A Blogger by Beamcool

Thursday, August 27, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ความสำคัญของการเล่น ( การเล่นและพัฒนาการ )

Posted by wittybuzz at 10:21 AM
“ถ้ากีดกันพวกเขาไม่ให้เล่น เด็กก็เป็นเหมือนนักโทษ เท่ากับเป็นการปิดกั้นเขาจากสิ่งที่จะทำให้เขาเข้าใจถึงชีวิตจริงๆ และความหมายของชีวิต การเล่นไม่ได้เป็นเพียงแค่การเรียนรู้ทักษะในชีวิตประจำวันเท่านั้น แรงจูงใจที่จะให้เขามีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และพยายามทำจนสำเร็จใน ระหว่างที่เขาเล่นนั้น จะช่วยให้เด็กเจริญเติบโตขึ้นทั้งทางร่างกายและจิตใจ…การเล่นเป็นอีกวิธี หนึ่งที่เด็กจะได้พัฒนาความสามารถในการจัดการกับความตึงเครียดในชีวิตที่พวก เขาเผชิญ นอกจากนี้ การเล่นยังเป็นเสมือนวาล์วความปลอดภัยทำให้เขารับมือกับความกลัวและความตื่น ตระหนกที่เข้ามามีอิทธิพลเหนือเขาได้อีกด้วย” องค์กรเพื่อการศึกษาในเด็กวัยเยาว์ของโลก (World Organisation for Early Childhood Education: OMEP)

โดยธรรมชาติแล้ว เด็กมีความกระตือรือร้นที่จะเล่น แม้แต่เด็กที่ยากจนที่สุดและเด็กที่มีชีวิตอัตคัดที่สุดก็ล้วนแล้วแต่มีความ สุขเป็นที่สุดเมื่อได้เล่น การเล่นเป็นส่วนจำเป็นอย่างหนึ่งสำหรับการเติบโต โดยจะช่วยให้เด็กเรียนรู้และเข้าใจโลก ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าเด็กๆ ที่ได้เล่นสนุกเป็นเด็กที่มีความสุขกว่าเด็กที่ไม่ได้เล่น

เด็กแต่ละคนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เด็กทุกคนมีบุคลิกของเขาเอง ยกตัวอย่างเช่น เด็กทุกคนจะแสดงออกและเล่นในแบบของตัวเอง และค้นหาความสามารถของตัวเขาเอง

เด็กๆ ต้องการการสนับสนุนจากผู้ใหญ่และต้องการสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยในการพัฒนา ทักษะและความคิดสร้างสรรค์ของพวกเขาจนถึงขีดสุด พ่อแม่หรือผู้ให้การดูแลจะเป็นคนแรกๆ ที่เด็กจะต้องเกี่ยวข้องด้วย ด้วยเหตุนี้ คุณพ่อคุณแม่จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้เวลาอยู่กับลูกน้อยเพื่อสร้าง ความสัมพันธ์อันใกล้ชิดและให้การกระตุ้นที่จำเป็นสำหรับพัฒนาการของเขา คุณพ่อคุณแม่จะได้รู้จักลูกของตัวเองมากขึ้นผ่านทางการเล่น การเล่นเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะไม่จำเป็นต้องสื่อสารกันด้วยคำพูด เมื่อเด็กโตขึ้น บุคคลอื่น เช่น เพื่อนๆ ครอบครัว และคุณครูก็จะมีบทบาทสำคัญด้วยเช่นกัน

ประโยชน์ของการเล่น

การเล่นจะช่วยให้ลูกน้อยเรียนรู้ตัวเองและสิ่งแวดล้อมผ่านทางการซึมซับและ การฝึกใช้ทักษะ เมื่อเขาสร้างโลกของพวกเขาเอง เด็กๆ จะสามารถทดลองสถานการณ์ใหม่ๆ ได้อย่างอิสระและทำความเข้าใจได้เป็นอย่างดี

ยกตัวอย่างเช่น การเล่นกับรถ เครื่องบินและเรือจะช่วยให้ลูกน้อยมีโอกาสได้เรียนรู้การคมนาคมทุกรูปแบบ เช่นเดียวกับเมื่อเขาออกไปเล่นข้างนอก เขาจะคุ้นเคยกับกฎจราจร อุบัติเหตุ การใช้ความเร็วและเขาอาจจะประหลาดใจกับสิ่งที่ลอยอยู่เหนือผิวน้ำหรือเขาอาจ จะจินตนาการว่าตัวเขาสามารถบินได้อย่างนก

นอกจากนี้ การเล่นยังช่วยให้เด็กๆ เข้าใจโลกตามระดับของการรับรู้ตามวัยของพวกเขา ลูกน้อยอาจแสดงออกให้เห็นถึงประสบการณ์บางอย่างที่เขาพบเจอมา ดังนั้น จึงทำให้สถานการณ์ต่างๆ เหล่านี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของความรู้สึกนึกคิดในจิตใจของเขา

นอกจากนี้ เด็กยังสร้างความมั่นใจในตัวเองผ่านทางการเล่นอีกด้วย พวกเขาเรียนรู้ที่จะฝึกการควบคุมและพัฒนาความสัมพันธ์กับคนอื่น เด็กๆ จะได้ฝึกฝนบทบาทและพฤติกรรมทางสังคมในระหว่างที่เขาเล่น “พ่อแม่ลูก” “โรงพยาบาล” หรือ “โรงเรียน” นอกจากนี้ การเล่นยังช่วยให้เด็กได้แสดงออกความรู้สึกของตน เช่น ความวิตกกังวลและความกลัว สิ่งเหล่านี้ช่วยให้เด็กสามารถปรับตัวเข้ากับความรู้สึกต่างๆ เหล่านี้และผ่อนคลายความตึงเครียดได้ การเล่น “หมอกับพยาบาล” เป็นตัวอย่างที่ดี

ประเภทของการเล่น

ลูกน้อยจะมีพัฒนาการทางอารมณ์ สังคม สติปัญญา และร่างกายผ่านระยะต่างๆ ตามวัยของเขา ดังนั้น ข้อกำหนดในการเล่นจึงแตกต่างกันไปตามอายุและระดับพัฒนาการของเด็ก การเล่นจะช่วยพัฒนาให้ลูกน้อยก้าวหน้าตามช่วงวัยของเขา

เมื่อเด็กก้าวเข้าสู่ระยะต่างๆ เหล่านี้ เขาจะมีส่วนร่วมในการเล่นหลากหลายรูปแบบ

* การเล่นสำรวจเป็นการเล่นในระยะแรกเริ่มของลูกน้อยวัยแบเบาะหรือวัยหัดเดิน ลูกน้อยจะเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวเขาผ่านประสาทสัมผัสต่างๆ สิ่งสำคัญอย่างยิ่งก็คือ ลูกน้อยควรได้รับการกระตุ้นที่ถูกต้อง โดยที่คุณพ่อคุณแม่ควรเตรียมของเล่นที่เหมาะสมให้เขา เช่น โมบายเพื่อให้เขาจ้อง ของเล่นที่มีเสียงเพลงเพื่อให้เขาฟัง และของเล่นเอาไว้ให้เขากำ สัมผัส หรือดูด
* ลูกน้อยอาจจ้องดู ดูด สัมผัสและดมกลิ่นของเล่นเหล่านี้ ในกรณีเช่นนี้ เด็กจะกำลังพัฒนาประสาทสัมผัสต่างๆ ของเขา เมื่อเขาโตขึ้น เขาจะเรียนรู้การควบคุมการเคลื่อนไหวดวงตา โดยในช่วงแรกๆ เขาจะเคลื่อนไหวดวงตาตามสิ่งกระตุ้น และในเวลาต่อมา เขาจะเคลื่อนไหวดวงตาด้วยความตั้งใจของเขาเอง ลูกน้อยที่วัยกำลังโตจะไขว่คว้าหาของเล่นและเอื้อมไปจับข้าวของต่างๆ เด็กวัยหัดเดินจะเพลิดเพลินกับการเล่นกับของที่เคลื่อนไหวได้ อย่างเช่น ลูกบอลหรือรถ นอกจากนี้ เขายังชื่นชอบการเล่นเกมส์ที่มีการโต้ตอบ อย่างของเล่นจำพวกป๊อบ-อัพ รถหัดเดินที่มีของเล่นอยู่รายล้อมและมีเสียงดนตรี
* การเล่นแบบพัฒนาความคิดสร้างสรรค์แสดงให้เห็นถึงสัญญาณแรกว่าเขาเริ่มรู้จัก วางแผนและใช้วัตถุและของเล่นต่างๆ อย่างมีสมาธิ เวลาที่เขาสร้างหอคอยสูงจากบล็อกตัวต่อ เขาจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับขนาดและรูปทรง ความสนุกอย่างแรกของเขาก็คือ พังหอคอยลง แล้วค่อยสร้างใหม่อีกครั้ง
* การเล่นที่ต้องใช้พละกำลัง เมื่อลูกน้อยเริ่มหัดคลานและหัดเดิน เขาจะมีการเคลื่อนไหวมากขึ้น เขาจะออกสำรวจพื้นที่ที่เขาอยู่ด้วยการเคลื่อนที่และสัมผัสกับทุกสิ่ง ทุกอย่างรอบตัว ในวัยนี้ คุณแม่แทบจะจับตาดูเจ้านักสำรวจตัวน้อยไม่ทันเลยทีเดียว นอกจากนั้น ในช่วงนี้ยังเป็นช่วงที่ลูกน้อยวัยหัดเดินทำให้คุณแม่รู้สึกท้อและทำให้คิด ว่า เจ้าลูกคนนี้ซนจริงๆ เลย

สิ่งเจ้าตัวน้อยของคุณกำลังทำอยู่ในวัยนี้ก็คือการเรียนรู้และการสำรวจโลก ของเขาซึ่งใหญ่ขึ้น ทุกวันและทำให้เขาได้พบเจออะไรใหม่ๆ มากมาย นอกจากนี้ เด็กยังเรียนรู้ว่าเขาโตขึ้น และคิดว่าเขาสามารถทำทุกอย่างได้อีกด้วย การตั้งข้อจำกัดเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเขา เพื่อที่ว่าเขาจะได้เรียนรู้ข้อจำกัด ในขณะเดียวกันก็เพื่อความปลอดภัยในโลกใบใหญ่ของเขา ซึ่งบางครั้งก็อาจใหญ่เกินไปสำหรับเจ้าตัวน้อย เด็กวัยหัดเดินชอบที่จะใช้ทักษะการเคลื่อนไหวของตัวเอง แถมยังกระตือรือร้นมากด้วย การพาเขาไปสนามเด็กเล่น จะเป็นการเปิดโอกาสให้เขาได้เคลื่อนไหวและสนุกสนานอย่างเต็มที่

* การเล่นเลียนแบบ คงน่ารักไม่น้อยที่ได้เห็นลูกน้อยเริ่มเลียนแบบท่าทางของผู้ดูแลและเรียนรู้ บทบาทหน้าที่ต่างๆ ในชีวิต ลูกน้อยจะติดตามคุณไปทุกที่และอยากทำอะไรก็ตามที่คุณกำลังทำอยู่ คุณแม่อาจจะเตรียมเหยือกและถ้วยสักสองสามใบไว้ในลิ้นชักหรือในตู้กับข้าวไว้ ให้ลูกน้อย เพื่อที่เขาจะได้ร่วมทำอาหารและล้างจานไปพร้อมๆ กับคุณแม่
* การเล่นสมมุติ เมื่อเด็กๆ มีพัฒนาการในการจินตนาการและสามารถแยกแยะโลกแห่งความจริงออกจากโลกใน จินตนาการได้แล้ว เขาก็จะเริ่มเล่นสมมุติ เก้าอี้จะกลายเป็นรถ เก้าอี้หลายตัวต่อกันเข้ากลายเป็นรถไฟและลูกน้อยก็จะสมมุติว่าตัวเขาเป็น พนักงานขับรถไฟกำลังเป่านกหวีดเมื่อ “รถไฟ” ออกจากสถานี ในการเล่นสมมุติ เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ต่างๆ และทำความเข้าใจกับสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวเขา เขามีอิสระที่จะสร้างสรรค์สถานการณ์ใหม่ๆ และเรียนรู้ที่จะทำความเข้าใจกับสิ่งเหล่านั้นในการเล่นอย่างอิสระ
* การเล่นเข้าสังคม เมื่อเด็กๆ เข้าเรียนในโรงเรียนปฐม เพื่อนจะเข้ามามีส่วนสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในการมีปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน สิ่งสำคัญสำหรับเด็กๆ ก็คือเขาต้องเข้าร่วมกลุ่มสังคมของเขา อยู่กับเพื่อนวัยเดียวกันและมีบทบาทในกลุ่มๆ นี้ เด็กๆ จะเรียนรู้ฐานะของตัวเองในสภาพแวดล้อมของเขาได้จากการลองผิดลองถูก การเข้าร่วมชมรมหรือกลุ่มกิจกรรมอื่นๆ จะช่วยพัฒนาทักษะของพวกเขายิ่งขึ้นไปอีกและสร้างเสริมการมีปฏิสัมพันธ์กับ เพื่อนต่างกลุ่มที่อายุรุ่นราวคราวเดียวกันในบรรยากาศที่หลากหลายด้วย ดังนั้น เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับเอกลักษณ์ของแต่ละคนและการยอมรับทางสังคมด้วย
* การเล่นที่ใช้ทักษะ ระหว่างเรียนในโรงเรียนปฐม ลูกน้อยจะพัฒนาทักษะอันสมบูรณ์ผ่านทางกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องใช้ทักษะเฉพาะทาง เช่น งานฝีมือ เกมส์และกีฬาที่ต้องใช้ความคิด

ลูกน้อยจะพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว สติปัญญาและความคิดสร้างสรรค์ยิ่งขึ้นไปอีก ทักษะเฉพาะทางเหล่านี้จะช่วยให้เขากำหนดบุคลิกภาพของตนเอง ทั้งส่วนที่เป็นจุดเด่นและจุดด้อย

สรุป

การเล่นของเด็กเป็นเรื่องสำคัญ ผู้ใหญ่ควรให้คำแนะนำแก่เด็กๆ กระตุ้นพวกเขาด้วยให้เวลากับเขา หาสถานที่ให้และอยู่เป็นเพื่อนเขา สิ่งสำคัญก็คือ ควรทำตามความสนใจของเด็กและแนะนำการเล่นรูปแบบใหม่ๆ ให้แก่เขาเพื่อให้เขาเติบโตโดยสอดคล้องพัฒนาการตามวัยของเขา

การเล่นเป็นเรื่องสนุกและช่วยให้เด็กค้นพบแนวทางของตัวเองในโลกกว้างใบนี้ การเล่นเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขที่คุณแม่จะได้แบ่งปันกับลูกน้อย

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

0 comments:

Post a Comment

 

Mama And Baby Care Copyright © 2009 Baby Shop is Designed by Ipietoon Sponsored by Emocutez