A Blogger by Beamcool

Thursday, June 25, 2009

การเตรียมพร้อมสำหรับลูกน้อย - อุปกรณ์สำหรับลูกน้อย

Posted by wittybuzz at 1:08 AM

การตัดสินใจว่าจะซื้อของใหม่ให้ลูกหรือจะยืมจาก คนอื่นดีอาจเป็นเรื่องคิดไม่ตกสำหรับคุณพ่อคุณแม่ มีอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับลูกน้อยให้เลือกซื้อมากมาย และความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญที่ควรพิจารณา ข้อมูลต่อไปนี้ครอบคลุมถึงอุปกรณ์ประเภทต่างๆ ที่อาจจำเป็นต้องใช้เมื่อกลับมาบ้านเป็นครั้งแรก บางทีคุณแม่อาจคิดว่า จำเป็นต้องใช้มากกว่านี้ แต่คุณแม่ส่วนใหญ่มักจะบอกให้รอดูก่อนที่จะลงทุนซื้อของให้ลูกมากมาย

ที่นั่งในรถสำหรับเด็ก

ต้องติดตั้งที่นั่งในรถสำหรับเด็กอย่างถูกต้องก่อนที่คุณแม่จะได้รับอนุญาต ให้ออกจากโรงพยาบาลได้ แม้ว่าจะมีหลายยี่ห้อให้เลือก แต่ที่จริงแล้วที่นั่งในรถมีเพียงแค่สองแบบเท่านั้น แบบแรกคือแบบสลับด้านได้ โดยเริ่มแรกจะเป็นที่นั่งซึ่งหันหน้าไปด้านหลังรถ และจากนั้นจึงเปลี่ยนเป็นหันด้านไปด้านหน้ารถเมื่อลูกน้อยโตขึ้น ที่นั่งชนิดนี้คุณแม่ต้องอุ้มลูกน้อยออกจากที่นั่งและแกะสายรัดออกเมื่อลง จากรถ ที่นั่งประเภทที่สองคือแบบแคปซูล โดยที่นั่งจะติดตั้งอยู่ในกรอบป้องกันรอบนอก ซึ่งจะช่วยให้คุณแม่สามารถอุ้มลูกน้อยออกจากรถได้ในขณะเขายังมีสายรัดคาด อยู่ ซึ่งหมายความว่าจะไม่ต้องรบกวนลูกน้อยหากเขาหลับอยู่

หากจะซื้อที่นั่งในรถหรือแคปซูลมือสอง คุณแม่จำเป็นต้องสอบถามเกี่ยวกับประวัติความปลอดภัยของอุปกรณ์นั้นก่อน ห้ามใช้ที่นั่งที่เคยมีประวัติว่าเกิดอุบัติเหตุมาก่อน ควรตรวจดูว่าสายรัดไม่มีร่องรอยสึกหรอใดๆ และ กรอบป้องกันรอบนอกของแคปซูลไม่มีรอยแตกหรือร่องรอยของความเสียหาย

* หากจะซื้อที่นั่งในรถหรือแคปซูลมือสอง คุณแม่จำเป็นต้องสอบถามเกี่ยวกับประวัติความปลอดภัยของอุปกรณ์นั้นก่อน ห้ามใช้ที่นั่งที่เคยมีประวัติว่าเกิดอุบัติเหตุมาก่อน ควรตรวจดูว่าสายรัดไม่มีร่องรอยสึกหรอใดๆ และ กรอบป้องกันรอบนอกของแคปซูลไม่มีรอยแตกหรือร่องรอยของความเสียหาย
* คุณแม่อาจซื้อที่หนุนศีรษะเพื่อใช้กับที่นั่งในรถก็ได้ ซึ่งจะช่วยไม่ให้ศีรษะของลูกน้อยเคลื่อนไหวมากเกินไปจากการเคลื่อนไหวของรถ
* หรือจะเลือกเช่าที่นั่งเด็กในรถก็ได้ บริการนี้มักรวมการติดตั้งที่นั่งไว้ด้วย เวลาที่คุณแม่ไปเข้าอบรมก่อนคลอดหรือไปหาคุณหมอที่คลินิก ควรถามข้อมูลว่ามีบริษัทใดบ้างที่ให้บริการนี้

รถเข็น

ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อรถเข็นเด็ก คุณแม่ต้องคำนึงถึงจุดเด่นต่างๆ ของรถเข็นที่จำเป็นต้องใช้ก่อน

ลองถามตัวเองด้วยคำถามเหล่านี้

* “ฉันจะเดินแบบไหน” ตัวอย่างเช่น คุณจะใช้รถเข็นเพื่อเดินไปบนถนนเพื่อออกกำลังกายใช่ไหม หากใช่ คุณจำเป็นต้องซื้อรถเข็นที่สามารถรองรับแรงกระแทกได้ดี
* “อยากได้รถเข็นที่ใช้ได้กับลูกน้อยตั้งแต่วัยแรกเกิดไปจนถึงวัยเตาะแตะใช่ ไหม” หากคำตอบคือใช่ คุณแม่ก็ต้องซื้อรถเข็นที่มีที่นั่งที่สามารถปรับให้นอนราบได้สำหรับลูกน้อย วัยแบเบาะ นอกจากนี้ คุณแม่ยังอาจเลือกซื้อเลือกซื้อรถเข็นที่สามารถสลับตำแหน่งด้านจับได้ เพื่อที่ว่าจะได้มองเห็นลูกน้อยวัยแรกเกิด และเมื่อเขาโตขึ้นและอยากจะมองไปรอบๆ มากขึ้น คุณแม่ก็จะได้สลับด้านเพื่อหันหน้าเขาออก
* “ท้ายรถของคุณมีขนาดกว้างเท่าไหร่” คุณแม่ควรวัดขนาดท้ายรถ หรือถ้าจะให้ดีกว่านั้นก็ควรขอรถเข็นจากร้านขายของเด็กใกล้บ้านมาลองใส่ท้าย รถดูว่าใส่ได้หรือไม่
* “ฉันจำเป็นต้องหิ้วรถเข็นขึ้นรถสาธารณะไหม” คุณอาจต้องเช็คดูอย่าให้รถเข็นหนักมากเกินไปและควรพับได้จนมีขนาดกะทัดรัดพอสมควร
* “จะพับและเก็บรถเข็นได้ง่ายเพียงไร” ควรลองพับรถเข็นทุกคันที่คุณกำลังเลือกอยู่ในร้าน ควรลองพับโดยใช้มือข้างเดียวด้วย ซึ่งในบางครั้งคุณแม่ก็ต้องลงเอยด้วยการพับรถเข็นด้วยมือข้างเดียว
* “คุณและสามีสูงเท่าไหร่” เนื่องจากการก้มเข็นรถเข็นเป็นเวลานานๆ อาจทำให้เกิดอาการปวดหลังได้
* “ตะกร้าใต้รถเข็นมีขนาดใหญ่เท่าไร” “ฉันจะเอารถเข็นคันนี้ไปช้อปปิ้งประเภทไหนหรือฉันจะเก็บอะไรไว้ใต้รถเข็นบ้าง”
* “รถ เข็นนี้จะใช้สำหรับเด็กสองคนได้ไหม” “รถเข็นคันนี้จะสามารถนำมาใส่ที่นั่งสำหรับเด็กวัยหัดเดินหรืออุปกรณ์สเกต บอร์ดสำหรับลูกวัยเตาะแตะได้ไหม”

เรื่องความปลอดภัย

* รถเข็นมีสายรัดแบบไหน สายรัดที่ดีที่สุดคือแบบ 5 จุด ซึ่งหมายความว่ามีสายรัดระหว่างขาหนึ่งเส้น สายรัดตักสองเส้น และสายรัดไหล่อีกสองเส้น สายรัดแบบนี้ช่วยทำให้มั่นใจได้ว่าเด็กจะไม่เลื่อนไหลตกจากรถเข็น หรือไม่สามารถปีนออกจากสายรัดตักได้ ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับสายรัดในรถ ควรคาดสายรัดให้กับเด็กจนติดเป็นนิสัยแม้ว่าเขาจะยังเล็กก็ตาม การคาดสายรัดจะช่วยป้องกันไม่ให้เด็กตกจากรถเข็นหากรถเกิดพลิกและจะช่วย สร้างนิสัยในการคาดสายรัดให้กับเด็กและหวังว่าเขาจะต่อต้านการคาดสายรัดน้อย ลงเมื่อเขาโตขึ้น
* รถเข็นมีกลไกความปลอดภัยที่ช่วยป้องกันรถเข็นไม่ให้ยุบตัวลงในขณะที่ลูกอยู่บนรถเข็นหรือไม่
* ที่ล็อคล้อใช้งานง่ายหรือไม่ และเมื่อรถเข็นถูกเข็นในขณะที่ล้อถูกล็อคอยู่ ตัวล็อคยังคงทำงานแน่นหนาหรือไม่
* รถเข็นมีสมดุลดีหรือไม่ มีโอกาสที่จะพลิกคว่ำหรือเปล่า

โต๊ะหรือเสื่อสำหรับเปลี่ยนผ้าอ้อม

โต๊ะสำหรับเปลี่ยนผ้าอ้อมเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นหากคุณแม่มีที่เปลี่ยนผ้าอ้อม ที่ปลอดภัยและสบายสำหรับลูกน้อยแล้ว ที่เปลี่ยนผ้าอ้อมไม่ควรจะเป็นที่ๆ มีลมโกรกและควรเป็นที่ซึ่งมีอุปกรณ์สำหรับเปลี่ยนผ้าอ้อมครบครันอยู่ใกล้มือ ในเวลาที่เปลี่ยนผ้าอ้อมให้กับลูก คุณแม่หลายท่านเลือกที่จะใช้เสื่อเปลี่ยนผ้าอ้อมแบบบุนวมและมีพลาสติกคลุมทับ เนื่องจากสามารถเคลื่อนย้ายไปได้ทั่วบ้านได้ตามต้องการ ไม่ว่าคุณแม่จะเลือกที่ใดก็ตามเป็นที่สำหรับเปลี่ยน ผ้าอ้อมให้ลูก คุณแม่ควรตรวจดูให้แน่ใจว่าไม่มีสิ่งที่อาจเป็นอันตรายต่อลูกน้อยในบริเวณนั้น

* ตรวจพื้นผิวบริเวณที่คุณใช้เปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกว่ามีความมั่นคงและปลอดภัย
* เสื่อสำหรับเปลี่ยนผ้าอ้อมควรมีขอบยกสูงขึ้นประมาณ 10 เซนติเมตรเพื่อป้องกันเด็กไม่ให้กลิ้งออกจากเสื่อ
* ตรวจดูให้แน่ใจว่าไม่มีของแหลมคมอยู่ในระยะที่ลูกเอื้อมถึง
* อย่าวางเสื่อไว้ใกล้กับปลั๊กไฟ และลูกน้อยไม่สามารถเอื้อมถึงอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ง่าย
* ดูให้แน่ใจว่าลูกน้อยจะไม่พันกับเชือกผ้าม่านหรือเชือกของมูลี่
* ห้าม ปล่อยให้ลูกน้อยอยู่ตามลำพังบนโต๊ะเปลี่ยนผ้าอ้อมหรือบนที่ยกสูงจากพื้นแม้ เพียงแป๊บเดียวก็ตาม เพราะลูกน้อยอาจตกจากที่สูงและส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บอย่างร้ายแรงได้ และห้ามปล่อยให้ลูกวัยหัดเดินอยู่กับลูกวัยแบเบาะตามลำพังในขณะที่อยู่บนที่ สูงเนื่องจากเขาอาจดึงหรือผลักน้องตกจากที่สูงโดยไม่ตั้งใจ

อ่างอาบน้ำสำหรับเด็ก

คุณแม่สามารถอาบน้ำให้ลูกน้อยที่ใดก็ได้ ไม่ว่าจะใช้อ่างอาบน้ำสำหรับเด็ก อ่างอาบน้ำธรรมดา อ่างล้างมือ หรือแม้แต่จะใช้ฝักบัวก็ได้ อ่างอาบน้ำสำหรับเด็กเป็นทางเลือกที่ดี แต่ก็มีขนาดค่อนข้างใหญ่ที่จะเก็บหลังจากที่ลูกโตเกินกว่าจะใช้มันแล้ว ซึ่งปรกติแล้วจะอยู่ที่ 12 สัปดาห์ หากคุณแม่ซื้ออ่างอาบน้ำให้ลูก ก็ควรดูให้แน่ใจว่าสามารถระบายน้ำออกจากอ่างได้ง่าย และมีความยาวพอสมควรและหากเป็นไปได้ก็สามารถติดตั้งเก้าอี้กันลื่นได้ด้วย เก้าอี้กันลื่นนี้สามารถนำไปใช้ในอาบน้ำขนาดใหญ่ได้เมื่อเขาโตขึ้น ห้ามปล่อยให้ลูกน้อยอยู่ใกล้น้ำตามลำพังเด็ดขาด


เตียงเด็ก

ระหว่างที่นอนและด้านข้างทั้งสี่ด้านของเตียงนั้น ไม่ควรมีช่องว่างขนาดเกินกว่า 2 นิ้วมือของผู้หญิง หากคุณแม่ขอยืมหรือซื้อเตียงมือสองมาใช้ ต่อไปนี้เป็นรายการที่ต้องตรวจสอบเพื่อความปลอดภัยที่คุณแม่ควรจะทราบเอาไว้ ข้อมูลต่อไปนี้เป็นแนวทางสำหรับการซื้อเตียงเด็ก

* ฐานของที่นอนควรมีระยะห่างจากขอบบนของเตียงอย่างน้อย 600 มิลลิเมตร
* ช่องว่างระหว่างซี่ลูกกรงควรมีความห่างระหว่าง 50-85 มิลลิเมตร
* ด้านข้างของเตียงและที่นอนควรมีระยะห่างกันไม่เกิน 25 มิลลิเมตร
* ควรระวังอย่าให้มีรูหรือช่องว่างที่แขน ขา ศีรษะหรือนิ้วมือของลูกน้อยเข้าไปติดได้
* พยายามเลือกเตียงที่มีขาตั้งไม่เกินสองขาและมีล้อเลื่อน
* ควรเลือกเตียงที่มีฐานเตียงติดอยู่กับที่โดยที่มีฐานเตียงอยู่ในระดับต่ำที่ สุด หากสามารถปรับระดับฐานเตียงได้ ให้ปรับฐานเตียงให้อยู่ระดับต่ำสุดทันทีที่ลูกน้อยนั่งได้

เก้าอี้โยกหรือเปลโยกที่เคลื่อนย้ายได้

เก้าอี้โยกจะมีประโยชน์มากเมื่อลูกยังเล็กๆ และสามารถปรับตามอายุเด็กได้ เก้าอี้โยกบางชนิดสามารถปรับความสูง ของที่พิงหลังได้ และถ้าเก้าอี้โยกที่คุณแม่เลือกมีลักษณะพิเศษเช่นนี้ คุณแม่ก็จะสามารถใช้เป็นเก้าอี้สำหรับป้อน อาหารตัวแรกให้ลูกได้ คุณแม่ควรตรวจดูความปลอดภัยดังต่อไปนี้

* ดูให้แน่ว่าฐานกว้างและมั่นคงเพื่อป้องกันการพลิกคว่ำ
* ตรวจดูว่าเก้าอี้โยก/เปลโยกมีสายรัดเพื่อความปลอดภัย “ห้าจุด”
* เก้าอี้โยกได้รับการออกแบบมาเพื่อให้ใช้บนพื้นเท่านั้น
* ตรวจบริเวณโดยรอบอย่าให้มีสิ่งที่อาจเป็นอันตราย


อุปกรณ์ป้อนอาหารลูกน้อย

หากเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อุปกรณ์ป้อนนมที่คุณแม่จำเป็นต้องใช้ จะมีน้อยมาก

* เก้าอี้สบายที่มีที่หนุนหลัง 1 ตัว
* แผ่นปิดเต้านมและบราสำหรับป้อนนมที่ใส่กระชับอย่างน้อย 3 ตัว
* เบาะสำหรับวางแขนและวางลูกน้อย เบาะรูปตัว “วี” จะดีที่สุด

หากคุณแม่เลือกที่จะเลี้ยงลูกด้วยอาหารทดแทนนมหรือนมผง คุณแม่จะต้องเตรียมสิ่งของต่อไปนี้ให้พร้อมเมื่อ กลับมาบ้าน

* อุปกรณ์ฆ่าเชื้อสำหรับทำความสะอาดขวดนม อาจเป็นเครื่องฆ่าเชื้อแบบไฟฟ้าหรือเป็นเตาไมโครเวฟก็ได้ หรือเพียงต้มขวดในของเหลวที่ใช้ฆ่าเชื้อ
* ควรมีขวดนมและจุกนมที่เหมาะกับลูกน้อยประมาณ 6 ชุด
* นมผงสูตรที่เหมาะสำหรับลูกน้อยและช้อนตวงนม
* อย่าลืมเตรียมเครื่องทำความสะอาดขวดและจุกนมไว้ด้วยเพื่อทำความสะอาดขวดและจุกนมได้สะอาดหมดจด

เครื่องช่วยเฝ้าติดตามเด็ก

ต่อไปนี้คือฟังก์ชั่นที่มีประโยชน์ของเครื่องมอนิเตอร์ที่คุณแม่ควรมองหาเมื่อเลือกซื้อมอนิเตอร์สักเครื่อง เครื่อง มอนิเตอร์นี้มีไว้สำหรับฟังเสียงลูกน้อยในขณะที่คุณอยู่อีกห้องหนึ่ง และไม่ควรใช้เครื่องนี้เมื่อคุณจะต้องอยู่ไกลจาก ลูกน้อยมากๆ

* ควรตรวจระยะห่างในการใช้งานระหว่างเครื่องลูกและเครื่องแม่
* เครื่องแม่ควรทำงานได้โดยใช้พลังงานจากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่ไฟบ้าน
* หากเครื่องแม่สามารถชาร์จไฟได้จะเป็นการดีที่สุด
* เครื่องแม่ควรมีไฟแสดงผลและมีฟังก์ชั่นเสียงด้วย
* เครื่องมอนิเตอร์บางรุ่นในปัจจุบันอาจมีเซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวและการหายใจเป็นฟังก์ชั่นพิเศษด้วย
* สำหรับเครื่องมอนิเตอร์บางรุ่น เครื่องลูกจะสามารถเรืองแสงได้ด้วย

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

0 comments:

Post a Comment

 

Mama And Baby Care Copyright © 2009 Baby Shop is Designed by Ipietoon Sponsored by Emocutez