A Blogger by Beamcool

Monday, June 29, 2009

การเจ็บท้องและการคลอด - ระยะที่หนึ่งของการเจ็บ ท้องคลอด

Posted by wittybuzz at 3:12 AM

การเจ็บท้องคลอดมักจะแบ่งเป็นสามระยะ ระยะที่หนึ่งเป็นระยะยาวนานที่สุดสำหรับคุณแม่แทบทุกคน แต่ความ นานของระยะนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละคน ซึ่งอาจใช้เวลาตั้งแต่ 1 ชั่วโมงจนถึง 20 ชั่วโมงก็ถือว่าปกติ

การเจ็บท้องคลอดเริ่มต้นจากการตอบสนองของฮอร์โมนกระตุ้นที่หลั่งออกมาจากทารกในครรภ์ ต่อมหมวกไตของ ทารกในครรภ์มีพัฒนาการที่สมบูรณ์และเริ่มหลั่งฮอร์โมนคอร์ติโซนออกมา ในการตอบสนองต่อฮอร์โมนนั้น ร่างกาย คุณแม่จะสร้างฮอร์โมนที่มีชื่อว่า โพรสตาแกลนดิน ซึ่งฮอร์โมนนี้เองที่ไปกระตุ้นมดลูกให้บีบตัว

ในการบีบตัวแต่ละครั้งนั้น

* มดลูกจะดันทารกลงด้านล่าง
* ปาก มดลูกจะเปิดและบางลง และในช่วงท้ายของระยะที่หนึ่งนั้น ปากมดลูกจะเปิดเต็มที่ ซึ่งกว้างพอที่จะให้ทารกในครรภ์ผ่านไปยังช่องคลอดได้ (ปากช่องคลอด) ปากมดลูกจะขยายตัวกว้าง 10 เซนติเมตรหรือขยายตัวอย่างเต็มที่ การบีบตัวของมดลูกจะมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ ในช่วงเริ่มเจ็บท้องคลอดนั้น มดลูกจะบีบตัวประมาณ 40 วินาทีและบีบตัวทุกๆ 10 นาที ในช่วงท้าย การบีบตัวแต่ละครั้งจะนานกว่าหนึ่งนาที โดยมีช่วงห่างของการบีบตัวแต่ละครั้งไม่ถึงหนึ่งนาที การเจ็บท้องมีแนวโน้มว่าจะเกิดเร็วขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ปรกติแล้ว ปากมดลูกจะใช้เวลาในการขยาย 5 เซนติเมตรแรกนานกว่าและจะขยายตัวเร็วขึ้นใน 5 เซนติเมตรถัดไป สำหรับวิธีว่าทำอย่างไรคุณแม่จึงจะรู้สึกสบายนั้น คุณแม่ส่วนใหญ่จะรับมือกับระยะการเจ็บท้องนี้ได้ดีที่สุดหากคุณแม่อยู่ในท่า ใดก็ตามที่ทำให้รู้สึกสบายมากที่สุด ซึ่งตัวอย่างของท่าทางเหล่านี้คือ
o คุกเข่า
o พิงไปด้านหน้าบนเบาะที่ตั้งบนพื้นหรือพิงตักของสามี
o พิงกำแพง
o ใช้มือและเท้าค้ำตัวเอง และท่าอะไรก็ได้ที่จะช่วยให้รู้สึกสบาย แต่ละท่าทางจะช่วยให้รู้สึกดีขึ้นในแต่ละระยะ ควรมีการตรวจทารกในครรภ์ด้วยในระหว่างนี้ด้วยการตรวจดูอัตราการเต้นของหัวใจ ของทารกอย่างใกล้ชิด

พยาบาลอาจใช้พินาด ซึ่งเป็นหูฟังของหมอ มีลักษณะคล้ายกับแตร โดยพยาบาลจะวางลงบนท้องคุณและฟังเสียงการเต้นของหัวใจของเด็ก

คุณแม่อาจได้รับการติดเครื่องอิเล็กทรอนิกส์เพื่อตรวจดูทารกในครรภ์ซึ่งจะ จับอัตราการเต้นของหัวใจของทารกและแสดงเป็นตัวเลขบนจอ หรืออีกวิธีหนึ่งก็อาจมีการใช้ขั้วสายไฟขนาดเล็กต่อเข้ากับหนังศีรษะของทารก ในครรภ์เพื่อรับ สัญญาณการเต้นของหัวใจ ผลการตรวจจะถูกส่งไปยังเครื่องรับ และมีการพิมพ์ผลการเต้นของหัวใจออกมาเพื่อจะได้ ประเมินอาการเป็นระยะๆ รูปแบบการตรวจติดตามนี้สามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง

ระบบตรวจวัด (Telemetry) จะส่งสัญญาณอัตราการเต้นของหัวใจผ่านคลื่นเสียงไปยังเครื่องรับ จริงๆ แล้วคุณแม่ จะไม่ได้ถูกต่อเข้ากับเครื่องมอนิเตอร์ ดังนั้น คุณแม่จึงสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระตราบเท่าที่ยังอยู่ในระยะของ เครื่องมอนิเตอร์ และการตรวจติดตามวิธีนี้สามารถทำได้อย่างต่อเนื่องเช่นกัน

เครื่องดอพเพลอร์ (Doppler) ใช้อัลตร้าซาวนด์ในการตรวจติดตาม เครื่องส่งและเครื่องรับสัญญาณขนาดเล็กจะถูก วางบนท้องคุณแม่เพื่อตรวจจับอัตราการเต้นของหัวใจของทารกในครรภ์


ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

0 comments:

Post a Comment

 

Mama And Baby Care Copyright © 2009 Baby Shop is Designed by Ipietoon Sponsored by Emocutez