A Blogger by Beamcool

Wednesday, August 19, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ศักยภาพสูงสุดของลูกน้อยด้าน พัฒนาการทางสังคม และทางอารมณ์ ( เมื่อไหร่ที่คุณแม่ควรเริ่มฝึกให้เขามีระเบียบวินัย )

Posted by wittybuzz at 2:08 AM
เมื่อไหร่ก็ตามที่ลุค ลูกชายอายุหนึ่งขวบของฉันเห็นก้อนหิน เขาชอบตักมันเข้าปากอยู่เรื่อย และเมื่อเขามองเห็นแมว เขาชอบวิ่งพุ่งเข้าใส่มัน ถึงแม้ว่าแมวชอบตะปบและทำเสียงขู่ฟ่อใส่เขาก็ตาม

เด็กๆ มักจะชอบทำแบบนี้จนแทบจะเป็นกิจวัตรประจำวันและเวลาที่คิดว่าจะหาวิธี ป้องกันไม่ให้ลูกชายฉันเป็นอันตรายได้ยังไงโดยที่ไม่ทำร้ายจิตใจเขา ฉันก็จะรู้สึกสับสนมากทุกที จากประสบการณ์ที่ฉันพบเจอมา ฉันว่าการที่จะให้เด็กวัยหัดเดินเลิกกินหินนั้น มันพูดง่าย แต่ทำยาก

เด็กที่ยังเล็กๆ อย่างนี้ การตั้งระเบียบวินัยแบบเดิมๆ เช่น หมดเวลาแล้ว ใช้กับเขาไม่ได้ผลแต่วิธีไหนถึงจะได้ผลล่ะ และอายุเท่าไหร่ถึงจะเหมาะใช้เทคนิคแบบไหน ดังเช่นที่คุณแม่อาจคาดเดาไว้แล้วว่า ถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่จะต้องเรียนรู้วิธีการฝึก ระเบียบวินัยให้ลูกอย่างถูกต้องพอๆ กับที่ลูกต้องเรียนรู้ว่าพฤติกรรมบางอย่างไม่ปลอดภัยหรือไม่เหมาะสมในสังคม

ท้ายที่สุด การฝึกระเบียบวินัยให้กับลูกนั้น ต้องใช้เวลานานก็ แต่เมื่อใดที่ฝึกสำเร็จแล้ว มันก็จะเป็นประโยชน์ต่อลูกน้อยของคุณเอง

จุดเริ่มต้นของระเบียบวินัย

การตั้งข้อจำกัด การส่งเสริมพฤติกรรมที่ดี และการห้ามปรามไม่ให้เด็กทำพฤติกรรมที่ไม่ค่อยดีนัก ทั้งหมดนี้สามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่ที่ลูกยังเล็กๆ ตามคำกล่าวของผู้เชี่ยวชาญที่ว่า “มีสิ่งที่แม้แต่เด็กเล็กๆ ก็สามารถเรียนรู้ว่าไม่ควรทำ เช่น ดึงผมคุณแม่” จูดิธ ไมเออร์-วอลลส์ PhD รองศาสตราจารย์ ภาควิชาการพัฒนาเด็กและการศึกษาครอบครัว มหาวิทยาลัยเพอร์ดูกล่าว

เนื่องจากเด็กเล็กๆ มีข้อจำกัดด้านความเข้าใจภาษา ความทรงจำ และสมาธิ ดังนั้น กลยุทธ์ที่ดีที่สุดที่จะนำมาใช้ตั้งแต่ช่วงวัยแรกเริ่มคือ การสอนให้เขารู้จักการควบคุมอันตรายแทนที่จะสอนบทเรียนให้เขาอย่างจริงๆ จังๆ การเบี่ยงเบนความสนใจของเด็ก (ซึ่งก็คือการช่วยให้เขาปรับปรุงพฤติกรรมที่ไม่ดีนักให้ดีขึ้น) และการเพิกเฉย คือสองกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่น เมื่อลูกวัย 4 เดือนดึงผมคุณแม่เล่นอย่างสนุกสนาน คุณแม่ก็อาจจะดึงมือของลูกออกอย่างช้าๆ จูบที่มือเขาและนำมือของเขาไปจับสิ่งที่สนุกสนานและเหมาะสมแทน เช่น ของเล่นเขย่าที่มีเสียงหรือของเล่นอื่น ๆ

คุณแม่คงไม่มีวันเพิกเฉยพฤติกรรมซึ่งเป็นไปได้ว่าจะก่อให้เกิดอันตรายแน่ๆ แต่เมื่อมองอีกมุมหนึ่ง เวลาที่ลูกน้อยวัย 7 เดือนขว้างปาซีเรียลอย่างสนุกสนานลงมาจากเก้าอี้เด็ก ก็เป็นการฝึกการเคลื่อนไหวที่ดีเหมือนกัน สิ่งสำคัญที่คุณแม่ควรจำก็คือ เด็กที่ยังเล็กมากๆ เขายังไม่รู้ประสีประสา เจ้าตัวน้อยที่กำลังขว้างปาซีเรียลเล่นอย่างสนุกสนาน เขาไม่ได้กำลังพยายามที่จะทำให้คุณแม่รำคาญใจ แต่เขากำลังเรียนรู้ถึงวิธีการควบคุมมือของเขาเองและเริ่มทำความเข้าใจแนว ความคิดเรื่องเหตุและผล ถึงแม้ว่าพฤติกรรมแบบนี้จะสร้างความรำคาญใจให้คุณแม่ไม่น้อย แต่สิ่งสำคัญก็คือคุณแม่อย่าอารมณ์เสียหรือทำอะไรที่รุนแรงจนเกินไป

ในความเป็นจริงแล้วจากการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้พบว่า 39 เปอร์เซ็นต์ของคุณพ่อคุณแม่คิดว่าลูกกำลังยั่วโมโหพวกเขาโดยกดรีโมตเปลี่ยน ช่องโทรทัศน์ไม่ยอมหยุด คุณพ่อคุณแม่หลายท่านหงุดหงิดใจมากที่ลูกมีพฤติกรรมแบบนี้ แนนซี่ ซามาลิน ผู้เขียนหนังสือ Loving Without Spoiling (McGraw-Hill/Contemporary Books, 2546) กล่าว วิธีที่ดีที่สุดก็คือ คุณพ่อคุณแม่ควรนิ่งเข้าไว้และทำสิ่งที่ตัวเองกำลังทำอยู่ต่อไป

อายุ 8 ถึง 12 เดือน

เมื่อลูกน้อยเริ่มคลานเมื่อเขาอายุได้ประมาณ 8 เดือน นั่นคือเวลาที่คุณพ่อคุณแม่ควรคิดกำหนดข้อจำกัดสำหรับเขา โดยห้ามเขาไปหมดทุกอย่าง ไม่ว่าจะของตกแต่งที่ตั้งอยู่บนโต๊ะไปจนถึงม้วนกระดาษชำระที่อยู่ใต้อ่าง ล้างหน้าในห้องน้ำ

เด็กที่อยู่ในช่วงวัยนี้เพียงแค่อยากจะสำรวจ (เขาไม่รู้ว่าอะไรควรทำหรืออะไรไม่ควรทำ) ดังนั้น ของอะไรก็ตามที่คุณแม่ไม่อยากให้ลูกแตะต้อง ก็ให้วางไว้ในที่ที่เขาเอื้อมไม่ถึง และวางของที่เหมาะสำหรับเด็กไว้ในที่ที่เขาหยิบได้ง่าย ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า วิธีนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุดเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกก่อปัญหาและช่วยให้ปฏิบัติ ตามกฎได้ง่ายขึ้นเยอะทีเดียว

แน่นอนว่าส่วนมากเราจะพูดแค่ว่า “อย่านะ” เมื่อจับได้ว่าเจ้าตัวน้อยกำลังก่อเรื่องป่วน แต่โชคไม่ดีที่ว่า วิธีแบบนี้ใช้ไม่ได้ผลกับเด็กวัยนี้ เขาเข้าใจว่าน้ำเสียงของคำว่า “อย่านะ” มีความหมายแตกต่างจากคำว่า “แม่รักหนู” แต่เขาจะไม่เข้าใจว่าที่จริงแล้ว คำๆ นี้หมายความว่าอะไร ยิ่งไปกว่านั้น เขายังไม่สามารถควบคุมตัวเองให้ใส่ใจคำขอของคุณแม่อีกด้วย

คุณแม่ควรใช้เทคนิคอื่นๆ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ว่าบางสิ่งบางอย่างมีข้อจำกัด ดังเช่นที่คริสตินา โซโต ในกรุงนิวยอร์กทำ ”ตั้งแต่ซอนญ่า ลูกสาวของฉันอายุได้ 8 หรือ 9 เดือน ทุกครั้งที่เขาเข้าใกล้ปลั๊กไฟฉันจะพูดว่า ’อาฮ่า!' ด้วยน้ำเสียงสนุกๆ ที่ทำให้เขาตกใจ แล้วเขาก็จะหยุดและมองมาที่ฉัน” คริสตินากล่าว “ฉันทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ หลังจากนั้นสักพัก เขาคลานไปที่ปลั๊กไฟ แล้วก็ชี้ที่ปลั๊ก แล้วก็พูดว่า ’อาฮ่า!' กับฉัน”

อายุ 12 ถึง 24 เดือน


ประมาณช่วงวัยนี้ ทักษะในการสื่อสารของลูกน้อยกำลังพัฒนา ดังนั้น คุณแม่จึงสามารถอธิบายกฎพื้นฐานให้เขาฟังได้ ยกตัวอย่างเช่น อย่าดึงหางแมวนะจ๊ะ นอกจากนั้น คุณแม่ยังสามารถเริ่มพูดคำว่า “อย่านะ” อย่างจริงจังในสถานการณ์ที่เคร่งเครียดได้ การใช้คำมากเกินไปจะทำให้คำนั้นไม่มีความหมาย และที่สุดก็ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น

ทักษะทางร่างกายของลูกจะเป็นส่วนสำคัญของการเล่นอย่างเต็มที่ด้วยเช่นกัน เจ้าตัวน้อยที่เพิ่งเริ่มหัดเดินจะรู้สึกตื่นเต้นไปกับความเป็นอิสระที่เขา เพิ่งค้นพบ และเขาจะรู้สึกหงุดหงิดที่เขาไม่สามารถทำทุกอย่างที่เขาอยากทำได้

เมื่อเขาเข้าสู่ช่วงวัยที่ชอบงอแง แม้ว่าการงอแงของเด็กต้องการการตอบสนองอย่างรวดเร็วจากคุณแม่ แต่การแสดงอารมณ์ที่รุนแรงเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเติบโต และคุณแม่ไม่จำเป็นต้องใช้ระเบียบที่เข้มงวดขึ้นกับเขา เช่น ยึดของที่เขาชอบไปหรือขังลูกไว้ในห้อง

เมื่อเขางอแง “คุณแม่จำเป็นต้องเข้าใจลูกของตัวเอง” แคลร์ เลิร์นเนอร์ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านพัฒนาการของเด็กที่ Zero to Three กล่าว เด็กบางคนสามารถสงบอารมณ์ได้อย่างรวดเร็วเมื่อคุณแม่เบี่ยงเบนความสนใจเขา ส่วนบางคนอาจต้องการการกอด แต่ถ้าเขางอแงนานจนเกินไป ให้พาลูกออกไปจากสถานการณ์นั้นและอธิบายอย่างอ่อนโยนว่าเกิดอะไรขึ้น (“ถ้าหนูร้องโวยวายอยู่อย่างนี้ เราก็เข้าไปในร้านไม่ได้นะ”) จนกว่าเขาจะสงบลง

ความหงุดหงิดที่มาจากความไม่สามารถในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพของ เด็กวัยหัดเดิน อาจทำให้เขาทุบตีหรือกัดได้เช่นกัน การฝึกระเบียบวินัยเมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ทำได้โดย บอกกับลูกว่าสิ่งใดที่ไม่ควรทำอย่างรวดเร็วและอย่างง่ายๆ และเปลี่ยนให้เขาแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น หากลูกตีคุณเพราะคุณขัดจังหวะการเล่นของเขาเพื่อที่จะเปลี่ยนผ้าอ้อม ให้พูดว่า “เราไม่ควรตีนะจ๊ะ เพราะมันเจ็บ” และหยิบของเล่นให้เขาเล่นในขณะที่คุณเปลี่ยนผ้าอ้อมให้เขา

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

0 comments:

Post a Comment

 

Mama And Baby Care Copyright © 2009 Baby Shop is Designed by Ipietoon Sponsored by Emocutez