A Blogger by Beamcool

Friday, June 19, 2009

การฝากครรภ์ - การตรวจโดยทั่วไป

Posted by wittybuzz at 7:19 AM

ตลอดระยะเวลาตั้งครรภ์ คุณแม่จะได้รับการนัดเพื่อตรวจครรภ์ตามปรกติเป็นประจำเพื่อตรวจดูว่าคุณแม่ และลูกน้อยมีสุขภาพที่แข็งแรงเป็นปรกติดีหรือไม่ และเพื่อวินิจฉัยปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ก่อนที่ปัญหาเหล่านั้นจะทวีความรุนแรงขึ้น

คุณอาจมีนัดพบหมอประมาณแปดถึงสิบสองครั้ง ซึ่งอาจจะนัดพบที่คลินิกแพทย์ คลินิกผดุงครรภ์หรือที่บ้าน หากคุณแม่จะคลอดที่โรงพยาบาลใด ก็จะได้รับการนัดหมายให้ไปตรวจครรภ์ที่คลินิกของโรงพยาบาลนั้น

การนัดฝากครรภ์

การนัดฝากครรภ์คือการนัดสำคัญครั้งแรก ซึ่งปรกติแล้วจะนัดฝากครรภ์เมื่ออายุครรภ์ได้แปดถึงสิบสองสัปดาห์ คุณแม่จะได้รับการสอบถามเกี่ยวกับสุขภาพ และสถานที่คลอด (เพื่อจะได้จองสถานที่ไว้ให้) ซึ่งคุณแม่สามารถเปลี่ยนใจได้ในภายหลัง การนัดฝากท้องนี้เป็นโอกาสดีที่คุณแม่จะได้ถามคำถามด้วยเช่นกัน บางครั้งอาจจะนัดที่บ้านของคุณเองก็ได้ โดยพยาบาลผดุงครรภ์จะมาหาคุณ (พยาบาลผดุงครรภ์ที่ไม่ได้ทำงานในโรงพยาบาล)

เวลาในการทดสอบ

การทดสอบและการตรวจวินิจฉัยต่างๆ ในการตรวจครรภ์จะประกอบด้วยรายการต่อไปนี้

* การตรวจเลือด ซึ่ง จะระบุหมู่เลือดและระบุว่าคุณมี Rh บวกหรือลบ (หากคุณแม่มี Rh ลบ ในขณะที่ลูกมี Rh บวก แสดงว่าคุณแม่หรือลูกต้องได้รับการรักษา) และตรวจหาอาการป่วยที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคุณแม่หรือลูกน้อยในครรภ์ ได้ การตรวจเลือดสามารถทำได้โดยง่ายและเร็ว โดยจะมีการเก็บตัวอย่างเลือดในปริมาณไม่เกินหนึ่งช้อนโดยใช้เข็มฉีดยา คุณแม่อาจเข้ารับการตรวจเลือดในภายหลังเพื่อตรวจว่าไม่มีอาการโลหิตจาง และเพื่อตรวจดูว่ามีสารชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่าAFP ซึ่งจะแสดงว่าเด็กในครรภ์มีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการกระดูกสันหลังโป่ง

* ความดันโลหิต จะ มีการตรวจความดันโลหิตในแทบทุกครั้งของการนัดตรวจครรภ์ โดยจะมีแถบรัดที่ต้นแขน จากนั้นแถบรัดนี้จะพองขึ้นโดยปั๊มลมขนาดเล็ก แถบรัดจะต่อเข้ากับเครื่องวัดเพื่ออ่านค่าความดันโลหิต พยาบาลจะใช้หูฟังเพื่อฟังเสียงความเปลี่ยนแปลงของชีพจรในขณะที่ปล่อยลมออก จากแถบรัด การตรวจความดันนี้จะตรวจเช็คเพื่อไม่ให้ความดันโลหิตของคุณแม่สูงจนเกินควร ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ได้ (รกจะทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพหากความดันโลหิตสูงเกินไป) ความดันโลหิตสูงยังเป็นสัญญาณหนึ่งของอาการครรภ์เป็นพิษ ซึ่งเป็นอาการผิดปกติในระหว่างตั้งครรภ์และจะส่งผลร้ายแรงต่อทั้งคุณแม่และ ลูกในครรภ์ได้ ซึ่งจำเป็นต้องมีการตรวจติดตามอย่างใกล้ชิด

* การตรวจปัสสาวะ ในการตรวจครรภ์นั้นจะมีการตรวจปัสสาวะเพื่อหาโปรตีนและน้ำตาล โดยจะขอให้คุณแม่นำตัวอย่างปัสสาวะมาในการนัดครั้งนั้นด้วย หรือจะนำใส่ขวดมาก็ได้ น้ำตาลในปัสสาวะอาจหมายความว่าคุณแม่อาจเป็นเบาหวานในระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นโรคเบาหวานประเภทหนึ่งซึ่งเกิดในระหว่างตั้งครรภ์ และโปรตีนอาจหมายถึงว่ามีภาวะครรภ์เป็นพิษเกิดขึ้น

* หัตถการ ซึ่งหมายถึงการคลำท้องคุณแม่เพื่อดูว่าเด็กตัวใหญ่แค่ไหน และอยู่ในท่าไหน การตรวจอื่นๆ อาจ มีการตรวจเพื่อหาอาการอื่นๆ บางที่อาจให้คุณแม่ทดสอบด้วยน้ำยาบ้วนปากเพื่อดูว่าคุณแม่เป็นพาหะนำโรคซิ สติกไฟโบรซิสหรือไม่ หรือคุณแม่อาจได้รับการตรวจเลือดเพื่อหาความเสี่ยงที่ลูกจะเป็นดาวน์ซินโดรม โดยปกติแล้ว คุณแม่ที่มีอายุมากขึ้นอาจมีการตรวจน้ำคร่ำด้วยเหตุผลเดียวกันนี้ ในการตรวจนี้จะมีการเก็บตัวอย่างน้ำคร่ำที่อยู่รอบตัวเด็ก การชั่งน้ำหนักตัวคุณ แม่ส่วนใหญ่จะได้รับการชั่งน้ำหนักตัวเมื่อเริ่มตั้งครรภ์ แต่ในปัจจุบันนี้ คุณแม่ไม่จำเป็นต้องชั่งน้ำหนักตัวทุกครั้งที่มีนัดตรวจครรภ์ เนื่องจากว่าในปัจจุบันเราทราบว่าข้อมูลเกี่ยวกับน้ำหนักตัวนี้บอกอะไรไม่ มากนักเกี่ยวกับการเจริญเติบโตและสุขภาพของทารกในครรภ์ และการชั่งน้ำหนักอาจทำให้คุณแม่บางคนรู้สึกกระวนกระวายใจได้

* อัลตร้าซาวด์ การตรวจแบบนี้จะใช้คลื่นเสียงความถี่สูงซึ่งจะสะท้อนกลับเมื่อกระทบกับวัตถุ แข็งๆ เช่น ร่างกายเด็กในครรภ์ เพื่อแสดงภาพของสิ่งที่อยู่ภายในมดลูกบนหน้าจอ คุณแม่อาจได้รับการตรวจอัลตร้าซาวด์เมื่อตั้งครรภ์ได้ 14-16 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม แต่ละโรงพยาบาลก็มีนโยบายต่างกันออกไป ในขั้นตอนการตรวจนี้ คุณแม่จะไม่รู้สึกเจ็บปวดเลย และจะใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที โดยคุณแม่จะต้องนอนหงายและเปิดท้องไว้ ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นแพทย์รังสีวิทยา แต่ในบางครั้งก็อาจจะเป็นพยาบาลผดุงครรภ์หรือแพทย์ก็ได้ จะทาเจลลงบนหน้าท้องคุณแม่และจะใช้อุปกรณ์ขนาดมือถือกวาดไปทั่วหน้าท้อง ซึ่งจะทำสัญญาณไปสู่หน้าจอเกิดเป็นภาพขึ้น หากคุณแม่ได้รับการตรวจอัลตร้าซาวด์ในระยะต้นของการตั้งครรภ์ แพทย์จะให้คุณแม่ดื่มน้ำมากๆ เพื่อกระเพาะปัสสาวะจะได้ดันให้มดลูกสูงขึ้นเล็กน้อย เพื่อช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญสามารถมองเห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ภาพที่ปรากฏขึ้นจะแสดงให้เห็นสิ่งต่อไปนี้

o ขนาดของเด็กในครรภ์
o ลักษณะท่าทางของเด็กภายในมดลูก
o จำนวนเด็กในครรภ์
o อวัยวะและกระดูกของเด็ก นอกจากนั้น ยังสามารถเห็น
o เพศของเด็ก หากเด็กอยู่ในท่าที่สามารถสแกนเห็นอวัยวะเพศได้อย่างชัดเจน
o ความผิดปรกติบางประเภท
o ตำแหน่งที่แน่นอนของเด็กและรก (เพื่อช่วยให้สามารถเจาะเข็มเข้าไปดูดน้ำคร่ำมาตรวจได้)
o ตำแหน่งของรก ในระยะปลายของการตั้งครรภ์นั้น หากตำแหน่งของรกอยู่ต่ำ อาจทำให้มีการตกเลือดอย่างรุนแรงได้

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

0 comments:

Post a Comment

 

Mama And Baby Care Copyright © 2009 Baby Shop is Designed by Ipietoon Sponsored by Emocutez