A Blogger by Beamcool

Monday, September 7, 2009

การเลี้ยงดูลูก - สุขภาพ ( อาการเจ็บป่วยทั่วไป - ไอ เป็นหวัดและอื่นๆ )

Posted by wittybuzz at 7:43 AM

ตารางข้อมูลอ้างอิงอันเป็นประโยชน์เมื่อพบอาการ ไม่สบายทั่วไปในเด็กจะช่วยคุณให้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้องเหมาะสมที่สุดเมื่อ ลูกน้อยไม่สบาย

หลอดลมอักเสบ

* มักเกิดกับทารกในช่วง 12 เดือนแรก
* เป็นการติดเชื้อไวรัสในทางเดินหายใจ
* ทางเดินหายใจอักเสบและเต็มไปด้วยน้ำมูกและมีผลกระทบต่อการทำงานของปอด
* แพร่กระจายทางการไอ จาม และการสัมผัสโดยตรง (เช่น ทางกระดาษทิชชู่)

อาการ

* น้ำมูกไหล จามและมีไข้
* เริ่มไอในเวลาเพียงไม่กี่วัน
* หายใจออกมีเสียงดัง
* หายใจลำบาก หายใจติดขัด และเวลาหายใจ หน้าอกจะยกตัวขึ้นสูงกว่าปกติ

การรักษา

* ไปพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ
* ขอความช่วยเหลือจากแพทย์โดยด่วนหากพบว่าลูกน้อยหายใจลำบาก

อีสุกอีใส (เชื้อไวรัส Varicella-zoster)

* ติดต่อทางการสัมผัสได้เร็วมาก
* แพร่กระจายผ่านการสัมผัสโดยตรงกับผู้ที่มีเชื้อหรือสัมผัสกับแผลหรือกับฝอยน้ำลายจากการไอหรือจาม
* ระยะเวลาการติดต่อคือ 2 วันก่อนที่จะมีผื่นขึ้นจนถึงเมื่อตุ่มน้ำแห้งจนตกสะเก็ด
* ระยะฟักตัวคือ 10 - 21 วันหลังได้รับเชื้อ
* ควรหลีกเลี่ยงอย่าสัมผัสกับสตรีมีครรภ์

อาการ

* มีไข้ เจ็บคอและปวดศีรษะ
* มีผื่นคันขึ้นทั่วร่างกาย
* มีผื่นหรือตุ่มน้ำเล็กๆขึ้นโดยผิวบริเวณนั้นจะมีสีชมพูแดง
* ตุ่มน้ำจะค่อยๆ แตกและตกสะเก็ด (ประมาณ 5 วันหลังเกิดตุ่มน้ำ)
* อาจมีตุ่มน้ำเกิดขึ้นในปากได้

การรักษา

* ให้ทานพาราเซตามอลหรือไอบูโพรเฟน
* อาบน้ำเย็น
* ประคบด้วยผ้าเย็น
* ทาครีม (ขอคำแนะนำจากเภสัชกร) หากพบว่ามีอาการแทรกซ้อน ให้ปรึกษาแพทย์

ไข้หวัดธรรมดา


* มีการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนต้น
* มีอาการไอและจาม
* ติดต่อโดยการสัมผัสโดยตรง
* ติดต่อได้จนกว่าอาการจะหาย

เกิดอาการทั้งหมดหรืออาการใดอาการหนึ่งดังต่อไปนี้ :


* คัดจมูกหรือน้ำมูกไหล
* จาม
* เจ็บคอ
* ไอ
* ปวดศีรษะ
* มีไข้ตัวร้อน

การรักษา

* ให้ดื่มน้ำมากๆ
* ให้ทานพาราเซตามอลหรือไอบูโพรเฟน
* ให้ใช้ยาพ่นหรือยาหยอด จมูก ปรึกษาเภสัชกรเพื่อขอคำแนะนำ

ไปพบแพทย์หากพบว่า :

* มีไข้สูงอย่างต่อเนื่อง
* มีอาการหายใจลำบาก
* ปวดศีรษะอย่างมาก
* คอแข็งขยับลำบาก
* เซื่องซึม

ตาแดง

* มีเนื้อเยื่อตาเกิดการอักเสบ
* ติดต่อได้เร็วมากและอาจแพร่กระจายได้ทางการสัมผัสมือหรือการสบตาหรือการสัมผัสเสื้อผ้าของผู้มีเชื้อนี้
* ระยะฟักตัวคือ 2-3 วันไปจนถึงหนึ่งสัปดาห์

อาการ

* มีของเหลวสีขาวหรือสีเหลืองออกจากตา
* เปลือกตาอาจติดกันหลังนอนหลับ
* อาจคันและระคายตา
* อาจเกิดจ้ำเลือดที่ตา

การรักษา

* ขอคำแนะนำจากแพทย์ อาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะหยอดตา
* ใช้ผ้าที่ฆ่าเชื้อแล้วหรือผ้าฝ้ายสะอาดๆ ชุบน้ำเกลือเช็ดจากหางตาเข้าหาจมูก
* ล้างมือหลังเช็ดทำความสะอาดตาทุกครั้ง
* หลีกเลี่ยงการใช้ผ้าเช็ดตัวหรือเสื้อผ้าร่วมกับผู้อื่นในขณะที่ยังมีของเหลวหลั่งออกจากตา

ท้องผูก


* ทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่มักไม่มีอาการท้องผูก ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะถ่ายอุจจาระ 7-10 วันต่อครั้ง
* อาการท้องผูกมักเกิดขึ้นในทารกที่เลี้ยงด้วยนมขวด
* เด็กโตอาจเกิดอาการท้องผูกได้หลังทานอาหารแปลกใหม่ เนื่องจากร่างกายต้องปรับตัว

อาการ

* ถ่ายไม่บ่อยและ
* ถ่ายอุจจาระลำบากและ
* อุจจาระเป็นก้อนแข็งหรือเป็นเม็ดและ
* รู้สึกเจ็บเวลาถ่ายอุจจาระและมีเลือดออกเป็นครั้งคราว

การรักษา

* ให้ทานน้ำมากๆ
* อาบน้ำอุ่น
* ยกขาขึ้นและขยับขึ้นลงเบาๆ
* ทานอาหารที่มีเส้นใยสูงให้มากขึ้น (สำหรับเด็กโต)
* ออกกำลังกายเป็นประจำ
* ใช้เวลานั่งส้วมสบายๆ โดยไม่ต้องรู้สึกกดดันและไม่ต้องจำกัดเวลา
* นวดบริเวณท้อง
* หากเกิดอาการท้องผูกเป็นประจำ ให้ไปปรึกษาแพทย์

อาการไอ

* มักเป็นส่วนหนึ่งหรือตามมาด้วยอาการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนต้น
* ติดต่อง่ายจนกว่าอาการจะหาย.

อาการ

* อาจมีอาการไอแห้งหรือไอมีเสมหะ
* มี อาการคล้ายไข้หวัด
* คอยสังเกตสัญญาณของอาการ-โรคไอกรน อาการทางเดินหายใจอุดตัน หลอดลมอักเสบ หรือปวดบวม

การรักษา

* ให้ดื่มน้ำมากๆ
* หากมีการติดเชื้อแบคทีเรีย อาจจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ
* ควรไปปรึกษาแพทย์หากอาการไม่ทุเลา หรือหากคุณมีความกังวล

หนังศีรษะแห้ง

* เกิดจากการหลั่งน้ำมันบนหนังศีรษะผิดปกติ

อาการ

* เกิดเปลือกแข็งสีเหลืองบนหนังศีรษะ
* อาจมีกลิ่นเหม็น

การรักษา

* ทำให้เปลือกแข็งๆ นิ่มลงโดยใช้มอยซ์เจอร์ไรเซอร์หรือน้ำมัน
* ทิ้งไว้ข้ามคืนแล้วล้างออก อาจจำเป็นต้องแกะเปลือกแข็งๆ นั้นออกจากหนังศีรษะโดยถูเบาๆ หรือใช้หวีที่มีฟันละเอียด

ทางเดินหายใจอุดตัน

* เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งทำให้เกิดการติดเชื้ออย่างฉับพลันบริเวณทางเดินหายใจส่วนบน
* พบบ่อยในเด็กเล็กและทารก
* ทางเดินหายใจเริ่มบวมและตีบ
* แพร่กระจายผ่านการไอและจาม
* มีอาการรุนแรงมากที่สุดในวันที่ 2 หรือ 3

อาการ

* เมื่อเริ่มแรกจะมีอาการเช่นเดียวกับไข้หวัดโดยทั่วไป
* มีอาการไอแบบเสียงเห่า (เสียงคล้ายแมวน้ำ)
* เสียงแหบ
* หายใจเสียงดัง
* อาการทรุดในเวลากลางคืน

ต่อไปนี้คือสัญญาณของอาการรุนแรง

* หายใจลำบาก
* มีไข้สูงและมีน้ำลายไหล

การรักษา

* การรักษาเบื้องต้นคือควรให้ทารกอยู่ในห้องที่มีไอน้ำมาก โดยเปิดก๊อกน้ำร้อนในห้องน้ำหรือใน ห้องซักผ้า ควรระวังอย่าให้ถูกน้ำร้อนลวก
* ควรไปพบแพทย์หากสงสัยว่ามีอาการทางเดินหายใจอุดตัน
* หากมีอาการร้ายแรงเฉียบพลัน ควรเรียกรถพยาบาล
* ควรนอนใกล้ๆ ลูกน้อยเสมอ

อาการขาดน้ำ

* อาการนี้อาจเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วในทารกโดยเป็นผลจากการอาเจียน ท้องเสียอย่างต่อเนื่อง มีอาการลมแดดหรือเพลียแดด

อาการ

* อ่อนเพลียไม่มีแรงและเฉื่อยชา
* ตาและกระหม่อมยุบโบ๋
* ปัสสาวะน้อยลง
* เมื่อลองหยิกผิวหนังดู ผิวหนังจะไม่คืนตัว
* ปากแห้งและกระหายน้ำมาก

การรักษา

* ขอความช่วยเหลือจากแพทย์โดยด่วน
* พยามรักษาระดับหรือเพิ่มน้ำในร่างกายเพื่อป้องกันอาการขาดน้ำ
* ให้น้ำเกลือแร่

อาการท้องเสีย

* เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียซึ่งสามารถแพร่กระจายได้โดยการสัมผัสมือ

อาการ

* เป็นตะคริวและปวดท้อง
* ถ่ายเหลวและรุนแรง
* ถ่ายเป็นน้ำบ่อย
* อุจจาระอาจไม่มีสี
* อาจทำให้เกิดการขาดน้ำได้

การรักษา

* ขอรับคำแนะนำจากแพทย์
* ควรดูแลล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ
* ควรป้อนนมแม่ให้ลูกน้อยอย่างต่อเนื่องและรักษาระดับของเหลวของร่างกาย
* ให้น้ำเกลือแร่กับเด็กโต

อาการหูอักเสบ

* มักมีการติดเชื้อไวรัส และอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วยเป็นบางครั้ง
* มักตามด้วยอาการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนต้น
* มักตามด้วยอาการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนต้น

อาการ

* ปวดหู
* มีไข้
* หงุดหงิดง่าย
* เบื่ออาหาร

การรักษา

* ควรไปพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ
* ยาปฏิชีวนะใช้ได้สำหรับการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น
* รักษาตามอาการ
* พาราเซตามอลหรือไอบูโพรเฟนอาจช่วยบรรเทาอาการได้
* ประคบร้อนที่หู

อาการชักจากไข้สูง

* อาการนี้เกิดขึ้นกับทารกจำนวนน้อย โดยอาจเกิดขึ้นเนื่องจากอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นอย่างฉับพลัน

อาการ

* หมดสติหรือไม่รู้สึกตัว
* ตัวเริ่มแข็งหรืออ่อนปวกเปียก
* ร่างกายเริ่มชักหรือกระตุก
* เด็กอาจมีอาการมึนงงหรือง่วงหลังหมดอาการชัก

การรักษา

สิ่งที่ควรปฏิบัติในทันที :

* เคลื่อนย้ายสิ่งที่อาจทำให้เด็กบาดเจ็บออกให้ห่าง
* อยู่กับเด็ก
* วางเด็กในท่าที่ให้การช่วยเหลือได้
* ขอความช่วยเหลือจากแพทย์

โทรตามรถฉุกเฉิน หากพบว่า :

* ลูกน้อยมีอาการหายใจลำบาก
* เด็กยังคงหมดสติอยู่หลังจากหมดอาการชัก
* หากชักนานเกินกว่า 5 นาที
* หากลูกกลับมามีอาการชักอีกครั้งหลังจากชักครั้งแรกไปแล้ว

มีไข้ตัวร้อน

* อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย
* ลูกน้อยอาจมีไข้เนื่องได้รับความร้อนมากเกินไป
* ควรปฏิบัติตามโปรแกรมสร้างภูมิคุ้มกันเป็นระยะๆ

อาการ

* เมื่ออุณหภูมิร่างกายขึ้นสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส จะถือว่าลูกของคุณมีไข้
* หากอุณหภูมิร่างกายขึ้นสูงกว่า 39 องศาเซลเซียสถือว่ามีไข้สูง
* เมื่อสัมผัสเด็ก อาจรู้สึกได้ว่าตัวร้อน
* เด็กอาจหนาวสั่นหรือตัวร้อนมาก
* อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วหรือมีไข้สูงเป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดอาการชักจากไข้สูงได้

การรักษา

* รักษาตามอาการโดยให้พาราเซตามอลหรือไอบูโพรเฟนเพื่อให้ลูกน้อยรูสึกสบายขึ้น
* ถอดเสื้อผ้าที่ไม่จำเป็นออก
* เช็ดตัวให้ลูกน้อยด้วยฟองน้ำหรือผ้าอุ่นๆ (อุณหภูมิของน้ำควรอยู่ที่ 37องศาเซลเซียส
* ให้ดื่มน้ำมากๆ

ขอคำปรึกษาจากแพทย์หากพบว่า :

* ลูกน้อยของคุณมีไข้
* เด็กมีไข้สูง หรือ
* มีอาการหายใจลำบาก หรือ
* อ่อนเพลียไม่มีแรงและไม่ตอบสนองหรือ
* มีผดผื่น
* คุณมีความกังวล

ไข้หวัดใหญ่

* ไอและจาม
* เกิดจากการสัมผัสโดยตรงกับผู้มีเชื้อ
* ติดต่อได้ง่ายจนกว่าอาการจะหาย

อาการ

* มีไข้สูง
* หนาวสั่นและมีเหงื่อออก
* ปวดศีรษะ
* รู้สึกอ่อนเพลียและเหนื่อย
* ปวดข้อ
* เบื่ออาหาร
* ไอแบบมีเสมหะ

การรักษา

* ให้ดื่มน้ำมากๆ
* ให้พาราเซตามอลหรือไอบูโพรเฟน
* ให้ยาพ่นหรือยาหยอดจมูก

ปรึกษาเภสัชกรเพื่อขอคำแนะนำ
ควรไปพบแพทย์เมื่อ :


* มีไข้สูงอย่างต่อเนื่อง
* หายใจลำบาก
* ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
* คอแข็ง
* เซื่องซึม
* คุณมีความกังวลใดๆ ก็ตาม

ทางเดินอาหารอักเสบ

* อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย
* อาจมีอาการรุนแรงในเด็กเล็กเนื่องจากการขาดน้ำ

อาการ

* อาเจียนและท้องเสีย
* ปวดท้องหรือเป็นตะคริว
* มีไข้ตัวร้อน
* อาจเกิดอาการขาดน้ำได้
* อาจถ่ายเป็นเลือด

การรักษา

* ป้อนนมแม่ให้ลูกน้อยอย่างต่อเนื่องและให้ดื่มน้ำหรือให้น้ำเกลือแร่เพิ่ม
* ให้ดื่มน้ำหรือน้ำเกลือแร่แทนนมผสมจนกว่าจะหยุดอาเจียน

ควรไปพบแพทย์หากพบว่า :

* มีอาการต่อเนื่องนานกว่า 24 ชั่วโมง
* สงสัยว่ามีลูกน้อยมีอาการขาดน้ำ
* คุณมีความกังวลใดๆ ก็ตาม ควรดูแลล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ

แผลพุพอง

* เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังชนิดหนึ่ง
* ติดต่อได้เร็วมากผ่านทางการสัมผัสโดยตรงจนกว่าแผลจะแห้งสนิท (ประมาณ 3-5 วัน)
* แบคทีเรียมักผ่านเข้าผิวหนังทางรอยบาด รอยแมลงกัด หรือแผลอื่นๆ

อาการ

* เริ่มจากการเป็นตุ่มน้ำใสๆ เล็กๆ
* ตุ่มน้ำนี้จะแตกและเกิดเป็นผิวแข็ง

การรักษา

* ปรึกษาแพทย์
* แพทย์มักจะจ่ายยาขี้ผึ้งปฏิชีวนะและยาอื่นให้ใช้รักษาอาการ
* ปิดแผลที่มีน้ำไหลเยิ้มด้วยผ้าปิดแผลแบบไม่เหนียว
* ควรดูแลล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ
* ซักผ้าปูที่นอนและเสื้อผ้าทุกวัน

ไข้หวัดใหญ่

* เป็นการติดเชื้อไวรัสซึ่งแพร่กระจายผ่านการไอและจามจากผู้ที่ติดเชื้อ
* อาการจะเกิดขึ้น 1-3 วันหลังได้รับเชื้อ

อาการ

* มีไข้ตัวร้อน
* ไอ (ไอแห้งหรือมีเสมหะ)
* ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ
* รู้สึกอ่อนแรงและเซื่องซึม
* ปวดศีรษะ
* เบื่ออาหาร
* อาการอาจคงอยู่เป็นเวลา 7-10 วัน
* อาจเกิดการขาดน้ำได้อย่างรวดเร็ว

การรักษา

* รักษาอาการด้วยพาราเซตามอลหรือไอบูโพรเฟนเพื่อช่วยให้เด็กรู้สึกสบายขึ้น
* ให้ดื่มน้ำมากๆ
* เฝ้าสังเกตอาการติดเชื้อแทรกซ้อน ไข้กลับ เจ็บหู และปอดบวม
* ควรดูแลล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ
* ควรไปพบแพทย์หากอาการของเด็กไม่ทุเลาหรือคุณมีข้อกังวลใดๆ ก็ตาม.

เยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังอักเสบ

* ติดต่อได้ง่ายมาก
* เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียอย่างเฉียบพลัน
* เป็นอันตรายถึงชีวิต
* เกิดอาการอักเสบของไขสันหลังและสมอง
* ตามด้วยอาการเลือดเป็นพิษ
* แพร่กระจายทางการไอ จาม จุมพิต การดื่มน้ำและทานอาหารร่วมกัน

อาการ

อาการต่อไปนี้อาจไม่เกิดขึ้นทั้งหมด :

* ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
* มีไข้ (ซึ่งอาจไม่ตอบสนองต่อพาราเซตามอล)
* ร้องไห้ด้วยเสียงแหลมสูง
* เหนื่อยล้า ง่วง เซื่องซึม
* คอแข็งหรือปวดคอ
* แพ้แสง
* กระหม่อมโป่งบวม
* ชัก

อาการที่รุนแรงกว่า :

* อาเจียน
* มือเท้าเย็น
* หนาวสั่น
* ปวดกล้ามเนื้อ ข้อต่อ หน้าอก หรือท้องอย่างรุนแรง
* หายใจเร็ว
* ท้องเสีย
* ในระยะหนักขึ้น จะมีผื่นเหมือนถูกหนามตำหรือมีรอยม่วงช้ำ

การรักษา

* ขอความช่วยเหลือจากแพทย์โดยด่วน
* หากสงสัยว่าลูกมีอาการเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังอักเสบ ให้ดำเนินการรักษาโดยเร็ว
* มีวัคซีนป้องกันซึ่งมีอยู่แล้วตามตารางการสร้างภูมิคุ้มกันปกติ

วิธีการป้องกัน :

* หลีกเลี่ยงการใช้ถ้วย อุปกรณ์สำหรับทานอาหาร และแปรงสีฟันร่วมกัน
* ควรให้ทารกและเด็กวัยหัดเดินหลีกเลี่ยงการเล่นของเล่นที่มีน้ำลายติดร่วมกับเด็กคนอื่น
* อย่าใช้จุกนมร่วมกันหรือให้คนที่เอาจุกนมเข้าปากเป็นคนนำไปทำความสะอาด

หูดข้าวสุก

* เป็นการติดเชื้อไวรัส
* ติดต่อได้ง่ายมากทางการสัมผัสกับน้ำที่ใช้ร่วมกัน (เช่น น้ำอาบหรือน้ำในสระ)

อาการ

* มีตุ่มเล็กๆ นูนๆ ที่ดูคล้ายหูดเล็กๆ โดยปกติแล้ว ตุ่มเหล่านี้จะคงอยู่ประมาณ 3-6 เดือน

การรักษา

* ไม่จำเป็นต้องรักษา เพราะอาการจะหายไปเอง
* ปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำยืนยัน

ผื่นจากไวรัสชนิดไม่เฉพาะเจาะจง


* เกิดจากการติดเชื้อไวรัส

อาการ

* มักปรากฏเป็นผื่นแดงทั่วร่างกาย
* ปรกติแล้วอาการจะคงอยู่เพียงไม่กี่วัน
* อาจมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ เกิดขึ้นได้

การรักษา

* ควรปรึกษาแพทย์

เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อนิวโมคอกคัส


* เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียผ่านทางการไอ จาม หรือสัมผัสน้ำลาย
* การให้วัคซีนสามารถช่วยป้องกันความเสี่ยงจากการติดเชื้อนี้ได้ ดูแผนภูมิการสร้างภูมิคุ้มกันของเรา

อาการ

ลูกน้อยของคุณอาจมีอาการใดอาการหนึ่งหรือทั้งหมดต่อไปนี้ :

* มีไข้ตัวร้อน
* เด็กจะร้องไห้เสียงแหลมสูง
* แพ้แสงสว่าง
* อาเจียน
* ปวดศีรษะ
* คอแข็ง
* กระหม่อมของทารกโป่งบวม
* ปวดข้อและ/หรือกล้ามเนื้อ
* หงุดหงิดง่าย
* ง่วง/มึนงง
* หมดสติ

การรักษา

* ขอความช่วยเหลือจากแพทย์โดยด่วน

ผื่นดอกกุหลาบ

* เป็นการติดเชื้อไวรัส

อาการ

* มีไข้สูงประมาณ 3 วัน
* เบื่ออาหาร
* ต่อมน้ำเหลืองในคอบวม
* ตามด้วยผื่น (จุดสีชมพู//แดง) ทั่วร่างกาย

การรักษา

* ติดต่อแพทย์เพื่อขอคำยืนยันประเภทของผื่น
* รักษาตามอาการโดยให้พาราเซตามอลหรือไอบูโพรเฟนและใช้ฟองน้ำเย็นประคบ
* ให้ดื่มน้ำมากๆ

หัดเยอรมัน

* เป็นการติดเชื้อไวรัส
* หากสตรีมีครรภ์ได้รับเชื้อหัดเยอรมันนี้อาจมีผลที่เป็นร้ายแรงต่อทารกในครรภ์ได้
* ติดต่อได้ง่ายมากโดยผ่านทางการไอ จามหรือการสัมผัสโดยตรง
* ระยะแพร่เชื้อคือ 7 วันก่อนเกิดผื่นจนถึง 7วันหลังเกิดผื่น
* ระยะฟักตัว15-20 วัน

อาการ

* มีไข้ต่ำ
* มีผื่นไม่รุนแรงที่ลำตัว คอและใบหน้า
* ปวดข้อ
* ต่อมต่างๆ ในร่างกายบวม
* ปวดศีรษะ ไอ รู้สึกหนาว

การรักษา

มีวัคซีนตามตารางการสร้างภูมิคุ้มกันตามปกติเพื่อป้องกันโรค

* ให้พาราเซตามอล/ไอบูโพรเฟ็นเพื่อช่วยบรรเทาอาการไม่สบาย
* ให้ดื่มน้ำมากๆ

พยาธิเส้นด้าย

* มีปรสิตอยู่ในร่างกาย
* เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าพยาธิเข็ม
* พยาธิในร่างกายนี้เกิดจากการทานไข่พยาธิเข้าไป
* ไข่พยาธิมีชีวิตอยู่ภายนอกร่างกายได้ถึง 14 วัน โดยปรกติแล้วจะอยู่ในดินหรือฝุ่น

อาการ

* คันก้น
* เบื่ออาหารหรือทานจุบจิบ
* อาจมองเห็นพยาธิได้ในอุจจาระหรือที่ทวารหนักในเวลากลางคืน

การรักษา

* ขอคำแนะนำจากแพทย์
* ควรดูแลล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ

เชื้อราในช่องปาก

* เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อรา
* เกิดจากยีสต์ Candida Albicans เจริญเติบโตผิดปกติ
* สามารถแพร่กระจายได้โดยการสัมผัสโดยตรง

อาการ

* มีแผลภายในช่องปาก
* มีของเหลวขับออกจากปากซึ่งดูคล้ายกับชีส
* ผื่นเขตร้อน: มักเกิดในบริเวณที่ใส่ผ้าอ้อมและรอยพับของผิวหนังที่อยู่ใกล้ๆ
* มีผื่นบวมแดงอย่างชัดเจน
* มีผื่นบวมแดงอย่างชัดเจน

การรักษา

ควรปรึกษาแพทย์ เชื้อราในช่องปาก :

* แพทย์อาจสั่งยาspvfหรือเจลฆ่าเชื้อราให้
* หัวนมอาจติดเชื้อได้เช่นกัน ดังนั้นจึงควรรักษาหัวนมด้วย
* อาจต้องทิ้งจุกขวดนมหรืออาจต้องฆ่าเชื้ออย่างหมดจด

ผื่นเขตร้อน :


* แพทย์อาจสั่งยาทาฆ่าเชื้อราให้ จึงควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
* ควรหยุดใส่ผ้าอ้อมให้เด็กเป็นครั้งคราว
* ใช้ผ้าอ้อมที่ซึมซับปัสสาวะออกจากผิวหนังของเด็กได้

ทางเดินปัสสาวะอักเสบ

* เป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย
* เกิดขึ้นกับเด็กเพศหญิงบ่อยกว่า
* หากไม่รักษา อาจก่อความเสียหายให้กับไตได้
* ควรเช็ดจากหน้าไปหลังเสมอเมื่อเปลี่ยนผ้าอ้อมเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

อาการ

* มีไข้สูงโดยหาสาเหตุไม่ได้
* มีปัสสาวะมาก
* เจ็บหรือแสบเวลาปัสสาวะ
* มีกลิ่นเหม็น
* ในเด็กโตอาจเกิดการปัสสาวะราดทั้งตอนกลางวันและกลางคืน
* จะสามารถยืนยันการติดเชื้อได้ด้วยการตรวจปัสสาวะเท่านั้น

การรักษา

* ขอคำแนะนำจากแพทย์.
* ต้องเก็บตัวอย่างปัสสาวะ
* อาจจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ
* ให้ดื่มน้ำมากๆ
* อาจจำเป็นต้องตรวจติดตาม

การอาเจียน

* มักจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส
* ข้อกังวลหลักสำหรับการอาเจียนในทารกและเด็กเล็กคือการขาดน้ำ

อาการ

* เกิดตะคริวที่ท้องตามด้วยการอาเจียนหลายครั้งติดต่อกัน
* มักจะตามด้วยอาการท้องเสีย

อาการรุนแรงยิ่งขึ้นซึ่งต้องพาไปพบแพทย์โดยด่วนมีดังนี้ :

* อาเจียนหลังเกิดการบาดเจ็บที่ศีรษะ
* อาเจียนมีสีเหลืองหรือเขียวอ่อน
* อาเจียนเป็นเลือด
* มีอาการปวดท้องตลอดเวลา
* มีไข้สูง
* มีอาการขาดน้ำอย่างเห็นได้ชัด

การรักษา

* ป้อนนมแม่ให้ลูกน้อยอย่างต่อเนื่องและให้ดื่มน้ำหรือให้น้ำเกลือแร่เพิ่ม
* ให้ดื่มน้ำหรือน้ำเกลือแร่แทนนมผสมจนกว่าจะหยุดอาเจียน

ขอพาไปพบแพทย์หากพบว่า :

* มีอาการต่อเนื่องนานกว่า 24 ชั่วโมง
* ลูกน้อยไม่อาเจียนของเหลวในร่างกายออกหมด
* สงสัยว่าลูกน้อยมีการขาดน้ำ
* คุณมีความกังวลใดๆ ก็ตาม
* ควรล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ

ไอกรน

* เป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย
* ติดต่อกับเด็กที่ไม่มีภูมิคุ้มกันได้ง่ายมาก
* แพร่กระจายทางการไอ จาม และสัมผัสโดยตรง
* ระยะเวลาแพร่เชื้อคือจากเมื่อเกิดอาการจนถึงเมื่อหมดอาการ (อาจนานถึง 3 เดือน)
* ระยะฟักตัว 5-15 วันหลังจากที่สัมผัสกับผู้ที่มีเชื้อนี้

อาการ

* อาการเริ่มแรกอาจคล้ายกับไข้หวัดธรรมดา
* อาการไออย่างรุนแรงไม่หยุดจะเกิดขึ้นเป็นเวลานานหนึ่งนาทีหรือกว่านั้น
* จะมีเสียง”วี้” เมื่อเด็กพยายามหายใจ
* หายใจลำบาก
* ใบหน้าอาจกลายเป็นสีแดงหรือม่วง
* เด็กอาจอาเจียนหลังจากไอ
* อาจไม่มีอาการอื่นใดระหว่างการไอแต่ละครั้ง

การรักษา

* ควรปรึกษาแพทย์
* ขอแนะนำให้ป้องกันโดยฉีดวัคซีนตามตารางสร้างภูมิคุ้มกันปกติ

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

0 comments:

Post a Comment

 

Mama And Baby Care Copyright © 2009 Baby Shop is Designed by Ipietoon Sponsored by Emocutez