A Blogger by Beamcool

Thursday, August 20, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ศักยภาพสูงสุดของลูกน้อยด้าน พัฒนาการทางสังคม และทางอารมณ์ ( ทำความเข้าใจพฤติกรรมของลูกน้อย )

Posted by wittybuzz at 3:39 AM
บางทีงานที่ท้าทายมากที่สุดอย่างหนึ่งที่คุณพ่อ คุณแม่ทุกท่านต้องพบเจอก็คือ การเลี้ยงดูลูก ในทุกวันนี้คุณพ่อคุณแม่ส่วนมากต้องทำงาน ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงจำเป็นต้องรักษาความสมดุลระหว่างการทำงานและความจำเป็นที่จะ ต้องเลี้ยงดูลูก

“ทำไมลูกวัย 2 ขวบของฉันถึงไม่ทำตัวเหมือนลูกของเพื่อนบ้านที่ว่านอนสอนง่ายมากๆ” คำตอบก็คือเด็กทุกคนมีลักษณะเฉพาะตัวและแตกต่างกัน

เมื่อลูกทำตัวเกเร เราจำเป็นต้องทำความเข้าใจถึงเจตนาและสาเหตุของการแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมนั้นของเขา

เราควรพิจารณาพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเด็กจากความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับ ผู้รับพฤติกรรมนั้น การแสดงพฤติกรรมจะไม่เป็นปัญหาหากไม่มีคนคอยสังเกตการณ์/ผู้รับพฤติกรรมนั้น เด็กที่ร้องบ้านแทบแตกดูจะถือว่าไม่มีปัญหาทางพฤติกรรมจนกระทั่งเมื่อมีใคร บางคนต้องรับมือกับพฤติกรรมนั้นหรือต้องรับผลที่จะตามมา

เมื่อเราพูดถึงเรื่องพฤติกรรม เรากำลังหมายถึงพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้มากกว่าพฤติกรรมที่สังเกตไม่ได้ พฤติกรรมมีความสัมพันธ์และขึ้นอยู่กับผู้รับแต่ละคน ดังนั้น ปฏิกิริยาของผู้รับแต่ละคนที่มีต่อพฤติกรรมบางอย่างจึงอาจแตกต่างกันไป ยกตัวเองเช่น เด็กที่ไม่ยอมหยิบของเล่นของเขาขึ้นมา คุณพ่อคุณแม่บางคนอาจถือว่าพฤติกรรมแบบนี้เป็นความเกเรเพียงเล็กน้อย แต่บางคนอาจเห็นว่าเป็นพฤติกรรมที่รับไม่ได้

เด็กทารกและเด็กวัยหัดเดินมักไม่รู้ถึงผลที่จะตามมาในระยะยาวจากพฤติกรรมของ เขา เขามักจะแสดงออกเดี๋ยวนั้นทันที เขาทนไม่ได้ถ้าคุณพ่อคุณแม่ตอบสนองความต้องการของเขาช้า เมื่อเขาอยากได้อะไรก็ตาม เขาอยากได้ในทันที ไม่อย่างนั้นเขาก็อาจร้องตะโกน กัด เตะ หรือบ่นพึมพำ

3 ปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกันจะสามารถช่วยในหล่อหลอมพฤติกรรมของเด็กได้ นั่นคือการสร้างลักษณะทางกรรมพันธุ์ สภาพแวดล้อมในครอบครัว และวัฒนธรรมที่หลากหลายในการดำเนินชีวิตของครอบครัว

นิสัยใจคอ

ในขั้นแรก เราจะดูที่การถ่ายทอดทางพันธุกรรมหรือนิสัยใจคอของเด็ก นิสัยใจคอหรือลักษณะทางพันธุกรรมของเด็กจะอธิบายว่าทำไมคนคนหนึ่งจึงแสดง ปฏิกิริยาตอบสนองแบบนั้นต่อสิ่งกระตุ้น การแสดงออกทางอารมณ์ ระดับของการทำกิจกรรม และความชอบเข้าสังคมดูเหมือนว่าจะมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาของพฤติกรรมที่ ไม่พึงปรารถนา

การแสดงออกทางอารมณ์หมายถึงการกระตุ้นอารมณ์ของเด็กทารกเพื่อตอบสนองต่อ เหตุการณ์ในสภาพแวดล้อมของเขา การมองเห็นคนแปลกหน้าหรือการพูดคุยกับคนแปลกหน้าอาจทำให้เด็กคนหนึ่งอารมณ์ เสียได้ แต่เด็กอีกคนอาจไม่เป็นก็ได้

ระดับของการทำกิจกรรมหมายถึงพลังที่เด็กได้แสดงออกมาด้วยการเคลื่อนไหวและ การทำกิจกรรมต่างๆ อย่างกระฉับกระเฉง เด็กที่คล่องแคล่วจะไม่ค่อยยอมรับข้อจำกัดทางร่างกายที่คุณพ่อคุณแม่และพี่ เลี้ยงกำหนดให้เขามากกว่าเด็กทารกที่มีความกระฉับกระเฉงน้อย

ความชอบเข้าสังคมหมายถึงความโน้มเอียงของเด็กทารกในการมีปฏิสัมพันธ์กับคน อื่น เด็กซึ่งเข้ากับคนง่ายและเรียกร้องความสนใจอยู่ตลอดเวลา จะต้องการติดต่อทางสังคมมากกว่าเด็กทารกซึ่งจะเรียกร้องความสนใจเฉพาะเวลา ที่เขาหิวหรือผ้าอ้อมเปียกชื้น

สภาพแวดล้อมในครอบครัว

Tสภาพแวดล้อมทางสังคมอาจเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดซึ่งเป็นต้นเหตุให้เกิด พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ตารางการทำงานของคุณพ่อคุณแม่ ปัญหาครอบครัวของคุณพ่อคุณแม่ และสไตล์การเลี้ยงดูอาจส่งผลกระทบกับระดับ ความถี่ และความรุนแรงของการแสดงพฤติกรรมอันไม่เหมาะสม คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกเล็กๆ แต่ต้องทำงานไปด้วยอาจพบว่าลูกค่อนข้างจะมีปัญหาทางด้านการแสดงพฤติกรรมอัน เป็นผลมาจากปัจจัยต่างๆ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างคุณพ่อคุณแม่และลูกไม่แน่นแฟ้น การไม่ได้รับความเอาใจใส่เพราะคุณพ่อคุณแม่เหนื่อยล้า และความขัดแย้งระหว่างเด็ก ๆ ที่ต้องการความเอาใจใส่กับคุณพ่อคุณแม่ที่ไม่มีเวลาให้

การเรียนรู้และประสบการณ์


ปัจจัยที่สามคือบทบาทแห่งการเรียนรู้และประสบการณ์ เด็กเรียนรู้การมีปฏิสัมพันธ์จากคนอื่นและจากสภาพแวดล้อมรอบตัวเขา การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับคนที่ดูแลเขาในช่วงสองถึงสามเดือนแรกของ ชีวิตมักเป็นตัวกำหนดถึงวิธีที่เขาจะแสดงปฏิกิริยาและปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ ที่อยู่รอบตัวเขาในอนาคต

ยกตัวอย่างเช่น หากเวลาที่เขาบ่นพึมพำ ร้องไห้ หรือร้องโวยวายแล้วทำให้เขาได้ลูกอม โอกาสที่เขาจะแสดงพฤติกรรมอันไม่เหมาะสมก็จะยังคงมีอยู่ โดยจะพัฒนาไปเป็นรูปแบบอื่นๆ เมื่อเด็กโตขึ้น

เวลาที่เด็กแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม มันคล้ายกับว่าเขามีเจตนาบางอย่างที่ทำให้เขาแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมแบบนั้น โดยมีวัตถุประสงค์หลักอยู่ 4 ข้อเวลาที่เด็กประพฤติตัวที่ไม่เหมาะสม

นั่นคือ

* การเรียกร้องความสนใจ– บางครั้งเด็กประพฤติไม่เหมาะสมเพื่อดึงดูดความสนใจ
* ความต้องการแก้แค้น เด็กอาจต้องการแก้แค้นโดยทำตัวเกเรหรือทำสิ่งที่เป็นอันตราย
* ความต้องการอำนาจ เด็กมักจะท้าทายคุณพ่อคุณแม่เพื่อตอบสนองความต้องการอยากมีอำนาจควบคุม
* การช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เด็กที่คิดว่าตัวเองไร้ความสามารถหรือไม่สามารถทำอะไรได้ มักแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เมื่อเด็กได้รับการปกป้องมากจนเกินไป เขาจะรู้สึกท้อแท้และสิ้นหวังได้ง่าย

การเรียนรู้เพื่อเข้าใจวัตถุประสงค์ของการแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมจะช่วย ให้คุณแม่รู้ว่าทำไมลูกถึงมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม และดังนั้นจึงสามารถจัดการได้อย่างสอดคล้อง ความรู้สึก การแสดงปฏิกิริยาตอบสนองของคุณแม่ และผลที่จะตามมาจากพฤติกรรมเป็นวิธีการที่คุณแม่จะรับรู้ถึงลักษณะของการ ประพฤติตัวที่ไม่เหมาะสมนั้น

1. แยกแยะพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมจากความรู้สึกที่คุณมีต่อพฤติกรรมนั้น

* การเรียกร้องความสนใจทำให้คุณรู้สึกรำคาญใจ
* ความต้องการอำนาจทำให้คุณรู้สึกโกรธ
* ความต้องการแก้แค้นทำให้คุณรู้สึกเจ็บปวด
* การช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ทำให้คุณรู้สึกท้อแท้

2. สังเกตว่าตัวเองมีปฏิกิริยาต่อพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมอย่างไร

* การเรียกร้องความสนใจทำให้คุณเตือนเขา โน้มน้าว ว่ากล่าว และอธิบายให้เขาฟัง
* ความต้องการอำนาจทำให้คุณทะเลาะกันหรือยอมแพ้
* ความต้องการแก้แค้นทำให้คุณอยากเอาคืน
* การช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ทำให้คุณแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง

3. สังเกตผลที่จะตามมาในภายหลังสำหรับเด็กที่แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม

* การเรียกร้องความสนใจทำให้เรามองไปที่เด็กและพูดคุยกับเขา
* ความต้องการอำนาจทำให้เราจับตามองและควบคุมเด็ก
* ความต้องการแก้แค้นทำให้เราลงโทษเด็ก
* การช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ทำให้เราดูแลและปกป้องเด็ก

ในบทละครดังต่อไปนี้ ให้ถามตัวเองว่าคุณรู้สึกเช่นไรในฐานะที่เป็นคุณพ่อคุณแม่ คุณรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับปฏิกิริยาของคุณพ่อคุณแม่ และอะไรคือจุดประสงค์ที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมนั้น

บทสนทนาที่ 1

คุณแม่: หนูอาบน้ำสดชื่นแล้วใช่ไหมจ๊ะพอล ตอนนี้หนูตัวสะอาดและไม่เปียกชื้นแล้วนะ เอาละ แม่จะวางหนูไว้ในเตียงสักพักนึงนะ
(จอห์น พี่ชายวัยหัดเดินผ่านมาและต่อยพอล)

คุณแม่: อย่านะจอห์น! หนูจะต้องไม่ตีน้องอย่างนั้นนะ ดื้อจังเลย

คุณพ่อ: อย่าทำอย่างนั้นอีกนะจอห์น ไม่อย่างนั้นลูกจะถูกทำโทษนะ
คุณแม่พูดกับคุณพ่อ: ฉันหวังว่าเขาจะไม่ทำอย่างนั้นอีกนะคะ น้องไม่ได้ทำอะไรให้เขาเลย

บทละครนี้เป็นตัวอย่างของการแก้แค้น

บทสนทนาที่ 2

เจสัน: แม่ ผมหาพาวเวอร์เรนเจอร์ของผมไม่เจอ
คุณแม่: ก็อยู่ในกล่องของเล่นที่ลูกเก็บมันไว้ไงล่ะจ๊ะ
เจสัน: ผมหาดูแล้ว แต่ไม่มี
คุณแม่: ไปหาอีกครั้งซิ เมื่อเช้านี้มันยังอยู่เลย
เจสัน: (เดินมาจากกล่องของเล่น) ก็ยังหาไม่เจออยู่ดีครับคุณแม่
คุณแม่: ให้ตายเถอะ (เดินไปที่กล่อง) นี่ไงล่ะ มันก็อยู่ที่ที่แม่บอกหนูนี่แหละ ทำไมถึงไม่มีใครหาของเจอเลยยกเว้นแม่คนเดียว หนูนี่พึ่งไม่ได้จริงๆ เลย

บทละครนี้เป็นตัวอย่างของการช่วยเหลือตัวเองไม่ได้

บทสนทนาที่ 3


คุณแม่: มานี่ซิจอห์น ถึงเวลาที่หนูต้องเก็บของเล่นแล้วนะ (หยุดนิ่ง) จอห์นเก็บของเล่นด้วยนะจ๊ะ (หยุดนิ่ง) จอห์น แม่จะตีนะถ้าหนูไม่เก็บของเล่น มานี่ แม่จะช่วยเอง นี่ไง แม่เก็บรถบรรทุกลงกล่องแล้ว .......

บทละครนี้เป็นตัวอย่างของความต้องการอำนาจ

บทสนทนาที่ 4

คุณแม่: แม่จะโทรหาคุณป้าแมรี่และเตรียมตัวเพื่อไปช็อปปิ้งกับคุณป้าจ๊ะ (หมุนโทรศัพท์) สวัสดีค่ะ นั่นแมรี่ใช่ไหมคะ นี่เจนนะ ว่าอย่างไรคะเรื่องที่จะไปช็อปปิ้งอาทิตย์นี้ (ลูกชายเริ่มร้องไห้และกระแทกของเล่น) ถือสายสักครู่นะคะแมรี่ (วางโทรศัพท์สักครู่หนึ่ง) หยุดนะ แซม! ดื้อจังเลยลูกคนนี้ แม่คุยโทรศัพท์อยู่นะ (วางโทรศัพท์) นี่ไงพาวเวอร์เรนเจอร์ของหนู (กลับมาที่โทรศัพท์) ขอโทษนะคะแมรี่ แซมชอบทำแบบนั้นเวลาที่ฉันคุยโทรศัพท์อยู่เรื่อยเลย (เริ่มส่งเสียงดังอีกครั้ง) โอ้ย เขาทำของเล่นพังแล้ว แมรี่ ไว้ฉันโทรหาตอนที่เขาหลับได้ไหม บายค่ะ

บทละครนี้เป็นตัวอย่างของการเรียกร้องความสนใจ

สิ่งสำคัญก็คือคุณพ่อคุณแม่ควรตระหนักว่าพฤติกรรมซึ่งเราเห็นว่าก่อให้เกิด ปัญหานั้น ไม่ได้เป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเสมอสำหรับเด็ก เด็กเล็กมักมีพฤติกรรมที่ไม่ค่อยดีนักเวลาที่เขาหิว ตื่นกลัว เหนื่อยล้า ไม่สบาย หรือไม่ได้รับการตอบสนองความต้องการทางร่างกาย โดยธรรมชาติแล้ว เด็กเล็กส่วนมากมักจะมีนิสัยอยากรู้อยากเห็น เอาแต่ใจตัวเอง สมาธิสั้น และต้องการให้คนอื่นตอบสนองความต้องการของเขาในทันที

เวลาที่พิจารณาถึงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเด็ก สิ่งสำคัญก็คือคุณพ่อคุณแม่ควรเข้าใจถึงปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลให้เด็กแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม

การรับรู้ว่าทำไมลูกถึงมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมและเขามีจุดมุ่งหมายอะไร จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สามารถตัดสินใจยิ่งขึ้นควรจะทำเช่นไรเมื่อต้องเผชิญ หน้ากับพฤติกรรมเหล่านี้

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

0 comments:

Post a Comment

 

Mama And Baby Care Copyright © 2009 Baby Shop is Designed by Ipietoon Sponsored by Emocutez