A Blogger by Beamcool

Monday, August 10, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ศักยภาพสูงสุดของลูกน้อยด้าน การพัฒนาทักษะการรับรู้ ( อ่านนิทานให้ลูกน้อยฟังเพื่อส่งเสริมความฉลาดหลักแหลมของเขา )

Posted by wittybuzz at 4:11 AM
ในขณะที่ฉันอ่านหนังสือให้ลูกชายของฉันฟังเมื่อ ช่วงวัย 2 ปีแรกนับตั้งแต่เขาเกิด ฉันมักประหลาดใจกับวิธีที่เขาตีความหมายของคำ รูปภาพ และน้ำเสียงของฉัน เวลาที่เขานอนบนตักของฉันตอนเขาอายุได้ 8 สัปดาห์ เขาจ้องไปที่เสื้อคลุมอาบน้ำและกระบะทรายสำหรับเด็กเล่นใน Lucy Cousins' Maisy's Colors แล้วเขาประมวลภาพเหล่านี้ได้อย่างไรเมื่อเขาอายุได้ 20 เดือน เขาเลือกหนังสือเรื่อง Richard Scarry's Humperdink's Busy Day แทนที่จะเลือกเรื่อง My First Body Board Book อะไรกันที่ดึงดูดใจให้เขาเลือกของอย่างหนึ่งมากกว่าอีกอย่างหนึ่ง

ผู้เชี่ยวชาญทางด้านความสามารถในการอ่านและเขียนไม่เข้าใจในทุกเรื่องที่ว่า เด็กที่ยังเล็กมากๆ จะมีปฏิกิริยาอย่างไรกับหนังสือ แต่ผู้เชี่ยวชาญทราบดีว่าเด็กวัยแบเบาะและเด็กวัยหัดเดินจะตอบสนองต่อส่วน ประกอบต่างๆ ในการอ่านหนังสือ ต่อไปนี้เป็นแนวทางว่ามีอะไรเกิดขึ้นภายในสมองของเจ้าตัวเล็กบ้างเมื่อคุณ แม่อ่านหนังสือเรื่อง ‘Jamberry’ ให้เขาฟังอีกครั้งหนึ่ง

สำหรับเด็กเล็กๆ การอ่านหนังสือเป็นเรื่องของทัศนคติ

สำหรับเด็กแรกเกิด การอ่านหนังสือให้เขาฟังจะเป็นการสานความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับคนที่เลี้ยง เขา และทำให้เขามีทัศนคติต่อหนังสือในเชิงบวก ในช่วงครึ่งปีแรก ผู้ใหญ่จะวางพื้นฐานให้เด็กเชื่อมโยงการอ่านหนังสือเข้ากับการมีความสุขและ ความผูกพัน

“แท้จริงแล้ว เด็กแรกเกิดไม่ได้สนใจหนังสือมากเท่ากับความอบอุ่นและความใกล้ชิดเมื่อคุณ แม่โอบกอดเขา และจังหวะน้ำเสียงของผู้ใหญ่เวลาที่อ่านหนังสือให้เขาฟัง” ดร. แอน บาร์เบอร์ PhD ศาสตราจารย์ด้านการศึกษาสำหรับเด็กเล็ก มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สเตทกล่าว และเพื่อส่งเสริมความใกล้ชิดดังกล่าวนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจร้องเพลงกล่องเด็กหรือโคลงกลอนง่ายๆ สำหรับเด็กในขณะที่โอบกอดลูกอยู่ในท่าที่สบายๆ ก็ได้ ดร. แอนกล่าว

เด็กแรกเกิดชอบมองไปที่ภาพใบหน้าของคน ตามที่ ดร. สตีเฟ่น เฮิร์บและดร. ซาร่า วิลลอฟบาย-เฮิร์บ PhDs กล่าวไว้ในหนังสือของพวกเขาเรื่อง Using Children's Books in Preschool Settings เด็กในช่วงวัยนี้ คุณพ่อคุณแม่สามารถ “เลือกหนังสือสองสามเล่มที่ลูกน้อยชื่นชอบและอ่านให้เขาฟังซ้ำๆ เป็นประจำ”

นอกจากนั้น เด็กเล็กๆ “สามารถมองเห็นสีที่สดใสได้” ได้และอาจชอบหนังสือที่มีสีสันสดใส เชอร์รี่ วอง ผู้อำนวยการด้านกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์แห่ง Talaris Research Institute ในรัฐซีแอตเทิล สถาบันแห่งนี้ได้เผยแพร่งานวิจัยเรื่องการพัฒนาของเด็กเล็กให้คุณพ่อคุณแม่ ได้ทราบ

การได้ยินภาษาพูดตั้งแต่วัยแรกเริ่ม “จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการของศูนย์ควบคุมการพูดในสมองได้” โดยจะช่วยให้เด็กสามารถแยกแยะและจดจำเสียงต่างๆ ได้ ดร. บ็อบ สตีเว่นส์ PhD รองศาสตราจารย์ ภาควิชาจิตวิทยาการศึกษา มหาวิทยาลัยเพนน์ สเตทกล่าว “การรับรู้หน่วยเสียงย่อย” เหล่านี้สามารถช่วยให้เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่มีความหลากหลายได้ดีขึ้นเมื่อเขา โต

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม เด็กๆ จะยังไม่เข้าใจเนื้อหาของหนังสือได้อย่างแท้จริงจนกว่าเขาจะเข้าใจภาษาพูด เสียก่อน ตามที่ ดร. มากาเร็ต มูสตาฟา PhD ศาสตราจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เน็ต สเตทกล่าวไว้ “คุณแม่ควรอ่านหนังสือให้เขาฟังจนกว่าเขาจะเรียนรู้ภาษาพูดได้มากพอที่จะ อ่านหนังสือได้เข้าใจ” ดร. มากาเร็ตอธิบายว่า “สิ่งเดียวเด็กจะเรียนรู้จากการที่ฟังคุณแม่อ่านหนังสือให้ฟังก็คือ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการอ่าน เช่น วิธีการพลิกหน้าหนังสือ”

สำหรับเด็กโตขึ้นมาหน่อย ฉันคิดว่าการอ่านหนังสือให้เขาฟังต้องมีอะไรพิเศษแน่ๆ

ในระหว่างอายุ 6 เดือนถึง 1 ขวบ เด็กจะมุ่งความสนใจไปที่หนังสือมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าเขาสามารถนั่งได้แล้ว “ฉันอ่านหนังสือเวลาที่นั่งหรือยืนได้ง่ายกว่าเวลาที่ต้องนอนลงไปกับพื้น” ดร. มากาเร็ตกล่าว

เมื่อเด็กอายุใกล้ครบหนึ่งขวบ เขาจะเริ่มเข้าใจว่า “รูปภาพเป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว” เช่น รูปลูกบอลเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงลูกบอลจริงๆ ดร. มากาเร็ตกล่าว ซึ่งในภายหลังเด็กจะประยุกต์ใช้ความเข้าใจในส่วนนี้กับสัญลักษณ์อื่นๆ เช่น ตัวเลขหรือตัวอักษร

การเข้าสู่ความเข้าใจใหม่ในเรื่องของสัญลักษณ์ดังกล่าวนี้ ดร. สตีเฟ่นและดร. ซาร่าได้แนะนำว่าคุณพ่อคุณแม่ “ให้ชี้และเรียกชื่อของที่อยู่ในแต่ละหน้า” ของหนังสือขั้นพื้นฐานสำหรับเด็ก หลังจากอ่านหนังสือเล่มเดิมซ้ำหลายๆ รอบแล้ว คุณพ่อคุณแม่จะสามารถ “กระตุ้นให้ลูกน้อยชี้ไปที่สิ่งของตามที่บอกได้” โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นสิ่งที่เขาชอบ

เมื่อเด็กอายุใกล้ครบ 1 ขวบ เขา “จะเริ่มรับรู้ว่า ที่จริงแล้ว หนังสือกำลังบอกอะไรบางอย่างกับเขา” ดร. มากาเร็ตกล่าว คำพูดสามารถบอกเล่าเรื่องราวและถ่ายทอดความหมายได้ ดร. บ็อบเรียกทักษะนี้ว่า “การรับรู้สิ่งตีพิมพ์” และเห็นว่าทักษะนี้เป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการอ่านหนังสืออย่างเป็นจริงเป็น จังต่อไปในภายหลัง

สำหรับเด็กวัยหัดเดิน หนูเข้าใจแล้ว!

ในช่วงอายุระหว่าง 1 ขวบถึง 2 ขวบ เด็กจะเติบโตเร็วจนน่าตกใจ และเขาจะมีความชำนาญและเพลิดเพลินไปกับหนังสือที่เขาคุ้นเคย ในช่วงวัยนี้ เขาจะมีพัฒนาทางร่างกายมากขึ้น ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถนำมามีส่วนร่วมในการอ่านได้

หาก “หนังสือเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน [ของเด็ก] ภายในบ้านของพวกเขาเองแล้ว พวกเขาก็จะมีความคุ้นเคยกับหนังสือเหมือนกับที่เขาคุ้นเคยกับ ของเล่น [เด็ก] มีความสุขที่คุณแม่อ่านหนังสือให้เขาฟัง” ดร. มากาเร็ตกล่าว เด็กวัยหัดเดินจะสนใจเนื้อหาของหนังสือมากกว่าเด็กวัยแบเบาะและมักใช้การ อ่านหนังสือเป็นการเล่น “เกมจ๊ะเอ๋” โดยเขาอยากรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในหน้าถัดไป เธอกล่าวเสริม

เมื่อเด็กเริ่มพูดได้สองสามคำ สิ่งสำคัญก็คือคุณพ่อคุณแม่ต้องหาหนังสือภาพแบบง่ายๆ ที่เด็กสามารถออกเสียงเรียกได้และเริ่มพูดตามคุณพ่อคุณแม่ได้ เชอร์รี่กล่าว นอกจากนั้น เมื่ออายุได้สองขวบ เด็กวัยหัดเดินส่วนมากจะชอบหนังสือที่สอนคำสัมผัสด้วย

ในระยะนี้ ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่คุณแม่จะต้องเตรียมหนังสือภาพที่เป็นกระดาษ แข็งๆ ให้กับลูก “เพื่อที่ว่าเขาจะได้ ‘อ่าน’ และพลิกหน้าหนังสือได้ด้วยตัวเอง” ดร. สตีเฟ่นและดร. ซาร่ากล่าว นอกจากนี้ ผู้เขียนต่างให้คำแนะนำว่าควรวางชั้นหนังสือไว้ในที่ที่เด็กหยิบได้ง่าย เพื่อที่ว่าเด็ก “จะได้ค้นหาหนังสือของเขาเองและหยิบออกมาอ่านได้” ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้การอ่านประสบความสำเร็จ

หากหนูน้อยวัยหัดเดินมักจะตื่นตาตื่นใจไปกับสิ่งที่เคลื่อนไหวไปมารอบๆ ตัว แล้วคุณพ่อคุณแม่ควรทำเช่นไรเพื่อให้เขาสนใจอ่านหนังสืออย่างต่อเนื่อง ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ทำตามท่าทีที่เด็กแสดงออกและอย่าบังคับเขา

“บางทีคุณพ่อคุณแม่อาจทำสิ่งที่ผิดพลาดมากที่สุด นั่นคือการพูดว่า ‘นี่มันเวลาอ่านหนังสือนะ’” และกำหนดให้อ่านหนังสือหน้าแล้วหน้าเล่าจนกระทั่งจบ เชอร์รี่กล่าว คุณแม่ควรอ่านหนังสือต่อไปเรื่อยๆ ในขณะที่เด็กกำลังทำนู่นทำนี่ “แม้ว่าพวกเขาอาจเดินไปรอบๆ ห้อง หรือคลานไปคลานมาบนพื้น แต่คุณแม่ก็ควรเล่านิทานให้เขาฟังต่อไป” เชอร์รี่กล่าว การอ่านหนังสือสำหรับเด็กวัยนี้ยังคงเป็นเรื่องของการเชื่อมโยงระหว่าง หนังสือกับการมีความสุขและการสานความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับคุณพ่อคุณแม่ ไม่ใช่ให้เขานั่งฟังอย่างเงียบกริบ

มีหนังสือมากมายที่เหมาะสำหรับเด็กทุกคน “แม้แต่เจ้าตัวเล็กจอมซนและไม่เคยนั่งอยู่นิ่งๆ” ดร. สตีเว่น ผู้อำนวยการ Pennsylvania Center for the Book มหาวิทยาลัยเพนน์ สเตทกล่าว นอกจากนั้น เขายังแนะนำให้ใช้ประโยชน์จากเวลาที่เด็กต้อง “นั่งอยู่นิ่งๆ” เพื่ออ่านหนังสือให้เขาฟัง เช่น ในขณะที่กำลังป้อนอาหารเขาบนเก้าอี้เด็กหรือเวลาเข้านอน

อายุ 2 ขวบขึ้นไป เขาจะเริ่มมีปฏิกิริยาตอบสนอง

ในขณะที่เขาเริ่มพูด เด็กจะเปลี่ยนจากการเรียกชื่อรูปภาพไปเป็นการพูดคุยกับหนังสือ ในช่วงเวลานี้ สิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งคือ คุณพ่อคุณแม่ควร “ทำตามในสิ่งที่พวกเขาสนใจ” ดร. มากาเร็ตกล่าว ไม่ว่าจะเป็น พระจันทร์หรือรถบรรทุก หรือแม้แต่ท่อไอเสียรถในขณะที่คุณพ่อคุณแม่พูดคุยกับลูกว่าเขาอยากทำอะไร บ้าง บทสนทนาเหล่านี้จะช่วยให้เด็กรู้จัก “วางแผน” หรือเข้าใจเกี่ยวกับโลกใบนี้” ดร. มากาเร็ตกล่าว ซึ่งจะช่วยให้เด็กเข้าใจเรื่องที่คุยอยู่ได้ดีขึ้น

นอกจากนั้น กุญแจสำคัญก็คือการพูดคุยเรื่องราวต่างๆ กับเด็กและเช็คดูว่าเขาสามารถเข้าใจภาษาและความหมายหรือเปล่า “คุณพ่อคุณแม่จะเน้นในเรื่องของคำก็ได้” เช่น “หนูรู้มั๊ยจ๊ะว่าใหญ่โตแปลว่าอะไร” และจากนั้นจึงเล่าให้เขาฟังว่าจะใช้คำๆ นั้นในประโยคอย่างไร ดร. บ็อบกล่าว

โดยทั่วไปแล้ว คุณพ่อคุณแม่อาจอ่านหนังสือให้ลูกฟัง “ในลักษณะที่ส่งเสริมให้เขาเข้าใจเนื้อเรื่องก็ได้” ดร.มากาเร็ตกล่าว “ซึ่งอาจหมายถึงให้คุณพ่อคุณแม่คาดการณ์ว่าลูกจะมีปัญหาเรื่องการเข้าใจอะไร บ้างหรือให้ตอบคำถามของเด็ก” หากคุณพ่อคุณแม่อ่านหนังสือแบบรวดเดียวจบโดยไม่หยุดเพื่อให้ลูกถามคำถามหรือ เพื่อตรวจสอบว่าลูกเข้าใจหรือไม่ เด็กอาจเดินออกไปจากห้องนั้นด้วยความสับสน ดร. มากาเร็ตกล่าว

ไม่ว่าในช่วงวัยใด ควรให้ลูกเป็นผู้นำ

ในระหว่างการพัฒนาก่อนที่เด็กจะอ่านหนังสือเองได้ สิ่งที่ดีที่สุดที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำให้ลูกได้ ก็คือสังเกตและตอบสนองต่อสัญญาณของเขา เช่น เขาชอบหนังสือเล่มไหนเป็นพิเศษ และเขาชอบนั่งนิ่งๆ หรือชอบกระดุกกระดิกไปมาในระหว่างที่อ่านหนังสือ จากนั้นคุณพ่อคุณแม่จะ “กำหนดระยะเวลาที่เด็กอยากอ่านหนังสือ” ดร. แอนกล่าว และทำให้การอ่านหนังสือเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน

เมื่อคุณพ่อคุณแม่อ่านหนังสือให้ลูกฟังบ่อยๆ ในลักษณะที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันและมีความรักความอบอุ่นให้กัน จะเป็นการช่วยให้ลูกพัฒนาทักษะต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์สำหรับเขาเมื่อเข้าเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถในการตั้งสมาธิ “คุณพ่อคุณแม่อาจสอนเรื่องหน่วยพื้นฐานของเสียงให้กับลูก แต่ถ้าเขามีสมาธิใส่ใจไม่นานพอที่จะฝึกออกเสียงพูด หรือดูว่าตัวอักษรในหนังสือนั้นหน้าตาเป็นยังไงแล้วละก็ คงไม่มีเทคนิคไหนในโลกที่จะช่วยพวกเขาได้อีกแล้ว” เชอร์รี่กล่าว

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญด้านความสามารถทางการอ่านและเขียนได้เตือนคุณพ่อคุณแม่ว่าไม่ ควรสอนทักษะการอ่านอย่างเป็นทางการให้กับเด็กเล็กๆ แต่คุณพ่อคุณแม่ควรมุ่งเน้นในเรื่องการความสัมพันธ์ในครอบครัวมากกว่า

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ในขณะที่อ่านหนังสือให้ลูกน้อยวัยแบเบาะหรือวัยหัดเดินฟัง คุณพ่อคุณแม่ควรสัมผัสเขาอย่างแผ่วเบา “กุญแจสำคัญสำหรับทั้งหมดนี้คือการเล่น” ดร. สตีเฟ่นกล่าว “หากคุณพ่อคุณแม่ทำให้กิจกรรมการอ่านหนังสือเป็นการเล่นที่สนุกสนาน ทำให้ภาษาเป็นเหมือนการเล่นแล้วละก็...เจ้าตัวน้อยของคุณก็น่าจะอ่านออก เขียนได้เก่งตั้งแต่เขายังเล็กๆ”

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

0 comments:

Post a Comment

 

Mama And Baby Care Copyright © 2009 Baby Shop is Designed by Ipietoon Sponsored by Emocutez