A Blogger by Beamcool

Thursday, September 10, 2009

การเลี้ยงดูลูก - สุขภาพ ( อาการเจ็บป่วยทั่วไป - เคล็ดลับจากคุณพ่อคุณแม่ )

Posted by wittybuzz at 11:27 AM 0 comments

คุณพ่อคุณแม่ท่านอื่นๆ สามารถเป็นแหล่งข้อมูลที่ยอดเยี่ยมได้ในเรื่องการดูแลลูกน้อยวัยแบเบาะและ วัยหัดเดินในยามที่เขาไม่สบาย ต่อไปนี้คือแนวความคิดเล็กๆ น้อยๆ ของบรรดาคุณพ่อคุณแม่

* ใช้หลอดฉีดยาในการป้อนยาให้กับเด็กๆ
* เวลาใช้ยาหยอดตา ให้เด็กหลับตาในขณะที่หยอดยาไว้ที่หัวตา จากนั้นยาจะไหลเข้าสู่ดวงตาเองเมื่อเขาลืมตา
* เมื่อจะทดสอบว่าเขามีไข้หรือไม่โดยไม่มีเธอร์มอมิเตอร์ ให้ใช้ริมฝีปากสัมผัสกับหน้าผากของลูกน้อย
* หน้าท้องเป็นบริเวณที่เหมาะสำหรับสัมผัสเพื่อทดสอบว่าเขามีไข้หรือไม่
* ห้ามให้แอสไพรินแก่เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี
* ห้ามให้น้ำมะนาวหรือน้ำผลไม้แก่เด็กที่มีอาการเกี่ยวกับทางเดินอาหาร ควรให้น้ำเกลือแร่ น้ำสะอาดหรือให้นมแม่มากๆ

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Wednesday, September 9, 2009

การเลี้ยงดูลูก - สุขภาพ ( อาการเจ็บป่วยทั่วไป - เมื่อไรจึงควรจะไปพบแพทย์ )

Posted by wittybuzz at 7:12 AM 0 comments

ลูกน้อยบอกคุณไม่ได้เมื่อเขาป่วย และนั่นคือสิ่งที่น่ากังวลมาก

คุณต้องเป็นคนตัดสินใจว่าลูกมีอาการไม่สบายหรือไม่ หรือมีอาการรุนแรงเพียงไร บางครั้งคุณพ่อแม่ก็วิตกกังวลจนเกินไปทั้งๆ ที่ไม่มีอะไรที่จะต้องเป็นกังวลมากนัก แต่คนเป็นพ่อเป็นแม่ก็มักจะเป็นเช่นนี้! คุณจะรู้สึกมั่นใจมากขึ้นเมื่อลูกน้อยโตขึ้น อย่างน้อยเด็กวัยหัดเดินก็สามารถบอกหรือแสดงให้คุณเห็นว่าเขาเจ็บตรงไหน

ทารกและเด็กเล็กส่วนใหญ่จะมีวันเวลาที่พวกเขาไม่สบายเป็นครั้งคราว เมื่อพวกเขาร้องไห้หรืองอแง มีอาการอยู่ไม่เป็นสุขและกระวนกระวาย ที่จริงแล้ว การที่เด็กๆ ร้องไห้ก็เป็นความสบายใจอย่างหนึ่ง คือว่าเด็กๆ ที่ป่วยหนักจะมีอาการง่วงและอ่อนเพลีย อาการเจ็บป่วยไม่สบายขั้นรุนแรงที่เป็นอันตรายต่อชีวิตนั้น พบได้น้อยมากในทารกและเด็กเล็กๆ

คุณควรพาลูกไปพบแพทย์ (หรือคุยทางโทรศัพท์) หากลูกมีอาการดังนี้

* มีอาการอ่อนเพลีย หมดแรง หรือหลับเป็นเวลานานๆ
* อาเจียนต่อเนื่องเป็นเวลานานกว่าหนึ่งชั่วโมง
* มีอาการท้องเสียที่ไม่หายภายในเวลา 24 ชั่วโมง
* มีผื่นขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ
* ไม่ปัสสาวะ
* ถ่ายอุจจาระซึ่งมีสีหรือเนื้อผิดปกติไปจากเดิม (อุจาจาระสีเขียวเป็นบางครั้งไม่ได้แปลว่าเด็กป่วย และที่จริงแล้ว นมผสมบางชนิดก็อาจทำให้อุจจาระมีสีออกเขียวได้)
* รู้สึกว่าเป็นไข้และตัวร้อนจนไม่สบาย
* มีรอยช้ำและเลือดออกจากหู ปาก จมูก ทวารหนัก หรือในอุจจาระหรือปัสสาวะซึ่งหาสาเหตุไม่ได้

ควรขอความช่วยเหลือจากแพทย์ทันทีหากลูกน้อยของคุณมีอาการดังนี้

* มีอาการชักซึ่งไม่ได้เป็นแค่การกระตุกธรรมดา ลองตรวจดูว่าตาของเด็กกลอกไปมาหรือไม่มี และเด็กไม่มีการตอบสนองเมื่อคุณพูดกับเขาหรือมองเขา
* พบว่าเขาหายใจลำบาก
* หมดสติ
* มีจ้ำสีน้ำเงินขึ้นที่ริมฝีปากหรือใบหน้า
* มีอาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
* ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดหรืออุจจาระมีลักษณะคล้ายเยลลี่สีแดงสด
* ดูเหมือนเขากำลังเจ็บปวดอย่างเห็นได้ชัด

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Tuesday, September 8, 2009

การเลี้ยงดูลูก - สุขภาพ ( อาการเจ็บป่วยทั่วไป - การรักษาไข้หวัดธรรมดาและไข้หวัดใหญ่ )

Posted by wittybuzz at 2:17 PM 0 comments

สิ่งที่แย่ที่สุด-ของไข้หวัดธรรมดาและไข้หวัด ใหญ่ก็คือการที่มันสามารถแพร่กระจายในครอบครัวได้อย่างรวดเร็วมาก ผู้คนส่วนใหญ่คิดไม่ถึงว่ามือของเราเป็นต้นเหตุหลักๆ ของการแพร่กระจายไวรัสไข้หวัดธรรมดาและไข้หวัดใหญ่ โดยเฉพาะใน 2-4 วันแรกที่ผู้ได้รับเชื้อมีอาการไอ จาม และมีน้ำมูกไหล

กุญแจสำคัญในการหยุดวัฏจักรของไข้หวัดธรรมดาและไข้หวัดใหญ่ก็คือ ฆ่าเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคเหล่านี้ก่อนที่มันจะแพร่กระจายไปสู่สมาชิกใน ครอบครัวคนอื่นๆ

แล้วจะทำอย่างไรล่ะ
ต่อไปนี้คือเคล็ดลับง่ายๆ จากคุณหมอ เพ็นนี อาดัมส์
  1. สอนให้เด็กๆ ไอ จาม หรือสั่งน้ำมูกลงในกระดาษทิชชู่เสมอ
  2. ทิ้งกระดาษทิชชู่ลงในถังขยะหลังใช้แล้วเพียงครั้งเดียว
  3. หากหากระดาษทิชชู่ไม่ได้ ควรสอนให้เด็กๆ ไอหรือจามโดยใช้มือป้องปาก
  4. อย่าลืมล้างมือด้วยน้ำสะอาดและสบู่หลังจากไอหรือจาม
  5. อย่าใช้ถ้วย แก้ว ขวดน้ำ หลอด หรืออุปกรณ์รับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
  6. อย่าลืมล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารและเอามือออกห่างจากตา จมูก และปากตลอดเวลา
  7. อย่าลืมให้ทุกคนในครอบครัวควรออกกำลังกายเป็นประจำและทานผักและผลไม้สดมากๆ เพื่อช่วยให้มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์
ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Monday, September 7, 2009

การเลี้ยงดูลูก - สุขภาพ ( อาการเจ็บป่วยทั่วไป - ไอ เป็นหวัดและอื่นๆ )

Posted by wittybuzz at 7:43 AM 0 comments

ตารางข้อมูลอ้างอิงอันเป็นประโยชน์เมื่อพบอาการ ไม่สบายทั่วไปในเด็กจะช่วยคุณให้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้องเหมาะสมที่สุดเมื่อ ลูกน้อยไม่สบาย

หลอดลมอักเสบ

* มักเกิดกับทารกในช่วง 12 เดือนแรก
* เป็นการติดเชื้อไวรัสในทางเดินหายใจ
* ทางเดินหายใจอักเสบและเต็มไปด้วยน้ำมูกและมีผลกระทบต่อการทำงานของปอด
* แพร่กระจายทางการไอ จาม และการสัมผัสโดยตรง (เช่น ทางกระดาษทิชชู่)

อาการ

* น้ำมูกไหล จามและมีไข้
* เริ่มไอในเวลาเพียงไม่กี่วัน
* หายใจออกมีเสียงดัง
* หายใจลำบาก หายใจติดขัด และเวลาหายใจ หน้าอกจะยกตัวขึ้นสูงกว่าปกติ

การรักษา

* ไปพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ
* ขอความช่วยเหลือจากแพทย์โดยด่วนหากพบว่าลูกน้อยหายใจลำบาก

อีสุกอีใส (เชื้อไวรัส Varicella-zoster)

* ติดต่อทางการสัมผัสได้เร็วมาก
* แพร่กระจายผ่านการสัมผัสโดยตรงกับผู้ที่มีเชื้อหรือสัมผัสกับแผลหรือกับฝอยน้ำลายจากการไอหรือจาม
* ระยะเวลาการติดต่อคือ 2 วันก่อนที่จะมีผื่นขึ้นจนถึงเมื่อตุ่มน้ำแห้งจนตกสะเก็ด
* ระยะฟักตัวคือ 10 - 21 วันหลังได้รับเชื้อ
* ควรหลีกเลี่ยงอย่าสัมผัสกับสตรีมีครรภ์

อาการ

* มีไข้ เจ็บคอและปวดศีรษะ
* มีผื่นคันขึ้นทั่วร่างกาย
* มีผื่นหรือตุ่มน้ำเล็กๆขึ้นโดยผิวบริเวณนั้นจะมีสีชมพูแดง
* ตุ่มน้ำจะค่อยๆ แตกและตกสะเก็ด (ประมาณ 5 วันหลังเกิดตุ่มน้ำ)
* อาจมีตุ่มน้ำเกิดขึ้นในปากได้

การรักษา

* ให้ทานพาราเซตามอลหรือไอบูโพรเฟน
* อาบน้ำเย็น
* ประคบด้วยผ้าเย็น
* ทาครีม (ขอคำแนะนำจากเภสัชกร) หากพบว่ามีอาการแทรกซ้อน ให้ปรึกษาแพทย์

ไข้หวัดธรรมดา


* มีการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนต้น
* มีอาการไอและจาม
* ติดต่อโดยการสัมผัสโดยตรง
* ติดต่อได้จนกว่าอาการจะหาย

เกิดอาการทั้งหมดหรืออาการใดอาการหนึ่งดังต่อไปนี้ :


* คัดจมูกหรือน้ำมูกไหล
* จาม
* เจ็บคอ
* ไอ
* ปวดศีรษะ
* มีไข้ตัวร้อน

การรักษา

* ให้ดื่มน้ำมากๆ
* ให้ทานพาราเซตามอลหรือไอบูโพรเฟน
* ให้ใช้ยาพ่นหรือยาหยอด จมูก ปรึกษาเภสัชกรเพื่อขอคำแนะนำ

ไปพบแพทย์หากพบว่า :

* มีไข้สูงอย่างต่อเนื่อง
* มีอาการหายใจลำบาก
* ปวดศีรษะอย่างมาก
* คอแข็งขยับลำบาก
* เซื่องซึม

ตาแดง

* มีเนื้อเยื่อตาเกิดการอักเสบ
* ติดต่อได้เร็วมากและอาจแพร่กระจายได้ทางการสัมผัสมือหรือการสบตาหรือการสัมผัสเสื้อผ้าของผู้มีเชื้อนี้
* ระยะฟักตัวคือ 2-3 วันไปจนถึงหนึ่งสัปดาห์

อาการ

* มีของเหลวสีขาวหรือสีเหลืองออกจากตา
* เปลือกตาอาจติดกันหลังนอนหลับ
* อาจคันและระคายตา
* อาจเกิดจ้ำเลือดที่ตา

การรักษา

* ขอคำแนะนำจากแพทย์ อาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะหยอดตา
* ใช้ผ้าที่ฆ่าเชื้อแล้วหรือผ้าฝ้ายสะอาดๆ ชุบน้ำเกลือเช็ดจากหางตาเข้าหาจมูก
* ล้างมือหลังเช็ดทำความสะอาดตาทุกครั้ง
* หลีกเลี่ยงการใช้ผ้าเช็ดตัวหรือเสื้อผ้าร่วมกับผู้อื่นในขณะที่ยังมีของเหลวหลั่งออกจากตา

ท้องผูก


* ทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่มักไม่มีอาการท้องผูก ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะถ่ายอุจจาระ 7-10 วันต่อครั้ง
* อาการท้องผูกมักเกิดขึ้นในทารกที่เลี้ยงด้วยนมขวด
* เด็กโตอาจเกิดอาการท้องผูกได้หลังทานอาหารแปลกใหม่ เนื่องจากร่างกายต้องปรับตัว

อาการ

* ถ่ายไม่บ่อยและ
* ถ่ายอุจจาระลำบากและ
* อุจจาระเป็นก้อนแข็งหรือเป็นเม็ดและ
* รู้สึกเจ็บเวลาถ่ายอุจจาระและมีเลือดออกเป็นครั้งคราว

การรักษา

* ให้ทานน้ำมากๆ
* อาบน้ำอุ่น
* ยกขาขึ้นและขยับขึ้นลงเบาๆ
* ทานอาหารที่มีเส้นใยสูงให้มากขึ้น (สำหรับเด็กโต)
* ออกกำลังกายเป็นประจำ
* ใช้เวลานั่งส้วมสบายๆ โดยไม่ต้องรู้สึกกดดันและไม่ต้องจำกัดเวลา
* นวดบริเวณท้อง
* หากเกิดอาการท้องผูกเป็นประจำ ให้ไปปรึกษาแพทย์

อาการไอ

* มักเป็นส่วนหนึ่งหรือตามมาด้วยอาการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนต้น
* ติดต่อง่ายจนกว่าอาการจะหาย.

อาการ

* อาจมีอาการไอแห้งหรือไอมีเสมหะ
* มี อาการคล้ายไข้หวัด
* คอยสังเกตสัญญาณของอาการ-โรคไอกรน อาการทางเดินหายใจอุดตัน หลอดลมอักเสบ หรือปวดบวม

การรักษา

* ให้ดื่มน้ำมากๆ
* หากมีการติดเชื้อแบคทีเรีย อาจจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ
* ควรไปปรึกษาแพทย์หากอาการไม่ทุเลา หรือหากคุณมีความกังวล

หนังศีรษะแห้ง

* เกิดจากการหลั่งน้ำมันบนหนังศีรษะผิดปกติ

อาการ

* เกิดเปลือกแข็งสีเหลืองบนหนังศีรษะ
* อาจมีกลิ่นเหม็น

การรักษา

* ทำให้เปลือกแข็งๆ นิ่มลงโดยใช้มอยซ์เจอร์ไรเซอร์หรือน้ำมัน
* ทิ้งไว้ข้ามคืนแล้วล้างออก อาจจำเป็นต้องแกะเปลือกแข็งๆ นั้นออกจากหนังศีรษะโดยถูเบาๆ หรือใช้หวีที่มีฟันละเอียด

ทางเดินหายใจอุดตัน

* เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งทำให้เกิดการติดเชื้ออย่างฉับพลันบริเวณทางเดินหายใจส่วนบน
* พบบ่อยในเด็กเล็กและทารก
* ทางเดินหายใจเริ่มบวมและตีบ
* แพร่กระจายผ่านการไอและจาม
* มีอาการรุนแรงมากที่สุดในวันที่ 2 หรือ 3

อาการ

* เมื่อเริ่มแรกจะมีอาการเช่นเดียวกับไข้หวัดโดยทั่วไป
* มีอาการไอแบบเสียงเห่า (เสียงคล้ายแมวน้ำ)
* เสียงแหบ
* หายใจเสียงดัง
* อาการทรุดในเวลากลางคืน

ต่อไปนี้คือสัญญาณของอาการรุนแรง

* หายใจลำบาก
* มีไข้สูงและมีน้ำลายไหล

การรักษา

* การรักษาเบื้องต้นคือควรให้ทารกอยู่ในห้องที่มีไอน้ำมาก โดยเปิดก๊อกน้ำร้อนในห้องน้ำหรือใน ห้องซักผ้า ควรระวังอย่าให้ถูกน้ำร้อนลวก
* ควรไปพบแพทย์หากสงสัยว่ามีอาการทางเดินหายใจอุดตัน
* หากมีอาการร้ายแรงเฉียบพลัน ควรเรียกรถพยาบาล
* ควรนอนใกล้ๆ ลูกน้อยเสมอ

อาการขาดน้ำ

* อาการนี้อาจเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วในทารกโดยเป็นผลจากการอาเจียน ท้องเสียอย่างต่อเนื่อง มีอาการลมแดดหรือเพลียแดด

อาการ

* อ่อนเพลียไม่มีแรงและเฉื่อยชา
* ตาและกระหม่อมยุบโบ๋
* ปัสสาวะน้อยลง
* เมื่อลองหยิกผิวหนังดู ผิวหนังจะไม่คืนตัว
* ปากแห้งและกระหายน้ำมาก

การรักษา

* ขอความช่วยเหลือจากแพทย์โดยด่วน
* พยามรักษาระดับหรือเพิ่มน้ำในร่างกายเพื่อป้องกันอาการขาดน้ำ
* ให้น้ำเกลือแร่

อาการท้องเสีย

* เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียซึ่งสามารถแพร่กระจายได้โดยการสัมผัสมือ

อาการ

* เป็นตะคริวและปวดท้อง
* ถ่ายเหลวและรุนแรง
* ถ่ายเป็นน้ำบ่อย
* อุจจาระอาจไม่มีสี
* อาจทำให้เกิดการขาดน้ำได้

การรักษา

* ขอรับคำแนะนำจากแพทย์
* ควรดูแลล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ
* ควรป้อนนมแม่ให้ลูกน้อยอย่างต่อเนื่องและรักษาระดับของเหลวของร่างกาย
* ให้น้ำเกลือแร่กับเด็กโต

อาการหูอักเสบ

* มักมีการติดเชื้อไวรัส และอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วยเป็นบางครั้ง
* มักตามด้วยอาการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนต้น
* มักตามด้วยอาการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนต้น

อาการ

* ปวดหู
* มีไข้
* หงุดหงิดง่าย
* เบื่ออาหาร

การรักษา

* ควรไปพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ
* ยาปฏิชีวนะใช้ได้สำหรับการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น
* รักษาตามอาการ
* พาราเซตามอลหรือไอบูโพรเฟนอาจช่วยบรรเทาอาการได้
* ประคบร้อนที่หู

อาการชักจากไข้สูง

* อาการนี้เกิดขึ้นกับทารกจำนวนน้อย โดยอาจเกิดขึ้นเนื่องจากอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นอย่างฉับพลัน

อาการ

* หมดสติหรือไม่รู้สึกตัว
* ตัวเริ่มแข็งหรืออ่อนปวกเปียก
* ร่างกายเริ่มชักหรือกระตุก
* เด็กอาจมีอาการมึนงงหรือง่วงหลังหมดอาการชัก

การรักษา

สิ่งที่ควรปฏิบัติในทันที :

* เคลื่อนย้ายสิ่งที่อาจทำให้เด็กบาดเจ็บออกให้ห่าง
* อยู่กับเด็ก
* วางเด็กในท่าที่ให้การช่วยเหลือได้
* ขอความช่วยเหลือจากแพทย์

โทรตามรถฉุกเฉิน หากพบว่า :

* ลูกน้อยมีอาการหายใจลำบาก
* เด็กยังคงหมดสติอยู่หลังจากหมดอาการชัก
* หากชักนานเกินกว่า 5 นาที
* หากลูกกลับมามีอาการชักอีกครั้งหลังจากชักครั้งแรกไปแล้ว

มีไข้ตัวร้อน

* อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย
* ลูกน้อยอาจมีไข้เนื่องได้รับความร้อนมากเกินไป
* ควรปฏิบัติตามโปรแกรมสร้างภูมิคุ้มกันเป็นระยะๆ

อาการ

* เมื่ออุณหภูมิร่างกายขึ้นสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส จะถือว่าลูกของคุณมีไข้
* หากอุณหภูมิร่างกายขึ้นสูงกว่า 39 องศาเซลเซียสถือว่ามีไข้สูง
* เมื่อสัมผัสเด็ก อาจรู้สึกได้ว่าตัวร้อน
* เด็กอาจหนาวสั่นหรือตัวร้อนมาก
* อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วหรือมีไข้สูงเป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดอาการชักจากไข้สูงได้

การรักษา

* รักษาตามอาการโดยให้พาราเซตามอลหรือไอบูโพรเฟนเพื่อให้ลูกน้อยรูสึกสบายขึ้น
* ถอดเสื้อผ้าที่ไม่จำเป็นออก
* เช็ดตัวให้ลูกน้อยด้วยฟองน้ำหรือผ้าอุ่นๆ (อุณหภูมิของน้ำควรอยู่ที่ 37องศาเซลเซียส
* ให้ดื่มน้ำมากๆ

ขอคำปรึกษาจากแพทย์หากพบว่า :

* ลูกน้อยของคุณมีไข้
* เด็กมีไข้สูง หรือ
* มีอาการหายใจลำบาก หรือ
* อ่อนเพลียไม่มีแรงและไม่ตอบสนองหรือ
* มีผดผื่น
* คุณมีความกังวล

ไข้หวัดใหญ่

* ไอและจาม
* เกิดจากการสัมผัสโดยตรงกับผู้มีเชื้อ
* ติดต่อได้ง่ายจนกว่าอาการจะหาย

อาการ

* มีไข้สูง
* หนาวสั่นและมีเหงื่อออก
* ปวดศีรษะ
* รู้สึกอ่อนเพลียและเหนื่อย
* ปวดข้อ
* เบื่ออาหาร
* ไอแบบมีเสมหะ

การรักษา

* ให้ดื่มน้ำมากๆ
* ให้พาราเซตามอลหรือไอบูโพรเฟน
* ให้ยาพ่นหรือยาหยอดจมูก

ปรึกษาเภสัชกรเพื่อขอคำแนะนำ
ควรไปพบแพทย์เมื่อ :


* มีไข้สูงอย่างต่อเนื่อง
* หายใจลำบาก
* ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
* คอแข็ง
* เซื่องซึม
* คุณมีความกังวลใดๆ ก็ตาม

ทางเดินอาหารอักเสบ

* อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย
* อาจมีอาการรุนแรงในเด็กเล็กเนื่องจากการขาดน้ำ

อาการ

* อาเจียนและท้องเสีย
* ปวดท้องหรือเป็นตะคริว
* มีไข้ตัวร้อน
* อาจเกิดอาการขาดน้ำได้
* อาจถ่ายเป็นเลือด

การรักษา

* ป้อนนมแม่ให้ลูกน้อยอย่างต่อเนื่องและให้ดื่มน้ำหรือให้น้ำเกลือแร่เพิ่ม
* ให้ดื่มน้ำหรือน้ำเกลือแร่แทนนมผสมจนกว่าจะหยุดอาเจียน

ควรไปพบแพทย์หากพบว่า :

* มีอาการต่อเนื่องนานกว่า 24 ชั่วโมง
* สงสัยว่ามีลูกน้อยมีอาการขาดน้ำ
* คุณมีความกังวลใดๆ ก็ตาม ควรดูแลล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ

แผลพุพอง

* เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังชนิดหนึ่ง
* ติดต่อได้เร็วมากผ่านทางการสัมผัสโดยตรงจนกว่าแผลจะแห้งสนิท (ประมาณ 3-5 วัน)
* แบคทีเรียมักผ่านเข้าผิวหนังทางรอยบาด รอยแมลงกัด หรือแผลอื่นๆ

อาการ

* เริ่มจากการเป็นตุ่มน้ำใสๆ เล็กๆ
* ตุ่มน้ำนี้จะแตกและเกิดเป็นผิวแข็ง

การรักษา

* ปรึกษาแพทย์
* แพทย์มักจะจ่ายยาขี้ผึ้งปฏิชีวนะและยาอื่นให้ใช้รักษาอาการ
* ปิดแผลที่มีน้ำไหลเยิ้มด้วยผ้าปิดแผลแบบไม่เหนียว
* ควรดูแลล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ
* ซักผ้าปูที่นอนและเสื้อผ้าทุกวัน

ไข้หวัดใหญ่

* เป็นการติดเชื้อไวรัสซึ่งแพร่กระจายผ่านการไอและจามจากผู้ที่ติดเชื้อ
* อาการจะเกิดขึ้น 1-3 วันหลังได้รับเชื้อ

อาการ

* มีไข้ตัวร้อน
* ไอ (ไอแห้งหรือมีเสมหะ)
* ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ
* รู้สึกอ่อนแรงและเซื่องซึม
* ปวดศีรษะ
* เบื่ออาหาร
* อาการอาจคงอยู่เป็นเวลา 7-10 วัน
* อาจเกิดการขาดน้ำได้อย่างรวดเร็ว

การรักษา

* รักษาอาการด้วยพาราเซตามอลหรือไอบูโพรเฟนเพื่อช่วยให้เด็กรู้สึกสบายขึ้น
* ให้ดื่มน้ำมากๆ
* เฝ้าสังเกตอาการติดเชื้อแทรกซ้อน ไข้กลับ เจ็บหู และปอดบวม
* ควรดูแลล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ
* ควรไปพบแพทย์หากอาการของเด็กไม่ทุเลาหรือคุณมีข้อกังวลใดๆ ก็ตาม.

เยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังอักเสบ

* ติดต่อได้ง่ายมาก
* เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียอย่างเฉียบพลัน
* เป็นอันตรายถึงชีวิต
* เกิดอาการอักเสบของไขสันหลังและสมอง
* ตามด้วยอาการเลือดเป็นพิษ
* แพร่กระจายทางการไอ จาม จุมพิต การดื่มน้ำและทานอาหารร่วมกัน

อาการ

อาการต่อไปนี้อาจไม่เกิดขึ้นทั้งหมด :

* ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
* มีไข้ (ซึ่งอาจไม่ตอบสนองต่อพาราเซตามอล)
* ร้องไห้ด้วยเสียงแหลมสูง
* เหนื่อยล้า ง่วง เซื่องซึม
* คอแข็งหรือปวดคอ
* แพ้แสง
* กระหม่อมโป่งบวม
* ชัก

อาการที่รุนแรงกว่า :

* อาเจียน
* มือเท้าเย็น
* หนาวสั่น
* ปวดกล้ามเนื้อ ข้อต่อ หน้าอก หรือท้องอย่างรุนแรง
* หายใจเร็ว
* ท้องเสีย
* ในระยะหนักขึ้น จะมีผื่นเหมือนถูกหนามตำหรือมีรอยม่วงช้ำ

การรักษา

* ขอความช่วยเหลือจากแพทย์โดยด่วน
* หากสงสัยว่าลูกมีอาการเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังอักเสบ ให้ดำเนินการรักษาโดยเร็ว
* มีวัคซีนป้องกันซึ่งมีอยู่แล้วตามตารางการสร้างภูมิคุ้มกันปกติ

วิธีการป้องกัน :

* หลีกเลี่ยงการใช้ถ้วย อุปกรณ์สำหรับทานอาหาร และแปรงสีฟันร่วมกัน
* ควรให้ทารกและเด็กวัยหัดเดินหลีกเลี่ยงการเล่นของเล่นที่มีน้ำลายติดร่วมกับเด็กคนอื่น
* อย่าใช้จุกนมร่วมกันหรือให้คนที่เอาจุกนมเข้าปากเป็นคนนำไปทำความสะอาด

หูดข้าวสุก

* เป็นการติดเชื้อไวรัส
* ติดต่อได้ง่ายมากทางการสัมผัสกับน้ำที่ใช้ร่วมกัน (เช่น น้ำอาบหรือน้ำในสระ)

อาการ

* มีตุ่มเล็กๆ นูนๆ ที่ดูคล้ายหูดเล็กๆ โดยปกติแล้ว ตุ่มเหล่านี้จะคงอยู่ประมาณ 3-6 เดือน

การรักษา

* ไม่จำเป็นต้องรักษา เพราะอาการจะหายไปเอง
* ปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำยืนยัน

ผื่นจากไวรัสชนิดไม่เฉพาะเจาะจง


* เกิดจากการติดเชื้อไวรัส

อาการ

* มักปรากฏเป็นผื่นแดงทั่วร่างกาย
* ปรกติแล้วอาการจะคงอยู่เพียงไม่กี่วัน
* อาจมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ เกิดขึ้นได้

การรักษา

* ควรปรึกษาแพทย์

เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อนิวโมคอกคัส


* เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียผ่านทางการไอ จาม หรือสัมผัสน้ำลาย
* การให้วัคซีนสามารถช่วยป้องกันความเสี่ยงจากการติดเชื้อนี้ได้ ดูแผนภูมิการสร้างภูมิคุ้มกันของเรา

อาการ

ลูกน้อยของคุณอาจมีอาการใดอาการหนึ่งหรือทั้งหมดต่อไปนี้ :

* มีไข้ตัวร้อน
* เด็กจะร้องไห้เสียงแหลมสูง
* แพ้แสงสว่าง
* อาเจียน
* ปวดศีรษะ
* คอแข็ง
* กระหม่อมของทารกโป่งบวม
* ปวดข้อและ/หรือกล้ามเนื้อ
* หงุดหงิดง่าย
* ง่วง/มึนงง
* หมดสติ

การรักษา

* ขอความช่วยเหลือจากแพทย์โดยด่วน

ผื่นดอกกุหลาบ

* เป็นการติดเชื้อไวรัส

อาการ

* มีไข้สูงประมาณ 3 วัน
* เบื่ออาหาร
* ต่อมน้ำเหลืองในคอบวม
* ตามด้วยผื่น (จุดสีชมพู//แดง) ทั่วร่างกาย

การรักษา

* ติดต่อแพทย์เพื่อขอคำยืนยันประเภทของผื่น
* รักษาตามอาการโดยให้พาราเซตามอลหรือไอบูโพรเฟนและใช้ฟองน้ำเย็นประคบ
* ให้ดื่มน้ำมากๆ

หัดเยอรมัน

* เป็นการติดเชื้อไวรัส
* หากสตรีมีครรภ์ได้รับเชื้อหัดเยอรมันนี้อาจมีผลที่เป็นร้ายแรงต่อทารกในครรภ์ได้
* ติดต่อได้ง่ายมากโดยผ่านทางการไอ จามหรือการสัมผัสโดยตรง
* ระยะแพร่เชื้อคือ 7 วันก่อนเกิดผื่นจนถึง 7วันหลังเกิดผื่น
* ระยะฟักตัว15-20 วัน

อาการ

* มีไข้ต่ำ
* มีผื่นไม่รุนแรงที่ลำตัว คอและใบหน้า
* ปวดข้อ
* ต่อมต่างๆ ในร่างกายบวม
* ปวดศีรษะ ไอ รู้สึกหนาว

การรักษา

มีวัคซีนตามตารางการสร้างภูมิคุ้มกันตามปกติเพื่อป้องกันโรค

* ให้พาราเซตามอล/ไอบูโพรเฟ็นเพื่อช่วยบรรเทาอาการไม่สบาย
* ให้ดื่มน้ำมากๆ

พยาธิเส้นด้าย

* มีปรสิตอยู่ในร่างกาย
* เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าพยาธิเข็ม
* พยาธิในร่างกายนี้เกิดจากการทานไข่พยาธิเข้าไป
* ไข่พยาธิมีชีวิตอยู่ภายนอกร่างกายได้ถึง 14 วัน โดยปรกติแล้วจะอยู่ในดินหรือฝุ่น

อาการ

* คันก้น
* เบื่ออาหารหรือทานจุบจิบ
* อาจมองเห็นพยาธิได้ในอุจจาระหรือที่ทวารหนักในเวลากลางคืน

การรักษา

* ขอคำแนะนำจากแพทย์
* ควรดูแลล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ

เชื้อราในช่องปาก

* เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อรา
* เกิดจากยีสต์ Candida Albicans เจริญเติบโตผิดปกติ
* สามารถแพร่กระจายได้โดยการสัมผัสโดยตรง

อาการ

* มีแผลภายในช่องปาก
* มีของเหลวขับออกจากปากซึ่งดูคล้ายกับชีส
* ผื่นเขตร้อน: มักเกิดในบริเวณที่ใส่ผ้าอ้อมและรอยพับของผิวหนังที่อยู่ใกล้ๆ
* มีผื่นบวมแดงอย่างชัดเจน
* มีผื่นบวมแดงอย่างชัดเจน

การรักษา

ควรปรึกษาแพทย์ เชื้อราในช่องปาก :

* แพทย์อาจสั่งยาspvfหรือเจลฆ่าเชื้อราให้
* หัวนมอาจติดเชื้อได้เช่นกัน ดังนั้นจึงควรรักษาหัวนมด้วย
* อาจต้องทิ้งจุกขวดนมหรืออาจต้องฆ่าเชื้ออย่างหมดจด

ผื่นเขตร้อน :


* แพทย์อาจสั่งยาทาฆ่าเชื้อราให้ จึงควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
* ควรหยุดใส่ผ้าอ้อมให้เด็กเป็นครั้งคราว
* ใช้ผ้าอ้อมที่ซึมซับปัสสาวะออกจากผิวหนังของเด็กได้

ทางเดินปัสสาวะอักเสบ

* เป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย
* เกิดขึ้นกับเด็กเพศหญิงบ่อยกว่า
* หากไม่รักษา อาจก่อความเสียหายให้กับไตได้
* ควรเช็ดจากหน้าไปหลังเสมอเมื่อเปลี่ยนผ้าอ้อมเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

อาการ

* มีไข้สูงโดยหาสาเหตุไม่ได้
* มีปัสสาวะมาก
* เจ็บหรือแสบเวลาปัสสาวะ
* มีกลิ่นเหม็น
* ในเด็กโตอาจเกิดการปัสสาวะราดทั้งตอนกลางวันและกลางคืน
* จะสามารถยืนยันการติดเชื้อได้ด้วยการตรวจปัสสาวะเท่านั้น

การรักษา

* ขอคำแนะนำจากแพทย์.
* ต้องเก็บตัวอย่างปัสสาวะ
* อาจจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ
* ให้ดื่มน้ำมากๆ
* อาจจำเป็นต้องตรวจติดตาม

การอาเจียน

* มักจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส
* ข้อกังวลหลักสำหรับการอาเจียนในทารกและเด็กเล็กคือการขาดน้ำ

อาการ

* เกิดตะคริวที่ท้องตามด้วยการอาเจียนหลายครั้งติดต่อกัน
* มักจะตามด้วยอาการท้องเสีย

อาการรุนแรงยิ่งขึ้นซึ่งต้องพาไปพบแพทย์โดยด่วนมีดังนี้ :

* อาเจียนหลังเกิดการบาดเจ็บที่ศีรษะ
* อาเจียนมีสีเหลืองหรือเขียวอ่อน
* อาเจียนเป็นเลือด
* มีอาการปวดท้องตลอดเวลา
* มีไข้สูง
* มีอาการขาดน้ำอย่างเห็นได้ชัด

การรักษา

* ป้อนนมแม่ให้ลูกน้อยอย่างต่อเนื่องและให้ดื่มน้ำหรือให้น้ำเกลือแร่เพิ่ม
* ให้ดื่มน้ำหรือน้ำเกลือแร่แทนนมผสมจนกว่าจะหยุดอาเจียน

ขอพาไปพบแพทย์หากพบว่า :

* มีอาการต่อเนื่องนานกว่า 24 ชั่วโมง
* ลูกน้อยไม่อาเจียนของเหลวในร่างกายออกหมด
* สงสัยว่าลูกน้อยมีการขาดน้ำ
* คุณมีความกังวลใดๆ ก็ตาม
* ควรล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ

ไอกรน

* เป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย
* ติดต่อกับเด็กที่ไม่มีภูมิคุ้มกันได้ง่ายมาก
* แพร่กระจายทางการไอ จาม และสัมผัสโดยตรง
* ระยะเวลาแพร่เชื้อคือจากเมื่อเกิดอาการจนถึงเมื่อหมดอาการ (อาจนานถึง 3 เดือน)
* ระยะฟักตัว 5-15 วันหลังจากที่สัมผัสกับผู้ที่มีเชื้อนี้

อาการ

* อาการเริ่มแรกอาจคล้ายกับไข้หวัดธรรมดา
* อาการไออย่างรุนแรงไม่หยุดจะเกิดขึ้นเป็นเวลานานหนึ่งนาทีหรือกว่านั้น
* จะมีเสียง”วี้” เมื่อเด็กพยายามหายใจ
* หายใจลำบาก
* ใบหน้าอาจกลายเป็นสีแดงหรือม่วง
* เด็กอาจอาเจียนหลังจากไอ
* อาจไม่มีอาการอื่นใดระหว่างการไอแต่ละครั้ง

การรักษา

* ควรปรึกษาแพทย์
* ขอแนะนำให้ป้องกันโดยฉีดวัคซีนตามตารางสร้างภูมิคุ้มกันปกติ

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Sunday, September 6, 2009

การเลี้ยงดูลูก - สุขภาพ ( อาการเจ็บป่วยทั่วไป )

Posted by wittybuzz at 7:15 PM 0 comments

เมื่อลูกน้อยในวัยทารกหรือวัยหัดเดินไม่สบาย มันอาจเป็นช่วงเวลาที่น่าทุกข์ใจสำหรับคนเป็นพ่อเป็นแม่ และคุณพ่อคุณแม่อาจรู้สึกว่าตัวเองช่วยอะไรลูกไม่ได้เลย รายชื่ออาการเจ็บป่วยทั่วไปที่พบได้ในเด็กทารกและเด็กวัยหัดเดินนี้ เป็นคู่มืออ้างอิงอันเป็นประโยชน์สำหรับคุณพ่อคุณแม่เมื่อยามที่ลูกน้อยป่วย ซึ่งจะช่วยให้คุณทราบอาการและข้อแนะนำที่ควรปฏิบัติสำหรับอาการเจ็บป่วย เล็กๆ น้อยๆ ในเด็กที่พบได้บ่อย

คำถามที่เราต่างหนักใจก็คือว่า เมื่อไรคือเวลาที่ควรพาลูกไปพบแพทย์ เราจึงได้เสนอแนวทางเพื่อช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ตัดสินใจได้อย่างมั่นใจขึ้น

หมายเหตุ ข้อมูลดังต่อไปนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแทนที่คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์

* ยาแก้ไอและยาแก้หวัดที่พบได้ตามร้านขายยาอาจเป็นอันตรายต่อลูกน้อย ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาเหล่านี้
* เมื่อได้รับคำแนะนำให้ใช้ยาพาราเซตามอลหรือไอบูโพรเฟน ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาและ/หรือควรปฏิบัติตามคำแนะนำที่อยู่บนขวด ไม่แนะนำให้ใช้ไอบูโพรเฟนกับเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี และไม่ควรให้แอสไพรินแก่เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Saturday, September 5, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ความสำคัญของการเล่น ( ของเล่นที่ดีที่สุดสามอย่างเพื่อ พัฒนาการทางสติปัญญา )

Posted by wittybuzz at 11:18 AM 0 comments
มาเล่นกันเถอะ!

หากคุณเดินเข้าไปในบ้านของฉัน ไม่ว่าจะเป็นวันไหนก็ตาม แล้วคุณจะได้เห็นภาพที่น่าประหลาดใจมากจนฉันคิดว่าน่าจะเป็นงานเลี้ยงฉลอง ที่ครึกครื้นที่สุดแล้วล่ะ นั่นก็คือลูกๆ อายุ 1 ขวบ 2 ขวบและ 5 ขวบของฉันทั้งสามคนกำลังง่วนเล่นบล็อกตัวต่ออย่างมีความสุข โดยส่วนมากแล้ว พวกเขาไม่เล่นก่อสร้างด้วยกัน (เชื่อไหม บางครั้งพวกเขาไม่ยอมอยู่ห้องเดียวกันด้วยซ้ำ) แต่ตอนนั้นต่างคนต่างตั้งอกตั้งใจสร้างของเล่นของเขาเองอย่างสนุกสุดๆ

และถ้าไม่ได้ให้พวกเขาเล่นบล็อกตัวต่อ ก็อาจให้พวกเขาเล่นลูกบอลก็ได้ นั่นคือ ให้เขาเล่นอย่างใดอย่างหนึ่ง สำหรับฉันแล้ว ก็ไม่เป็นไร ตราบเท่าที่พวกเขาไม่เล่นบอลในบ้าน แต่ของเล่นพวกนี้จะทำให้พวกเขาเป็นที่รักใคร่ชอบพอของคนอื่นได้ยังไง และลูกฉันควรฝึกเล่นแผ่นภาพมากกว่าที่จะเล่นของเล่นง่ายๆ เพื่อความสนุกพวกนี้ต่อไปหรือไม่

บล็อกตัวต่อ


บล็อกตัวต่อมีประโยชน์สำหรับเด็กไม่แพ้วิตามินรวม เวลาที่เด็กเล่นบล็อกตัวต่อ ไม่ใช่แค่การฝึกทักษะการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ เท่านั้น หากแต่พวกเขากำลังเรียนรู้ทุกอย่างตั้งแต่แนวคิดพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ไปจน ถึงการแก้ปัญหาด้วย งานวิจัยชิ้นหนึ่งแสดงให้เห็นถึงขนาดว่าเด็กก่อนวัยเรียนที่เล่นบล็อกตัวต่อ จนชำนาญจะมีผลการเรียนคณิตศาสตร์สูงกว่าและทำคะแนนได้ดีกว่าเด็กที่ไม่ได้ เล่นบล็อกตัวต่อเมื่อพวกเขาเข้าเรียนโรงเรียนปฐม อย่างเช่นที่ ชารอน แม็คโดนัลด์ ผู้ฝึกสอนครูเด็กก่อนวัยเรียนและผู้แต่งหนังสือ Block Play (สำนักพิมพ์ กริฟอน เฮาส์) ได้อธิบายไว้ว่า “เมื่อเด็กเล่นบล็อกตัวต่อ เขาจะพัฒนาความเข้าใจเรื่องเศษส่วน รูปทรง และการนับไปในตัว” แน่นอนแน่นอนว่าเขาคงไม่รู้เรื่องเศษหนึ่งส่วนสองหรือเศษหนึ่งส่วนสี่ ตั้งแต่อายุได้ 2 ขวบ ความสามารถทางคณิตศาสตร์จะพัฒนาไปทีละขั้นตามวัยของเด็ก

สามขั้นของการเล่นบล็อกตัวต่อ

ในระยะแรกของการเล่นบล็อกตัวต่อ ชารอนเรียกระยะนี้ว่า “ระยะถือไปถือมา” ลูกน้อยวัย 2 ขวบจะต่อตัวต่อได้น้อยมากหรือไม่ได้ต่อเลย แต่เขาสามารถนำตัวต่อมากองรวมกัน ผลักและโยนเล่นได้ และต่อไปเขาจะเรียนรู้เกี่ยวกับน้ำหนัก ความมั่นคง และความสมดุล แน่นอนว่าบทเรียนที่เด็กวัยหัดเดินชอบมากที่สุด ก็คือการเรียนรู้เรื่องแรงโน้มถ่วงที่จะทำให้เกิดเสียงดังที่สุดและวุ่นวาย ที่สุด เด็กวัยหัดเดินจะเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วจากอารมณ์เกรี้ยวกราดของพี่ๆ ว่า เวลาที่โยนอะไรขึ้นไป มันต้องตกลงมา และเวลาที่เขาพังบล็อกตัวต่อให้ล้มลง ผลที่ได้ก็น่าตื่นเต้นสำหรับเขาเป็นที่สุด “เด็กๆ ชอบเล่นก่อสร้างให้เป็นระเบียบ แต่เด็กเล็กๆ ชอบสร้างความวุ่นวายมากกว่า” ชารอนกล่าว “แค่วางบล็อกตัวต่อชิ้นนึงบนอีกชิ้นหนึ่งแค่นั้น พวกเขาก็ได้เรียนรู้แล้วว่าว่าของที่วางอย่างไม่มั่นคงจะร่วงลงมา แต่ถ้าวางอย่างมั่นคง ก็จะไม่ร่วง ”

เมื่อลูกอายุได้ 3 ขวบ เขาจะเข้าสู่ระยะการเล่นบล็อกตัวต่ออีกขั้นที่เรียกว่า “ระยะตั้งเป็นกองและเรียงเป็นแถว” คราวนี้เขาจะสามารถเรียงบล็อกตัวต่อเป็นกองๆ หรือจัดวางในแนวนอนได้ เขาจะเล่นก่อสร้างโดยยังไม่มีจุดประสงค์เฉพาะ แต่เขาจะเริ่มวางเรียงบล็อกตัวต่อเป็นแพทเทิร์น แพทเทิร์นแรกๆ มักจะเป็นการวางบล็อกตัวต่อเรียงต่อกันทีละชิ้นๆ บนพื้น จนกระทั่งเขาเริ่มดัดแปลงรูปร่าง เช่น วางเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสตามหลังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และวางเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสอีกอันหนึ่งตามหลังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอัน ถัดไปและวางต่อไปเรื่อยๆ “คณิตศาสตร์คือการศึกษารูปแบบ” ชารอนกล่าว “และการกระตุ้นให้เขาวางบล็อกเป็นแพทเทิร์นจะช่วยวางพื้นฐานทักษะทาง คณิตศาสตร์ให้เขา” ซึ่งจะเป็นการนำทฤษฎีเศษส่วนเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเล่น เมื่อเขาวางบล็อกตัวต่อสองอันไว้ข้างๆ กัน เธอก็จะเห็นว่าพอเอามารวมกันแล้ว มันจะกลายเป็นบล็อกตัวใหญ่ขึ้นแต่มีรูปร่างและขนาดเท่าเดิม

ในระยะถัดไปเรียกว่า “ระยะก่อร่างสร้างตัว” ลูกน้อยก่อนวัยเรียนของคุณจะเริ่มก่อสร้างแบบง่ายๆ ของเขาเอง เขาอาจวางบล็อกตัวต่อสองชิ้นไว้คู่กัน จากนั้นวางบล็อกชิ้นที่สามซ้อนทับสองชิ้นแรก นอกจากนี้ เมื่อเวลาที่เขาเรียนรู้เรื่องความสมดุล เขาจะเริ่มทดลองเรื่องความสมมาตรไปในตัว การเชื่อมนำไปสู่ “การปิดล้อม” เราจะไม่สามารถก่อสร้างได้ หากไม่จัดระบบและปิดล้อมพื้นที่ ”เราจะเติมช่องว่างนั้นยังไงดีนะ” คำถามนี้ค่อนข้างซับซ้อนที่ลูกน้อยของคุณต้องคิดหาทางออกว่าต้องใช้บล็อกอัน เล็กและอันใหญ่กี่ชิ้นถึงจะปิดช่องว่างนั้นได้สำเร็จ ซึ่งจะส่งผลให้ลูกน้อยไม่ได้รู้จักวางแผนล่วงหน้าเท่านั้น แต่เขายังรู้จักการแก้ปัญหาด้วย

ได้เวลาเล่นลูกบอลแล้วจ๊ะ!!


บล็อกตัวต่อไม่ได้เป็นแหล่งการเรียนรู้เพียงอย่างเดียวในห้องของเจ้าตัวน้อย แม้แต่เด็กทารกก็ยังสามารถมองตามลูกบอลเวลาที่กลิ้งไปบนพื้นได้มอรีน ไมออกโค ผู้อำนวยการโปรแกรมสำหรับเด็กเล็ก SUNY Canton รัฐนิวยอร์กกล่าวว่า เวลาที่เขามองตามลูกบอล “เขาจะต้องมองตามทิศทางของลูกบอลและคาดคะเนตำแหน่งของลูกบอลขณะที่ลูกบอล กลิ้งเข้าหาเขา” การมองตามเช่นนี้ช่วยให้การเคลื่อนไหวดวงตาของลูกทำงานประสานกับการเคลื่อน ไหวร่างกาย นอกจากนี้เวลาที่เขาคาดคะเนว่าเมื่อไหร่จะได้เห็นลูกบอลอีก จะเป็นการตอกย้ำความคิดของเขาว่าเมื่อมีอะไรหายไปจากระยะสายตา มันไม่จำเป็นต้องหายไปเลย

เมื่อลูกโตขึ้นและสามารถคลานตามลูกบอลได้ เขาก็จะเริ่มเรียนรู้เรื่องขนาดพื้นที่ ลูกบอลอยู่ห่างออกไปแค่ไหน แล้วตัวเราอยู่ไกลจากลูกบอลเท่าไหร่ขณะที่เด็กวัยหัดเดินโตขึ้นจนถึงก่อนวัย เรียน การรับรู้ขนาดของพื้นที่จะนำไปสู่การคิดเชิงตรรกะ เมื่อเขากำลังเรียนรู้การขว้างและการไล่จับ เขาจะต้องเริ่มคิดว่าต้องขว้างแรงแค่หนและจะขว้างไปทิศทางไหน กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เขาจะต้องกะประมาณตัวแปรต่างๆ เพื่อที่ว่าพวกเขาจะได้ขว้างและไล่จับได้

ลูกน้อยก่อนวัยเรียนมักจะนำการเล่นลูกบอลไปเชื่อมโยงกับการสำรวจทางวิทยา ศาสตร์ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเขากลิ้งลูกบอลไปตามทาง เขาจะตระหนักว่าลูกบอลแต่ละขนาดกลิ้งด้วยความเร็วต่างกัน เอมิลี่ วอสเปอร์ ผู้อำนวยการศูนย์เด็ก วิทยาลัยชุมชน ซันนี อัลสเตอร์ เคาน์ตี้ เมืองสโตนนริดจ์ รัฐนิวยอร์ก บรรยายกระบวนการนี้ว่าเป็น “การคิดในระดับซึ่งเกิดจากเครื่องมือพื้นฐาน” หรือเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นวิชาฟิสิกส์สำหรับเด็กอายุ 4 ขวบ

จะวางถ้วยซ้อนกันเป็นตั้งได้ยังไงนะ


เมื่อลูกๆ ของฉันเล่นวางซ้อนถ้วยให้เป็นตั้ง ฉันชอบคิดว่า ก็ดีเหมือนกันนะ ฉันจะได้ไม่ต้องซ้อนถ้วยเก็บเอง แต่จริงๆ แล้วพวกเขากำลังเก็บสะสมทักษะทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ระหว่างอายุ 1 ถึง 2 ขวบ เขาจะสามารถวางถ้วยซ้อนกันได้ ปกติแล้ว เขามักจะวางถ้วยซ้อนกันอย่างไม่เป็นระเบียบ แต่เขาก็จะเริ่มเข้าใจความสัมพันธ์ของขนาด อย่ากดดันเขาให้วางอย่าง “ถูกต้อง” เมื่อเขาโตขึ้น เขาจะรู้เองว่า ถ้าเราวางถ้วยใบเล็กซ้อนถ้วยใบใหญ่ ก็จะวางถ้วยใบกลางซ้อนลงไปไม่ได้ เขาก็จะเริ่มเข้าใจ–การวางสิ่งของตามลำดับที่เหมาะสม หรือพูดให้เก๋ๆ ก็คือว่าเขาจะเริ่มเข้าใจการจัดลำดับ

เด็กๆ อาจใช้ใช้ถ้วยตักน้ำแล้วเททิ้ง แล้วก็ตักใหม่อยู่อย่างนี้เป็นชั่วโมงๆ ในอ่างอาบน้ำหรือในกระบะทราย เมื่อเขาเริ่มสังเกตเห็นความแตกต่างระหว่างเวลาที่ถ้วยเต็มและว่างเปล่า เขาก็จะเริ่มเข้าใจในเรื่องปริมาณ ขาจะเห็นได้ว่าเขาสามารถใช้ถ้วยใบเล็กตักทรายใส่ถ้วยใบใหญ่ได้ แต่ถ้าเททรายจากถ้วยใบใหญ่ที่สุดใส่ถ้วยใบที่เล็กที่สุด ทรายก็จะล้น

เติมน้ำหน่อยซิ!

การเล่นน้ำเป็นการสาดกระเซ็นความรู้วิทยาศาสตร์ ดังที่ ดร. จอห์น เซอริโอ ศาสตราจารย์คณะจิตวิทยา มหาวิทยาลัยอัลฟิลด์ เมืองอัลฟิลด์ รัฐนิวยอร์กชี้ให้เห็นว่า เด็กๆ สามารถเรียนรู้เรื่องยากๆ ได้บนพื้นฐานที่ง่ายที่สุด ถ้าเราเทน้ำจากภาชนะใบหนึ่งลงในภาชนะอีกรูปทรงนึง เราก็จะยังคงได้ปริมาณน้ำเท่าเดิม ถ้าเด็กไม่ได้เล่นเองกับมือ เด็กส่วนใหญ่ก็จะบอกว่าภาชนะที่สูงกว่าจะจุน้ำได้มากกว่า

ตอนนี้คุณแม่ก็มีครบแล้ว ทั้งบล็อกตัวต่อ ลูกบอล และถ้วยน้ำซึ่งเป็นวีระบุรุษผู้ไม่เปิดเผยตัวในโลกของเล่น แล้วความลับของของเล่นเหล่านี้คืออะไร ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่าของเล่นบางอย่างที่มีจุดประสงค์เพียงอย่างเดียว อย่างเช่น ตัวต่อปริศนา จะกระตุ้นให้เด็กค้นหาคำตอบเดียวที่ถูกต้อง ขณะที่ของเล่นที่มีจุดประสงค์หลากหลาย จะทำให้เด็กคิดได้หลายทาง ช่วยให้พวกเขาเข้าใจว่าปัญหาบางอย่างมีวิธีแก้หลายทาง นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเขาถึงเล่นของเล่นพวกนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ถึงเขาจะไม่ถึงขนาดขาดของเล่นพวกนี้ไม่ได้ แต่เขาก็จะไม่ลืมของเล่นพวกนี้ในวันพรุ่งนี้เช่นกัน

เพื่อนในกล่องของเล่น

อย่างที่พ่อแม่ทุกคนรู้ดีว่า กล่องของเล่นจะสมบูรณ์ไปไม่ได้หากไม่มีตุ๊กตาสัตว์ขนปุย ตุ๊กตาคน และตุ๊กตาต่อสู้ แม้ว่าบางทีคุณแม่อาจคิดว่าที่บ้านมีของเล่นพวกนี้รกไปหมด แต่ของเล่นเหล่านี้ก็มีความสำคัญไม่น้อย เนื่องจากของเล่นพวกนี้มีบทบาทสำคัญในพัฒนาการด้านจินตนาการของเด็ก

“เมื่อลูกทำอาหารให้เพื่อนขนปุยของเขาหรืออาบน้ำให้ เขากำลังฝึกบทบาทหน้าที่ของผู้ใหญ่ ซึ่งจะช่วยให้เขาเข้าใจโลกใบนี้” เอมี่ ฟลินน์ ผู้อำนวยการ Bank Street Family Center ในนิวยอร์กซิตี้กล่าว เด็กก่อนวัยเรียนอาจเล่นเป็นจริงเป็นจังยิ่งกว่านั้นถึงขนาดให้บรรดาตุ๊กตา ของเขามีลักษณะนิสัยเหมือนคน เพราะพวกเขาอาจทะเลาะและขัดแย้งกัน คุณแม่อาจเดินเข้าไปในห้องของลูกวัย 3 ขวบขณะที่เขากำลังต่อว่าตุ๊กตาขนปุยของเขาอยู่ว่า “เลิกทะเลาะกันสักทีได้ไหม!” (คุณแม่คงหวั่นใจไม่น้อย แล้วคงสงสัยว่าตัวเองพูดน้ำเสียงแบบนี้กับลูกหรือเปล่า!) ต่อมา คุณแม่อาจเห็นเหตุการณ์แบบนี้ซ้ำ แต่คุณแม่คงจะหาทางออกที่เหมาะกับเจ้าตัวน้อยมากขึ้น -- ยกตัวอย่างเช่น ให้ตุ๊กตาทุกตัวของเขากินคุกกี้ก่อนมื้อเย็น

เอมี่กล่าวว่า ประโยชน์ที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของการเล่นบทบาทสมมุติ นั่นคือ “เขาจะได้สำรวจความรู้สึกของเขาเองในขณะที่ควบคุมความรู้สึกของตัวเองได้ใน ที่ที่ปลอดภัย” กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ตุ๊กตาและหมีในชีวิตของเราจะช่วยให้เด็กควบคุมอารมณ์ของเขาเองได้ดีขึ้น

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท

Friday, September 4, 2009

การเลี้ยงดูลูก - ความสำคัญของการเล่น ( ความสำคัญของการเล่น กลางแจ้ง )

Posted by wittybuzz at 2:06 AM 0 comments
ทั้งประสบการณ์การเล่นในร่มและการเล่นกลางแจ้ง ล้วนมีความสำคัญต่อพัฒนาการของเด็ก แม้ว่าผลการวิจัยเมื่อไม่นานมานี้แสดงให้เห็นว่า มีเด็กที่ออกไปเล่นกลางแจ้งน้อยลง แต่การเล่นกลางแจ้งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อพัฒนาการทางร่างกายของเด็ก กลางแจ้งเป็นที่ที่เหมาะอย่างยิ่งให้เด็กๆ เล่นอะไรที่เลอะเทอะ ไม่ว่าจะเป็นเล่นทราย น้ำ ระบายสี ทำงานศิลปะและงานฝีมืออื่นๆ สนามเด็กเล่นกลางแจ้งมีสิ่งของตามธรรมชาติหลากหลายกว่าที่จะช่วยกระตุ้น ประสาทสัมผัสของเขา เด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียนจะสนุกกับการเล่นกับดิน ใบไม้ ก้อนอิฐ ก้อนหิน เปลือกไม้ น้ำ ต้นไม้และดอกไม้

สระน้ำตื้นๆ สำหรับเด็กเป็นที่เหมาะมากสำหรับการเล่นน้ำ ลูกน้อยวัยหัดเดินจะสนุกกับการสาดน้ำและเตะน้ำ รวมทั้งควรหาถ้วยและภาชนะหลากหลายรูปทรงและหลายๆ ขนาดไว้ให้เขาตักและเทน้ำเล่นด้วย นอกจากนี้ เครื่องทำฟองลูกโป่งยังเหมาะอย่างยิ่งสำหรับกระตุ้นพัฒนาการการรับรู้ขนาด เนื่องจากลูกจะตื่นเต้นพยายามไล่จับลูกโป่งที่ลอยอยู่ในอากาศ

ขณะที่เด็กย่างเข้าสู่อายุก่อนวัยเรียน (ช่วง 2-5 ขวบ) พวกเขาจะเล่นอะไรที่กระฉับกระเฉงยิ่งขึ้น พวกเขากำลังเรียนรู้ที่จะเล่นของเล่นที่มีล้อและสนุกสนานกับการปีนป่าย เครื่องเล่นขนาดใหญ่ในสนามเด็กเล่น นอกจากนี้ ลูกยังสนุกกับการเล่นลูกบอล ชุดโบว์ลิ่ง การไต่เชือก และเกมที่ใช้ไม้ตีอีกด้วย การเล่นกลางแจ้งทำให้เด็กมีโอกาสได้เล่นอย่างกระฉับกระเฉงมากกว่า ซึ่งสำคัญต่อการพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวที่จำเป็น ยกตัวอย่างเช่น การวิ่ง การทรงตัว การไล่ การขว้างและการจับ การเล่นอย่างกระฉับกระเฉงกลางแจ้งมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายอย่าง ได้แก่ ช่วยสร้างเสริมความแข็งแรงของลูก ลดโอกาสการเกิดโรคอ้วน และช่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดีอื่นๆ

นอกจากนี้ การเล่นกลางแจ้งยังทำให้เด็กมีโอกาสได้สำรวจสิ่งแวดล้อมที่สัมพันธ์กับตัว เขา ให้โอกาสเขาได้สร้างพื้นที่การเล่นของเขาเอง และให้โอกาสเขาได้มีประสบการณ์การเล่นอย่างมีจินตนาการกับทั้งของจริงๆ (เช่น บ้านหลังเล็กๆ เต็นท์ ราวตากผ้า รถบรรทุก) และของประกอบฉากอื่นๆ (เช่น ลัง ท่อนซุง ก้อนหิน) การเล่นกลางแจ้งเหมาะอย่างยิ่งเวลาที่เด็กๆ เล่นอะไรก็ตามที่เสียงดังๆ รวมถึงเล่นอะไรที่โลดโผนด้วย ขอให้คุณพ่อคุณแม่ใช้โอกาสนี้สอนลูกเรื่องเสียงที่ใช้ “ในบ้าน” และ “นอกบ้าน” และระดับความดังของเสียงที่ใช้ในแต่ละที่ด้วย

การเล่นกลางแจ้งที่ต้องอาศัยความคล่องแคล่วสามารถกระตุ้นพัฒนาการของเด็กได้ เป็นอย่างดี และสร้างโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้การควบคุมตนเอง ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าเด็กที่เป็นที่รักใคร่ชอบพอของคนอื่น จะเล่นกับเพื่อนอายุรุ่นราวคราวเดียวกันในลักษณะที่ต้องใช้แรงมากๆ อีกด้านหนึ่ง เด็กที่ไม่ค่อยเป็นที่ชอบพอของเพื่อนในกลุ่ม มักจะมีปัญหาเวลาที่ต้องเล่นอะไรที่ต้องใช้แรงมากๆ และมักได้รับการกระตุ้นเกินไป ทำให้ “ควบคุมตัวเองไม่ได้” เมื่อคุณพ่อคุณแม่เล่นอย่างกระฉับกระเฉงกับลูกไม่เพียงช่วยส่งเสริมการมี สุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและมีพัฒนาการทางร่างกายที่ดีเท่านั้น แต่ยังเป็นการให้โอกาสเขาได้พัฒนาทักษะที่สำคัญที่จะช่วยเขาในการมีปฏิ สัมพันธ์ทางสังคมกับเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกันอีกด้วย

ที่มา : ฮักกี้ดอทซีโอดอททีเฮท
 

Mama And Baby Care Copyright © 2009 Baby Shop is Designed by Ipietoon Sponsored by Emocutez