A Blogger by Beamcool

Wednesday, August 5, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ศักยภาพสูงสุดของลูกน้อยด้าน การพัฒนาทักษะการรับรู้ ( การพัฒนาสมองของเด็ก )

Posted by wittybuzz at 1:10 AM
ในโลกที่ให้ความสำคัญกับสิ่งที่เร็วกว่า ดีกว่า และแข็งแรงกว่า จึงไม่ประหลาดใจเลยว่าหลักการ “Do More” ถึงเข้ามามีบทบาทกับลูกของเราด้วย มีของเล่นมากมายที่ยืนยันว่าจะช่วยทำให้ลูกของคุณฉลาดขึ้นได้ตั้งแต่อยู่ใน ครรภ์และเราก็พบเห็นหนังสือภาพสำหรับเด็กแทบทุกเห็นทุกแห่ง แต่กลเม็ดต่าง ๆ เหล่านี้สามารถใช้ได้จริงหรือ? และเด็กอายุไม่ถึง 1 ขวบจะเรียนรู้อะไรได้มากน้อยแค่ไหนกันที่นอกเหนือไปจากการนั่ง การเคี้ยว และการเดินสำหรับเด็กบางคน

แอน เฟรดดริกคุณแม่ของลูกวัย 2 ขวบจากเมืองพอร์ทแลนด์ รัฐโอเรกอน ไม่แน่ใจว่าลูกของเธอจะสามารถเรียนรู้ได้มากน้อยเพียงใดก่อนอายุครบ 1 ขวบ แต่เธอคิดว่าถ้าจะช่วยส่งเสริมเขา ก็ไม่ได้เสียหายอะไร “ในเวลานั้นฉันไม่รู้เลยว่ากิจกรรมต่างๆ ที่ฉันกำลังทำจะส่งผลกระทบต่อลูกของฉันหรือเปล่า แต่ฉันคิดว่ามันเป็นงานของคุณแม่ที่จะต้องลองดู” เธอกล่าว “ฉันเล่นดนตรีคลาสสิกให้เขาฟัง หาของเล่นที่กระตุ้นการมองเห็นให้เขาและพูดกับเขาโดยหันหน้าเข้าหากันบ่อยๆ”

แอนก็เป็นเช่นเดียวกับคุณแม่ส่วนมาก ก็คือไม่ได้พยายามสร้างให้ลูกเป็นอัจฉริยะ แต่เพียงแค่ต้องการส่งเสริมชีวิตของลูกน้อยด้วยวิธีการต่างๆ ที่เธอสามารถทำได้เท่านั้น แต่เราจะส่งเสริมเด็กอายุไม่ถึงขวบได้มากน้อยแค่ไหน

สมองอันน่ามหัศจรรย์ของเด็กวัยแรกเกิด

เจเน็ต โดเมนเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านพัฒนาการทางสมองของเด็กและการกระตุ้นเด็กทารก และเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง How Smart Is Your Baby? Develop and Nurture Your Newborn's Full Potential (Square One Publishing, 2006) ด้วยประสบการณ์ 35 ปี เจเน็ตได้เล็งเห็นว่าสมองของเด็กทารกมีความสามารถมากทีเดียว

“เมื่อแรกเกิด เด็กจะมองไม่เห็น ไม่ได้บินและไม่รับรู้ความรู้สึก” เจเน็ตกล่าว “ประสาทสัมผัสเหล่านี้จะเติบโตและพัฒนาตามการกระตุ้น ประสาทสัมผัสของเขาจะพัฒนาขึ้นได้เมื่อมีการกระตุ้นทางการมองเห็น การได้ยิน และการสัมผัสที่เหมาะสมโดยมีความถี่ ความรุนแรง และมีช่วงระยะเวลาที่ถูกต้อง

ตัวอย่างเช่น เจเน็ตกล่าวว่าหนูน้อยวัยแรกเกิดปฏิกิริยาตอบสนองต่อแสงสว่างค่อนข้างดีมาก “เราจะเห็นว่าเด็กมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อแสงเมื่อเขาถูกแสงสว่างและตาดำของ เขาหดตัวลง” เธอกล่าว “ยิ่งปฏิกิริยานี้พัฒนาสมบูรณ์เร็วเท่าไหร่ เขาก็จะยิ่งพัฒนาความสามารถในการมองเห็นเส้นโครงร่างและจากนั้นจึงมองเห็น รายละเอียดเร็วเท่านั้น ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถกระตุ้นเขาได้ง่ายมากและใช้เวลาเพียงเล็กน้อย แต่เด็กที่ได้รับการกระตุ้นอย่างตั้งใจจากคุณพ่อคุณแม่จะสามารถมองเห็นราย ละเอียดต่างๆ ได้เร็วกว่าเด็กที่ถูกปล่อยให้ได้รับการกระตุ้นโดยบังเอิญตั้งหลายสัปดาห์ หรืออาจจะหลายเดือน ซึ่งเป็นการกระตุ้นแบบมีจุดประสงค์มากกว่าที่จะเป็นการกระตุ้นโดยบังเอิญ”

เจเน็ตกล่าวว่าวิธีนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งในการกระตุ้นประสาทสัมผัสของเด็ก ทารก โปรแกรมการกระตุ้นประสาทสัมผัสที่สมบูรณ์แบบสำหรับเด็กวัยแรกเกิดหรือในช่วง สองถึงสามเดือนแรกของชีวิต จะเป็นการกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้งห้าอย่างสั้นๆ (การมองเห็น การได้ยิน การรู้สึก การลิ้มรส และการดมกลิ่น) การกระตุ้นอย่างสั้นๆ เหล่านี้จะช่วยให้ประสาทสัมผัสแต่ละอย่างของเด็กพัฒนาอย่างเต็มที่ เมื่อประสาทสัมผัสเหล่านี้พัฒนาขึ้นและเริ่มสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ก็จะเป็นประโยชน์เป็นอย่างมากสำหรับเด็ก คุณแม่และคุณพ่อสามารถเรียนรู้ถึงวิธีการประเมินประสาทสัมผัสเหล่านี้ได้ เพื่อที่ว่าจะได้พิจารณาได้อย่างง่ายๆ ว่าเขาต้องการอะไรต่อจากนั้นและมีในจุดไหนบ้างที่เขาไม่จำเป็นต้องใช้อีกต่อ ไปแล้ว

สมองยิ่งใช้ ยิ่งเติบโต

ยังคงเป็นเรื่องประหลาดใจอย่างมากว่าทำไมยิ่งใช้งาน สมองก็ยิ่งพัฒนา แต่มันก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ สมองของคนเราจะเติบโตอย่างรวดเร็วมากนับตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงวัย 6 ขวบ

“การเรียนรู้กับอายุมักจะสวนทางกัน” เจเน็ตกล่าว “ยิ่งเด็กอายุน้อยเท่าไหร่ เขาก็ยิ่งเรียนรู้ได้เร็วเท่านั้น ซึ่งหากเด็กได้รับการกระตุ้นทางการมองเห็น ทางการได้ยิน และทางการสัมผัสบ่อยๆ โดยมีความรุนแรงและช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม รวมถึงมีการส่งเสริมด้านการเคลื่อนไหว และโอกาสทางความสามารถด้านภาษาและการใช้มือ จะทำให้ลูกสามารถพัฒนาประสาทสัมผัสทุกด้านได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งช่วยให้เขาทำความเข้าใจกับโลกรอบๆ ตัวได้ดียิ่งขึ้นและทำให้เขามีปฏิสัมพันธ์กับคนในครอบครัวมากขึ้น นอกจากนั้น การกระตุ้นและการเสริมสร้างโอกาสเหล่านี้กับเขายังช่วยให้เขามีความสุข มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ และมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าเดิมเป็นอย่างมากอีกด้วย

การเชื่อมโยงทางภาษา

เจเน็ตกล่าวว่าเมื่อพื้นที่ส่วนหนึ่งในสมองพัฒนา สมองส่วนที่เหลือก็จะพัฒนาขึ้นในระดับหนึ่งตามไปด้วย โปรแกรมกระตุ้นและเสริมสร้างโอกาสให้แก่เด็กทั้งหมดนี้ จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาของเขา เธอกล่าวว่าลักษณะเช่นนี้ก็เหมือนกับการเล่นโดมิโน

“ในช่วงแรกๆ เด็กแรกเกิดหายใจได้ไม่ดีนัก” เจเน็ตกล่าว “ซึ่งทำให้เขาออกเสียงตามที่เขาต้องการได้ยาก เมื่อสายตาของเด็กมองเห็นได้ดีขึ้น เขาก็ยิ่งอยากเคลื่อนไหวมากขึ้น หากเขามีโอกาสได้เคลื่อนไหวบนพื้น เขาก็จะทำ หากเขามีโอกาสที่จะเคลื่อนไหวมากยิ่งขึ้น ระบบการหายใจของเขาก็จะดีขึ้นตามไปด้วย พอเขาหายใจได้ดีขึ้น เขาก็จะออกเสียงได้มากขึ้น ยิ่งเขาออกเสียงได้มากเท่าไหร่ คุณแม่ก็จะยิ่งตอบสนองต่อเสียงที่เขาเปล่งออกมามากเท่านั้น ยิ่งคุณแม่กับคุณลูกคุยกันมากเท่าไหร่ คุณแม่จะยิ่งเอาชนะปัญหาเรื่องเสียงและเข้าใจว่าจริงๆ แล้วลูกน้อยพูดอะไรได้เร็วขึ้นเท่านั้น”

เจเน็ตเชื่อว่าเด็กๆ อยากให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจเขาใจจะขาด แต่เด็กส่วนใหญ่ กว่าเขาจะพูดได้รู้เรื่องก็ตั้งอายุ 12 ถึง 14 เดือนขึ้นไป เจเน็ตอ้างว่ากล่าวว่ากระบวนการนี้จะสามารถเกิดขึ้นในช่วงวัย 3 ถึง 4 เดือนแทน

ฟรองซัวส์ ธีโบต์เป็นผู้บริหารและผู้ก่อตั้ง The Language Workshop for Children ในกรุงนิวยอร์ก โดยเขาได้เริ่มดำเนินการ The Language Workshop for Children เมื่อปี 2516หลังจากที่สอนภาษาฝรั่งเศสในโรงเรียนมัธยมและระดับชั้นวิทยาลัย หลังจากที่ทำการค้นคว้าศึกษาอย่างจริงจัง เขาก็ตระหนักได้ว่าไม่มีโรงเรียนไหนในสหรัฐอเมริกาเลยที่เชี่ยวชาญในการสอน ภาษาให้กับเด็กเล็กๆ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเด็กทารกและเด็กวัยหัดเดิน) ดังนั้น เขาจึงเปิดสอนโปรแกรมนี้ของเขาเอง โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีและวิธีการสอนของเขาเอง โดยโปรแกรมของเขาสามารถสอนภาษาอื่นๆ ให้กับเด็กทารกได้อย่างประสบผลสำเร็จ

“มนุษย์เรามีความสามารถในการแบ่งแยกรหัสทางภาษาศาสตร์ได้อย่างไม่มีที่สิ้น สุด” ฟรองซัวส์กล่าว “คุณเคยสับสนกับความหมายของคำว่า ‘บ้าน’ 'house' และ 'maison' ไหมล่ะ คำตอบคือไม่เลย ทั้งสามคำนี้ถึงรูปจะแตกต่างกัน แต่ก็มีความหมายเดียวกัน เรารับรู้ความหมายของคำเหล่านี้ได้โดยทันที เพราะสมองของเราได้แบ่งแยกประเภทและจัดเก็บความหมายของคำเหล่านั้นไว้ เด็กที่ยังเล็กมากๆ ก็ยังสามารถแบ่งแยกและจัดเก็บความหมายของคำได้”

ตามหลักการของฟรองซัวส์ เด็กจะเริ่มพูดคำแรกได้อย่างชัดเจนเมื่ออายุระหว่าง 8 ถึง 20 เดือน โดยที่เขาจะซึมซับและจดจำเสียงของคำไว้ แล้วจึงเชื่อมโยงความหมายกับเสียงเข้าด้วยกัน “ก่อนถึงเวลาที่เด็กจะพูดได้ เขาจะเริ่มเปล่ง “เสียงแบบเด็กๆ” หรือที่เราเรียกว่าการอ้อแอ้ได้เมื่ออายุได้ 5 เดือน” ฟรองซัวส์กล่าว “ถึงแม้ว่าเราจะฟังเสียงอ้อแอ้ของเขาไม่รู้เรื่อง แต่นั่นก็เป็นการที่เขาเริ่มพูดคุยกับเราโดยเขาพยายามถ่ายทอดความหมายและ พยายามพูดตามเสียงของผู้ใหญ่ที่คุยกันรอบๆ ตัวเขา”

ฟรองซัวส์กล่าวว่าเด็กมีความไวในการรับรู้มากและสามารถรับรู้ทุกสิ่งที่เขา ได้ยินและมองเห็น สมองของเขาได้ถูกวางโปรแกรมไว้ให้จดจำทุกคำและทุกสียงไว้ในจิตใจและในภาย หลังจึงเรียกคำและเสียงที่จดจำไว้กลับมาใช้ “สมองของเด็กจะสร้างเซลล์ประสาทแยกออกมาส่วนหนึ่งไว้สำหรับจัดเก็บเสียง ต่างๆ ที่เขาได้ยิน” ฟรองซัวส์กล่าว “เชิญคุณพ่อคุณแม่มาตั้งโปรแกรมให้ลูกโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ที่สื่อสารได้ดี และพูดจาชัดถ้อยชัดคำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้กันเถอะ”

โปรแกรมของฟรองซัวส์ประกอบไปด้วยแค่เกมแอคชั่นที่เกี่ยวข้องกับภาษา เกมก่อสร้าง เกมที่ช่วยเหลือทางด้านสายตา ของประกอบฉากและเพลงที่มีคำศัพท์หลากหลาย “ระหว่างช่วงวัย 8 ถึง 20 เดือน เด็กวัยหัดเดินจะเริ่มพูดแบบที่นักภาษาศาสตร์เรียกว่า ‘คำเดี่ยว’ ฟรองซัวร์กล่าว “ก่อนที่เขาจะเริ่มพูดได้ เขาจะทำได้เพียงแค่ฟังและจัดเก็บสิ่งที่พวกเขาได้ยินไว้ในสมอง ซึ่งถือเป็นช่วงระยะเวลาที่สำคัญสำหรับพวกเขา โดยเป็นช่วงเวลาที่ระบบประสาทของเด็กสามารถซึมซับและจัดเก็บภาษาได้ดีที่ สุด”

เห็นได้ชัดว่าเด็กที่ยังเล็กมากๆ ก็สามารถเรียนรู้ได้ เมื่อลูกน้อยได้รับการกระตุ้นและการเอาใจใส่ เขาก็จะสามารถเรียนรู้สิ่งที่สำคัญที่สุดเมื่อเขาเกิดมา นั่นคือการสื่อสารกับคุณพ่อคุณแม่ และถึงแม้ว่าเขาจะไม่ได้กลายเป็นสิ่งมหัศจรรย์อันดับที่แปดของโลก แต่คุณแม่ก็ได้มอบของขวัญที่จะอยู่กับเขาไปตลอดชีวิต นั่นก็คือความชอบที่จะเรียนรู้และติดต่อสื่อสาร

การกระตุ้นทางภาษาที่ควรทำและไม่ควรทำ

เจเน็ต โดแมนผู้แต่งหนังสือเรื่อง How Smart Is Your Baby? Develop and Nurture Your Newborn's Full Potential (Square One Publishing, 2549) ได้ให้เคล็ดลับดังต่อไปนี้

สิ่งที่ควรทำ

* รับฟังลูกน้อยอยู่เสมอ
* ทำท่าเหมือนกับว่าคุณกำลังรับฟังเขาอยู่
* เต็มใจที่จะรอให้เขาตอบสนอง
* ยอมรับความจริงว่าเด็กจะเป็นคนตัดสินใจเองว่าเขาจะตอบสนองหรือไม่ มันเป็นทางเลือกของเขา
* ตอบสนองต่อสิ่งที่ลูกพูด
* แสดงความยินดีอย่างออกหน้าออกตาทุกครั้งที่ลูกพยายามพูด
* บอกความหมายของเสียงที่ลูกชอบพูดซ้ำบ่อยๆ
* ใช้คำพูดที่ถูกต้องเมื่อคุยกับลูกน้อย

สิ่งที่ไม่ควรทำ

* “พูดแบบเด็ก ๆ” กับลูก
* ทำเพิกเฉยกับเขา
* ถามคำถามแล้วไม่ให้เวลาเขาตอบ
* ไม่ยอมตอบคำถามของลูก
* เลียนแบบหรือล้อเลียนเสียงที่เขาเปล่งออกมา
* แก้ไขวิธีการออกเสียงของลูก
* พยายามบังคับให้ลูกตอบคำถามหรือตอบสนอง

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

0 comments:

Post a Comment

 

Mama And Baby Care Copyright © 2009 Baby Shop is Designed by Ipietoon Sponsored by Emocutez