A Blogger by Beamcool

Saturday, June 20, 2009

การฝากครรภ์ - การตรวจพิเศษต่างๆ

Posted by wittybuzz at 2:53 AM

ต่อไปนี้คือการตรวจพิเศษเพื่อใช้ตรวจหาความผิดปรกติต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งการตรวจพิเศษเหล่านี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของคุณแม่

การตรวจน้ำคร่ำ

ในการตรวจน้ำคร่ำนั้น สูตินรีแพทย์จะเก็บตัวอย่างน้ำคร่ำรอบๆ ตัวเด็กออกมาเพียงเล็กน้อย (ประมาณ 20 ซีซี)

แพทย์จะสอดเข็มเล่มบางๆ ผ่านทางหน้าท้องของคุณแม่ไปสู่มดลูก จากนั้นสูตินรีแพทย์จะใช้อัลตร้าซาวด์เพื่อนำทางเข็มในระหว่างดำเนินขั้นตอน เพื่อที่เข็มจะได้ไม่ทำอันตรายต่อทารกในครรภ์

ขั้นตอนการตรวจนี้จะกระทำในผู้ป่วยนอกและจะใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที

แม้ว่าเข็มจะทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บบ้างเมื่อเจาะผ่านเข้าไปยังมดลูก แต่คุณแม่จะเจ็บไม่นานและไม่ควรจะเจ็บเกินกว่าการฉีดยาเข้าสู่ส่วนอื่นๆ ของร่างกาย

หลังจากที่นำตัวอย่างน้ำคร่ำออกมาแล้ว เมื่อถอนเข็มออก คุณแม่ไม่น่าจะรู้สึกเจ็บอีกต่อไป ตัวอย่างน้ำคร่ำที่ได้จะถูกส่งไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อการตรวจพิเศษ

ทำไมการตรวจน้ำคร่ำจึงเป็นสิ่งจำเป็น

การตรวจน้ำคร่ำส่วนใหญ่จะเป็นการตรวจหาความผิดปรกติทางโครโมโซม

โครโมโซมจะมียีนที่ส่งผ่านลักษณะต่างๆ จากบิดามารดาไปสู่บุตร หากมีจำนวนโครโมโซมมากหรือน้อยเกินไป หรือมีความบกพร่องในโครโมโซม เด็กก็อาจมีความผิดปรกติตั้งแต่กำเนิด

ดาวน์ซินโดรมคือความผิดปรกติทางพันธุกรรมที่พบได้บ่อยที่สุด ความผิดปรกตินี้จะทำให้เกิดภาวะปัญญาอ่อน และปัญหาทางสุขภาพอื่นๆ เช่นความผิดปรกติของหัวใจ ความผิดปรกติของโครโมโซมที่พบได้น้อยกว่าประเภทอื่นๆ อาจนำไปสู่ความพิการอย่างรุนแรงหรือเสียชีวิตได้

เมื่อไรจึงควรตรวจน้ำคร่ำ

ปรกติแล้ว คุณแม่จะได้รับการตรวจน้ำคร่ำเมื่อตั้งครรภ์ได้ในระหว่างสัปดาห์ที่ 16 แต่ไม่เกินสัปดาห์ที่ 20

เราจะได้รับผลการตรวจน้ำคร่ำเมื่อไร

ปรกติแล้ว ผลการตรวจในห้องปฏิบัติการจะใช้เวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์

การตรวจน้ำคร่ำสามารถบอกความผิดปรกติทางพันธุกรรมทั้งหมดได้หรือไม่

ไม่ การตรวจน้ำคร่ำสามารถตรวจจับความผิดปรกติทางโครโมโซมที่เป็นที่รู้จักกันดี แทบทั้งหมดได้ อย่างไรก็ตาม การตรวจน้ำคร่ำไม่สามารถตรวจจับความผิดปรกติแต่กำเนิดที่ไม่ได้เกิดจากความ ผิดปรกติทางโครโมโซมได้

ใครควรเข้ารับการตรวจน้ำคร่ำ

หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป เนื่องจากว่าลูกของคุณแม่กลุ่มนี้จะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภาวะความผิดปรกติ ทางพันธุกรรมได้มากกว่า เช่น โรคดาวน์ซินโดรม

คุณแม่ซึ่งเคยมีลูกเป็นดาวน์ซินโดรมหรือมีความผิดปรกติทางพันธุกรรมอื่นๆ

คุณแม่ซึ่งทราบว่าตนเองหรือสามีมีการเรียงตัวของโครโมโซมผิดปกติ

สำหรับคุณแม่แต่ละท่าน อาจมีเหตุผลอื่นเฉพาะแตกต่างกันออกไป ดังนั้น คุณแม่และสูตินรีแพทย์ควรตัดสินใจร่วมกันเพื่อดูว่ามีความจำเป็นต้องตรวจน้ำ คร่ำหรือไม่

การตรวจน้ำคร่ำมีความปลอดภัยหรือไม่

การตรวจน้ำคร่ำมีความปลอดภัยและมีความเสี่ยงน้อยหากปฏิบัติโดยแพทย์ผู้ เชี่ยวชาญ ความเสี่ยงในการแท้งบุตรหลังการทดสอบอยู่ที่ 0.3 -0.5%

ข้อมูลที่เป็นประโยชน์

กิจกรรม คุณแม่น่าจะสามารถกลับไปทำกิจกรรมต่างๆ ตามปรกติได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหลังการตรวจ และสามารถอาบน้ำได้ตามปรกติ
อาหาร ไม่จำเป็นต้องงดอาหารที่เกี่ยวกับการตรวจนี้
ยา ไม่จำเป็นต้องใช้ยาหลังการตรวจนี้

ควรกลับไปโรงพยาบาลหรือติดต่อสูตินรีแพทย์หากว่ามีอาการดังต่อไปนี้

* มีไข้ตัวร้อน
* คลื่นไส้และอาเจียน
* เจ็บปวดที่ไหล่
* เจ็บปวดอย่างผิดปรกติที่บริเวณท้องช่วงล่าง
* มีเลือดไหลออกจากช่องคลอด
* มีของเหลวหลั่งออกจากช่องคลอด

การตรวจชิ้นเนื้อรก

ในการตรวจชิ้นเนื้อรกนั้น สูตินรีแพทย์จะเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อรกออกมาในปริมาณเล็กน้อย

แพทย์จะสอดเข็มสำหรับตัดชิ้นเนื้อผ่านทางหน้าท้องของคุณแม่ไปยังรก จากนั้นสูตินรีแพทย์จะใช้อัลตร้าซาวด์นำทางเข็มในระหว่างขั้นตอนเพื่อที่ เข็มจะได้ไม่ทำอันตรายต่อทารกในครรภ์ ในขั้นตอนการตรวจนี้ จะมีการให้ยาชาเฉพาะที่ด้วย

ขั้นตอนการตรวจนี้จะกระทำในผู้ป่วยนอกและจะใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที แม้ว่าเข็มจะทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บบ้างเมื่อเจาะผ่านเข้าไปยังมดลูก แต่คุณแม่จะเจ็บไม่นานและไม่ควรจะเจ็บเกินกว่าการฉีดยาเข้าสู่ส่วนอื่นๆ ของร่างกาย

หลังจากที่นำตัวอย่างชิ้นเนื้อรกออกมาแล้ว เมื่อถอนเข็มออก คุณแม่ไม่น่าจะรู้สึกเจ็บอีกต่อไป ตัวอย่างชิ้นเนื้อที่ได้จะถูกส่งไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อการตรวจพิเศษ

ทำไมจึงจำเป็นต้องตรวจชิ้นเนื้อรก

การตรวจชิ้นเนื้อรกจะเป็นการตรวจหาความผิดปรกติทางโครโมโซมและโรคทางพันธุกรรมต่างๆ เช่น ธาลัสซีเมีย

โครโมโซมจะมียีนที่ส่งผ่านลักษณะต่างๆ จากบิดามารดาไปสู่บุตร หากมีจำนวนโครโมโซมมากหรือน้อยเกินไป หรือมีความบกพร่องในโครโมโซม เด็กก็อาจมีความผิดปรกติตั้งแต่กำเนิด

ดาวน์ซินโดรมคือความผิดปรกติทางพันธุกรรมที่พบได้บ่อยที่สุด ความผิดปรกตินี้จะทำให้เกิดภาวะปัญญาอ่อน และปัญหาทางสุขภาพอื่นๆ เช่นความผิดปรกติของหัวใจ ความผิดปรกติของโครโมโซมที่พบได้น้อยกว่าประเภทอื่นๆ อาจนำไปสู่ความพิการอย่างรุนแรงหรือเสียชีวิตได้

ธาลัสซีเมียคือโรคเลือดที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งจะถ่ายทอดทางยีน หากพ่อแม่ทั้งสองคนมียีนธาสัลซีเมีย โอกาสที่เด็กจะเกิดมาเป็นโรคธาลัสซีเมียมี 25%

ควรตรวจชิ้นเนื้อรกเมื่อใด

ปรกติแล้ว คุณแม่จะได้รับการตรวจชิ้นเนื้อรกเมื่อตั้งครรภ์ในระหว่างสัปดาห์ที่ 16 แต่ไม่เกินสัปดาห์ที่ 20

เราจะได้รับผลการตรวจชิ้นเนื้อรกเมื่อไร

ปรกติแล้ว ผลการตรวจในห้องปฏิบัติการจะใช้เวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์

การตรวจชิ้นเนื้อรกสามารถบอกความผิดปรกติทางพันธุกรรมทั้งหมดได้หรือไม่

ไม่ การตรวจชิ้นเนื้อรกสามารถตรวจจับความผิดปรกติทางโครโมโซมที่เป็นที่รู้จัก กันดีแทบทั้งหมดได้ นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ตรวจโรคทางพันธุกรรมบางชนิดได้อีกด้วย

ใครควรได้รับการตรวจชิ้นเนื้อรก

* หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป เนื่องจากว่าลูกของคุณแม่กลุ่มนี้จะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภาวะความผิดปรกติ ทางพันธุกรรมได้มากกว่า เช่น โรคดาวน์ซินโดรม
* คุณแม่ซึ่งเคยมีลูกเป็นดาวน์ซินโดรมหรือมีความผิดปรกติทางพันธุกรรมอื่นๆ
* คุณแม่ซึ่งทราบว่าตนเองหรือสามีมีการเรียงตัวของโครโมโซมผิดปกติ
* หากทั้งพ่อและแม่เป็นพานะนำโรคธาลัสซีเมีย
* สำหรับ คุณแม่แต่ละท่าน อาจมีเหตุผลอื่นเฉพาะแตกต่างกันออกไป ดังนั้น คุณแม่และสูตินรีแพทย์ควรตัดสินใจร่วมกันเพื่อดูว่ามีความจำเป็นต้องตรวจ ชิ้นเนื้อรกหรือไม่

การตรวจการตรวจชิ้นเนื้อรกมีความปลอดภัยหรือไม่

การตรวจชิ้นเนื้อรกมีความปลอดภัยและมีความเสี่ยงน้อยหากปฏิบัติโดยแพทย์ผู้ เชี่ยวชาญ ความเสี่ยงในการแท้งบุตรหลังการทดสอบอยู่ที่ 1%

ข้อมูลที่เป็นประโยชน์

กิจกรรม คุณแม่น่าจะสามารถกลับไปทำกิจกรรมต่างๆ ตามปรกติได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหลังการตรวจ และสามารถอาบน้ำได้ตามปรกติ
อาหาร ไม่จำเป็นต้องงดอาหารที่เกี่ยวกับการตรวจนี้
ยา ไม่จำเป็นต้องใช้ยาหลังการตรวจนี้

ยา ไม่จำเป็นต้องใช้ยาหลังการตรวจนี้

* มีไข้ตัวร้อน
* คลื่นไส้และอาเจียน
* เจ็บปวดที่ไหล่
* เจ็บปวดอย่างผิดปรกติที่บริเวณท้องช่วงล่าง
* มีเลือดไหลออกจากช่องคลอด
* มีของเหลวหลั่งออกจากช่องคลอด

การตรวจตัวอย่างเลือดทารกในครรภ์

ในการตรวจครั้งนี้ สูตินรีแพทย์จะเก็บตัวอย่างเลือดจากสายสะดือของทารกในครรภ์

แพทย์จะสอดเข็มเล่มบางๆ ผ่านทางหน้าท้องของคุณแม่ไปยังรก จากนั้นสูตินรีแพทย์จะใช้อัลตร้าซาวด์นำทางเข็มในระหว่างขั้นตอนเพื่อที่ เข็มจะได้ไม่ทำอันตรายต่อทารกในครรภ์

ขั้นตอนการตรวจนี้จะกระทำในผู้ป่วยนอกและจะใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที

แม้ว่าเข็มจะทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บบ้างเมื่อเจาะผ่านเข้าไปยังมดลูก แต่คุณแม่จะเจ็บไม่นานและไม่ควรจะเจ็บเกินกว่าการฉีดยาเข้าสู่ส่วนอื่นๆ ของร่างกาย

หลังจากที่นำตัวอย่างเลือดของทารกในครรภ์ออกมาแล้ว เมื่อถอนเข็มออก คุณแม่ไม่น่าจะรู้สึกเจ็บอีกต่อไป ตัวอย่างเลือดที่ได้จะถูกส่งไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อการตรวจพิเศษ

ทำไมจึงจำเป็นต้องตรวจตัวอย่างเลือดทารกในครรภ์

การตรวจตัวอย่างเลือดทารกในครรภ์ส่วนใหญ่จะเป็นการตรวจหาความผิดปรกติทางโครโมโซม โรคทางพันธุกรรมและการติดเชื้อไวรัส

โครโมโซมจะมียีนที่ส่งผ่านลักษณะต่างๆ จากบิดามารดาไปสู่บุตร หากมีจำนวนโครโมโซมมากหรือน้อยเกินไป หรือมีความบกพร่องในโครโมโซม เด็กก็อาจมีความผิดปรกติตั้งแต่กำเนิด

ดาวน์ ซินโดรมคือความผิดปรกติทางพันธุกรรมที่พบได้บ่อยที่สุด ความผิดปรกตินี้จะทำให้เกิดภาวะปัญญาอ่อน และปัญหาทางสุขภาพอื่นๆ เช่นความผิดปรกติของหัวใจ ความผิดปรกติของโครโมโซมที่พบได้น้อยกว่าประเภทอื่นๆ อาจนำไปสู่ความพิการอย่างรุนแรงหรือเสียชีวิตได้

ควรตรวจตัวอย่างเลือดทารกในครรภ์เมื่อใด

ปรกติแล้ว คุณแม่จะได้รับการตรวจตัวอย่างเลือดทารกในครรภ์เมื่อตั้งครรภ์ในระหว่างสัปดาห์ที่ 20 ถึง 23

เราจะได้รับผลการตรวจตัวอย่างเลือดทารกในครรภ์เมื่อไร

ปรกติแล้ว ผลการตรวจในห้องปฏิบัติการจะใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์

การตรวจตัวอย่างเลือดทารกในครรภ์สามารถบอกความผิดปรกติทางพันธุกรรมทั้งหมดได้หรือไม่

ไม่ การตรวจตัวอย่างเลือดทารกในครรภ์สามารถตรวจจับความผิดปรกติทางโครโมโซมที่ เป็นที่รู้จักกันดีแทบทั้งหมดได้ นอกจากนี้ ยังสามารถตรวจโรคทางพันธุกรรมบางชนิดและการติดเชื้อไวรัสได้

ใครควรได้รับการตรวจตัวอย่างเลือดทารกในครรภ์

* คนไข้ซึ่งตรวจพบว่าทารกมีความผิดปรกติในระหว่างการตรวจด้วยอัลตร้าซาวนด์
* คนไข้ซึ่งมีอายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์และมีความเสี่ยงสูงที่จะมีความผิดปรกติทางโครโมโซม
* หากทั้งพ่อและแม่เป็นพานะนำโรคธาลัสซีเมีย
* สำหรับ คุณแม่แต่ละท่าน อาจมีเหตุผลอื่นเฉพาะแตกต่างกันออกไป ดังนั้น คุณแม่และสูตินรีแพทย์ควรตัดสินใจร่วมกันเพื่อดูว่ามีความจำเป็นต้องตรวจ ชิ้นเนื้อรกหรือไม่

การตรวจตัวอย่างเลือดทารกในครรภ์มีความปลอดภัยหรือไม่

การตรวจตัวอย่างเลือดทารกมีความปลอดภัยและมีความเสี่ยงน้อยหากปฏิบัติโดย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ความเสี่ยงในการแท้งบุตรหลังการทดสอบอยู่ที่ 2 - 5%

ข้อมูลที่เป็นประโยชน์

กิจกรรม คุณแม่น่าจะสามารถกลับไปทำกิจกรรมต่างๆ ตามปรกติได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหลังการตรวจ และสามารถอาบน้ำได้ตามปรกติ
อาหาร ไม่จำเป็นต้องงดอาหารที่เกี่ยวกับการตรวจนี้
ยา ไม่จำเป็นต้องใช้ยาหลังการตรวจนี้

ควรกลับไปโรงพยาบาลหรือติดต่อสูตินรีแพทย์หากว่ามีอาการดังต่อไปนี้

* มีไข้ตัวร้อน
* คลื่นไส้และอาเจียน
* เจ็บปวดที่ไหล่
* เจ็บปวดอย่างผิดปรกติที่บริเวณท้องช่วงล่าง
* มีเลือดไหลออกจากช่องคลอด
* มีของเหลวหลั่งออกจากช่องคลอด

การตรวจคัดกรองซีรั่มของมารดา

การตรวจคัดกรองซีรั่มของมารดาคือการตรวจเลือดตามความสมัครใจที่อายุครรภ์ ระหว่าง 15-20 สัปดาห์ เพื่อช่วยในการประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะดาวน์ซินโดรม ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรมเกิดจากความผิดปรกติของโครโมโซม

ตรวจเพื่ออะไร

การตรวจคัดกรองซีรั่มของมารดานี้ใช้เพื่อค้นหาการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยง ที่จะเกิดภาวะดาวน์ซินโดรมซึ่งมีความชัดเจนมากพอที่จะควรจะตรวจน้ำคร่ำต่อไป

มีขั้นตอนการตรวจอย่างไร

คุณแม่จะได้รับการตรวจคัดกรองซีรั่มนี้เมื่ออายุครรภ์ระหว่าง 15 -20 สัปดาห์ ซึ่งจะวัดปริมาณ AFP (Alpha-Fetoprotein) และฮอร์โมน hCG (Human Chorionic Gonadotrophin) สารเหล่านี้จะสร้างขึ้นโดยทารกในครรภ์และรก และสามารถตรวจจับได้ในเลือดของมารดา

การวัดปริมาณสาร AFP และฮอร์โมน hCG ใช้เพื่อคำนวณความเสี่ยงที่ทารกในครรภ์จะมีภาวะดาวน์ซินโดรม โดยพิจารณาร่วมกับอายุของคุณแม่ การตรวจด้วยวิธีนี้จะทำให้คุณแม่ทราบถึงความเสี่ยงในการมีลูกเป็นโรคดาวน์ซิ นโดรม การประเมินความเสี่ยงด้วยตัวเลขนี้จะจำแนกความเสี่ยงออกมาเป็น “ความเสี่ยงสูง” หรือ “ความเสี่ยงต่ำ” โดยตัดความเสี่ยงเป็น 1 ใน 250 เพื่อเป็นการช่วยคุณแม่ตัดสินใจว่าควรตรวจน้ำคร่ำต่อไปหรือไม่

ทำไมถึงต้องวัดระดับสารเหล่านี้

เราทราบว่าคุณแม่ที่มีสาร AFP ในเลือดต่ำอาจมีความเสี่ยงที่ลูกจะเป็นโรคดาวน์ซินโดรมสูงกว่าค่าเฉลี่ย โดยเป็นที่ปรากฏว่าทารกในครรภ์ที่เป็นดาวน์ซินโดรมมีแนวโน้มว่าจะสร้างสาร AFP น้อยกว่าเด็กปรกติ ดังนั้น จึงมีการถ่ายทอดสารดังกล่าวไปยังคุณแม่ในระดับน้อยกว่าปกติ

ระดับฮอร์โมน hCG มีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นเมื่อเด็กในครรภ์มีภาวะดาวน์ซินโดรม

เหตุผลของความแตกต่างเหล่านี้ยังไม่เป็นที่ทราบกัน อย่างไรก็ตาม ความล่าช้าทางพัฒนาการของเด็กที่เป็นดาวน์ซินโดรมอาจเป็นสาเหตุเนื่องจากสาร สองชนิดนี้มีความเกี่ยวข้องกับพัฒนาการของทารกในครรภ์

การวัดปริมาณสารเหล่านี้จะช่วยแพทย์สามารถประเมินความเสี่ยงของคุณแม่ที่จะลูกเป็นดาวน์ซินโดรมได้อย่างแม่นยำมากขึ้น

ผลการตรวจเลือดนี้หมายความว่าอย่างไร

ในการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูงที่เด็กจะเป็นดาวน์ซินโดรม จะมีปริมาณสาร AFP ต่ำกว่าปรกติและฮอร์โมน hCG สูงกว่าปรกติ

“ความเสี่ยงสูง” ไม่ได้หมายความว่าเด็กจะมีอาการดาวน์ซินโดรมเสมอไป เพียงแต่หมายความว่าเด็กมีความเสี่ยงสูงขึ้น ซึ่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะต้องทำการตรวจน้ำคร่ำ (ซึ่งเป็นการทดสอบเพื่อวิเคราะห์หาภาวะดาวน์ซินโดรม) เพื่อยืนยันว่าเด็กในครรภ์เป็นดาวน์ซินโดรมหรือไม่

ในทำนองเดียวกัน “ความเสี่ยงต่ำ” ก็ไม่ได้เป็นการรับประกันว่าลูกน้อยในครรภ์จะมีสุขภาพแข็งแรง แต่หากผลการตรวจเลือดปรากฏว่ามี “ความเสี่ยงต่ำ” นั่นหมายความมีโอกาสที่เด็กจะเป็นดาวน์ซินโดรมต่ำกว่า ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องมีการดำเนินการใดๆ ต่อไปอีก

ตัวอย่าง

หากความเสี่ยงของคุณคือ 1 ใน 250 นั่นหมายความว่าจากการตั้งครรภ์ 250 ครั้ง จะมี 1 ครั้งที่เด็กจะเป็นดาวน์ซินโดรม และอีก 249ครั้ง เด็กจะเป็นปรกติ

หากความเสี่ยงของคุณมีค่ามากกว่า 1 ใน 250 ที่เด็กจะเป็นดาวน์ซินโดรม (ตัวอย่างเช่น 1 ใน 50) สูตินรีแพทย์จะเสนอให้มีการตรวจน้ำคร่ำเพื่อยืนยันว่าเด็กในครรภ์เป็นดาวน์ ซินโดรมหรือไม่

ทำไมจึงต้องตรวจคัดกรองซีรั่มเมื่ออายุครรภ์ได้ 15-20 สัปดาห์

ประสบการณ์ได้แสดงให้เห็นว่าการตรวจเลือดจะได้ผลดีที่สุดหากตรวจเมื่ออายุ ครรภ์ระหว่าง 15-20 สัปดาห์ การตรวจเลือดในระหว่างช่วงเวลานี้จะทำให้มีเวลาสำหรับการแก้ไข หากจำเป็น ก่อนที่อายุครรภ์จะมากไปมากกว่านี้ นอกจากนี้แล้ว ยังมีหลักฐานแสดงว่าการคำนวณความเสี่ยงจะแม่นยำมากขึ้นหากมีการทำอัล ตร้าซาวด์เพื่อยืนยันอายุครรภ์และแยกการตั้งครรภ์แฝดออก

การตรวจคัดกรองนี้สามารถใช้ตรวจหาความผิดปรกติอื่นๆ ได้หรือไม่

ได้ การตรวจนี้ยังสามารถใช้ตรวจหาความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดปรกติอื่นๆ ได้อีกด้วย โดยเฉพาะภาวะกระดูกสันหลังปิดไม่สนิทซึ่งเป็นความผิดปรกติของกระดูกสันหลัง โดยดูได้จากการมีปริมาณสาร AFP สูง เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ก็มักจะมีการตรวจด้วยอัลตร้าซาวนด์โดยละเอียดเพื่อตรวจสอบในขั้นต่อไป

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อมีการตรวจพบความผิดปรกติหลังการตรวจน้ำคร่ำหรือการตรวจด้วยอัลตร้าซาวด์
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะให้ข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับความผิดปรกติที่ตรวจพบและ ผลกระทบที่อาจเกิดกับเด็ก คุณแม่อาจตัดสินใจนำเด็กออกหากความผิดปรกตินั้นเป็นความผิดปรกติร้ายแรง

หากผลการตรวจปรากฏว่า “มีความเสี่ยงต่ำ” จะเป็นการรับประกันว่าทารกในครรภ์จะแข็งแรงหรือไม่

ไม่ การตรวจคัดกรองไม่สามารถรับประกันได้ว่าเด็กจะมีสุขภาพแข็งแรงเสมอไป การตรวจนี้จะเป็นเพียงการตรวจหาภาวะดาวน์ซินโดรมและโรคกระดูกสันหลังแยกเท่า นั้น หากผลการตรวจออกมาเป็น “มีความเสี่ยงต่ำ” นั่นเพียงหมายความว่าโอกาสที่จะเกิดภาวะเหล่านี้จะมีน้อยลง

โดยรวมแล้ว ทารกในครรภ์ที่ดาวน์ซินโดรม 6-7 คนจาก 10 คน จะถูกตรวจพบโดยการตรวจคัดกรองซีรั่มของมารดา อย่างไรก็ตาม ยังมีบางส่วนที่ตรวจไม่พบและคลอดออกมาทั้งๆ ที่คุณแม่มีผลการตรวจว่ามี “ความเสี่ยงต่ำ”

อัตราการตรวจพบในกลุ่มคุณแม่ที่มี “ความเสี่ยงสูง” โดยใช้วิธีตัดความเสี่ยงที่ 1 ใน 250 นั้น จะมีค่าแตกต่างกันตามอายุของคุณแม่ดังระบุไว้ด้านล่างนี้
อัตราการตรวจพบตามอายุของคุณแม่

* ต่ำกว่า 20 ปี 46 %
* ระหว่าง 20 - 24 ปี 47 %
* ระหว่าง 25 - 29 ปี 50 %
* ระหว่าง 30 - 34 ปี 60 %
* ระหว่าง 35 - 39 ปี 77 %
* มากกว่า 40 ปี 91 %

ฉันจะต้องเข้ารับการตรวจหรือไม่

การตรวจนี้ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของคุณแม่ ในการตัดสินว่าจะเข้ารับการตรวจหรือไม่ คุณแม่และสามีควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าจะทำอย่างไร หากผลการทดสอบปรากฏออกมาว่าเด็กมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นดาวน์ซินโดรมหรือมี ความผิดปรกติอื่นๆ

ควรจะทำอย่างไรดีหากต้องการเข้ารับการตรวจคัดกรองซีรั่มของมารดา

ควรแจ้งให้แพทย์ทราบว่าต้องการเข้ารับการตรวจนี้ จากนั้นคุณแม่จะได้รับการนัดหมายให้มารับการตรวจเลือดเมื่อตั้งครรภ์ได้ ระหว่าง 15-20 สัปดาห์ โดยขึ้นอยู่กับผลการตรวจอัลตร้าซาวด์

เพื่อความอุ่นใจ

เด็กส่วนใหญ่ที่เกิดมาจะมีสุขภาพแข็งแรงดี เมื่อได้อ่านข้อมูลนี้แล้ว อาจทำให้คุณแม่เริ่มมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับลูกในท้อง ขอให้คุณแม่จำไว้ว่าเด็กส่วนใหญ่ที่เกิดมาจะมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงดี สำหรับคุณแม่ส่วนใหญ่แล้ว การตรวจนี้เป็นเพียงการย้ำให้คุณแม่อุ่นใจยิ่งขึ้นว่าทุกอย่างเป็นปรกติดี

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

0 comments:

Post a Comment

 

Mama And Baby Care Copyright © 2009 Baby Shop is Designed by Ipietoon Sponsored by Emocutez