A Blogger by Beamcool

Sunday, June 14, 2009

ครรภ์ของคุณแม่ - อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

Posted by wittybuzz at 5:47 AM

คุณแม่ส่วนใหญ่มักจะไม่มีปัญหาใดๆ เลยในระหว่างตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม มีคุณแม่เพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ที่มีอาการแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์ เราพยายามค้นหาอาการแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยและนำมารายงานให้คุณแม่ทราบโดยย่อๆ หากต้องการข้อมูลหรือคำแนะนำเพิ่มเติม ควรไปปรึกษาแพทย์

การตั้งครรภ์นอกมดลูก

การตั้งครรภ์นอกมดลูกนี้จะเกิดเมื่อไข่ที่ได้รับการผสมแล้วฝังตัวอยู่ในท่อ นำไข่แทนที่จะฝังตัวในมดลูก การตั้งครรภ์นอกมดลูกนี้พบได้น้อย แต่หากทิ้งไว้ไม่รักษา ก็จะมีผลร้ายแรงได้ หากไม่ตรวจพบอาการนี้ตั้งแต่เนิ่นๆ อาจทำให้ท่อนำไข่ฉีกขาดได้ หากเป็นเช่นนั้นแล้ว อย่างน้อยที่สุดคุณแม่ก็จะอาจมีปัญหาในการมีบุตรในอนาคต หรืออาจถึงขนาดที่เป็นอันตรายต่อชีวิตได้

อาการ

หากพบว่ามีอาการใดอาการหนึ่งดังต่อไปนี้ ควรไปพบแพทย์ในทันที

* เจ็บปวดปานกลางหรือรุนแรงบริเวณหน้าท้องโดยเริ่มที่ข้างใดข้างหนึ่ง อาการปวดนี้อาจลามไปทั่วทั้งบริเวณหน้าท้องได้
* มีเลือดออกเล็กน้อยจนถึงมาก
* มีอาการคลื่นไส้อาเจียน
* รู้สึกอ่อนล้า วิงเวียนและเป็นลม

การวินิจฉัย

หากแพทย์สงสัยว่าคุณตั้งครรภ์นอกมดลูก แพทย์อาจสั่งให้เข้ารับการตรวจบางอย่างต่อไปนี้

* ตรวจเลือดเพื่อวัดระดับ hCG หากระดับ hCG ไม่เพิ่มขึ้นหรือมีระดับลดลง แสดงว่าครรภ์อาจผิดปรกติ
* อัลตร้าซาวนด์เพื่อดูว่าเห็นถุงน้ำคร่ำอยู่ในมดลูกหรือว่ามีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นในท่อนำไข่
* การส่องกล้องเป็นเครื่องมือวินิจฉัยขั้นสุดท้ายซึ่งช่วยให้แพทย์มองเห็นท่อนำไข่ได้โดยตรง

การรักษา

โชคร้ายที่การตั้งครรภ์นอกมดลูกมักจะต้องนำเอาทารกในครรภ์ออกด้วยการผ่าตัด ซึ่งแพทย์จะทำทุกวิถีทางเพื่อป้องกันความสามารถในการมีบุตรในอนาคตของคุณแม่ ไว้ แม้ว่าจะทำไม่ได้เสมอไปก็ตาม หลังการผ่าตัดคุณแม่อาจได้รับการตรวจเลือดและต้องไปพบแพทย์เพื่อให้แน่ใจว่า เนื้อเยื่อจากการตั้งครรภ์ได้ถูกนำออกไปจนหมดแล้ว

หลังจากการตั้งครรภ์นอกมดลูกแล้ว เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ในอนาคต ขอแนะนำว่าคุณแม่ควรทำอัลตร้าซาวด์ตั้งแต่เนิ่นๆ เมื่อตั้งครรภ์ได้ประมาณ 6-8 สัปดาห์เพื่อหาตำแหน่งของถุงน้ำคร่ำ

นอกจากต้องเสียลูกไปแล้ว คุณแม่ยังอาจต้องรับมือกับความเครียดเนื่องจากความสามารถในการมีลูกในอนาคต จะลดลง คุณแม่และสามีอาจรับมือกับเรื่องนี้ต่างกัน และอาจต้องไปปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ

ข้อมูลเพิ่มเติม

* รายงานโดย ดร. เอริค เดเทอร์
* เว็บไซต์ Estronaut

โรคเบาหวานในระหว่างตั้งครรภ์

ในระหว่างการตั้งครรภ์นั้น ร่างกายของคุณแม่จะสร้างฮอร์โมนขึ้นมาหลากหลายชนิด บางครั้งฮอร์โมนเหล่านี้จะไปทำให้การผลิตอินซูลินในร่างกายผิดปรกติไป และทำให้คุณแม่เป็นโรคเบาหวานในระหว่างตั้งครรภ์ได้ ผลของโรคเบาหวานในระหว่างตั้งครรภ์นี้อาจทำให้ลูกน้อยเกิดมามีระดับน้ำตาลใน เลือดต่ำ ซึ่งมักจะได้รับการรักษาโดยเร็วหลังคลอด มีหลักฐานสนับสนุนว่าคุณแม่ที่เป็นโรคเบาหวานในระหว่างตั้งครรภ์ เด็กที่เกิดมาจะมีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักตัวมากกว่าคุณแม่ที่ไม่ได้เป็นเบา หวาน ผลที่ตามมาก็คือ คุณแม่อาจจะต้องใช้วิธีผ่าตัดคลอด แม้ว่าจะไม่จำเป็นเสมอไปก็ตาม

อาการ

หากมีอาการดังต่อไปนี้ คุณอาจเป็นโรคเบาหวานในระหว่างตั้งครรภ์ก็ได้

* หิวและกระหายมากเกินควร
* ปัสสาวะบ่อย (โดยเฉพาะในช่วงเดือนที่สี่ถึงเดือนที่หกซึ่งเป็นเวลาที่คุณแม่ควรจะมีอาการปัสสาวะบ่อยลดลงแล้ว)
* ความดันโลหิตสูงขึ้น
* มีอาการติดเชื้อในช่องคลอดเป็นๆ หายๆ

การวินิจฉัย

คุณแม่ทุกท่านจะได้รับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ หรือการตรวจความทนทานต่อเบาหวานเมื่ออายุครรภ์ได้ 24-26 สัปดาห์ หากผลการตรวจผิดปรกติ คุณแม่จำเป็นจะต้องได้รับการตรวจอื่นๆ ต่อไป

การรักษา

* เมื่อไปพบนักโภชนาการ คุณแม่จะได้เรียนรู้วิธีการควบคุมระดับน้ำตาลโดยการปรับเปลี่ยนอาหาร
* นอกจากนี้ คุณแม่จะต้องตรวจเลือดตามเวลาที่กำหนดตลอดทั้งวันเพื่อตรวจดูระดับน้ำตาลในเลือด
* หากการปรับเปลี่ยนอาหารไม่สามารถควบคุมอาการเบาหวานในขณะตั้งครรภ์ได้ คุณแม่ก็อาจจำเป็นต้องฉีดอินซูลินตลอดระยะเวลาตั้งครรภ์ที่เหลือ
* อาการเบาหวานในขณะตั้งครรภ์มักจะหายไปหลังคลอด

การแท้งบุตรและทารกเสียชีวิตในครรภ์

คำว่า “การแท้งบุตร” ใช้อธิบายการเสียชีวิตของทารกในครรภ์ก่อนมีอายุได้ 20 สัปดาห์ และคำว่า “ทารกเสียชีวิตในครรภ์” ใช้อธิบายการเสียชีวิตของทารกในครรภ์ที่อายุเกินกว่า 20 สัปดาห์

ตามสถิติแล้ว การแท้งบุตรส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นใน 12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์และมักจะมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของทารกในครรภ์

การแท้งในระยะหลังมักเกิดจากปากมดลูกที่ไม่สมบูรณ์เริ่มขยายก่อนเวลาอันควร รกที่ไม่เพียงพอก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดการแท้งได้ ซึ่งรกให้ออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอแก่ทารกในครรภ์

อาการ

* มีร่องรอยหรือมีเลือดไหลออกจากช่องคลอด
* ปวดท้องขนาดปานกลางจนถึงขึ้นรุนแรง
* วิงเวียนศีรษะ
* มีไข้สูง

การวินิจฉัย

แพทย์อาจให้คุณแม่ทำอัลตร้าซาวด์เพื่อประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์ ซึ่งอาจเป็นอัลตร้าซาวด์ภายนอกหรือภายในก็ได้ขึ้นอยู่กับระยะของการตั้ง ครรภ์
นอกจากนี้ แพทย์อาจทำการตรวจเลือดเพื่อดูระดับฮอร์โมนอีกด้วย

การรักษา

อาจ ไม่จำเป็นต้องทำการรักษาใดๆ หากคุณแม่แท้งบุตรในช่วงแรกๆ ของการตั้งครรภ์ เนื่องจากร่างกายของคุณแม่น่าจะขับของเสียที่อยู่ภายในมดลูกออกมาได้เองตาม ธรรมชาติ

อย่างไรก็ตาม หากมดลูกไม่ขับของเสียออกตามธรรมชาติ ก็อาจจำเป็นต้องทำการผ่าตัดที่เรียกว่าการขูดมดลูกเพื่อจะนำสิ่งที่ตก ค้างอยู่จากการตั้งครรภ์ออก

หากปากมดลูกคุณแม่ไม่แข็งแรง ก็อาจจำเป็นต้องเย็บปากมดลูกเพื่อป้องกันไม่ให้ปากมดลูกขยายตัวมากขึ้น
แม้ว่าคุณแม่ส่วนใหญ่จะไม่มีผลกระทบทางร่างกายในระยะยาวจากการแท้งบุตร แต่ไม่ควรมองข้ามผลกระทบทางด้านจิตใจ คุณแม่และสามีอาจมีวิธีรับมือกับผลกระทบทางจิตใจจากการสูญเสียลูกแตกต่างกัน และการไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก็อาจเป็นประโยชน์ก็ได้

ภาวะตับผิดปกติในระหว่างตั้งครรภ์

ภาวะตับผิดปกติใน ระหว่างตั้งครรภ์เป็นอาการที่พบได้ยากและคุณแม่จะมีอาการคันมาก ตับที่ทำงานได้ตามปกติจะสร้างน้ำดีที่เคลื่อนที่ผ่านลำไส้และช่วยในการย่อย อาหาร ในผู้ที่มีอาการภาวะตับผิดปกติในระหว่างตั้งครรภ์ น้ำดีจะมีปริมาณมากและก่อให้เกิดภาวะเป็นพิษได้ และน้ำดีจะเข้าสู่กระแสเลือดของคุณแม่และก่อให้เกิดอาการดังต่อไปนี้ สิ่งสำคัญก็คือ ควรตรวจอาการนี้ให้พบ เนื่องจากอาจส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสุขภาพของทารกในครรภ์ได้ โดยเฉพาะมีอายุครรภ์เกิน 36 สัปดาห์

อาการ

* อาการคันอย่างรุนแรง โดยเฉพาะบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า ซึ่งอาการคันอาจเป็นอาการเพียงอย่างเดียวที่ปรากฏให้เห็นก็ได้
* อาการคันมักจะรุนแรงยิ่งขึ้นในเวลากลางคืน
* อาการคันอาจลามไปทั่วร่างกาย
* ดีซ่าน
* ปัสสาวะมีสีเข้ม
* อุจจาระมีสีซีด
* อาการเหล่านี้อาจพบเห็นได้ชัดเจนมากขึ้นในท้องหลังๆ

การวินิจฉัย

* มักจะใช้วิธีตัดตัวเลือกที่ไม่ใช่ทิ้ง
* การตรวจเลือดซึ่งควรรวมการตรวจน้ำดีและการทำงานของตับด้วย
* หากตรวจพบผลเป็นลบในครั้งแรกและยังคงมีอาการคันอยู่ ควรตรวจซ้ำ

การรักษา

* แพทย์ทำอะไรได้ไม่มากในการรักษาอาการนี้ คุณแม่บางท่านรายงานว่าอาการบรรเทาลงได้โดยการใช้การรักษาแบบ Homeopathic Therapy
* เป็นไปได้มากที่คุณแม่จะได้รับการกระตุ้นให้คลอดเมื่อตั้งครรภ์ได้ประมาณ 36-38 สัปดาห์ เพื่อให้มีโอกาสคลอดได้อย่างปลอดภัยมากที่สุด
* หลังการคลอดลูกน้อยแล้ว อาการจะหายไปค่อนข้างรวดเร็วและการทำงานของตับจะกลับสู่สภาวะปรกติ อย่างไรก็ตาม คุณแม่ควรเข้ารับการตรวจเลือดหลังคลอดเพื่อยืนยันว่าหายเป็นปกติดีแล้ว

ข้อมูลเพิ่มเติม

คุณแม่กับอาการคันๆ กลุ่มสนับสนุนและแหล่งข้อมูลออนไลน์

ภาวะรกเกาะต่ำ

ภาวะรกเกาะต่ำคือคำที่ใช้อธิบายภาวะที่รกอยู่ในตำแหน่งครึ่งล่างของมดลูก คุณแม่หลายท่านได้รับแจ้งในช่วงตั้งครรภ์ระยะแรกๆ ว่าคุณแม่มีภาวะรกเกาะต่ำ แต่ประมาณร้อยละ 95 ของกรณีทั้งหมด รกจะขยับขึ้นไปอยู่ที่ครึ่งบนของมดลูกได้เองตามธรรมชาติในช่วงที่สองของการ ตั้งครรภ์
ภาวะรกเกาะต่ำมีความรุนแรงหลายระดับ ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดว่าแพทย์จะให้การรักษาอย่างไร

* ภาวะรกเกาะต่ำอย่างสมบูรณ์คือการที่รกปิดปากมดลูกสนิท
* ภาวะรกเกาะต่ำบางส่วนคือการที่รกปิดปากมดลูกบางส่วน
* ภาวะรกเกาะต่ำเล็กน้อยคือการที่รกเพียงแค่สัมผัสกับปากมดลูก

หากรกปิดปากมดลูกสนิทหรือปิดบางส่วน คุณแม่ก็อาจไม่สามารถคลอดลูกตามธรรมชาติได้

อาการ

คุณแม่คงจะทราบภาวะของตัวเองก่อนที่อาการจะปรากฏขึ้นจนเด่นชัด

* อาจมีเลือดไหลออกมาเองก่อนที่จะเริ่มเจ็บท้องคลอด
* เลือดที่ไหลออกมามักจะทำให้รู้สึกเจ็บปวดใดๆ ซึ่งเลือดอาจไหลออกมาได้เมื่อยกของ จาม ไอ หรือมีเพศสัมพันธ์
* หากมีเลือดออกไม่ว่าจะเวลาใดก็ตามในระหว่างตั้งครรภ์ ควรไปพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ

การวินิจฉัย

ภาวะรกเกาะต่ำนี้มักจะตรวจพบในระหว่างการตรวจด้วยอัลตร้าซาวด์ตามปกติ ควรหลีกเลี่ยงการตรวจภายใน เนื่องจากอาจทำให้มีเลือดออกมากขึ้น

การรักษา

การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ โดยที่คุณแม่อาจได้รับคำแนะนำดังต่อไปนี้

* ระมัดระวังในการปฏิบัติกิจกรรมทางกายต่างๆ
* พักผ่อนให้มากๆ
* ควรตรวจอัลตร้าซาวด์เพื่อติดตามผลเมื่ออายุครรภ์ได้ 28-34 สัปดาห์เพื่อประเมินดูว่ารกมีการเคลื่อนที่หรือไม่
* อาจถูกจำกัดให้นอนพักอยู่แต่บนเตียงเท่านั้น
* อาจต้องเข้าพักในโรงพยาบาล โดยที่คุณแม่และลูกน้อยในครรภ์จะได้รับการตรวจและเฝ้าระวัง
* มีโอกาสค่อนข้างสูงที่จะต้องใช้วิธีผ่าตัดคลอด โดยที่แพทย์จะพยายามทุกวิถีทางเพื่อเลื่อนการคลอดออกไปจนผ่านสัปดาห์ที่ 37

ข้อมูลเพิ่มเติม

* ช่องเพื่อสุขภาพที่ดีกว่า “ภาวะรกเกาะต่ำ”

ภาวะรกลอกตัว

คือภาวะที่รกแยกตัวหรือลอกตัวออกจากมดลูก คุณแม่จะมีเลือดออกอย่างมากเข้าสู่มดลูกหรือออกจากช่องคลอด ซึ่งจะทำให้เด็กขาดออกซิเจนและสารอาหาร แม้ว่าภาวะรกลอกตัวนี้จะพบได้ยาก แต่ก็มีความรุนแรงมาก

อาการ

* มดลูกบีบตัว
* เจ็บและปวดบริเวณท้อง
* เด็กในครรภ์ขาดออกซิเจน
* คุณแม่อาจมีอาการช็อค
* มีเลือดออกภายในหรือออกจากช่องคลอด

การวินิจฉัย

ภาวะรกลอกตัวมักยืนยันได้จากการตรวจด้วยอัลตร้าซาวด์

การรักษา

เป็นที่ค่อนข้างแน่นอนว่าคุณแม่จะต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โดยที่คุณแม่และลูกน้อยจะได้รับการเฝ้าติดตาม นอกจากนี้ ยังมีความเป็นไปได้สูงว่าจะต้องทำคลอดเร็วขึ้นโดยการผ่าตัด

ภาวะความดันโลหิตสูงในระหว่างตั้งครรภ์

ภาวะความดันโลหิตสูงเป็นอาการร้ายแรงในการตั้งครรภ์และหากไม่รักษา ก็อาจนำไปสู่ภาวะรกล้มเหลวและทำให้เกิดอาการชักได้ ซึ่งการชักอาจทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อกระตุก หมดสติและอาจเสียชีวิตได้ อาการของคุณแม่ไม่น่าจะรุนแรงจนถึงขั้นนั้น เนื่องจากแพทย์หรือพยาบาลควรจะสามารถจับสัญญาณเตือนได้ตั้งแต่เนิ่นๆ จากการตรวจครรภ์ตามปกติ

อาการ

* มือ เท้าและใบหน้าบวมอย่างเฉียบพลันและรุนแรง
* ความดันโลหิตสูง
* ปวดศีรษะ
* วิงเวียน
* เป็นไข้
* หงุดหงิดง่าย
* สายตาพร่ามัว
* ปัสสาวะลดลง
* ปวดท้อง

การวินิจฉัย

มีแนวโน้มว่าแพทย์หรือพยาบาลจะตรวจจับสัญญาณเตือนได้ตั้งแต่เนิ่นๆ จากการตรวจครรภ์ตามปกติ โดยการตรวจ

* ความดันโลหิต
* ระดับโปรตีนในปัสสาวะ

ภาวะ ความดันโลหิตสูงในขณะตั้งครรภ์สามารถเกิดขึ้นได้อย่างทันทีทันใด ดังนั้น คุณแม่จึงควรรับทราบถึงอาการต่างๆ และควรแจ้งให้แพทย์ในทราบทันทีหากสงสัยว่ามีอาการผิดปรกติใดๆ เกิดขึ้น

การรักษา

* หากอาการเป็นไม่มาก คุณแม่ต้องพักผ่อน
* อาจต้องทานยา
* อาจต้องเข้าโรงพยาบาล
* อาจจำเป็นต้องใช้วิธีผ่าตัดคลอดก่อนกำหนด

ข้อมูลเพิ่มเติม

# ห้องปฏิบัติการวิจัยภาวะความดันโลหิตสูงในระหว่างตั้งครรภ์

การคลอดก่อนกำหนด

จะถือได้ว่าลูกน้อยคลอดก่อนกำหนด หากคุณแม่คลอดก่อนที่จะตั้งครรภ์ครบ 37 สัปดาห์

เด็ก ที่คลอดก่อนกำหนดส่วนใหญ่จะมีอาการแทรกซ้อนบางอย่างซึ่งเป็นผลจากการพัฒนา ที่ยังไม่สมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม ด้วยการดูแลรักษาโดยผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด อัตรารอดชีวิตของเด็กที่คลอดก่อนกำหนดจึงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การคลอดก่อนกำหนดไม่เพียงแต่เป็นการบั่นทอนสภาพร่างกาย เท่านั้น แต่ยังเป็นเรื่องสะเทือนจิตใจด้วยเช่นกัน คุณพ่อและคุณแม่ส่วนใหญ่เคยพบเจอประสบการณ์นี้มาก่อนจะแนะนำว่าให้หากำลังใจ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

ปัญหาเรื่องกลุ่มเลือด

ปัญหา นี้มักมีผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ที่สองเป็นต้นไปมากกว่าการตั้งครรภ์ครั้งแรก อาการแทรกซ้อนสามารถเกิดขึ้นได้หากคุณแม่และสามีมีรีซัสแฟกเตอรในเลือดที่ ต่างกัน คุณแม่จะได้รับการตรวจหาค่ารีซัสแฟกเตอรในการตรวจเลือดตามปกติในระหว่าง ตั้งครรภ์ระยะแรกๆ หากคุณแม่มีค่า Rh เป็นลบ (Rh-) ก็จะต้องทดสอบหาค่า Rh แฟกเตอรของสามีเพื่อดูว่าเข้ากันได้หรือไม่ หากสามีมีค่า Rh เป็นบวก (Rh+) มีแนวโน้มว่าลูกจะมีค่า Rh+ ด้วยเช่นกันและจะไม่เข้ากับกลุ่มเลือดของคุณแม่ ร่างกายของคุณแม่จะสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านสิ่งแปลกปลอมเมื่อเลือดของ คุณแม่สัมผัสกับเลือดของลูก (มักจะเกิดขึ้นระหว่างการคลอดลูกครั้งแรก)

ในการตั้งครรภ์ครั้งต่อไปจะมีโอกาสที่จะเกิดอาการแทรกซ้อนขึ้นได้ เพราะร่างกายของคุณแม่จะพยายามต่อต้านเซลล์เม็ดเลือดแดงของลูก

การรักษา

โชคดีที่ปัญหาเรื่องกลุ่มเลือดนี้รักษาได้ง่าย.

หากคุณแม่มีค่า Rh- คุณแม่จะได้รับการฉีด Anti-D เป็นประจำ ซึ่งจะไปทำลายภูมิต้านทานที่ร่างกายอาจสร้างขึ้นในกระแสเลือดหลังจากการตั้ง ครรภ์ครั้งแรก

สำหรับการตั้งครรภ์ครั้งต่อไปนั้น คุณแม่จะได้รับการตรวจเลือดตั้งแต่เนิ่นๆ ว่ามีภูมิคุ้มกันหลงเหลืออยู่หรือไม่ คุณแม่อาจได้รับการตรวจเลือดเป็นประจำตลอดการตั้งครรภ์เพื่อให้แน่ใจว่าร่าง กายของคุณแม่ไม่สร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาอีก

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร

หากคุณแม่มีอาการใดอาการหนึ่งดังต่อไปนี้ คุณควรไปพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในทันที หากไม่สามารถไปพบแพทย์ได้ ก็ควรไปยังแผนกฉุกเฉินที่อยู่ใกล้ที่สุดหรือโทรเรียกรถฉุกเฉิน

* มีเลือดออกหรือมีสารคัดหลั่งออกจากช่องคลอดซึ่งผิดปรกติ
* หากสงสัยว่าถุงน้ำคร่ำแตก
* มีอาการปวดศีรษะบ่อยและรุนแรง
* หากปัสสาวะแล้วเจ็บปวดหรือแสบร้อน
* คลื่นไส้หรืออาเจียนอย่างรุนแรงและอย่างต่อเนื่อง
* มีอาการปวดท้องหรือเป็นตะคริวที่ท้อง
* เวียนศีรษะหรือเป็นลมบ่อย
* สายตาพร่ามัว เห็นแสงสีขาวหรือแสงวูบวาบ หรือมีจุดในตาด้านหนา
* มือ เท้า และหน้าบวมเฉียบพลัน
* หากมีการบาดเจ็บเกิดขึ้นที่บริเวณท้อง
* หากสังเกตเห็นว่าลูกน้อยมีการเคลื่อนไหวน้อยลงอย่างมาก
* มีไข้สูงเกินกว่า 38 องศาเซลเซียสเมื่อวัดทางปาก
* มีอาการที่คุณแม่รู้สึกวิตกกังวลและต้องการคำแนะนำทางจากแพทย์

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

0 comments:

Post a Comment

 

Mama And Baby Care Copyright © 2009 Baby Shop is Designed by Ipietoon Sponsored by Emocutez