A Blogger by Beamcool

Monday, August 17, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ศักยภาพสูงสุดของลูกน้อยด้าน พัฒนาการทางสังคม และทางอารมณ์ ( การสานความสัมพันธ์กับลูกน้อยวัยแบเบาะ )

Posted by wittybuzz at 3:37 AM
การเป็นคุณพ่อคุณแม่เป็นประสบการณ์ที่น่า มหัศจรรย์ใจและมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว คุณพ่อคุณแม่ทุกคนต่างอย่างมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับลูกของตัวเองด้วย กันทั้งนั้น ถึงแม้ว่าคุณพ่อคุณแม่จะมีตารางการทำงานแสนจะวุ่นวายก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะทำเรื่องนี้ให้สำเร็จหากคุณพ่อคุณแม่ทราบวิธีแล้ว

และต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับบางอย่างที่ควรปฏิบัติตาม หลักเกณฑ์ 7 ข้อเพื่อทำความสนิทสนมกับลูกให้มากยิ่งขึ้น

1. สื่อสารระหว่างพ่อแม่-ลูก

แทนที่จะพูดถึงลูกหรือพูดในเรื่องที่เกี่ยวกับลูก คุณพ่อคุณแม่ควรพูดคุณกับลูกโดยตรง ก้มตัวลงไปให้อยู่ระดับเดียวกับเขา หากคุณพ่อคุณแม่อยากเข้าใจว่าลูกกำลังคิดและรู้สึกเช่นไร ให้ถามเขาและรับฟัง อย่าเพิ่งตัดสินจากอะไรก็ตามที่เขาบอกคุณ ยอมรับความคิดเห็นของลูกและแสดงความรู้สึกถึงแม้ว่าคุณจะไม่เห็นด้วยกับเขา ก็ตาม นอกจากนั้น คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถเล่าความคิดและความรู้สึกของตัวเองให้ลูกฟังได้ด้วย

นอกจากนั้น คุณพ่อคุณแม่ยังจำเป็นต้องย้ำให้ลูกฟังอยู่เสมอว่าคุณรักเขาผ่านทางคำพูด เช่น “แม่รักหนูนะจ๊ะ” และผ่านการแสดงท่าทางที่ไม่ต้องใช้คำพูด เช่น การจูบ กอด หรือตีที่ไหล่เขาเบาๆ

2. ชมเชยลูก

ควรชมเชยลูกเมื่อเขาอะไรก็ตามที่ดีหรือทำสำเร็จ ชมเชยลูกเมื่อเขารู้จักปรับปรุงแก้ไขหรือชมเชยเมื่อเขาแสดงพฤติกรรมที่คุณ แม่อยากเห็นอีก คำชมเชยของคุณแม่จะต้องมาจากใจจริงและไม่ควรวิจารณ์เขาด้วย ใช้การชมเชยเพื่ออธิบายให้ลูกฟังว่าอะไรบ้างที่เขาทำและพฤติกรรมใดบ้างที่ คุณชอบ แทนที่จะเพียงแค่พูดว่า “วาดภาพสวยจัง” คุณอาจพูดว่า “แม่ชอบสีที่ลูกใช้ในภาพนี้จังเลย มันทำให้ภาพของหนูสวยมากๆ เลย!” แทนที่จะเพียงแค่พูดว่า “เก่งมาก” คุณอาจพูดว่า “แม่ดีใจนะจ๊ะที่ลูกจัดห้องให้เป็นระเบียบ ห้องหนูดูเรียบร้อยจริงๆ จ้ะ”

3. เผื่อเวลาให้ลูกบ้าง

คุณแม่ควรเผื่อเวลาให้ลูกทุกวัน เวลาที่อยู่กับลูก คุณแม่ควรทุ่มเทเวลาให้ลูกอย่างเต็มที่ ให้ลืมเรื่องงานบ้าน อ่านหนังสือพิมพ์ หรือความวิตกกังวลใจในช่วงเวลานี้ บอกให้ลูกรู้ว่าคุณมีความสุขที่ได้อยู่กับเขาซึ่งจะทำให้ทั้งสองคนใกล้ชิด กันยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน หากมีวันใดวันหนึ่งที่คุณแม่ไม่สามารถใช้เวลาอยู่กับลูกได้ คุณแม่ควรหาวิธีอื่นแทน ยกตัวอย่างเช่น โทรหาเขาจากที่ทำงานเพื่อพูดคุยกัน 5 นาทีเพื่อแสดงให้เห็นว่าคุณกำลังคิดถึงเขาอยู่ หรือหากคุณแม่ไม่สามารถทานอาหารมื้อค่ำร่วมกับลูกได้ ให้ทานของหวานด้วยกันทีหลังในตอนค่ำแทน

ในบางครั้งบางคราว คุณแม่ควรใช้เวลาตลอดทั้งวันหรือเพียงครึ่งวันจากตารางเวลาที่แสนวุ่นวายและ ทำบางสิ่งบางอย่างเป็นพิเศษกับลูก เลือกทำสิ่งที่ทั้งคุณแม่และคุณลูกจะได้สนุกไปด้วยกันและไม่ใช่กิจกรรมที่ทำ ทุกวัน ยกตัวอย่างเช่น เดินคุยกันในสวนสาธารณะและทานอาหารกลางวันที่ทั้งสองคนช่วยกันเตรียมในตอน เข้า

4. เล่นกับลูก

เวลาที่คุณแม่ใช้ร่วมกับลูกจะเป็นโอกาสในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีอันแน่น เฟ้นกับเขา ความสัมพันธ์นี้จะพัฒนาขึ้นเมื่อลูกน้อยเจริญเติบโตขึ้นเต็มวัย การเล่นกับลูกของคุณไม่จำเป็นต้องใช้ของเล่นราคาแพง คุณแม่อาจใช้เกมในวัยเด็กที่ตัวเองเคยชอบและสอนวิธีการเล่นให้ลูกก็ได้

5. เอาใจใส่ความรู้สึกของลูก


ประสบการณ์ที่ลูกได้รับในแต่ละวัน จะหล่อหลอมความรู้สึกต่างๆ มากมายในตัวเขา เขาอาจมีความสุขได้เพราะคุณครูชมเขา หรืออารมณ์เสียเพียงเพราะเขาทะเลาะกับเพื่อนสนิท คุณแม่ควรค้นหาว่าเกิดอะไรขึ้นกับลูกและเอาใจใส่ความรู้สึกของเขาทั้งในแง่ บวกและแง่ลบที่เกิดจากประสบการณ์เหล่านี้

รับฟังลูกและคุยกับเขาว่าเขารู้สึกเช่นไร ยกตัวอย่างเช่น คุณแม่อาจพูดว่า “เท่าที่ลูกเล่าให้แม่ฟัง ฟังดูเหมือนว่าลูกโกรธจอห์นที่เขาพูดลับหลังลูกใช่ไหมจ๊ะ” เวลาที่คุณแม่ให้โอกาสเขาอธิบายความรู้สึกของตัวเอง ควรเอาใจใส่และคุยกับเขาว่าเขารู้สึกเช่นไร นั่นเป็นการแสดงให้เขาเห็นว่าคุณอยากเข้าใจเขาจริงๆ

6. ส่งเสริมให้ลูกเป็นตัวของตัวเอง


คุณพ่อคุณแม่ส่วนมากพยายามที่จะใกล้ชิดกับลูกให้มากยิ่งขึ้นโดยเคร่งครัดมาก จนเกินไป คุณพ่อคุณแม่ควรให้อิสระแก่ลูกในการสำรวจโลกในวิธีที่เหมาะสมกับอายุของเขา ยกตัวอย่างเช่น คุณแม่อาจอนุญาตให้ลูกไปสวนสาธารณะกับเพื่อนได้โดยอยู่ภายใต้การดูแล การให้อิสระแก่ลูกอย่างเหมาะสมและการให้ความปลอดภัยแก่เขาที่บ้าน จะเป็นการลดช่องว่างระหว่างคุณแม่กับลูกได้

7. แก้ไขปัญหาร่วมกับลูก


เมื่อลูกเผชิญหน้ากับปัญหา คุณแม่ไม่จำเป็นต้องหาวิธีการแก้ปัญหาให้เขาตลอดเวลา ไม่ต้องคอยบอกเขาว่าควรทำอะไร แต่คุณแม่ก็ไม่อยากปล่อยให้เขาจัดการกับปัญหาตามลำพังเช่นกัน เพราะฉะนั้น คุณแม่ควรเป็นเพื่อนคู่คิดของลูกในการแก้ไขปัญหา ควรรับฟังและเข้าใจถึงสถานการณ์ ต่อจากนั้นจึงค้นหาว่าลูกคุณคิดเช่นไรหรือรู้สึกอย่างไรกับปัญหานั้น และเขาสามารถทำอะไรได้บ้าง หากเป็นไปได้ คุณแม่ควรเสนอทางเลือกอื่นๆ ให้กับเขา และช่วยลูกคิดว่าแต่ละทางเลือกอาจส่งผลอะไรได้บ้างในภายหลัง คุณแม่และลูกสามารถตัดสินใจวิธีการแก้ไขที่ดีที่สุดด้วยกันได้ การแก้ไขปัญหาร่วมกับลูกไม่ได้เพียงแค่สอนให้เขามีทักษะที่สำคัญในชีวิตเท่า นั้น แต่ยังเป็นการสานความสัมพันธ์ระหว่างคุณแม่และลูกให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เพราะทั้งสองคนต่างร่วมมือกันเพื่อเอาชนะปัญหา

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

0 comments:

Post a Comment

 

Mama And Baby Care Copyright © 2009 Baby Shop is Designed by Ipietoon Sponsored by Emocutez