A Blogger by Beamcool

Thursday, June 18, 2009

ครรภ์ของคุณแม่ - คำถามเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ที่พบบ่อย

Posted by wittybuzz at 4:48 AM

ฉันท้องแล้ว!

มีประสบการณ์เพียงไม่กี่อย่างในชีวิตที่น่าตื่นเต้นเท่ากับการรู้ว่าตัวเอง ตั้งครรภ์ คุณแม่จะรู้สึกทึ่งมากที่รู้ว่ามีอีกชีวิตหนึ่งกำลังเติบโตอยู่ในตัวเรา จากวินาทีที่คุณแม่เริ่มรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในร่างกาย หรือว่าตั้งแต่วินาทีที่รู้ตัวแน่แล้วว่าตัวเองกำลังท้อง คุณแม่อาจเริ่มรู้สึกหวงแหนและตั้งตารอคอยลูกน้อย นอกจากนี้ คุณแม่ยังอาจเริ่มคิดเรื่องที่จะฝากครรภ์อีกด้วย

คำถามที่พบบ่อย

การฝากครรภ์คืออะไร

การฝากครรภ์ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสุขภาพและตรวจหาสิ่งใดก็ตามที่อาจส่ง ผลกระทบต่อลูกน้อยที่กำลังเจริญเติบโตอยู่ในครรภ์ ในการไปตรวจครรภ์แต่ละครั้ง คุณแม่จะได้มีโอกาสปรึกษาคำถามหรือข้อกังวลต่างๆ ในการฝากครรภ์จะมีการตรวจปัสสาวะ ความดันโลหิตและน้ำหนักตัวคุณแม่ นอกจากนี้ แพทย์จะตรวจท้องเพื่อดูตำแหน่งและขนาดของลูกน้อยในครรภ์ด้วย ในสัปดาห์หลังๆ ของการตั้งครรภ์ จะสามารถตรวจจับการเต้นของหัวใจของลูกน้อยได้โดยใช้เครื่องมือขนาดจิ๋วซึ่ง เรียกว่าดอพโทน

ในการประเมิน จะมีการตรวจเลือดดังต่อไปนี้

* การนับเซลล์เม็ดเลือดตรวจหาภาวะโลหิตจาง (หากมีเซลล์เม็ดเลือดต่ำจะทำให้รู้สึกเหนื่อยง่ายและจะทำให้รับมือกับการ เสียเลือดได้ยากในระหว่างหรือหลังคลอด) และธาลัสซีเมีย (ซึ่งเป็นความผิดปรกติของเลือดทางพันธุกรรมซึ่งพบได้ทั่วไปในสิงคโปร์)
* ตรวจหาตับอักเสบและซิฟิลิส
* ตรวจหาภูมิต้านทานเชื้อรูเบลล่า (แล้วแต่ความต้องการ) เพื่อจัดทำประวัติการติดเชื้อนี้
* ตรวจหาเชื้อเอชไอวี เพราะหากคุณแม่ติดเชื้อนี้ จะมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเด็กในครรภ์

ฉันควรไปตรวจครรภ์เพื่อดูว่าลูกน้อยมีสิ่งผิดปรกติหรือไม่

คุณแม่จะได้รับการตรวจคัดกรองดังต่อไปนี้

* ตรวจเลือด (การตรวจคัดกรองซีรั่ม) เมื่อตั้งครรภ์ได้ 15-18 สัปดาห์ซึ่งจะวิเคราะห์สสาร 2 ชนิดในเลือด จากนั้นจะสามารถประเมินความเสี่ยงที่ลูกน้อยจะมีโครโมโซมผิดปรกติได้ หากประเมินว่ามีความเสี่ยงสูง แพทย์จะแนะนำให้ตรวจวินิจฉัย เช่น การตรวจน้ำคร่ำ การตรวจคัดกรองซีรั่มจะไม่แม่นยำเท่าการตรวจน้ำคร่ำ
* การตรวจอัลตร้าซาวด์อย่างละเอียด (การสแกนหาความผิดปกติ) เมื่อตั้งครรภ์ได้ 20 สัปดาห์เพื่อตรวจหาความผิดปกติทางร่างกายที่ร้ายแรง อย่างไรก็ตาม ความแม่นยำของการตรวจสแกนนี้มีขีดจำกัด หากคุณแม่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป สูตินรีแพทย์จะปรึกษาเรื่องการตรวจน้ำคร่ำกับคุณแม่เพื่อตรวจหาอาการดาวน์ซิ นโดรม

ฉันจำเป็นต้องทานอาหารเป็นพิเศษเผื่อลูกด้วยหรือไม่

เป็นความเชื่อที่พบได้บ่อยว่าคุณแม่ควรทานเผื่อลูกด้วย อันที่จริงแล้ว คุณแม่ส่วนใหญ่ไม่ต้องการพลังงานเพิ่มในช่วง 6 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ และจะต้องการพลังงานเพิ่มอีกเพียงวันละ 200 แคลอรี่ในช่วงสามเดือนสุดท้าย

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากว่าระดับน้ำตาลในเลือดจะผันผวนมากขึ้น ซึ่งเกิดจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของร่างกาย ดังนั้น สิ่งสำคัญคือคุณแม่ควรรับประทานเป็นเวลา รวมถึงการทานอาหารว่างระหว่างมื้อด้วย คุณแม่ส่วนใหญ่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 9-13 กิโลกรัมในระหว่างตั้งครรภ์ แม้ว่าแต่ละคนจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากน้อยแตกต่างกันไป คุณแม่ไม่ควรอดอาหารในช่วงนี้ เพราะอาจไปจำกัดสารอาหารที่สำคัญของลูกน้อยได้

อาหารที่ดีต่อสุขภาพ

วิธีที่ดีที่สุดก็คือ คุณแม่ควรทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพให้หลากหลายตลอดระยะเวลาที่ตั้งครรภ์ ควรทานอาหารที่มีสารอาหารหลักที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูก ได้แก่ อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง (ผักใบเขียว เนื้อแดง และถั่ว แม้ว่าแพทย์อาจจะให้วิตามินเสริมธาตุเหล็กมาทานด้วยก็ตาม) แคลเซียม (ผลิตภัณฑ์จากนม ปลาที่ทานได้ทั้งกระดูก เช่น ปลาซาร์ดีนและขนมปัง) และโฟเลท (เช่น ถั่วสีเขียว ส้ม ผักโขม กะหล่ำปลีหรือบร็อคโคลี่)

ควรพยายามทานอาหารกลุ่มต่อไปนี้ทุกวัน

* ผลไม้และผักสด 4 - 6 หน่วยบริโภค/วัน
* ขนมปัง ข้าว ซีเรียล มันฝรั่ง อย่างน้อย 1 หน่วยบริโภคต่อมื้อ วันละ 4 หน่วยบริโภค
* เนื้อสัตว์ไร้มัน เนื้อสัตว์ปีก ปลา ไข่ และถั่ว 2-3 หน่วยบริโภค/วัน
* ผลิตภัณฑ์จากนม : 2 - 3 หน่วยบริโภค/วัน

พยายามหลีกเลี่ยงอาหารดังต่อไปนี้

* ไข่ดิบ ซึ่งมีเชื้อแบคทีเรียซาลโมเนลล่า
* มายองเนสและไอศกรีมที่ทำเอง
* บลูชีส
* ตับหรือเนื้อบด
* เนื้อสัตว์และสัตว์มีเปลือกดิบหรือสุกๆดิบๆ
* ชีสชนิดนุ่มและนมที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อ

ทำไมโฟเลทจึงมีความสำคัญ

โฟเลทคือวิตามินบีที่มีความสำคัญต่อพัฒนาการทางระบบประสาทของลูกน้อยใน ครรภ์ มีการค้นพบว่าโฟเลทช่วยลดโอกาสที่เด็กจะมีท่อระบบประสาทผิดปรกติ (ความผิดปรกติที่จะกระทบต่อระบบประสาท) โฟเลทถูกทำลายได้ง่ายในระหว่างการปรุงอาหารและต้องทานอาหารเป็นปริมาณมาก เพื่อให้ได้โฟเลทในปริมาณที่เพียงพอ วิธีที่ง่ายที่สุดคือการทานโฟเลทเสริม (เม็ดละ 5 มิลลิกรัมวันละเม็ด) ในช่วงตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์แรก โฟเลทมีความสำคัญเป็นพิเศษหากคุณแม่มีอาการลมบ้าหมู ธาลัสซีเมีย หรือมีสมาชิกในครอบครัวที่มีประวัติว่ามีความผิดปรกติของท่อระบบประสาท

ทำไมฉันถึงรู้สึกตัวบวม

นั่นเป็นเพราะว่าร่างกายของคุณแม่เริ่มเก็บสะสมของเหลวไว้ อาการบวมน้ำหรือการเก็บสะสมน้ำไว้ในร่างกายเป็นอาการที่พบได้ทั่วไปซึ่งจะ รุนแรงยิ่งขึ้นหากคุณแม่ต้องยืนเป็นเวลานานๆ ข้อควรจำก็คือการจำกัดการดื่มของเหลวไม่ใช่กุญแจสำคัญในการป้องกันอาการบวม น้ำ คุณแม่ควรดื่มน้ำวันละ 2 ลิตร การดื่มน้ำให้เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญเพื่อเพิ่มปริมาณเลือดให้มากขึ้นซึ่งจะ เป็นตัวนำออกซิเจนและสารอาหารไปให้ลูกน้อย นอกจากนี้ คุณแม่ควรลดการดื่มชา กาแฟ และโคล่าด้วย เนื่องจากคาเฟอีนที่อยู่ในเครื่องดื่มเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อวิตามินใน อาหาร โดยเฉพาะวิตามินซี
ฉันจะสูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์ต่อไปได้หรือไม่
การสูบบุหรี่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลกระทบในทางลบทั้งต่อทั้งตัวคุณแม่และลูก น้อย โดยจะเพิ่มความเสี่ยงในการแท้งบุตรและการตั้งครรภ์นอกมดลูก เลือดออกในรก น้ำหนักตัวแรกคลอดต่ำและการคลอดก่อนกำหนด นอกจากนี้ ยังมีผลในระยะยาวซึ่งทำให้พัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กลดลง และมีความเสี่ยงที่เด็กจะไหลตายสูงขึ้น ดังนั้น คุณแม่จึงควรพยายามเลิกหรือลดการสูบบุหรี่ เพราะเป็นวิธีป้องกันปัจจัยเสี่ยงที่ง่ายที่สุด

ส่วนของแอลกอฮอล์นั้น การบริโภคแอลกอฮอล์สัปดาห์ละ 15 หน่วยขึ้นไป (1 หน่วย = ไวน์ 1 แก้วเล็ก) มีส่วนเกี่ยวข้องกับการที่เด็กมีน้ำหนักตัวแรกคลอดต่ำ ในขณะที่การดื่มแอลกอฮอล์สัปดาห์ละ 20 หน่วยขึ้นไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับความความบกพร่องทางสติปัญญาในเด็กและความผิด ปรกติของทารกในครรภ์ ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าการดื่มแอลกอฮอล์ต่ำกว่าสัปดาห์ละ 15 หน่วยจะมีผลกระทบในทางลบต่อการเจริญเติบโตหรือระดับไอคิวของเด็ก ดังนั้น จึงเป็นที่แนะนำว่าคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ควรระมัดระวังการดื่มแอลกอฮอล์ และจำกัดการดื่มอย่าให้เกิน 1 แก้วมาตรฐานต่อวัน

ฉันควรจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือไม่

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีประโยชน์เป็นอย่างยิ่ง ไม่เพียงต่อสุขภาพและพัฒนาการของลูกน้อยเท่านั้น แต่ยังช่วยสานความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูกอีกด้วย น้ำนมแม่มีสารอาหารที่จำเป็นทุกชนิดและมีภูมิคุ้มกันสำหรับปกป้องลูกน้อยใน ช่วงเดือนแรกซึ่งเป็นเวลาที่ลูกน้อยยังไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นเองได้

นอกจากนี้ มีหลักฐานแสดงว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยลดโอกาสที่จะเกิดโรคภูมิแพ้ โรคผิวหนัง หรือโรคหอบหืด โดยเฉพาะในครอบครัวที่มีประวัติเป็นโรคเหล่านี้

ฉันควรทำอย่างไรเกี่ยวกับการทานยา

ควรปรึกษาอายุรแพทย์หรือสูตินรีแพทย์ก่อนรับประทานยาใดๆ โดยเฉพาะในช่วงตั้งครรภ์สองสามเดือนแรก ซึ่งเป็น เวลาที่ลูกน้อยกำลังสร้างอวัยวะต่างๆ เพราะยาบางชนิดเป็นที่ทราบกันว่ามีผลกระทบต่อพัฒนาการของทารกใน ครรภ์ ดังนั้น หากคุณแม่ต้องทานยาเป็นเวลานานๆ เวลาที่เหมาะที่สุดในการทบทวนการทานยาก็คือเมื่อคุณแม่ วางแผนว่าจะพยายามมีบุตร การทานยาบางชนิดซึ่งเป็นผลดีต่อคุณแม่ แต่อาจความมีความเสี่ยงต่อลูกน้อยในครรภ์ ได้

ฉันจะออกกำลังกายต่อไปได้หรือไม่

หากคุณแม่เข้าชั้นเรียนบริหารร่างกายหรือเล่นกีฬาอยู่แล้ว คุณแม่ควรบอกผู้ฝึกสอนว่าตัวเองกำลังตั้งครรภ์อยู่ หาก คุณแม่ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำอยู่แล้ว คุณแม่อาจเริ่มเล่นกีฬาเบาๆ แต่ไม่ควรหักโหมเกินกว่าขีดจำกัดในขณะ ยังไม่ตั้งครรภ์ การออกกำลังกายไม่เพียงแต่จะช่วยให้คุณแม่กระฉับกระเฉงและเป็นประโยชน์ทางด้านจิตใจเท่านั้น แต่ยังช่วยลดอาการปวดหลังได้อีกด้วย การออกกำลังกายเพียงครั้งละ 20 นาที สัปดาห์ละสามครั้งก็เพียงพอแล้ว สำหรับคุณแม่

การว่ายน้ำและการเดินเป็นการออกกำลังกายสองอย่างที่ดีที่สุด อย่าลืมอบอุ่นร่างกายสักครู่ก่อนเริ่มออกกำลังกาย และคลายกล้ามเนื้อหลังจากออกกำลังกายเสร็จแล้วโดยการยืดเส้นเป็นเวลาอย่างน้อย 10 นาที การออกกำลังกาย เท้าจะช่วยให้การหมุนเวียนโลหิตและอาการบวมที่ข้อเท้าดีขึ้น ในขณะที่การขยับเชิงกรานจะช่วยให้กล้ามเนื้อ แข็งแรงขึ้นและบรรเทาอาการปวดหลังได้ การบริหารอุ้งเชิงกรานยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการกลั้นปัสสาวะ ไม่อยู่ (ปัสสาวะเล็ด) หลังคลอดได้อีกด้วย ในระหว่างตั้งครรภ์นั้น ควรเข้าห้องเซาว์น่าและสปาแต่พอดีเท่านั้น

การมีเพศสัมพันธ์ปลอดภัยหรือไม่

ไม่มีเหตุผลว่าทำไมคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ถึงมีเพศสัมพันธ์ที่มีความสุขไม่ได้ ที่จริงแล้ว ฮอร์โมนที่หลั่งออกมาในระหว่าง ตั้งครรภ์อาจทำให้คุณแม่มีความรู้สึกทางเพศมากขึ้นด้วยซ้ำ เมื่อครรภ์ใหญ่ขึ้น คุณแม่อาจต้องปรับเปลี่ยนท่าเพื่อหา ท่าที่สบายๆ หากมีเลือดออกเมื่อตั้งครรภ์ระยะแรกๆ เจ็บท้องคลอดก่อนกำหนด หรือมีภาวะรกเกาะต่ำ ควรปรึกษา แพทย์ ซึ่งแพทย์อาจจะแนะนำให้เว้นการมีเพศสัมพันธ์ไปสักระยะหนึ่ง

จะมีอันตรายเกิดขึ้นในที่ทำงานหรือไม่

แม่ว่าคุณแม่ส่วนใหญ่ยังคงทำงานได้อย่างปลอดภัยในขณะตั้งครรภ์ แต่มีงานบางประเภทที่อาจต้องใช้ความ ระมัดระวังมากขึ้น ตัวอย่างงานที่ถือว่าเป็นอันตรายได้แก่

* งานที่ต้องเกี่ยวข้องกับสารเคมี เช่น ยาฆ่าแมลง และสารเคมีบางชนิด
* งานที่ต้องสัมผัสกับรังสี
* งานที่ต้องสัมผัสกับสารละลายไฮโดรคาร์บอน เช่น น้ำยาซักแห้ง ตะกั่ว หรือปรอท

ฉันจะเดินทางในขณะตั้งครรภ์ได้หรือไม่

การเดินทางโดยเครื่องบินพาณิชย์ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงเป็นพิเศษต่อการตั้งครรภ์ โดยปกติแล้ว คุณแม่จะได้รับ อนุญาตให้เดินทางภายในประเทศได้จนถึงอายุครรภ์ 36 สัปดาห์ แต่อาจต้องงดการเดินทางไปต่างประเทศหลังจาก ตั้งครรภ์ได้ 32 สัปดาห์

คุณแม่ควรพกพาเอกสารที่ระบุวันครบกำหนดคลอดไปด้วย ในแง่ของความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดในขาในระหว่าง ตั้งครรภ์แล้ว คุณแม่ควรเดินทางทางอากาศให้น้อยที่สุด ขอแนะนำให้ลุกขึ้นเดินทุกๆ ครึ่งชั่วโมงในระหว่างการบินที่ ราบเรียบ พร้อมทั้งงอและยืดข้อเท้าด้วย

ควรดื่มน้ำมากๆ เนื่องจากในห้องโดยสารมีความชื้นต่ำ จึงส่งผลให้เกิดภาวะขาดน้ำได้ ภาวะบางอย่าง เช่น ภาวะโลหิตจางรุนแรง (มีเซลล์เม็ดเลือดแดงน้อย) หรือภาวะรกเกาะต่ำ คุณแม่ที่มีอาการเหล่านี้ห้ามขึ้นเครื่องบิน ซึ่งอาจเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้นได้ เช่น เลือดออกทางช่องคลอดหรืออาจเจ็บท้องคลอดได้ คุณแม่ควรให้แพทย์ประเมินอาการก่อนการเดินทางทางเครื่องบิน

ในระหว่างตั้งครรภ์นั้น จะมีอาการเตือนอย่างไรบ้างหากเกิดสิ่งผิดปกติ

ความดันสูงในระหว่างตั้งครรภ์

* เป็นอาการแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์ที่พบได้บ่อยที่สุด โดยพบได้หนึ่งใน 10 ของการตั้งครรภ์ และหนึ่งใน 5 หากเป็นการตั้งครรภ์แรก ในบางกรณี อาการอาจลุกลามและมีผลอย่างรุนแรงต่อทั้งคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์

มีอาการเตือนอย่างไรบ้าง

* อาการหลักๆ คือ ปวดศีรษะ รู้สึกมึนงง คลื่นไส้และอาเจียน สายตาพร่ามัวหรือเห็นภาพซ้อน รู้สึกไม่สบาย เนื้อไม่สบายตัวและมีอาการปวดท้องส่วนบน โชคไม่ดีที่อาการความดันโลหิตสูงในระหว่างตั้งครรภ์นั้นอาจทวีความรุนแรง ยิ่งขึ้นโดยไม่มีสัญญาณบ่งบอกชัดเจน ดังนั้น การไปพบแพทย์ที่คลินิกเป็นประจำจึงเป็นสิ่งสำคัญ

อาการเจ็บท้องคลอดก่อนกำหนด

* เด็กที่คลอดก่อนกำหนดมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการแทรกซ้อนต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะปัญหาด้านการ หายใจ คุณแม่ที่เจ็บท้องคลอดก่อนกำหนดอาจได้รับประโยชน์จากการฉีดสเตียรอยด์ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ปอดของเด็กพัฒนาสมบูรณ์ยิ่งขึ้น หากหลีกเลี่ยงการคลอดไม่ได้ อาจต้องมีการใช้ยาอื่นๆ เพื่อช่วยลดความรุนแรงในการบีบตัวของมดลูกและเพื่อรักษาสาเหตุที่ทำให้คุณ แม่เจ็บท้องคลอดก่อนกำหนด เช่น อาจมีการติดเชื้อร่วมด้วย

อาการเจ็บท้องคลอดเป็นอย่างไรบ้าง

* อาการเจ็บท้องคลอดจะเริ่มด้วยการบีบตัวของมดลูกเป็นระยะๆ และรู้สึกเจ็บท้อง หรือหน้าท้องหดเกร็ง มี “ร่องรอยเลือด” (เมือกที่มีเลือดปน) หรือ “ถุงน้ำคร่ำแตก” (เยื่อหุ้มรอบตัวเด็กในครรภ์ฉีกขาด) อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นเมื่อถึงกำหนดคลอด ซึ่งก็คือหลังตั้งครรภ์ได้ 37 สัปดาห์ การเจ็บท้องก่อนกำหนดหมายถึงเมื่อเกิดอาการเหล่านี้ตั้งครรภ์ครบ 37 สัปดาห์

เลือดออกทางช่องคลอด

ในระยะแรกของการตั้งครรภ์

* จุดเลือดสีจางๆ หรือเลือดออกทางช่องคลอดในช่วงแรกๆ ของการตั้งครรภ์นั้น อาจแสดงถึงความเป็นไปได้ของการแท้งบุตรหรือการตั้งครรภ์นอกมดลูก อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของการมีเลือดออกคือเกิดจากตัวอ่อนฝังตัวลงในมดลูก เมื่อตั้งครรภ์ได้ 4-5

ในระยะหลังของการตั้งครรภ์

* การมีเลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อยโดยมีเมือกเปื้อนเลือดในเดือนก่อน ที่จะครบกำหนดคลอดอาจเป็น “สัญญาณ” บ่งบอกว่าคุณแม่อาจเจ็บท้องคลอดภายในไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์ เลือดออกสีแดงสดซึ่งเป็นๆ หายๆ อาจเกิดจากภาวะรกเกาะต่ำ หรือจากการแยกตัวเล็กน้อยของรก

ลูกน้อยเคลื่อนไหวน้อยลง

ควรทำอย่างไร

* เด็กจะตื่นตัวมากที่สุดตอนที่คุณแม่พักผ่อน เนื่องจากเวลาพักผ่อนเป็นช่วงที่คุณแม่จะรู้สึกได้ถึงการเคลื่อนไหวของเขา มากขึ้น ดังนั้น คุณแม่จะสังเกตเห็นการเคลื่อนไหวของลูกได้บ่อยในตอนเย็นหรือในเวลาเข้านอน เด็กควรเตะอย่างน้อยสัก 10 ครั้ง ในช่วงเวลา 12 ชั่วโมง เด็กที่เคลื่อนไหวมากทำให้คุณแม่สบายใจได้ว่าเขามีสุขภาพแข็งแรงและคุณแม่ ไม่ต้องเป็นกังวลกับการที่เขาเคลื่อนไหวมากเกินไป

ทำไมการที่ลูกเคลื่อนไหวน้อยลงถึงสำคัญ

* คุณแม่ควรกังวลและหาความช่วยเหลือหากลูกน้อยเคลื่อนไหวลดลงอย่างต่อ เนื่อง ภาวะเด็กเสียชีวิตในครรภ์ก่อนคลอดบางครั้งจะเริ่มมีอาการโดยลูกน้อยมีการ เคลื่อนไหวลดลง

ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนที่จะเจ็บท้องคลอด

จะมีอาการอย่างไรบ้าง

* ปรกติแล้วถุงน้ำจะแตก (โดยธรรมชาติหรือโดยสูตินรีแพทย์) เมื่อคุณแม่เริ่มเจ็บท้องคลอด หากถุงน้ำคร่ำแตกก่อนที่จะเจ็บท้องคลอด ลูกน้อยในครรภ์ก็จะมีความเสี่ยงมากขึ้น อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้คือ การติดเชื้อหรือสายสะดือไหลออกมาทางปากมดลูก

จะมีอาการอย่างไรบ้าง

* หากคุณแม่รู้สึกว่ามีน้ำใสๆ ไหลเป็นจำนวนมากออกมาจากช่องคลอดหรือไหลอย่างต่อเนื่อง ควรไปปรึกษาสูตินรีแพทย์

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

0 comments:

Post a Comment

 

Mama And Baby Care Copyright © 2009 Baby Shop is Designed by Ipietoon Sponsored by Emocutez