A Blogger by Beamcool

Friday, August 14, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ศักยภาพสูงสุดของลูกน้อยด้าน การพัฒนาทักษะการรับรู้ ( ยิ่งโต ยิ่งฉลาด )

Posted by wittybuzz at 5:06 AM
ลูกน้อยจะสนใจในสิ่งรอบตัวมากขึ้น

อะไรคือสัญญาณบ่งบอกว่า “ความรู้สึกนึกคิด” ของลูกกำลังก่อตัวเป็นรูปเป็นร่าง ในช่วงเริ่มต้น หลังจากที่ลูกน้อยอายุครบสองขวบ คุณแม่อาจสังเกตเห็นว่าลูกมีอาการที่นักจิตวิทยาเรียกว่า “สมาธิในการคัดเลือกสิ่งเร้าหรือการจดจ่อ” เพิ่มมากขึ้น ซึ่งก็คือความสามารถในการตัดสิ่งที่เบี่ยงเบนความสนใจจากภายนอกและสามารถ ตั้งสมาธิอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ เมื่ออายุได้ 25 เดือน เด็กๆ ส่วนมากจะสามารถตั้งสมาธิอยู่กับกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งได้อย่างต่อเนื่องสอง สามนาที หรืออาจนานกว่านั้นถ้าหากผู้ใหญ่มีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้นๆ กับเขาด้วย “เด็กในช่วงวัยนี้ยังสามารถคิดสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ด้วย” ชาเรน ฮุสแมน ผู้อำนวยการของ Smart Start Georgia ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดำเนินงานเพื่อปรับปรุงคุณภาพการดูแลเด็กเล็กกล่าวว่า “หากคุณแม่หยิบรถของเล่นให้เขา เขาก็จะเข้าใจว่าเมื่อเขาหมุนล้อรถ รถก็จะวิ่งไปได้”

ถึงแม้ว่าแนวความคิดในเรื่องนามธรรม อย่างเช่น “ดี” หรือ “ยาก” อาจจะมากเกินไปที่เด็กในช่วงวัยนี้จะเข้าใจได้ แต่ชาเรนกล่าวเพิ่มเติมว่า “พวกเขาสามารถจับคู่สิ่งของกับภาพและแยกประเภทสิ่งของต่างได้ตามรูปทรงและ สีสัน” ในตอนนี้ลูกน้อยจะสามารถจำแนกรูปทรงกลม สี่เหลี่ยมจัตุรัส และสามเหลี่ยมได้ ดังนั้น เขาจึงเล่นเกมตัวต่ออย่างง่ายๆ อย่างสนุกสนานมากขึ้น อันที่จริงแล้ว ในบางทีโลกใบนี้ก็เป็นเหมือนเกมตัวต่อขนาดใหญ่ที่ลูกของคุณกำลังพยายามทำ ความเข้าใจ ซึ่งเป็นกระบวนการที่บางครั้งเขาต้องแยกส่วนต่างๆ ออกเพื่อที่ว่าเขาจะประกอบกลับเข้าไปใหม่อีกครั้ง

นอกจากนี้ เด็กในช่วงวัยนี้ยังเริ่มทำความเข้าใจในเรื่องของตัวเลข ด้วยยกตัวอย่างเช่น หากคุณแม่ถามลูกวัย 2 ขวบว่าอยากกินคุกกี้ 1 หรือ 2 ชิ้น พนันได้เลยว่าเขาจะต้องตอบว่าสองชิ้นแน่ๆ!

ความเข้าในเรื่องเหตุและผล

หลักฐานเพิ่มเติมที่ช่วยยืนยันว่าลูกน้อยกำลังเจริญเติบโตขึ้นอย่างชาญฉลาด ก็คือ เขาสามารถเข้าใจในเรื่องเหตุและผลได้อย่างซับซ้อนยิ่งขึ้น เมื่อตอนที่เขายังเป็นเด็กแบะเบาะ เขาสังเกตเห็นได้อย่างรวดเร็วว่า ถ้าเขานอนร้องไห้อยู่ในเตียง จะเกิดผลลัพธ์ขึ้น ซึ่งเป็นการสอนเขาว่าเขาสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมได้ เพราะการร้องไห้จะส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ที่เขาพึงพอใจ นั่นก็คือคุณแม่จะเข้ามาในห้องและอุ้มเขาขึ้นมาเพื่อให้นม

ตอนนี้ลูกจะยังสังเกตเห็นว่าเมื่อเขาร้องไห้ ไฟจะสว่างขึ้นเมื่อคุณแม่เข้ามาในห้อง– แต่จะเป็นแบบนี้เฉพาะในบางครั้งเท่านั้น แล้วทำไมถึงต้องเป็นเฉพาะในบางครั้งล่ะ เป็นเพราะเสียงร้องไห้ของเขาหรือเปล่าที่ทำให้ไฟสว่างขึ้น หรือว่าเป็นเพราะคุณแม่ หรือเป็นเพราะแสงอาทิตย์ส่องผ่านมาในห้อง เมื่อความสนใจและพลังในการสังเกตสิ่งรอบตัวของเขาเพิ่มมากขึ้น ในที่สุดเขาก็จะรู้คุณแม่เป็นคนเปิดสวิตช์ไฟ และเข้าใจถึงความสัมพันธ์นี้

การทดลองและการทำซ้ำ


ด้วยพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวและความคล่องแคล่วในการใช้นิ้วมือ ลูกวัย 2 ขวบของคุณจึงสามารถทดสอบทฤษฎีเหตุและผลได้อย่างชำนาญยิ่งขึ้น เมื่อเขาไขข้อสงสัยเรื่องสวิตช์ไฟได้แล้ว เขาอาจพยายามดึงเก้าอี้ไปที่ผนังและปีนขึ้นไป และทำให้ห้องเดี๋ยวมืดเดี๋ยวสว่างสลับไปสลับมา เขาจะตั้งหน้าตั้งตาทดลองทฤษฎีเรื่องเหตุและผลอื่นๆ อีกมากมาย หอคอยตัวต่อจะล้มลงทุกครั้งที่เราผลักไหมน้า คุณพ่อจะทำเสียงดุๆ ทุกครั้งที่เราดึงหางเจ้าหมาน้อยหรือเปล่านะ เนื่องจากการทำซ้ำๆ มีความสำคัญอย่างมากต่อการเรียนรู้ ดังนั้น ลูกน้อยจึงทดลองเรื่องเหตุและผลแบบเดิมๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก

ในความพยายามของลูกเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เหตุผลของเหตุการณ์ ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตของเขา เขาจึงชอบทำอะไรที่เป็นกิจวัตร เขาจะขอให้คุณแม่ร้องเพลงเดิมๆ ครั้งแล้วครั้งเล่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นเพลงที่มีท่าทางประกอบด้วย เพื่อที่เขาจะได้ทำความเข้าใจกับคำศัพท์และเพื่อดูว่าทุกครั้งที่ร้องเพลง นี้ จะเกิดสิ่งแบบเดิมๆ หรือเปล่า และพฤติกรรมของลูกจะพัฒนาขึ้นได้หากคุณแม่ทำกิจกรรมในแต่ละวันให้เป็น กิจวัตรอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากการทำกิจวัตรประจำวันซ้ำๆ จะช่วยให้เขาในเรื่องการปรับตัวและช่วยสร้างความรู้สึกมั่นคงทางจิตใจให้กับ เด็กในช่วงวัยนี้ เด็กวัย 2 ขวบที่มีตารางเวลากิจวัตรประจำวันจะคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นเป็นลำดับ ต่อไป เขาจะรู้สึกกังวลน้อยลง และควบคุมแรงผลักดันในตัวเองได้ดียิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น หากลูกรู้ว่าเขาจะต้องเก็บของเล่นก่อนถึงจะได้กินขนมตอนช่วงเช้า คุณแม่ก็จะมีงานที่ต้องทำน้อยลงและเขาจะรู้จักพึ่งตัวเองมากขึ้น

หนูน้อยจอมสร้างปัญหา

ในขณะที่ลูกพยายามที่จะเป็นผู้ควบคุมและผู้บังคับบัญชาในโลกของเขา เขาจะไม่เพียงแค่ทำสกปรกเลอะเทอะเท่านั้น แต่เขายังสร้างปัญหาให้กับตัวเองอีกด้วย เขาอาจปีนขึ้นไปบนเก้าอี้ แล้วก็ปีนขึ้นไปบนเคาน์เตอร์ และก็ปีนต่อขึ้นไปบนตู้เย็นเพื่อหยิบคุกกี้ที่เขาเห็นคุณแม่ซ่อนเอาไว้ตรง นั้น หรือเขาอาจคิดว่าเขาไปหยิบของเล่นต้องห้ามของพี่สาวมาเล่นได้ถ้าเขาแอบเข้า ไปในห้องของพี่ในระหว่างที่พี่ไปเรียน เมื่อพี่ไม่อยู่ ก็ไม่มีใครห้ามเขาได้

แต่ชาเรนได้เตือนเราว่า ลูกอาจไม่ได้มีเจตนาที่จะท้าทาย “ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่เด็กทุกคนจะมีแรงผลักดันให้วางแผนสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเองและพยายามแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง เด็กที่อยู่ในช่วงวัยนี้จะมีกลวิธีต่างๆ มากมายในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ คุณพ่อคุณแม่ควรทำบรรยากาศรอบตัวเขาให้ปลอดภัย และเอาใจใส่เขา แล้วเขาก็จะได้รับแรงกระตุ้นเพื่อพัฒนาทักษะการรับรู้อย่างรวดเร็วจนคุณพ่อ คุณแม่ต้องอึ้งทีเดียว”

ทำไมเด็กถึงชอบร้องไห้งอแง


เด็กส่วนมากสามารถทำสิ่งหนึ่งได้เก่งมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาทำอย่างไม่ยอมลดละและเป็นเรื่องน่าเหนื่อยหน่ายใจสำหรับ คุณพ่อคุณแม่เป็นอย่างยิ่ง นั่นก็คือการร้องไห้งอแง ทำไมเด็กถึงชอบร้องไห้งอแง จุดสำคัญก็คือการร้องไห้งอแงเป็น “การอาละวาดในแบบย่อมๆ” ชาเรน ฮุสแมน ผู้อำนวยการ Smart Start Georgia กล่าว การร้องไห้งอแงเกิดจากสิ่งกระตุ้นต่างๆ มากมายแบบเดียวที่กระตุ้นให้เด็กงอแง ได้แก่ ความหิว ความอ่อนเพลีย การถูกกระตุ้นมากจนเกินไป ความไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ และท้ายที่สุดก็คือนิสัย ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่มักเกี่ยวข้องกับช่วงระยะเวลาของพัฒนาการในระหว่างที่ เด็กเกิดความรู้สึกพ่ายแพ้ หรือคาดว่าตัวเองจะล้มเหลวหรือผิดหวัง ชาเรนกล่าว “พวกเขารู้สึกว่าตัวเองพ่ายแพ้หรือเหนื่อยก่อนที่จะพยายามลงมือทำด้วยซ้ำไป”

เด็กวัยหัดเดินจะติดนิสัยร้องไห้งอแง เนื่องจากเขาเรียนรู้อย่างรวดเร็วว่าเวลาที่เขางอแง เขาจะได้สิ่งที่เขาต้องการ เช่นเดียวกับเมื่อมียุงบินเข้าไปในหู จึงเกือบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่คุณพ่อคุณแม่จะเพิกเฉยเมื่อลูกร้องไห้งอแง ไม่ใช่ว่าเจ้าหนูวัยหัดเดินของคุณกำลังพยายามสร้างความรำคาญให้คุณแม่ แต่เขาต้องการเพียงแค่ทำอะไรก็ได้เพื่อให้ได้ผลตามที่เขาต้องการ (นั่นก็คือทำให้คุณแม่ยอมแพ้เขา) เขาเพียงแต่เป็นผู้ที่ต้องการทำในสิ่งใด ๆ ก็ตามที่จะสร้างผลตอบรับได้ตามที่ต้องการ (การทำให้คุณส่งของให้) ถ้าเขาแค่ทำเสียงฟืดฟาดขึ้นจมูกอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ให้สำเร็จในสิ่งที่ เขาต้องการแล้วล่ะก็ คุณแม่ก็ปล่อยให้เขาทำไปเถอะ

คุณพ่อคุณแม่อาจเพิ่มความสับสนให้เด็กวัยหัดเดินเกี่ยวกับเรื่องการร้องไห้ งอแง เพราะในบางครั้งคุณพ่อคุณแม่ยอมแพ้เขาเพียงเพื่อให้เขาหยุดร้อง นอกจากนั้น ลูกน้อยของคุณไม่รู้ว่าการร้องไห้งอแงน่ารำคาญใจแค่ไหน เขารู้แต่เพียงว่าเสียงนี้จะทำให้คุณพ่อคุณแม่นั่งลงและสนใจเขา “เรายุ่งมากจนกระทั่งละเลยลูกในขณะที่เรากำลังพูดโทรศัพท์มือถือหรือเมื่อมี อะไรตั้งหลายอย่างที่ต้องทำให้เสร็จ” ชาเรนกล่าว “ดังนั้น ลูกของเราก็เลยใช้วิธีร้องไห้โยเยมากขึ้น ทั้งหมดนี้ก็เพื่อเรียกร้องความสนใจจากเรา”

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

0 comments:

Post a Comment

 

Mama And Baby Care Copyright © 2009 Baby Shop is Designed by Ipietoon Sponsored by Emocutez