A Blogger by Beamcool

Saturday, August 29, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ความสำคัญของการเล่น ( สามวิธีง่ายๆ ในการ สานสัมพันธ์กับลูกน้อย วัยแรกเกิด )

Posted by wittybuzz at 3:24 AM
“ฉันว่าฉันนี่โง่ซะจริง” คุณแม่ของหนูน้อยวัยหกสัปดาห์รายหนึ่งกล่าว “ฉันรู้ว่าเขาไม่เข้าใจที่ฉันพูดหรอก แต่ถึงยังไงฉันก็อดพูดกับเขาไม่ได้” เป็นความจริงที่ว่าทารกที่เด็กมากๆ จะไม่เข้าใจคำพูด แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นเรื่องโง่แต่อย่างใดที่คุณแม่พูดกับพวกเขา แม้ว่าเขาจะไม่รู้ว่าคุณแม่กำลังพูดอะไร แต่ลูกน้อยก็จะสนอกสนใจน้ำเสียงของคุณแม่ ต่อไปนี้เป็น 3 วิธีง่ายๆ ที่คุณแม่สามารถเริ่มสร้างพื้นฐานทักษะการสื่อสารที่ดีให้กับเขาได้

1. มาหัดพูดกันเถอะ!


การพูดคุยกับลูกน้อยวัยแรกเกิดเป็นการสอนสิ่งสำคัญมากในการสื่อสารทางสังคม ให้แก่เขา สิ่งที่สำคัญกว่าคำพูดจริงๆ ก็คือสารที่ส่งออกไปได้แก่คำว่า แม่รักหนูนะ หนูคือคนสำคัญของแม่

การวิจัยแสดงให้เห็นว่าเด็กวัยแรกเกิดไวต่อเสียงแหลมสูงมากกว่า บางทีอาจเป็นเพราะว่าลูกน้อยได้ยินเสียงแม่หลายเดือนแล้วขณะที่เจริญเติบโต อยู่ในครรภ์ ไม่ว่ากรณีใด การคุยกับลูกน้อยจะช่วยให้ลูกน้อยเรียนรู้เพื่อเชื่อมโยงระหว่างเสียงกับใบ หน้าของแม่ นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างพื้นฐานสำหรับพัฒนาการทางภาษาในภายหลังอีกด้วย

เพราะอย่างนี้แล้ว คุณแม่ก็ควรคุยกับเจ้าตัวน้อย เล่าให้เขาฟังเกี่ยวกับสภาพอากาศ หนังสือที่กำลังอ่านอยู่ วันนี้ทานอะไรเป็นอาหารเที่ยง ชื่อของเล่นหรืออะไรก็ได้ คุณแม่จะเป็นผู้วางพื้นฐานทักษะการสื่อสารที่ดีให้แก่เขา และไม่ถือว่าเป็นการเร็วเกินไปเลย!

2. ฟังและตอบสนอง

เมื่อลูกน้อยอายุได้หนึ่งหรือสองเดือน พวกเขามักจะเริ่มสร้างเสียงของพวกเขาเอง เสียงเหล่านี้ไม่ใช่เสียงกระซิบกระซาบและเสียงอ้อแอ้เหมือนอย่างที่เด็กโต หน่อยทำ แต่พวกเขาก็จะไม่ได้เอาแต่ร้องไห้เช่นกัน ลูกน้อยอาจพูด “อ่า” หรือ “เอ่” หรืออาจเพียงแค่ทำเสียงด้วยลิ้น แม้ว่าเสียงเหล่านี้จะเป็นแค่เสียงง่ายๆ แต่มันก็เป็นขั้นแรกในการพัฒนาไปสู่ภาษาพูดเช่นกัน ผู้ใหญ่สามารถตอบสนองได้โดยเลียนเสียงสั้นๆ เหล่านี้ ในบางครั้งเจ้าตัวน้อยอาจทำเสียงนั้นซ้ำ และคุณแม่อาจกำลัง “พูดคุย” กับเขาโดยไม่รู้ตัวก็ได้! สิ่งนี้เป็นเกมที่น่าดึงดูดใจสำหรับลูกน้อย คนหนึ่งที่จะสนับสนุนการสื่อสารกับคุณ

เมื่อเด็กๆ เหนื่อยเกินไป หิวเกินไป หรือพักผ่อนน้อยจนเล่นไม่ไหวแล้ว พวกเขาจะ “บอก” ด้วยการร้องไห้ หรือปฏิเสธที่คุณแม่พยายามที่จะเล่นกับพวกเขา ขอให้คุณแม่สังเกตสัญญาณเหล่านี้ และอีกไม่นานคุณแม่ก็จะรู้ถึงลักษณะส่วนตัวของลูกน้อย

3. พูดกับเขาตอนไหนก็ได้


หากคุณแม่คิดว่าต้องสงวนการเล่นและการพูดคุยเอาไว้สำหรับ “ช่วงเวลาพิเศษ” คุณแม่อาจพลาดโอกาสสำคัญในการสื่อสารกับลูกน้อยไปก็ได้ เวลาดีที่สุดที่จะพูดคุยกับลูกน้อยคือ ตอนที่เขาตื่นนอนและกำลังตื่นตัว และปกติแล้วก็คือเวลาที่อาบน้ำ เปลี่ยนผ้าอ้อมหรือแต่งตัวให้เขา ช่วงเวลาเหล่านี้ไม่ได้เป็นเพียงงานที่คุณแม่ต้องจัดการให้เรียบร้อย แต่มันคือช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดที่จะสื่อสารกับลูกน้อย

ขณะที่ลูกน้อยนอนมองดูคุณอยู่ คุณอาจคุยกับเขาอย่างนิ่มนวล จั๊กจี้ที่ท้องของลูกน้อยเบาๆ หรือยื่นหน้าเข้าหาเขาและส่งเสียงกระซิบกับเขา พ่อแม่บางคนก็นำของเล่นที่มีสีสันสดใสมาวางไว้ใกล้ๆ เพื่อให้ลูกน้อยดูขณะที่เปลี่ยนผ้าอ้อมหรือแต่งตัวให้เขา

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

0 comments:

Post a Comment

 

Mama And Baby Care Copyright © 2009 Baby Shop is Designed by Ipietoon Sponsored by Emocutez