A Blogger by Beamcool

Wednesday, August 26, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ความสำคัญของการเล่น ( การเล่นคืองานของหนู )

Posted by wittybuzz at 9:06 AM
เวลาหลายชั่วโมงที่ทารกหรือเด็กๆ ใช้ไปกับการเล่นนั้นมิได้หมายความว่าเป็นการเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์หรือ เป็นเพียงแค่ธรรมชาติของเขาที่ต้องเล่น การเล่นอาจเป็นเรื่องสนุก แต่ก็เป็นเรื่องจริงจังในวัยเด็ก ระหว่างเวลาที่เด็กเล่นอยู่นี้ เด็กจะเสริมสร้างความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง

เด็กที่ลืมตามาดูโลกใบนี้เปรียบได้กับฟองน้ำพิเศษก้อนหนึ่ง– ซึ่งมีคุณลักษณะพิเศษในการซึมซับ สำรวจและค้นหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวเขา

การเล่นเป็นหลักสูตรอย่างหนึ่งของการสำรวจและการค้นพบซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ สำคัญที่สุดในการเล่นของเด็ก เขาจะหยุดเล่นก็เฉพาะตอนนอนหลับ ด้วยเหตุนี้ การเล่นจึงเป็นงานของหนู

เช่นเดียวกันกับผู้ใหญ่ในวัยทำงานที่ต้องเรียนรู้วิธีแก้ปัญหาในที่ทำงาน เพื่อให้งานนั้นเสร็จลุล่วง เด็กเองก็เรียนรู้สิ่งเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้จากการเล่นซึ่งเสริมสร้างทักษะต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับเขาในการเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ

การเล่นมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางร่างกาย จิตใจ สังคม จิตวิทยา อารมณ์และภาษาของเด็ก

พัฒนาการทางร่างกาย

เมื่อเด็กเริ่มคลาน หัดตั้งไข่ เดินและวิ่ง นั่นแสดงว่าเขากำลังเคลื่อนไหวร่างกาย การเคลื่อนไหวเช่นนี้จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการให้ร่างกายทำงานประสานกันอย่าง ซับซ้อนยิ่งขึ้น เช่น สามารถใช้ทั้งสองมือน้อยๆ พร้อมกันได้ สามารถวิ่งได้ เป็นต้น ดังนั้น เด็กจึงจำเป็นต้องเคลื่อนไหวแขนและขาทั้งสองข้างให้ประสานกัน

จากช่วง 3 เดือนแรกที่เจ้าตัวน้อยลืมตาดูโลก เขาจะสามารถเริ่มเคลื่อนไหวจากหัวไหล่จนถึงข้อศอกได้ อย่างไรก็ตามในระยะเริ่มต้นนี้ การเคลื่อนไหวเหล่านั้นจะมีแค่การแกว่งมือและการตีที่ไม่ถูกต้องเท่านั้น เมื่อเขาเริ่มเล่นของเล่นชิ้นเล็กๆ และของเล่นที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น เขาก็จะเริ่มมีพัฒนาการในการใช้มือทั้งสองข้าง

นอกจากนี้ การเล่นยังพัฒนากล้ามเนื้อและความแข็งแรงของแขนขาทั้งส่วนบนและส่วนล่างอีกด้วย

พัฒนาการทางจิตใจ

ในการเล่นอย่างมีจินตนาการนั้น เด็กอาจสมมุติตัวเองเป็นพยาบาล หมอ หรือนักดับเพลิง นอกจากนี้ เขายังอาจสมมุติตัวเองว่าตัวเองกำลังทำอาหาร กำลังเย็บผ้าหรือจัดงานเลี้ยงน้ำชากับเพื่อนๆ ก็ได้ การเล่นอย่างมีจินตนาการเช่นนั้นจะช่วยกระตุ้นกระบวนการคิดของเด็ก ซึ่งผลที่ได้ก็คือ การเล่นแบบนี้จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับตัวเขาสำหรับสถานการณ์การเรียน รู้ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นเมื่อเขาโตขึ้น

พัฒนาการทางสังคม


ขณะที่เด็กๆ เล่นกัน พวกเขาจะพัฒนาความคิดเกี่ยวกับโลกรอบๆ ตัวเขาไปพร้อมๆ กัน พวกเขาจะเรียนรู้ว่ามีกฎเกณฑ์บางอย่างที่ต้องยึดถือ กฎเกณฑ์เหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับการเข้าสังคม เช่น การเข้าคิวเพื่อเล่นกระดานเลื่อน การคบหาเพื่อนใหม่ การให้และการรับ การแบ่งปันหรือแม้แต่เพียงการผูกมิตรกับเด็กคนอื่น

แม้ว่าในเบื้องต้น ดูเหมือนว่าเด็กจะยังเห็นแก่ตัวและคิดถึงตัวเขาเองเป็นใหญ่ แต่อีกไม่นานเขาก็จะเรียนรู้ที่จะพัฒนาตามคำแนะนำจากผู้ใหญ่โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งจากพ่อแม่

พัฒนาการทางจิตวิทยา


เด็กจะมีความมั่นใจและเคารพในตัวเองเมื่อเขาเล่นแล้ว เขาสนุกสนานและประสบความสำเร็จในสิ่งที่เขาทำ ความมั่นใจนี้จะกระตุ้นให้เขามุ่งหน้าสำรวจต่อไปและผลักดันให้เด็กได้พบกับ ประสบการณ์ในกิจกรรมที่ท้าทายยิ่งขึ้น พัฒนาการด้านความมั่นใจจะช่วยให้เขาพบกับความท้าทายต่างๆ เมื่อเขาโตขึ้น การเผชิญกับความท้าทายเหล่านี้จะช่วยพัฒนาทักษะต่างๆ ของเขายิ่งขึ้นไปอีก

พัฒนาการทางอารมณ์


การคลุกคลีกับพ่อแม่เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการทางอารมณ์ในระยะแรกของเด็ก ไม่มีอะไรที่จะมาแทนที่พัฒนาการในระยะนี้ได้ คุณพ่อคุณแม่ควรมีส่วนร่วมในระหว่างที่ลูกเล่นให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไป ได้ การทำเช่นนี้จะช่วยให้เด็กรู้สึกปลอดภัยในสภาพแวดล้อมใหม่ๆ เมื่อเขารู้สึกปลอดภัย เขาก็จะอยากออกไปสำรวจโลกกว้างด้วยความอุ่นใจว่ามีคนที่ไว้ใจได้ที่คอยช่วย เหลือเขาเสมอเมื่อยามเกิดเรื่องร้ายๆ ขึ้น

พัฒนาการด้านภาษา


ภาษาคือสื่ออย่างหนึ่งที่เราถ่ายทอดความหมายออกมาจากความคิดและความรู้สึก ของเรา พัฒนาการด้านภาษาเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่วันแรกที่เราเกิดมา ความพยายามเบื้องต้นที่เด็กสื่อสารออกมาจะอยู่ในรูปง่ายๆ และทำซ้ำๆ เมื่อเด็กโตขึ้น ความจำเป็นในการใช้ภาษาก็มากตามไปด้วย เด็กๆ ต้องใช้คำพูดและท่าทางในการแสดงออกถึงความคิดและเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาเมื่อ พวกเขาพบเจออะไรใหม่ๆ และแตกต่างไปจากเดิม ภาษาเป็นส่วนหนึ่งของการเล่นที่มีเอกลักษณ์และมีความพิเศษในตัว และภาษายังเป็นสิ่งที่แยกมนุษย์ซึ่งมีความนึกคิดออกจากสัตว์ต่างๆ เมื่อเปรียบเทียบกัน

ความจำเป็นเบื้องต้นสำหรับพัฒนาการด้านภาษานั้นสามารถสร้างเสริมได้ผ่านการ เล่น คุณพ่อคุณมีโอกาสมากมายที่จะกระตุ้นพัฒนาการดังต่อไปนี้ผ่านทางการเล่น

* การสบตา
* ทักษะการฟัง
* การให้ความสนใจ
* การเรียนรู้ที่จะต่อแถวเข้าคิว
* ทักษะการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม

การติดป้ายบนสิ่งของจะช่วยได้มากเมื่อคุณพ่อคุณแม่แนะนำศัพท์ใหม่ๆ ให้กับเขา เพราะจะเป็นการเพิ่มจำนวนคำศัพท์ให้กับเขา นอกจากนี้ เด็กจะจดจำความหมายของคำศัพท์ได้ดียิ่งขึ้นหากให้เขาจับต้องของชิ้นนั้น

การเรียนรู้แนวความคิดอื่นๆ

การเล่นยังช่วยให้เด็กเรียนรู้และเข้าใจแนวคิดพื้นฐานอื่นๆ เช่น ตัวเลข สี และตำแหน่ง (ซ้าย/ขวา และ เข้า/ออก)

การพัฒนาแนวความคิดดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญสำหรับพัฒนาการของเด็ก เนื่องจากจะช่วยสอนสิ่งต่อไปนี้

* ปฏิสัมพันธ์ระหว่างวัตถุว่าของชิ้นหนึ่งเกี่ยวข้องกับของอีกชิ้นหนึ่งอย่าง ไร ยกตัวอย่างเช่น หม้อกับเตาไฟ ช้อนกับส้อม และลูกบอลกับไม้ตี
* ปฏิสัมพันธ์กับวัตถุต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น น้ำที่กำลังเดือดร้อน น้ำแข็งเย็น ผ้านิ่ม สิ่งเหล่านี้ช่วยให้เด็กรู้ได้ด้วยตัวเองว่าเขาควรคิดและกระทำเช่นไร เป็นต้นว่า ถ้าเด็กไม่ชอบความรู้สึกร้อน เขาอาจไม่อยากถือกาต้มน้ำ เป็นต้น ซึ่งพัฒนาการด้านนี้ทำให้เขารู้มากขึ้นว่าเขาสามารถทำอะไรได้บ้างและจะเป็น การสอนเขาว่าเขาสามารถทำแบบนั้นซ้ำอีกได้

การเข้าใจถึงเหตุและผล เช่น “ถ้าหนูจับน้ำเดือดๆ หนูจะโดนลวก” ซึ่งหลักเหตุผลนี้จะเป็นพื้นฐานของการแก้ปัญหา เมื่อเขาได้แก้ปัญหา ได้สัมผัสประสบการณ์ต่างๆและได้เรียนรู้ธรรมชาติของสิ่งต่างๆ แล้ว เด็กก็จะเรียนรู้ที่จะปฏิบัติตามกฎความปลอดภัย

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

0 comments:

Post a Comment

 

Mama And Baby Care Copyright © 2009 Baby Shop is Designed by Ipietoon Sponsored by Emocutez