A Blogger by Beamcool

Saturday, September 5, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ความสำคัญของการเล่น ( ของเล่นที่ดีที่สุดสามอย่างเพื่อ พัฒนาการทางสติปัญญา )

Posted by wittybuzz at 11:18 AM
มาเล่นกันเถอะ!

หากคุณเดินเข้าไปในบ้านของฉัน ไม่ว่าจะเป็นวันไหนก็ตาม แล้วคุณจะได้เห็นภาพที่น่าประหลาดใจมากจนฉันคิดว่าน่าจะเป็นงานเลี้ยงฉลอง ที่ครึกครื้นที่สุดแล้วล่ะ นั่นก็คือลูกๆ อายุ 1 ขวบ 2 ขวบและ 5 ขวบของฉันทั้งสามคนกำลังง่วนเล่นบล็อกตัวต่ออย่างมีความสุข โดยส่วนมากแล้ว พวกเขาไม่เล่นก่อสร้างด้วยกัน (เชื่อไหม บางครั้งพวกเขาไม่ยอมอยู่ห้องเดียวกันด้วยซ้ำ) แต่ตอนนั้นต่างคนต่างตั้งอกตั้งใจสร้างของเล่นของเขาเองอย่างสนุกสุดๆ

และถ้าไม่ได้ให้พวกเขาเล่นบล็อกตัวต่อ ก็อาจให้พวกเขาเล่นลูกบอลก็ได้ นั่นคือ ให้เขาเล่นอย่างใดอย่างหนึ่ง สำหรับฉันแล้ว ก็ไม่เป็นไร ตราบเท่าที่พวกเขาไม่เล่นบอลในบ้าน แต่ของเล่นพวกนี้จะทำให้พวกเขาเป็นที่รักใคร่ชอบพอของคนอื่นได้ยังไง และลูกฉันควรฝึกเล่นแผ่นภาพมากกว่าที่จะเล่นของเล่นง่ายๆ เพื่อความสนุกพวกนี้ต่อไปหรือไม่

บล็อกตัวต่อ


บล็อกตัวต่อมีประโยชน์สำหรับเด็กไม่แพ้วิตามินรวม เวลาที่เด็กเล่นบล็อกตัวต่อ ไม่ใช่แค่การฝึกทักษะการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ เท่านั้น หากแต่พวกเขากำลังเรียนรู้ทุกอย่างตั้งแต่แนวคิดพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ไปจน ถึงการแก้ปัญหาด้วย งานวิจัยชิ้นหนึ่งแสดงให้เห็นถึงขนาดว่าเด็กก่อนวัยเรียนที่เล่นบล็อกตัวต่อ จนชำนาญจะมีผลการเรียนคณิตศาสตร์สูงกว่าและทำคะแนนได้ดีกว่าเด็กที่ไม่ได้ เล่นบล็อกตัวต่อเมื่อพวกเขาเข้าเรียนโรงเรียนปฐม อย่างเช่นที่ ชารอน แม็คโดนัลด์ ผู้ฝึกสอนครูเด็กก่อนวัยเรียนและผู้แต่งหนังสือ Block Play (สำนักพิมพ์ กริฟอน เฮาส์) ได้อธิบายไว้ว่า “เมื่อเด็กเล่นบล็อกตัวต่อ เขาจะพัฒนาความเข้าใจเรื่องเศษส่วน รูปทรง และการนับไปในตัว” แน่นอนแน่นอนว่าเขาคงไม่รู้เรื่องเศษหนึ่งส่วนสองหรือเศษหนึ่งส่วนสี่ ตั้งแต่อายุได้ 2 ขวบ ความสามารถทางคณิตศาสตร์จะพัฒนาไปทีละขั้นตามวัยของเด็ก

สามขั้นของการเล่นบล็อกตัวต่อ

ในระยะแรกของการเล่นบล็อกตัวต่อ ชารอนเรียกระยะนี้ว่า “ระยะถือไปถือมา” ลูกน้อยวัย 2 ขวบจะต่อตัวต่อได้น้อยมากหรือไม่ได้ต่อเลย แต่เขาสามารถนำตัวต่อมากองรวมกัน ผลักและโยนเล่นได้ และต่อไปเขาจะเรียนรู้เกี่ยวกับน้ำหนัก ความมั่นคง และความสมดุล แน่นอนว่าบทเรียนที่เด็กวัยหัดเดินชอบมากที่สุด ก็คือการเรียนรู้เรื่องแรงโน้มถ่วงที่จะทำให้เกิดเสียงดังที่สุดและวุ่นวาย ที่สุด เด็กวัยหัดเดินจะเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วจากอารมณ์เกรี้ยวกราดของพี่ๆ ว่า เวลาที่โยนอะไรขึ้นไป มันต้องตกลงมา และเวลาที่เขาพังบล็อกตัวต่อให้ล้มลง ผลที่ได้ก็น่าตื่นเต้นสำหรับเขาเป็นที่สุด “เด็กๆ ชอบเล่นก่อสร้างให้เป็นระเบียบ แต่เด็กเล็กๆ ชอบสร้างความวุ่นวายมากกว่า” ชารอนกล่าว “แค่วางบล็อกตัวต่อชิ้นนึงบนอีกชิ้นหนึ่งแค่นั้น พวกเขาก็ได้เรียนรู้แล้วว่าว่าของที่วางอย่างไม่มั่นคงจะร่วงลงมา แต่ถ้าวางอย่างมั่นคง ก็จะไม่ร่วง ”

เมื่อลูกอายุได้ 3 ขวบ เขาจะเข้าสู่ระยะการเล่นบล็อกตัวต่ออีกขั้นที่เรียกว่า “ระยะตั้งเป็นกองและเรียงเป็นแถว” คราวนี้เขาจะสามารถเรียงบล็อกตัวต่อเป็นกองๆ หรือจัดวางในแนวนอนได้ เขาจะเล่นก่อสร้างโดยยังไม่มีจุดประสงค์เฉพาะ แต่เขาจะเริ่มวางเรียงบล็อกตัวต่อเป็นแพทเทิร์น แพทเทิร์นแรกๆ มักจะเป็นการวางบล็อกตัวต่อเรียงต่อกันทีละชิ้นๆ บนพื้น จนกระทั่งเขาเริ่มดัดแปลงรูปร่าง เช่น วางเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสตามหลังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และวางเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสอีกอันหนึ่งตามหลังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอัน ถัดไปและวางต่อไปเรื่อยๆ “คณิตศาสตร์คือการศึกษารูปแบบ” ชารอนกล่าว “และการกระตุ้นให้เขาวางบล็อกเป็นแพทเทิร์นจะช่วยวางพื้นฐานทักษะทาง คณิตศาสตร์ให้เขา” ซึ่งจะเป็นการนำทฤษฎีเศษส่วนเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเล่น เมื่อเขาวางบล็อกตัวต่อสองอันไว้ข้างๆ กัน เธอก็จะเห็นว่าพอเอามารวมกันแล้ว มันจะกลายเป็นบล็อกตัวใหญ่ขึ้นแต่มีรูปร่างและขนาดเท่าเดิม

ในระยะถัดไปเรียกว่า “ระยะก่อร่างสร้างตัว” ลูกน้อยก่อนวัยเรียนของคุณจะเริ่มก่อสร้างแบบง่ายๆ ของเขาเอง เขาอาจวางบล็อกตัวต่อสองชิ้นไว้คู่กัน จากนั้นวางบล็อกชิ้นที่สามซ้อนทับสองชิ้นแรก นอกจากนี้ เมื่อเวลาที่เขาเรียนรู้เรื่องความสมดุล เขาจะเริ่มทดลองเรื่องความสมมาตรไปในตัว การเชื่อมนำไปสู่ “การปิดล้อม” เราจะไม่สามารถก่อสร้างได้ หากไม่จัดระบบและปิดล้อมพื้นที่ ”เราจะเติมช่องว่างนั้นยังไงดีนะ” คำถามนี้ค่อนข้างซับซ้อนที่ลูกน้อยของคุณต้องคิดหาทางออกว่าต้องใช้บล็อกอัน เล็กและอันใหญ่กี่ชิ้นถึงจะปิดช่องว่างนั้นได้สำเร็จ ซึ่งจะส่งผลให้ลูกน้อยไม่ได้รู้จักวางแผนล่วงหน้าเท่านั้น แต่เขายังรู้จักการแก้ปัญหาด้วย

ได้เวลาเล่นลูกบอลแล้วจ๊ะ!!


บล็อกตัวต่อไม่ได้เป็นแหล่งการเรียนรู้เพียงอย่างเดียวในห้องของเจ้าตัวน้อย แม้แต่เด็กทารกก็ยังสามารถมองตามลูกบอลเวลาที่กลิ้งไปบนพื้นได้มอรีน ไมออกโค ผู้อำนวยการโปรแกรมสำหรับเด็กเล็ก SUNY Canton รัฐนิวยอร์กกล่าวว่า เวลาที่เขามองตามลูกบอล “เขาจะต้องมองตามทิศทางของลูกบอลและคาดคะเนตำแหน่งของลูกบอลขณะที่ลูกบอล กลิ้งเข้าหาเขา” การมองตามเช่นนี้ช่วยให้การเคลื่อนไหวดวงตาของลูกทำงานประสานกับการเคลื่อน ไหวร่างกาย นอกจากนี้เวลาที่เขาคาดคะเนว่าเมื่อไหร่จะได้เห็นลูกบอลอีก จะเป็นการตอกย้ำความคิดของเขาว่าเมื่อมีอะไรหายไปจากระยะสายตา มันไม่จำเป็นต้องหายไปเลย

เมื่อลูกโตขึ้นและสามารถคลานตามลูกบอลได้ เขาก็จะเริ่มเรียนรู้เรื่องขนาดพื้นที่ ลูกบอลอยู่ห่างออกไปแค่ไหน แล้วตัวเราอยู่ไกลจากลูกบอลเท่าไหร่ขณะที่เด็กวัยหัดเดินโตขึ้นจนถึงก่อนวัย เรียน การรับรู้ขนาดของพื้นที่จะนำไปสู่การคิดเชิงตรรกะ เมื่อเขากำลังเรียนรู้การขว้างและการไล่จับ เขาจะต้องเริ่มคิดว่าต้องขว้างแรงแค่หนและจะขว้างไปทิศทางไหน กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เขาจะต้องกะประมาณตัวแปรต่างๆ เพื่อที่ว่าพวกเขาจะได้ขว้างและไล่จับได้

ลูกน้อยก่อนวัยเรียนมักจะนำการเล่นลูกบอลไปเชื่อมโยงกับการสำรวจทางวิทยา ศาสตร์ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเขากลิ้งลูกบอลไปตามทาง เขาจะตระหนักว่าลูกบอลแต่ละขนาดกลิ้งด้วยความเร็วต่างกัน เอมิลี่ วอสเปอร์ ผู้อำนวยการศูนย์เด็ก วิทยาลัยชุมชน ซันนี อัลสเตอร์ เคาน์ตี้ เมืองสโตนนริดจ์ รัฐนิวยอร์ก บรรยายกระบวนการนี้ว่าเป็น “การคิดในระดับซึ่งเกิดจากเครื่องมือพื้นฐาน” หรือเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นวิชาฟิสิกส์สำหรับเด็กอายุ 4 ขวบ

จะวางถ้วยซ้อนกันเป็นตั้งได้ยังไงนะ


เมื่อลูกๆ ของฉันเล่นวางซ้อนถ้วยให้เป็นตั้ง ฉันชอบคิดว่า ก็ดีเหมือนกันนะ ฉันจะได้ไม่ต้องซ้อนถ้วยเก็บเอง แต่จริงๆ แล้วพวกเขากำลังเก็บสะสมทักษะทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ระหว่างอายุ 1 ถึง 2 ขวบ เขาจะสามารถวางถ้วยซ้อนกันได้ ปกติแล้ว เขามักจะวางถ้วยซ้อนกันอย่างไม่เป็นระเบียบ แต่เขาก็จะเริ่มเข้าใจความสัมพันธ์ของขนาด อย่ากดดันเขาให้วางอย่าง “ถูกต้อง” เมื่อเขาโตขึ้น เขาจะรู้เองว่า ถ้าเราวางถ้วยใบเล็กซ้อนถ้วยใบใหญ่ ก็จะวางถ้วยใบกลางซ้อนลงไปไม่ได้ เขาก็จะเริ่มเข้าใจ–การวางสิ่งของตามลำดับที่เหมาะสม หรือพูดให้เก๋ๆ ก็คือว่าเขาจะเริ่มเข้าใจการจัดลำดับ

เด็กๆ อาจใช้ใช้ถ้วยตักน้ำแล้วเททิ้ง แล้วก็ตักใหม่อยู่อย่างนี้เป็นชั่วโมงๆ ในอ่างอาบน้ำหรือในกระบะทราย เมื่อเขาเริ่มสังเกตเห็นความแตกต่างระหว่างเวลาที่ถ้วยเต็มและว่างเปล่า เขาก็จะเริ่มเข้าใจในเรื่องปริมาณ ขาจะเห็นได้ว่าเขาสามารถใช้ถ้วยใบเล็กตักทรายใส่ถ้วยใบใหญ่ได้ แต่ถ้าเททรายจากถ้วยใบใหญ่ที่สุดใส่ถ้วยใบที่เล็กที่สุด ทรายก็จะล้น

เติมน้ำหน่อยซิ!

การเล่นน้ำเป็นการสาดกระเซ็นความรู้วิทยาศาสตร์ ดังที่ ดร. จอห์น เซอริโอ ศาสตราจารย์คณะจิตวิทยา มหาวิทยาลัยอัลฟิลด์ เมืองอัลฟิลด์ รัฐนิวยอร์กชี้ให้เห็นว่า เด็กๆ สามารถเรียนรู้เรื่องยากๆ ได้บนพื้นฐานที่ง่ายที่สุด ถ้าเราเทน้ำจากภาชนะใบหนึ่งลงในภาชนะอีกรูปทรงนึง เราก็จะยังคงได้ปริมาณน้ำเท่าเดิม ถ้าเด็กไม่ได้เล่นเองกับมือ เด็กส่วนใหญ่ก็จะบอกว่าภาชนะที่สูงกว่าจะจุน้ำได้มากกว่า

ตอนนี้คุณแม่ก็มีครบแล้ว ทั้งบล็อกตัวต่อ ลูกบอล และถ้วยน้ำซึ่งเป็นวีระบุรุษผู้ไม่เปิดเผยตัวในโลกของเล่น แล้วความลับของของเล่นเหล่านี้คืออะไร ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่าของเล่นบางอย่างที่มีจุดประสงค์เพียงอย่างเดียว อย่างเช่น ตัวต่อปริศนา จะกระตุ้นให้เด็กค้นหาคำตอบเดียวที่ถูกต้อง ขณะที่ของเล่นที่มีจุดประสงค์หลากหลาย จะทำให้เด็กคิดได้หลายทาง ช่วยให้พวกเขาเข้าใจว่าปัญหาบางอย่างมีวิธีแก้หลายทาง นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเขาถึงเล่นของเล่นพวกนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ถึงเขาจะไม่ถึงขนาดขาดของเล่นพวกนี้ไม่ได้ แต่เขาก็จะไม่ลืมของเล่นพวกนี้ในวันพรุ่งนี้เช่นกัน

เพื่อนในกล่องของเล่น

อย่างที่พ่อแม่ทุกคนรู้ดีว่า กล่องของเล่นจะสมบูรณ์ไปไม่ได้หากไม่มีตุ๊กตาสัตว์ขนปุย ตุ๊กตาคน และตุ๊กตาต่อสู้ แม้ว่าบางทีคุณแม่อาจคิดว่าที่บ้านมีของเล่นพวกนี้รกไปหมด แต่ของเล่นเหล่านี้ก็มีความสำคัญไม่น้อย เนื่องจากของเล่นพวกนี้มีบทบาทสำคัญในพัฒนาการด้านจินตนาการของเด็ก

“เมื่อลูกทำอาหารให้เพื่อนขนปุยของเขาหรืออาบน้ำให้ เขากำลังฝึกบทบาทหน้าที่ของผู้ใหญ่ ซึ่งจะช่วยให้เขาเข้าใจโลกใบนี้” เอมี่ ฟลินน์ ผู้อำนวยการ Bank Street Family Center ในนิวยอร์กซิตี้กล่าว เด็กก่อนวัยเรียนอาจเล่นเป็นจริงเป็นจังยิ่งกว่านั้นถึงขนาดให้บรรดาตุ๊กตา ของเขามีลักษณะนิสัยเหมือนคน เพราะพวกเขาอาจทะเลาะและขัดแย้งกัน คุณแม่อาจเดินเข้าไปในห้องของลูกวัย 3 ขวบขณะที่เขากำลังต่อว่าตุ๊กตาขนปุยของเขาอยู่ว่า “เลิกทะเลาะกันสักทีได้ไหม!” (คุณแม่คงหวั่นใจไม่น้อย แล้วคงสงสัยว่าตัวเองพูดน้ำเสียงแบบนี้กับลูกหรือเปล่า!) ต่อมา คุณแม่อาจเห็นเหตุการณ์แบบนี้ซ้ำ แต่คุณแม่คงจะหาทางออกที่เหมาะกับเจ้าตัวน้อยมากขึ้น -- ยกตัวอย่างเช่น ให้ตุ๊กตาทุกตัวของเขากินคุกกี้ก่อนมื้อเย็น

เอมี่กล่าวว่า ประโยชน์ที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของการเล่นบทบาทสมมุติ นั่นคือ “เขาจะได้สำรวจความรู้สึกของเขาเองในขณะที่ควบคุมความรู้สึกของตัวเองได้ใน ที่ที่ปลอดภัย” กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ตุ๊กตาและหมีในชีวิตของเราจะช่วยให้เด็กควบคุมอารมณ์ของเขาเองได้ดีขึ้น

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

0 comments:

Post a Comment

 

Mama And Baby Care Copyright © 2009 Baby Shop is Designed by Ipietoon Sponsored by Emocutez