจะพูดได้ด้วยซ้ำ!

“คุณพ่อคุณแม่ควรช่วยให้ลูกเริ่มเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของเหตุและผล (ด้วยการเขย่าของเล่นที่มีเสียงกรุ๊งกริ๊ง) และพัฒนาความสามารถในการจดจำวัตถุ (ด้วยการเล่นจ๊ะเอ๋)” แฟรงค์ได้แนะนำว่า “ทักษะด้านความคิดแรกเริ่มเหล่านี้เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาคำพูดและภาษา”

วัย 7 ถึง 12 เดือน

ในระหว่างช่วงวัย 7 ถึง 12 เดือน ลูกน้อยจะเริ่มเพลิดเพลินไปกับการเล่นจ๊ะเอ๋และเกมเต้นไปตามเสียงเพลง) ลูกจะเริ่มจำชื่อของเขาเองและคำพูดทั่วๆ ไปได้ (ยกตัวอย่างเช่น “แก้ว” “ผ้าอ้อม”) เขาจะเริ่มเข้าใจคำสั่งและเริ่มต้นตอบสนองเวลาที่ขอให้เขาทำอะไรได้ เช่น “เอาอีกไหม?” นอกจากนั้น การพูดอ้อแอ้ของเขาจะพัฒนาจนสามารถออกเสียงสั้นและยาวได้ เช่น "อะอะ กากากากา " การอ้อแอ้เหล่านี้จะพัฒนาขึ้นไปจนกลายเป็นคำพูด ถึงแม้ว่าคำพูดของเขาอาจไม่ชัดเจนนักก็ตาม แต่หากเขาใช้เสียงแบบเดิมๆ เพื่อเรียกสิ่งของหรือบอกความต้องการของเขาแล้วละก็ เสียงนั้นก็จะถือว่าเป็น “คำพูดจริงๆ” ได้ ยกตัวอย่างเช่น หากลูกน้อยของคุณมักพูดคำว่า “อิก” เพื่อหมายความว่าเขาอยากได้ “อีก” ให้ถือว่าคำนี้เป็นคำพูดที่แท้จริงของเขา

เมื่ออายุได้ 12 เดือน เด็กส่วนใหญ่จะเปลี่ยนจากภาษาอ้อแอ้ของพวกเขาไปเป็นคำพูด 1 หรือ 2 คำ เช่น “ดาด๊า บ๊ายบาย” หรือแม้แต่ “มาม๊า!” ไม่น่าเชื่อเลยว่าว่าในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เพียง 12 เดือน เด็กจะเริ่มพัฒนาความสามารถในการติดต่อสื่อสารกับโลกได้แล้ว นับตั้งแต่ครั้งแรกที่คุณพ่อคุณแม่ตกใจที่ลูกพูดคำแรกได้ นับจากนั้นทักษะทางคำพูดและภาษาของเขาจะพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว จึงไม่ประหลาดใจเลยว่าการศึกษาการพัฒนาสมองได้แสดงว่าสมองเจริญเติบโตอย่าง รวดเร็วตั้งแต่ช่วงวัยแรกเกิดไปจนถึง 3 ขวบ

คุณพ่อคุณแม่ควรสนับสนุนให้ลูกน้อยพูดเก่งๆ โดยคุยกับเขาบ่อยๆ “ใช้สภาพแวดล้อมรอบตัวให้เป็นประโยชน์สูงสุดเพื่อส่งเสริมการพูดของลูกน้อย โดยพาเขาไปเดินเล่นและชี้ไปที่อะไรก็ตามที่คุณเห็น (‘หมา บ้าน รถยนต์ นกกำลังบิน คนส่งไปรษณีย์) แฟรงค์กล่าว “และควรทำแบบเดียวกันนี้กับข้าวของภายในบ้าน ที่ร้านขายของชำ ที่สวนสาธารณะ เป็นต้น”

ในระหว่างช่วงเวลานี้ ลูกน้อยของคุณจะพร้อมและเต็มใจที่จะเรียนรู้ภาษา และคุณพ่อคุณแม่เป็นแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุดของเขาเพื่อกระตุ้นทักษะเหล่านี้ โดยจัดเตรียมสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ทางภาษาให้กับเขา ซึ่งจะเป็นการปลูกฝังทักษะต่างๆ ที่จะอยู่กับเขาไปตลอดชีวิต!

สัญญาณเตือนภัย


กระบวนการพัฒนาที่สำคัญของชีวิตได้ถูกนำมาใช้เป็นแนวทางเพื่อจะได้ทราบว่า โดยปกติแล้ว เด็กในแต่ละวัยจะมีพัฒนาการใดบ้าง ถึงอย่างไรก็ตาม เด็กแต่ละคนก็มีความแตกต่างกัน และอาจเป็นไปตามตารางพัฒนาการก่อนหรือหลังที่กำหนดก็ได้ ถึงอย่างไรก็ตาม สำหรับเด็กในกลุ่มวัยนี้ คุณแม่ควรวิตกกังวลหาก

ลูกน้อยของคุณไม่ตกใจหรือตอบสนองต่อเสียง

* เมื่ออายุ 3 เดือน ลูกน้อยของคุณไม่หันไปทางแหล่งที่มาของเสียงหรือหันไปตามเสียงของคุณ
* เมื่ออายุ 8 เดือน ลูกน้อยของคุณไม่พูดอ้อแอ้ ไม่เลียนแบบเสียงพูดหรือใช้เสียงเพื่อเรียกร้องความสนใจ
* เมื่อ 8 ถึง 12 เดือน ลูกน้อยของคุณไม่ตอบสนองเวลาที่มีคนพูดกับเขาหรือไม่แสดงความสนใจที่จะพยายามสื่อสารตอบ


หากคุณแม่มีความกังวลเกี่ยวกับการได้ยินเสียงหรือการพูด/การใช้ภาษาของลูก น้อย ควรไปปรึกษากับกุมารแพทย์ การค้นหาปัญหาการได้ยินเสียง การพูด หรือภาษาตั้งแต่เนิ่นๆ เป็นสิ่งจำเป็น การค้นหาปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตั้งแต่เนิ่นๆ ไม่ได้แค่ช่วยแก้ไขพัฒนาการทางคำพูดและภาษาเท่านั้น แต่ยังป้องกันปัญหาเรื่องของพฤติกรรม ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และในด้านการศึกษาในอนาคตได้อีกด้วย

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

0 comments:

Post a Comment

 

Mama And Baby Care Copyright © 2009 Baby Shop is Designed by Ipietoon Sponsored by Emocutez